ข้อมูลส่วนตัว

รูปภาพของฉัน
จังหวัดมุกดาหาร, ตำบลนาสะเม็ง อำเภอดอนตาล, Thailand
tavamin@hotmail.com

ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บ

ค้นหาบทความในบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

จิตวิทยาในพระไตรปิฎก

บทที่ 4
จิตวิทยาในพระไตรปิฎก

ศึกษาลักษณะทางจิตวิทยา  ในพระอภิธรรมปิฎก 
 พระอภิธรรมปิฎก  หรือเรียกสั้น ๆว่า  พระอภิธรรม  เป็นหมวดที่ประมวลพุทธพจน์อันเกี่ยวกับหลักธรรมที่เป็นวิชาการว่าด้วยเรื่ององปรมัตถธรรม (สภาวธรรม) ล้วนๆ  ยกตัวอย่าง  เช่นเมื่อกล่าวถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทางพระอภิธรรมถือว่าบุคคลนั้นไม่มี  มีแต่สิ่งซึ่งเป็นที่ปะชุมรวมกันของ  จิต  เจตสิก  รูป  เท่านั้น  ส่วนที่เรียกชื่อว่า นาย ก  นาย    นั้นเรียกโดยสมมุติโวหารเท่านั้น  ส่วนที่เรียกขื่อว่า  นาย    นาย     นั้นเรียกโดยสมมุติโวหารเท่านั้น  ดังนั้น  ธรรมะในหมวดนี้จึงไม่มีเรื่องราวของบุคคล  เหตุการณ์  หรือสถานที่ซึ่งเป็นสิ่งสมมุติเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลย
 
                พระอภิธรรมปิฎกมีอยู่  42,000  พระธรรมขันธ์  แบ่งออกเป็น  7  คัมภีร์  เรียกโดยย่อว่า  สัง.  วิ. ธา. ปุ.  กะ.  ยะ. ปะ.  (หัวใจพระอภิธรรม)  ได้แก่
1.       คัมภีร์ธัมมสังคณี  ว่าด้วยธรรมะที่ประมวลไว้เป็นหมวดเป็นกลุ่ม  เรียกว่า  กัณฑ์  มี 4 กัณฑ์ คือ
1.1   จิตตวิภัตติกัณฑ์  แสดงการจำแนกจิตและเจตสิกเป็นต้น
1.2   รูปวิภัตติกัณฑ์  แสดงการจำแนกรูปเป็นต้น
1.3   นิกเขปราสิกัณฑ์  แสดงธรรมที่เป็นแม่บท  (มาติกา) ของปรมัตถธรรม
1.4   อัตถุทธารกัณฑ์  แสดงการจำแนกเนื้อความตามแม่บทของปรมัตถธรรม
2.       คัมภีร์วิภังค์  แสดงการจำแนกปรมัตถธรรมออกเป็นข้อๆ แบ่งออกเป็น  18 วิภังค์  เช่น  จำแนกขันธ์  เรียกว่า  ขันธวิภังค์
3.       ธาตุกถา  แสดงการจำหมวดหมู่ของปรมัตถธรรมโดยสงเคราะห์ด้วย  ธาตุ   (ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน)
4.       คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ  ว่าด้วยบัญญัติ  6 ประการและแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติอันเกี่ยวกับบุคคล
5.       คัมภีร์กถาวัตถุ  ว่าด้วยคำถามคำตอบประมาณ  219 หัวข้อ  อันถือเป็นหลักในการตัดสินพระธรรมวินัย
6.       คัมภีร์ยมก  ในคัมภีร์นี้จะยกหัวข้อปรมัตถธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบโดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ ๆ
7.       คัมภีร์มหาปัฏฐาน  แสดงเหตุปัจจัยและแสดงความสัมพันธ์อันเป็นเหตุเป็นผลที่อิงอาศัยซึ่งกันและกันแห่งปรมัตถธรรมทั้งปวงโดยพิศดาร
สรุปแล้ว  พระอภิธรรมก็คือธรรมะหมวดที่ 3 ในพระไตรปิฎกที่สอนให้รู้จักธรรมชาติอันแท้จริงที่มีอยู่นัวเราและสัตว์ทั้งหลายอันได้แก่ จิต  เจตสิก  รูป และรู้จักพระนิพพานซึ่งเป็นจุดหมายอันสูงสุดในพระพุทธศาสนา
ธรรมชาจิทั้ง 4 คือ  จิต เจตสิก  รูป นิพพาน  นี้รวมเรียกว่า  ปรมัตถธรรม
หากแปลตามศัพท์ คำว่า  อภิธัมม  หรือ  อภิธรรม  แปลว่า  ธรรมอันประเสริฐ, ธรรมอันยิ่ง, ธรรมที่มีอยู่แท้จริงปราศจากสมมุติ
เนื้อความในพระอภิธรรมเกือบทั้งหมด  จะกล่าวถึง ปรมัตถธรรม ล้วนๆ โดยไม่มี  บัญญัติธรรม (สมมุติโวหาร)  เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น  จึงอยากให้ทำความเข้าใจไว้ในเบื้องต้นก่อนว่า  ปรมัติธรรม และ บัญญัติธรรม  นั้น  ต่างกันอย่างไร ความหมายของปรมัตถธรรม
ปรมัตถธรรม  คือ  ธรรมชาติที่เป็นความจริงแท้แน่นอน  ที่ดำรงลักษณะเฉพาะของตนไว้โดยไม่ผันแปรเปลี่ยนแปลง  เป็นธรรมที่ปฏิเสธความเป็นสัตว์  ความเป็นบุคคล ความเป็นตัวตนโดยสิ้นเชิงงบ
ปรมัตถธรรม นี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  สภาวธรรม
ปรมัตถธรรม หรือ  สภาวธรรม  นี้มี  4 ประการคือ
1.       จิต
2.       เจตสิก
3.       รูป
4.       นิพพาน
ซึ่งมีความหมายโดยย่อดังนี้
 
จิต คือธรรมชาติที่ทำหน้าที่เห็น  ได้ยิน  รับรส  รู้สัมผัสถูกต้อง  ตลอดจนธรรมชาติที่ทำให้เกิดการคิด  นึก  จำนวนของจิตมีทั้งหมด  89 หรือ 121 (โดยพิสดาร)  แต่เมื่อกล่าวโดยลักษณะแล้วมีเพียง 1 เท่านั้น  คือ  รู้อารมณ์  (อารมณ์ในที่นี้หมายถึง รูป  เสียง  กลิ่น  รส  สิ่งต่างๆ   เรื่องราวต่างๆ ที่จิตไปรับรู้)
จิตเป็นนามธรรม  และมีชื่อเรียกหลายชื่อ  เช่น  วิญญาณ  มโน  มนัส  มนินทรีย์  มโนธาตุ  มโนวิญญาณธาตุ  มนายตนะ เป็นต้น
เจตสิก  คือ  ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต  ปรุงแต่งจิต  ทำให้เกิดความรู้สึก  นึก คิด  ที่แตกต่างกัน  ทั้งทางที่ดีและไม่ดี  มีทั้งหมด  52 ลักษณะ  เจตสิกเป็นนามธรรม  ที่เกิดร่วมกับจิต  คือเกิดร่วมกับจิต  คือเกิดพร้อมกับจิต  ดับพร้อมกับจิต  เป็นเพียงประธานในการรู้อารมณ์  การที่จิตโกรธหรือความโลภนั่นเอง  จิตเปรียบเสมือนเม็ดยา  เจตสิกเปรียบเสมือนตัวยาที่ปนอยู่ในเม็ดยา  จิตเกิดโดยมี่เจตสิกไม่ได้  และเจตสิกก็เกิดโดยไม่มีจิตไม่ได้เช่นกัน
เนื่องจาก  จิต  และ เจตสิก  เป็นสิ่งที่ต้องเกิดร่วมกันตลอดเวลา ดังนั้น  การอธิบายบางแห่งในหนังสือเล่มนี้จึงเขียนว่า  “จิต+เจตสิกเพื่อให้ระลึกไว้อยู่เสมอว่าจิตและเจตสิกนั้นเป็นธรรมชาติที่ต้องเกิดร่วมกัน  ต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน  และไม่สามารถแยกออกดจากกันได้
รูป  คือ  ธรรมชาติที่แตกดับ  ย่อยยับ  สลายไปด้วยความเย็นและความร้อน  ร่างกายของคนเราและสัตว์ทั้งหลายนั้นมีรูปประชุมกันอยู่ทั้งหมด 28 ชนิด  และรูปที่ประชุมกันอยู่นี้แต่ละรูปร่างก็แตกดับย่อยยับสลายไปตลอดเวลา  หาความเที่ยงแท้ถาวรไมได้เลย
นิพพาน  เป็นธรรมชาติที่พ้นจากกิเลส พ้นจากการเวียนว่ายตาย เกิด นิพพานโยปริยายมี 2 ลักษณะคือ
1.สอุปาทิเสสนิพพาน คือ  นิพาพานที่ยังเป็นไปกับขันธ์ 5 หมายถึง  การที่ประหาณกิเลสได้หมดสิ้นแล้ว  (กิเลสนิพพาน) แต่ขันธ์ 5 ยังมีการเกิดดับสิบต่ออยู่  (ยังมีชีวิตอยู่)
2.อนุปาทิเสสนิพพาน  คือ  นิพพานที่ปราศจากขันธ์ 5 ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์  (ผู้หมดจดกิเลส)  ที่สิ้นอายุขัยแล้ว (คือกิเลสก็ไม่เหลือ  ขันธ์ 5 ก็ไม่เหลือ)  หรือที่เรียกว่า  ปรินิพพาน  (ปริ = ทั้งหมด)  เมือปรินิพพานแล้ว จิต+ เจตสิก  และรูปก็จะหยุดการสืบต่อและดับลงโดยสิ้นเชิง  (คือเมือตายไปแล้วก็จะไม่มีการเกิดอีกหรือไม่มีการสืบต่อไปอีก)
นิพพาน  เป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจะต้องพยายามเข้าถึงให้จงได้  จึงจะได้ชื่อว่าเป็นพุทธสาวก  เป็นอริยบุคคล  และเป็นทายาทผู้รับมรดกธรรมในพุทธศาสนานี้
 ความหมายของ  บัญญัติธรรม
บัญญัติธรรม คือ  สิ่งที่มนุษย์สมมุติขึ้นหรือบัญญัติขึ้นนั้น เพื่อให้เข้าใจความหมายซึ่งกันแบะกัน  เช่น  ชื่อ  นามสกุล  สีเขียว  สีแดง  ทิศเหนือ  ทิศใต้  เวลาเข้า  เลาเย็น  เวลา  24.00 น.  พันโท  พลเอก  ฯพณฯ  นายกรัฐมนตรี  ท่านเจ้าคุณ  เหรียญ 1 บาท  เหรียญ 5 บาท  ธนบัตร   ล้วนเป็นสิ่งสมมุติทั้งสิ้น  สิ่งเหล่านี้ท่านเรียกว่า  บัญญัติธรรม
แม้แต่สิ่งที่เรียกว่า ต้นไม้  ภูเขา  แม่น้ำ  หนังสือ  ปากกา  นาฬิกา พัดลม  รถยนต์  คน  และสัตว์  ท่านก็ยังจัดว่าเป็น บัญญัติธรรม  เพราะยังหนีไม่พ้นเรื่องของการสมมุติ
 ปรมัตถธรรมเป็นธรรมที่อยู่เหนือการสมมุติ
หากพูดในแง่ของปรมัตถธรรม  คือ  ธรรมชาติที่มีอยู่จริงหรือธรรมชาติที่อยู่เหนือการสมมุติแล้ว  ทิศเหนือ   ทิศใต้  เวลาเข้า  เวลาเย็น  เวลา24.00 น.  ยศถาบรรดาศักดิ์ต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งที่มีตัวตน  ไม่มีสาระแก่นสารอะไรเลย  เป็นเพียงการสมมุติ  เป็นเพียงการอุปโลกน์กันขึ้นมาเท่านั้น  ส่วนต้นไม้ ภูเขา  แม่น้ำ  หนังสือ  ปากกา  นาฬิกา  พัดลม และรถยนต์  ถึงจะมีความแตกต่างกันโยลักษณะก็จริงอยู่แต่โดยสภาพความเป็นจริงตามธรรมชาติ  (ปรมัตถธรรม)  แล้ว  สิ่งเหล่านี้เกิดจากการรวมตัวของมหาภูตรูปทั้ง 4 ที่ปราศจาก  จิต+เจตสิก  จึงเรียกว่าเป็น  รูปธรรม  เหมือนกันทั้งหมดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ส่วนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายนั้น  หากกล่าวในแง่ปรมัตถธรรมแล้ว  ถือว่าไม่มีตัวจน  ไม่มีนาย ก  ไม่มี นาย ข  มีแต่รูปธรรม  และนามธรรม  มาประชุมกันเท่านั้น
                ดังนั้น ไม่ว่าตัวเราหรือผู้อื่นรวมถึงสัตว์ทั้งหลายด้วยนั้น  เมื่อกล่าวในแง่ปรมัตถธรรมหรือธาตุแท้ตามธรรมชาติแล้ว  จะมีส่วนประกอบอยู่ 3 ส่วนเท่านั้น  คือ
                1.จิต คือ  ธรรมชาติที่รู้อารมณ์
                2.เจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบปรุงแต่งจิตมี 52 ลักษณะ
                3.รูป คือ  องค์ประกอบ 28 ชนิดที่รวมกันขึ้นเป็นกาย
จะเห็นได้ว่า  คนเราทุกคนและสัตว์ทั้งหลายนั้น  มีส่วนประกอบเหมือนกัน คือ
เราก็มี  จิต  เจตสิก  รูป
เขาก็มี  จิต  เจตสิก  รูป
สัตว์ทั้งหลายก็มี  จิต  เจตสิก  รูป
จะมีความแตกต่างกันก็ตรงที่รูปร่างหน้าตาผิดพรรณ  ซึงถูกจำแนกให้แต่ต่างกันด้วยอำนาจของกรรมที่กระทำไว้ในอดีต
จิต + เจตสิก  และรูป  มีลักษณะเฉพาะตามธรรมชาติ  (สามัญลักษณะ) อยู่ 3 ประการ คือ
1.อนิจจลักษณะ  คือ  มีลักษณะที่ไม่เที่ยงไม่คงที่  ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
2.ทุกขลักษณะ  คือ  มีลักษณะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้  เกิดขึ้นแล้วต้องดับไปอยู่ตลอดเวลา
3.อนัตตลกษณะ คือ  มีลักษณะที่มิใช่ตัว มิใช่ตน  ไม่สามารถบังคบบัญาชาได้
 
สามัญลักษณะ ทั้ง 3 นี้  เป็นสิ่งจริงแท้แน่นอน  เป็นกฎธรรมชาติเรียกว่า  ไตรลักษณ์
โดยสรุปแล้ว  จิต+เจตสิก  และรูป  ที่ประกอบขึ้นเป็นบุคคลหรือเป็นสัตว์ใดๆ ก็ตามนั้น  แท้จริงแล้วไม่ได้มีแก่นสาระอะไรเลย  เป็นเพียงการประชุมกันของส่วนประกอบที่มีความไม่เที่ยง เกิดดับ  เกิดดับอยู่ลอดเวลาอย่างรวดเร็ว  (ชั่วลัดนิ้วมือ จิตมีการเดดับแสนโกฏิขณะ  หรือหนึ่งล้านล้านครั้ง)  เป็นสภาพที่หาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใคร  มี่ใครเป็นเจ้าของไม่เป็นไปตามความปรารถนา  ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของผู้ใด  ว่างเปล่าจากความเป็นคนนั้นคนนี้  ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน  ว่างเปล่าจากความเป็นนั้นเป็นนี่ตามที่สมมุติกันขึ้นมา  แต่เป็นสภาวธรรมอันเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย  ขั้นกับเหตุ ขึ้นกับปัจจัย  พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นหรือไม่ก็ตาม ปรมัตถธรรมเหล่านี้ก็คงมีอยู่ตามธรรมชาติอยู่แล้ว  พระพุทธองค์เป็นแต่เพียงผู้ทรงค้นพบ  และนำมาเปิดเผยให้เราทั้งหลายได้ทราบเท่านั่น
 ประวัติพระอภิธรรม
ในสัปดาห์ที่ 4 หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว  พระองค์ทรงพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับพระอภิธรรมซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับปรมัตถธรรมซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับปรมัตภธรรม (จิต เจตสิก รูป นิพพาน) อันเป็นแก่นของธรรมะในพระพุทธศาสนาอยู่ตลอด 7 วัน  ในขณะที่ทรงพิจารณาเรื่องของเหตุ  เรื่องของปัจจัยในปรมัตถธรรมอันเป็นที่มาของคัมภีร์มหาปัฏฐานอยู่นั้นก็ปรากฏฉัพพรรณรังสี  (6ประการ) มีสีเขียว  สีเหลือง สีแดง สีเทา สีเงิน  และสีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก แผ่ออกมาจากพระวรกายอย่างน่าอัศจรรย์
ในช่วง 6 พรรษาแรกของการประกาศศาสนา พระพุทธองค์ยังมิได้ทรงตรัสสอนพระอภิธรรมแก่ผู้ใด  เพราะพระอภิธรรมเป็นธรรมะที่เกี่ยวข้องกับปรมัตถธรรมล้วนๆ ยากแก่การที่จะอธิบายให้เข้าใจได้โดยง่าย บุคคลที่จะรบอรรถรสของพระอภิธรรมได้นั้นต้องเป็นบุคคลที่ประกอบด้วยศรัทธาอันมั่นคงและได้เคยสั่งสมบารมีอันเกี่ยวกับปัญญาในเรื่องนี้มาบ้างแล้วแต่กาลก่อน  แต่ในช่วงตันการประกาศศาสนานั้นคนส่วนใหญ่ยังมีศรัทธาและมีความเชื่อในพระพุทธศาสนาน้อย  ยังไม่พร้อมที่จะรับคำสอนเกี่ยวกับปรมัตถธรรมซึ่งเป็นธรรมะอันลึกซึ้งได้พระองค์จึงยังไม่ทรงแสดงให้ทราบ  เพราะถ้าทรงแสดงไปแล้วความสงสัยไมเข้าใจหรือความไม่เชื่อย่อมจะเกิดแก่ขนเหล่านั้น  เมื่อมีความสงสัยไม่เข้าใจหรือไม่เชื่อแล้ว  ก็จะเป็นเหตุให้เกิดการดูหมิ่นดูแคลนต่อพระอภิธรรมได้  ซึ่งจะเป็นผลร้ายมากกว่าผลดี
ล่วงมาถึงพรรษาที่ 7 พระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงพระอภิธรรมเป็นครั้งแรก โดยเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  เอทดแทนคุณของพระมารดาด้ายการแสดงพระอภิธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดา  ซึ่งได้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ประสูติพระองค์ได้ 7 วัน  และได้อุบัติเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ขั้นดุสิตมีพระนามว่า  สันตุสิตเทพบุตร  ในการแสดงธรรมครั้งนี้ได้มีเทวดาและพรหมจากหมื่นจักรวาลจำนวนหลายแสนโกฏิมาร่วมฟังธรรมด้วยโดยมีสัตุสิตเทพบุตรเป็นประธาน ณ ที่นั้น  พระพุทธองค์ทรงแสดงพระอภิธรรมแก่เหล่าเทวดาและพรหมด้วย  วิตถารนัย  คือ แสดงโดยละเอียดพิสดารตลอดพรรษา  คือ 3 เดือนเต็ม
สำหรับในโลกมนุษย์นั้นพระองค์ได้ทรงแสดงแก่พระสารีบุตรเป็นองค์แรก  คือในระหว่างที่ทรงแสดงธรรมอยู่บนสวรรค์ขั้นดาวดึงส์นั้นพอได้เวลาบิณฑบาต  พระองค์ก็ทรงเนรมิตพุทธนิมิตขึ้นแสดงธรรมแทนพระองค์แล้วพระองค์ก็เสด็จไปบิณฑบาตในหมู่ชนชาวอุตตรกุรุ  เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้ว  ก็เสด็จไปยังป่าไม้จันทร์  ซึ่งอยู่ในบริเวณป่าหิมวันต์ใกล้กับสระอโนดาต  เอเสวยพระกระยาหาร  โดยมีพระสารีบุตรเถระมาเฝ้าทุกวัน  หลังจากที่ทรงเสวยแล้วก็ทรงสรุปเนื้อหาของพระอภิธรรมที่พระองค์ได้ทรงแสดงแก่เหล่าเทวดาและพรหมให้พระสารีบุตรฟังวันต่อวัน  เสร็จแล้วพระองค์จึงเสด็จกลับขึ้นสู่ดาวดึงส์เทวโลกเพื่อแสดงธรรมต่อไป  ทรงกระทำเช่นนี้ทุกวันตลอด 3 เดือน  เมื่อการแสดงพระอภิธรรมบนเทวโลกจบสมบูรณ์แล้ว  การแสดงพระอภิธรรมแก่พระสารีบุตรก็จบสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน  เมือจบพระอภิธรรมเทศนา  เทวดาและพรหม 800,000โกฏิ ได้บรรลุธรรมและสันตุสิตเทพบุตร (พุทธมารดา) ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันบุคคล
เมื่อพระสารีบุตรได้ฟังพระอภิธรรมจากพระบรมศาสดาแล้ว  ก็นำมาสอนให้แก่ภิกษุ 500 รูป  ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านโดยสอนตามพระพุทธองค์วันต่อวันและจบบริบูรณ์ในเวลา 3 เดือนเช่นกัน  การสอนพระอภิธรรมของพาสารีบุตรที่สอนแก่ภิกษุ 500 รูปนี้เป็นการสอนชนิดไม่ย่อเกินไป  ไม่พิสดารเกินไป  เรียกว่า  นาติวิตถารนาติสังเขปนัย
ภิกษุทั้ง 500 รูปนี้  เคยมีอุปนิสัยมาแล้วในชาติก่อน  คือในสมัยศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า  ภิกษุทั้ง 500 รูปนี้เป็นค้างคาวอาศัยอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ขณะนั้นมีภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรม 2 รูปที่อาศัยอยู่ในถ้ำนั้นเช่นกัน  กำลังสวดสาธยายพระอภิธรรม ก็รู้เพียงว่าเป็นพระธรรมเท่านั้นหาได้รู้ความหมายใด ๆไม่  แต่ก็พากันตั้งใจฟังตั้งแต่ต้นจนจบ  เมื่อสิ้นจากชาจิที่เป็นค้างคาวแล้วก็ได้ไปเกิดอยู่ในเทวโลกเหมือนกันทั้งหมดจนกระทั้งศาสนาของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขั้นจึงได้จุติจากเทวโลกมาเกิดเป็นมนุษย์และได้บวชเป็นภิกษุในศาสนานี้ตลอดจนได้เรียนพระอภิธรรมจากพระสารีบุตรดังกล่าวแล้ว  นับแต่นั้นมา  การสาธยายท่องจำและการถ่ายทอดความรู้เรืองพระอภิธรรมก็ได้แพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง
ภายหลังที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว  ในวนแรม 1 ค่ำ เดิอน 8 หลังวจากถวายพระเพิงได้ 52 วัน  ทานมหากัสสปเถระซึ่งล้วนเป็นปฏิสัมภิทัปปัตตะ   ฉฬภิญญะ  และเตวิชชะ  ได้ช่วยกันทำสังคายนาพระธรรมวินัย  84,000 พระธรรมขันธ์  และได้กล่าวยกย่องพระอภิธรรมว่าเป็นหมวดธรรมที่สำคัญมากของพระพุทธศาสนา  การทำสังคายนาครั้งนี้  มีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก
  พระอภิธัตถสังคหะคืออะไร 
 ต่อมาประมาณปี พ.ศ.900  มีพระเถระผู้ทรงความรู้ในพระไตรปิฎกท่านหนึ่งมีนามว่า  พระอนุรุทธเถระ (พระอนุรุทธาจารย์)  ท่านเป็นชาวกาวิลกัญจิ  แขวงเมืองมัทราช  ภาคใต้ของประเทศอินเดีย  ท่านได้มาศึกษาพระอภิธรรมอยู่ที่สำนักวัดตุมูลโสมาราม  เมืองอนุราชบุรี  ประเทศลังกาจนมีความแตกฉานและได้รบยกย่องว่าเป็นปราชญ์ทางพระอภิธรรมท่านหนึ่ง  ต่อมาท่านได้รับอาราธนาจากนัมพะอุบาสกผู้เป็นทายกให้ช่วยเรียบเรียงพระอภิธรรมปิฎกซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ละเอียดลึกซึ้งมากนั้น  ให้สั้นและง่ายเพื่อสะดวกแก่การศึกษาและจดจำ  ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้เป็นประโยชน์แก่นักศึกษาพระอภิธรรมทั้งหลายในอนาคต  พระอนุรุทธาจารย์จึงได้อาศัยพระบาลี  อรรถกถา  ฎีกาและอนุฎีกา  มาเป็นหลักในการเรียบเรียงพระอภิธรรมฉบับย่อและเรียกชื่อคัมภีร์นี้ว่า  พระอภิธัมมัตถสังคหะ
 
                อภิธัมมัตถสังคหะ  แยกออกเป็น อภิ+ธรรม+อัตถะ+สัง+คหะ
อภิ                         อันประเสริฐยิ่ง
ธรรมะ                  สภาพที่ทรงไว้ไม่มีการผิดแปลกแปรผัน
อัตถะ                     เนื้อความ
สัง                           โดยย่อ
คหะ                       รวบรวม
 
อภิธัมมัตถสังคหะ  จึงหมายถึง  คัมภีร์ซึ่งรวบรวมเนื้อความของพระอภิธรรมทั้ง 7 คัมภีร์  ไว้โดยย่อ  อันเปรียบเสมือนแบบเรียนเร็วพระอภิธรรมแบ่งเป็น 9 ปริจเฉท  แต่ละปริจเฉทมีเนื้อความพอสรุปดังนี้
ปริจเฉทที่ จิตตสังคหวิภาค
แสดงเรื่อง ธรรมชาติของจิต ประเภทขอจิต  ทั้งโดยย่อและโดยพิสดาร ทำให้เข้าใจถึงจิตประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกุศลจิต อกุศลจิต  วิบากจิต  กิริยาจิต  และโลกุตตรจิต
ปริจเฉทที่ 2 เจตสิกสังคหวิภาค
แสดงเรืองเจตสิก คือ  ธรรมชาติที่ประกอบกับจิตเพื่อปรุงแต่งจิต มีทั้งหมด  52 ลักษณะ แบ่งเป็น เจตสิกที่ประกอบกับจิตได้ทุกประเภท  เจตสิกฝ่ายกุศล  และเจตสิกฝ่ายอกุศล
ปริเฉทที่ ปกิณณกสังคหะวิภาค
แสดงการนำจิตและเจตสิกมาสัมพันธ์กับธรรม 6 หมวด ได้แก่  ความรู้สึกของจิต (เวทนา)  เหตุแก่งความดีความชั่ว (เหตุ)  หน้าที่ของจิต (กิจ)  ทางรับรู้ของจิต (ทวาร)  สิ่งที่จิตรู้ (อารมรณ์) และที่ตั้งที่อาศัยของจิต
ปริเฉทที่ 4 วิถีสังคหวิภาค
แสดงวิถีจิต  อันได้แก่กระบวนการทำงานของจิตที่เกิดทางตา  ทางหู  ทางจมูก  ทางลิ้น  ทางกาย  ทางใจ  เมือได้ศึกษาปริตรเฉทนี้แล้วจะทำให้รู้กระบวนการทำงานของจิตทุกประเภท  บุญบาปไม่ได้เกิดที่ไหน  เกิดที่วิถีจิตนี้เอง  ก่อนที่จะเกิดจิตบุญหรือจิตบาป มีจิตขณะหนึ่งเกิดก่อน  คอยเปิดประตูให้เกิดจิตบุญหรือจิตบาป  จิตดวงนี้เกี่ยวข้องกับการวางใจอย่างแยบคาย (โยนิโสมนสิการ)  หรือการวางใจอย่างไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ)  หากเราได้เข้าใจก็จะมีประโยชน์ในการป้องกันมิให้จิตบาปเกิดขึ้นได้
ปริจเฉทที่ วิถีมุตตสังคหวิภาค
แสดงถึงการทำงานของจิตขณะใกล้ตาย  ขณะตาย (จุติ)  และขณะเกิดใหม่ (ปฏิสนธิ) กล่าวถึงเหตุแห่งการตาย  การเกิดของสัตว์ในภพภูมิต่างๆ โดยแบ่งได้ถึง 31 ภพภูมิ(มนุษยภูมิเป็นเพียง 1 ใน31 ภูมิ) ขณะเวลาใกล้จะตายภาวะจิตเป็นอย่างไร ควรเตรียมใจอย่างไรจึงจะไปเกิดในภพภูมิที่ดี  พระพุทธองค์ทรงอธิบายไว้อย่างชัดเจนว่าตายแล้วต้องเกิดทันที  ไม่ใช่ตายแล้ววิญญาณ (จิต) ต้องเร่ร่อนเพื่อไปหาที่เกิดใหม่ และยังได้อธิบายเรืองของกรรม  ลำดับแห่งการให้ผลของกรรมไว้อย่างละเอียดลึกซึ้งอีกด้วย 
ปริจเฉทที่ 6 รูปสังคหวิภาค และนิพพาน
เมื่อได้ศึกษาทำความเข้าใจเรื่องจิต  และเจตสิก  อันเป็นนามธรรมมาแล้ว  ในปริจเฉทที่ 6 นี้  พระอนุรุทธาจารย์  ได้แสดงองค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของมนุษย์  และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย  นั้นก็คือเรื่องของรูปร่างกาย (รูปธรรม)  โดยแบ่งรายละเอียดออกเป็นรูปต่างๆ ได้ 28 ชนิดและอธิบายถึงสมุฏฐาน(เหตุ) ในการเกิดรูปต่างๆ ไว้อย่างละเอียดพิสดาร
ในตอนท้ายได้กล่าวถึง เรื่องพระนิพพาน ว่ามีสภาวะอย่างไร อันจะทำให้ใจเรื่องของพระนิพพานได้อย่างถูกต้องชัดเจน
ปริเฉทที่ 7 สมุจจยสังคหวิภาค
เมื่อได้ศึกษาปรมัตถธรรม 4 ได้แก่ จิต  เจตสิก  รูป  นิพพาน  มาจากปริจเฉทที่ 1-6 แล้ว  ในปริจเฉทนี้จะแสดงธรรมที่เป็นฝ่ายกุศลซึ่งให้ผลเป็นความสุข และธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศลซึ่งให้ผลเป็นความทุกข์ในสภาวะความเป็นจริงแล้วกุศลจิต (จิตบุญ) และอกุศลจิต(จิตบาป) จะเกิดสับสับเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา  ส่วนจะเกิดจิตชนิดไหนมากน้อยเพียงใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับคุณธรรมและจริยธรรมของแต่ละบุคคล  คนเราทั่วไปมักไม่เข้าใจและไม่รู้จักกับกุศลและอกุศลเหล่านี้  จึงทำให้ชีวิตตกอยู่ในวัฏฏทุกข์ไม่รู้จักจบสิ้น  ในปริจเฉทที่นี้ได้แสดงธรรมที่ควรรู้ที่สำคัญๆ ได้แก่ อุปาทานขันธ์ (ขันธ์ที่ถูกอุปาทานยึดมั่นอย่างเหนียวแน่น) อายตนะ 12 (สิ่งเชื่อมต่อเพื่อให้รู้อารมณ์)  ธาตุ 18 (ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน)  อริยสัจ 4 (ความจริงของพระอริยะ) และโพธิปักขิยธรรม (ธรรมที่เกื้อกูลการตรัสรู้ ) มี 37 ประการ คือ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน อิทธบาท 4 อินทรีย์ พละ 5   โพชฌค์ 7   และมรรคมีองค์ 8
ปริเฉทที่ 8 ปัจจยสังคหวิภาค
ในปริจเฉทนี่  ท่านได้แสดงเรืองปฏิจจสมุปบาท  (เหตุและผลที่ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์)  และปัจจัยสนับสนุน 24 ปัจจัย  ในตอนท้ายยังได้แสดงความหมายของบัญญัติธรรม  ซึ่งเป็นธรรมที่ไม่ใช่เป็นความจริงแท้ แต่เป็นจริงตามสมมุติ (สมมุติสัจจะหรือสมมุติโวหาร) ตามกติกาของชาวโลก
ปริจเฉทที่ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
ในปริจเฉทนี้  ท่านกล่าวถึงความแตกต่างของสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน  เอให้เห็นว่าสมถกรรมฐานหรือการทำสมาธินั้นเป็นการปฏิบัติเพื่อให้จิตเกิดความสงบ  และเกิดอภิญญา (เกดอิทธิฤทธิ์ต่างๆ) เท่านั้น  ซึ่งไม่ใช่จุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา  เพราะผลของการทำสมาธิ  หรือสมถกรรมฐานนั้นเป็นการข่มกิเลสไว้ชั่วขณะเท่านั้น  ไม่สามารทำลายกิเลสได้  ถึงแม้จะเจริญสมถกรรมฐานถึงขั้นอรูปฌานจนได้เสวยสุขอยู่ในอรูปพรหมภูมิเป็นเวลาอันยาวนาน  แต่ในที่สุดก็ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบจักสิ้น
จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน  เพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงว่า  จิต+เจตสิกและรูป  ซึ่งเป็นองค์ประสกอบของชีวิตต่างก็มีการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป  ต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา  เป็นสภาพที่ไม่เทียง  ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้  ไม่ใช่ตัวตนอะไรของใคร  ไม่มีใครเป็นเจ้าของ  ไม่สามารถบังคับบัญชาได้  ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนปัญญาที่ประจักษ์แจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้  เมื่อมีกำลังแก่กล้าก็จะสามารถประหาณกิเลสและเข้าถึงพระนิพพานได้ในที่สุด
 ประโยชน์จากการศึกษาพระอภิธรรม
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษาพระอภิธรรมมีอยู่มากมายหลายประการ   แต่ที่สำคัญมีโดยสังเขปดังนี้
1. การศึกษาพระอภิธรรมจะทำให้เข้าถึงแก่นอขงพระพุทธศาสนาเพราะพระอภิธรรมเกิดจากพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธองค์  การเข้าถึงพระอภิธรรมจึงเท่ากับเข้าถึงพระปัญญาคุณของพระพุทธองค์อย่างแท้จริง 
2. การศึกษาพระอภิธรรม  ก็คือศึกษาธรรมชาติการทำงานของกายและใจซึ่งเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลายเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องจิต (วิญญาณ) เรื่องเจตสิก  เรื่องอำนาจจิต  เรื่องวีถีจิต  เรืองกรรมและการส่งผลของกรรม  เรื่องการเวียนว่ายตายเด  เรื่องสัตว์ในภพภูมิต่างๆ และเรื่องกลไกการทำงานของกิเลส  ทำให้รู้ว่าชีวิตของเราใจขาติปัจจุบันนี้มาจากไหนและมาได้อย่าไร  มีอะไรเป็นเกตุมีอะไรเป็นปัจจัย  เมื่อได้คำตอบชัดเจนดีแล้วก็จะรู้ว่าตายแล้วไปไหนและไปได้อย่างไร  อะไรเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างชาตินี้กับชาติหน้า  ทำให้หมดความสงสัยว่าตายแล้วเกิดอีกดหรือไม่  นรก  สวรรค์  มีจริงไหม ทำให้มีความเข้าใจเรืองกรรม  และการส่งผลของกรรม (วิบาก)   อย่างละเอียดลึกซึ้ง
3. ผู้ศึกษาพระอภิธรรมจะเข้าใจเรื่องของปรมัตถธรรม  หรือสภาวธรรมอันจริงแท้ตามธรรมชาติ  ในพระอภิธรรม  ในพระอภิธรรมจะแยกสภาวะออกให้เห็นว่าทุกสิ่งไม่ใช่ตัวตน  ไม่ใช่สัตว์  ไม่ใช่บุคคลอะไรทั้งนั้น  คงมีแต่สภาวธรรม  คือ  จิต  เจตสิก  รูป  ที่วนเวียนอยู่ในความเกิด  แก  เจ็บ  ตาย  โดยอาศัยเหตุอาศัยปัจจัยอุหนุนซึ่งกันและกัน  เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป  เกิดขึ้นใหม่แล้วก็ดับไปอีก  มีสภาพเกิดดับอยู่เช่นนี้ตลอดเวลานานแสนนานไม่รู้กี่แสนชาติ  กี่ล้านชาติมาแล้วที่สืบต่อกันอยู่เช่นนี้โดยไม่รู้จักจบจักสิ้น  แม้ใครจะรู้รู้หรือไม่รู้ก็ตาม  สภาวธรรมทั้ง 3 นี้ก็ทำงานอยู่เช่นนี้โดยไม่มีเวลาหยุดพักเลยสภาวธรรมหรือธรรมชาติเหล่านี้มิใช่เกิดขึ้นจากพระผู้เป็นเจ้า  พระพรหม  พระอินทร์  หรือสิ่งศักดิ์สิทธ์ใด ๆ เป็นผู้บันดาลหรือเป็นผู้สร้าง  แต่สภาวธรรมเห่านี้เป็นผลอันเกิดมาจากเหตุ คือ  กิเลสตัณหานั้นเองที่เป็นผู้สร้าง
4. การศึกษาพระอภิธรรมจะทำให้เข้าใจสภาวธรรมอีกประการหนึ่งอันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาที่ต้องการให้เข้าถึงนั่นก็คือนิพพาน  นิพพาน  หมายถึง  ความหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา  ผู้ที่ปราศจากกิเลสตัณหานั้น  เมือหมดอายุขัย ก็จะไม่มีการสืบต่อของ  จิต+เจตสิก  และรูปอีกต่อไป  ไม่มีการสืบต่อภพชาติ  หยุดการเวียนว่ายตายเกิด  พ้นจากทุกข์ทั้งปวงโดยสิ้นเชิง  จึงกล่าววานิพพานเป็นธรรมชาติที่ปราศจากกิเลสตัณหา  เป็นธรรมชาติที่ดับทุกข์โดยสิ้นเชิงและเป็นธรรมชาติที่พ้นจากจิต  เจตสิก  รูป นิพพานมิใช่เป็นแดนสุขาวดีที่เป้ฯอมตะและเพียบพร้อมด้วยความสุขล้วนๆ ตลอดนิรันดร์กาลตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ
5. การศึกษาพระอภิธรรมจะทำให้เข้าใจคำสอนที่มีคุณค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา  เพราะแค่การทำทาน  รักษาศีล และการทำสมาธิก็ยังมิใช่คำสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา  เนื่องจากเป็นเหตุให้ต้องเกิดมารับผลของกุศลเหล่านั้นอีก  ท่านเรียกว่า  วัฏฏกุศล  เพราะกุศลชนิดนี้ยังทำให้พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด  คำสอนที่มีคุณค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา  คือ  การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวมหาสติปัฏฐาน 4 เพื่อให้เห็นว่าทั้งนามธรรม และรูปธรรม  มีสภาพที่ไม่เทียง  ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้  มีการเกิดดับ  เกิดดับ  ตลอดเวลา หาแก่นสาร  หาตัวตน  หาเจ้าของไม่ได้เลย  เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้แล้วก็จะมำไปสู่การประหาณกิเลสและเข้าถึงพระนิพพานได้ในที่สุด
6. การศึกษาพระอภิธรรม  จะทำให้เข้าใจเรื่องอารมณ์ของวิปัสสนาซึ่งต้องใช้นามธรรม  และรูปปรมัตถ์เป็นอารมณ์  เมือกำหนดรู้อารมณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ถูกต้อง  การปฏิบัติก็ย่อมได้ผลตามที่ต้องการ
7. การศึกษาพระอภิธรรม  เป็นการสั่งสมปัญญาบารมีที่ประเสริฐที่สุด ไม่มีวิทยาการใดๆ ในโลกที่ศึกษาแล้วจะทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งโลกได้เท่ากับการศึกษาพระอภิธรรม
8. การศึกษาพระอภิธรรม เป็นการช่วยกันรักหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ได้ให้อนุชนรุ่นหลบังและเป็นการช่วยสืบต่อพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวร
จิต
จิต หมายถึงสิ่งที่เรียกว่าอยู่นอกเหนือความคิด เหตุผล ตรรกะ จิตสามารถเป็นสะพานเชื่อมระหว่างความคิด กับปัญญาญาณ
พระพุทธศาสนาจำกัดความคำว่า จิต ไปในทางธาตุรู้หรือธาตุคิด ที่มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปตามองค์ประกอบหรือคุณภาพต่าง ๆ ที่เรียกว่า เจตสิก กระบวนการนี้เกิดดับไปตามแต่ที่จิตจะเหนี่ยวสิ่งใดขึ้นมาจับไว้ จิตจึงเป็นความคิดที่เกิด ๆ ดับ ๆ ในอภิธรรมกล่าวว่ามี 89 หรือ 121 คุณลักษณะ มีลักษณะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ตามการปรุงแต่งของเจตสิก ส่วนใหญ่ใช้คู่กับคำว่า ใจ แต่คำว่าใจเมื่อประสมกับคำอื่นมักจะบ่งถึงสภาพความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่าจะเป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดดับ ตัวอย่างเช่น เสียใจ บ่งสภาพความเศร้าโศก ดีใจบ่งสภาพความดียินดี ในที่นี้คำว่าใจจึงบอกถึงสภาพของสิ่งหนึ่ง ที่เป็นศูนย์กลางของความรู้สึกมากกว่าจะเป็นกระบวนการของความคิด เหมือนอย่างคำว่า จิต
      ตามหลักการทางพระพุทธศาสนา จิตเป็นจุดเริ่มต้น เป็นจุดรวม และเป็นจุดสูงสุด คือ จิตที่หลุดพ้นแล้วของพระอริยะ  ดังปรากฏในพระธรรมบทว่า
มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา 
มโนเสฏฐา มโนมยา
มนสา จ ปทุฏเฐน
ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ
จกฺกํ ว วหโต ปทํ

ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า
มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ
ถ้าบุคคลมีใจชั่วแล้ว
พูดอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม (ย่อมชั่ว)
เพราะความชั่วนั้น ทุกข์ย่อมตามบุคคลนั้นไป
ดุจล้อหมุนตามรอยเท้าแห่งโคที่นำแอกไปอยู่ฉะนั้น

มนสา จ ปสนฺเนน 
ภาสติ วา กโรติ วา   
ตโต นํ สุขมเนฺวติ     
ฉายาว อนุปายินี  
   
ถ้าบุคคลมีใจดีแล้ว
พูดอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม (ย่อมดี)
เพราะความดีนั้น สุขย่อมตามบุคคลนั้นไป
ดุจเงาติดตามตนฉะนั้น                  (ขุ. ธรรมบท 25 / 15)


 ลักษณะสภาวะการเกิดของจิตมี 4 อย่าง  

วิชชานนลกฺขณํ           มีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ
ปุพฺพงฺคมรสํ              มีการเกิดก่อนและเป็นประธานในธรรม
                                                   ทั้ง ปวง หรือทำให้ดวงหนึ่งต่อดวงหนึ่งเกิด
                                                 ติดต่อกันเป็นกิจ
สนฺธานปจฺจุปฏฺฐานํ        มีการเห็น การได้ยิน ฯลฯ สืบต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เป็นความปรากฏของจิต
นามรูปปทฏฺฐานํ         มีนามและรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิดขึ้น

         จิตเป็นปรมัตถธรรมประเภทหนึ่ง มีสามัญลักษณะของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นสภาวะรู้อารมณ์อย่างเดียว เช่น การนึกคิดถึงบ้านเรือน ต้นไม้ ก็รู้เฉพาะบ้านเรือนอย่างเดียวแล้วดับไป จึงมารู้ต้นไม้ใหม่ เป็นต้น  จิตนี้แม้จะเป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่างตัวตน เพียงแต่แสดงความรู้สึกอยู่ภายในเท่านั้นก็จริง  แต่มีอำนาจพิเศษ หรือเรียกว่า ความวิจิตร ซึ่งทำให้เกิดความเป็นไป 6 อย่าง   คือ
                   
1.    วิจิตรด้วยการกระทำ  หมายความว่า วัตถุต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ประดิษฐ์กรรมอันวิจิตรตระการตามีภาพลวดลายต่าง ๆ ตลอดจนเครื่องยนต์กลไกทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นศิลปวิทยาที่เกิดขึ้นด้วยจิตของนายช่างทั้งสิ้น
                   
2.  วิจิตรด้วยตนเอง  หมายถึง จิตทำจิตเอง ให้เป็นกุศลบ้าง เพราะปราศจากโลภ โกรธ หลง เป็นบาปอกุศลบ้าง เพราะประกอบด้วย โลภ โกรธ หลง หรือเป็นผลของบุญผลของบาป ที่เรียกว่า วิบากบ้าง หรือเป็นจิตของพระอรหันต์ที่เรียกว่ากิริยาจิตบ้าง ยิ่งกว่านั้นยังแบ่งบุคคลให้ต่างด้วยเพศ ต่างด้วยสัญญา และต่างด้วยคติอีกด้วย
                   
3.  สั่งสมกรรมและกิเลส  หมายความว่า กรรมหรือการกระทำอันเกิดขึ้นด้วยเจตนาและกิเลสเครื่องเศร้าหมอง เมื่อทำแล้วสั่งสมไว้ที่จิตนี้เองหาได้สั่งสมไว้ที่อื่นไม่เรียกว่า ขันธสันดาน
                   
4.   รักษาไว้ซึ่งวิบากที่กรรมและกิเลสสั่งสมไว้  หมายความว่า จิตนี้ย่อมรักษาผลของการกระทำและผลของกิเลส ซึ่งได้สั่งสมอำนาจไว้มิได้สูญหายไปไหน เกิดขึ้นกับจิตที่เป็นวิบาก เพื่อรับผลของกรรมนั้น ๆ เมื่อมีโอกาส
                   
5.  สั่งสมสันดานของตนเอง  หมายความว่า จิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับลง เป็นปัจจัยให้จิตอีกดวงหนึ่งเกิดขึ้นติดต่อกันไม่ขาดสาย เป็นสันตติสืบเนื่องกันไป ลงสู่ภวังค์แล้วเกิดขึ้นใหม่อีก
                   
6.    มีการวิจิตรด้วยอารมณ์ต่าง ๆ  หมายความว่า จิตนี้ย่อมรู้อารมณ์ต่าง ๆ จิตขณะที่รู้อารมณ์นี้ จะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วิญญาณ เช่น จิตทางตารู้รูปารมณ์ (เห็นสี) ก็จะเรียกว่า จักขุวิญญาณ หรือจิตทางหู รู้สัททารมณ์ (ได้ยินเสียง) จิตทางจมูก รู้คันธารมณ์ 12 (รู้กลิ่น) จิตทางลิ้น รู้รสารมณ์ (รู้รส) จิตทางกาย รู้โผฏฐัพพารมณ์ (เครื่องกระทบ เย็น, ร้อน, อ่อน, แข็ง) จิตทางมโนรู้ธรรมารมณ์ (รู้เรื่องราวต่าง ๆ มีปสาทรูป 5  สุขุมรูป 16  จิต  เจตสิก  นิพพาน  บัญญัติ)
                   
ความวิจิตรของจิตนั้น เป็นธรรมชาติที่เหนืออำนาจการดลบันดาลจากผู้ใดทั้งสิ้น เป็นสิ่งที่บังคับให้เกิดก็ไม่ได้ บังคับให้ดับก็ไม่ได้ ไม่มีใครสามารถลิขิตความเป็นไปนั้น นอกจากมีเหตุ-ปัจจัยมาประชุมพร้อมกันชั่วขณะหนึ่ง ๆ  เหตุปัจจัยแต่ละส่วนมีความสำคัญเสมอกัน หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง การรับรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น ในการเห็นครั้งหนึ่งต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 4  อย่าง ดังต่อไปนี้คือ
                   1.   ต้องมีประสาทตาที่ดี
                   2.   ต้องมีแสงสว่างพอเหมาะ ไม่สว่างหรือมืดเกินไป
                   3.   ต้องมีคลื่นแสงสะท้อนจากวัตถุ มาตกลงบนจุดโฟกัสในประสาทตา
                   4.   ต้องมีความตั้งใจดู
 ถ้าองค์ประกอบไม่ครบทั้ง  4  ข้อ การเห็นจะเกิดขึ้นไม่ได้ การมีตาอย่างเดียวไม่ทำให้เกิดการเห็นได้ ในทางตรงข้ามถ้ามีองค์ประกอบครบทั้ง 4 ข้อ แล้ว จะบังคับมิให้เกิดการเห็นครั้งนั้นก็ไม่ได้เช่นกัน
จากหนังสือสังคหะบาลีแปล 9 ปริจเฉทกล่าวถึงเรื่องจิตไว้ดังนี้
จิตมีลักษณะแตกต่างกันรวม 89 หรือ 121 ลักษณะ จากแผนผังของจิต แบ่งจิตออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม  เช่น ในกลุ่มที่ 1 อกุศลจิต มี 12 ดวง , กลุ่มที่  2  มหากุศลจิต มี 8 ดวง เป็นต้น











แผนผังจิต 89/121 

                 
   ตัวเครื่องหมายที่ต่างกัน 5 ลักษณะ เป็นการแบ่งจิตโดยประเภทแห่งเวทนา (ความรู้สึก) ซึ่งมีอยู่ 5 อย่าง  จิตทุกดวงจะต้องเกิดพร้อมด้วยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ จิตจะเกิดขึ้นโดยไม่มีเวทนาไม่ได้ เวทนาทั้ง 5 ได้แก่
 
ส่วนตำแหน่งต่าง ๆ ของเครื่องหมาย ก็เป็นตัวบอกถึง ชนิด คุณสมบัติ และพัฒนาการทางจิต ที่แตกต่างกัน เช่น ในกลุ่มอกุศลจิต 12 แยกเป็น โลภะจิต 8 ดวง โทสะจิต 2 ดวง โมหะจิต 2 ดวง

จิตมีเวทนาเหมือนกัน เช่น กลุ่มอกุศลจิต 12 ดวง
โสมนัสเวทนา (+) ที่อยู่ในตำแหน่งที่ต่างกัน เช่น
โลภะจิตดวงที่ 1 แถวบน กับโลภะจิตดวงที่ 3 แถวล่าง
คุณภาพของจิตทั้ง 2 ดวงจะต่างกัน คือ
 
ดวงที่ 1 แถวบน เป็นความโลภชนิดที่มีความเห็นผิด กล้าทำทุจริตเช่นลักขโมย ยักยอกทรัพย์ เป็นพยานเท็จ เป็นต้น 

ส่วนดวงที่ 3 แถวล่าง เป็นความโลภที่ ไม่ประกอบ ด้วยความเห็นผิด ไม่ถึงกับทำทุจริต  ถ้าอยากมีทรัพย์สมบัติก็ขยันทำงานหาเงินด้วยตัวเอง แต่ทั้ง 2 ดวง ก็จัดอยู่ในกลุ่มของอกุศลที่มีความโลภเป็นแรงจูงใจอยู่เบื้องหลัง เป็นต้น

นอกจากตัวเครื่องหมายและตำแหน่งของเครื่องหมาย จะบอกคุณสมบัติของจิตแล้วยังมีหลักการจัดประเภทของจิตออกเป็นลักษณะที่ตรงข้ามกัน 9 คู่ อาทิ การประกอบ (สัมปโยค) การชักจูง (สังขาร)  ฌาน โสภณะ ชาติ ภูมิ เป็นต้น 
ชาติเภทนัย
ภูมิเภทนัย
เหตุเภทนัย
เวทนาเภทนัย
สัมปยุตเภทนัย
สังขารเภทนัย
โสภณเภทนัย
โลกะเภทนัย
ฌานเภทนัย

ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียงบางลักษณะ เช่น
การแบ่งประเภทของจิตโดยชาติ ซึ่งบอกถึงชนิดของจิตว่าเป็นฝ่ายดีหรือไม่ดี และการแบ่งประเภทโดยภูมิ ซึ่งบอกถึงระดับพัฒนาการทางจิตไปในทางต่ำหรือสูง (พระมหาแสวง
  โชติปาโล 2535 : 9, 13)




จิตว่าโดยชาติมี 4 ชาติ คือ (จากแผนผังในแนวนอน)

1.อกุศลชาติ (อกุสลาธมฺมา) ธรรมชาติ (จิต) ที่เกิดมาแล้วเป็นบาป มีโทษให้ผลเป็นความทุกข์ ความเดือดร้อนใจ ได้แก่ อกุศลจิต 12 ดวง
2. กุศลชาติ (กุสลา ธมฺมา) ธรรมชาติ (จิต) ที่เป็นบุญ ไม่มีโทษ ให้ผลเป็นความสุข ความสบายใจ ได้แก่ มหากุศลจิต 8
รูปาวกุศลจิต 5 อรูปาวจรกุศลจิต 4 มัคคกุศล 4/20
3. วิบากชาติ (อพยากตา ธมฺมา) ธรรมชาติ (จิต) ที่ไม่กล่าวว่าเป็นกุศลหรืออกุศลในตัวเอง เป็นแต่เพียงผลที่เกิดจากกุศลหรืออกุศล ได้แก่ อกุศลวิบากจิต 7 อเหตุกกุศลวิบากจิต 8 มหาวิบากจิต 8 รูปาวจรวิบากจิต 5 อรูปาวจรวิบากจิต 4 ผลจิต 4/204. กิริยาชาติ (อพยากตาธมฺมา)  ธรรมชาติ (จิต) ที่ไม่กล่าวว่าเป็นกุศลหรืออกุศลในตัวเอง ทั้งไม่ใช่ผลของกุศลและอกุศลด้วย มี 20 ดวง

กลุ่มกิริยาจิต เป็นแต่เพียงกิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นเพื่อรับรู้อารมณ์ แต่ไม่ได้รับรู้ด้วยกิเลส มีอภิชฌาหรือโทมนัส เป็นต้น ยกเว้น 2 ดวงแรกในกลุ่มแล้วกิริยาจิตที่เหลือ ได้แก่ หสนจิต 1 มหากิริยาจิต 8 รูปาวจรกิริยาจิต 5 อรูปาวจรกิริยาจิต 4 รวม 18 ดวง เป็นจิตที่เกิดขึ้นแก่พระอรหันต์เท่านั้น

                                        



                       
 จิตว่าโดยภูมิมี 4 ภูมิ คือ (จากแผนผังในแนวตั้ง)



1. กามาวจรภูมิ เกิดขึ้นเพื่อรับกามคุณอารมณ์ จัดอยู่ในระดับต่ำรับอารมณ์ได้มากมาย มี 54  ดวง
2. รูปาวจรภูมิพัฒนามาจากกามาวจรภูมิ เป็นสมาธิและฌาน  มีความแนบแน่นในระดับต่าง ๆ 5 ระดับ รวม 15 ดวง
3. อรูปาวจรภูมิ จิตที่พัฒนาสูงกว่าชั้นรูปาวจร ด้วยการเพ่งนามธรรม หรือความว่าง  เกิดความแนบแน่นในระดับต่าง ๆ 4 ระดับ รวม 12 ดวง
4. โลกกุตตรภูมิ จิตที่พัฒนาขั้นสูงสุด พ้นจากความทุกข์  ความเศร้าโศก  ในระดับต่าง ๆ รวม 8 หรือ 40 ดวง
มีอำนาจพิเศษคือหยุดการเวียนว่ายตายเกิด



1.  กามาวจรจิต เป็นภูมิของจิตที่  รับรู้กามคุณ 5 ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส จัดว่าเป็นจิตที่อยู่ในภูมิระดับต่ำ รับอารมณ์ได้มากมาย กระจัดกระจาย มีทั้งฝ่ายดี
และฝ่ายไม่ดี
 จิตในชั้นกามาวจรนี้มี  54  ดวง



2.  รูปาวจรภูมิ   เป็นภูมิที่รองรับจิตที่อีกทีหนึ่ง เป็นจิตฝ่ายดีฝ่ายเดียว สำหรับบุคคลผู้เบื่อหน่าย เห็นโทษแห่งกามคุณอารมณ์ จึงพัฒนาจิตที่เรียกว่า สมาธิและฌานขึ้น โดยอาศัยภาพลักษณ์หรือสร้างรูปวัตถุบางอย่างมาเป็นอารมณ์ให้จิต (แทนกามคุณอารมณ์) รับรู้แต่เพียงอารมณ์เดียวที่สร้างขึ้น เกิดความแนบแน่นมีพลัง เป็นพลังจิต ที่สงบนิ่งในระดับต่าง ๆ 5 ระดับ มี 15 ดวง


3. 
อรูปาวจรภูมิ   เป็นภูมิของจิตที่พัฒนาสูงกว่าชั้นรูปาวจร เป็นพลังจิต ฝ่ายดีฝ่ายเดียว เนื่องจากเห็นโทษของรูปวัตถุว่าหยาบกว่า มีความเข้าใจว่าความทุกข์ต่าง ๆ มีขึ้นได้เพราะมีรูป จึงพอใจที่จะพัฒนาจิตที่ละเอียดขึ้น


โดยการเพิกรูปวัตถุที่เคยได้มาแล้ว ใช้จิตเพ่งอารมณ์ที่เป็นนามธรรมหรือเพ่งความว่างเปล่าแทน เกิดความแนบแน่นที่ละเอียดขึ้นในระดับต่าง ๆ 4 ระดับ มีอำนาจจิตพิเศษเหนือบุคคลทั่วไป แสดงฤทธิ์ได้ มีหูทิพย์ ตาทิพย์ เป็นต้น  อรูปาวจรจิตมี 12 ดวง


 
4. โลกุตตรภูมิ  เป็นภูมิของจิตที่พัฒนาชั้นสูงสุด รับพระนิพพานเป็นอารมณ์   พ้นจากความพินาศทั้งปวง
โลกุตตรจิตมี 8 หรือ 40 ดวง ได้แก่

มรรคจิต  4  หรือ  20
ผลจิต  4  หรือ   20

 สำหรับโลกุตตรจิตนั้น ความทุกข์ ความเศร้าโศก ไม่อาจเกิดขึ้นมาได้อีก มีอำนาจจิต พลังจิตพิเศษ
ในการหยุดการเวียนว่ายตายเกิด (วัฏฏสงสาร) ของตนเองได้ในระดับต่าง ๆ   ตั้งแต่พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์
จิตถึงแม้จะพัฒนาจนเกิดอำนาจพิเศษใด ๆ ก็แล้วแต่ หากยังไม่พัฒนาจนถึงโลกุตตรจิตแล้ว  ก็ยังต้องตาย-เกิดในภพภูมิทั้ง 31 ภูมิอยู่นั่นเอง

ในจิตทั้ง 4 ชาติ กลุ่มอกุศลชาติ จัดอยู่ในภูมิระดับต่ำ คือ กามาวจรภูมิเท่านั้น  อกุศลเป็นต้นเหตุของวัฏฏะสงสาร จึงเป็นจิตที่ควรละ ไม่ควรเจริญอีกต่อไป  การเจริญกรรมฐานที่ถูกต้องเป็นการละอกุศลกลุ่มนี้โดยตรง ขณะที่ละอกุศลเหล่านี้ได้ ขณะนั้นเป็นการเจริญกุศลไปในตัว 
กลุ่มกุศลชาติ มีทั้งกุศลชั้นต่ำในกามาวจร  จนถึงกุศลชั้นสูง คือ โลกุตตรกุศล ดังนั้น กลุ่มกุศลชาติจึงเป็นกลุ่มที่สามารถเจริญและพัฒนาจากระดับต่ำให้สูงขึ้นได้ 
กลุ่มของวิบากชาติ เปรียบเป็นผลที่สุกงอมแล้ว จึงไม่ใช่สิ่งที่ควรละหรือควรเจริญ 
ส่วนกลุ่มกิริยาชาติ เป็นจิตที่เจริญสูงสุดของพระอรหันต์ ไม่มีโอกาสตกต่ำแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องเจริญอีก จะทรงสภาวอยู่จนพระอรหันต์ท่านนั้นปรินิพพาน ไม่เกิดในภพภูมิใด ๆ อีก

พลังทางจิตโดยส่วนใหญ่แล้วเกิดจาก จิตที่มีเหตุ (มีจำนวน 71 ดวง)  เหตุในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง เหตุ 6 ชนิด แบ่งเป็น
กุศลเหตุ 3 (อโลภะเหตุ  อโทสะเหตุ  อโมหะเหตุ) และอกุศลเหตุ 3 (โลภะเหตุ  โทสะเหตุ  โมหะเหตุ)  ทั้งนี้ขึ้นกับเจตสิก 6 ชนิดที่ประกอบกับจิต ได้แก่ อโลภะเจตสิก  อโทสะเจตสิก  อโมหะเจตสิก (ปัญญาเจตสิก) โลภะเจตสิก  โทสะเจตสิก และโมหะเจตสิก เหตุทั้ง 6 เป็นเงื่อนไขสำคัญพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย  ทำแล้วมีพลังงานที่สามารถส่งผลในอนาคตได้
อกุศลเหตุเป็นที่มาของชีวิตที่ต้องตกไปอยู่ในที่ที่มีแต่ความลำบาก อดอยาก เร่าร้อน  จึงเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง 
ส่วนกุศลเหตุเป็นที่มาของชีวิตความเป็นอยู่ที่สุขสบาย ได้รับความสะดวกเป็นส่วนมาก 
กุศลเหตุจึงเป็นสิ่งที่ควรเจริญเพราะทุกชีวิตต้องการความสุข

มีจิตอีกกลุ่มหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่อาศัยเหตุทั้ง 6 ข้างต้น แต่อาศัยเหตุปัจจัยบางอย่างที่พร้อมมูล (อุปัติเหตุ) จึงเกิดขึ้นได้ จิตกลุ่มนั้นได้แก่   อเหตุกจิตมี 18 ดวง ว่าโดยชาติหรือการเกิดแล้ว อเหตุกจิตมี 2 ชาติ คือ วิบากชาติ และกิริยาชาติ


ในวิบากชาติแบ่งเป็น
อกุศลวิบากมี 7 ดวง (แถวบนแนวนอน 7 ดวง)
อเหตุกกุศลวิบาก 8 ดวง (แนวนอนแถวที่ 2)

ส่วนกิริยาชาติมี  3 ดวง คือ อเหตุกกิริยาจิต 3




            ดังได้กล่าวแล้วว่า วิบากจิตเป็นเพียงผลมาจากเหตุในอดีต  อกุศลวิบากมาจากอกุศลเหตุ กุศลวิบากมาจากเหตุของกุศล  ในอดีตทุกชีวิตเคยกระทำทั้งเหตุของอกุศลและกุศลมาแล้ว เราไม่อาจเปลี่ยนการกระทำในอดีตได้  ดังนั้น จึงต้องรับผล (วิบาก) ทั้งผลของอกุศล (อกุศลวิบาก) และผลของกุศล (กุศลวิบาก) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่ตลอดเวลา

และโดยส่วนมากของชีวิตประจำวันจะเป็นอกุศลวิบาก มากกว่ากุศลวิบาก เช่น ในวันหนึ่ง ๆ เราจะรู้สึกสบายใจ ปลอดโปร่งใจน้อยมาก การรับกระทบไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ฯลฯ  ส่วนใหญ่ทำให้จิตใจเร่าร้อน หดหู่ เศร้าหมอง กับปัญหาต่าง ๆ มากมายมากกว่า  จนกระทั่งถึงเวลานอนหลับ ไม่ต้องรับรู้ปัญหาดังกล่าว ความเร่าร้อนจึงลดระดับลงบ้าง

อเหตุกจิต 18



วิบากจิตในกลุ่มอเหตุกจิต 18 ที่สำคัญ คือ
ทวิปัญจวิญญาณ 10 ดวง แบ่งเป็น
จักขุวิญญาณจิต 2 (แถวบน 1 ดวง แถวล่าง 1 ดวง) 
โสตวิญญาณจิต 2
 
ฆานวิญญาณจิต 2
 
ชิวหาวิญญาณจิต 2
 
กายวิญญาณจิต 2
 


เหตุที่มีอย่างละ 2 เช่นจักขุวิญญาณจิต ก็เพราะว่าสิ่งที่เห็นนั้นอาจเป็นผลของกุศล เช่น โบสถ์ วิหาร สิ่งของสวยงาม บุคคลที่เรารัก สิ่งเหล่านี้เมื่อเห็นแล้วเกิดความพอใจ   จักขุวิญญาณที่ทำหน้าที่เห็นนั้นจัดเป็นวิบากจิต  ที่เป็นผลจากกุศล
การได้เกิดเป็นมนุษย์
เป็นผลของกุศล 
 
 
ความตายเป็น
ผลของอกุศล
ตัดรอนให้ชีวิตล่วงไป
แต่บางครั้งสิ่งที่เห็นหรือได้ยินไม่ทำให้เกิดความพอใจสบายใจ มีความเศร้าหมอง เร่าร้อน จัดเป็นผลของอกุศล เช่น เห็นสุนัขตายข้างถนน ไฟไหม้ น้ำท่วมทรัพย์สินเสียหาย หรือได้ยินเสียงทะเลาะวิวาทเป็นต้น  เป็นการเห็นในสิ่งที่ไม่น่าพอใจ 
จิตที่ทำหน้าที่เห็นหรือได้ยิน ก็จะเป็นจักขุวิญญาณกุศลวิบาก หรือโสตวิญญาณอกุศลวิบาก เมื่ออารมณ์ต่างกันจิตที่ทำหน้าที่รู้อารมณ์จึงไม่ใช่จิตดวงเดียวกัน ต้องเป็นจิตคนละดวง
สัมปฏิจฉนะจิต 2 ( สํ )  ที่ทำหน้าที่รับอารมณ์ต่อจากปัญจวิญญาณ  
สันตีรณจิต 3 ( ณ )
   ที่ทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ต่อจากสัมปฏิจฉนะ
 จิตก็ทำนองเดียวกัน คือ เมื่ออารมณ์กุศลมากระทบ ปัญจวิญญาณฝ่ายกุศลจะทำหน้าที่รู้อารมณ์กุศลนั้น สัมปฏิจฉนะจิตฝ่ายกุศลจะรับอารมณ์ที่เป็นกุศลนั้น สันตีรณจิตฝ่ายกุศลก็จะพิจารณาเฉพาะอารมณ์กุศล จิตที่รับและพิจารณาอารมณ์ต้องเป็นฝ่ายเดียวกัน สัมปฏิจฉนะจิตฝ่ายกุศลจะไปรับอารมณ์ฝ่ายอกุศลไม่ได้
ในแต่ละวันไม่มีใครสามารถเลือกรับแต่อารมณ์ที่ดีอย่างเดียว  ปฏิเสธอารมณ์ที่ไม่ดีว่าอย่าเกิดขึ้นกับตนเลย เป็นต้น เมื่อรับกระทบอารมณ์แล้ว จิตแต่ละดวงก็จะทำหน้าที่ของตน ผ่านทาง วิถีจิต


 

                    การเรียนรู้กฎเกณฑ์แห่งวิบากจิตนี้ เพื่อการยอมรับข้อจำกัดบางอย่างของจิตและอารมณ์ว่า ไม่สามารถเป็นไปตามความต้องการได้เสมอไป ความต้องการของมนุษย์มีอยู่ไม่จำกัด   แต่โอกาสเป็นไปได้สมความปรารถนามีไม่ถึง 5% 

เมื่อเราเลือกรับวิบากทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจไม่ได้  ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจึงมุ่งสังเกตการกระทบกันของจิตและอารมณ์ทางปัญจวิญญาณ โดยมีสติคอยระวังไม่ให้อภิชฌาหรือโทมนัสเข้ามีส่วนในการตีความ กลไกของจิตและอารมณ์ยังคงทำงานของตนอย่างสม่ำเสมอ แต่ความดิ้นรน เร่าร้อนใจจะได้รับการพิจารณาใหม่ด้วยสติ และเป็นที่มาของความยับยั้งชั่งใจแทน
 
                    จิตทั้ง 89 หรือ 121 ดวง จะมีหน้าที่ ของตนเอง หน้าที่ของจิตมี   14    อย่าง เรียกว่า
กิจ 14 (บุญมี
  เมธรางกูร และ วรรณสิทธิ์ ไวทยะเสวี 2530 : 25-28) บางดวงทำหน้าที่ได้อย่างเดียว บางดวงทำหน้าที่ได้หลายอย่าง จิตจึงเกิดขึ้นอย่างมีความหมายเพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อหมดหน้าที่จิตนั้นก็ดับลง และส่งอำนาจให้จิตดวงต่อไปทำหน้าที่ต่อจากตน ในวิถีจิต เช่น โสตวิญญาณ เกิดขึ้นทำหน้าที่ได้ยินเสียง หมดหน้าที่แล้วดับลง  การดับลงของโสตวิญญาณเป็นปัจจัยให้จิตอีกดวง คือ สัมปฏิจฉนจิตเกิดขึ้นเพื่อทำหน้าที่พิจารณาเสียงนั้นต่อไป เป็นต้น



วิถีทางดำเนินของจิตชนิดต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ได้ยินเสียง พิจารณาเสียง ตีความ และให้ความหมายต่อเสียงนั้น เป็นจิตคนละดวงที่เกิดขึ้นตามลำดับไม่ก้าวก่ายกัน กล่าวคือ
โสตวิญญาณจะไปทำหน้าที่เห็นเสียง หรือพิจารณา หรือตีความ แทนจิตดวงอื่นก็ไม่ได้ เป็นต้น


แนวคิดเรื่องจิตที่มากไปด้วยจำนวน มากไปด้วยกิจ และมากไปด้วยอารมณ์นี้    แสดงถึงความไม่เที่ยงของจิตว่า  เมื่อจิตเกิดขึ้นครั้งหนึ่งต้องรู้อารมณ์ (รูป เสียง ...) อย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ  เมื่ออารมณ์นั้นดับไป จิตที่รู้จำเป็นต้องดับลงด้วย

การดับไปนั้นมีผลให้เกิดจิตดวงใหม่ เพื่อรู้อารมณ์ใหม่  อารมณ์เป็นธรรมชาติที่ไหลเรื่อยไปไม่หยุดนิ่ง  ผันแปรไปตามทวารต่าง ๆ (ตา หู ...) จึงต้องมีจิตที่มีลักษณะต่าง ๆ กัน  เพื่อรับอารมณ์ที่หลากหลายนั้น  ในขณะที่รูปเกิดขึ้นเพราะสมุฏฐานของ กรรม   จิต    อุตุ    อาหาร     จิตจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยสภาวธรรม (สมุฏฐาน) 3 อย่าง คือ
1.   อดีตกรรม     2.  วัตถุรูป (อายตนะภายในและภายนอก)  3.   อารมณ์ 


หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว จิตก็ไม่สามารถทำหน้าที่ของตนได้

กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เหล่านี้ไม่มีผู้ใดลิขิตขึ้น พระพุทธองค์เองก็มิได้เสกสรรขึ้นมาเอง  แต่เป็นผลจากพระสัพพัญญุตาญาณของพระพุทธองค์ ที่ทรงหยั่งรู้เข้าไปถึงกฎเกณฑ์ที่มีอยู่แล้ว และนำมาเปิดเผย ถึงเหตุที่ทำให้ธรรมชาติใด ๆ เกิดขึ้น พร้อมกับตอบคำถามว่า เหตุใดธรรมชาติเหล่านั้นจึงตั้งอยู่ไม่ได้

 เท่าที่กล่าวมาในแง่ของเครื่องหมาย  ตำแหน่ง  การแบ่งประเภท และหน้าที่  เป็นเพียงตัวอย่างพอสังเขปในการศึกษาตัวจิตโดยตรง  จิตในกลุ่มอื่น ๆ ที่เหลือก็มีแนวคิดคล้ายกับที่กล่าวมาแล้ว และยังมีแง่มุมที่ลึกละเอียดอีกมากมาย เช่น การแบ่งประเภท โดยการประกอบ (สัมปโยค) โดยสังขาร โดยโสภณ ฯลฯ แต่ของดกล่าวในที่นี้

โดยสรุปแล้ว การที่จิตมีจำนวนมากถึง 89 หรือ 121 ดวง แต่ละดวงมีลักษณะประจำตัวตามภูมิของตน มีเงื่อนไขของการเข้าประกอบ มีเงื่อนไขของการรับอารมณ์ และมีหน้าที่เฉพาะของตน 
  สิ่งเหล่านี้ให้แนวคิดเกี่ยวกับ สภาวธรรมของจิตว่า  จิตไม่ได้เกิดขึ้นเอง หรือล่องลอยไปมา หรือผุดขึ้นโดยไม่มีจุดหมาย แต่เกิดขึ้นอย่างมีปัจจัยรองรับ  ปัจจัยนั้นได้แก่ อารมณ์ทั้ง 6 เป็นต้น  จิตไม่เคยว่างจากอารมณ์ แต่อยู่เบื้องหลังการแสดงออกทางความคิดและพฤติกรรมทุกอย่าง สามารถฝึกฝนอบรมจิต  ให้สันทัดขึ้นได้ทั้งในทางดีและทางชั่ว
ในทางดีสามารถพัฒนาจนถึงโลกุตตรจิตได้   ส่วนความสันทัดในทางชั่ว  เป็นการวนเวียนอยู่เฉพาะในกลุ่มอกุศล ทั้ง 12 ดวง   เนื่องจากจิตบางกลุ่มเป็นธรรมชาติที่พัฒนาได้ พระพุทธองค์จึงเสนอวิธีการทางวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อการฝึกฝนและพัฒนาดังกล่าว

ในทางพระพุทธศาสนาไม่ถือว่าจิตเป็นตัวตนที่แท้จริงแต่ถือว่าเป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่างทำให้เกิดขึ้น ตามกฎแห่งอนัตตา (ทุกสิ่งไม่ตัวตนที่จริงแท้) คือไม่มีตัวตนอันเป็นแก่น เหมือนต้นไม้ย่อมอาศัยดิน ราก ใบ แสงแดด อากาศ กิ่ง ทำให้มีตัวตนที่เรียกว่าต้นไม้ขึ้น สรรพสิ่งดูเหมือนมีตัวตนเพราะอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น เมื่อแยกออกก็ว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย เช่นเดียวกับจิตอย่างไม่มีข้อยกเว้น จิตดำรงอยู่ได้ด้วยการอิงอาศัยกันของสิ่งที่เรียกว่าเจตสิกอันเป็นองค์ประกอบของจิต ประกอบกันเป็นกระบวนการทำงานทั้ง7อย่างเรียกว่า ธรรมธาตุ๗ ที่กำเนิดขึ้นตามกลไกมหาปัฏฐาน (ปัจจัย๒๔) ที่เป็นไปตามกฎแห่งปฏิจจสมุปบาทโดยจะหมดเหตุแห่งกระบวนการทางจิตเมื่อกำจัดอวิชชาสังโยชน์ จิตเหมือนรถยนต์การที่จะเป็นรถขี่ได้ ๑ คัน

กลไกต่างๆย่อมต้องอยู่ในที่ๆเหมาะสม หรือเหมือนคอมพิวเตอร์ย่อมอาศัยโปรแกรมหลายๆโปรแกรมประกอบกันขึ้น มหาปัฏฐานเหมือนโปรแกรม (ยกขึ้นเป็นตัวอย่างเท่านั้น) เพียงแต่กระบวนการทางธรรมชาติย่อมใช้เวลาให้กฎแห่งเหตุผลทางธรรมชาติ (กฎนิยาม) เกี่ยวเนื่องกัน สมบูรณ์ตามรูปแบบจิตเหมือนในคัมภีร์มหาปัฏฐานจนเหมาะสมที่จะเป็นกระบวนการทางจิตที่ซับซ้อนอันเป็นต้นกำเนิดของจิตอันเป็นบ่อเกิดให้มีการเวียนว่ายตายเกิด
จิตนั้นมีสภาวะเดียวแต่มี 4 ชื่อที่ท่านแจงเพื่อความเข้าใจในบทบาทนั้นๆของจิต คือ
1.           จิต มาจากการที่เป็นสิ่งที่ถูกปรุงแต่งได้ เช่นคำว่าวิจิตร หมายเอาสภาวะของจิตที่แปรปรวนตามเจตสิกที่เข้ามาประกอบเป็น 89 อาการ
2.           วิญญาณ มาจากคำว่ารู้แจ้ง หมายเอา จิตที่ทำหน้ารับรู้ทางอายตนะทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
3.           มโน มาจากคำว่านโม ความน้อมน้อม มาเป็นความน้อมรู้ หมายเอากิริยาที่จิตให้ความสนใจต่อสิ่งใด ใหรือมุ่งหวังส่ใจสิ่งใดเป็นสำคัญ เช่น มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จได้ด้วยใจ
4.           ภวังค์ มาจากคำว่าองค์แห่งการเกิดภพ หรือตัวเกิด หมายเอากระบวนการของจิต ที่มีการเกิดหรือปฏิสนธิจิต ชวนะจิตต่างๆ ก็จะมาจบที่ภวังคจิตอันเป็นข้อมูลทั้งปวงของจิตหรือจิตใต้สำนึก ที่จะส่งต่อข้อมูลไปยังจิตดวงใหม่ก่อนที่จิตดวงเก่าจะดับ จึงมักใช้ในความหมายของจิตใต้สำนึกของจิต
แต่แม้จะมี 4 ชื่อแต่ก็เป็นสิ่งเดียวกัน แยกชื่อเพื่อใช้ในความที่จิตไปเกี่ยวข้องในด้านนั้นๆเท ่านั้น
ความอัศจรรย์ของจิตมนุษย์
ในจำนวนสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงที่อุบัติขึ้นมาบนโลกใบนี้มีเพียงมนุษย์เท่านั้นที่มีความสามารถพิเศษทางจิต กล่าวคือสามารถอบรมและพัฒนาจิตอันเป็นนามธรรมให้เกิดขึ้นภายในจิตใจของตนเองได้ และความสามารถในการพัฒนาคุณสมบัติอันพิเศษทางจิตนี้ยังช่วยให้มนุษย์สามารถค้นพบปัญญาแห่งความรู้แจ้งนานัปการ รวมถึงปัญญาแห่งการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารอีกต่อไป มนุษย์จึงถูกเรียกว่าเป็น "สัตว์ประเสริฐ"
ในขณะที่สัตว์โลกชนิดอื่นๆ ที่ต่ำกว่ามนุษย์ลงไปนั้นล้วนเป็นเพียงสัตว์เดรัจฉาน ซึ่งมีเพียงอาการของสัญชาตญาณของการเป็นสัตว์โลกเท่านั้น จึงทำให้พวกมันไม่อาจเข้าใจในนามธรรม (พลังจิต) และไม่อาจพัฒนาสิ่งที่เป็นนามธรรมอันวิเศษนี้ได้ เฉกเช่นที่มนุษย์สามารถกระทำได้
ดังนั้นเรื่องของจิตและพลังที่เกิดจากจิตจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ที่เกิดมาเป็นมนุษย์ทุกคน
สิ่งที่มีพลังอำนาจมากที่สุดในโลกธาตุและจักรวาลธาตุนี้ก็คือ "พลังแห่งจิต" แม้กระทั่งไอน์สไตน์ผู้คนพบระเบิดปรมาณู อันมีพลังอำนาจในการทำลายล้างอย่างมหาศาล ยังกล่าวยอมรับว่าพลังที่มีอำนาจมากที่สุดโลกนั้นมิใช่พลังที่มีอานุภาพอย่างไร้ขอบเขตไร้ขีดจำกัด เป็นพลังงานที่หาที่สุดมิได้ ...ด้วยเหตุนี้เองไอน์สไตน์จึงมีความสนใจในเรื่องของพลังจิต และกระบวนการอบรมจิตตามหลักการของพุทธศาสนา และเชือว่าศาสนาพุทธเท่านั้นที่จะสามารถนำเขาค้นพบสัจธรรมความจริงแห่งชีวิตอันยิ่งใหญ่บนโลกใบนี้ได้
มีผู้วินิจฉัยเรื่องของจิตไว้ว่า ถ้าจิตเป็นนามธาตุซึ่งแยกต่างหากจากรูปธาตุ ซึ่งทฤษฎีสัมพันธภาพ ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ทำให้รู้ว่าสสารทำให้เกิดเวลาและระยะทาง หากจิตแยกต่างห่างจากรูปตามหลักพุทธศาสนา จิตย่อมหลุดพ้นเป็นอิสระจากเวลาและระยะทางได้ จนน่าจะสามารถหยั่งรู้ได้ทุกสิ่งโดยไม่ติดขีดจำกัดของเวลาและระยะทาง อีกทั้งมีการพิสูจน์ว่าเวลาของสัตว์แต่ละชนิดน่าจะไม่เท่ากัน เช่นจิตของเต่าจะนานกว่าจิตมนุษย์เป็นต้น กบจิตจะเร็วกว่ามนุษย์มากจนพริบตาที่กบจับแมลงมนุษย์จะจับตาไม่ทัน
การเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ละเอียดกว่า ให้พลังงานมากกว่าการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่หยาบ เพราะการเปลี่ยนแปลงในระดับที่ละเอียด มีผลกระทบต่อเนื่องไปมากกว่าไกลกว่า จึงให้พลังงานมากกว่าการเปลี่ยนแปลงที่หยาบกว่า เช่นเดียวกับพลังงาน ธาตุของแข็ง (ดิน) ให้พลังน้อยกว่าเหลว ของเหลว (น้ำ) ให้พลังงานน้อยกว่าแก๊ส แก๊ส (ลม) ให้พลังงานน้อยกว่าพลาสม่า พลาสม่า (ไฟ) ที่ความถี่ต่ำให้พลังงานน้อยกว่าพลาสม่าที่ความถี่สูง (เช่น รังสีเอ็ก) จิตนั้นเป็นสิ่งที่ละเอียดมาก ย่อมเปลี่ยนแปลงวัตถุได้ในระดับบริสุทธิได้ ความละเอียดของจิต อยู่ในระดับนามธรรม อยู่ในระดับจินตนาการ อยู่ในระดับอธิฏฐาน ดังนั้น พลังจิตจึงมีพลังมาก และ ผู้ที่จิตละเอียดในระดับบริสุทธิจึงมีพลังไร้ขีดจำกัด
ธรรมชาติของจิตมนุษย์
มนุษย์ทุกคนต่างมีจิตอันเป็นพลังในการขับเคลื่อนให้ชีวิตดำเนินไปได้ แต่ทุกวันนี้มนุษย์กลับสามารถใช้พลังจิตของตนเองได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งถ้าเทียบเป็นสัดส่วนแล้ว มนุษย์สามารถใช้พลังจิตที่มีอยู่ในตัวได้ไม่ถึงห้าเปอร์เซ็นต์นั้น มนุษย์กลับไม่อาจเข้าไปใช้งานพลังเหล่านั้นได้เลย ทั้งนี้เพราะจิตส่วนนี้เป็นจิตไร้สำนึกที่อยู่เหนืออำนาจการควบคุมทางกาย ร่างกายจึงไม่สามารถเข้าไปบังคับควบคุมพลังจิตเหล่านั้นได้ แต่จิตในส่วนนี้กลับเป็นจิตส่วนที่มีพลังมากที่สุด และสามารถเปลี่ยนแปลงความเป็นไปของชีวิตเราได้อย่างไม่น่าเชื่อ
จิตหรือนามธาตุนั้นจัดเป็นธาตุพลังงาน เช่นเดียวกับพืชที่โดยสภาวะเดิมแท้ (หลักวิทยาศาสตร์) ก็เป็นธาตุพลังงานเช่นเดียวกัน ดังนั้นพุทธศาสนาจึงไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องเหลือเชื่ออะไรในการที่จะเกิดมีสภาวะชีวิตของนามธาตุหรือจิตขึ้น เพราะพืชซึ่งเป็นสภาวะพลังงานเหมือนกันยังเกิดมีชีวิตได้เอง
จิต๘๙หรือ๑๒๑ จำแนกตามอภิธรรม
อภิธรรมจัดจิตตามคุณภาพหรือคุณลักษณะ ที่ เจตสิกเข้ามาประกอบ มี 89 หรือ 121
กามาวจรจิต๕๔
กุสลจิต๒๔
·             จิตที่สหรคต (เป็นไปกับเวทนา) ด้วยโสมนัสหรืออุเบกขา
·             สัมปยุต (ประกอบกับสังขารเจตสิก) ญาณหรือปราศจากญาณ (หรือปัญญา)
·             สสังขาริก (มีใครชักชวน) หรืออสังขาริก (เกิดเองไม่มีใครชักชวน)
รวมเป็นกุศล ๘ และกุศลเช่นไร กิริยา และวิบากเป็นเช่นนั้น รวมเป็น๒๔
อกุสลจิต๑๒
โลภมูลจิต๘
·             จิตที่สหรคต (เป็นไปกับเวทนา) ด้วยโสมนัสหรืออุเบกขา
·             สัมปยุต (ประกอบกับสังขารเจตสิก) ทิฏฐิหรือปราศจากทิฏฐิ
·             สสังขาริก (มีใครชักชวน) หรืออสังขาริก (เกิดเองไม่มีใครชักชวน)
โทสมูลจิต๒
·             จิตที่สหรคต (เป็นไปกับเวทนา) ด้วยโทมนัส
·             สัมปยุต (ประกอบกับสังขารเจตสิก) ด้วยปฏิฆะ
·             สสังขาริก (มีใครชักชวน) หรืออสังขาริก (เกิดเองไม่มีใครชักชวน)
โมหมูลจิต๒
·             จิตที่สหรคต (เป็นไปกับเวทนา) ด้วยอุเบกขา
·             สัมปยุต (ประกอบกับสังขารเจตสิก) ด้วยอุทธัจจะหรือวิจิกิจฉา
อเหตุกจิต๑๘
กุศลวิบาก๘
·             จักขุวิญญาณ สหรคตด้วยอุเบกขา
·             โสตวิญาณ สหรคตด้วยอุเบกขา
·             ฆานวิญญาณ สหรคตด้วยอุเบกขา
·             ชิวหาวิญญาณ สหรคตด้วยอุเบกขา
·             กายวิญญาณ สหรคตด้วยอุเบกขา
·             สัมปฏิจฉันนจิต สหรคตด้วยอุเบกขา
·             สันตีรณจิต สหรคตด้วยอุเบกขา
·             สันตีรณจิต สหรคตด้วยโสมนัส
อกุศลวิบาก๗
·             จักขุวิญญาณ สหรคตด้วยอุเบกขา
·             โสตวิญาณสหรคตด้วยอุเบกขา
·             ฆานวิญญาณสหรคตด้วยอุเบกขา
·             ชิวหาวิญญาณสหรคตด้วยอุเบกขา
·             กายวิญญาณสหรคตด้วยทุกข์
·             สัมปฏิจฉันนจิตสหรคตด้วยอุเบกขา
·             สันตีรณจิตสหรคตด้วยอุเบกขา
อเหตุกิริยา๓
·             ปัญจทวารวัชชนจิต (จิตที่เป็นไปในทวาร๕)
·             มโนทวารวัชชนะจิต (จิตที่เป็นไปในมโนทวาร)
·             หสิตุปาทจิต (จิตร่าเริง)
มหัคคตจิต
รูปาวจรจิต๑๕
·             ปฐมฌาน มีองค์ญาน๕คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
·             ทุติยฌานมีองค์ญาน๔คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
·             ตติยฌานมีองค์ญาน๓คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
·             จตุตถฌานมีองค์ญาน๒คือ สุข เอกัคคตา
·             ปัญจมฌานมีองค์ญาน๒คือ อุเบกขา เอกัคคตา
รวมเป็น กุศล ๕ กุศลเช่นไร กิริยา และวิบากเป็นเช่นนั้น รวมเป็น๑๕
อรูปาวจรจิต๑๒
·             อากาสานัญจายตนะ
·             วิญญาณัญจายตนะ
·             อากิญนัญจายตนะ
·             เนวสัญญานาสัญญายตนะ
รวมเป็น กุศล ๔ กุศลเช่นไร กิริยา และวิบากเป็นเช่นนั้น รวมเป็น๑๒
โลกุตตรจิต๘
·             โสดาปัตติมรรค เป็นกุศล
·             โสดาปัตติผล เป็นวิบาก
·             สกทาคามิมรรค เป็นกุศล
·             สกทาคามิผล เป็นวิบาก
·             อนาคามิมรรค เป็นกุศล
·             อนาคามิผล เป็นวิบาก
·             อรหัตตมรรค เป็นกุศล
·             อรหัตตผล เป็นวิบาก
จัดตามฌาน๕จะรวมเป็น๔๐
การนับจำนวนจิต
        ( ถ้าจะพูดอย่างรวบรัด จิตก็มีเพียงดวงเดียว เพราะไม่สามารถเกิดได้ขณะละหลายดวง แต่เพราะเหตุที่เกิดหลายขณะ และมีส่วนประกอบ คือความดีความชั่ว เป็นต้น ต่าง ๆ กัน จึงนับจำนวนได้มาก. ในพระ ไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ แสดงการนับจำนวนไว้บางตอน เช่น จิตที่เป็นมหากุศลฝ่ายกามาวจร ๘, ส่วนรูปาวจร, อรูปาวจร และ โลกุตตระไม่ได้นับให้, ครั้นถึงอกุศลจิต ได้นับจำนวนให้อีกว่า มี ๑๒, ถึงอัพยากตจิต นับจิตที่เป็นมหาวิบาก ๘ นอกนั้นเป็น แต่บอกชื่อไว้ข้างท้าย การนับจำนวนที่แสดงในที่นี้ จึงเป็นการนับย่อเพื่อให้เข้าใจง่าย แต่ตามที่มีในพระไตรปิฎกมีจำนวนพิสดาร มากกว่านี้. ได้เคยทำมาแล้วในพระสูตร คือ พระไตรปิฎกไม่ได้นับเป็นตัวเลขให้ แต่ผู้เขียนใส่ตัวเลขนับลงไปเพื่อเข้าใจง่าย กำหนดง่าย ).
คำอธิบายในจิตตุปปาทกัณฑ์
        ได้กล่าวแล้วโดยใจความว่า จิตตุปปาทกัณฑ์ เป็นภาคอธิบายถาคแรกของ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ นี้ ซึ่งมีภาคบทตั้ง ๑ ภาค ภาคอธิบาย ๔ ภาค. การตั้งเคร้าโครงอธิบายของภาคแรก เจาะจงอธิบาย เพียงคำ ๓ คำ คือ กสุลา ธมฺมา ( กุศลธรรม ) อกุสลา ธมฺมา ( อกุศลธรรม ) และ อพฺยาตกา ธมฺมา ( อัพยากตธรรม คือ ธรรมที่เป็นกลาง ๆ ) แล้วอธิบายเป็นเรื่องของจิต ส่วนการแบ่งเป็นกามาวจร, รูปาวจร, อรูปาวจร, โลกุตตระ ได้นำมาแบ่งภายใต้หัวข้อของกุศลธรรม, ภายใต้หัวข้อของอกุศลธรรมมีกามาวจรอยู่อย่างเดียว, ภายใต้หัวข้อของ อัพยากตธรรมหรือธรรมที่เป็นกลาง ๆ คงมีทั้งกามาวจร, รูปาวจร, อรูปาวจร, และโลกุตตระ. ธรรมที่เป็นกลาง ๆ นั้น ได้แก่จิต ที่เป็นวิบากและเป็นกิริยา. เป็นอันว่า จิตตุปปทกัณฑ์ อันเป็นคำอธิบายภาคแรก เจาะจงอธิบายเรื่องจิตที่ดี ที่ไม่ดี และที่เป็นกลาง ๆ แต่ในขณะเดียวกันก็ได้อธิบายเจตสิก คือธรรมที่เนื่องด้วยจิตพร้อมกันไปใน ตัวด้วย. ต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นลีลาในการอธิบาย คำว่า ธรรมอันเป็นกุศล ในตอนแรกของจิตตุปปทกัณฑ์ :-
        " ธรรมอันเป็นกุศล เป็นไฉน ? "
        " ธรรมอันเป็นกุศล คือในสมัยใด จิตอันเป็นกุศลฝ่ายกามาวจร( ท่องเที่ยวไปในกาม ) ประกอบด้วยโสมนัส ( ความดีใจ ) ประกอบด้วยญาณ เกิดขึ้น ปรารภ อารมณ์ คือ รูป หรือเสียง หรือกลิ่น หรือรส หรือโผฏฐัพพะ ( สิ่งที่ถูกต้องได้ ) หรือธรรมะ ( สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ ), ในสมัยนั้นย่อม มี ( ธรรมะ ๕๖ อย่าง ) คือ :-
   " ๑. ผัสสะ ( ความถูกต้อง )
   ๒. เวทนา ( ความรู้สึกอารมณ์ว่า เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข )
   ๓. สัญญา ( ความจำได้หมายรู้ ) ๔. เจตนา ( ความจงใจ )
   ๕. จิตตะ ( จิต) ๖. วิตก ( ความตรึก)
   ๗. วิจาร ( ความตรอง ) ๘. ปีติ ( ความอิ่มใจ )
   ๙. สุข ( ความสบายใจ, ในที่นี้ไม่หมายเอาสุขกาย )
   ๑๐. จิตตัสส เอกัคคตา ( ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง )
   ๑๑. สัทธินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือความเชื่อ )
   ๑๒. วิริยินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือความเพียร ) ๑๓. สตินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือสติ )
   ๑๔. สมาธินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือสมาธิ ) ๑๕. ปัญญินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือปัญญา )
   ๑๖. มนินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือใจ )
   ๑๗. โสมนัสสินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือความสุขใจ )
   ๑๘. ชีวิตินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือชีวิตความเป็นอยู่ )
   ๑๙. สัมมาทิฏฐิ ( ความเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจจ์ ๔ )
   ๒๐. สัมมาสังกัปปะ ( ความดำริชอบ ) ๒๑. สัมมาวายามะ ( ความพยายามชอบ )
   ๒๒. สัมมาสติ ( ความระลึกชอบ ) ๒๓. สัมมาสมาธิ ( ความตั้งใจมั่นชอบ )
   ๒๔. สัทธาพละ ( กำลังคือความเชื่อ ) ๒๕. วิริยพละ ( กำลังคือความเพียร )
   ๒๖. สติพละ ( กำลังคือสติ ) ๒๗. สมาธิพละ ( กำลังคือสมาธิ )
   ๒๘. ปัญญาพละ ( กำลังคือปัญญา ) ๒๙. หิรีพละ ( กำลังคือความละอายต่อบาป )
   ๓๐. โอตตัปปพละ ( กำลังคือความเกรงกลัวต่อบาป ) ๓๑. อโลภะ ( ความไม่โลภ )
   ๓๒. อโทสะ ( ความคิดประทุษร้าย ) ๓๓. อโมหะ ( ความไม่หลง )
   ๓๔. อนภิชฌา ( ความไม่โลภ ชนิดนึกน้อมมาเป็นของตน )
   ๓๕. อัพยาบาท ( ความไม่คิดปองร้าย ชนิดนึกให้ผู้อื่นพินาศ )
   ๓๖. สัมมาทิฏฐิ ( ความเห็นชอบแบบทั่ว ๆ ไป เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี )
   ๓๗. หิริ ( ความละอายต่อบาป ) ๓๘. โอตตัปปะ ( ความเกรงกลัวต่อบาป )
   ๓๙. กายปัสสัทธิ ( ความสงบระงับแห่งกองเวทนา, สัญญา, สังขาร )
   ๔๐. จิตตปัสสัทธิ ( ความสงบระงับแห่งจิต )
   ๔๑. กายลหุตา ( ความเบาแห่งกองเวทนา, สัญญา, สังขาร )
   ๔๒. จิตตลหุตา ( ความเบาแห่งจิต )
   ๔๓. กายมุทุตา ( ความอ่อนสลวยแห่งกองเวทนา, สัญญา, สังขาร )
   ๔๔. จิตตมุทุตา ( ความอ่อนสลวยแห่งจิต )
   ๔๕. กายกัมมัญญตา ( ความควรแก่การงานแห่งกองเวทนา, สัญญา, สังขาร )
   ๔๖. จิตตกัมมัญญตา ( ความควรแก่การงานแห่งจิต )
   ๔๗. กายปาคุญญตา ( ความคล่องแคล่วแห่งกองเวทนา, สัญญา, สังขาร )
   ๔๘. จิตตปาคุญญตา ( ความคล่องแคล่วแห่งจิต )
   ๔๙. กายุชุกตา ( ความตรง ไม่คดโกงแห่งกองเวทนา, สัญญา, สังขาร )
   ๕๐. จิตตุชุกตา ( ความตรง ไม่คดโกงแห่งจิต ) ๕๑. สติ ( ความระลึกได้ )
   ๕๒. สัมปชัญญะ ( ความรู้ตัว ) ๕๓. สมถะ ( ความสงบแห่งจิต )
   ๕๔. วิปัสสนา ( ความเห็นแจ้ง ) ๕๕. ปัคคาหะ ( ความเพียรทางจิต )
   ๕๖. อวิกเขปะ ( ความไม่ซัดส่าย คือความตั้งมั่นแห่งจิต )
        " อนึ่ง ในสมัยนั้น ธรรมเหล่าใด แม้อื่น ที่ไม่มีรูปอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่. ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่ากุศล. "
        ( ต่อจากนั้นเป็นคำอธิบายศัพท์แต่ละข้อ นี้เป็นเพียงคำอธิบายจิตดวงแรกใน ๘๙ ดวง ซึ่งมีธรรมประกอบ ๕๖ อย่าง กับได้หมวดเงื่อนไขไว้ว่า แม้ธรรมเหล่าอื่นที่ไม่กล่าวไว้ แต่มิใช่รูปธรรม อิงอาศัยจิตดังกล่าว เกิดขึ้น ก็จัดเป็นกุศลจิตได้. ธรรมประกอบ ๕๖ อย่างนั้น ในภาคอธิบายต่อไป ได้ชี้ให้เห็นว่า จะย่อได้ อย่างไร หรือกำหนด หัวข้ออย่างไรบ้าง ดังต่อไปนี้
        " ก็ในสมัยนั้นแล ย่อมมีขันธ์ ๔, อายตนะ ๒, ธาตุ ๒, อาหาร ๓, อินทรีย์ ๘, ฌาน มีองค์ ๕, มรรคมีองค์ ๕, ธรรมะอันเป็นกำลัง ๗, เหตุ ๓, ผัสสะ ๑, เวทนา ๑, สัญญา ๑, เจตนา ๑, จิต ๑, เวทนาขันธ์ ๑, สัญญาขันธ์ ๑, สังขารขันธ์ ๑, วิญญาณขันธ์ ๑, มนายตนะ (อายตนะคือใจ ) ๑, มนินทรีย์ ( อินทรีย์คือใจ ) ๑, มโนวิญญาณ- ธาตุ ( ธาตุรู้คือใจ ) ๑, ธัมมายตนะ ( อายตนะคือธรรมที่รู้ได้ด้วยใจ ) ๑, ธัมมธาตุ ( ธาตุคือธรรมที่รู้ได้ด้วยใจ ) ๑, หรือแม้ธรรม เหล่าใด แม้อื่น ที่ไม่มีรูปอิงอาศัยกันเกิดขึ้นมีอยู่. ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นกุศล. "
        ( คำอธิบายตอนนี้เป็นการมองธรรม ๕๖ อย่าง ซึ่งประกอบกับจิตดวงแรกอันเป็นกุศล ฝ่ายกามาวจรนั้นว่าจะเรียกเป็นอย่างไรได้บ้าง มองในทัสสนะไหนได้บ้าง. ขอยกตัวอย่างพอให้เข้าใจ คือในธรรมประกอบ ๕๖ ข้อนั้น จัดเป็นขันธ์ ๔ ได้ดังนี้. ข้อ ๒ คือเวทนา, ข้อ ๙ คือสุข, ข้อ ๑๗ คือโสมนัสสินทรีย์ ธรรมอันเป็นใหญ่ คือความสบาย ใจหรือความดีใจ จัดเป็นเวทนาขันธ์ ( กองเวทนา ) ; ข้อ ๓ คือสัญญา ความจำได้หมายรู้ จัดเป็นสัญญาขันธ์ ( กองสัญญา ) ; ๕๐ ข้อ เว้นข้อที่ ๒, , , , ๑๖, ๑๗, จัดเป็นสังขารขันธ์ ( กองสังขาร ) ; ข้อ ๕ คือจิต, ข้อ ๑๖ คือมนินทรีย์ ธรรมอันเป็นใหญ่คือใจ จัดเป็นวิญญาณขันธ์ ( กองวิญญาณ ). ในที่นี้ไม่จัดเป็นขันธ์ ๕ เพราะขาดรูป ไป ๑ เนื่องจากเป็นเรื่องของจิต แต่ก็สามารถจัดธรรมะถึง ๕๖ ข้อมารวมได้ ใน ๔ ข้อเท่านั้น. ตอนต่อไปแสดงอายตนะ ( บ่อ เกิดหรือที่ต่อ ) ๒ คือ ๑. มนายตนะ ( อายตนะคือใจ ) ๒. ธัมมายตนะ ( อายตนะคือธรรมที่รู้ได้ด้วยใจ ). ในธรรม ๕๖ ข้อนั้น ข้อที่ ๕ คือจิต ข้อที่๑๖ คือมนินทรีย์ ( ธรรมอันเป็นใหญ่คือใจ ) จัดเข้าในมนายตนะ นอกนั้นคืออีก ๕๔ ข้อ จัด เข้าในธัมมายตนะ. ตอนนี้ยิ่งรวบรัดกว่าตอนต้นอีก เพราะจัดธรรม ๕๖ อย่างมาลงใน ๒ อย่างได้. ข้อต่อไปจัดธรรม ๕๖ อย่างมาลงในธาตุ ๒ คือ ข้อที่ ๕ คือจิต ข้อที่ ๑๖ คือมนินทรีย์ จัดเข้าในมโนวิญญาณธาตุ ( ธาตุรู้ทางใจ ), อีก ๕๔ ข้อที่เหลือ จัดเข้าในธัมมธาตุ ( ธาตุคือธรรมที่รู้ได้ด้วยใจ ) หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งตามสำนวนอธิบายที่ปรากฏในนั้นอีก ๕๔ ข้อที่เหลือ อันเคยจัดมาแล้วว่า ได้แก่เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์นั้น จัดเป็นธัมมธาตุ ( ธาตุคือธรรมะที่รู้ได้ด้วย ใจ ) ดังนี้เป็นตัวอย่าง ต่อจากนั้น ได้แสดงเรื่องอาหาร ๓ อินทรีย์ ๘ เป็นต้น เป็นการชี้ไปว่า อาหาร ๓ มีอยู่ในธรรม ๕๖ ข้อ นั้น อินทรีย์ ๘ มีอยู่ในธรรม ๕๖ ข้อนั้นอย่างไรบ้าง คล้ายกับเป็นการสำรวจเครื่องจักรเครื่องยนต์ว่า อันไหนเป็นประเภทไหน เกี่ยวโยงกันอย่างไร เป็นการบริหารความคิดและความจำ, นี้เป็นคำอธิบายตอนที่ ๒ คือคำอธิบายตอนที่ ๑ เริ่มด้วยแสดงจิตดวง แรกที่เป็นกุศลแล้วแสดงธรรม ๕๖ อย่าง ที่เนื่องด้วยจิตดวงนั้น, ตอนที่ ๒ อธิบายว่า ธรรม ๕๖ อย่างนั้น จะเรียกชื่อย่อ ๆ หรือกำหนดหัวข้อ เป็นจำนวนอย่างไรบ้าง, คำอธิบายตอนที่ ๓ ตัดจำนวนเลขออก เรียกแต่ชื่อดังต่อไปนี้ )
        " ก็ในสมัยนั้น ย่อมมีธรรม,) มีขันธ์, มี อายตนะ, มีธาตุ, มีอาหาร, มีอินทรีย์, มีฌาน, มีมรรค, มีพละ ( ธรรมอันเป็นกำลัง ), มีเหตุ, มีผัสสะ, มีเวทนา, มีสัญญา, มี เจตนา, มีจิต, มีเวทนาขันธ์, มีสัญญาขันธ์, มีสงขารขันธ์, มีวิญญาณขันธ์, มีมนายตนะ, มีมนินทรีย์, มีมโนวิญญาณธาตุ, มี ธัมมายตนะ, มีธัมมธาตุ. อนึ่ง ในสมัยนั้น มีธรรมะเหล่าใด แม้อื่น ที่ไม่มีรูป อิงอาศัยกันเกิดขึ้น. ธรรมเหล่านี้ ก็ชื่อว่าเป็นกุศล ธรรม. "
        ( คำอธิบายตอน ๓ นี้ ตัดตัวเลขออกให้เข้าใจแต่ชื่อธรรมะ แล้วอธิบายว่า ธรรมะชื่อ นั้นได้แก่อะไร ).

ธรรมะประกอบกับจิต
        ( ท่านผู้อ่านได้ทราบแล้วว่า ในจิตตุปปาทกัณฑ์ อันเป็นคำอธิบายภาคแรกของบทตั้ง นั้น อธิบายเพียง คำว่า กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม ( ธรรมที่เป็นกลาง ๆ ) โดยอธิบายจิตตาม ๓ หัวข้อนั้น และ ในขณะเดียวกันก็อธิบายธรรมะประกอบกับจิตทีละข้อด้วยว่า จิตชนิดไหนมีธรรมะประกอบอะไรบ้าง. เฉพาะจิตดวงแรกได้ แสดงให้เห็นแล้วว่ามีธรรมะประกอบ ๕๖ ข้อ และจิตดวงต่อ ๆ ไปก็มีเท่ากันบ้าง มากกว่าบ้าง น้อยลงบ้าง จะนำมากล่าวจน หมดทุกอย่าง ก็ไม่มีหน้ากระดาษพอ. แต่มีข้อสังเกตที่ใคร่ฝากไว้แด่ท่านผู้รักการค้นคว้า คือในปัจจุบันนี้เรามักไม่เรียนอภิธรรม จากอภิธัมมปิฎก แต่เรียนตำราย่อเนื้อความแห่งอภิธรรมที่ชื่อว่า อภิธัมมัตถสังคหะ ท่านผู้อ่านภาษาบาลีได้ควรจะได้ติดตามสอบ สวนดูด้วย โดยตั้งใจเป็นกลาง ๆ อย่างปลงว่า คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะของพระอนุรุทธาจารย์นั้นถูกต้องดีแล้วหรือยังบกพร่อง อะไรอยู่ โดยเฉพาะเรื่องเจตสิก ๕๒ นั้น ก็คือธรรมะประกอบกับจิต ๕๒ ประการนั่นเอง ในพระอภิธัมมปิฎก เล่มที่ ๓๔ นี้ จิตบางดวงมีธรรมประกอบถึง ๖๐ บางดวงก็มีไม่ถึง ควรจะได้สอบสวนเทียบเคียงดูว่า ที่ว่าเจตสิก ๕๒ นั้นสมบูรณ์ถูกต้องดี หรืออย่างไร หรือท่านรวมอะไรเข้ากับอะไร ตัดอะไรออก การด่วนลงความเห็นว่าอภิธัมมัตถสังคหะของพระอนุรุทธาจารย์มี บกพร่อง ยังไม่เป็นการชอบ ควรจะได้ตรวจสอบค้นคว้าให้ละเอียดลออถี่ถ้วน ที่เสนอไว้นี้เพื่อให้ท่านผู้รักการค้นคว้าได้ พยายามขบคิดและสอบสวนเรื่องนี้ทำเป็นตำราขึ้น เพื่อเป็นทางเรืองปัญญาของผู้ใคร่การศีกษาต่อไป. ข้าพเจ้าผู้ทำหนังสือนี้ ยัง ไม่พร้อมที่จะทำการวิจัยในเรื่องนี้ โดยเฉพาะในเล่มนี้ ขอเสนอชักชวนผู้ชอบงานค้นคว้าให้ช่วยกันทำอีกส่วนหนึ่ง. ต่อไปนี้จะ แสดงจิตดวงอื่น ๆ จนจบชนิดของจิต และจะละเรื่องธรรมะที่ประกอบกับจิต แต่ละดวงไว้ไม่กล่าวถึง เพราะจะทำให้พระ- ไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชนจบลงไม่ได้ใน ๑ เล่ม ตามที่ตั้งใจไว้ ).
แสดงจิตจากลำดับที่ ๑ ถึง ๘๙
        ( ต่อไปนี้จะแสดงจิต ๘๙ ชนิดโดยลำดับ จากที่ ๑ ถึง ๘๙ ความจริงโดยพิสดาร มีหลายร้อยหลายพัน และพึงทราบว่า จากลำดับที่ ๑ ถึง ๒๑ เป็นกุศลจิต ; จากลำดับที่ ๒๒ ถึง ๓๓ รวมเป็น ๑๒ เป็น อกุศลจิต ; จากลำดับที่ ๓๔ ถึง ๘๙ รวม ๕๖ เป็นอัพยากตจิต คือจิตที่เป็นกลาง ๆ อนึ่ง ในจิตที่เป็นกลาง ๕๖ นี้เป็นวิบาก จิต คือจิตที่เป็นผล ๓๖ เป็นกิริยาจิต คือจิตที่เป็นกิริยา ๒๐ ) ดังต่อไปนี้ :-
กุศลจิต ๒๑
๑. กามาวจร ( ท่องเที่ยวไปในกาม ) ๘
    ๑. จิตอันเป็นกุศลฝ่ายกามาวจร ประกอบด้วยโสมนัส ( ความดีใจ ) ประกอบด้วยญาณ ( ความรู้ ) เป็น อสังขาริก ( คือไม่ต้องมีสิ่งชักจูง จิตก็เกิดขึ้น ).
    ๒. จิตเหมือนข้อที่ ๑ แต่เป็นสสังขาริก ( คือต้องมีสิ่งชักจูง จิตจึงเกิดขึ้น ).
    ๓. จิตอันเป็นกุศลฝ่ายกามาวจร ประกอบด้วยโสมนัส แต่ ไม่ประกอบด้วยญาณ เป็นอสังขาริก.
    ๔. จิตเหมือนข้อที่ ๓ แต่เป็นสสังขาริก.
    ๕. จิตอันเป็นกุศลฝ่ายกามาวจร ประกอบด้วยอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ คือไม่ดีใจไม่เสียใจ ) ประกอบด้วยญาณ เป็นอสังขาริก.
    ๖. จิตเหมือนข้อที่ ๕ แต่เป็นสสังขาริก.
    ๗. จิตอันเป็นกุศลฝ่ายกามาวจร ประกอบด้วยอุเบกขา แต่ไม่ประกอบด้วยญาณ เป็นอสังขาริก.
    ๘. จิตเหมือนข้อที่ ๗ แต่เป็นสสังขาริก.
๒. รูปาวจร ( ท่องเที่ยวไปในรูป ) ๕
    ๙. จิตอันเป็นกุศล เนื่องด้วยฌานที่ ๑ ประกอบด้วยวิตก ( ความตรึก ), วิจาร ( ความตรอง ), ปีติ ( ความ อิ่มใจ ), สุข, เอกัคคตา ( ความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ).
    ๑๐. จิตอันเป็นกุศล เนื่องด้วยฌานที่ ๒ ประกอบด้วยวิจาร, ปีติ, สุข, เอกัคคตา.
    ๑๑. จิตอันเป็นกุศล เนื่องด้วยฌานที่ ๓ ประกอบด้วยปีติ, สุข, เอกัคคตา.
    ๑๒. จิตอันเป็นกุศล เนื่องด้วยฌานที่ ๔ ประกอบด้วยสุข, เอกัคคตา.
    ๑๓. จิตอันเป็นกุศล เนื่องด้วยฌานที่ ๕ ประกอบด้วยอุเบกขา (ความวางเฉย) กับเอกัคคตา.
        ( หมายเหตุ : มีเรื่องแทรกที่ใคร่อธิบายไว้ในเรื่องจิตอันเป็นกุศลฝ่ายรูปาวจรไว้ ประกอบประกอบการพิจารณาของผู้ใคร่การศึกษา คือการนับจำนวนจิตในรูปาวจรกุศล ที่นับไว้เพียง ๕ ในที่นี้ เป็นการนับ อย่างรวบรัดตามแบบอถิธัมมัตถสังคหะ แต่ถ้าจะแจกตามบาลีอภิธัมมปิฎก เล่มที่ ๓๔ นี้จริง ๆ ก็หลายร้อยหลายพัน ผู้ศึกษา อภิธรรมที่ไม่เคยนับตามอภิธัมมปิฎกเลย ก็อาจเข้าใจว่า รูปาวจรกุศลจิตมี ๕ เท่านั้น แท้จริงที่นับว่ามีขันธ์ ๕ นับตามฌาน ๕ และย่นย่อ ถ้านับอย่างพิสดารจะเป็นดังนี้ :-
    ๑. ท่านแสดงฌาน ๔ เรียกจตุกกนัย ( นัยที่มี ๔ )
    ๒. แล้วแสดงฌาน ๕ เรียกปัญจกนัย ( นัยที่มี ๕ )
    ๓. แล้วแสดงปฏิปทา ๔ ( ดูปฏิปทา ๔ นัยแรกในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ หน้า ๔ ) จตุตถปัณณาสถ์ หมวด ๕๐ ที่ ๑...หมายเลขที่ ๒.
    ๔. แล้วแสดงอารมณ์ ๔ ( ฌานเล็กน้อยมีอารมณ์น้อย, ฌานเล็กน้อยมีอารมณ์ไม่มีประมาณ, ฌานไม่มี ประมาณมีอารมณ์เล็กน้อย, ฌานไม่มีประมาณมีอารมณ์ไม่มีประมาณ )
    ๕. แล้วแสดงปฏิปทา ๔ กับอารมณ์ ๔ ผสมกัน เรียกว่าหมวด ๑๖ ( ๔?๔ = ๑๖ = โสฬสกะ )
    ๖. แล้วแสดงกสิณ ๘ ( ความจริงกสิณมี ๑๐ แต่ที่จะใช้เป็นอารมณ์ของรูปฌานได้ มีเพียง ๘ เว้นวิญญาณ กสิณและอากาสกสิณ )
    อรรถกถานับฌาน ๔ ฌาน ๕ เป็นหมวด ๙ ตั้งเกณฑ์เป็น ๑ ; คิดตามปฏิปทา ๔ตั้งเลข ๔ ; คิดตามอารมณ์ ๔ตั้งเลข ๔ ; คิดตามแบบผสมคือปฏิปทา ๔ กับอารมณ์ ๔ ตั้งเลข ๑๖ เมื่อนำเลขที่ตั้ง เป็นเกณฑ์ไว้มารวมกันจะได้ ๒๕, เลข ๒๕นี้ เมื่อนับตามฌาน ๔ จะได้ ๑๐๐ ( ๒๕?๔ = ๑๐๐ ), เมื่อนับตามฌาน ๕ จะได้ ๑๒๕ ( ๒๕?๕ = ๑๒๕ ) เพราะฉะนั้น เพียงนับธรรมดาทั้งฌาน ๔ และฌาน ๕ รวมกัน จะได้ฌานจิตถึง ๒๒๕ แต่ถือว่าฌาน ๔ รวมไว้ในฌาน ๕ จึงนับเพียง ๑๒๕ ก็ได้. คราวนี้เมื่อเอาอารมณ์ของฌานมาคูณ เช่น กสิณ ๘ ก็จะ ได้จิต ( ๑๒๕? = ,๐๐๐ ) ดวง !
    แต่การแสดงอารมณ์ของฌานมิได้มีเพียงเท่านี้ ท่านยังแสดงอภิภายตนะ,วิโมกข์ ๓, พรหมวิหาร ๔, อสุภะ ๑๐. เมื่อเอาตัวเลขต่าง ๆ มาคูณเกณฑ์ ๑๒๕ ทุกประเภท แล้วนำมารวมกันจะได้ตัวเลขเป็นพัน ๆ ทีเดียว ทั้งตัวเลขเหล่านี้ อรรถกถาอัตถสาลินี ซึ่งแก้พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ ก็นับให้ดูเป็นตัวอย่างด้วย. จึงบันทึกไว้ในที่นี้ เพื่อให้เทียบเคียงคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะกับอภิธัมมปิฎกแท้ ๆว่า มี ต่างกันในรายละเอียดอยู่บ้างเหมือนกัน ).
๓. อรูปาวจร ( ท่องเที่ยวไปในอรูป ) ๔
   ๑๔. จิตอันเป็นกุศล ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา ( จิตในอรูปฌานที่ ๑ )
   ๑๕. จิตอันเป็นกุศล ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา ( จิตในอรูปฌานที่ ๒ )
   ๑๖. จิตอันเป็นกุศล ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา ( จิตในอรูปฌานที่ ๓ )
   ๑๗. จิตอันเป็นกุศล ประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ( จิตในอรูปฌานที่ ๔ ),
๔. โลกุตตระ ( จิตพ้นจากโลก ) ๔
   ๑๘. จิตอันเป็นกุศลที่เนื่องด้วยโสดาปัตติมรรค ๑๙ จิตอันเป็นกุศลที่เนื่องด้วยสกทาคามิมรรค
   ๑๙. จิตอันเป็นกุศลที่เนื่องด้วยอนาคามิมรรค ๒๑ จิตอันเป็นกุศลที่เนื่องด้วยอรหัตตมรรค.
        ( หมายเหตุ : มีข้อที่น่าจะอธิบายแทรกไว้อีก คือเมื่อจบการแสดงอรูปาวจร- กุศลจิตแล้ว ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ ได้ตั้งอธิบายกามาวจร, รูปาวจร และอรูปาวจรซ้ำอีก โดยตั้งเกณฑ์อิทธิบาท คือธรรม อันให้บรรลุความสำเร็จ ๔ ประการ คือฉันทะ ความพอใจ, วิริยะ ความเพียร, จิตตะ ความฝักไฝ่, วิมังสา การพิจารณาสอบ สวน แล้วแบ่งออกเป็น ๓ ขั้น คืออย่างเลว, อย่างกลาง, และอย่างประณีต ( ๔?๓ = ๑๒ ) นำมาประกอบกับกุศลจิตที่ เป็นกามาวจร, รูปาวจร และอรูปาวจร จนจบ. ครั้นถึงคราวแสดงกุศลจิตที่เป็นโลกุตตรธรรม ก็ตั้งเกณฑ์ฌาน ๔ และ ฌาน ๕ อันเป็นโลกุตตระ ( พ้นจากโลก ), แล้วแสดงปฏิปทา ๔ ( ปฏิบัติลำบาก ตรัสรู้ได้ช้า, ปฏิบัติลำบาก ตรัสรู้ได้เร็ว, ปฏิบัติสะดวก ตรัสรู้ได้ช้า, ปฏิบัติสะดวก ตรัสรู้ได้เร็ว ), แล้วแสดงสุญญตะ ( ความว่างเปล่า ), แล้วแสดงปฏิปทา ๔ ผสมกับ สุญญตะ, แล้วแสดงอัปปณิหิตะ ( ความไม่มีที่ตั้ง ) แล้วแสดงปฏิปทา ๔ ผสมกับอัปปณิหิตะ, ครั้นแล้วตั้งเกณฑ์การเจริญธรรม ที่เป็นโลกุตตระอีก ๑๙ ข้อ)๑๐ รวมเป็น ๒๐ ข้อทั้งโลกุตตรฌาน. เมื่อตั้งเกณฑ์ ๒๐ ข้อ ตั้งเกณฑ์แจกรายละเอียดข้อละ ๑๐ จึงเป็นโลกุตตรจิตที่เป็นกุศล ๒๐๐ ดวง หรือ ๒๐๐ นัย ( ดูอรรถกถา หน้าพระ สุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ซึ่งมีแสดงไว้ว่า กายวูปกาเสน จิตฺตวูปกาเสน เป็นคำนาม เมื่อเทียบกับ คุณศัพท์ วูปกฏฺฐ )๑๑ อนึ่ง การตั้งเกณฑ์ ๑๐ เพื่อนำมาคูณธรรมะ ๒๐ ข้อ คือ ๑. ปฏิปทา ๔ ล้วน ๆ ๒. สุญญตะล้วน ๆ ๓. สุญญตะกับปฏิปทาผสมกัน ๔. อัปปณิหิตะล้วน ๆ ๕. ปฏิปทา ๔ กับ อัปปณิหิตะผสมกัน รวม ๕ อย่าง คูณด้วยนัย ๒ คือฌาน ๔ นัยหนึ่ง ฌาน ๕ นัยหนึ่ง ๕?๒ = ๑๐ ดูอรรถกถาหน้า พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ หน้า ๒ เชิงอรรถหมายเลขที่ ๗ ต่อจากนั้นจึงแสดงมรรค ๔ ).
    '' . และหมายถึงรูปด้วย
    '' . แสดงจิตฝ่ายกุศล เพียงดวงแรกหรือชนิดแรกข้อเดียว ก็พ่วงเอาธรรมะอื่น ๆ มาถึง ๕๖ ข้อ
    '' . คำว่า กาย ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าร่างกาย หากหมายถึงกองหรือหมวดแห่งนามธรรม ๓ อย่าง คือ เวทนา, สัญญา, สังขาร หรือจะพูดแบบรวมก็คือ เจตสิก
    '' . เพิ่มขึ้นมากกว่าคำอธิบายตอนที่ ๒ เฉพาะคำว่า ธรรม แต่ก็อธิบายหมายความอย่างเดียวกันว่า ได้แก่ ขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    '' . โดยปกติรูปฌานมี ๔ แต่ถ้าจัดอย่างพิสดารมี ๕ มีหลักฐาน มีทางพระสุตตันตปิฎก
    '' . ฌานเล็กน้อย คือไม่สามารถเป็นปัจจัยแห่งฌานสูงขึ้นไป มีอารมณ์น้อย คือมีอารมณ์ที่เพ่งในขนาดจำกัด พึงทราบคำอธิบายนี้อีก ๓ ข้อโดยอนุโลม
    '' . อภิภายตนะมี ๘ ดูหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ หน้า ๒ ) วรรคที่ไม่จัดเข้าในหมวด ๕๐..ตรงที่คำว่าหมายเหตุ ในที่นี้ อภิภายตนะ มิได้แสดงตัวเลขไว้ เพราะท่านนำมาแสดงเพียงบางข้อ
    '' . วิโมกข์มี ๘ แต่นำมากล่าวเพียง ๓ ข้อแรก ดูหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ) สรูปเกี่ยวกับวิโมกข์ ๘
    '๑๐' . คือมรรค, สติปัฏฐาน, สัมมัปปธาน, อิทธิบาท, อินทรีย์, พละ, โพชฌงค์, สัจจะ, สมถะ, ธรรมะ, ขันธ์, อายตนะ, ธาตุ, อาหาร, ผัสสะ, เวทนา, สัญญา, เจตนา, จิต อันเป็นโลกุตตระ
    '๑๑' . การนับจิตเฉพาะโลกุตตรกุศลถึง ๒๐๐ ดวงนี้ ย่อเหลือเพียง ๔ เท่านั้น
อกุศลจิต ๑๒
เกิดจากความโลภเป็นมูล ๘

   ๒๒. จิตอันเป็นอกุศล ประกอบด้วยโสมนัส, ประกอบด้วยทิฏฐิ ( ความเห็นผิด ), เป็นอสังขาริก ( ไม่มีสิ่ง ชักจูงก็เกิดขึ้น )
   ๒๓. จิตเหมือนข้อ ๒๒ แต่เป็นสสังขาริก ( มีสิ่งชักจูงจึงเกิดขึ้น )
   ๒๔. จิตอันเป็นอกุศล ประกอบด้วยโสมนัส, ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ เป็นอสังขาริก
   ๒๕. จิตเหมือนข้อ ๒๔ แต่เป็นสสังขาริก
   ๒๖. จิตอันเป็นอกุศล ประกอบด้วยอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ ), ประกอบด้วยทิฏฐิ, เป็นอสังขาริก
   ๒๗. จิตเหมือนข้อ ๒๖ แต่เป็นสสังขาริก
   ๒๘. จิตอันเป็นอกุศล ประกอบด้วยอุเบกขา, ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ เป็นอสังขาริก
   ๒๙. จิตเหมือนข้อ ๒๘ แต่เป็นสสังขาริก.
เกิดจากโทสะเป็นมูล ๒
   ๓๐. จิตประกอบด้วยโทมนัส ( ความไม่สบายใจ ) ประกอบด้วยปฏิฆะ ( ความขัดใจ ), เป็นอสังขาริก ( ไม่ มีสิ่งชักจูงก็เกิดขึ้น )
   ๓๑. จิตเหมือนข้อ ๓๐ แต่เป็นสสังขาริก ( มีสิ่งชักจูงจึงเกิดขึ้น ).
เกิดจากโมหะเป็นมูล ๒
   ๓๐. จิตประกอบด้วยอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ ), ประกอบด้วยความสงสัย
   ๓๑. จิตประกอบด้วยอุเบกขา ประกอบด้วยอุทธัจจะ ( ความฟุ้งสร้าน ).
อัพยากตจิต ๕๖
( วิบากจิต ๓๖ กิริยา ๒๐ ) วิบากจิต ๓๖
๑. จิตที่เป็นวิบาก คือเป็นผลของกุศลฝ่ายกามาวจร ๑๖
   ๓๔. จักขุวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางตา ) ประกอบด้วยอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ ) มีรูปเป็นอารมณ์
   ๓๕. โสตวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางหู ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์
   ๓๖. ฆานวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางจมูก ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์
   ๓๗. ชิวหาวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางลิ้น ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์
   ๓๘. กายวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางกาย ) ประกอบด้วยสุข มีโผฏฐัพพะ ( สิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกาย ) เป็นอารมณ์
   ( หมายเหตุ : จากข้อ ๓๔ ถึงข้อ ๓๘ รวม ๕ ข้อนี้ เรียกว่าวิญญาณ ๕ อันเป็นวิบาก คือเป็นผล ของกุศล ).
   ๓๙. มโนธาตุ ( ธาตุคือใจ ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีรูป, เสียง, กลิ่น, รส, และโผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์
   ๔๐. มโนวิญญาณธาตุ ( ธาตุรู้ทางใจ ) ประกอบด้วยโสมนัส ( ความดีใจหรือสบายใจ ) มีรูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ, และธรรม ( สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ ) เป็นอารมณ์
   ๔๑. มโนวิญญาณธาตุ ( ธาตุรู้ทางใจ ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีรูป จนถึงธรรมเป็นอารมณ์ ( มีอารมณ์ ครบ ๖ )
   ( หมายเหตุ : ตั้งแต่ข้อ ๓๔ ถึง ๔๑ รวม ๘ ข้อนี้ เป็นวิบากจิตธรรมดา ส่วนอีก ๘ ข้อต่อไปนี้ เรียกว่ามหาวิบาก ).
   ๔๒. มโนวิญญาณธาตุ ประกอบด้วยโสมนัส, ประกอบด้วยญาณ, เป็นสังขาริก ( ไม่มีสิ่งชักจูงก็เกิดขึ้น )
   ๔๓. เหมือนข้อ ๔๒ ต่างแต่เป็นสสังขาริก ( มีสิ่งชักจูงจึงเกิดขึ้น )
   ๔๔. มโนวิญญาณธาตุ ประกอบด้วยโสมนัส, ไม่ประกอบด้วยญาณ, เป็นอสังขาริก
   ๔๕. เหมือนข้อ ๔๔ ต่างแต่เป็นสสังขาริก
   ๔๖. มโนวิญญาณธาตุ ประกอบด้วยอุเบกขา, ประกอบด้วยญาณ, เป็นอสังขาริก
   ๔๗. เหมือนข้อ ๔๖ ต่างแต่เป็นสสังขาริก
   ๔๘. มโนวิญญาณธาตุ ประกอบด้วยอุเบกขา, ไม่ประกอบด้วยญาณ, เป็นอสังขาริก
   ๔๙. เหมือนข้อ ๔๘ ต่างแต่เป็นสสังขาริก
๒. จิตที่เป็นวิบาก คือเป็นผลของกุศล ฝ่ายรูปาวจร ๕
   ๕๐. วิบากจิตในฌานที่ ๑ ๕๑. วิบากจิตในฌานที่ ๒
   ๕๒. วิบากจิตในฌานที่ ๓ ๕๓. วิบากจิตในฌานที่ ๔
   ๕๔. วิบากจิตในฌานที่ ๕
   ( หมายเหตุ : ตั้งแต่ข้อ ๕๐ ถึง ๕๔ รวม ๕ ข้อนี้ เป็นการย่ออย่างรวบรัด ถ้าจะแจกอย่างพิสดาร ก็จะต้องแยกเป็นฌาน ๔ นัยหนึ่ง ฌาน ๕ อีกนัยหนึ่ง แล้วแจกไปตามกสิณ ตามอย่างที่หมายเหตุไว้ท้ายจิตข้อ ๑๓ ).
๓. จิตที่เป็นวิบาก คือเป็นผลของกุศลฝ่ายอรูปาวจร ๔
   ๕๕. วิบากจิตที่ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา
   ๕๖. วิบากจิตที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา
   ๕๗. วิบากจิตที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา
   ๕๘. วิบากจิตที่ประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
๔. จิตที่เป็นวิบาก คือเป็นผลของกุศลฝ่ายโลกุตตระ ๔
   ๕๙. โสดาปัตติผลจิต ๖๐. สกทาคามิผลจิต
   ๖๑. อนาคามิผลจิต ๖๒. อรหัตตผลจิต
   ( หมายเหตุ : วิบากจิตที่เป็นโลกุตตระนี้ก็เช่นกัน ย่อแบบสั้นที่สุดจะได้เพียง ๔ แต่ถ้ากล่าวอย่าง พิสดารตามตัวหนังสือจะได้ประมาณ ๒๐๐ ตามแบบที่หมายเหตุไว้ในข้อที่ ๒๑ ).
วิบากจิตฝ่ายอกุศล
๑. จิตที่เป็นวิบาก คือเป็นผลของอกุศล ๗
   ๖๓. จักขุวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางตา ) ประกอบด้วยอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ ) มีรูปเป็นอารมณ์
   ๖๔. โสตวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางหู ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีเสียงเป็นอารมณ์
   ๖๕. ฆานวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางจมูก ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีกลิ่นเป็นอารมณ์
   ๖๖. ชิวหาวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางลิ้น ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีรสเป็นอารมณ์
   ๖๗. กายวิญญาณ ( ความรู้อารมณ์ทางกาย ) ประกอบด้วยทุกข์ มีโผฏฐัพพะ ( สิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกาย ) เป็นอารมณ์
   ๖๘. มโนธาตุ ( ธาตุคือใจ ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีรูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
   ๖๙. มโนวิญญาณธาตุ ( ธาตุรู้ทางใจ ) ประกอบด้วยอุเบกขา มีรูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ, และ ธรรม ( สิ่งที่รู้ได้ด้วยใจ ) เป็นอารมณ์ ( คือมีอารมณ์ครบ ๖ )
   ( หมายเหตุ : วิบากจิตฝ่ายอกุศล ๗ ข้อ ตั้งแต่ข้อ ๖๓ ถึง ๖๙ นี้ พึงเทียบดูกับวิบากจิตฝ่ายกุศล ตั้งแต่ข้อ ๓๔ ถึงข้อ ๔๑ ดูด้วยว่า ในที่นี้ขาดไป ๑ ข้อ คือมโนวิญญาณธาตุ อันประกอบด้วยโสมนัส. นอกจากนั้นหนังสือ อภิธัมมัตถสังคะ เรียกชื่อจิตดวงที่ ๖๘ ว่า สัมปฏิจฉันนะ อันประกอบด้วยอุเบกขา จิตดวงที่ ๖๙ว่า สันตีรณะ อันประกอบ ด้วยอุเบกขา ).
กิริยาจิต ๒๐
๑. จิตที่เป็นกิริยาฝ่ายกามาวจร ๑๑
   ๗๐. มโนธาตุที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ ) มีรูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์
   ๗๑. มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยโสมนัส มีอารมณ์ครบ ๖
   ๗๒. มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยอุเบกขา มีอารมณ์ครบ ๖
   ( หมายเหตุ : ตั้งแต่ข้อ ๗๐ ถึง ๗๒ นี้ อภิธัมมัตถสังคหะเรียกอเหตุกกิริยาจิต แต่เรียกชื่อต่างไป ตามลำดับดังนี้ ปัญจทวาราวัชชนะ อันประกอบด้วยอุเบกขา มโนทวาราวัชชนะ อันประกอบด้วยอุเบกขา และหสิตุปบาทจิต คือจิตคิดยิ้มแย้ม อันประกอบด้วยโสมนัส ).
   ๗๓. มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยโสมนัส, ประกอบด้วยญาณ เป็นอสังขาริก
   ๗๔. เหมือนข้อ ๗๓ ต่างแต่เป็นสสังขาริก
   ๗๕. มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยโสมนัส, ไม่ประกอบด้วยญาณ, เป็นอสังขาริก
   ๗๖. เหมือนข้อ ๗๕ ต่างแต่เป็นสสังขาริก
   ๗๗. มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยอุเบกขา, ประกอบด้วยญาณ, เป็นอสังขาริก
   ๗๘. เหมือนข้อ ๗๗ ต่างแต่เป็นสสังขาริก
   ๗๙. มโนวิญญาณธาตุ ที่เป็นกิริยา, ประกอบด้วยอุเบกขา, ไม่ประกอบด้วยญาณ, เป็นอสังขาริก
   ๘๐. เหมือนข้อ ๗๙ ต่างแต่เป็นสสังขาริก
๒. จิตที่เป็นกิริยาฝ่ายรูปาวจร ๕
   ๘๑. จิตที่เป็นกิริยาในฌานที่ ๑ ๘๒. จิตที่เป็นกิริยาในฌานที่ ๒
   ๘๓. จิตที่เป็นกิริยาในฌานที่ ๓ ๘๔. จิตที่เป็นกิริยาในฌานที่ ๔
   ๘๕. จิตที่เป็นกิริยาในฌานที่ ๕
๓. จิตที่เป็นกิริยาฝ่ายอรูปาวจร ๔
   ๘๖. จิตที่เป็นกิริยา ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา
   ๘๗. จิตที่เป็นกิริยา ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนสัญญา
   ๘๘. จิตที่เป็นกิริยา ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา
   ๘๙. จิตที่เป็นกิริยา ประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา.
   ( หมายเหตุ : เป็นอันสรูปว่า ลำดับจิตตามที่แสดงในอภิธัมมปิฎก เล่มที่ ๓๔ นี้ จัดลำดับโดยชาติ คือกุศล อกุศล และอัพยากฤต ( เฉพาะอัพยากฤต แยกเป็นวิบากจิต และ กิริยาจิต ) จึงมีลำดับไม่เหมือนกับหนังสืออภิธัมมัตถ- สังคหะ นอกจากนั้นในจิตที่เป็นรูปาวจร และโลกุตตระ ยังแสดงจิตพิสดารมากมาย จึงควรกำหนดง่าย ๆ ดังนี้ อย่างย่อธรรมดา จิตมี ๘๙ ชนิด อย่างพิสดารธรรมดา มี ๑๒๑ ชนิด อย่างพิสดารเต็มรูป มีนับจำนวนพัน ).
เจตสิก
เจตสิก คือสิ่งที่ประกอบกับจิตได้  เป็นธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด  การที่อาศัยจิตเกิดขึ้นนี้  ไม่เหมือนกับต้นไม้ ที่อาศัยพื้นแผ่นดินเกิด  เพราะพื้นแผ่นดินกับต้นไม้นั้น พื้นแผ่นดินเป็นฐานรองรับ และต้นไม้ตั้งอยู่บนพื้นแผ่นดินที่รองรับนั้น ซึ่งพื้นแผ่นดินจะต้องปรากฏขึ้นก่อน เพื่อเป็นฐานรองรับให้ต้นไม้เกิดภายหลัง  และการเกิดขึ้นของต้นไม้นั้นก็เป็นคนละส่วนกับพื้นแผ่นดิน คือต้นไม้ตั้งอยู่บนพื้นแผ่นดิน
            เจตสิกที่อาศัยจิตนั้น มีสภาพเหมือนอาจารย์กับศิษย์  คือ ทั้งอาจารย์และศิษย์ปรากฏขึ้นพร้อมกัน  เมื่อมีอาจารย์ก็ต้องมีศิษย์  หรือมีศิษย์ก็ต้องมีอาจารย์  ถ้าเว้นอาจารย์เสียแล้ว ศิษย์ย่อมมีไม่ได้  หรือถ้าเว้นศิษย์เสียแล้ว  อาจารย์ก็ย่อมมีไม่ได้เช่นเดียวกัน



1. ความหมายของเจตสิก
เจตสิก หมายถึง ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิตให้มีความเป็นไปต่าง ๆ (ขุนสรรพกิจโกศล 2510 : 2-3) อาการที่ประกอบกับจิตนั้น มีลักษณะ 4 ประการ คือ
            1. เกิดพร้อมกับจิต   2. ดับพร้อมกับจิต    3. มีอารมณ์เดียวกับจิต    4. อาศัยวัตถุเดียวกับจิต

จิตและเจตสิกที่อิงอาศัยกันนี้ ถ้าเปรียบจิตเป็นน้ำ เจตสิกเป็นสีแดง ผสมกันเป็นน้ำแดง เมื่อผสมกันแล้วไม่สามารถแยกน้ำออกจากสีแดงได้ฉันใด จิตและเจตสิกก็ไม่สามารถแยกออกจากกันเป็นอิสระได้ฉันนั้น  สภาวธรรม รวม 4 ประการของเจตสิก มีดังนี้

1.  ลักษณะของเจตสิก  คือ                   
     มีการอาศัยจิตเกิดขึ้น 2.  กิจการงานของเจตสิก คือ              
    เกิดร่วมกับจิต
3.  ผลงานของเจตสิกคือ                     
    รับอารมณ์อย่างเดียวกับจิต  
4.  เหตุที่ทำให้เจตสิกเกิดขึ้นได้ คือ 
     การเกิดขึ้นของจิต  


เจตสิกนี้แม้ว่าจะเป็นสิ่งปรุงแต่งจิต ให้จิตมีพฤติกรรมเป็นไปตามลักษณะของเจตสิกก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่าจิตเป็นใหญ่ เป็นประธาน เพราะเจตสิกเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยจิตเกิด ไม่ว่าจะเป็นความพอใจ ความไม่พอใจ ความรัก ความเกลียด ความสงบ หรือฟุ้งซ่าน ล้วนเป็นคุณสมบัติของเจตสิกทั้งสิ้น แต่เจตสิกเกิดขึ้นเอง และแสดงพฤติกรรมเองไม่ได้ ต้องอาศัยจิตเป็นตัวแสดงพฤติกรรมแทน
จึงกล่าวได้ว่า ธรรมชาติของเจตสิกนั้น เกิดพร้อมกับจิต หรือประกอบกับจิตเป็นนิตย์ หรือธรรมชาติ ที่ประกอบกับจิตเป็นนิตย์ ชื่อว่า เจตสิก

การที่ต้องแบ่งจิตออกไปมากมายนั้น  เพราะเจตสิกที่ประกอบจิต มีประเภทต่าง ๆ กัน จิตสัมพันธ์กับโลกภายนอก โดยการเข้าไปรับรู้โลกเป็นอารมณ์  แต่การรับรู้นั้นต้องอาศัยเจตสิกที่เป็นตัวกระทบอารมณ์ครั้งแรก(ผัสสะเจตสิก) เป็นต้น และเจตสิกอื่น ๆ ก็จะร่วมปรุงแต่งจิตให้เป็นไปในอาการต่างๆ
การปรุงแต่งของเจตสิก ที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น ทำให้จิตมีความสามารถในการรู้อารมณ์พิเศษแตกต่างกันออกไป เช่น รู้เรื่องของกามคุณอารมณ์  เรื่องของรูปฌาน อรูปฌาน จนถึงรู้นิพพานอารมณ์ 

ที่กล่าวว่าเจตสิก คือ กลุ่มนามธรรมที่เกิดในจิต โดยเป็นไปเนื่องกับจิตหมายถึง  กลุ่มธรรมอันมีผัสสะเป็นต้นนั้น  มีความเป็นไปของกลุ่มธรรม ที่คล้ายเป็นอันเดียวกับจิต ด้วยลักษณะมีการเกิดขณะเดียวกับจิตนั่นเอง  ข้อความนี้แสดงว่า เหมือนดั่งดอกไม้ ที่เนื่องอยู่ในขั้วเดียวกัน ในช่อดอกไม้ช่อหนึ่ง





            สภาพธรรม คือเจตสิก มีใจเป็นผู้นำ มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ
            หมายความว่า ผัสสะ เป็นต้น จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีจิต แต่จิตเป็นไปได้ แม้จะไม่มีเจตสิกบางดวงเกิดร่วม เช่น กลุ่มปัญจวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นได้แม้ไม่มีวิตกเจตสิกร่วมด้วย เป็นต้น  จึงควรกล่าวว่า เจตสิกเนื่องกับจิต แต่ไม่ควรกล่าวว่าจิตเนื่องกับเจตสิก
พระบาลีว่า สำเร็จด้วยใจหมายความว่า ถูกจิตกระทำให้สำเร็จ กล่าวคือ เป็นอาการของจิต

2. ประเภทของเจตสิก
เจตสิกมีลักษณะที่แตกต่างกัน รวม 52 ลักษณะ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ (จากแผนผังเรื่องเจตสิก)

2.1  อัญญสมานาเจตสิก หมายถึง เจตสิกฝ่ายกลาง ๆ ที่สามารถเข้าประกอบกับจิตได้ ทั้งกลุ่มกุศลจิต  กลุ่มอกุศลจิต และกลุ่มจิตที่ไม่ใช่กุศล / อกุศล (อัพยากตะจิต)
        อัญญสมานาเจตสิกมี 13 ดวง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม(แถว) ได้แก่       1.  กลุ่มเจตสิกแถวบน 7 ดวง เป็นกลุ่มเจตสิกที่ประกอบได้กับจิตทั่วไปทุกดวง (89 หรือ121ดวง)  เจตสิกกลุ่มนี้เวลาเข้าประกอบ จะเข้าพร้อมกันทั้ง 7 ดวง  แยกจากกันไม่ได้  จึงเรียกเจตสิกกลุ่มนี้ว่า สัพพสาธารณะเจตสิก 7         
       2.  กลุ่มเจตสิกแถวล่าง 6 ดวง เป็นกลุ่มเจตสิกที่เข้าประกอบได้กับจิตทั่วไปเช่นกัน แต่เวลาเข้า ประกอบ จะเข้าไม่พร้อมกันก็ได้  แยกกันประกอบได้ เจตสิกกลุ่มนี้เรียกว่า ปกิณณกะเจตสิก 6  

2.2 อกุศลเจตสิก หมายถึง เจตสิกฝ่ายอกุศล เป็นกลุ่มเจตสิกที่ประกอบได้กับจิตที่เป็นอกุศลเท่านั้น กลุ่มอกุศลจิต มี 14 ดวง แบ่งเป็น 5 กลุ่ม(แถว) ความหมายของแต่ละดวง จะกล่าวในบทต่อไป ในที่นี้จะแสดงเพียงชื่อของกลุ่ม และเจตสิกในกลุ่มก่อน กล่าวคือ

1. กลุ่มโมหะเจตสิก 4 ดวง(โมจตุกะ 4) ได้แก่  โมหะ   อหิริกะ   อโนตตัปปะ  อุทธัจจะ
2. กลุ่มโลภะเจตสิก 3 ดวง(โลติกะ3)  ได้แก่     โลภะ    ทิฏฐิ      มานะ
3. กลุ่มโทสะเจตสิก 4 ดวง(โทจตุกะ 4) ได้แก่  โทสะ   อิสสา     มัจฉริยะ        กุกกุจจะ
4. กลุ่มที่ทำให้หดหู่ ท้อถอย(ถีทุกะ2) ได้แก่      ถีนะเจตสิก        มิทะเจตสิก
5. กลุ่มความลังเลสงสัย(วิจิกิจฉา1) ได้แก่          วิจิกิจฉาเจตสิก (มีเพียง 1 ดวง)

2.3  โสภณเจตสิก หมายถึง กลุ่มเจตสิกฝ่ายดีงาม เป็นกลุ่มที่ประกอบได้กับโสภณจิต  (ยกเว้นกลุ่มอกุศลจิต และกลุ่มอเหตุกจิตแล้ว จิตที่เหลือชื่อว่าโสภณะจิต) โสภณเจตสิกมี 25 ดวง แบ่งเป็น 4 กลุ่มดังนี้
1. โสภณสาธารณะเจตสิก 19  ได้แก่ สัทธา สติ หิริ โอตัปปะ..... เป็นต้น
2.  วิรตีเจตสิก 3 ได้แก่ สัมมาวาจาเจตสิก  สัมมากัมมันตะเจตสิก สัมมาอาชีวะเจตสิก
3.  อัปมัญญาเจตสิก    2 ได้แก่  กรุณาเจตสิก   มุฑิตาเจตสิก
4.  ปัญญาเจตสิก         1 ได้แก่  ปัญญาเจตสิก หรือปัญญินทรีย์เจตสิก

การที่จิตและเจตสิกจะประกอบกันได้จำต้องมีคุณสมบัติที่คล้ายกัน จึงอยู่ในที่เดียวกันได้ เช่น โลภะเจตสิก จะต้องประกอบได้กับโลภะมูลจิตเท่านั้น เมื่อประกอบกันแล้วโลภะจิตดวงนี้จึงจะสามารถแสดงอำนาจความอยากได้ออกมา โทสะเจตสิกก็ต้องประกอบกับโทสะมูลจิตเท่านั้น โทสะเจตสิกจะ   ประกอบกับโลภะจิตไม่ได้ เพราะเป็นสภาพธรรมที่ตรงข้ามกัน คือ โลภะเจตสิกมีสภาพติดใจในอารมณ์ ส่วนโทสะเจตสิกมีสภาพประทุษร้ายทำลายอารมณ์ จึงเข้ากันไม่ได้ ในทำนองเดียวกัน เจตสิกฝ่ายอกุศล ก็จะเข้ากับโสภณเจตสิกก็ไม่ได้เช่นกัน  
กล่าวโดยสรุป ธรรมชาติของเจตสิกนั้นเกิดพร้อมกับจิต หรือประกอบกับจิตเป็นนิตย์ เมื่อประกอบแล้ว ทำให้จิตเป็นบุญ(กุศล) หรือเป็นบาป(อกุศล) ตามการเข้าประกอบ  เจตสิกแบ่งเป็น  3 กลุ่มคือ เจตสิกฝ่ายกลาง เข้าได้กับจิตทุกกลุ่ม เรียกว่า  อัญญสมานาเจตสิก มี 13 ดวง  กลุ่มที่ 2 คือ เจตสิกฝ่ายอกุศลได้แก่ อกุศลเจตสิกมี 14 ดวง เข้าได้กับ กลุ่มอกุศลจิตเท่านั้น กลุ่มสุดท้ายคือเจตสิกฝ่ายดีงาม เข้าได้กับกลุ่มโสภณจิตเท่านั้น โสภณเจตสิกมี 25 ดวง


 





บทที่ 5
การพัฒนาจิตตามหลักพระพุทธศาสนา


วิธีการอบรมจิตที่เข้าใจกันแม้ในสมัยก่อนพุทธกาลและสมัยพุทธกาลถือว่า เป็นการแสวงหาแนวทางให้เข้าถึงวามพ้นทุกข์ตามวิถีชีวิตของคนอินเดียที่แบ่งชีวิตออกเป็น ๔ ขั้นตอนตามปรัชญาชีวิตของคนอินเดียสมัยโน้น คือ
)ขั้นตอนแห่งพรหมจรรย์ เป็นขั้นตอนแห่งชีวิตที่จะต้องศึกษาเล่าเรียนแสวงหาความรู้ใส่ตัวเมื่ออยู่ในวัยเยาว์
)ขั้นตอนแห่งคฤหัสถ์ เป็นขั้นตอนแห่งการครองเรือนเมื่อจบการศึกษาเล่าเรียนแล้วจะต้องครองตนเป็นชาวบ้าน แสวงหาทรัพย์สมบัติ มีคู่ครอง และดำรงตนตามทำนองคลองธรรม
)ขั้นตอนแห่งวนปรัสถ์ เป็นขั้นตอนแห่งการเกษียณอายุจากการทำงานและหันเหชีวิตของตนไปสู่การเตรียมตัวที่จะออกจากการมีชีวิตแบบโลกๆไปสู่การมีชีวิตนักบวช และ
)ขั้นตอนแห่งสันยาสี เป็นขั้นตอนแห่งการสละโลกแห่งโลกียวิสัยไปเป็นนักบวชบำเพ็ญพรตอยู่ตามถ้ำในป่าเขาลำเนาไพร
เจ้าชายสิทธัตถะครั้งยังทรงพระเยาว์พระราชบิดาเสด็จไปทรงประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ รับสั่งให้เชิญพระราชโอรสไปในพระราชพิธีนั้นด้วย ณ ที่ใกล้ที่ประกอบพระราชพิธีนั้นมีต้นหว้าใหญ่มีร่มเงาเย็นร่มรื่นจึงให้ตกแต่งสถานที่ภายใต้ร่มชมพูพฤกษ์ให้เรียบร้อยแล้วเชิญพระราชกุมารให้ประทับ ณ ภายใต้ต้นไม้หว้าใหญ่นั้น ให้ราชบุรุษเฝ้าถวายอารักขา และพระพี่เลี้ยงเฝ้าบริบาลอยู่ ฝ่ายพระเจ้า สุทโธทนะก็ได้เสด็จไปสู่ที่ประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญ ขณะนั้นพระพี่เลี้ยงนางนม ทั้งหลายได้ชวนกันไปชมพระราชพิธี ฝ่ายพระกุมารประทับนั่งอยู่แต่เพียงพระองค์เดียว จึงประทับนั่งขัดสมาธิเจริญอานาปานสติกรรมฐานจนได้บรรลุปฐมฌาน
 เมื่อเสด็จออกผนวชแล้วได้ทรงไปขอฝากพระองค์เป็นศิษย์ของอาฬารดาบส กาลามโคตรศึกษาและปฏิบัติในสำนักนี้จนได้บรรลุรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๓ แต่ไม่ทรงพอพระทัย เพราะทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางตรัสรู้ และแล้วได้เสด็จเข้าศึกษาและปฏิบัติในสำนักของอุทกดาบส รามบุตร ได้บรรลุอรูปฌานที่ ๔ แต่ก็หาได้เป็นที่พอพระทัยของพระองค์ไม่ เพราะทรงตั้งพระทัยที่จะปฏิบัติธรรมเพื่อการบรรลุคุณวิเศษยิ่งกว่านั้น จึงทรงลาดาบสทั้งสองออกเสด็จจาริกไปจนถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ได้ทอดพระเนตรเห็นพื้นที่ร่มรื่น แนวป่าไม้เขียวสดเป็นที่เบิกบานพระทัยยิ่งนัก มีแม่น้ำใสสะอาดไหลผ่านมีท่าอันดีน่ารื่นรมย์ หมู่บ้านที่เป็นที่อาศัยให้ได้มาซึ่งบิณฑบาตก็มีอยู่โดยรอบ ทรงพิจารณาเห็นว่า ภูมิประเทศนั้นสมควรเป็นที่สำหรับบำเพ็ญเพียรของกุลบุตรผู้ต้องการความเพียร จึงทรงประทับ ณ ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างเคร่งครัดตามความนิยมที่นักบวชสมัยนั้นปฏิบัติสืบต่อกันมา พระองค์ทรงกระทำการลองผิดลองถูกอยู่เป็นเวลานานถึง ๖ ปี  ก็หาได้บรรลุคุณวิเศษใด ๆ ไม่
ธุระในพระพุทธศาสนา ๒ ประการ
การศึกษาธรรมะอันเป็นคำสอนในทางพระพุทธศาสนาซึ่งได้แก่การแสวงหาหนทางพ้นทุกข์ มีอยู่ ๒ วิธี คือ
. คันถธุระ ได้แก่การศึกษาเล่าเรียนพระพุทธพจน์จนจำได้ แสดงได้ บอกได้ สอนได้ ตามสมควรแก่สติปัญญาของตน ๆ อันเป็นภาคปริยัติ เปรียบเสมือนการเรียนแผนที่ หรือเรียนตำรายา เรียนตำราทำกับข้าวแต่ยังไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริง ๆ
.วิปัสสนาธุระ ได้แก่การปฏิบัติตามทฤษฎีที่ตนได้ศึกษาเล่าเรียนมา เพื่อให้เกิดปฏิเวธ(การรู้แจ้งแทงตลอด)จำแนกเป็น ๒ ประการ คือ สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน
สมถกรรมฐาน ได้แก่การฝึกจิตให้มีสมาธิ (ความสงบ ความมีจิตใจแน่วแน่อยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง) สมถกรรมฐานมีอารมณ์(สิ่งที่จิตใจเข้าไปยึดไว้) ๔๐ อย่าง คือ
. กสิณ คือ วัตถุอันจูงใจให้เกิดสมาธิมี ๑๐ อย่าง
. อสุภะ คือสภาพที่ไม่งาม ในที่นี่หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ มี ๑๐ อย่าง
. อนุสติ ได้แก่อารมณ์ที่ควรระลึกถึงเนืองๆมี ๑๐ อย่าง
. พรหมวิหาร คือ ธรรมประจำใจของท่านผู้มีคุณความดียิ่งใหญ่ มี ๔ อย่าง อรูป คือ ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ อย่าง
อาหาเรปฏิกูลสัญญา คือ ความสำคัญหมายในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล มี ๑ อย่าง และ
จตุธาตุววัตถาน คือ การกำหนดธาตุสี่ ได้แก่พิจารณาแยกแยะร่างกายออกให้เห็นส่วนประกอบต่างๆ ที่จัดเข้าในธาตุสี่(ดิน น้ำ ลม และไฟ) มี ๑ อย่าง
วิธีปฏิบัติถมถกรรมฐาน คือ การนำเอาอารมณ์เพียง ๑ อย่างใน ๔๐ อย่าง ที่เหมาะสมกับจริตของตนมาเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติ เช่น เอาดินซึ่งเป็นหนึ่งในกสิณ ๑๐ อย่างมาเป็นอารมณ์ จะต้องปฏิบัติดังนี้ นำเอาดินสีแดงล้วนมาทาลงบนแผ่นผ้าให้หนาทำหน้าดินให้ราบเรียบอย่าให้มีวัตถุใดๆ ปรากฏอยู่บนหน้าดินนั้น ตกแต่งให้ดีอย่าให้มีรอยแตกร้าว ทำเป็นวงกลมมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ คืบ ๔ นิ้ว นำมาเพ่งในที่อยู่ของตน หรือในภายนอกที่ใด ที่หนึ่งซึ่งมีความสงัดปราศจากสิ่งรบกวนก็ได้ และผู้ปฏิบัติจะต้องนั่งอยู่บนที่สูงจากพื้น ๑ คืบ ๔ นิ้ว โดยวางวัตถุที่เป็นดวงกสิณนี้ไว้ห่างจากที่นั่ง ๒ ศอก ๑ คืบและอยู่ในระดับสายตาพอดีไม่ให้ก้มไม่ให้เงย เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว หลับตาพิจารณาถึงโทษของกามคุณ และพิจารณาถึงคุณของการไม่เกี่ยวข้องด้วยกามคุณพอสมควรแล้ว ให้ค่อย ๆ ลืมตาขึ้นจ้องดูดินสีแดงรูปวงกลมซึ่งปรากฏอยู่ต่อหน้านั้น แล้วหลับตาลงอีก พร้อมกับภาวนาในใจว่าดินๆๆๆๆสักครู่แล้วลืมตาจ้องดูดินอีก และหลับตาพร้อมกับภาวนาในใจว่าดินๆๆๆๆทำอยู่อย่างนั้นหลาย ๆ ครั้ง  จนรูปวงกลมดินสีแดงปรากฏในตาเรา เหมือนกับมองดูด้วยตาจริง ๆ แล้วให้เลิกหลับตา และเก็บวงกลมดินนั้นเสีย ส่วนตัวผู้ปฏิบัติอาจจะนั่งในที่เดิมหรือจะย้ายไปนั่ง ณ สถานที่ที่มีความสงบอื่นใดก็ได้ นั่งหลับตานึกดูภาพวงกลมดินสีแดงนั้นพร้อมกับภาวนาในใจว่าดินๆๆๆๆอย่างนี้เรื่อยไป จนจิตมั่นคง เป็นอุปจารสมาธิโดยลำดับ วงกลมดินที่เห็นติดตาเรานั้น เรียกว่า อุคคหนิมิต (นิมิตติดตา) ผู้ปฏิบัติจะต้องหลับตาจ้องดูรูปภาพวงกลมดินนั้นพร้อมกับภาวนาไปเรื่อย ๆ จนมีภาพวงกลมดินสีแดง ปรากฏเห็นชัดกว่าเดิมมาก มีลักษณะผ่องใสเหมือนพระจันทร์เต็มดวงที่ไม่มีเมฆบดบัง ลักษณะที่ปรากฏชัดเช่นนี้ เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต (นิมิตเทียบเคียง) เมื่อมีปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้น นั้นแสดงว่า นิวรณ์ ๕ อย่าง คือ ๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) .พยาบาท (ความปองร้ายผู้อื่น) .ถีนมิทธะ (ความง่วงเหงาหาวนอน) . อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและรำคาญ) . วิจิกิจฉา (ความสงสัย) ที่อยู่ในใจเราได้สงบลงแล้ว เพราะจิตที่ตั้งมั่นด้วยอำนาจของอุปจารสมาธิ จนเลื่อนขึ้นไปสู่อัปปนาสมาธิอันนับได้ว่าเป็นปฐมฌาน ซึ่งมีองค์ประกอบ ๕ คือ วิตก(การปักจิตลงสู่อารมณ์) วิจาร(การพิจารณาอารมณ์) ปีติ(ความเอิบอิ่มใจ) สุข(ความสบาย) และเอกัคคตา(ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์เดียว) และสามารถพัฒนาไปถึงขั้นละองค์ของฌานที่ ๑ แล้วเข้าสู่ฌานที่มีระดับสูงขึ้นไปจนกระทั่งได้บรรลุอรูปฌาน(ฌานที่มีอรูปธรรมเป็นอารมณ์)๖ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของสมถกรรมฐาน
วิปัสสนากรรมฐาน ได้แก่อุบายหรือวิธีการทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงตรงต่อสภาวะของมัน คือเข้าใจตามความเป็นจริง จนถอนความหลงผิด รู้ผิดได้ ถึงขั้นที่ต้องเปลี่ยนท่าทีต่อโลกและชีวิตเสียใหม่ ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องซึ่งเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ในระหว่างการปฏิบัตินั้นเรียกว่า ญาณ(วิปัสสนาปัญญา) สุดท้ายญาณนี้ เรียกว่า วิชชา(ความรู้)ภาวะที่จิตมีความรู้แจ้ง เป็นภาวะที่สงบสุขผ่องใสและเป็นอิสระจากกิเลส ซึ่งเป็นภาวะตรงข้ามกับอวิชชา(ความไม่รู้) คือ ความหลงผิดไม่รู้แจ้ง๗ อันเป็นจุดหมายปลายทางของวิปัสสนากรรมฐาน  
วิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน คือ การนำรูปและนามมาเป็นอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐานนั้น ผู้ปฏิบัติจะต้องมีสติคอยกำหนดตามอิริยาบถใหญ่ทั้ง ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง และนอน เช่น ขณะยืนอยู่ให้กำหนดรูปยืนทั้งหมด ไม่ใช่ส่วนขา ส่วนหัว ส่วนตัว หรือ ส่วนแขนยืนอยู่ ให้ภาวนาว่ายืนหนอๆจนกว่าจะเปลี่ยนอิริยาบถใหม่ อย่าเผลอให้สติออกนอกกาย ให้สติจับอยู่ที่รูปและนาม ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้รูปและนามปรากฏชัด ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานพอสมควร แม้ในอิริยาบถอื่น เช่น เดิน นั่ง นอน ก็ต้องมีสติอยู่กับอิริยาบถนั้นๆ หากเผลอเมื่อไรก็เป็นอันสติหลุดจากปัจจุบันอารมณ์ทันที   หากมีเวทนาไม่ว่าจะเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ ก็ให้มีสติอยู่กับเวทนาชนิดนั้น ๆ และเวทนาเหล่านี้จะปรากฏชัดในเวลาที่มีสมาธิมากเท่านั้น หากแต่ว่า ความรู้สึกวางเฉยจะไม่ปรากฏชัดเมื่อแรกเริ่มปฏิบัติ แต่จะปรากฏชัดหลังจากที่บรรลุถึงวิปัสสนาญาณขั้นที่ห้า คือ ภังคญาณแล้ว และ มักเกิดในอิริยาบถนั่ง (กรรมฐาน)   เมื่อจิตมีราคะ โทสะ และโมหะเข้าครอบงำ ก็พึงกำหนดรู้ว่า จิตมีราคะ มีโทสะ และมีโมหะ เช่นราคะหนอๆเป็นต้น ที่เราต้องมีสติกำหนดรู้ให้ทันตามความเป็นจริงเมื่อจิตมีสมาธิ จะทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถจับความรู้สึก (จิต) มีราคะนั้นได้ และแล้วจิตมีราคะนั้นก็จะหายไปเอง หากจิตฟุ้งผู้ปฏิบัติควรกำหนดรู้อาการฟุ้งอย่างรวดเร็ว และทันท่วงทีที่มีความฟุ้งเกิดขึ้น พร้อมกับกำหนดรู้จิตฟุ้งนั้นว่าฟุ้งหนอๆการกำหนดนี้จะช่วยให้รู้ตัวมากขึ้นจนสามารถรู้เท่าทันอาการฟุ้งได้อย่างทันท่วงที  
เมื่อเข้าใจรูปและนามเป็นอย่างดีแล้ว จะรู้สึกต่อรูปและนามว่าไม่มีเรา ไม่มีเขา ความรู้สึกเช่นนี้จัดว่าเป็นการกำจัดสักกายทิฏฐิได้แล้ว ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน ไม่มีตัวเรา หรือไม่มีของเรา แล้วปัญญาจะประจักษ์ว่ารูปที่เห็นและจิต(นาม)ที่ตามรู้ว่าเห็นนั้นเป็นคนละส่วนกัน จากนั้นปัญญาจะรู้แจ้งการเกิดดับอย่างรวดเร็วของอาการเห็น (รูป) และจิต(นาม) ที่ตามรู้อาการเห็น ปัญญาที่เกิดนี้ได้รู้แจ้งพระไตรลักษณ์ คือความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความเป็นอนัตตาของสภาวธรรมเหล่านั้น

ความแตกต่างระหว่างสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน

สมถกรรมฐาน จะต้องมีการเลือกอารมณ์ให้เหมาะสมกับจริตของผู้ปฏิบัติแต่ละบุคคล  
คือ
. คนมีราคจริต เป็นคนที่มีนิสัยหนักไปในทางรักสวยรักงาม จะต้องเจริญกรรมฐาน ๑๑ อย่าง คือ อสุภะ ๑๐ อย่าง และ กายคตาสติ คือ มีสติอยู่กับกายให้เห็นตามสภาพที่เป็นส่วนประกอบซึ่งล้วนแต่เป็นของไม่สะอาดอีก ๑ อย่าง
.คนมีโทสจริต ได้แก่คนที่มีนิสัยหนักไปในทางโทสะ เช่น หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย จะต้องเจริญกรรมฐาน ๘ อย่าง คือ อัปปมัญญา๔(ธรรมที่แผ่ไปไม่มีประมาณ หมายถึง เมตตา คือ ความต้องการอยากให้เขามีสุข กรุณา คือ ความสงสารอยากให้เขาพ้นทุกข์ มุทิตา คือ ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี และอุเบกขา คือ การวางใจเป็นกลาง) และ วัณณกสิณ ๔ (กสิณที่มีสี ซึ่งมีสีเขียว สีเหลือง สีแดง และสีขาว)
.คนมีโมหจริต ได้แก่คนที่มีนิสัยหนักไปในทางโมหะโง่เขลา งมงาย และคนมีวตักกจริต ได้แก่คนที่มีนิสัยหนักไปในทางคิดจับจดฟุ้งซ่าน จะต้องเจริญอานาปานสติ (สติกำหนดลมหายใจเข้า-ออก)
.คนมีสัทธาจริตได้แก่คนที่มีนิสัยหนักไปในทางศรัทธา เชื่อง่าย จะต้องเจริญอนุสสติ(อารมณ์ที่ควรระลึกถึงเนืองๆ) ๖ อย่าง คือ ๑)พุทธานุสสติ คือ การระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า ๒)ธัมมานุสสติ คือการระลึกถึงพระคุณของพระธรรม ๓)สังฆานุสติ คือ การระลึกถึงพระคุณของพระสงฆ์ ๔)สีลานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณของศีล ๕)จาคานุสสติ คือ การระลึกถึงการบริจาค และ๖)เทวดานุสสติ คือ ระลึกถึงเทวดา
.คนมีพุทธิจริต ได้แก่คนที่มีนิสัยหนักไปในทางความรู้ มักใช้ความคิด) จะต้องเจริญเจริญกรรมฐาน ๔ อย่าง คือ ๑)มรณานุสสติ คือ การระลึกถึงความตาย ๒)อุปสมานุสสติ คือ การระลึกถึงความสงบ ๓)อาหเรปฏิกูลสัญญา คือ ความสำคัญหมายในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล ๔)จตุธาตุววัตถาน คือ การกำหนดธาตุ ๔  
กรรมฐานที่เหลือนอกจากนี้ ๑๐ อย่างคือ ปฐวี(ดิน) อาโป(น้ำ) เตโช(ไฟ) วาโย(ลม) อากาสะ(อากาศ) อาโลกะ(ช่องว่าง) และอรูปกรรมฐาน(กรรมฐานที่มีอรูปธรรมเป็นอารมณ์)อีก ๔ อย่าง เป็นที่สบายแก่จริตทั้งปวง
สมถกรรมฐาน มีบัญญัติเป็นอารมณ์  คำว่า บัญญัติ ได้แก่ชื่อต่าง ๆ ที่คนสมมติไว้ ตั้งชื่อไว้ ให้รับรู้กันเป็นรูปพรรณสัณฐาน ทำให้เกิดความเห็นว่าเป็นบุคคล เป็นเรา เป็นเขา เป็นบุรุษ เป็นสตรี ฯลฯ บังคับบัญชาได้ อารมณ์ของสมถกรรมฐานล้วนแต่เป็นบัญญัติที่ต้องเพ่งโดยไม่ย้ายอารมณ์ จิตของผู้ปฏิบัติจะต้องจดจ่ออยู่กับอารมณ์อย่างจดจ่อและต่อเนื่อง ไม่สนใจอารมณ์อื่นที่เกิดขึ้นมาแทรก หากย้ายอารมณ์ไปก็เป็นอันเสียสมาธิ
สมถกรรมฐาน มีเป้าหมายอยู่ที่การทำจิตให้สงบแน่วแน่ จนเข้าถึงภาวะที่เรียกว่า ฌาน(ภาวะของจิตที่สงบ ประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรม)ขั้นต่างๆ การทำจิตให้แนบแน่นอยู่กับสิ่งที่กำหนดนั้นๆ จนมีความพร้อม อยู่ในตัวของมันเองที่จะใช้ปฏิบัติการต่าง ๆ ในกิจที่พึงประสงค์อย่างได้ผลดีที่สุด และในสภาพของจิตเช่นนี้ กิเลสอาสวะต่างๆ ซึ่งตามปกติ จะบีบคั้นรบกวนจิตให้ฟุ้งซ่านพล่านอยู่ ก็จะถูกควบคุมให้สงบนิ่งอยู่ในขอบเขตจำกัดเหมือนผงธุลีที่ตกตะกอนอยู่ใต้น้ำในเวลาน้ำนิ่ง และสามารถมองผ่านน้ำลงไปเห็นได้อย่างชัดเจนเพราะน้ำใสและนิ่ง จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับขั้นต่อไปที่จะใช้ปัญญากำจัดตะกอนเหล่าให้หมดสิ้นไปโดยสิ้นเชิง ในชั้นนี้นับได้ว่าเป็นวิธีปฏิบัติที่เรียกว่า      สมถกรรมฐาน  
วิปัสสนากรรมฐาน มีปรมัตถ์ (รูปและนาม) เป็นอารมณ์ มีเป้าหมายอยู่ที่ปัญญาความรู้แจ้ง ผู้ปฏิบัติต้องตั้งสติกำหนดรู้ทุกอารมณ์รูปและนาม อาการต่างๆ เช่น อาการเคลื่อนไหวของกาย ความเจ็บปวด ความสุขสบาย ความคิดนึก การเห็น การได้ยิน อารมณ์ใดปรากฏชัดก็ต้องตั้งสติกำหนดอารมณ์นั้น  โดยปล่อยให้จิตเป็นผู้เลือกที่จะอยู่กับอารมณ์ใด ๆ ก็ได้ ผู้ปฏิบัติจะกำหนดอารมณ์ที่จิตเลือกแล้วเท่านั้น  คำว่า ปรมัตถ์ ได้แก่ สภาวธรรมที่มีลักษณะเฉพาะตน ไม่แปรปรวน ไม่เปลี่ยนแปลงไปตาม  
กาลเวลา สถานที่ หรือบุคคล (ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด) สภาวธรรมนี้ซึ่งกำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน ได้เกิดขึ้นแล้วในอดีต และจะเกิดขึ้นในอนาคต ในเทวโลก หรือในพรหมโลก ก็มีลักษณะเฉพาะอยู่เช่นนี้ คือ ธาตุดินมีลักษณะแข็ง-อ่อน หนัก-เบา ธาตุน้ำมีลักษณะไหลเกาะกุม ธาตุไฟมีลักษณะร้อน- เย็น ธาตุลมมีลักษณะหย่อนตึง เคลื่อนไหว ส่วนจิตมีลักษณะรับรู้อารมณ์ผ่านทางทวารทั้ง ๖ ลักษณะเหล่านี้เป็นลักษณะคงที่เฉพาะตัวไม่เปลี่ยนแปลง ดังเช่นไฟมีลักษณะร้อน ไปอยู่แห่งหนตำบลใดก็เป็นที่รับรู้กันว่า เป็นความร้อนของไฟ  
ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น เบื้องต้นเมื่อยืนก็ต้องตั้งสติกำหนดการยืน เมื่อเดินจงกรมก็ต้องตั้งสติกำหนดการเดิน ซ้ายย่าง ขวาย่าง เมื่อนั่งก็ต้องตั้งสติกำหนดการพอง-ยุบของท้อง คนส่วนมากจึงมีความสงสัยว่า การกำหนดอย่างนี้ก็คือการกำหนดบัญญัตินั้นเอง เมื่อกำหนดบัญญัติอยู่เช่นนี้จะได้ชื่อว่าเป็นการเจริญวิปัสสนากรรมฐานได้อย่างไร? คำตอบในเรื่องนี้ คือ ในตอนต้นของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานผู้ปฏิบัติจะต้องกำหนดอารมณ์บัญญัติไปก่อนทั้งนี้เพื่อให้จิตสงบเป็น    ขณิก สมาธิ (ต้องเป็นขณิกสมาธิเท่านั้น) ซึ่งเหมาะที่จะเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อไป ไม่เช่นนั้นแล้วจิตจะไม่มีที่กำหนดเพราะปรมัตถภาวะเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก เมื่อภาวนาปัญญาแก่กล้าแล้ว อารมณ์บัญญัติจะหายไปเอง คงเหลือแต่ปรมัตถภาวะล้วน ๆ หากบัญญัติยังไม่หายไปตราบใด ก็ยังเป็นการเจริญสมถกรรมฐานอยู่ตราบนั้น
วิปัสสนากรรมฐาน มีเป้าหมายอยู่ที่การบรรลุปัญญาญาณ ดังนั้น จึงต้องใช้องค์ประกอบของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๓ ประการ คือ อาตาปี คือ ความเพียรเพื่อเผากิเลส สติมา คือ ความระลึกได้ สัมปชาโน คือ ความรู้ตัวทั่วพร้อม และใช้พละทั้ง ๕ อย่าง คือ สัทธาพละ ปัญญาพละ สมาธิพละ วิริยพละ และสติพละมาเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติด้วย ในบรรดาพละทั้ง ๕ นี้ สัทธาพละกับปัญญาพละ สมาธิพละกับวิริยพละ ต้องมีพลังเสมอกัน ส่วนสติพละ อย่างเดียวเท่านั้นยิ่งมีพลังมากยิ่งเป็นผลดีต่อการปฏิบัติ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดปัญญาที่เรียกว่า ญาณ
ประโยชน์ของการฝึกจิต
          การฝึกจิตนั้น มีคุณค่าต่อชีวิตมาก เพราะทำตนให้เป็นผู้ประเสริฐ ดังนั้น ผู้ที่ฝึกจิตได้ถูกต้อง
แม้เพียงขั้นสมาธิก็ย่อมได้รับประโยชน์ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้

1. ถ้าเป็นนักเรียนนักศึกษาก็สามารถเรียนหนังสือได้ผลดีเพิ่มขึ้น ได้คะแนนสูง เพราะมีจิตใจสงบ จึงทำให้แม่นยำและดีขึ้นกว่าแต่ก่อน
2. ทำสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น ไม่ค่อยผิดพลาด เพราะมีสติสมบูรณ์ขึ้น
3. สามารถทำงานได้มากขึ้น และได้ผลดีอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ทำให้โรคภัยไข้เจ็บบางอย่างหายไปได้
5. ทำให้เป็นคนมีอารมณ์เยือกเย็น มีความสุขใจได้มาก มีผิวพรรณผ่องใส มีจิตใจเบิกบาน และมีอายุยืน
6. ทำให้อยู่ในสังคมอย่างปกติสุข เช่นถ้าอยู่ในโรงเรียนก็ทำให้เพื่อนๆ และครูพลอยได้รับความสุข ถ้าหากอยู่ในบ้านก็ทำให้ทุกคนในครอบครัวมีความสุข ถ้าอยู่ในที่ทำงานก็ทำให้เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชาพลอยได้รับความสุขไปด้วย
7. สามารถเผชิญต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้อย่างใจเย็น รวมทั้ง สามารถแก้ไขความยุ่งยาก และความเดือดร้อนวุ่นวายในชีวิตได้ด้วยวิธีอันถูกต้อง
8. สามารถกำจัดนิวรณ์ที่รบกวนจิตลงได้ หรืออย่างน้อยก็ทำให้เบาบางลงได้
9. ถ้าทำได้ถึงขั้นสูงก็ย่อมได้รับความสุขอันเลิศยิ่ง และอาจสามารถได้อำนาจจิตที่พิเศษ เช่น รู้ใจคนอื่น เป็นต้น
10. ทำให้เป็นพื้นฐานโดยตรงในการเจริญวิปัสสนา
วิธีฝึกจิตเบื้องต้น
ในที่นี้ จะนำวิธีฝึกอานาปานสติมากล่าวไว้แต่โดยย่อ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับท่านผู้สนใจจะได้นำไปใช้ได้โดยสะดวก ขั้นเตรียมการก่อนลงมือปฏิบัติ ผู้ฝึกจิตตามหลักพระพุทธศาสนาในเบื้องต้นจะต้องทำสิ่งดังต่อไปนี้
1. สมาทานศีล การสมาทานศีลนี้ อย่างน้อยให้สมาทานศีล 5 โดยขอรับศีลจากภิกษุสามเณรก็ได้หรือตั้งวิรัติ คืองดเว้นเอาด้วยตนเองก็ได้ ถ้าหากข้อใดขาดก็อธิฐานงดเว้นเอาเองใหม่ ก็เป็นผู้มีศีลขึ้นตามเดิม เพราะศีลเป็นรากฐานสำคัญมากในการทำสมาธิ
2. ระลึกถึงคุณรัตนตรัย คือ ให้ประณมมือขึ้นแล้วตั้งจิตน้อมระลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ยึดถือเป็นที่พึ่งที่ระลึก
3. แผ่เมตตา คือ แผ่ความปรารถนาดีไปยังมนุษย์และสัตว์ทุกจำพวก โดยปรารถนาให้มนุษย์และสัตว์ทั้งปวงปราศจากทุกข์และเป็นสุขโดยทั่วกัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ปลอดภัยจากศัตรู และจากการพยาบาทจองเวร
4. ตัดกังวล คือ เมื่อเริ่มทำสมาธินั้น ให้ตัดความกังวลต่างๆ ออกเสีย เช่น กังวลเรื่องงาน การเรียน ญาติพี่น้อง และอื่นๆ ให้ออกไปจากใจเสียชั่วคราว ในเวลาที่เราทำสมาธิไม่คิดถึงเรื่องในอดีตที่ผ่านไปแล้ว ไม่คิดถึงเรื่องอนาคตที่ยังมาไม่ถึง แต่ให้คิดถึงปัจจุบัน คือ อารมณ์ของกรรมฐานเท่านั้น ซึ่งในที่นี้ก็คือ ลมหายใจเข้า-ออก จะกำหนดนั่งสักที่นาที เช่น 10 นาที 15 นาที หรือ 30 นาที ก็ขอให้ตัดความกังวลใจต่างๆ ออกไปตามกำหนดเวลานั้น โดยตั้งจิตอธิษฐานว่าจะคิดถึงอารมณ์ในปัจจุบันคือ ลมหายใจเข้า-ออกเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อกันไม่ให้ใจลอย ไม่ให้ฟุ้งซ่านไปในขณะทำสมาธิ
5. กำหนดเวลาในการฝึก เวลาในการฝึกสมาธิที่ดีที่สุดก็คือเวลาก่อนนอน หลังจากไหว้พระสวดมนต์แล้ว หรือเวลาตื่นนอน โดยใช้เวลาในการทำสมาธิแต่ละครั้ง 20-30 นาที ถ้าทำได้วันละ 2 ครั้ง ก็จะดีมาก แต่ถ้าทำในห้องเรียนหรือในห้องฝึกสมาธิ สำหรับนักเรียนแล้วควรใช้เวลาอย่างน้อย 10-15 นาที ในการฝึกแต่ละครั้ง
ขั้นตอนการลงมือฝึกจิต
1. การนั่ง การนั่งสมาธินั้นจะนั่งบนพื้น หรือบนเก้าอี้ก็ได้ แล้วแต่ความสะดวกกับสถานที่นั้นๆ หรือความนัดของแต่ละคน แต่สำหรับนักเรียนที่ฝึกในห้องเรียนก็ควรนั่งเก้าอี้ เพราะห้องเรียนอำนวยและการนั่งเก้าอี้ก็สะดวกกว่าการนั่งกับพื้นสำหรับผู้ฝึกใหม่ แต่อย่าพิงพนักเก้าอี้ เพราะจะทำให้ง่วงได้ง่าย
ถ้านั่งกับพื้น ผู้ชายนั่งขัดสมาธิ ผู้หญิงนั่งพับเพียบก็ได้ หรือจะนั่งขัดสมาธิก็ได้ตามแต่ถนัด โดยให้นั่งเหมือนพระพุทธรูปปางสมาธิ คือ นั่งเอาเท้าขวาทับเท้าซ้าย เอามือขวาทับมือซ้ายนั่งตัวตรง เพื่อให้ลมหายใจเดินสะดวก กำหนดสติไว้ให้มั่นคงเพราะสติจำเป็นอย่างที่สุดในการทำสมาธิ ควบคุมใจไม่ให้ฟุ้งซ่านไปในภายนอก พร้อมกับมีคำบริกรรมกำกับเพื่อให้ใจมีเครื่องยึด คือ ภาวนาว่า พุทธ เมื่อหายใจเข้า และภาวนาว่า โธ เมื่อหายใจออก การนั่งควรหลับตาเพื่อป้องกันไม่ให้จิตฟุ้งซ่านออกไปทางตา แต่ถ้าผู้ใดนั่งหลับตามักจะง่วง ก็ให้นั่งลืมตามองเฉพาะที่ปลายจมูกของตนจนไม่เห็นสิ่งอื่น จะเห็นหรือไม่เห็นอะไรก็ตาม ขอให้จ้องมองเท่านั้น พอชินเข้าจะได้ผลดีกว่าหลับตา ทำไปเรื่อยๆ จนตาหลับไปเอง

2. กำหนดลมหายใจ การกำหนดลมหายใจนั้น ให้ทำตามลำดับขั้น ดังนี้

2.1 ขั้นวิ่งตามลม คือ เมื่อเริ่มกำหนดลมหายใจ ก็สูดลมหายใจเข้าให้แรงจนเต็มปอดประมาณ 3 ครั้ง เพื่อจะกำหนดการเข้า-ออกได้สะดวก ต่อจากนั้นก็ปล่อยลมหายใจเข้า-ออกตามสบาย อย่าบังคับลมหายใจ ปล่อยให้เข้าออกตามธรรมชาติ ทำใจให้สบาย เข้าก็ให้เข้าก็รู้ว่าเข้า ออกก็ให้รู้ว่าออก ยาวก็ให้รู้ว่ายาว สั้นก็ให้รู้ว่าสั้น ดึงไปดึงมาเหมือนคนเลื่อยไม้ อย่าเกร็งตัว หายใจเข้าพร้อมกับภาวนาว่า "พุท" หายใจออกพร้อมกับภาวนาว่า "โธ" โดยส่งใจกำหนดวิ่งตามลมไปตามจุดกำหนดทั้ง 3 จุด คือ ปลายจมูก 1 ท่ามกลางอก 1 ที่ท้อง 1 ปลายจมูกเป็นต้นลมของลมหายใจเข้า กลางอกเป็นท่ามกลาง ท้องเป็นที่สุดของลมออก ท้องเป็นต้นของลมหายใจออก กลางอกเป็นท่ามกลาง ปลายจมูกเป็นที่สุดของลมหายใจออก หรือกำหนดเพียง 2 จุดก็ได้ คือ ปลายจมูกกับที่ท้อง แล้วติดตามลมไปจนสุดปลายทั้ง 2 คอยระวังใจ (สติ) ให้จับอยู่ที่ลมหายใจเท่านั้น ให้เหมือนคนไกวเปลเฝ้าดูเด็ก ต้องคอยจ้องตามเปลที่แกว่งไปสุดข้างทั้ง 2 แต่ละข้าง เพื่อคอยดูไม่ให้เด็กดิ้นหลุดตกลงมาจากเปลและเพื่อให้หลับในที่สุด
ผู้ฝึกจิตก็เช่นเดียวกันต้องคอยควบคุมจิตใจไม่ให้ดิ้นไปข้างนอก และคอยควบคุมให้มันสงบลงในที่สุดด้วย โดยใช้เปลคือลมหายใจเป็นเครื่องกล่อม เมื่อสามารตามลมได้ตลอดเวลาจนจิตไม่ฟุ้งซ่านออกไปข้างนอกแล้ว ก็ชื่อว่าทำสำเร็จในขั้นที่หนึ่ง
2.2 ขั้นกำหนดอยู่ที่จุดแห่งหนึ่ง เมื่อกำหนดลมหายใจเข้า-ออก โดยคอยตามลมไปจนจิตไม่ฟุ้งซ่านไปภายนอกแล้ว ก็ให้เปลี่ยนมากำหนดจิตไว้เฉพาะจุดใดจุดหนึ่งในจุด ทั้ง 3 คือ ที่ปลายจมูก ท่ามกลางอก และที่ท้องตามที่กำหนดได้ถนัด ไม่ต้องวิ่งตามลมเหมือนขั้นแรก แต่ที่นิยมกันส่วนมาก คือ คอยจับอยู่ที่เฉพาะปลายจมูกเท่านั้น เหมือนกับนายโคบาล (คนเลี้ยงวัว) ที่ฉลาด เมื่อปล่อยวัวออกจากคอกแต่เช้าแล้ว ก็ไม่ต้องตามหลังมันตลอดเวลา แต่ไปนั่งรออยู่ที่ท่าน้ำหรือแหล่งน้ำที่วัวจะต้องลงกินในเวลาเย็นทุกวัน แล้วก็จับต้อนเข้าคอกได้โดยสะดวก ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยเสียเวลาที่ต้องคอยตามหลังวัวอยู่ตลอดเวลา ผู้ฝึกจิตก็เช่นเดียวกัน กำหนดอยู่ที่ปลายจมูกไม่ไปไหน คอยจับอยู่ที่ปลายจมูกเพียงแห่งเดียว เพราะเมื่อลมหายใจเข้าแล้ว ก็ต้องออกทางนี้แน่นอน ทำอยู่อย่างนี้เรื่อยไป หรือผู้ใดเห็นว่าในขั้นตามลมนั้นตนชำนาญแล้ว ก็ข้ามมาขั้นที่สองนี้เลย เมื่อจิตกำหนดอยู่เฉพาะปลายจมูก ไม่ฟุ้งซ่านไปข้างนอกแล้ว ชื่อว่าสำเร็จในขั้นที่สอง ขั้นวิ่งตามลมในขั้นที่หนึ่งนั้น ลมหายใจยังหยาบอยู่ แต่ในขั้นที่สองนี้ลมหายใจจะละเอียดมาก จนบางครั้งไม่รู้ว่ามีลมกระทบส่วนในส่วนหนึ่งของร่างกายเลย เหมือนกับไม่มีลมหายใจ อันแสดงว่าจิตเริ่มสงบมากแล้ว
        แต่ต้องพยายามกำหนดในขณะให้หายใจเข้า-ออกให้ได้ตลอดเวลา ก็จะเพิ่มความสงบสุขและพลังให้แก่จิตได้มากทีเดียว ถ้าทำได้ถึงขั้นนี้ ก็นับว่าได้สมาธิดีพอสมควร ส่วนขั้นสูงขึ้นไปกว่านี้ ผู้สนใจจะศึกษาได้จากอาจารย์กรรมฐานหรือหนังสือกรรมฐานทั่วไป
การกำหนดลมหายใจด้วยการนับ
หากท่านผู้ใดฝึกสมาธิด้วยวิธีข้างต้นไม่ได้ผลดี หรือสามารทำได้ดีแล้ว แต่ต้องการจะหาวิธีใหม่บ้าง ก็ลองหันมากำหนดลมหายใจด้วยการนับ ก็อาจจะได้ผลดีหรือได้ผลเพิ่มขึ้น เพราะอุปนิสัยของแต่ละคนถนัดไม่เหมือนกัน การกำหนดลมหายใจด้วยการนับนี้ เรียกว่า คณนา-การนับ โดยส่งใจไปกำหนดนับอยู่ปลายจมูกแห่งเดียว หายใจเข้าก็ให้รู้ว่าหายใจเข้า หายใจออกก็ให้รู้ว่าหายใจออก

คณนา-การนับ มีอยู่ 2 วิธี คือ
1. การนับอย่างช้า
2. การนับอย่างเร็ว

การนับอย่างช้า คือ เมื่อผู้ฝึกได้เตรียมการเบื้องต้นต่างๆ เรียบร้อยแล้ว และเข้านั่งประจำที่ในการฝึกพร้อมแล้ว ก็ให้เริ่มนับ (นับแต่เพียงในใจ) โดยนับเป็นคู่ๆ ดังนี้

รอบที่หนึ่ง
หายใจเข้า นับว่า หนึ่ง หายใจออก นับว่า หนึ่ง
หายใจเข้า นับว่า สอง หายใจออก นับว่า สอง
หายใจเข้า นับว่า สาม หายใจออก นับว่า สาม
หายใจเข้า นับว่า สี่ หายใจออก นับว่า สี่
หายใจเข้า นับว่า ห้า หายใจออก นับว่า ห้า


แล้วเริ่มนับถอยมาจาก ห้า-ห้า จนถึงหนึ่ง ใหม่ ดังนี้
หายใจเข้า นับว่า ห้า หายใจออก นับว่า ห้า
หายใจเข้า นับว่า สี่ หายใจออก นับว่า สี่
หายใจเข้า นับว่า สาม หายใจออก นับว่า สาม
หายใจเข้า นับว่า สอง หายใจออก นับว่า สอง
หายใจเข้า นับว่า หนึ่ง หายใจออก นับว่า หนึ่ง
รอบที่สอง
เริ่มนับจาก หนึ่ง-หนึ่ง ไปจนถึง หก-หก แล้วย้อนกลับใหม่ โดยนับจาก หก-หก มาจนถึง หนึ่ง-หนึ่งอีก
รอบที่สาม
เริ่มนับจาก หนึ่ง-หนึ่ง ไปจนถึง เจ็ด-เจ็ด แล้วย้อนกลับใหม่ โดยนับจาก เจ็ด-เจ็ด มาจนถึง หนึ่ง-หนึ่งอีก
รอบที่สี่
เริ่มนับจาก หนึ่ง-หนึ่ง ไปจนถึง แปด-แปด แล้วย้อนกลับใหม่ โดยนับจาก แปด-แปด มาจนถึง หนึ่ง-หนึ่งอีก
รอบที่ห้า
เริ่มนับจาก หนึ่ง-หนึ่ง ไปจนถึง เก้า-เก้า แล้วย้อนกลับใหม่ โดยนับจาก เก้า-เก้า มาจนถึง หนึ่ง-หนึ่งอีก
รอบที่หก
เริ่มนับจาก หนึ่ง-หนึ่ง ไปจนถึง สิบ-สิบ แล้วย้อนกลับใหม่ โดยนับจาก สิบ-สิบ มาจนถึง หนึ่ง-หนึ่งอีก
เมื่อนับครบทุกรอบแล้ว ให้กลับมานับตั้งแต่รอบที่หนึ่งอีก นับเรื่อยไปอยู่อย่างนี้จนการนับไม่หลงลืม และไม่ข้ามลำดับ จนนับได้คล่องแคล่ว ลมหายใจเข้าออกปรากฏชัด ทำให้จิตสงบดีขึ้น ก็จะได้ผลดีในการฝึกจิตในเบื้องต้น
การนับอย่างเร็ว เมื่อสามารถฝึกจิตด้วยการนับอย่างช้าได้ดีแล้ว ต่อจากนั้นก็ให้เปลี่ยนมาเป็นการนับอย่างเร็ว เพราะเมื่อนับอย่างช้าได้คล่องแคล่ว แล้วจะปรากฏว่าลมหายใจเข้าออกเดินได้รวดเร็วกว่าแต่ก่อน เมื่อผู้ปฏิบัติทราบว่าลมหายใจเป็นไปเร็วเช่นนี้ ก็ให้ทิ้งการนับอย่างช้ามากำหนดนับอย่างเร็ว โดยไม่ใส่ใจหรือไม่คำนึงถึงลมหายใจเข้า-ออก
คอยกำหนดเฉพาะลมหายใจที่มากระทบจมูกเพียงอย่างเดียว ไม่ต้องนับเป็นคู่ แต่นับเรียงลำดับไปตามตัวเลขอย่างน้อย 1-5 อย่างมาก 1-10 ดังนี้
1. 2. 3. 4. 5. (เข้า-ออก)
1. 2. 3. 4. 5. 6. (เข้า-ออก)
1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. (เข้า-ออก)
1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. (เข้า-ออก)
1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. (เข้า-ออก)
1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. (เข้า-ออก)
เมื่อนับถึง 10 แล้ว ก็ให้กลับมาตั้งรอบที่หนึ่งอีก นับเรื่อยไปอยู่อย่างนี้ จนการนับไม่หลงลืม ไม่ข้ามลำดับ เป็นไปคล่องไม่สับสน จนกระทั้งจิตสงบลงไปได้ไม่ฟุ้งซ่าน หรือสามารถรวมเข้าดีแล้วก็เลิกนับ มากำหนดรู้เฉพาะลมหายใจเข้าออกอยู่ที่ปลายจมูกหรือริมฝีปากข้างบนเท่านั้น จึงนับว่าสำเร็จในขั้นนี้

อนึ่ง ในการนับนี้มีกฎอยู่ว่า ไม่ควรนับให้ต่ำกว่า 5 ไม่ควรนับให้เกินกว่า 10 และไม่ควรนับให้ข้ามลำดับ เพราะว่าถ้านับต่ำกว่า 5 ใจจะกระวนกระวายอยู่ในที่แคบ เหมือนฝูงโคที่แออัดอยู่ในคอกที่คับแคบ ถ้านับเกินกว่า 10 ใจก็จะมุ่งแต่การนับมากกว่ากำหนดลมหายใจ และถ้านับข้ามลำดับ ใจก็จะคิดกังวลไปว่า กรรมฐานถึงที่สุดแล้วหรือยังไม่ถึง ซึ่งจะทำให้ฟุ้งซ่านได้ ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติควรจะเว้นข้อห้ามดังกล่าวเสีย การฝึกจิตด้วยการนับนี้ เป็นการฝึกจิตให้สงบได้วิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีฝึกจิตที่ได้ผลอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา
      ขอแนะนำว่า การฝึกสมาธิที่จะได้ผลดีนั้น จะต้องมีอาจารย์เป็นผู้คอยแนะนำและควบคุม เพราะการฝึกโดยไม่มีหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา หรือโดยไม่มีหลักเกณฑ์ที่ต้องตามหลักพระพุทธศาสนา หรือโดยไม่มีอาจารย์ควบคุมแนะนำนั้น อาจจะได้ผลน้อยหรือไม่ได้ผลเลย หรืออาจจะเกิดผลเสียก็ได้
ฉะนั้น อาจารย์ผู้สอนจึงมีความสำคัญมากสำหรับผู้ฝึกสมาธิ และการฝึกนั้นก็ต้องค่อยทำค่อยไป อย่าฝึกด้วยความหักโหม และควรฝึกเป็นประจำทุกวัน เช่นเดียวกับการออกกำลังกาย จึงจะได้ผลดี คำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ต้องพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติจึงจะเข้าใจได้ซาบซึ้ง ไม่ใช่เพียงแต่การคิดเอา ถ้าปฏิบัติได้ถูกต้องแล้ว พระธรรมที่ประพฤติแล้ว ก็ย่อมจะรักษาผู้ประพฤติธรรมให้มีความสุขความเจริญได้อย่างแน่นอน
ข้อที่ควรเว้นสำหรับผู้ฝึกอบรมสมาธิ
1. ความกังวล
2. คนที่มีจิตใจไม่มั่นคง
3. การอ่านหนังสือที่ทำให้จิตใจห่างต่อความสงบ
4. การงานหรืออาชีพที่ทำให้ห่างต่อความสงบ
5. ป่วยหนัก
6. ร่างกายกระวนกระวาย
7. หิวหรือกระหายมากเกินไป
8. อิ่มมากเกินไป
9. ง่วงมากเกินไป
10. สถานที่อยู่ร้อนมาก หรือหนาวมากเกินไป
11. สถานที่อยู่มีเสียงอึกทึกมากเกินไป
12. สถานที่บำเพ็ญมีคนพูดคุยกัน
13. เกียจคร้าน
14. ไม่ตั้งใจ
15. ทำผิดวินัย
16. การไม่ยึดอารมณ์ปัจจุบัน
17. ความเพียรมากเกินไป
18. ใจลอย
19. การงานมากเกินไป
20. แก่มากเกินไป
จริต 6

      จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตชอบท่องเที่ยว หรืออารมณ์ที่ชอบท่องเที่ยวของจิตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มี 6 ประการคือ
ในบุคคลเดียวอาจไม่ได้มีจริตเดียว เป็นจริตผสม แต่จะมีจริตที่เด่นที่สุด จงพิจารณาเองเถิด
ราคจริต จิตท่องเที่ยวไปในอารมณ์ที่รักสวยรักงาม คือ พอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะ
โทสจริต มีอารมณ์มักโกรธ เป็นคนขี้โมโหโทโส จะเป็นคนที่แก่เร็ว พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ แต่งตัวไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว
โมหจริต มีอารมณ์จิตลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติ ชอบสะสมมากกว่าจ่ายออก มีค่าหรือไม่มีค่าก็เก็บหมด นิสัยเห็นแก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น แต่ของตนไม่อยากให้ใคร ไม่ชอบบริจาคทานการกุศล เรียกว่า เป็นคนชอบได้ ไม่ชอบให้
วิตกจริต มีอารมณ์ชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ไม่กล้าตัดสินใจ คนประเภทนี้เป็นโรคประสาทมาก มีหน้าตาไม่ใคร่สดชื่น แก่เกินวัย หาความสุขสบายใจได้ยาก
สัทธาจริต มีจิตน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ เชื่อโดยไร้เหตุผล พวกนี้ถูกหลอกได้ง่าย ใครแนะนำก็เชื่อโดยไม่พิจารณา
พุทธิจริต เป็นคนเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ การคิดการอ่าน ความทรงจำดี
      อารมณ์ที่กล่าวมา 6 ประการนี้ บางคนมีอารมณ์ทั้ง 6 อย่างนี้ครบถ้วน บางรายก็มีไม่ครบ มีมากน้อยกว่ากันตามอำนาจวาสนาบารมีที่อบรมมาในชาติอดีต อารมณ์ที่มีอยู่คล้ายคลึงกัน แต่ความเข้มข้นรุนแรงไม่เสมอกันนั้น เพราะบารมีที่อบรมมาไม่เสมอกัน
จริตของมนุษย์แต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน และแต่ละบุคคลก็อาจมีจริตได้หลายอย่างคลุกเคล้าปะปนกันมา แต่ว่าจริตใดจะมีมากออกหน้า เป็นประธาน เป็นประจำ เป็นตัวนำ เป็นเด่นกว่าจริตอื่น ก็เรียกว่าเป็นผู้มีจริตนั้น
ลักษณะของผู้ที่หนักในราคจริต
๑. มายา เจ้าเล่ห์
๒. โอ้อวด
๓. ถือตัว
๔. ทำตัวลวงโลก หลอกลวง เสแสร้ง
๕. ปรารถนามาก มีความอยากใหญ่
๖. ไม่สันโดษ
๗. แง่งอน
๘. ขี้โอ่
นิสัยของคนมีราคะจริต - เรียบร้อย นุ่มนวล ไม่รีบร้อน งานสะอาด สวยงาม เป็นระเบียบ
รสชาติที่ชอบ - ชอบรสหวาน มัน อร่อย สีสรรน่ากิน
สิ่งที่ชอบดู - ชอบของสวยงาม ไพเราะ ตลก ขบขัน
ลึก ๆ แล้ว - เจ้าเล่ห์ โอ้อวด ถือตัว แง่งอน
พิถีพิถัน ชอบยอ
กรรมฐานที่เหมาะ - อสุภะ ๑๐ กายคตาสติ ๑
ราคจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี แดง
ลักษณะของผู้ที่หนักในโทสจริต
๑. โกรธง่าย โมโหง่าย
๒. ผูกโกรธ แค้นฝังใจ
๓. ลบหลู่คุณท่าน (คนที่ดี คนที่เป็นผู้ใหญ่กว่า)
๔. ชอบตีตนเสมอท่าน
๕. ขี้อิจฉา
๖. ขี้เหนียว ชอบหึง ชอบหวง
นิสัยของคนโทสะจริต -ไปพรวด ๆ รีบร้อนกระด้าง
การทำงาน - งานสะอาด แต่ไม่เรียบร้อย ไม่สำรวยมุ่งแต่ในสิ่งที่ปรารถนา
รสชาติที่ชื่นชอบ - ชอบเปรี้ยว เค็ม ขม ฝาดจัด รับประทานเร็ว คำโต
สิ่งที่ชอบดู - ชอบดูชกต่อย
ด้านมืด - มักโกรธ ผูกโกรธ ลบหลู่บุญคุณ ตีเสมอ ขี้อิจฉา
กรรมฐานที่เหมาะ - วัณณกสิณ ๔ ,พรหมวิหาร ๔
โทสจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี(ออกไปในโทนค่อนข้าง) ดำ
ลักษณะของผู้ที่หนักในโมหจริต
๑. หดหู่ ซึมเซา
๒. คลิบเคลิ้ม
๓. ฟุ้งซ่าน
๔. ขี้รำคาญ
๕. เคลือบแคลง ขี้สงสัย ในธรรมะ
๖. ถืองมงาย
๗. ละ ความเชื่อโง่ ๆ เดิม ๆ ได้ยาก
นิสัย (กิริยา) ของคนโมหจริต - เซื่อง ๆ ซึม ๆ เหม่อๆ
ลอย ๆ
การทำงาน - งานหยาบ ไม่ถี่ถ้วน คั่งค้าง เอาดีไม่ได้
รสชาติอาหารที่ชื่นชอบ - ไม่เลือกอาหารอย่างไหนก็เอา
หมด มูมมามด้วย
สิ่งที่ชอบดู - ใครเห็นดีก็ว่าดีด้วย ใครเห็นไม่ดี ก็ไม่ดี ตามไปด้วย สนุกตามเขา เบื่อตามเขา
ด้านมืด - มีแต่ง่วงเหงาหาวนอน ไม่เป็นเรื่องเป็นราว ช่างสงสัย เข้าใจอะไรยาก
กรรมฐานที่เหมาะ - อานาปาณสติ
โมหจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี หม่นเหมือนน้ำล้างเนื้อ
ลักษณะของผู้ที่หนักในวิตกจริต
๑. พูดมาก พล่าม พูดไปเรื่อย ชอบเล่นมุข
๒. ชอบคลุกคลีในหมู่คณะ งานสังสรรค์
๓. ไม่ยินดีในการประกอบกุสล
๔. มีกิจไม่มั่นคง จับจด
๕. กลางคืนเป็นควัน
๖. กลางวันเป็นเปลว (คือ คิดจะทำอะไรสักอย่างก็ฝัน แต่ไม่ได้ทำอะไร)
๗. คิดเรื่องต่าง ๆ พล่านไปต่าง ๆ นานา หาสาระไม่ได้
กิริยาอาการของคนวิตกจริต - เชื่องช้า เบลอ ๆ , เอ๋อ ๆคล้ายโมหจริต
การทำงาน - งานไม่เป็นส่ำ จับจด แต่พูดเก่ง ดีแต่พูด
อาหาร - ไม่แน่นอน อย่างไหนก็ได้
สิ่งที่ชื่นชอบและให้ความสนใจ - เห็นตามหมู่มาก
ด้านมืด - ฟุ้งซ่าน โลเล เดี๋ยวรัก เดี๋ยวเกลียด ชอบคลุกคลี อยู่คนเดียวไม่ได้
กรรมฐานที่เหมาะสม - อานาปาณสติ
วิตกจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี เหมือนน้ำเยื่อถั่วพู
ลักษณะของผู้ที่หนักในสัทธาจริต
๑. มตฺตจาคตา บริจาคทรัพย์เป็นนิจ ชอบให้ ชอบเผื่อแผ่ ช่วยเหลือคนอื่น ใครเห็นก็เลื่อมใส อยากเข้าใกล้
๒. อริยานํ ทสฺสนกามตา ใคร่เห็นพระอริยะ ชอบพบปะคนดี ๆ ด้วยกัน หรือดีกว่า ไม่ชอบคนเลว คนไร้สาระ คนตลก
๓. สทฺธมฺมํ โสตุกามตา ชอบฟังธรรม
๔. ปาโมชฺชพหุลตา มากด้วยความปราโมทย์ ปลื้มใจ ในสิ่งที่เป็นกุศล
๕. อสฐตา ไม่โอ้อวด
๖. อมายาวิตา ไม่มีมารยา
๗. ปสาทนีเยสุ ฐาเนสุ ปสาโท เลื่อมใสในสิ่งที่ควรเลื่อมใส
กิริยา -แช่มช้อย ละมุน ละม่อม
การทำงาน - เรียบร้อย สวยงาม เป็นระเบียบ
รสชาติที่ชอบใจ - หวาน มัน หอม
สิ่งที่ชอบดู ชอบใจ - ชอบสวยงามอย่างเรียบๆ ไม่โลดโผน
ด้านสว่าง - เบิกบานในการบุญ (ส่วนราคจริตนั้นเบิกบานต่อการได้รับความชื่นชม)
กรรมฐานที่เหมาะสม - อนุสติ ๖
สัทธาจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี เหลืองอ่อน คล้ายสีดอกกัณณิกา
บุคคลไม่ควรคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วด้วย อาลัย
และไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
ประโยชน์ของการรู้อารมณ์จริต
      นักปฏิบัติควรรู้อาการของจริตที่จิตของตนคบหาสมาคมอยู่ เพราะการรู้อารมณ์จิตเป็นผลกำไรในการปฏิบัติ เพื่อการละด้วยการเจริญสมาธิก็ตาม พิจารณาวิปัสสนาญาณก็ตาม ความสำคัญอยู่ที่การควบคุมความรู้สึกของอารมณ์ ถ้าขณะที่กำลังตั้งใจกำหนดจิตเพื่อเป็นสมาธิ หรือพิจารณาวิปััสสนาญาณอารมณ์จิตเกิดฟุ้งซ่าน ก็จะได้น้อมนำเอาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มาประคับประคองใจให้เหมาะสมเพื่อผลในสมาธิ หรือหักล้างด้วยอารมณ์วิปัสสนาญาณเพื่อให้ได้ฌานสมาบัติ หรือมรรคผลนิพพาน พระธรรมเพื่อผลของสมาบัติ ท่านเรียกว่า "สมถกรรมฐาน" มีทั้งหมด 40 อย่าง
อสุภกรรมฐาน 10
อนุสสติกรรมฐาน 10
กสิณ 10
อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1
จตุธาตุววัฏฐาน 1
พรหมวิหาร 4
อรูป 4
แบ่งกรรมฐาน 40 ให้เหมาะแก่จริต      สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบถึง ความเหมาะสมในกรรมฐานต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับอารมณ์จิตที่มีความข้องอยู่ในขณะนั้น ว่า เมื่อใดอารมณ์จิตของท่านผู้ใดข้องอยู่ในอารมณ์ชนิดใด ก็ให้เอากรรมฐานที่พระองค์ทรงประทานไว้ว่าเหมาะสมกันเข้าพิจารณา หรือภาวนาแก้ไขเพื่อความผ่องใสของอารมณ์จิต เพื่อการพิจารณาวิปัสสนาญาณ เพื่อมรรคผลนิพพานต่อไป กรรมฐาน 40 กองที่ท่านได้จำแนกไว้ เพื่อเหมาะสมกับจริตมีดังนี้
1. ราคจริต      ราคจริตนี้ กรรมฐานที่เหมาะคือ อสุภกรรมฐาน 10 กับกายคตนานุสสติ 1 เมื่ออารมณ์รักสวยรักงามเกิดขึ้นแก่อารมณ์จิต จิตข้องอยู่ในกามารมณ์เป็นปกติ ก็เอากรรมฐานนี้พิจารณาเป็นปกติ จนกว่าอารมณ์จะสงัดจากกามารมณ์ เห็นคนและสัตว์และสรรพวัตถุที่ชมชอบว่าสวยงดงาม กลายเป็นของน่าเกลียดโสโครกโดยกฎของธรรมดา จนจิตใจไม่มั่วสุมกับความงามแล้ว ก็พิจารณาวิปัสสนาญาณโดยยกเอาขันธ์ 5 เป็นอารมณ์ ว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา
2. โทสจริต
      คนมักโกรธ หรือขณะนั้นมีอารมณ์โกรธพยาบาทเกิดขึ้น ท่านให้เอากรรมฐาน 8 อย่าง คือ พรหมวิหาร 4 วัณณกสิณ 4 (วัณณกสิณ 4 ได้แก่ นีลกสิณ เพ่งสีเขียว โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง ปีตกสิณ เพ่งสีเหลือง โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว) ทั้ง 8 อย่างนี้เป็นกรรมฐานระงับดับโทสะ เลือกที่เหมาะสมมาเพ่งและใคร่ครวญพิจารณา อารมณ์โทสะจะค่อย ๆ คลายตัวระงับไป
3. โมหะ และ วิตกจริต      อารมณ์ที่ตกอยู่ในอำนาจของความหลง และครุ่นคิดตัดสินใจไม่ค่อยได้นั้น ท่านให้เจริญอานาปานานุสสติกรรมฐานอย่างเดียว อารมณ์ความลุ่มหลงฟุ้งซ่านก็จะสงบระงับไป
4. สัทธาจริต      ท่านที่เกิดสัทธาความเชื่อ ท่านให้เจริญกรรมฐาน 6 อย่าง คือ อนุสสติ 6 ประการ คือ
พุทธานุสสติกรรมฐาน
ธัมมานุสสติกรรมฐาน
สังฆานุสสติกรรมฐาน
สีลานุสสติกรรมฐาน
จาคานุสสติกรรมฐาน
เทวตานุสสติกรรมฐาน
     ทั้ง 6 อย่างนี้จะทำให้จิตใจของท่านที่ดำรงสัทธาผ่องใส
5. พุทธิจริต      คนเฉลียวฉลาดรู้เท่าทันเหตุการณ์ มีปฏิภาณไหวพริบดี ท่านให้เจริญกรรมฐาน 4 อย่าง
มรณานุสสติกรรมฐาน
อุปมานุสสติกรรมฐาน
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
จตุธาตุววัฏฐาน
      กรรมฐานที่เหมาะแก่จริตทั้ง 6 ท่านจัดไว้เป็น 5 หมวด รวมกรรมฐานที่เหมาะแก่จริต โดยเฉพาะจริตนั้น ๆ รวม 30 อย่าง หรือ 30 กอง ที่เหลืออีก 10 กอง คือ อรูป 4 ภูตกสิณ 4(ปฐวีกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ อาโปกสิณ) และอาโลกกสิณ 1 อากาสกสิณ 1 รวมเป็น 10 อย่าง ซึ่งเป็นกรรมฐานเหมาะแก่จริตทุกอย่าง แต่สำหรับอรูปนั้น ถ้าใครต้องการเจริญ ท่านให้เจริญฌานในกสิณให้ได้ ฌาน 4 เสียก่อน แล้วจึงเจริญในอรูปได้ มิฉะนั้นแล้วจะไม่เป็นผลสำหรับผู้ฝึกสมาธิใหม่เพราะอรูปละเอียดเกินไป
คำว่าจริยา หมายถึงลักษณะอันเป็นพื้นฐานของจิต หรือนิสัยอันเป็นพื้นเพของบุคคลแต่ละคน
คำว่าจริต ใช้เรียกบุคคลที่มีจริยาอย่างนั้นๆ เช่น คนมีโทสะจริยา เรียกว่า โทสะจริต
  จริต 6 ประเภทคำว่า "จริต" ในที่นี้หมายถึงสภาวะจิตของคนตามธรรมชาติจากการแบ่งจริตมนุษย์เป็น ๖ ประเภทใหญ่ๆ
1.ราคะจริต คือสภาวะจิตที่หลงติดในรูป รส กลิ่น เสียงและสัมผัสจนเป็นอารมณ์
2.โทสะจริต หรือสภาวะจิตที่โกรธง่าย ฉุนเฉียวง่าย เพียงพูดผิดสักคำ ได้เห็นดีกัน
3.โมหะจริต หรือจิตที่มักอยู่ในสภาพง่วงเหงาหาวนอนหรือซึมเศร้าเป็นอาจิณ
4.วิตกจริต หรือสภาวะจิตที่กังวล สับสนและวุ่นวายฟุ้งซ่านแทบทุกลมหายใจ
5.ศรัทธาจริต คือสภาวะจิตที่มีปรัชญาหรือหลักการของตัวเองและพยายามผลักดันให้ตัวเองและผู้อื่นบรรลุถึงจุดหมายนั้น
6.พุทธิจริต คือสภาวะจิตที่เน้นการใช้ปัญญาในการไตร่ตรอง คิดหาเหตุหาผลมาแก้ปัญหาต่างๆในชีวิต ทั้งชีวิตส่วนตัว ชีวิตการทำงาน รวมทั้ง มีความสนใจ เรื่องการยกระดับและพัฒนาจิตวิญญาณ
  ราคะจริต
ลักษณะ บุคลิกดี มีมาด น้ำเสียงนุ่มนวลไพเราะ ติดในความสวย ความงาม ความหอมความไพเราะ ความอร่อย ไม่ชอบคิด แต่ช่างจินตนาการเพ้อฝัน จุดแข็ง มีความประณีตอ่อนไหว และละเอียดอ่อน ช่างสังเกตเก็บข้อมูลเก่ง มีบุคลิกหน้าตาเป็นที่ชอบและชื่นชมของทุกคนที่เห็น วาจาไพเราะ เข้าได้กับทุกคน เก่งในการประสานงาน การประชาสัมพันธ์และงานที่ต้องใช้บุคลิกภาพ
จุดอ่อน ไม่มีสมาธิ ทำงานใหญ่ได้ยาก ไม่มีเป้าหมายในชีวิต ไม่มีความเป็นผู้นำ ขี้เกรงใจคน ขาดหลักการ มุ่งแต่บำรุงบำเรอผัสสะทั้ง 5 ของตัวเอง คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ชอบพูดคำหวานแต่อาจไม่จริง อารมณ์รุนแรงช่างอิจฉา ริษยา ชอบปรุงแต่ง
วิธีแก้ไข พิจารณาโทษของจิตที่ขาดสมาธิ ฝึกพลังจิตให้มีสมาธิเข้มแข็ง หาเป้าหมายที่แน่ชัดในชีวิต พิจารณาสิ่งปฏิกูลต่างๆของร่างกายมนุษย์เพื่อลดการติดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
  โทสะจริต
ลักษณะ จิตขุ่นเคือง โกรธง่าย คาดหวังว่าโลกต้องเป็นอย่างที่ตัวเองคิด พูดตรงไปตรงมา ชอบชี้ถูกชี้ผิด เจ้าระเบียบ เคร่งกฎเกณฑ์ แต่งตัวประณีต สะอาดสะอ้าน เดินเร็ว ตรงแน่ว
  โมหะจริต
ลักษณะ ง่วงๆ ซึมๆ เบื่อๆ เซ็งๆ ดวงตาดูเศร้าๆ ซึ้งๆ พูดจาเบาๆ นุ่มนวลอ่อนโยน ยิ้มง่าย อารมณ์ ไม่ค่อยเสีย ไม่ค่อยโกรธใคร ไม่ชอบเข้าสังคม ไม่ชอบทำตัวเป็นจุดเด่น เดินแบบขาดจุดมุ้งหมาย ไร้ความมั่นคง
จุดแข็ง ไม่ฟุ้งซ่าน เข้าใจอะไรได้ง่ายและชัดเจน มีความรู้สึก มักตัดสินใจอะไรได้ถูกต้อง ทำงานเก่ง โดยเฉพาะงานประจำ ไม่ค่อยทุกข์หรือเครียดมากนัก เป็นคนดี เป็นเพื่อนที่น่าคบ ไม่ทำร้ายใคร

จุดอ่อน ไม่มีความมั่นใจ มองตัวเองต่ำกว่าความเป็นจริง โทษตัวเองเสมอ หมกมุ่นแต่เรื่องตัวเองไม่สนใจคนอื่น ไม่จัดระบบความคิด ทำให้เสมือนไม่มีความรู้ ไม่มีความเป็นผู้นำ ไม่ชอบเป็นจุดเด่น สมาธิอ่อนและสั้นเบื่อง่าย อารมณ์อ่อนไหวง่ายใจน้อย
 วิธีแก้ไข ตั้งเป้าหมายชีวิตให้ชัดเจน ฝึกสมาธิสร้างพลังจิตให้เข้มแข็ง ให้จิตออกจากอารมณ์ โดยจับการเคลื่อนไหวของร่างกาย หรือเล่นกีฬา แสวงหาความรู้ และต้องจัดระบบความรู้ความคิด สร้างความแปลกใหม่ให้กับชีวิต อย่าทำอะไรซ้ำซาก
  วิตกจริต
ลักษณะ พูดเป็นน้ำไหลไฟดับ ความคิดพวยพุ่ง ฟุ้งซ่านอยู่ในโลกความคิด ไม่ใช่โลกความจริง มองโลกในแง่ร้ายว่าคนอื่นจะเอาเปรียบกลั่นแกล้งเรา หน้าจะบึ้ง ไม่ค่อยยิ้ม เจ้ากี้เจ้าการ อัตตาสูงคิดว่าตัวเองเก่ง อยากรู้อยากเห็นไปทุกเรื่อง ผัดวันประกันพรุ่ง
จุดแข็ง เป็นนักคิดระดับเยี่ยมยอด มองอะไรทะลุปรุโปร่งหลายชั้น เป็นนักพูดที่เก่ง จูงใจคน เป็นผู้นำหลายวงการ ละเอียดรอบคอบ เจาะลึกในรายละเอียด เห็นความผิดเล็กความผิดน้อยที่คนอื่นไม่เห็น
จุดอ่อน มองจุดเล็กลืมภาพใหญ่ เปลี่ยนแปลงความคิดตลอดเวลา จุดยืนกลับไปกลับมา ไม่รักษาสัญญา มีแต่ความคิด ไม่มีความรู้สึก ไม่มี วิจารณญาณ ลังแล มักตัดสินใจผิดพลาด มักทะเลาวิวาท ทำร้ายจิตใจ เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น มีความทุกข์ เพราะเห็นแต่ปัญหา แต่หาทางแก้ไม่ได้
วิธีแก้ไข เลือกความคิด อย่าให้ความคิดลากไป ฝึกสมาธิแบบอานาปานัสสติ เพื่อสงบสติ อารมณ์ เลิกอกุศลจิต คลายจากฟุ้งซ่าน สร้างวินัย ต้องสร้างกรอบเวลา ฝึกมองภาพรวม คิดให้ครบวงจร หัดมองโลกในแง่ดี พัฒนาสมองด้านขวา
  ศรัทธาจริตลักษณะ ยึดมั่นอย่างแรงกล้าในบุคคล หลักการหรือความเชื่อถือและความศรัทธา คิดว่าตัวเองเป็นคนดี น่าศรัทธา ประเสริฐ กว่าคนอื่น เป็นคนจริงจัง พูดมีหลักการ
จุดแข็ง มีพลังจิตสูงและเข้มแข็งพร้อมที่จะเสียสละเพื่อผู้อื่น ต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเองและสังคมไปสู่สภาพที่ดีกว่าเดิม มีพลังขับเคลื่อนมหาศาล มีลักษณะความเป็นผู้นำ
จุดอ่อน หูเบา ความเชื่ออยู่เหนือเหตุผล ถูกหลอกได้ง่าย ยิ่งศรัทธามาก ปัญญายิ่งลดน้อยลง จิตใจคับแคบ ไม่ยอมรับความคิดที่แตกต่าง ไม่ประนีประนอม มองโลกเป็นขาวและดำ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตนคิดว่าถูกต้อง สามารถทำได้ทุกอย่างแม้แต่ใช้ความรุนแรง
วิธีแก้ไข นึกถึงกาลามสูตร ใช้หลักเหตุผลพิจารณาเหนือความเชื่อ ใช้ปัญญานำทาง และใช้ศรัทธาขับเคลื่อน เปิดใจกว้างรับความคิดใหม่ๆ ลดความยึดมั่นในตัวบุคคลหรืออุดมการณ์ ลดความยึดมั่นในตัวกูของกู
 พุทธิจริตลักษณะ คิดอะไรเป็นเหตุเป็นผล มองเรื่องต่างๆ ตามสภาพความเป็นจริงไม่ปรุงแต่ง พร้อมรับความคิดที่แตกต่างไปจากของตนเอง ใฝ่เรียนรู้ ช่างสังเกต มีความเมตตาไม่เอาเปรียบคน หน้าตาผ่องใส ตาเป็นประกาย ไม่ทุกข์
จุดแข็ง สามารถเห็นเหตุเห็นผลได้ชัดเจน และรู้วิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างถูกต้อง อัตตาต่ำ เปิดใจรับข้อเท็จจริง จิตอยู่ในปัจจุบัน ไม่จมปลักในอดีต และไม่กังวลในสิ่งที่จะเกิดในอนาคต พัฒนาปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ เป็นกัลยาณมิตร
จุดอ่อน มีความเฉื่อย ไม่ต้องการพัฒนาจิตวิญญาณ ชีวิตราบรื่นมาตลอด หากต้องเผชิญพลังด้านลบ อาจเอาตัวไม่รอด ไม่มีความเป็นผู้นำ จิตไม่มีพลังพอที่จะดึงดูดคนให้คล้อยตาม วิธีแก้ไข้ ถามตัวเองว่าพอใจแล้วหรือกับสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบัน เพิ่มพลังสติสมาธิ พัฒนาจิตใจให้มีพลังขับเคลื่อนที่แรงขึ้น เพิ่มความเมตา พยายามทำให้ประโยชน์ให้กับสังคมมากขึ้น

ทำเนียบวัดจังหวัดมุกดาหาร