ข้อมูลส่วนตัว

รูปภาพของฉัน
จังหวัดมุกดาหาร, ตำบลนาสะเม็ง อำเภอดอนตาล, Thailand
tavamin@hotmail.com

ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บ

ค้นหาบทความในบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

สรุปวิชา มนุษย์กับสังคม

สรุปวิชา มนุษย์กับสังคม
โดย อาจารย์เทวมินทร์ แสงดาว
******************
บทที่ 1
-          มนุษย์ แปลว่า ผู้มีใจสูง (สูงด้วยคุณธรรม)
-          ศีล 5 ธรรม 5 ทำให้เกิดเป็นมนุษย์และเป็นมนุษย์ที่แท้สมบูรณ์
-          ตามแนวสังคมศาสตร์ มนุษย์ คือ สัตว์โลกที่มีชีวิตชนิดหนึ่ง
-          มนุษย์ มีวัฒนธรรมจึงแตกต่างจากสัตว์
-          การศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์ในทางสังคมศาสตร์ มี 9 สาขา เช่น ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา
-          สังคมศาสตร์ คือ ศาสตร์ว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับสังคม
-          พุทธศาสตร์ กล่าวกำเนิดมนุษย์ไว้ในอัคคัญญสูตร สูตรว่าด้วย ต้นกำเนิดของโลก
-          อัคคัญญสูตร กำเนิดคุณสมบัติของบุคคลที่จะเป็นหัวหน้าไว้ 4 ประการ
-          พุทธศาสตร์ กำเนิดมนุษย์(สัตว์) มี 4 ประเภท คือ 1 ชลาพุชะ 2 อัณฑชะ 3 สังเสทชะ 4 โอปปาติกะ
-          มนุษย์จะกำเนิดขึ้นได้ต้องครบองค์ 3 คือ 1 มารดาบิดาร่วมประเวณีกัน 2 มารดามีประจำเดือน 3 มีสัตว์มาเกิด
-          ชาลล์ ดาร์วิน เจ้าของทฤษฎี กำเนิดสิ่งมีชีวิต ซึ่งขัดกับศาสนาคริสต์อย่างสิ้นเชิง
-          มนุษย์โฮโมแซเปียนส์ เป็นเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน
-          พระพุทธศาสนา องค์ประกอบของมนุษย์ ได้แก่ ขันธ์ 5 ธาตุ 4
-          มนุษย์(ตามพระพุทธศาสนา)มี 4 ชนิด คือ 1 มนุษย์นรก 2 มนุษย์เปรต 3 มนุษย์เดียรัจฉาน 4 มนุษย์เทวดา
-          มนุษย์ในปัจจุบัน มีลักษณะต่างจากสัตว์ 15 อย่าง เช่น มีสมองใหญ่ มีตัวตรง เดิน 2 ขา
-          อุปสรรคของการเป็นมนุษย์ตามแนวพุทธ คือ พฤติกรรม 10 (กิเลส 10)
-          พุทธเปรียบชีวิตมนุษย์ไว้เหมือน 7 สิ่ง
บทที่ 2
-          สังคม หมายถึง กลุ่มคนที่มาอยู่รวมกันโดยยอมรับแบบแผนและกฎเกณฑ์ของกลุ่มร่วมกันในการดำเนินชีวิต มีองค์ประกอบและหน้าที่หลายประการที่จะทำให้สังคมดำรงอยู่ได้
-          สังคม / Socciety
-           สังคมมนุษย์ เกิดจากเหตุผลที่มนุษย์ต้องรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มก็เพราะมนุษย์ต้องพึงพาอาศัยกันในการดำรงชีพ เพื่อช่วยกันผลิตอาหารหรือช่วยกันป้องกันการรุกรานของมนุษย์ด้วยกัน
-          อริสโตเติล เป็นเจ้าของคำพูดที่ว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เพราะมนุษย์ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวในโลกได้
-          องค์ประกอบของสังคม มี 6 อย่าง เช่น 1 มีอาณาเขตที่แน่นอน
-          ประเภทของสังคม มี 6 ประเภท เช่น 1 แบ่งตามความเจริญของเศรษฐกิจ
-          สาเหตุที่ทำให้เกิดสังคมมนุษย์ 8 อย่าง เช่น 1 แรงขับดันทางธรรมชาติ เช่น หิว
-          หน้าที่ของสังคมมนุษย์ มี 2 ประเภท คือ 1 หน้าที่ทั่วไป 2 หน้าที่เฉพาะของสังคม
-          ชีวิตมนุษย์ในสังคมจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากสังคมนั้นปราศจากความยุติธรรม(2 มาตรฐาน)
-          โครงสร้างของสังคม มี 3 อย่าง คือ 1 องค์การสังคม 2 สถาบันทางสังคม 3 วัฒนธรรม
-          โครงสร้างของสังคม เกิดจากคนสองคนขึ้นไปมีปฏิสัมพันธ์กัน
-          วัฒนธรรม ทำให้มนุษย์ดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน
บทที่ 5
-          พฤติกรรม(Behavior) หมายถึง กิริยาอาการที่มนุษย์และสัตว์เดรัจฉานแสดงออกมา อาจมองเห็นหรือไม่เห็น
-          พฤติกรรม มี 2 ประเภท คือ 1 พฤติกรรมภายนอก 2 พฤติกรรมภายใน
-          รูปแบบพฤติกรรม มี 3 รูปแบบ คือ 1 ปกติ 2 ไม่ปกติ 3 เบี่ยงเบน
-          ความแตกต่างระหว่างบุคคล หมายถึง ความไม่เหมือนกันของบุคคล เพราะแต่ละบุคคลจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
-          สาเหตุทำให้บุคคลมีความแตกต่างกัน 3 อย่าง คือ 1 พันธุกรรม 2 สิ่งแวดล้อม 3 กรรม (การกระทำ)
-          บุคคลแตกต่างกัน 7 ด้าน  คือ 1 ร่างกาย 2 สติปัญญา 3 อารมณ์ 4 สังคม 5 เพศ 6 ความถนัด 7 ค่านิยม
-          IQ (Intelligence Quotiet) หมายถึง ความฉลาดทางสติปัญญา
-          EQ(Emotional Quotiet) หมายถึง ความฉลาดทางอารมณ์
-          วิลเลียม สเติร์น คือ ผู้คิดสูตร IQ
-          IQ ต่างกันเบ่งบอกความฉลาดต่างกัน
-          ทฤษฎีกับพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น 1 ทฤษฎีแรงผลักดันพฤติกรรม (มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความต้องการและความต้องการทำให้เกิดแรงขับ) มี 8 ขั้นตอน 2. ทฤษฎีความต้องการของอับราฮัม มาสโลว์(พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากความต้องการภายในทั้งสิ้น) มี 4 ขั้นตอน
-          ID , Ego และ Superego เป็นทฤษฎีของ ซิกมุนด์ ฟรอยด์
-          ธรรมชาติของมนุษย์ คือ สิ่งที่เราจะต้องศึกษาให้เข้าใจถึงสถาพความเป็นมนุษย์และยอมรับกลไกของธรรมชาติของมนุษย์
-          ธรรมชาติของมนุษย์ มี 6 ทฤษฎี คือ 1 ปรัชญา 2 จิตวิทยา 3 สังคมวิทยา 4 วิทยาศาสตร์ 5 การจูงใจในการบริหาร 6 พุทธศาสตร์
-          ทฤษฎี X , Y  เจ้าของทฤษฎีคือ แมคเกรเกอร์
-          ทฤษฎี  Z  เจ้าของทฤษฎี คือ เร็ดดิน
-          ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์มี 2 อย่าง คือ 1 พันธ์กรรม 2 สิ่งแวดล้อม
บทที่ 6
-          การพัฒนาตนเอง หมายถึง การกระทำเพื่อความเจริญส่วนตนซึ่งเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
-          พฤติกรรมหลักของมนุษย์ คือ เข้าข้างตนเองอยู่เสมอ
-          การพัฒนาตนมีจุดประสงค์ 3 อย่าง 1 เพิ่มพูนองค์ความรู้ 2 เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ 3 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือเจตคติ
-          ความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาตนเอง มี 5 ข้อ
-          จุดหมายของการพัฒนาตนเอง มี 4 ด้าน คือ 1 ปัญญา 2 จิตใจ 3 สังคม 4 ร่างกาย
-          ทฤษฎีในการพัฒนาตนเอง มี 5  ทฤษฎี คือ 1 พุทธศาสนา 2 การสร้างเสน่ห์ 3 ตามทัศนะของขงจื้อ(ลิงสามตัว) 4 หลักการปฏิบัติตนให้ผู้อื่นชอบตนเอง 5 ทฤษฎีตนเอง (ตนตามที่ตนมองเห็น,ตนตามเป็นจริง และตนตามอุดมคติ)
-          ผู้นำ คือ บุคคลที่ทำให้องค์กรประสบความก้าวหน้าและบรรลุความสำเร็จ
-          ผู้ตาม คือ ผู้ซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญของการผลิตงาน เป็นผู้ปฏิบัติ
-          ประโยชน์ของการพัฒนาตน มี 9 อย่าง
บทที่ 7
-          ปฏิสัมพันธ์ / Social Interaction หมายถึง ข้อผูกพันที่มีต่อกันทางสังคมที่เหมือนกันและแตกต่างกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปในสังคม
-          ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสังคมมี 4 อย่าง
-          ทฤษฎีการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มี 4 ทฤษฎี คือ 1. ทฤษฎีขงจื้อ(สังคมคุณธรรม) 2. พุทธศาสตร์ (ทิศ 6) 3. สังคมวิทยา(ปฐมภูมิ,ทุติยภูมิ) 4. ทฤษฎีอีริก เบิร์น( P, Aและ C )
-          ปฏิสัมพันธ์ตามแนวการจัดระเบียบ มี 4 ประเภท คือ 1. บรรทัดฐาน 2. สถานภาพ 3. บทบาท 4 ชนชั้น
-          บทบาท คือ การแสดงตนตามสถานภาพ
-          ชนชั้น มี 5 ประเภท คือ 1. พระมหากษัตริย์ 2. พระราชวงศ์หรือเจ้านาย 3. ขุนนางหรือข้าราชการ 4. พระสงฆ์ 5. ราษฎร
-          ประโยชน์ของปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มี 10 อย่าง (หน้า 205)
-          ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มี 2 ระดับ คือ 1.จุลภาค(จำกัดจำนวนสมาชิกและอาณาบริเวณ เช่น หมู่บ้าน ) 2. มหัพภาค (กว้างขวางและเป็นสากล เช่น ชาติ ,โลก)
บทที่ 8
-          สถาบัน หมายถึง แบบอย่างทางพฤติกรรม คือ แหล่งสำหรับหล่อหลอมหรือขัดเกลาวิถีชีวิตกรอบปฏิบัติ และมีวัฒนธรรมประเพณีสืบต่อกันมาอย่างเป็นระบบ
-          สถาบัน มี 2 ประเภท คือ 1. สถาบันที่เป็นรูปธรรม(เช่น สมาคม ) 2. สถาบันที่เป็นนามธรรม (เช่น กฎระเบียบ)
-          สถาบันสังคม เกิดจากกลุ่มบุคคลเป็นสมาชิกร่วมอยู่และมีวิถีชีวิตดำเนินไปด้วยกัน
-          สถาบันสังคม หมายถึง รูปแบบบรรทัดฐานที่จัดตั้งขึ้นมาอย่างมีระบบเพื่อความมั่นคงแห่งสังคมมนุษย์
-          สถาบันสังคม มี 4 ลักษณะ คือ 1. เป็นแบบแผน 2. เป็นมาตรฐาน 3. แก้ปัญหาสังคม 4. ทำให้สังคมคงสภาพอยู่
-          สถาบันสังคม มีองค์ประกอบ 4 อย่าง คือ 1. องค์การทางสังคม (เป็นตัวแทนทำหน้าที่ของสถาบัน) 2. สถานภาพแลบทบาท 3. การทำหน้าที่ 4. บรรทัดฐานทางสังคม
-          ประเภทของสถาบันทางสังคม มี 6 อย่าง เช่น 1. สถาบันครอบครัว
-          หน้าที่ของสถาบันสังคม มี 9 อย่าง เช่น 1 ผลิตสมาชิกใหม่ให้แก่สังคม
บทที่ 9
-          ประชาสังคม หมายถึง การรวมตัวของประชาชนจากทุกส่วนของสังคมจำนวนหนึ่ง ที่มีความคิดมีจิตสำนึกร่วมกัน มีอุดมการณ์ร่วมกันในบางเรื่อง
-          ประชาสังคม เกิดจากความต้องการเห็นสังคมเข้มแข็ง
-          องค์ประกอบของประชาสังคม มี 7 อย่าง เช่น 1. มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน
-          สาเหตุของการเกิดประชาสังคม มี 4 อย่าง คือ 1. วิกฤติในสังคม 2. การก่อกำเนิดและการขยายตัวของชนชั้นกลาง 3. กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย 4. ระบบการติดต่อสื่อสาร
-          กระบวนการทางสังคม ก็คือ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างมีระบบไปสู่ผลอย่างหนึ่ง ฯ มี 4 ขั้นตอน คือ 1. การเกิดจิตสำนึก 2. การเกิดขององค์กรสังคม 3. การก่อรูปของอุดมการณ์ร่วมของสังคม 4. การตกผลึกเป็นสถาบันของอุดมการณ์สังคม
-          ทฤษฎีประชาสังคม มี 4 ทฤษฎี  ทุกทฤษฎีเน้นหลักการบริหารธรรมาภิบาล ทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างอยู่เย็นเป็นสุข
-          ทุนทางสังคม มี 3 อย่าง คือ 1. ทุนมนุษย์ 2. ทุนสถาบัน 3. ทุนทางปัญญาและวัฒนธรรม
-          บวร ย่อมาจาก บ. บ้าน ว.- วัด และ ร.-โรงเรียน
บทที่ 10
-          ธรรมาภิบาล หมายถึง การปกครอง หรือบริหารจัดการที่ดี
-          ธรรมาภิบาล ตรงกับคำว่า Good Govrernance มีแนวทางบริหารอยู่ 3 ประเภท คือ 1. การบริหารมุ่งประชาชน 2. การปรับเปลี่ยนบทบาทภาครัฐ 3. การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
-          ธรรมาภิบาลของไทยมุ่งเน้น 4 ด้าน คือ 1. ความมั่นคง 2. พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 3. แก้วิกฤติให้เป็นโอกาส 4.ยกระดับประเทศให้ทัดเทียมนานาประเทศ
-          ผู้เริ่มใช้คำว่า ธรรมาภิบาลคนแรกของไทย คือ อ.ธีรยุทธ บุญมี
-          ธรรมาภิบาล ต้องมี 3 ส่วนร่วมกัน คือ 1. ภาคธุรกิจเอกชน 2. ภาคประชาสังคม 3. ภาครัฐ
-          ธนาคารโลก คือผู้ใช้คำว่า  Good Govrernance ครั้งแรก
-          องค์ประกอบของธรรมาภิบาลแบบสากล มี 6 หลัก คือ 1. หลักคุณธรรม 2. การมีส่วนร่วม 3. ความรับผิดชอบ
4. ความคุ้มค่า 5. ความโปร่งใส 6. นิติธรรม
          -    หลักธรรมาภิบาลเชิงพุทธ คือ ทศพิธราชธรรม  อคติ 4  จักรวรรดิวัตร 12
          -    หลักการสำคัญของธรรมาภิบาล คือ 1. โปร่งใส 2. อธิบายได้ 3. ความรับผิดชอบ
          -     สันติภาพ หมายถึง สภาวะแห่งความสงบ /ตรงกับคำว่า Peace
          -  สันติภาพ มีความสำคัญต่อมนุษยชาติในฐานะที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีความปรารถนาในการอยู่ร่วมกันโดยปราศจากศัตรูและอุปสรรค
-          สันติภาพ มี 2 ชนิด คือ สันติภาพภายนอก และ สันติภาพภายใน(ความสงบจากศีล สมาธิ ปัญญา)
-          หลักสันติภาพเชิงพุทธ  เช่น พรหมวิหาร 4  สังคหวัตถุ 4
-          องค์กรที่เกี่ยวกับสันติภาพ คือ องค์กรสหประชาชาติ(UN)
-          สิ่งที่สร้างความสุขให้กับมนุษย์ตามแนวพุทธมี 7 อย่าง คือ 1 อายุ 2. ทรัพย์ 3. ศักดิ์ศรี 4. ยศ 5. กำลัง(ความมั่นคง) 6. ชื่อเสียง 7. ความสุข(ความสะดวกสบาย)
-          สิ่งที่จะนำความขัดแย้งไปสู่สันติภาพ คือตัวแปร 2 อย่าง 1. ศาสนา 2. ปรัชญา
-          สันติภาพทำให้สังคมเกิดความสุข
บทที่ 11
-          วัฒนธรรม เป็นตัวนำแนวทางการดำเนินชีวิตของคนในสังคมและกำหนดแบบแผนพฤติกรรมการปฏิบัติ
-          วัฒนธรรม เป็นรากฐานของการดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์
-          วิวัฒนาการของวัฒนธรรม แบ่งเป็น 2 ยุค คือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และยุคประวัติศาสตร์
-           วัฒนธรรม หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมในโลกนี้
-          มนุษย์สร้างวัฒนธรรมเพื่อประโยชน์ในการดำเนินชีวิต
-          วัฒนธรรมมี 2 ประเภท คือ 1.วัฒนธรรมทางวัตถุ 2. วัฒนธรรมไม่ใช้วัตถุ( ภาษา ความเชื่อ เป็นต้น)
-          องค์ประกอบของวัฒนธรรม มี 4 อย่าง คือ 1. องค์วัตถุ(สสารและอสสาร) 2. องค์การ ( เช่น ครอบครัว) 3. องค์พิธีการ( เช่น พิธีกรรม) 4. องค์มติ (ความเชื่อต่างๆ)
-          ความสำคัญของวัฒนธรรม คือ เป็นเครื่องวัดความเจริญหรือความเสื่อมของสังคม
-          ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้น(ยกเว้น ธรรมชาติ) จัดเป็นวัฒนธรรมทั้งสิ้น
-          ธรรมชาติของมนุษย์ คือ สิ่งที่มนุษย์ทุกยุคทุกสมัยมีอยู่เหมือนกัน คือความต้องการ 3 ประการ  ได้แก่ 1. ความต้องการทางร่างกาย 2. ทางจิตใจ 3. ทางสังคม
-          ที่มาของวัฒนธรรม มี 6 อย่าง  เช่น 1. ความจำเป็นที่จะต้องหาเลี้ยงชีพ
-          หน้าที่ของวัฒนธรรม มี 7 อย่าง เช่น 1. เป็นตัวกำหนดรูปแบบสถาบัน
-          ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรม มี 7 อย่าง เช่น 1. วัฒนธรรมเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้
-          วัฒนธรรมหลักของไทย มี 9 อย่าง เช่น 1. พระพุทธศาสนา 2. สถาบันพระมหากษัตริย์
-          สิ่งที่ทำให้สังคมมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน 2 อย่าง 1. ความคิดเห็นและการมองโลกต่างกัน 2. สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ต่างกัน
-          การบวนการทางสังคม (การเปลี่ยนแปลงทางสังคม) หมายถึง การกระทำใด ๆก็ตามที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นอย่างมีระเบียบเป็นขั้นตอน
-          กระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรม มี 5 อย่าง คือ 1. การเลียนแบบ 2. การผสมผสาน-ประนีประนอม 3. ความร่วมมือกัน 4. การแข่งขัน 5. ความขัดแย้ง
-          สังคมและวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก
-          ผลของกระบวนทางสังคมและวัฒนธรรมมีทั้งผลบวกและผลลบ
-          ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม มี 2 อย่าง คือ 1. ปัจจัยภายนอก 2. ปัจจัยภายใน(เกิด /ตาย/ย้ายถิ่นฐาน)
-          สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม มี 6 อย่าง  เช่น 1. เทคโนโลยี 2. อุดมการณ์
-          ยุคโลกาภิวัตน์ทำให้เกิด 4 สิ่ง คือ 1.ความเห็นแก่ตัว 2. ทุจริตคอรัปชั่น 3. อาชญากรรม 4. สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
-          ศาสนาต่างๆ ย่อมเป็นบ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
บทที่ 12
-          สังคมไทยเป็นสังคมแห่งศาสนาและวัฒนธรรม
-          สังคมไทยมีสถาบันหลัก 3 สถาบัน คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
-          สังคมไทย แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.สังคมชนบท 2. สังคมเมือง
-          ปัญหาสังคม หมายถึง สภาวการณ์ที่เลวร้ายมีพิษเป็นภัยไม่สอดคล้องกับค่านิยม เป็นผลกระทบต่อคนเป็นจำนวนมาก คุกคามก่ออันตรายเสียหายแก่สังคม
-          ลักษณะของปัญหาสังคม มี 9 อย่าง เช่น 1. มีผลกระทบต่อคนจำนวนมาก
-          ที่มีของปัญหาสังคม มี 3 อย่าง คือ 1. มนุษย์ 2. ธรรมชาติ 3. มนุษย์และธรรมชาติ(เช่น การสร้างเขื่อน) 
-          ประเภทของปัญหาสังคม มี 2 อย่าง  1. เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยีต่าง ๆ 2. เกิดจากการขาดระเบียบวินัยและจิตสำนึกของมนุษย์
-          ทฤษฎีเกี่ยวกับปัญหาสังคม มี 5 ทฤษฎี เช่น 1. ทฤษฎีพยาธิทางสังคม(ขาดศีลธรรม) 2. ทฤษฎีไม่เป็นระเบียบในสังคม
-          ปัญหาสังคมไทย มี 5 อย่าง  เช่น 1. ปัญหายาเสพติด 2. ปัญหาความยากจน
-          ปัญหาสังคมไทยตามแนวสังคมวิทยา มี 2 อย่าง คือ 1. ตัวบุคคล 2. สังคม(สถาบัน)
-          การแก้ปัญหาสังคมไทยตามแนวพุทธ ด้วยหลักธรรม เช่น อริยสัจ 4  หลักทิฏฐธัมมิกประโยชน์ 4 (อุ อา กะ สะ)
บทที่ 13
-          สันติวิธี ตรงกับคำว่า Non-violence
-          สันติวิธี หมายถึง  กระบวนการแก้ไขความรุนแรงและความขัดแย้ง
-          สันติวิธีของคานธี ประกอบด้วย 3 อย่าง คือ 1. สัตยะ 2. อหิงสา 3. สัตยาเคราะห์
-          สันติภาพของท่านพุทธทาสภิกขุ อยู่ที่จิตใจของมนุษย์ คือความปกติสุข / สูงสุดคือพระนิพพาน โดยมุ่งเน้นตามมรรค 8
-          สันติวิธีของพระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตโต) คือ หลักการแห่งการพึ่งพาอาศัยกัน โดยสาเหตุให้เกิดความขัดแย้งและสงครามก็เพราะมนุษย์มี ตัณหา มานะ ทิฐิ ในจิตของตนเอง
-          สันติวิธี มี 3 ลักษณะ คือ 1. ไม่ใช่วิธีการที่เฉื่อยชาหรือยอมแพ้แต่เป็นวิธีการที่สร้างสรรค์ 2. ไม่ไช่กลยุทธ์ที่นำไปใช้ชั่วคราวแต่จะต้องใช้อย่างถาวร 3. ไม่ใช่แค่แนวทางในการแก้ปัญหาเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงความสำเร็จด้วย
-          จุดอ่อนของสันติวิธี คือ การปฏิบัติไม่สม่ำเสมอ
-          สาเหตุของความรุนแรงในสังคมไทย มี 6 ประการ เช่น 1. การขาดความยุติธรรมในสังคม
-          โลกาภิวัฒน์ (Globalization) หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของโลก (ในปัจจุบัน)
-          ลักษณะเด่นของสังคมไทย มี 19 อย่าง เช่น 1. มีจิตใจเอื้อเฟื้อ
-          วิวัฒนาการของสังคมไทย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ  คือ ยุคอดีต (เกษตรกรรม) ยุคใหม่(อุตสาหกรรม) และยุคโลกาภิวัฒน์(สังคมสารสนเทศ)
-          ข้อดีของสังคมไทยยุคโลกาภิวัฒน์ คือ ทำให้มนุษย์สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว
-          ข้อเสีย 1. เกิดความเครียดมากขึ้น 2. ครอบครัวอ่อนแอ 3. ห่างจากธรรมชาติ 4. ไม่ได้ขาดแคลนมาก่อน 5. เคลื่อนไหวน้อยลง 6. วัฒนธรรมสูญพันธุ์



*********************************
ขอให้โชคดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ทำเนียบวัดจังหวัดมุกดาหาร