ข้อมูลส่วนตัว

รูปภาพของฉัน
จังหวัดมุกดาหาร, ตำบลนาสะเม็ง อำเภอดอนตาล, Thailand
tavamin@hotmail.com

ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บ

ค้นหาบทความในบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

จิตวิทยาตะวันตกกับพุทธจิตวิทยา


เปรียบเทียบจิตวิทยาตะวันตกกับจิตวิทยาในพระไตรปิฎก

(พุทธจิตวิทยา/จิตวิทยาเชิงพุทธ)

 

จิตวิทยาตะวันตก

ในโลกตะวันตก วิชาจิตวิทยา (Psychology) เป็นศาสตร์ที่แยกจาก สรีรวิทยา และ ปรัชญา อย่างชัดเจนเป็นเอกเทศ เมื่อปี ค.. 1879 โดยศาสตราจารย์ชาวเยอรมันแห่ง มหาวิทยาลัยไลป์ซิค (Leipzig) วิลเฮลม์ วุนดท์ (Wilhelm Max Wundt) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งทฤษฎี กลุ่มโครงสร้างของจิต (Structuralism) ที่มีแนวคิดว่า จิตวิทยามีหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์ลึกลงไป ในพื้นฐานโครงสร้างความสัมพันธ์และการทำงานของจิต โดยศึกษาให้เข้าใจความรู้สึก มโน ภาพ การสัมผัส เป็นต้น จากนั้นก็มีกลุ่มจิตวิทยาอื่นๆ ทฤษฎีอื่นๆ ตามมา เช่น กลุ่มหน้าที่ของ จิต (Functionalism) ซึ่งไม่ให้ความสนใจเรื่องโครงสร้างของจิต แต่ศึกษาระบบการทำงานของ จิต โดยมีวิลเลียม เจมส์ (William James) จอห์น ดิวอี (John Dewey) เป็นผู้ที่มีบทบาทในกลุ่ม นี้ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ศึกษาเพื่อสามารถอธิบาย ทำนาย และ ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ บนพื้นฐานความเข้าใจว่า แรงกระตุ้น สิ่งแวดล้อม กำหนด พฤติกรรม โดยไม่ให้ความสนใจต่อเรื่องจิตสำนึก

อีกกลุ่มที่รู้จักกันดี คือ กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ซึ่งนำโดยซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Frued) เห็นว่า จิตไร้สำนึก (unconscious mind) กำหนดพฤติกรรมของคน และ ศึกษาเพื่อเข้าใจบุคลิกภาพปกติ และอปกติ ด้วยการศึกษากรณีอปกติ อีกทั้งเห็นว่า บุคลิกภาพ แรงจูงใจ ความผิดปกติของจิตใจ ล้วนมาจากจิตไร้สำนึก ในขณะที่กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt) ศึกษาเพื่อเข้าใจจิตสำนึกแบบองค์รวม หรือ กลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism) ที่มี เป้าหมายเพื่อมนุษย์บรรลุความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์ โดยเน้นอิสระ และศักยภาพของ มนุษย์ หรือกลุ่มที่ศึกษาเรื่องพัฒนาการการเรียนรู้ เช่น เพียเจ (Piaget) เป็นต้น

จิตวิทยาตะวันตก ศึกษาสิ่งที่แสดงออกมาซึ่งเป็นผลของจิตใจ ทั้งในแง่ความรู้สึก การสัมผัส มโนภาพ กิจกรรม หรือพฤติกรรมที่แสดงออก บุคลิกภาพ ความสามารถ ความจำ  

1. พฤติกรรมของคนและสัตว์

2. เบื้องหลังหรือสาเหตุแห่งพฤติกรรมนั้นๆ เพื่อหาทางป้องกัน หรือแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึง ประสงค์ เช่น นาย ก. มีพฤติกรรมก้าวร้าว นักจิตวิทยาตะวันตกแต่ละกลุ่มก็จะมีความเห็น แตกต่างกันในเรื่องสาเหตุของปัญหาข้างต้น แต่ละกลุ่มก็จะนำทฤษฎีของตนมาอธิบาย สาเหตุของพฤติกรรมนั้น และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นๆ ซึ่งแนวคิดของนักจิตวิทยา ตะวันตกที่แตกกลุ่มกันออกไปนี้ มีแนวคิดที่ต่างกัน 3 ประการ คือ

                ต่างกันในปัญหาที่สนใจ

                ต่างกันในวิธีการที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

                ต่างกันในแง่ทฤษฎีหรือกฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นเพื่ออธิบายพฤติกรรมของมนุษย์

                วิธีการของนักจิตวิทยาตะวันตก อาจใช้เครื่องมือต่างๆ สังเกต ทดลอง สรุปผลเป็น ทฤษฎี บางครั้งทฤษฎีทั้งหลายเหล่านั้นก็ขัดแย้งกัน หรือเน้นไปแต่ละด้านต่างกัน แต่ใช้วิธี ตรวจสอบ สรุปผลชัดเจนเป็นวัตถุธรรม ความแตกต่างที่แทบจะเป็นตรงกันข้ามกันในบางครั้งนี้ ทำให้เราไม่อาจยึดกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ เพราะไม่มีกลุ่มใดที่กล่าวถึงพฤติกรรมหรือจิตใจ ของมนุษย์อย่างสมบูรณ์

 

จุดมุ่งหมาย และประโยชน์ของการศึกษาจิตวิทยาตะวันตก

1. ให้เข้าใจธรรมชาติของคน เช่น

. อะไรเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เช่น อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) ซึ่งเป็นบิดาทางพฤติกรรมศาสตร์ เห็นว่ามนุษย์มีความต้องการลำดับต่างๆ 5 ลำดับ ได้แก่

(1) ความต้องการทางร่างกาย (Physical needs)

(2) ความมั่นคงปลอดภัย (Safety needs)

(3) ความรัก ความมีเจ้าของ (Love and Belonging needs)

(4) ความภูมิใจในตน (Self-esteem needs)

(5) ความรู้สึกมีคุณค่า (Needs for self-actualization)

 

. ให้รู้ว่าคนมีวิธีแก้ปัญหา และปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร คนรู้สึกอย่างไร เมื่อสามารถและไม่สามารถตอบสนองความต้องการ

ค.อะไรเป็นสาเหตุให้คนมีพฤติกรรมต่างกัน เป็นต้น

1.  ช่วยแก้ปัญหาจิตใจของตนเอง รักษาสุขภาพจิตของตนเอง ในระยะแรกเริ่มนั้น จิตวิทยา ศึกษาเกี่ยวกับโรคทางจิตประสาท เพื่อแก้ปัญหาความเจ็บป่วยทางจิตใจ โดยศึกษาเพื่อให้ เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์ แล้วพัฒนาเป็นทฤษฎีขึ้นมา เช่น กลุ่มของวุนด์ ต่อมาจึงเปลี่ยนแปลงมาศึกษา และใช้จิตวิทยาในทางอื่นๆ เช่น เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พัฒนาเกี่ยวกับแรงจูงใจ บุคลิกภาพ เป็นต้น

2.   ให้เข้าใจและปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ มีมนุษย์สัมพันธ์กับคนทุกประเภท เป็นคนมี สุขภาพจิตดี

      สำหรับจิตวิทยาตะวันตก การมีสุขภาพจิตดีคือสามารถปรับตัวให้เข้ากับ

องค์การอนามัยโลก ให้ความหมายสุขภาพจิตที่ดี คือ

                มีความสามารถที่จะปรับตัวให้มีความสุขกับสังคมและสิ่งแวดล้อม

                มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อคนอื่น ดำรงชีวิตอยู่อย่างสมดุลสุขสบาย

                สนองความต้องการของตนเองโดยไม่มีความขัดแย้งในใจ

                ไม่เป็นโรคจิต โรคประสาท

จิตวิทยาในพระไตรปิฎก

ธรรมะที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้กว่า 2,500 ปีมาแล้วนั้น ล้วนเกี่ยวกับกาย และจิตของมนุษย์ ชีวิตประกอบด้วยรูปขันธ์ และนามขันธ์ คือกาย และใจ (จิต) การศึกษาพุทธ จิตวิทยา คือศึกษาเกี่ยวกับจิต และความสำคัญของจิตที่มีต่อกายต่อการเป็นสิ่งมีชีวิต ในทาง พุทธศาสนา จิตสำคัญกว่ากาย มีบทบาทมาก เพราะจิตเป็นต้นกำเนิดของการประพฤติดีชั่ว ทางกาย วาจา ความเศร้าหมองหรือผ่องใสของจิตมีผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ จิตยัง สามารถทำให้เราไปเกิดในที่ดี (สุคติ) หรือไม่ดี (ทุคติ) ได้อีกด้วย ดังปรากฏในพระไตรปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ วัตถูปมสูตร (12/70) ความว่า

“…เมื่อจิตเศร้าหมอง ทุคติเป็นอันหวัง……เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นอันหวังได้…”

จิตจึงมีผลทั้งชาตินี้ ชาติหน้า ชาติต่อๆ ไป และเกี่ยวข้องกับการเกิดใหม่อย่างหลีกไม่พ้น

ในฝ่ายจิตวิทยาตะวันตก เมื่อศึกษาจิตและพฤติกรรมไม่ได้กล่าวไปถึงชาติหน้า ภพภูมิ ข้างหน้า หรือการเวียนว่ายตายเกิด แต่จะมุ่งกล่าวถึงพฤติกรรมของจิตที่แสดงออกมาเป็น บุคลิกภาพ อุปนิสัย ฯลฯ ไม่กล่าวถึงจิตโดยตรง และพยายามศึกษาสาเหตุแห่งอุปนิสัย บุคลิกภาพที่ไม่พึงประสงค์และพึงประสงค์ว่า มีปัจจัยใดที่สามารถควบคุม หรือแก้ไขให้ได้ พฤติกรรม หรือบุคลิกภาพที่ประสงค์เป็นที่พึงพอใจนั้น จึงศึกษาทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อม สมอง ฯลฯ ซึ่งคิดว่ามีผลต่ออุปนิสัย พฤติกรรม ฯลฯ ของมนุษย์

     แต่พุทธศาสนาไม่ได้เห็นจิตเป็นเพียงสมอง หรือกล้ามเนื้อหัวใจ จิตเป็นธรรมชาติที่รู้ อารมณ์ เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ แต่มีลักษณะ มีอำนาจต่างๆ สามารถควบคุม หรือพลิก ผันชีวิตมนุษย์ได้

ดังจะกล่าวในบทต่อๆ ไปโดยละเอียด

เป้าหมายของการพัฒนาจิตตามแนวพุทธ

มี 3 ระดับ คือ

1.ระดับต้น คือ ภาวะที่จะสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ปกติสุข ปรับตัวให้เข้ากับตนเองและคนอื่นได้

อย่างถูกต้องเหมาะสม(ศีล)

2.ระดับกลาง คือ นอกจากจะอยู่ร่วมกับคนอื่นได้แล้ว สามารถอยู่คนเดียวได้อย่างมีความสุข สงบ

ภายใน ไม่วุ่นวาย ไม่ฟุ้งซ่าน (สมาธิ)

3.ระดับสูง คือ ภาวะที่ปลอดโปร่งโล่งสบายไร้ทุกข์ไร้ปัญหา ความเป็นผู้มีสภาวะจิตที่สมบูรณ์ไม่

หวั่นไหวกับสิ่งเร้าต่าง ๆ ที่มากระทบ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่สุด เรียกว่านิพพาน”(ปัญญา)

ในทางจิตวิทยา ปัญหาสุขภาพจิตนอกจากจะทำการรักษาด้วยยาแล้ว ยังรักษาได้ด้วยการทำจิต

บำบัด อาศัยเครื่องมือต่างๆ ในการทำจิตบำบัดนอกเหนือจากการพูดคุยเพื่อหาหนทางแก้ปัญหา

ในทางพระพุทธศาสนาซึ่งถือว่าจิตเป็นใหญ่กว่าส่วนอื่นใน ร่างกายเป็นตัวควบคุมอวัยวะต่าง ๆ

ปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้น มาจากการยึดมั่นถือมั่นในเหตุการณ์ที่มากระทบทางอารมณ์ สิ่งที่จะทำให้ปัญหาสุขภาพจิตลดน้อยลงหรือหายไปในที่สุด ก็คือวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือควบคุมจิตได้

      ในทางพุทธศาสนา ความเป็นไป การแสดงออกของมนุษย์ ทั้งทางกาย วาจา ใจ โดย เจตนา เป็นกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมนั้น มโนกรรมหรือใจสำคัญที่สุด สามารถให้ผล รุนแรงกว้างไกลมาก มโนกรรมครอบคลุมทั้งความเห็น ทัศนะ ความเชื่อ หากมีทัศนะหรือ ความเห็นที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง ก็สามารถนำ ชีวิตสู่การกระทำ หรือตัดสินใจผิด ขณะเดียวกันหากมีทัศนะที่ถูกต้อง ก็สามารถนำชีวิตไปในทางที่ถูก ทั้งทางโลกทางธรรม และ มิใช่มีผลเฉพาะต่อตนเอง แต่ยังมีผลต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ที่เราได้เผยแผ่ทัศนะที่ถูกต้อง หรือทัศนะผิดๆ ไปสู่เขาเหล่านั้นด้วย เพราะทัศนะหรือทิฏฐินี้เอง เป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรม และอนาคต ทั้งชาติปัจจุบันและชาติหน้าต่อๆ ไปของบุคคล ซึ่งเห็นได้ง่ายจากการเกิดสงคราม หรือการก่อการร้ายต่างๆ เป็นผลมาจากทิฏฐิ ความคิดเห็น หรือมโนกรรมทั้งสิ้น ใน ขณะเดียวกัน การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ขององค์การการกุศลต่างๆ การเสียสละความสุขส่วน ตนเพื่อส่วนรวม ก็เป็นผลมาจากมโนกรรม ความคิดเห็นทั้งสิ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดูแลจิต พัฒนาจิตไม่ให้ตกไปสู่ความเห็นผิด หรือเกิดเศร้าหมอง เพราะโดยปกติแล้ว จิตมักเศร้าหมอง ไปด้วยอำนาจของอุปกิเลส 16 (วัตถูปมสูตร 12/71 – 73) อันได้แก่

1.  เพ่งเล็ง โลภ อยากได้ของผู้อื่น

2.  พยาบาท คิดร้าย

3.  ความโกรธ เดือดดาล

4.  ผูกโกรธ

5.  ลบหลู่คุณท่าน

6.  ตีเสมอ ยกตนข่มท่าน

7.  ริษยา

8.  ตระหนี่ หวงแหน

9.  มารยา เจ้าเล่ห์

10.      โอ้อวด คุยโว

11.      หัวดื้อ

12.      แข่งดี ชิงดีชิงเด่น

13.      ถือตัว

14.ดูหมิ่นท่าน

15.มัวเมา

16.ประมาท

อุปกิเลส 16 นี้ เป็นสิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัว รับคุณธรรมอื่นๆ ได้ยาก เปรียบดังผ้าเปื้อน ย้อมไม่ได้ดี กิเลสที่มีในจิตของเรา ทำให้จิตไม่ผ่องใส พระพุทธศาสนามีหลักธรรมที่เป็นพุทธ โอวาทของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ มีหลักใหญ่ 3 ข้อ รวมอยู่ในโอวาทปาติโมกข์ ได้แก่

1.  ไม่ทำชั่วทั้งปวง

2.  ทำแต่ความดี

3.  ทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์

การทำใจให้บริสุทธิ์ในข้อ 3 จึงรวมถึงไม่ให้อุปกิเลสมาครอบงำใจของเราด้วย นอกจากนี้ข้อ 1 และข้อ 2 จะเป็นไปได้ ก็มาจากใจ หรือจิตที่ไปบงการไม่ให้ทำชั่ว และให้ทำแต่ ความดีนั่นเอง จิตจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง และมีบทบาทที่สมควรจะต้องศึกษาให้เข้าใจ

ประโยชน์ในการศึกษาจิตวิทยาในพระพุทธศาสนา

1.  ทำให้เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ที่ประกอบด้วยกาย และจิต

2.  ทำให้ทราบความสำคัญของจิตที่มีผลต่อชีวิต บุคลิกภาพ อุปนิสัย เป็นต้น

3.  ทำให้เข้าใจการทำงานของจิต

4.  ทำให้ทราบความแตกต่างของจิตประเภทต่างๆ

5.  ทำให้ทราบวิธีควบคุมดูแลจิต ไม่ให้จมอยู่กับความเศร้าหมองหรือทุกข์เกินควร เป็น ธรรมชาติของปุถุชนย่อมมีทุกข์ และเศร้าหมองเพราะยังละกิเลสไม่ได้ แต่การศึกษาพุทธ จิตวิทยาทำให้ทราบวิธีที่จะไม่ให้ความทุกข์ ความเศร้าหมองอยู่กับเรานานเกินไป

6.  ทำให้ทราบวิธีที่จะพัฒนาจิตของตนให้มีคุณภาพ มีสติ สัมปชัญญะ บริสุทธิ์ชั่วขณะ และวิธี ทำให้จิตบริสุทธิ์ตลอดไป คือพระนิพพาน เพราะปุถุชนไม่อาจพูดได้ว่าไม่เป็นโรคใจ ทุกคน มีปัญหาสุขภาพใจ เพราะกิเลสครอบงำ การศึกษาพุทธจิตวิทยา ทำให้ทราบวิธีการ แต่ผล ของการปฏิบัติต้องขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

7.  ทำให้เข้าใจตนเอง และผู้อื่น โดยเฉพาะเรื่องจริต 6 อันเป็นผลของการสะสมในจิต ทำให้คน

     ต่างกัน ผู้ศึกษาจะเข้าใจความแตกต่างของอัธยาศัยของมนุษย์ ก่อให้เกิดความเมตตา เห็น ใจและ

     อภัยผู้อื่นมากขึ้น

 

ลักษณะที่สอดคล้องกันและต่างกันระหว่างจิตวิทยาเชิงพุทธ


และจิตวิทยาตะวันตก


 


จิตวิทยาตะวันตก
พุทธจิตวิทยา
จิตวิทยาในตอนต้น ๆ นั้นมีแนวคิดที่แตกต่างกันออกไป
บางแนวคิดก็ศึกษาเฉพาะจิต บางแนวคิดก็ศึกษาเฉพาะกาย บางแนวคิดก็ยอมรับและศึกษาทั้งกาย-จิต
ศึกษาทั้งกายและจิตพร้อมกัน แต่จะเน้นที่จิตมากกว่า
เพราะเชื่อว่า จิตใจมีผลต่อการแสดงพฤติกรรมทางกาย
ให้ความสำคัญต่อจิตมาก และเชื่อว่า   จิตของคนเรานั้นมีอยู่และสามารถที่จะฝึก ( trial)
โครงสร้างจิต: เน้นศึกษาจิต(จิตสำนึก) แยกจิตออกเป็น  จิตธาตุ 3 อย่าง คือ สัมผัส รู้สึก และมโนภาพ
เน้นการศึกษาจิต จิตวิถี แยกจิตออกเป็น 89 ชนิดหรือ 121
ชนิด(ตามแต่กรณี)และแยกเจตสิกออกเป็น 52 ชนิด
หน้าที่แห่งจิต : เน้นความสัมพันธ์การปรับตัวของร่างกายและจิตใจ
เน้นว่าคนเราต้องอยู่ในสังคมและมีวิธีดำเนินชีวิตปรับตัวมากมาย  จากคำสอนแนวศีลธรรมทั้งมวล แต่เน้นความสำคัญของจิตว่าเป็นหัวหน้าในการคิดการทำ
พฤติกรรมนิยม : เน้นศึกษาเรื่องกายเชิงสสารวัตถุ   และการทดลอง วัดพิสูจน์
เน้นว่า คนเป็นธาตุสารประกอบที่เรียกว่า รูป และแยกรูปออกเป็น 28 ชนิด ศึกษาอย่างละเอียดด้วยการทดลองจริง จากประสบการณ์ตรงที่สังเกต กำหนดรู้ได้
เกสตัลท์ : เน้นคนเป็นส่วนรวมหน่วยเดียวแยกไม่ออก    และจิต องค์รวมสำคัญกว่าส่วนย่อย
ชีวิตคนเราเป็นก้อนรวม องค์รวมเช่นกันเรียกว่า "นามรูป หรือ ขันธ์ 5" คือ มีทั้งกายและจิตรวมกันเป็นหน่วยรวม
จิตวิเคราะห์ : เน้นศึกษาจิตไร้สำนึกและการ พัฒนาแก้ไขปรับปรุงบุคลิกภาพที่เสื่อม     การ
อบรมในวัยเด็ก
ศึกษาจิตพิเศษที่เรียกว่า ภวังคจิต การฝึกจิต การฝึกสมาธิ
การปฏิบัติวิปัสสนา การควบคุมจิตให้มีความสงบเพื่อบุคลิกภาพ อารมณ์ที่ดี และเน้นเรื่องของกรรมในอดีตว่ามีผลต่อพาดพิงมาถึงชีวิตปัจจุบันได้ด้วย

จิตวิทยา คืออะไร


จิตวิทยา คือ อะไร

 

ความหมายของวิชาจิตวิทยา

 

               ความหมายของวิชา  “จิตวิทยามีผู้ให้ความหมายไว้มากมายแต่ในที่นี้ขอยกตัวอย่างพอเป็นสังเขปดังนี้คือ

จิตวิทยา  คือ  การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการของจิต  โดยมีเป้าหมายเพื่ออธิบาย  พยากรณ์  และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  เพื่อทำให้ชีวิตของปัจเจกบุคคลและสังคมดีขึ้น

               จิตวิทยามาจากคำในภาษาอังกฤษว่า  Psychology  ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก  2  คำ  คือ Psyche หมายถึง จิตวิญญาณ (Mind , Soul)  กับคำว่า  Logos  หมายถึง  ศาสตร์  วิชา  วิทยาการ (Science , Study)  กันยา  สุวรรณแสง  (2536 : 11)

               ไซคี(Psyche) เป็นชื่อเทพธิดาผู้เลอโฉมในนิยายปรัมปราของกรีก ได้อภิเษกกับกามเทพชื่อ(Cupid)ซึ่งทั้งสองรักกันมานานไม่เคยแยกจากกัน ชาวกรีกจึงเห็นว่า  Psyche  เป็นวิญญาณนั่นเอง แต่สำหรับ Cupid  นั้นถือว่าเป็นร่างกายและทั้งวิญญาณและร่างกายต้องอยู่เป็นคู่กันเสมอไม่อาจจะพรากจากกันได้    ทิพย์  นาถสุภา (2513 : 2)   

               ถ้าแปลตามรูปศัพท์ในภาษาอังกฤษ Psychology  หรือจิตวิทยา  หมายถึง  วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ  (Psychology  means  the  study of  the  soul)  ซึ่งในสมัยโบราณเชื่อกันว่า  จิต หรือ วิญญาณ เป็นสิ่งที่ควบคุมกิริยาอาการต่าง ๆ  ของร่างกาย และยังเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ การศึกษาเรื่องจิตวิญญาณดังกล่าวจึงเป็นศาสตร์ชั้นสูงของชาวกรีกเรื่อยมา  ในระยะต่อมาเมื่อวิทยาศาสตร์เริ่มเจริญก้าวหน้ามากขึ้นนักวิทยาศาสตร์และนักจิตวิทยาจึงหันมาสนใจในเรื่องต่างๆ ที่สามารถพิสูจน์ได้และนั่นก็คือ การเริ่มต้นหันมาสนใจศึกษาจิตวิทยาในเรื่องพฤติกรรมของมนุษย์เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เราสังเกตได้และสามารถทดลองได้ดังนั้นการศึกษาวิชาจิตวิทยาจึงถือเป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่ง หรืออาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าการศึกษาวิชาจิตวิทยาเป็นการศึกษาศาสตร์ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์  (Behavioral  Sciences)

                พฤติกรรม  (Behavior)  เป็นผลจากการแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าในสถานการณ์ต่าง ๆ การกระทำดังกล่าว  ได้แก่  การยืน  การเดิน  การพูด  การคิด  การจำ  การเรียนรู้  ความรัก  เป็นต้น

ประเภทของพฤติกรรมมนุษย์

        1.  พฤติกรรมภายนอก  (Overt  Behavior)  เป็นพฤติกรรมที่ผู้อื่นสังเกตได้  โดยใช้ประสาทสัมผัสหรือใช้เครื่องมือ

             1.1  พฤติกรรมภายนอกที่ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือในการสังเกต  คือ  พฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้ง่าย  เช่น  การเคลื่อนไหวของแขน  ขา  การยิ้ม  เป็นต้น  เรียกว่า  พฤติกรรมโมลาร์  (Molar  Behavior) 

             1.2  พฤติกรรมภายนอกที่ต้องอาศัยเครื่องมือในการสังเกต  คือ พฤติกรรมที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า  เช่น  การทำงานของคลื่นสมอง  เรียกว่า  พฤติกรรมโมเลกุล  (Molecular  Behavior)

        2.  พฤติกรรมภายใน  (Covert  Behavior)  ได้แก่  พฤติกรรมที่เจ้าตัวเท่านั้นรับรู้  เช่น  การได้ยิน  เข้าใจ  การรู้สึกหิว  ซึ่งพฤติกรรมภายในมี  4  ลักษณะ

               พฤติกรรมที่เป็นความรู้สึกจากการสัมผัส

               พฤติกรรมที่เข้าใจหรือตีความ

               พฤติกรรมที่เป็นความจำ

               พฤติกรรมที่เป็นความคิด

ความเป็นมาของจิตวิทยา

        คำว่า  จิตวิทยา  แปลมาจาก  psychology  ในภาษาอังกฤษ  ซึ่งคำนี้มาจากภาษากรีก  2  คำ  คือ  “psyche”  หมายถึงวิญญาณ  ส่วน  logos  หมายถึง  การศึกษาเล่าเรียน  จากคำนิยามนี้แสดงให้เห็นว่า  เดิมที่เดียวจิตวิทยา  หมายถึง  การศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณหรือเรื่องลึกลับ  ต่อมานักปราชญ์ให้ความหมายของ  psyche  ว่า  หมายถึง  จิต  ดังนั้น  วิชาจิตวิทยาจึงเป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องจิต 

          เพลโต  (Plato)  และอริสโตเติล  (Aristotle)  นักปรัชญาชาวกรีก  เชื่อว่า  ร่างกายและจิตใจเป็น  2  สิ่ง  ที่แยกขาดจากกันและจิตใจจะคงอยู่แม้จะตายไปแล้ว  เพลโตมองเชิงบวกว่า  การศึกษาสามารถเปลี่ยนแปลงธรรมชาติพื้นฐานของจิตใจได้  ส่วนอริสโตเติลกลับมองบทบาทของการศึกษาต่อการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ไปในเชิงลบ

          เดส์กาตส์  (Rene  Descartes)  นักปรัชญาและคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส  เชื่อในความเป็น  2  ส่วนของร่างกายและจิตใจ  และยอมรับว่ามีสัมพันธภาพระหว่างร่างกายและจิตใจที่ปราศจากสิ่งรบกวน

          คริสต์ศตวรรษที่  18  นักปรัชญาชาวอังกฤษชื่อ  ล็อค  (John  Locke)  นำเสนอว่าความรู้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์จากอวัยวะรับสัมผัส และความคิด ไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมาโดยกำเนิด

          คริสต์ศตวรรษที่  20  นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน  ชื่อ  เวเบอร์  (E.H. weber)  ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ศึกษาจิตใจ  จนพบความสัมพันธ์เชิงปริมาณระหว่างความเข้มข้นของสิ่งเร้า  และผลที่เป็นประสบการณ์จากการสัมผัส

          เวลาใกล้กัน  เฟชเนอร์  (G.T. Fechner)  บิดาแห่งจิตวิทยาเชิงปริมาณ  นำเสนอจิตฟิสิกส์เป็นการศึกษาเชิงปริมาณเกี่ยวกับโครงสร้างภายนอก  และประสบการณ์จากประสาทสัมผัส

          ต่อมาดาร์วิน  (Darwin)  เสนอวิวัฒนาการ  กำเนิดสายพันธุ์ที่มีอิทธิพลต่อจิตวิทยาและความคิดมนุษย์

          ปี  คศ.  1879  วุนท์  (Wilhelm  Wundt)  นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน  ก่อตั้งห้องทดลองทางจิตวิทยาแห่งแรกของโลก  เพื่อพิสูจน์ว่า  กิจกรรมทางสมองทุก ๆ กิจกรรมที่เกิดขึ้น ย่อมมีกิจกรรมทางกายภาพเกิดขึ้นด้วย

          นักจิตวิทยาชาวรัสเซียชื่อ  พัฟลอฟ  (Ivan  P.  Pavlov)  ได้ค้นพบปฏิกิริยาสะท้อนที่ถูกวางเงื่อนไข  (Conditioned  reflex)

 

กลุ่มต่าง ๆ ของจิตวิทยา  (School  of  Psychology)

        กลุ่มต่าง ๆ มีความเชื่อหลักแตกต่างกันอยู่  7  สำนัก  ดังต่อไปนี้

        1.  กลุ่มโครงสร้างแห่งจิต  (Structuralism)  ทิทเช เนอร์  (Titchener)  อธิบายโครงสร้างของจิตแยกออกเป็น  3  ส่วน  คือ  การสัมผัส  การรับรู้  และ  ความรู้สึก  มีวิธีการหลักในการศึกษาจิตใจ  คือ  การพินิจภายในจิตใจ

        2.  กลุ่มหน้าที่ของจิต  (Functionalism)  เจมส์  (William  James)  เห็นว่า  นักจิตวิทยาควรสนใจศึกษาหน้าที่ของจิตใจ  ไม่ใช่โครงสร้าง  (สนใจว่าอะไรที่จิตทำมากกว่าจิตคืออะไร)  มองว่าจิตสำนึกของมนุษย์ทำให้กระบวนการคิดการตัดสินใจช่วยให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้  ดิวอี้  (John  Dewey)  เห็นว่าจุดเน้นการศึกษาไม่ควรอยู่ที่เนื้อหาแต่อยู่ที่ความต้องการของนักเรียน  มีการพัฒนาวิธีวิจัยมากขึ้น  เช่น  วิธีแบบสอบถาม  การทดสอบ  และวิธีพรรณนาเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงปรนัย

        3.  กลุ่มจิตวิทยาเกสทอลท์

             จิตวิทยา  เกสทอลท์  เป็นปฏิกิริยาต่อต้านการเน้นวิธีแยกย่อยมากเกินไป  ต่อต้านความเชื่ออย่างมืดบอด  ต่อต้านการวิเคราะห์และการแยกย่อย  พวกเขาเชื่อว่าความเข้าใจพฤติกรรมจะต้องใช้แนวองค์รวม

        4.  กลุ่มจิตวิเคราะห์  (Psychoanalysis)  ฟรอยด์  (Sigmund  Freud)  แพทย์ชาวออสเตรีย  สนใจค้นหาสาเหตุทางจิตที่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติในตัวมนุษย์  ฟรอยด์ศึกษาข้อมูลจากผู้ป่วยจำนวนมากประกอบกับการวิเคราะห์ตนเองทำให้เชื่อว่า  ความผิดปกติของจิตมีรากฐานมาจากความขัดแย้งทางเพศและเป็นไปอย่างไร้สำนึก  ความคิดจิตวิเคราะห์มีอิทธิพลมากต่อจิตวิทยาถือเป็นคลื่นลูกที่หนึ่งในองค์การจิตวิทยา  โดยแนวคิดที่น่าสนใจ  มีดังนี้

             4.1  ระดับชั้นแห่งจิต

                  จิตสำนึก  (Conscious)  บรรจุสิ่งที่เรารับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส  พร้อมทั้งประสบการณ์ที่ตระหนักรู้ได้ในช่วงเวลานั้น

                  จิตก่อนสำนึก  (preconscious)  เป็นที่รวมประสบการณ์ทั้งหมดซึ่งไม่ได้สำนึกถึงในขณะนั้นแต่สามารถระลึกได้หากใช้ความพยายาม

                  จิตไร้สำนึก  (unconscious)  เป็นแหล่งสำคัญที่พฤติกรรมมนุษย์ก่อรูปและถูกปรุงแต่งขึ้นโดยอาศัยแรงขับ  และแรงกระตุ้นที่อยู่ส่วนลึกของจิตใจ

             4.2  โครงสร้างของบุคลิกภาพ

                  อิด  (id)  เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐานที่ต้องการการตอบสนองทันที

                     -  ความปรารถนาที่จะมีชีวิตอยู่  (life  wish)  เห็นได้จาก  แรงกระตุ้นที่จะมีชีวิตอยู่ การสร้างสรรค์  ความรัก  ลิปิโด  (libido)  ซึ่งแสดงถึงพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับเรื่อง  เพศ  ความผูกพันอื่น ๆ

                     -  ความปรารถนาที่จะตาย  (death  wish)  เห็นได้จากแรงกระตุ้นที่ทำพฤติกรรมเชิงทำลายต่าง ๆ

                  อีโก  (Ego)  ซึ่งพัฒนาขึ้นมา  เพื่อเชื่อมโยงความต้องการของอิดให้เข้ากับความเป็นจริงของโลกภายนอก  หน้าที่ของอีโกเป็นการรักษาความสมดุลของบุคลิกภาพระหว่างอิดและซูเปอร์อีโก

                  ซูเปอร์อีโก  (Super  ego)  เป็นส่วนที่ทำหน้าที่บอกถึง  ถูก  ผิด  ดี  เลว  ในชีวิตมนุษย์ ซูเปอร์อีโก เป็นส่วนที่พัฒนามาทีละน้อย ตั้งแต่วัยเด็กเพื่อให้เข้ากับค่านิยมและมาตรฐานของสังคม  แบ่งเป็น

                     -  สัมปชัญญะ  หรือ  สำนึก  เป็นส่วนที่หักห้ามความต้องการหรือพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา

                     -  ตนในอุดมคติ  เป็นส่วนที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่พึงปรารถนาเพิ่มขึ้น

        4.3  ขั้นตอนของพัฒนาการ

             ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ให้ความสำคัญต่อพัฒนาการมนุษย์ในช่วง  5  ขวบปีแรก  ของชีวิตถือว่าเป็นจุดวิกฤตของพัฒนาการ  เป็นช่วงที่บุคลิกภาพของบุคคลได้ก่อตัวขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับ

                  ขั้นปาก  0 1  ปี  เป็นขั้นที่ความเอาใจใส่และกิจกรรมของทารก จะมีศูนย์กลางอยู่ที่ปาก  ท่ออาหารและกระเพาะ  เด็กจะเพลิดเพลินกับการได้รับอาหาร เชื่อมโยงเข้ากับเจตคติของผู้ใหญ่ที่แสดงออกมาในระหว่างให้อาหาร  หากเด็กเกิดความเครียด  และคับข้องใจ  พัฒนาการจะถูกยับยั้งนำไปสู่กิจกรรมที่ผิดปกติในวัยผู้ใหญ่  เช่น  กิจกรรมเกินพอดีในการดื่ม  สูบ  รับประทาน  หรือพูด  และยังสัมพันธ์กับความรู้สึกปลอดภัยด้วย

                  ขั้นทวารหนัก  2 3  ปี  ขั้นนี้ความสนใจของเด็กจะเลื่อนไปสู่กิจกรรมขับถ่าย  ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พ่อแม่ฝึกคัดขับถ่ายให้เด็ก  วิธีฝึกของพ่อแม่มีผลต่อเจตคติบางประการ  เช่น  ความสะอาด  และการควบคุม ส่งผลต่อพัฒนาการบุคลิกภาพของเด็ก  การฝึกอย่างเข้มงวดหรือปล่อยปละละเลยล้วนหยุดยั้งพัฒนาการขั้นนี้  เมื่อโตขึ้นมีแนวโน้มจะตระหนี่  ดื้อ  เจ้าระเบียบ  นิยมความสมบูรณ์แบบ  ขั้นนี้เป็นขั้นที่เด็กพัฒนาความรู้สึกเป็นเจ้าของ กับการรู้จักอำนาจ และควบคุมตนเอง

                  ขั้นอวัยวะเพศ  3 5  ปี  เด็กเริ่มโตพอที่จะตระหนักถึงร่างกายของตนเองโดยเฉพาะอวัยวะเพศ ซึ่งเป็นแหล่ง ผัสสะ       ของความพอใจที่เด็กเพิ่งมีประสบการณ์  ขั้นนี้เด็กชายจะรักแม่  และต่อต้านพ่อ  (Oedipus  complex)  ส่วนเด็กหญิงจะรัก  พ่อ  และต่อต้านแม่  (Electra  complex)  เด็กเผชิญกับความวิตกกังวลและรู้สึกผิดในการต่อต้านพ่อหรือแม่  เมื่อต่อต้านไม่สำเร็จ  เด็กจะเลียนแบบพ่อแม่ซึ่งเป็นเพศเดียวกับตน เรียกว่า  การเทียบเคียงแบบป้องกันตน  (defensive  identification)  และซูเปอร์อีโกได้เริ่มก่อตัวขึ้น

        5.  กลุ่มพฤติกรรมนิยม

             แนวคิดนี้ให้ความสำคัญต่อประสบการณ์ภายนอก  พฤติกรรมภายนอก  การกระทำและการตอบสนอง  วัตสัน  (John  B.  Watson)  ได้เสนอว่านักจิตวิทยาในฐานะนักวิทยาศาสตร์  ควรศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ส่วนที่สังเกตได้ ไม่ควรศึกษามโนทัศน์ประเภทจิตใจ  จิตรู้สึก  ฯลฯ  คือศึกษาพฤติกรรมที่เขาทำไม่ใช่สิ่งที่เขาคิดหรือรู้สึกเขาได้พยายามอธิบายพฤติกรรมในรูปแบบของสิ่งเร้าและการตอบสนอง  แนวคิดนี้ต่างจากจิตวิเคราะห์มาก  และจัดว่าเป็นคลื่นลูกที่สองของจิตวิทยา
        จุดเริ่มมาจากนักสรีระวิทยา ชาวรัสเซีย  ชื่อ  อิวาน  พาฟลอฟ  (Ivan  Pavlov)  ทำการทดลองให้สุนัขหลั่งน้ำลายเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง  โดยอินทรีย์  (สุนัข)  เกิดการเชื่อมโยงสิ่งเร้า  2  สิ่ง  คือ  เสียงกระดิ่งกับผงเนื้อ  จนเกิดการตอบสนองโดยน้ำลายไหล  เมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง

6.  กลุ่มปัญญานิยม

        ช่วงปี  1960  เป็นต้นมา  นักจิตวิทยาปัญญานิยมเริ่มต่อต้านแนวความคิดพฤติกรรมนิยม  แบบเก่าที่ปฏิบัติกับบุคคลราวกับเป็นกล่องดำ  ซึ่งสามารถเข้าใจได้อย่างง่าย ๆ โดยการวัดสิ่งเร้าที่เข้าไปข้างใน  (กล่องดำ)  และการตอบสนองที่ออกมาข้างนอก  แต่นักจิตวิทยาปัญญานิยมยืนยันว่านักจิตวิทยาต้องพยายามเข้าใจว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นภายในกล่องดำ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานของจิต  เช่น  ความคิด  การรับรู้  ความจำ  การใส่ใจ  การแก้ปัญหา  และภาษา  โดยมุ่งแสวงหาความรู้ที่ชัดเจนถึงวิธีการที่กระบวนการเหล่านี้ทำงาน  และนำมาประยุกต์ใช้  รวมทั้งการพินิจ-ภายในอย่างไม่เป็นทางการ ก็ควรนำมาใช้เพื่อค้นหา  ส่วนวิธีแบบปรนัย  (objective  methods)  นำมาใช้เพื่อทดสอบยืนยัน  จิตวิทยาแนวปัญญาจึงเป็นการรวมลักษณะต่าง ๆ ของ  กลุ่มโครงสร้าง-จิต  กลุ่มหน้าที่ของจิต  จิตวิทยาเกสทอลท์  และกลุ่มพฤติกรรมนิยมเข้าไว้ด้วยกัน

7.  กลุ่มมนุษยนิยม

        พัฒนาขึ้นมาประมาณ  คศ.  1960  โดยเป็นแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มหนึ่งมีอับราฮัม  มาสโลว์  (Abraham  Maslow)  เป็นผู้นำกลุ่ม  ได้พัฒนาทฤษฎีที่ต่างออกไปจากกลุ่มจิตวิเคราะห์และกลุ่มพฤติกรรมนิยม  จัดเป็นคลื่นลูกที่สามของจิตวิทยาลักษณะเด่นคือ  มิได้เป็นทฤษฎีที่จัดระบบไว้เดี่ยว ๆ แต่เป็นการสะสมแนวคิดจากปรัชญา  และแนวคิดจิตวิทยาร่วมสมัยเข้าไว้ด้วยกัน  นักจิตวิทยามนุษยนิยม  เช่น  มาสโลว์  และ  โรเจอส์  (Carl  Rogers)  เชื่อว่ามนุษย์ตามธรรมชาติมีความโน้มเอียงที่จะมีการพัฒนาไปสู่ระดับที่สูงขึ้น  เขาจะพัฒนาไปถึงจุดสูงสุดตามศักยภาพของเขา  มนุษย์มีความสามารถที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับชีวิตเขา  นักจิตวิทยากลุ่มนี้ให้ความสำคัญต่อประสบการณ์ของมนุษย์ให้ความสำคัญต่อวิธีการที่บุคคลรับรู้ตนเองอย่างเป็นอัตนัยไม่ว่าจะเป็นภาพลักษณ์  ค่านิยม  ทางเลือก  หรืออื่น ๆ การทำความเข้าใจบุคคลในวิธีการที่เขารับรู้ตนเองและรับรู้โลกที่แวดล้อมเขาโดยมองจากแง่มุมของตัวเขาเอง

        แนวคิดเกี่ยวกับตนเองของบุคคลเป็นตัวแปรแทรก จากโลกพฤติกรรมนิยม สิ่งเร้า          การตอบสนอง  มาเป็นสิ่งเร้า          บุคคล        การตอบสนอง  ทำให้อธิบายได้ว่า  สิ่งเร้าเดียวกัน  ถูกวางเงื่อนไขเดียวกัน  เหตุใดบุคคลจึงมีพฤติกรรมตอบสนองต่างกันออกไป  เพราะเขารับรู้สิ่งเร้าและเงื่อนไขต่างกันนั่นเอง

8.  กลุ่มเหนือตน

        จิตวิทยาแนวนี้อาจเริ่มจากเจมส์  (William  James)  นักจิตวิทยาอเมริกันคนแรกที่สนใจประสบการณ์ลึกซึ้งหรือประสบการณ์อัศจรรย์ทางจิตที่เกิดขึ้นกับคน  แต่สนใจในแง่จิตวิทยามากกว่าแง่ศาสนา  เจมส์เสนอว่าประสบการณ์อัศจรรย์นี้เป็นรากฐานของศาสนาต่าง ๆ เป็นตัวแทนของแรงกระตุ้นตามธรรมชาติในเชิงบวก

        นักจิตวิทยาบางคนก็สนใจประสบการณ์เหนือตน  เช่น  จุง  (Carl  Jung)  ได้เขียนถึงประสบการณ์เหนือตนไร้สำนึกของมนุษย์ และแสดงออกโดยอ้อมด้วยการ  ฝัน  พิธีกรรมหรือสัญลักษณ์  แสดงออกโดยตรงจากประสบการณ์อัศจรรย์ทางจิต คำว่าเหนือตน  มาสโลว์คิดขึ้นเพื่อใช้เรียกแนวคิดใหม่ของจิตวิทยา  และมาสโลว์เห็นว่าจิตวิทยาเหนือตนเป็นคลื่นลูกที่  4  ของจิตวิทยาต่อจากแนวคิดมนุษยนิยม

        แนวคิดหลัก  คือ  การให้ความสนใจสิ่งที่อยู่เหนือความต้องการ และความสนใจของมนุษย์ออกไปมาสโลว์  พบว่า  บางคนที่พัฒนาความต้องการไปจนถึงขั้นสูงสุด  คือ  สัจจการแห่งตนมีประสบการณ์อัศจรรย์ทางจิตเกิดขึ้นบ่อย ๆ แต่บางคนกลับไม่เคยพบ จึงทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างสัจจการแห่งตน กับเหนือตนหรือล่วงพ้นต้น  จิตวิทยาเหนือตนไม่ใช่ระบบความคิดแบบแบ่งแยก  แต่สนใจที่จะเปิดเผยธรรมธรรมชาติของมนุษย์ในระดับที่ลึกซึ้ง แต่ก็ไม่ปฏิเสธความเป็นปัจเจกบุคคล  สนใจต่อพัฒนาการทางจิตเท่า ๆ กับพัฒนาการทางจิตวิญญาณ  สนใจประสบการณ์ธรรมดา  เท่า ๆ กับประสบการณ์อัศจรรย์ สนใจแกนในการปฏิบัติของจิตวิทยาเหนือตน  รวมไปถึง  การทำสมาธิ  การฝึกสติ  การพิจารณาใคร่ครวญ  และสนใจค้นหาปรากฏการณ์ต่าง ๆ และเปรียบเทียบกับแนวคิดของจิตวิทยากลุ่มต่าง ๆ อาจถือได้ว่าจิตวิทยากลุ่มนี้เป็นการรวมกันระหว่างแนวคิดของจิตวิทยาตะวันตก กับแนวคิดภูมิปัญญาตะวันออกบางแนวคิด

        สาระสำคัญของวิชาจิตวิทยา  คือ  การศึกษาถึงเรื่องของพฤติกรรมมนุษย์  และมีสาขาต่างๆ ของจิตวิทยามากมาย  ได้แก่

          จิตวิทยาการทดลอง

        นักจิตวิทยาใช้วิธีการทดลอง เพื่อศึกษาบุคคลตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบตัวอย่างไร

          จิตวิทยาสรีระ

        ค้นคว้าหาความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการทางชีววิทยาและพฤติกรรม

          จิตวิทยาพัฒนาการ

        เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของมนุษย์  ตัวประกอบที่มีผลต่อพฤติกรรม  ความสามารถเฉพาะอย่างตั้งแต่เกิดจนชรา

          จิตวิทยาสังคม

        สนใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีอิทธิพลต่อทัศนคติ และพฤติกรรม  ศึกษาพฤติกรรมกลุ่ม

          จิตวิทยาบุคลิกภาพ

        มุ่งศึกษา  ความแตกต่างระหว่างปัจเจกบุคคลสนใจศึกษาคุณสมบัติเฉพาะของแต่ละบุคคล

          จิตวิทยาคลินิก

        ประยุกต์กฎของจิตวิทยากับการวินิจฉัยและการบำบัดอาการทางจิต โรคประสาท  และปัญหาการปรับตัว

          จิตวิทยาการปรึกษา

        คล้ายกับจิตวิทยาคลินิก  แต่ปัญหาของผู้ป่วยรุนแรงน้อยกว่า  เช่น  ปัญหาการปรับตัว การเรียน  อาชีพ ปัญหาส่วนตัวและสังคม

          จิตวิทยาอุตสาหกรรม

        ทำงานกับบริษัทหรือเป็นที่ปรึกษาองค์การต่าง ๆ เกี่ยวกับการคัดเลือกคน  การพัฒนา  การฝึกอบรมการทำงาน

          จิตวิทยาการศึกษา

        ชำนาญ  เกี่ยวกับ  เรื่องการเรียนการสอน  อาจทำงานในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยทำการวิจัย  ศึกษาเรื่องการเรียนรู้มนุษย์




ความสำคัญของวิชาจิตวิทยา

 

 ความสำคัญของวิชาจิตวิทยา  อาจพิจารณาเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

             1. เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ตลอดจนพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคมและเชาว์ปัญญา

              2.  เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจพฤติกรรมต่างๆ ของตนเองและผู้อื่น

          3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้ในการแก้ปัญหาของตนเอง

         4.เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้ในกาปรับตัว  สามารถเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุขและไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อนเพื่อให้นักศึกษามีความตระหนักถึงความสำคัญของจิตวิทยา   และการนำจิตวิทยาไป ประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต  การประกอบอาชีพและการทำงานต่างๆ  ได้อย่างเป็นสุข

                วิชาจิตวิทยาทำให้บุคคลสามารถเข้าใจตนเอง วิเคราะห์ตนเองออกทั้งในส่วนที่ดีและส่วนที่ด้อยของตัวเรา โดยที่บุคคลจะต้องเข้าใจตนเอง รักตนเอง ยอมรับความเป็นตนเองก่อนและเมื่อนั้นบุคคลก็จะเข้าใจความเป็นบุคคลของคนอื่นเช่นกันและพร้อมที่จะเข้าใจผู้อื่นรักผู้อื่นและยอมรับความเป็นบุคคลของผู้อื่น ในความเป็นจริงหลายคนที่ยังรักตนเองให้อภัยตนเองได้ไม่ว่าตนเองจะทำผิดสักแค่ไหนแต่ไม่สามารถรับคนอื่นได้ มองคนอื่นด้อยกว่าตนหรือมองคนอื่นผิดมองตนเองถูกสังคมจึงเกิดปัญหาวุ่นวายเดือดร้อน ดังนั้นการที่เราศึกษาวิชาจิตวิทยาจะช่วยให้เราเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ว่ามนุษย์มีธรรมชาติเป็นอย่างไร ในความเป็นมนุษย์เราคงต้องยอมรับสภาพทางกายภาพทั่วไปว่ามนุษย์ทุกผู้ทุกนามมีเกิด แก่ เจ็บ และตายเป็นธรรมดาตัวเราก็อยู่ในสภาพนี้ผู้อื่นก็อยู่ในสภาพนี้เช่นเดียวกับเรา ความเป็นมนุษย์มีรูปแบบที่เหมือนๆ กัน ถ้าเราบอกว่าไม่ชอบบุคคล เพราะสาเหตุตามที่เราคิดตามที่เราตัดสินเราก็คิดเข้าข้างตัวเราเองโดยไม่มองภาพรวมของความเป็นมนุษย์ความเป็นธรรมชาติของมนุษย์ และไม่เข้าใจสัจธรรมของความมีชีวิตอย่างแท้จริงโดยใช้มาตรฐานของตัวเองไปตัดสินใจแทนคนอื่นและกล่าวโทษว่าคนอื่นไม่ดีแต่ตัวเองดีแล้วคงจะหาแนวคิดใดที่มาอธิบายเรื่องนี้ได้ไม่ยากนัก หากนักศึกษาได้ศึกษาวิชาจิตวิทยาให้เข้าใจเพราะวิชานี้จะอธิบายธรรมชาติของมนุษย์ อารมณ์ ความรู้สึก ความปรารถนาและความต้องการของมนุษย์แต่ไม่ได้หมายความว่าวิชาจิตวิทยาเป็นวิชาที่ดีที่สุด ยังมีอีกหลายวิชาที่เข้ามาช่วยและส่งเสริมให้นักศึกษามีความเข้าใจธรรมชาติของความเป็นมนุษย์อีกมากมายเช่น วิชาวิทยาศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา สังคม ศิลปะ ดนตรี เป็นต้น

                ความสำคัญของวิชาจิตวิทยายังสามารถทำให้บุคคลยอมรับตนเอง ยอมรับผู้อื่น รักตนเองและรักผู้อื่น ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อเรื่องมนุษย์มีความแตกต่างกัน การที่มนุษย์มีความแตกต่างกันจึงทำให้เราแต่ละคนไม่เหมือนกัน หลายคนหลายความคิดแต่การจะอยู่ร่วมกันให้ชีวิตมีคุณค่า บุคคลควรยอมรับในความแตกต่างของบุคคลและพร้อมที่จะเคารพความเป็นมนุษย์เสมอกันหรืออาจกล่าวได้ว่าจิตวิทยาให้ความสำคัญแก่บุคคลทุกคนเสมอกัน

 

ประวัติความเป็นมาของวิชาจิตวิทยา

 

               จิตวิทยา เป็นศาสตร์ที่มีคนสนใจมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณก่อนคริสต์กาล  มีนักปรัชญาชื่อ   พลาโต (Plato  427 – 347ก่อนคริสต์กาล) อริสโตเติล (Aristotle  384 – 322  ก่อนคริสต์กาล)  ได้กล่าวถึงธรรมชาติและพฤติกรรมของมนุษย์ในเชิงรัชญามากกว่าแนวคิดทางวิทยาาสตร์  การศึกษาในยุคนั้นเป็นแบบเก้าอี้โต๊ะกลมหรือเรียกว่า  Arm  Chair  Method  เรียกจิตวิทยาในยุคนั้นว่า จิตวิทยายุคเก่าเพราะนักจิตวิทยานั่งศึกษาอยู่กับโต๊ะทำงาน โดยใช้ความคิดเห็นของตนเองเพียงอย่างเดียวไม่มีการทดลอง ไม่มีการวิเคราะห์ใดๆ ทั้งสิ้น ต่อมาอริสโตเติลได้สนใจจิตวิทยาได้ทำการศึกษาและ ได้เขียนตำราเล่มแรกของโลกเป็นตำราที่ว่าด้วยเรื่อง วิญญาณชื่อ  De  Anima  แปลว่า  ชีวิต  เขากล่าวว่า  วิญญาณเป็นต้นเหตุให้คนต้องการเรียนจิตวิทยา คนในสมัยโบราณจึงศึกษาจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับวิญญาณ โดยมีความเชื่อว่าวิญญาณจะสิงอยู่ในร่างกายของมนุษย์ขณะมีชีวิตอยู่  เมื่อคนสิ้นชีวิตก็หมายถึงร่างกายปราศจากวิญญาณและวิญญาณออกจากร่างล่องลอยไปชั่วระยะหนึ่ง แล้วอาจจะกลับสู่ร่างกายคืนอีกได้ และเมื่อนั้นคนๆ นั้นก็จะฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกชาวกรีกจึงมีการคิดค้นวิธีการป้องกันศพไม่ให้เน่าเปื่อยที่เรียกว่ามัมมี่เพื่อคอยการกลับมาของวิญญาณ   ต่อมาประมาณศตวรรษที่  11 -  12  ได้เกิดลัทธิความจริง (Realism)  เป็นลัทธิที่เชื่อสภาพความเป็นจริงของสิ่งต่าง ๆ  และลัทธิความคิดรวบยอด  (Conceptualism) ที่กล่าวถึงความคิดที่เกิดหลังจากได้วิเคราะห์พิจารณาสิ่งต่างๆ  ถี่ถ้วนแล้ว  จากลัทธิทั้งสองนี้เองทำให้ผู้คนมีความคิดมากขึ้นมีการคิด วิเคราะห์ ไตร่ตรอง จึงเป็นเหตุให้ผู้คนเริ่มหันมาสนใจในทางวิทยาศาสตร์  และจึงเริ่มมาสนใจในเรื่องจิตวิทยาในเชิงวิทยาศาสตร์มากขึ้นในขณะเดียวกันก็ยังสนใจศึกษาเรื่องจิตมากขึ้นด้วย  รวมทั้งให้ความสนใจศึกษาเกี่ยวกับเรื่องจิตสำนึก  (Conscious)  อันได้แก่ การมีสมาธิ  การมีสติสัมปชัญญะ  และเชื่อว่าจะเป็นมนุษย์ได้จะต้องประกอบไปด้วย  ร่างกายกับจิตใจ  จึงมีคำพูดติดปากว่า  “A Sound  mind  is  in  a  sound  body”  จิตที่ผ่องใสอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์   ความสนใจเรื่องจิตจึงมีมากขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ยังเชื่อว่า จิต แบ่งสามารถเป็นส่วนๆ  ได้แก่ความคิด  (Idea)  จินตนาการ  (Imagine)  ความจำ  (Memory)  การรับรู้  (Concept)  ส่วนที่สำคัญที่สุดเรียกว่า  Faculty  of  will  เป็นส่วนหนึ่งของจิตที่สามารถสั่งการเคลื่อนไหวต่างๆ  ของร่างกายต่อมา  Norman  L. Mumm มีความสนใจเรื่องจิต เขากล่าวว่า  จิตวิทยา คือ การศึกษาเรื่องจิต  ในปี  ค.ศ.  1590   คำว่า  Psychology   จึงเป็นที่รู้จักและสนใจของคนทั่วไป

               จอห์น  ลอค  (John  Locke  ค.ศ.  1632 - 1704)  ได้ชื่อว่าเป็น บิดาจิตวิทยาแผนใหม่  เขาเชื่อว่า  ความรู้สึกตัว  ( Conscious )  และสิ่งแวดล้อมเป็นตัวที่มีอิทธิพลต่อจิต

               ในศตวรรษที่  19  เป็นยุคแห่งวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ  มีผู้คิดทฤษฎีต่าง ๆ  ทางจิตวิทยาขึ้น       มากมายและที่สำคัญคือ  วิลเฮล์ม  แมกซ์  วู้นท์  (Wilhelm  Max  Wundt  ค.ศ.  1832 – 1920) ได้สร้างห้องทดลองทางจิตวิทยาและเริ่มมีการทดลองขึ้นที่เมือง  Leipzig  ประเทศเยอรมัน  เขาได้ทดลองเกี่ยวกับเรื่องความรู้สึก การจิตนาการ การคิดหาเหตุผลจนได้รับสมญาว่า  บิดาแห่งจิตวิทยาทดลองนับเป็นการเริ่มต้นในการศึกษาจิตวิทยาตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นต้นมา อาจกล่าวได้ว่า วิชาจิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่ง ที่ได้รับการยอมรับและวิธีการศึกษาก็ใช้แนวทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ทฤษฎี การทดลอง การหาเหตุผลตลอดจนการวิเคราะห์พฤติกรรม  

              วิธีการศึกษาทางจิตวิทยา การศึกษาทางจิตวิทยาใช้หลายๆ วิธีการมาผสมผสานและทำการวิเคราะห์บนสมมุติฐาน นักจิตวิทยาจะใช้วิธีการต่างๆ ดังต่อไปนี้เช่น การตรวจสอบตนเอง  การสังเกต  การศึกษาบุคคลเป็นรายกรณี  การสัมภาษณ์  การทดสอบ  ดังจะอธิบายเรียงตามลำดับต่อไปนี้

                1.  การตรวจสอบตนเอง (Introspection)  หมายถึง  วิธีการให้บุคคลสำรวจ ตรวจสอบตนเองด้วยการย้อนทบทวนการกระทำและความรู้สึกนึกคิดของตนเองในอดีต ที่ผ่านมา  แล้วบอกความรู้สึกออกมา  โดยการอธิบายถึงสาเหตุและผลของการกระทำในเรื่องต่าง ๆ  เช่น  ต้องการทราบว่าทำไมเด็กนักเรียนคนหนึ่งจึงชอบพูดปดเสมอ ๆ  ก็ให้เล่าเหตุหรือเหตุการณ์ในอดีต  ที่เป็นสาเหตุให้มีพฤติกรรมเช่นนั้นก็จะทำให้ทราบที่มาของพฤติกรรมและได้แนวทางในการที่จะช่วยเหลือแก้ไขพฤติกรรมดังกล่าวได้

                การตรวจสอบตนเองจะได้รับข้อมูลตรงตามความเป็นจริงและเป็นประโยชน์  เพราะผู้รายงานที่มีประสบการณ์และอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริงๆ แต่หากผู้รายงานจดจำเหตุการณ์ได้แม่นยำ  และมีความจริงใจในการรายงานอย่างซื่อสัตย์ไม่ปิดบัง  และบิดเบือนความจริง  แต่หากผู้รายงานจำเหตุการณ์หรือเรื่องราวไม่ได้หรือไม่ต้องการรายงานข้อมูลที่แท้จริงให้ทราบก็จะทำให้การตี ความ หมายของเรื่องราวต่างๆ หรือเหตุการณ์ผิดพลาดไม่ตรงตามข้อเท็จจริง

               2. การสังเกต  (Observation)  หมายถึง  การเฝ้าดูพฤติกรรมในสถานการณ์ที่เป็นจริง อย่างมีจุดมุ่งหมาย  โดยไม่ให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัว  การสังเกตแบ่งเป็น  2  ลักษณะคือ

                      2.1  การสังเกตอย่างมีแบบแผน  ( Formal  Observation )  หมายถึง  การสังเกตที่มีการเตรียมการล่วงหน้า  มีการวางแผน  มีกำหนดเวลา  สถานการณ์  สถานที่ พฤติกรรมและบุคคลที่จะสังเกต ไว้เรียบร้อยเมื่อถึงเวลาที่นักจิตวิทยาวางแผนก็จะเริ่มทำการสังเกตพฤติกรรมตามที่กำหนดและผู้สังเกตพฤติกรรมจะจดพฤติกรรมทุกอย่างในช่วงเวลานั้นอย่างตรงไปตรงมา

                      2.2  การสังเกตอย่างไม่มีแบบแผน  ( Informal  Observation )  หมายถึง  การสังเกตโดยไม่ต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าหรือวางแผนล่วงหน้า  แต่สังเกตตามความสะดวกของผู้สังเกตคือจะสังเกตช่วงเวลาใดก็ได้แล้วทำการจดบันทึกพฤติกรรมที่ตนเห็นอย่างตรงไปตรงมา

                การสังเกตช่วยให้ได้ข้อมูลละเอียด  ชัดเจน  และตรงไปตรงมา  เช่น  การสังเกต อารมณ์  ความรู้สึกของบุคคลต่อสถานการณ์ต่าง    จะทำให้เห็นพฤติกรรมได้ชัดเจนกว่าการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการอื่น    แต่การสังเกตที่ดีมีคุณภาพ  มีส่วนประกอบหลายอย่าง  เช่น  ผู้สังเกตจะต้องมีใจเป็นกลางไม่อคติหรือลำเอียงอย่างหนึ่งอย่างใด  และสังเกตได้ทั่วถึง  ครอบคลุม  สังเกตหลาย ๆ  สถานการณ์หลาย ๆ หรือหลายๆ  พฤติกรรม  และใช้เวลาในการสังเกต ตลอดจนการจดบันทึกการสังเกตอย่างตรงไปตรงมา  และแยกการบันทึกพฤติกรรมจากการตีความไม่ปะปนกัน  ก็จะทำให้การสังเกตได้ข้อมูลตรงตาม   ความเป็นจริงและนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดมุ่งหมาย

                3.  การศึกษาบุคคลเป็นรายกรณี  (Case Study)  หมายถึง  การศึกษารายละเอียดต่าง ๆที่สำคัญของบุคคล แต่ต้องใช้เวลาศึกษาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง  แล้วรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์พิจารณา  ตีความเพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุของพฤติกรรม  หรือลักษณะพิเศษที่ผู้ศึกษาต้องการทราบทั้งนี้เพื่อจะได้หาทางช่วยเหลือแก้ไขปรับปรุง ตลอดจนส่งเสริมพฤติกรรมให้เป็นไปในทาง  สร้างสรรค์ที่สำคัญของบุคคล  แต่ต้องใช้เวลาศึกษาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง  แล้วรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์พิจารณา  ตีความเพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุของพฤติกรรม  หรือลักษณะพิเศษที่ผู้ศึกษาต้องการทราบ  ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลพัฒนาตนเต็มศักยภาพแห่งตน

               การสัมภาษณ์ที่ดี  จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดต่าง ๆ  ของผู้ที่ต้องการศึกษาตั้งแต่เรื่องประวัติ  เรื่องราวของครอบครัว  ประวัติพัฒนาการ  ประวัติสุขภาพ  ความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน  ความสนใจ  ความถนัด  เป็นต้น  และในการรวบรวมข้อมูลอาจใช้เทคนิควิธีต่าง ๆ  เข้ามาช่วยด้วย  เช่น  การสังเกต  การสัมภาษณ์  การใช้แบบทดสอบ  เป็นต้น  ทั้งนี้เพื่อเป็นการประมวลให้ได้ข้อมูลให้ละเอียดและตรงจุดให้มากที่สุด

               4.  การสัมภาษณ์  (Interview)  หมายถึง  การสนทนากันระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป  โดยมีจุดมุ่งหมาย  ซึ่งการสัมภาษณ์ก็มีหลายจุดมุ่งหมาย  เช่น  การสัมภาษณ์เพื่อความคุ้นเคยสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน  สัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อ  ตลอดจนสัมภาษณ์เพื่อการแนะแนวและการให้คำปรึกษา เป็นต้น  แต่ทั้งการสัมภาษณ์ก็เพื่อให้ได้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ  เพื่อใช้ในการตัดสินใจ

               การสัมภาษณ์ที่ดี  จำเป็นต้องมีการเตรียมการล่วงหน้า  วางแผน  กำหนดสถานที่  เวลาและเตรียมหัวข้อหรือคำถามในการสัมภาษณ์  และนอกจากนั้นในขณะสัมภาษณ์ผู้สัมภาษณ์ควรจะใช้เทคนิคอื่น ๆ  ประกอบด้วยก็ยิ่งจะได้ผลดี  เช่น  การสังเกต  การฟัง  การใช้คำถาม  การพูด  การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้สัมภาษณ์และผู้สัมภาษณ์  ก็จะช่วยให้การสัมภาษณ์ได้ดำเนินไปด้วยดี

5. การทดสอบ (Testing) หมายถึง การใช้เครื่องมือที่มีเกณฑ์ในการวัดลักษณะของ        พฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งหรือหลายๆ  พฤติกรรมโดยให้ผู้รับการทดสอบเป็นผู้ตอบสนองต่อแบบทดสอบซึ่งอาจเป็นแบบทดสอบภาษาและแบบปฏิบัติการหรือลงมือทำ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลนั้นตามจุดมุ่งหมายที่ผู้ทดสอบวางไว้แบบทดสอบที่นำมาใช้ในการทดสอบหาข้อมูลก็ได้แก่  แบบทดสอบบุคลิกภาพ  แบบทดสอบความสนใจ  เป็นต้น

               การทดสอบก็มีสิ่งที่ควรคำนึงถึงเพื่อผลของข้อมูลที่ได้รับ  ซึ่งแบบทดสอบที่นำมาใช้ควรเป็นแบบทดสอบที่เชื่อถือได้เป็นมาตรฐาน  ตลอดจนการแปรผลได้อย่างถูกต้อง  เป็นต้น

            6.  การทดลอง  (Experiment)  หมายถึง  วิธีการรวบรวมข้อมูลที่เป็นระบบ  มีขั้นตอนและเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์  ซึ่งมีลำดับขั้นตอนดังนี้  ตั้งปัญหา  ตั้งสมมุติฐาน  การรวบรวมข้อมูล        การทดสอบสมมุติฐาน  การแปลความหมายและรายงานผล  ตลอดจนการนำผลที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือส่งเสริมต่อไปการทดลองจึงเป็นการจัดสภาพการณ์ขึ้นมา เพื่อดูผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มหรือสถานการณ์  คือ

1.  กลุ่มทดลอง  (Experiment  Group)  คือ  กลุ่มที่ได้รับการจัดสภาพการณ์ทดลองเพื่อศึกษาผลที่ปรากฏจากสภาพนั้น  เช่น  การสอนด้วยเทคนิคระดมพลังสมอง  จะทำให้กลุ่มเกิดความคิดสร้างสรรค์หรือไม่

            2.  กลุ่มควบคุม  (Control  Group)  คือ  กลุ่มที่ไม่ได้รับการจัดสภาพการณ์ใด    ทุกอย่างถูกควบคุมให้คงภาพเดิม  ใช้เพื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลอง สิ่งที่ผู้ทดลองต้องการศึกษาเรียกว่า ตัวแปร ซึ่งมีตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น  (Independent  Variable)  และตัวแปรตาม  ( Dependent  Variable )       

 

ขอบข่ายของวิชาจิตวิทยา

 

ในอดีตวิชาจิตวิทยาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือวิชาจิตวิทยาทั่วไป (General Psychology)

กับจิตวิทยาประยุกต์ (Applied Psychology) ในปัจจุบันจิตวิทยาสามารถแยกออกได้หลายแขนงดังนี้

จิตวิทยาสรีระ( Physiological Psychology  ) จิตวิทยาแขนงนี้มุ่งศึกษาเพื่อ   ให้เกิด

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการทางสรีรวิทยาและกระบวนการทางจิตใจของมนุษย์

จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology)   จิตวิทยาแขนงนี้มุ่งศึกษาเพื่อ

ศึกษาความรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและกลไกในการพัฒนาการในอินทรีย์ที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องกันไปตั้งแต่เริ่มปฎิสนธิจนปิดฉากพัฒนาการชีวิต

จิตวิทยาบุคลิกภาพ (Personality Psychology) จิตวิทยาแขนงนี้ มุ่งศึกษาเพื่อศึกษา

และสังเกตพัฒนาการของมนุษย์ในด้านต่างๆ ทำให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์  การพัฒนาบุคลิกภาพทั้งภายในและภายนอกให้ความสำคัญต่อการพัฒนาตน พัฒนาจิต เข้าใจปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อบุคลิกภาพ ทฤษฎีบุคลิกภาพและการพัฒนาตนไปสู่บุคลิกภาพที่ดี

จิตวิทยาคลีนิก (Clinical Psychology  )จิตวิทยาแขนงนี้มุ่งศึกษาเพื่อศึกษาว่าบุคคล

เมื่อประสบปัญหาแล้วเขาเหล่านั้นจะมีวิธีการจัดการกับปัญหาอย่างไร และการหาวิธีการที่จะช่วยให้บุคคลเหล่านั้นแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวิธีการต่างๆ ทางจิตวิทยา เช่นเทคนิคการให้คำปรึกษาซึ่งช่อยแก้ปัญหาในด้านการศึกษา อาชีพ ส่วนตัวและสังคมเป็นต้น

จิตวิทยาการศึกษาและจิตวิทยาในโรงเรียน (Educational Psychology) จิตวิทยา

แขนงนี้มุ่งศึกษา เพื่อศึกษาใช้ประยุกต์ช่วยในเรื่องการเรียนการสอนทำให้ผู้สอนเข้าใจพฤติกรรมเด็ก โดยมุ่งแก้ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดกับเด็กเพื่อให้สามารถจัดการกับปัญหาของตนได้และมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการเรียนในการเลือกที่จะเรียนและเลือกอาชีพต่อไป จิตวิทยาการศึกษามุ่งศึกษาเรื่องประสิทธิผลของการสอน การศึกษา การเรียนรู้ต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น

จิตวิทยาอุตสาหกรรม  (Industrial Psychology) จิตวิทยาแขนงนี้มุ่งศึกษาเพื่อศึกษา

การทำงานในระบบทำงานซึ่งมีขั้นตอนระเบียบแบบแผนและที่สำคัญคือ ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้คนอย่างมีความสุข  ช่วยให้บุคคลสามารถแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ที่ทำให้เกิดความคับข้องใจมีอยู่ในระดับน้อย และสามารถพัฒนาตนไปสู่ความสำเร็จของงานได้ตามที่ตนเองต้องการหรือตามเป้าหมาย ซึ่งทำให้ผลผลิตของอุตสาหกรรมสูงขึ้น รวมถึงการมีจิตวิทยาต่อผู้บริโภคด้วยโดยเน้นการสำรวจเจตคติและความชอบของผู้บริโภคต่อสินค้านั้นๆ

จิตวิทยาการวัดผลและการทดสอบ(Psychometric Psychology)  จิตวิทยาแขนงนี้

มุ่งศึกษาเพื่อศึกษาเกี่ยวกับเรื่องข้อมูลความเชื่อถือ ดังนั้นจิตวิทยาการวัดผลจึงมุ่งในเรื่องทฤษฎีและการพัฒนาแบบทดสอบรวมทั้งวิธีการวัดผลต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างในเชิงจิตวิทยา

จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) จิตวิทยาแขนงนี้มุ่งศึกษาเพื่อศึกษาวิธีการวัด

และลักษณะส่วนใหญ่ของพฤติกรรมมนุษย์ โดยเน้นที่การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมระหว่างบุคคลที่สัมพันธ์กัน

จิตวิทยาวิศวกรรม  (Engineering Psychology) จิตวิทยาแขนงนี้มุ่งศึกษาเพื่อศึกษา

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้นักวิชาการเหล่านี้พยายามที่จะศึกษาค้นคว้าทดลองสร้างเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยต่อการใช้เพื่อแสวงหาความรู้ต่างๆ ของมนุษย์ต่อไปโดยทำให้เกิดความแน่ใจว่าเครื่องมือต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นสามารถสอดคล้องกับความต้องการของมนุษย์

จิตวิทยาชุมชน (Community Psychology)จิตวิทยาแขนงนี้มุ่งศึกษาเพื่อศึกษาชุมชน

และความต้องการของชุมชนในรูปของลักษณะและพฤติกรรมชุมชนเพื่อช่วยป้องกันและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนโดยเฉพาะปัญหาเรื่องสุขภาพจิต

ในปัจจุบันเรื่องขอบข่ายของวิชาจิตวิทยายังแตกแขนงไปอีกมากมายแต่โดยภาพรวมคง

ไม่แตกต่างจากที่กล่าวมาข้างต้นเพียงแต่ว่าหน่วยงานหรือองค์กรใดนำไปใช้แต่หลักๆ ก็ยังคงอยู่ที่วิชาจิตวิทยาทั่วไป (General Psychology) กับจิตวิทยาประยุกต์ (Applied Psychology) นั่นเอง

 

กลุ่มความคิดทางจิตวิทยา

 

            กลุ่มความคิดทางจิตวิทยา  (Schools  of  Psychology)  หมายถึง  แนวความคิด  ทฤษฎีสำคัญและระเบียบวิธีทางจิตวิทยา  เพื่อความสะดวกในการเปรียบเทียบความแตกต่างและความคล้ายคลึงกันของแต่ละกลุ่ม นอร์แมน แอล  มุนน์  (Norman  L.  Munn)  กล่าวว่า  คำว่า กลุ่มทางจิตวิทยา”  หมายถึง  การจัดระเบียบแนวความคิดของจิตวิทยาเข้าเป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการทำความเข้าใจในทัศนะหรือทฤษฎีต่างๆ ที่นักจิตวิทยากล่าวถึงหรือนำมาใช้  ในการรวบรวมความรู้ทางจิตวิทยาและกลุ่มจิตวิทยายังช่วยอำนวยประโยชน์ ในการศึกษารายละเอียด ต่าง ๆ  และการค้นคว้าเพิ่มเติมในขั้นต่อไปอีกด้วย

 

 

  เกณฑ์สำหรับใช้ในการจัดกลุ่มจิตวิทยา

               โดยทั่วไปยอมรับกันว่าการจัดกลุ่มจิตวิทยานั้นแบ่งออกตามความแตกต่างกันที่สำคัญๆ  3 ประการคือ              

        1.  ปรัชญา  ความเชื่อที่สำคัญขั้นต้นของทฤษฎีนั้นๆ

          2.  ระเบียบวิธีที่ใช้ในการศึกษาหรือการรวบรวมเนื้อหาวิชาหรือความรู้ความเข้าใจ

          3.  เนื้อเรื่อง  หัวข้อสำคัญ  ขอบข่ายของกิจกรรม  หรือชนิดของงานที่นำเอาความรู้ทางจิตวิทยามาใช้

               สำหรับการตั้งชื่อกลุ่มทางจิตวิทยา อาจตั้งชื่อตามชื่อของแขนงวิชา หรือตั้งชื่อตามเจ้าของทฤษฎี เช่น  ตั้งชื่อตามนักจิตวิทยาชื่อ Sigmund  Freud  ว่า  Freudianism  ลัทธิฟรอยด์  เป็นต้น

               ในปลายคริสต์ศตวรรษที่  19  หลังจากที่วิลเฮล์ม  แมกซ์  วู้นท์ ( Wilhelm Max Wundt)  วางรากฐานการทดลองจิตวิทยาสมัยใหม่แล้ว  วิชาจิตวิทยาเริ่มได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายในวงการต่างๆ  เช่น  แพทย์การศึกษา  การปกครอง เป็นต้น  การค้นคว้าทางจิตวิทยาเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วมีผู้สนใจมาก  แนวคิดจึงกว้างขวาง  มีการค้นคว้าทดลองในวิชาจิตวิทยากันอย่างกว้างขวาง  ซึ่งก่อให้เกิดความคิดเห็นแนวทัศนะหลายแนว  หลายสำนักต่าง ๆ  กัน  ต่างคนต่างมุ่งศึกษาค้นคว้าตามแนวที่ตนสนใจนำมาสร้างเป็นแนวคิด  เป็นกฎเกณฑ์  เป็นความเชื่อ เป็นทฤษฎีขึ้นมา  พวกนักจิตวิทยาที่มีแนวความคิดคล้ายๆ กันได้รวบรวมหลักการ  ความคิดเห็นขึ้นเป็นกลุ่มๆ  เป็นสกุลๆ  หรือสำนักหรือแนวทัศนะ  (School of  thought    หรือเรียกสั้นๆ  ว่า  School ) จิตวิทยาจึงมีแนวคิดเป็นกลุ่มต่างๆ เพื่อให้ง่ายแก่การศึกษา กลุ่มต่างๆ ทางจิตวิทยา ที่มีแนวคิดและมีอิทธิพลต่อวงการศึกษาที่สำคัญควรนำมาศึกษาในที่นี้มี  6  กลุ่ม ด้วยกันดังนี้คือ แนวคิดกลุ่มโครงสร้างของจิต(Structuralism) กลุ่มหน้าที่ของจิต (Functionalism)   กลุ่มพฤติกรรมนิยม กลุ่มจิตวิเคระห์ กลุ่มจิตวิทยาเกสตอล และแนวคิดกลุ่มมนุษยนิยมดังจะอธิบายเรียงตามลำดับต่อไปนี้

 

1.  แนวคิดของกลุ่มโครงสร้างของจิต  (Structuralism)

 

        กลุ่มโครงสร้างของจิตใช้คำในภาษาอังกฤษว่า  Introspective  Psychology  หรือบางที

เรียกกลุ่มโครงสร้างนิยมรือ กลุ่มแนวความคิดโครงสร้าง  หรือ  แนวทัศนะโครงสร้างแห่งจิต  ซึ่งมีชื่อเรียกหลายชื่อแต่ในที่นี้จะเรียกชื่อว่า กลุ่มโครงสร้างของจิต ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศเยอรมัน เมื่อ  ค.ศ.1879 มีรากฐานของแนวความคิดพื้นฐานเบื้องต้นจากแนวความคิดของนักปรัชญา คนสำคัญๆ หลายท่าน  เช่น

               แนวความคิดของพลาโต  (Plato) อธิบายว่า มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์ตรงที่มนุษย์ประกอบด้วยจิต  (mind)  ซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างแนวความคิด  (Idea)

               แนวความคิดของอริสโตเติล (Aristotle)  อธิบายเกี่ยวกับเรื่องชีวิตจิตใจ  (Mental  Life)               แนวความคิดของเดสคาร์ทีส (Descartes) อธิบายเรื่องความสัมพันธ์ของร่างกาย (Body) กับ จิต  (Mind)  ว่ามนุษย์ประกอบขึ้นด้วย ร่างกายและจิต  ทั้งสองส่วนนี้จะทำงานเกี่ยวข้องกันโดย  จิตทำหน้าที่สร้างภาพพจน์จากการทำงานของร่างกายและการทำงานของร่างกาย จึงเป็นการทำงานตามความคิดที่เกิดขึ้นในจิตนั่นเอง จากแนวความคิดนี้ทำให้เกิด  ลัทธิสัมพันธ์นิยม  ( Associationism)  ขึ้นซึ่งต่อมาได้พัฒนากลายเป็นกลุ่มจิตวิทยา Structuralism หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แนวคิดการตรวจสอบตนเอง” (Introspectionism)  เนื่องจากนักจิตวิทยากลุ่มนี้มักใช้วิธีการตรวจสอบตนเอง    (Introspection)  ตำราบางเล่มใช้คำว่า วิธีการพินิจภายในให้นักศึกษาดูคำในภาษาอังกฤษเป็นหลัก   สำหรับในที่นี้จะใช้คำว่าการตรวจสอบตนเอง”  ซึ่งการตรวจสอบตนเองเป็นเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้าเพื่อเข้าใจพฤติกรรมต่างๆ ที่ผิดปกติ และด้วยเหตุนี้เองกลุ่มโครงสร้างของจิตนี้จึงถูกโจมตีมาก และดูไม่น่าเชื่อถือเพราะเมื่อบุคคลมีปัญหา บุคคลจะมานั่งตรวจสอบตนเองหรือสำรวจตนเองว่าตนมีข้อบกพร่องอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุให้เกิดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ หรืออะไรที่เป็นปัญหาอยู่ขณะนี้คงเป็นไปได้อยาก มีหลายคนที่ใช้วิธีการนี้และปัญหาที่พบคือบุคคลอาจจะเข้าข้างตนเองจึงทำให้ไม่เห็นปัญหาที่แท้จริง  วิธีนี้ต้องให้บุคคลสามารถตรวจสอบตนเองโดยไม่เข้าข้างตนเอง ไม่ยึดติดกับตนเองมากนัก ไม่เข้าข้างตนเอง ไม่อคติเพราะรักตนเอง ซึ่งจะทำให้มองปัญหาต่างๆไม่ชัดเจน

ในศตวรรษที่ 19 นักจิตวิทยาได้สร้างห้องทดลองทางจิตวิทยาขึ้นและเริ่มศึกษาจิตวิทยาในเชิงวิทยาศาสตร์ วิลเฮล์ม  แมกซ์  วู้นท์  (Wilhelm  Max  Wundt)  ผู้สร้างห้องปฏิบัติการหรือห้องทดลองทางจิตวิทยา  (Psychological  Laboratory)  เป็นแห่งแรก  และต่อมาเขาได้ฉายาว่าเป็น  “บิดาแห่งจิตวิทยาการทดลอง”  ต่อมานักจิตวิทยาชื่อ กัสแตฟ   เฟชเนอร์  ( Gustav  Fechner )  ได้สนใจศึกษาวิธีการทางจิตวิทยาอย่างเป็นระบบ และได้เป็นผู้กำหนดระเบียบและวิธีการทดลองทางจิตวิทยา (Experimental method) นำมาใช้กับงานทางจิตวิทยา เขาได้นำเอาความรู้ความเข้าใจวิชาฟิสิกส์มาใช้ในการทดลองค้นคว้ากับวิชาจิตวิทยา ซึ่งเรียกว่าวิชานี้ว่า ไซโคฟิสิกส์(Psychophysics)  อย่างไรก็ตาม จิตวิทยากลุ่มนี้ก็ยังไม่ได้เป็นที่ยอมรับว่าเป็นวิทยาศาสตร์อย่างสมบูรณ์นัก เพียงแต่ยอมรับกันว่า กลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรกที่มีแนวคิดจิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์และยังถือว่าเป็นกลุ่มจิตวิทยาที่อาศัยแนวความคิดและระเบียบวิธีการศึกษาตามแบบปรัชญา(Philosophical-Psychology) เพราะแนวความคิดส่วนใหญ่ของกลุ่มโครงสร้างทางจิต (Structuralism)  ได้อาศัยระเบียบวิธีการตรวจสอบตนเองหรือการสำรวจตนเองหรือการพินิจใน(Introspection  method) หรือใช้ระเบียบวิธีการแบบอัตนัย  ( Subjective  method ) ค่อนข้างมาก 

               การใช้วิธีตรวจสอบตนเองหรือการสำรวจตนหรือการพินิจภายใน  เป็นเครื่องมือที่ศึกษาค้นคว้าหาความจริงทางจิตวิทยาไม่สู้จะได้ผลดีนัก     เพราะว่าผู้ถูกทดสอบอาจตอบตามสิ่งเร้ามากกว่าตอบตามความรู้สึกที่ตนได้สัมผัสจริงๆ  ซึ่งเรียกวิธีนี้ว่า   Stimulus  -  Error   แต่กลุ่ม  Gestalt  Psychology  ไม่เห็นด้วยกับกลุ่ม  Structuralism  ที่ว่าจิตประกอบด้วยส่วนต่างๆ จึงให้ชื่อกลุ่มนี้ว่ากลุ่ม  Mortar  &  Brick  Psychologist  ซึ่ง  Mortar  แปลว่า  ซีเมนต์ที่ผสมกับทรายได้ส่วนสัดแล้ว  Brick  หมายถึง อิฐ  พวกเหล่านี้ประกอบขึ้นเป็นตึกเหมือนจิตประกอบขึ้นจากส่วนต่าง 

               Wilhelm Max  Wundt   ผู้นำกลุ่ม  Structuralism  ได้นำเอาแบบของวิชาเคมีมาใช้ในวิชาจิตวิทยาและพยายามนำแนวคิดของนักเคมีซึ่งเน้นหนักในเรื่ององค์ประกอบของจิต”   เทียบกับองค์ประกอบของธาตุต่างๆ ของเคมี เช่น ส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสาร ซึ่งในเมื่อมวลสารทั้งหลายสามารถนำมาวิเคราะห์ออกได้เป็นอนุภาคที่เล็กมากจนเรามองไม่เห็น ดังนั้นจิตของคนนั้นก็น่าจะแยกให้เห็นจริงๆ ได้เช่นกันและเขามีแนวคิดว่า  จิต (mind)  มีองค์ประกอบอิสระต่าง ๆ  รวมกันเป็นโครงสร้างแห่งจิต  (Faculty  of  mind)  จิตมีโครงสร้างที่มาจากองค์ประกอบทางเคมี  โดยมีส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องกันมารวมกันเป็นจิต เรียกว่า  “จิตธาตุ” ( Mental  Elements )  นั่นคือนักจิตวิทยาพยายามที่จะค้นให้พบว่า จิต  (mind)  ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง  หัวข้อสำคัญที่จิตวิทยากลุ่มนี้  มุ่งศึกษาอย่างแท้จริงคือ องค์ประกอบที่สำคัญของจิตในส่วนที่เรียกว่า จิตสำนึก (The Contents of  Consciousness)  โดยเฉพาะเท่านั้น  ดังนั้นกลุ่ม  Structuralism  จึงจัดอยู่ในกลุ่มจิตวิทยา ที่เรียกว่ากลุ่มจิตนิยม  ( Mentalism )  นี้ด้วย

              ความเชื่อที่สำคัญเบื้องต้น  (Basic assumption)

                ความเชื่อที่สำคัญเบื้องต้นที่เป็นมูลเหตุให้นักจิตวิทยากลุ่ม Structuralism  มีความสนใจมุ่งศึกษาเรื่องจิตธาตุ  คือ เชื่อว่ามนุษย์ประกอบด้วยสองส่วนคือ  ร่างกาย  (body)  และจิตใจ (mind)  ซึ่งทั้งร่างกายและจิตใจต่างก็เป็นอิสระแก่กัน ต่างก็ทำงานสัมพันธ์กัน  ดังนั้นพฤติกรรม(Behavior)  ของบุคคลจึงเกิดจากการกระทำของร่างกาย  ซึ่งการกระทำของร่างกายนั้นย่อมเกิดจากการควบคุมและสั่งการของจิตใจนั่นเอง  แนวความคิดนี้เกิดจากเรื่องจิตธาตุนั่นเองแต่เนื่องจากจิตวิทยากลุ่ม  Structuralism ได้พยายามแยกองค์ประกอบของจิตหรือจิตธาตุออกมาพิจารณาเป็นส่วนย่อยๆ บางครั้ง นักจิตวิทยาทั่วๆ ไป จึงเรียกกลุ่มนี้อีกอย่างว่าจิตวิทยาที่ว่าด้วยองค์ประกอบของจิต”           ( Faculty  Psychology )

                    แนวคิดกลุ่มโครงสร้างของจิต

               กลุ่มโครงสร้างของจิตเชื่อว่าโครงสร้างของจิตประกอบด้วย จิตธาตุ (Mental  Elements)  ซึ่งจิตธาตุประกอบด้วยธาตุ  3  ชนิด  คือ  1. การรับสัมผัส  (Sensation)  2. ความรู้สึก  (Feeling)  (ภายหลังนักจิตวิทยาชื่อ  Titchener  ได้เพิ่มขึ้นมาอีกอย่างคือ จินตนาการ) 3. จินตนาการหรือมโนภาพ (Image)  เมื่อจิตธาตุทั้ง 3 ชนิดนี้มาสัมพันธ์กันภายใต้สถานการณ์แวดล้อมที่เหมาะสมก็จะก่อให้เกิดรูปจิตผสมขึ้นและจิตผสมนี้เองทำให้บุคคลเกิด ความคิด (Thinking) อารมณ์ (Emotion) ความจำ  (Memory)และการหาเหตุผลหรือสาเหตุ  (Reasoning)   และอื่นๆ เป็นต้น โดยเป็นแบบเดียวกันกับทางเคมีที่โฮโดรเจนเมื่อรวมตัวกับออกซิเจนภายใต้สัดส่วนที่เหมาะสมและความกดดันที่พอดีก็จะได้เป็นน้ำนั่นเอง  

 

   แนวคิดจิตวิทยากลุ่มโครงสร้างของจิต(Structuralism) มีอิทธิพลและบทบาทสำคัญคือ 

 

               1.  ความเชื่อในเรื่ององค์ประกอบของบุคคลซึ่งนักจิตวิทยายอมรับว่าบุคคลประกอบด้วยร่างกายและจิตใจ  โดยจิตใจยังแบ่งย่อยๆ ได้  เช่น  ส่วนที่เกี่ยวกับการคิด  ส่วนที่เกี่ยวกับความจำส่วนที่เกี่ยวกับความรักสวยรักงาม  เป็นต้น 

               2.  การยอมรับเอาระเบียบวิธีการที่ว่าด้วย การแยกจิตออกฝึกเป็นส่วน ๆ  (Method  of  Mental  of  Formal  Discipline)  สามารถนำมาใช้ในการจัดการศึกษา นักการศึกษาเชื่อว่าบุคคลมีลักษณะอย่างเดียวกับวัตถุ(Material)หรือเครื่องจักรกล หากต้องบุคคลต้องการฝึกจิตธาตุส่วนใดให้มีความสามารถต้องก็ต้องฝึกฝนเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะ เช่น  การฝึกทักษะด้านความจำบุคคลก็ต้องฝึกให้ท่องจำ ด้านการคิดต้องให้เรียนวิชาที่ส่งเสริมการคิดต่างๆ ได้แก่  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์เป็นต้น  ทั้งนี้เพราะความเชื่อที่ว่าจิตของคนเราแยกออกเป็นส่วนๆ  ดังนั้นถ้าต้องการให้ส่วนไหนมีความสามารถ มีทักษะทางใดก็ต้องมุ่งฝึกส่วนนั้นมากเป็นพิเศษบุคคลก็จะมีความชำนาญด้านนั้นๆ ตามที่ต้องการ อย่างในปัจจุบันมีการฝึกคณิตคิดเร็วใช้ชื่อเรียกต่างกันเช่น จินตคณิต เป็นต้น

                  2.  แนวคิดกลุ่มหน้าที่ของจิต  ( Functionalism ) 

               กลุ่มหน้าที่ของจิตเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อ ค.ศ.  1900  ผู้ให้กำเนิดหรือผู้นำกลุ่มหน้าที่ของจิตคือ  จอห์น   ดิวอี้  (John  Dewey.  1859 – 1952) ซึ่งดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิชาการศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยชิกคาโก  วิลเลี่ยม  เจมส์  (William  James. 1842 – 1910)  ศาสตราจารย์จิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  และวิลเลี่ยม  เจมส์  ได้เขียนตำราจิตวิทยาเล่มแรกของโลกชื่อ  Principles  of  Psychology  นอกจากนี้ยังมีนักจิตวิทยาคนสำคัญอื่นๆ อีก เช่น  วูดเวอร์ธ  (Woodworth)  และเจมส์  แองเกลล์  (James  Angell) 

               จิตวิทยากลุ่มนี้มีแนวความคิดมาจาก  ลัทธิปรัชญากลุ่มปฏิบัตินิยม  (Pragmatism)  และทฤษฎีที่สำคัญทางชีววิทยา  อันได้แก่  ทฤษฎีที่ว่าด้วยวิวัฒนาการ  (Theory  of  Evolution)  ของ Charles  Darwin  ซึ่งเขียนไว้ในหนังสือ  Origin  of  Species  เมื่อ  ค.ศ.  1859  ดังนั้นกลุ่มFunctionalism  จึงเกิดจากการรวมกันระหว่างทฤษฎีของดาร์วิน (Darwinian  theory)  กับลัทธิ ปรัชญาที่เน้นความสำคัญของการปฏิบัติจริง (Pragmatic  Philosophy)  โดยที่ทฤษฎีวิวัฒนาการอธิบายว่าสัตว์ที่ดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้ จะต้องต่อสู้และปรับตัวเองให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมที่มันอยู่เพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีความเห็นว่า ในการที่จะทำความเข้าใจให้เข้าใจถึงการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ได้  ควรต้องศึกษาถึงหน้าที่ของจิตต่อการปรับตัวภายใต้จิตสำนึกมากกว่าและกลุ่ม  Functionalism  สนใจเรื่องพฤติกรรมมาก  เรื่องที่เขาเน้นหนักจริงๆ  ได้แก่  กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์  นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีแนวคิดมุ่งหนักไปในด้านหน้าที่ของจิตที่เรียกว่า the  functions   หน้าที่ของจิตจึงสำคัญกว่าจะศึกษาองค์ประกอบโครงสร้างของจิต  แต่สนใจว่าจิตทำหน้าทีอะไร  ทำอย่างไรจึงจะศึกษาทั้งกระบวนการทางจิตและสถานะของจิตพร้อมกับอากัปกิริยาที่แสดงออกให้ปรากฏทางกาย  กล่าวคือในการศึกษาพฤติกรรมนั้นจะสนใจศึกษาทั้งอากัปกิริยาที่แสดงออกภายนอกและความรู้สึกภายใน  กระบวนการปรับตัวของร่างกายให้เหมาะกับสิ่งแวดล้อม  นอกจากนี้ยังเชื่อว่าสัญชาติญาณทำให้จิตมีหน้าที่ควบคุมการกระทำกิจกรรมต่างๆ ของร่างกาย คำว่า จิตตามความคิดของกลุ่มFunctionalism นั้นก็คือกระบวนการกระทำกิจกรรมของร่างกายในอันที่จะปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมนั้นเอง และวิชาจิตวิทยานั่นก็คือ วิชาที่ศึกษาถึงสถานะของจิตและในขณะเดียวกันการที่จะศึกษาแต่จิตและกระบวนการปรับตัวของจิตแต่อย่างเดียวยังไม่พอเพียงเราจะต้องศึกษาถึงส่วนต่างๆ ของร่างกาย  ซึ่งประกอบ ด้วยเรื่องสัญชาติญาณ  (Instinct)  ซึ่งนับเป็นหลักใหญ่ของพวก  Functionalism  นี้ด้วย  ผู้ที่จะมีความสุขในสังคมได้ก็จะต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้เป็นอย่างดี  และบุคคลจึงควรตระหนักถึงหลักสำคัญเรื่องการปรับตัวของร่างกายให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มนี้มีความเห็นว่า  การศึกษาจิตวิทยานั้น ควรศึกษาจิตสำนึกในลักษณะของการใช้ประโยชน์ นั่นคือ ศึกษาจิตในรูปของการกระทำกิจกรรมต่างๆ  ในอันที่จะทำให้มนุษย์ปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเรียนรู้ที่จะช่วยให้คนปรับตัวดีขึ้นจะเห็นว่าลักษณะสำคัญของกลุ่ม  Functionalism   มีส่วนคล้ายกับกลุ่ม  Structuralism  อยู่  2  ประการคือ  ทั้ง  2  กลุ่มต่างก็เป็นจิตวิทยาในกลุ่มจิตนิยม  (Mentalism)  และอาศัยระเบียบวิธีทางปรัชญา  (Philosophical  Psychology)  เช่นเดียวกัน  และต่างมุ่งศึกษาเฉพาะจิตที่รู้สำนึก ( Consciousness )  เช่นกัน

               ส่วนที่แตกต่างกันคือกลุ่ม  Structuralism  มีความสนใจมุ่งศึกษาให้เข้าใจส่วนประกอบของจิตหรือจิตธาตุ  ส่วนกลุ่ม  Functionalism  มุ่งศึกษาให้เข้าใจหน้าที่ของจิตกระบวนการทางสมอง เช่น การนึก  การคิด  เป็นหน้าที่ของจิตที่บัญชาให้บุคคลปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมเข้ากับตน เป็นต้นว่าบุคคลสวมเสื้อผ้าเพราะจิตสั่งให้สวมเพื่อความอบอุ่นและเข้ากับสภาพสังคม  นั่นคือ  เป็นหน้าที่หรือ  Function  ของมนุษย์ที่จะต้องทำ  สิ่งที่บังคับให้ทำก็คือความต้องการที่จะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือปรับสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตน จึงพอสรุปหน้าที่ของจิตได้ว่าจิตมีหน้าที่ในการควบคุมกระบวนการกระทำกิจกรรมต่างๆ ของร่างกายในอันที่จะปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม  Dewey  เชื่อว่า การคิดของมนุษย์มุ่งเพื่อการแก้ปัญหา  เพื่อลดความเครียดและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นถึงแม้ว่า  William  James (1842–1910)  เชื่อว่า  สัญชาตญาณ  (Instinct)  เป็นลักษณะหรือสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนเราปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ อย่างไรก็ดีแนวคิดนี้นักจิตวิทยาชื่อ  John  Dewey  (1859 – 1952) เชื่อว่าประสบการณ์  (Experience)  เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คนปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม ต่อมา R.S. Woodworth   ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับปฏิกิริยาตอบสนอง เราอาจสรุปแนวความคิดของกลุ่มหน้าที่นิยมหรือ Functionalism ได้ว่ามี  2  ประการคือ

               1.  การกระทำทั้งหมด  ( The  total  activities )  หรือการแสดงออกของคนเราเป็นการแสดงออกเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม  ดังนั้นในการศึกษาจิตใจคน  ก็ต้องศึกษาการแสดงออกของเขาในสถานการณ์นั้น ๆ 

               2. การกระทำหรือการแสดงออกทั้งหมดขึ้นอยู่หรือเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของแต่ละคน (The  experience  individual)  เสมอ  พฤติกรรมของคนจึงแตกต่างกัน

               นักจิตวิทยากลุ่มนี้จึงมุ่งศึกษาวิธีการเรียนรู้  การจูงใจ  การแก้ปัญหา  ตลอดจนความจำของคนเพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้

               แนวคิดของกลุ่ม  Functionalism  มีอิทธิพลมากต่อวงการศึกษาปัจจุบัน  เนื่องจากความ       มุ่งหมายของการศึกษาประการหนึ่งก็คือ เพื่อให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ด้วยความผาสุกและ           สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้นบุคคลต้องศึกษาเรื่องการปรับตัวให้เข้ากับสังคม การอบรมเลี้ยงดู (Socialization)  และการปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติ  เป็นปรัชญาการศึกษาซึ่งได้กลายมาเป็นจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่สำคัญว่าการศึกษาคือปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมวิธีการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์มากที่สุดจึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจ

 

              3.  แนวคิดกลุ่มพฤติกรรมนิยม  (Behaviorism)  

กลุ่มพฤติกรรมนิยมมีผู้นำของกลุ่มคือ  จอห์น  บี  วัตสัน  (John  B.  Watson, 1878 – 1958)  เป็นผู้ที่มีความคิดค้านกับแนวคิดของกลุ่มโครงสร้างของจิตที่ศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ด้วยวิธีการย้อนไปตรวจสอบตนเอง  (introspection)  เพราะเขาเห็นว่าวิธีการตรวจสอบตนเองค่อนข้างเกิดอคติได้ง่ายและยังไม่เป็นวิธีทางวิทยาศาสตร์ เพราะผลที่เกิดมักมีแนวโน้มที่เกิดจากเจตคติส่วนบุคคลไปในทางใดทางหนึ่งแล้วแต่ความรู้สึกของผู้ศึกษาเอง จอห์น  บี  วัตสัน  เห็นว่าควรใช้วิธีการที่ศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ที่เห็นได้และเขาเป็นผู้เสนอให้มีการศึกษา พฤติกรรมของมนุษย์ในด้านที่สังเกตและมองเห็นได้

               การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในแนวใหม่ของวัตสันจึงได้จัดเป็นวิธีการศึกษาในลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่กล่าวโดยสรุป  แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นว่า พฤติกรรมทุกอย่างต้องมีเหตุและสาเหตุนั้นอาจมาจากสิ่งเร้าในรูปใดก็ได้ที่มากระทบกับอินทรีย์หรือร่างกาย  จึงทำให้อินทรีย์แสดงพฤติกรรมตอบสนอง  กลุ่มพฤติกรรมนิยมจึงใช้วิธีการศึกษาพฤติกรรมด้วยวิธีการทดลอง  และการสังเกตอย่างมีระบบ และสรุปว่าการวางเงื่อนไข (Conditioning) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรมและสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้  พฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์เกิดได้จากการเรียนรู้มากกว่าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  และจากศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของสัตว์ที่ถูกทดลองสามารถช่วยให้เราเกิดความเข้าใจและเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลได้ กลุ่มแนวคิดนี้ใช้วิธีการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ด้วยวิธีการทดลองประกอบกับวิธีการสังเกตอย่างมีระบบแบบแผน    นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมนี้ศึกษาเฉพาะพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้  ดังนั้นกลุ่มนี้ จะไม่ยอมรับวิธีการศึกษาแบบสังเกตตนเองโดยกล่าวหาว่า การสังเกตตนเองไม่เป็นวิทยาศาสตร์ไม่น่าเชื่อถือ  แต่กลุ่มนี้มุ่งศึกษาเฉพาะพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้  โดยเชื่อว่าเขาจะทราบถึงเรื่อราวของจิตก็โดยการศึกษาจากพฤติกรรมที่แสดงออกเท่านั้น                

นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมได้อธิบายแนวคิดกลุ่มพฤติกรรมนิยมไว้ 3 ประการ คือ  

            1. การวางเงื่อนไข (Conditioning) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังการทดลองของ  Pavlov  และ  Skinner  เชื่อว่าสามารถใช้วิธีฝึกฝนอบรมที่เหมาะเพื่อฝึกเด็กให้มี   พฤติกรรมตามที่เราปรารถนาได้  โดยใช้วิธีการวางเงื่อนไขกับเด็ก  เพื่อให้เกิดพฤติกรรมอันเป็นผลจากการเรียนรู้มากกว่าสัญชาติญาณ  หรือคุณสมบัติอื่น ๆ  ที่ติดตัวมาแต่กำเนิด

2. พฤติกรรมของคนที่ปรากฏขึ้นส่วนมาก   เกิดจากการเรียนรู้มากกว่าจะเป็นไปเองตาม      ธรรมชาติ  ( Behaviorism  was  its  emphasis  on  Learned  rather  than  unlearned )  ดังการทดลองของ  Watson  โดยอินทรีย์ถูกวางเงื่อนไขให้แสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น  การตอบสนองนี้อาจเกิดจากกลไกของสรีระ  คือต่อมต่างๆ ประสาท  กล้ามเนื้อ  และพฤติกรรมอันสลับซับซ้อนของอินทรีย์นั้น  เป็นผลรวมของปฏิกิริยาตอบสนองย่อย ๆ  ที่เชื่อมโยงกันในรูปต่าง ๆ  ด้วยเหตุนี้จึงมีคนเรียกจิตวิทยาเชิงเร้าและการตอบสนอง  ( Stimulus    Response  Psychology ) 

               3. การเรียนรู้ของคนกับสัตว์ไม่ต่างกันมาก   การทดลองกับสัตว์เป็นการง่ายกว่าที่จะทดลองกับคนสามารถเรียนรู้เรื่องของคนโดยการศึกษาจากสัตว์ได้เป็นอันมาก เราสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของคนได้จากการศึกษา     พฤติกรรมของสัตว์  นักจิตวิทยากลุ่มนี้คือ  เอดเวิด  ธอร์นไดด์  ( Edward  Thorndike )  และ  คลาร์ก  แอล  ฮุลล์  ( Clark  L.  Hull )  จึงได้ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ขึ้นโดยอาศัยจากการทดลองกับสัตว์

               เปรียบเทียบกับกลุ่ม  Structuralism  และ  Functionalism  เห็นว่า  สองกลุ่มนั้นมุ่งศึกษาเฉพาะจิตที่รู้สึกนึกและเป็นการศึกษาจากภายใน  ของสิ่งที่มีชีวิตออกมาข้างนอก  ส่วนกลุ่ม  Behaviorism  มุ่งศึกษาเฉพาะพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้  (Observable  Behavior)  เป็นการศึกษาจากภายนอกของสิ่งที่มีชีวิตเพื่อจะเข้าใจข้างใน  โดยสองกลุ่มแรกใช้ระเบียบวิธีการสังเกตตนเอง  ( Introspection method)ซึ่งเป็นวิธีการแบบอัตนัย (Subjective  method)  ส่วนกลุ่ม  Behaviorism  ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์(Scientific  method)หรือระเบียบวิธีแบบอัตนัย(Objective method)  มุ่งปรับปรุงเนื้อหาสำคัญของวิชาจิตวิทยาให้ได้มาตรฐานเดียวกันกับวิทยาศาสตร์แขนงอื่นๆ  ให้เห็นว่า จิตวิทยาคือหมวดความรู้ที่ว่าด้วยพฤติกรรม“( Psychology as a  science  of  behavior )  เพื่อให้เข้าใจง่ายและสรุปแนวทัศนะเป็นข้อ ๆ  ดังนี้

             1. กลุ่ม  Behaviorism  ปรับปรุงใหม่ทั้งด้านเนื้อหา  ( Content  of  Subject  matter )  ระเบียบวิธี  ( Method )  เป็นวิทยาศาสตร์และเหมือนวิทยาศาสตร์แขนงอื่น ๆ              

2. มุ่งศึกษาเฉพาะพฤติกรรมที่สังเกตได้หรือสามารถวัดได้(Observable or  Measurable  Behavior )  ศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับกลไกทางสรีรวิทยา  ( Physiological  mechanisms )  เช่นการทำงานของต่อม  ระบบประสาท  กล้ามเนื้อ

               นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมแบ่งพฤติกรรมเป็น  ลักษณะ  คือ  พฤติกรรมที่มีการเคลื่อนไหวภายนอก  ( Explicit  movement )  เป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นหรือวัดได้  เช่น  การนั่ง นอน  กิน  เดิน  เป็นต้นกับ พฤติกรรมที่มีการเคลื่อนไหวภายใน  (Implicit  movement)  เป็นพฤติกรรมที่ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตานอกจากวัดด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม (Sensitive  Instruments)  เช่น  การคิด  การเกร็งของกล้ามเนื้อ การเต้นของหัวใจ การตื่นเต้นจนทำให้หัวใจเต้นแรง เป็นต้น 

               3.  ยอมรับเฉพาะระเบียบวิธีแบบปรนัย  ( Objective  Method )  หรือระเบียบวิธีที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน  นักวิทยาศาสตร์แขนงอื่น ๆ  ใช้กัน  ไม่ยอมรับวิธีการสังเกตตนเอง  ( Introspection  Method )  หรือลักษณะวิธีอัตนัย  ( Subjective  Method )  ต้องการให้ระเบียบวิธีทางจิตวิทยา                ( Psychology  Method )  เป็นสากล

               4. มุ่งเน้นศึกษาพฤติกรรมโดยเฉพาะ ต้องการให้วิชาจิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ     พฤติกรรม จึงมีการทดลองต่างๆเพื่อเทียบเคียงพฤติกรรมของมนุษย์ว่าที่บุคคลแสดงพฤติกรรมเช่นนี้เป็นเพราะเหตุผลใด

               5. ยอมรับเฉพาะข้อมูล ( Data )  ที่ได้จากระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น  นำเอาระเบียบวิธีการสังเกตพฤติกรรม  ( Behavior  method )  มาใช้เป็นสำคัญ  ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต  ผู้สังเกตจะต้องบันทึกเฉพาะปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง พบเห็นจริง ๆ  เท่านั้น  ไม่บันทึกความรู้สึกลงไปด้วย

               กลุ่ม  Behaviorism  ประกอบด้วยกลุ่มย่อยๆ หลายกลุ่ม  เช่น

1.  กลุ่มที่อาศัยความรู้ความเข้าใจเรื่องสมอง (Cerebrology)  กลุ่มนี้นำเอาความรู้ความเข้าใจในวิชาสรีรวิทยาใช้ในการอธิบายเรื่องพฤติกรรม  เชื่อว่าอวัยวะนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญและทำหน้าที่ในการแสดงพฤติกรรมได้แก่  สมอง  หรือ  ระบบประสาทส่วนกลาง

               2. กลุ่มที่อาศัยความรู้ความเข้าใจในเรื่องปฏิกิริยาสะท้อน  (Reflexology)  มุ่งศึกษา      พฤติกรรมง่าย ๆ  และการแสดงปฏิกิริยาสะท้อน  (Reflex)  เช่น  การศึกษาเรื่องการเกิดปฏิกิริยาตอบ  สนอง  หรือการเกิดปฏิกิริยาสะท้อนแบบวางเงื่อนไข  (Conditioned  Response  or Reflex) 

การแสดงปฏิกิริยาสะท้อน  (Reflex)  ย่อมต้องอาศัยสิ่งเร้า  (Stimulus)  ทำหน้าที่กระตุ้นให้สิ่งมีชีวิตแสดงปฏิกิริยาสะท้อนออกมา  อินทรีย์  (Organism)  อันมีประสาทสัมผัส  (Receptor หรือ Sensory  neurons)  ทำหน้าที่รับการเร้าจากสิ่งเร้าแล้วรายงานไปยังประสาทส่วนกลาง  ประสาทที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว  (Effectors  หรือ  Motor  neurons)  ทำหน้าที่บงการหรือก่อให้เกิดการแสดงปฏิกิริยาตอบสนองสิ่งเร้า 

                การวางเงื่อนไขสามารถนำมาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ สัตว์ต่างๆ ได้หลายชนิด สุนัข ช้าง เสือหรือแม้แต่ สัตว์ที่เราหลายคนมักคิดว่าไม่เชื่องก็นำมาฝึกได้

 

4.  แนวคิดกลุ่มจิตวิเคราะห์  (Psychoanalysis)  

กลุ่มจิตวิเคราะห์มีผู้นำแนวคิดคนสำคัญคือ ซิกมันต์  ฟรอยด์  ( Sigmund  Freud )  เป็นจิตแพทย์ชาวเวียนนา  ได้ศึกษาวิเคราะห์จิตของมนุษย์และอธิบายว่า  พลังงานจิตทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์มี  3  ลักษณะ

            1.  จิตสำนึก  ( Conscious  Mind )  หมายถึง  ภาวะจิตที่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา

            2.  จิตกึ่งสำนึก  ( Sub consciousus  Mind )  หมายถึง  ภาวะจิตที่ระลึกได้

3.  จิตไร้สำนึก  (Unconscious Mind) หมายถึง ไม่อยู่ในภาวะที่รู้ตัว 

ฟรอยด์อธิบายว่าโครงสร้างทางจิตประกอบด้วย  3 ส่วนสำคัญ Id ,Ego และ Superego ดังมีรายละเอียดคือ  

1.  อิด  (Id)  หมายถึง  ตัณหา  หรือความต้องการพื้นฐานของมนุษย์  เป็นสิ่งที่ยังไม่ได้   ขัดเกลา  ซึ่งทำให้มนุษย์ทำทุกอย่างเพื่อความพึงพอใจของตน  หรือทำงานตามหลักของความพอใจ (Law  of  Pleasure)  โดยไม่คำนึงถึงสิ่งใด  เปรียบเสมือนสันดานดิบของมนุษย์  ซึ่งแบ่งออกเป็นสัญชาติญาณแห่งการมีชีวิต (Life  Instinct)  เช่น  ความต้องการอาหาร  ความต้องการทางเพศ  ความต้องการหลีกหนีจากอันตรายกับสัญชาติแห่งการตาย  (Death  Instinct)  เช่น  ความต้องการที่รุนแรง ความก้าวร้าว  หรือการทำอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น  เป็นต้น

2.  อีโก้  (Ego)  หมายถึง  ส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมที่เกิดจากความต้องการของ  id  โดยอาศัยกฎเกณฑ์ทางสังคม  และหลักแห่งความจริง  (Reality  Principle)  มาช่วยในการตัดสินใจไม่ใช่แสดงออกตามความพอใจของตนเพียงอย่างเดียว  แต่ต้องคิดแสดงออกอย่างมีเหตุมีผลด้วย

3. ซุปเปอร์อีโก  (Super  Ego)  หมายถึง  มโนธรรมหรือจิตส่วนที่ได้รับการพัมนาจากประสบการณ์ การอบรมสั่งสอนหรือกระบวนการสังคมประกิต  โดยอาศัยหลักการศิลธรรมจรรยา  ขนบธรรมเนียมประเพณี  และค่านิยมต่าง ๆ  ในสังคมนั้น  Super  Ego  จะเป็นตัวบังคับและควบคุมความคิดให้แสดงออก  ในลักษณะที่เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  โครงสร้างจิต 3 ระบบนี้  มีความสัมพันธ์กัน  ถ้าทำงานสัมพันธ์กันดี  การแสดงออกหรือบุคลิกภาพก็เหมาะสมกับตน  แต่ถ้าโครงสร้างทั้ง  3  ระบบ  ทำหน้าที่ขัดแย้งกันบุคคลก็จะมีพฤติกรรมหรือบุคลิกภาพที่ไม่ราบรื่นผิดปกติหรือไม่เหมาะสม แนวความคิดกลุ่มนี้เชื่อในเรื่องจิตไร้สำนึก  (Unconscious Mind)  ซึ่งอยู่ระหว่างจิตสำนึกที่รู้ตัว มีสติสัมปชัญญะ  กับจิตไร้สติสัมปชัญญะ  หรือที่เรียกว่า  จิตไร้สำนึกนี้จะรวบรวมความคิด  ความต้องการ  และประสบการณ์ที่ผู้เป็นเจ้าของจิตไม่ต้องการ  หรือไม่ปรารถนาจะจดจำจึงเก็บกดความรู้สึกต่าง ๆ  เหล่านี้ไว้ให้อยู่ในจิตส่วนนี้และหากความคิด  ความต้องการ  หรือความรู้สึกต่างๆ  ทีบุคคลเก็บกดไว้ยังมีพลังอยู่  ถ้าเกิดมีสิ่งใดมากระตุ้นขึ้น  พลังที่ถูกเก็บไว้จะแสดงอิทธิพลทำให้บุคคลเกิดพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่รู้สึกตัว อนึ่ง  ประสบการณ์ชีวิตในวัยเด็ก  โดยเฉพาะช่วงแรกเกิดถึง  5  ขวบ  ที่เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูที่เด็กได้รับจะฝังแน่นอยู่ในจิตไร้สำนึกและอาจจะแสดงเมื่อถูกกระตุ้นโดยเฉพาะในวัยผู้ใหญ่ นอกจากนี้ฟรอยด์ก็ได้กล่าวถึงพัฒนาการของมนุษย์ไว้อีกด้วย

              พัฒนาการบุคลิกภาพ

ตามแนวคิดของ ฟรอยด์ แบ่งการพัฒนาการบุคลิกภาพออก เป็น  5 ขั้น ดังนี้

               1.  ขั้นปาก  (Oral  Stage)  แรกเกิด 1 – 2  ขวบ  หมายถึง  ความสุข  และความพอใจของเด็กจะอยู่ที่ได้รับการตอบสนองทางปาก  เช่น  การดูดนม  การสัมผัสด้วยปากหาเด็กได้รับการตอนสนองเต็มที่  เด็กก็จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกภาพเหมาะสมหากตรงกันข้ามเด็กจะเกิดความชะงัก  ถดถอยหรือการยึดติด (Fixation)และมาแสดงพฤติกรรมในช่วงนี้อีกในวัยผู้ใหญ่  เช่น  ชอบนินทาว่าร้าย  สูบบุหรี  กินจุบกินจิบ  เป็นต้น

               2.  ขั้นทวารหนัก  (Anal  Stage)  อายุ  2 – 3 ขวบ  หมายถึงความพอใจอยู่ที่การขับถ่ายเมื่อมีวุฒิภาวะ  ฉะนั้น  การฝึกฝน  ฝึกหัด  การขับถ่ายอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยวิธีผ่อนปรนและประนีประนอม  และให้เรียนรู้การขับถ่ายเป็นเวลา  จะทำให้เด็กไม่เกิดความเครียด  และสามารถพัฒนาบุคลิกภาพที่เหมาะสมได้  ตรงกันข้ามหากเด็กได้รับการลงโทษ  และฝึกหัดด้วยวิธีรุนแรงจะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกไม่พอใจ  และเก็บความรู้สึกที่ไม่ดีไว้ที่จิตไร้สำนึก  และจะมีผลต่อบุคลิกภาพในเวลาต่อมา กล่าวคือเป็นคนขี้เหนียว  เจ้าระเบียบ  ชอบทำร้ายให้ผู้อื่นเจ็บปวด  ชอบย้ำคิดย้ำทำ  เป็นต้น

               3.  ขั้นอวัยวะเพศ  (Phallic  Stage)  อายุ  3 – 5 ขวบ  หมายถึงความสนใจของเด็กจะเปลี่ยนมาสนใจเกี่ยวกับอวัยวะเพศ  มักถามว่าตนเกิดมาจากทางไหน  ฯลฯ  ในขั้นนี้เด็กจะรักพ่อแม่ที่เป็นเพศ ตรงข้ามกับตน  และลักษณะเช่นนี้  ทำให้เด็กเลี่ยนแบบบทบาททางเพศจากพ่อหรือแม่ที่เป็น  ตัวแบบ  หากพ่อแม่ปฏิบัติตามบทบาทที่ดี  เหมาะสมเป็นตัวแบบที่ดี  เด็กก็จะเลียนแบบและพัฒนา   บทบาททางเพศของตนได้อย่างดี  แต่ถ้าเกิดการติดตรึง  (Fixation)  ในขั้นนี้  เมื่อโตขึ้นอาจมีพฤติกรรมต่าง ๆ  เช่น  รักร่วมเพศ  (Homosexuality)  กามตายด้าน  (Impotence)  ชาเย็นทางเพศ  (Frigidity)  เป็นต้น                     

               4.  ขั้นแฝง  (Latency  Stage)  อายุ  6 – 12  ขวบ  หมายถึงเป็นระยะก่อนที่เด็กจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วัยรุ่น  จะมีความสนใจในเพื่อนเพศเดี่ยวกัน

             5.  ขั้นวัยรุ่น  (Genital  Stage)  อายุ  13 – 18  ขวบ  หมายถึงเด็กหญิงจะเริ่มมีความสนใจเด็กชายและเด็กชายก็เริ่มมีความสนใจเด็กหญิง ในช่วงนี้จะเป็นระยะที่จะมีความสัมพันธ์ระหว่างเพศอย่างแท้จริง 

               นักจิตวิทยากลุ่มนี้เชื่อว่าพฤติกรรมทั้งหลายมีสาเหตุเกิดจากพลังผลักดันทางเพศ  ความคิดคิดเช่นนี้ได้รับการต่อต้านอย่างมากในระยะแรก ๆ  แต่ต่อมาหลักการทางจิตวิเคราะห์ก็ได้รับการยอมรับในการนำไปใช้ในวงงานของจิตแพทย์  หรือการบำบัดรักษาอาการที่ผิดปกติทางอารมณ์และจิตใจ  กลุ่มนี้ใช้วิธีการศึกษาด้วยระบบความในใจอย่างเสรี  (Free  Association)  อย่างไรก็ดีในที่นี้จะเปรียบเทียบกลุ่มจิตวิเคราะห์กับกลุ่มโครงสร้างทางจิตและหน้าที่ทางจิต

กลุ่ม  Psychoanalysisเชื่อว่าจิตไร้สำนึก  ( Unconscious  mind ) บทบาทสำคัญต่อการแสดงพฤติกรรมของ  มนุษย์เป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดพลังทางจิตที่ ก่อให้เกิดการแสดงพฤติกรรมมีความเห็นว่าการที่มนุษย์แสดงพฤติกรรมออกไปนั้นจะถือว่าเป็นการกระทำตามหลัก แห่งเหตุ (Rational  behavior)  ก็ไม่ใช้หรือ       จะถือว่าเป็นการกระทำเพื่อให้สอดคล้อง  กับหลักแห่งศีลธรรม(Moral  behavior)ก็ไม่       เชิงเพราะเหตุว่า  พฤติกรรมของมนุษย์นั้น   เกิดจากพลังของจิตที่ไร้สำนึก 

กลุ่ม  Structuralism / Functionalism ถือว่าจิตรู้สำนึก  ( Conscious  mind )  มีบทบาทสำคัญมากที่สุดในการแสดงพฤติกรรมของบุคคลและถือเป็นแหล่งพลังที่      ก่อให้เกิดการแสดงพฤติกรรมมีความเห็นว่า  มนุษย์คือสัตว์สังคมย่อมประกอบขึ้นด้วยองค์ประกอบทางด้านศีลธรรมและวัฒนธรรมพฤติกรรมของบุคคล  จึงเป็นกระบวนวิธีที่อาศัยสติปัญญาหรือการกระทำที่ประกอบไปด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดี  มีเหตุมีผล

            เหตุที่ทฤษฎีของ  Freud  ถูกคัดค้านโจมตี

               1.  ถูกโจมตีว่ามองโลกในแง่ร้าย  (Pessimistic)  เพราะใช้ถ้อยคำแปลก  เช่น  Freud  กล่าวว่า  “ จุดมุ่งหมายของชีวิตคือความตาย “  (The  goal  of  all  life  is  death)  ใช้ศัพท์ถ้อยคำชวนมองโลกในแง่ร้าย  เช่น  สัญชาติญาณแห่งความตาย  (Death  instincts)  สัญชาติญาณแห่งการดำรงพันธุ์ (Sexual  instincts)  การก้าวร้าว  (Aggression)  ความรู้สึกสำนึกในความคิด  (Guilt) 

               2.  กลุ่มทดลองมีขอบเขตจำกัด  เพราะ  Freud  สังเกตพฤติกรรมของชาวยุโรปซึ่งมีฐานะ  ปานกลางที่ค่อนข้างสูง  หรือระดับสูง  (The  upper  middle  or  the  upper  class  Europeans)   จึงถือว่าทฤษฎีของ  Freud  เป็นจริงสำหรับบางสังคมเท่านั้น  ไม่จริงสำหรับบุคคลในสังคมทั่วไป

               3.  ทฤษฎีของ  Freud  ไม่คงที  (Dynamics)  ไม่แน่นอนตายตัว  เพราะ  Freud  ได้พยายามค้นคว้าและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและความไม่ชัดเจนของคำอธิบายที่  Freud  สร้างขึ้น    

                5.   แนวคิด กลุ่มจิตวิทยาเกสตอล (Gestalt  Psychology)  

               กลุ่มจิตวิทยาเกสตอล  แนวความคิดกลุ่มนี้  เกิดในประเทศเยอรมันนีราวปี  ค.ศ. 1912  คำว่า  Gestalt  เป็นภาษาของเยอรมัน  แปลว่า  “โครงรูปแห่งการรวมหน่วย”  ผู้นำของกลุ่มนี้  คือ  แมกซ์  เวิทโฮเมอร์    ( Max  Wertheimer 1880 – 1943 )  และมีผู้ร่วมงานคือ  เคิท  คอฟก้า   ( Kurt  Koffka 1886 – 1941 )  วูล์ฟแกงเคอเลอร์  ( Wolfkang  Kohler )  ภายหลังบุคคลเหล่านี้ได้อพยพมาอยู่ในอเมริกา  แนวความคิดที่สำคัญของนักจิตวิทยากลุ่มนี้คือ  การพิจารณา   พฤติกรรมหรือประสบการณ์ของคนเป็นส่วนรวมซึ่งส่วนรวมนั้นมีค่ามากกว่าผลบวกของส่วนย่อย ๆ  ต่าง ๆ  มารวมกัน  เช่น  คนนั้นมีค่ามากกว่าผลบวกของส่วนย่อยต่าง ๆ  เช่น  แขน  ขา  ลำตัว  สมอง  เป็นต้น

              แนวคิดของกลุ่มนี้เชื่อว่า ในด้านการรับรู้ของบุคคลนั้นบุคคลจะลักษณะในรูปของการรับรู้ในส่วนรวม  (The  whole)  เช่น  สนามหญ้าเรามองเห็นเป็นสนาม  เพราะเราไม่มองต้นหญ้าแต่ละต้นที่มาอยู่รวมกัน  แต่เรามองพื้นที่และรูปร่างทั้งหมด

               คำว่าเกสตอล  (Gestalt)  มาจากภาษาเยอรมัน  ซึ่งหมายถึงส่วนร่วมทั้งหมดกลุ่มนี้มีแนวคิดว่า  การเรียนรู้เกิดได้จากการจัดสิ่งเร้าต่าง ๆ  มารวมกัน  เริ่มต้นด้วยการรับรู้โดยส่วนรวมก่อน  แล้วจึงจะสามารถแยกวิเคราะห์เรื่องราวเรียนรู้ส่วนย่อยที่ละส่วนต่อไป  (Field  Theory)  และยังคงใช้หลักการเดียวกัน  นั่นก็คือ  การเรียนรู้ของบุคคลจะเป็นไปได้ด้วยดีและสร้างสรรค์ถ้าเขาได้มีโอกาสเห็นภาพรวมทั้งหมดของสิ่งที่จะเรียนเสียก่อนเมื่อเกิดภาพรวมทั้งหมดแล้ว  ก็เป็นการง่ายที่บุคคลนั้นจะเรียนสิ่งที่ละเอียดปลีกย่อยต่อไป

แมกซ์  เวิทโฮเมอร์    (Max  Wertheimer)  และมีผู้ร่วมงานคือ  เคิท  คอฟก้า   (Kurt  Koffka)  วูล์ฟแกงเคอเลอร์  (Wolfkang  Kohler)ได้คิดค้นไฟฟ้าที่อยู่นิ่งๆ ดูเหมือนเคลื่อนไหวได้วิธีการของเขาคือเปิดหลอดไฟฟ้าไว้ 3 ดวง หลอดไฟ 2 ดวงเปิดไว้ตลอดเวลาแต่อีกดวงหนึ่งเปิดและเปิดในเวลาห่างกันเล็กน้อยทำเช่นนี้ซ้ำๆ ภาวะการณ์นี้ทำให้เราเห็นเหมือนไฟฟ้าเคลื่อนไหวได้เรียกว่า Phi phenomenon (ปัจจุบันนี้เรียกว่า apparent motion) จีราภา เต็งไตรรัตน์(2547: 16)

นักจิตวิทยาทั้งสามท่านอธิบายว่า การให้คำอธิบายการเคลื่อนไหวได้ของไฟฟ้าในการทดลองดังกล่าวไม่สามารถอธิบายโดยแยกอธิบายเฉพาะเพียงเกิดจากหลอดไฟ 2 ดวงหรือ 1 ดวง แต่เป็นการรับรู้หลอดไฟทั้งสามดวงพร้อมกันทั้งหมดซึ่งเรียกในภาษาเยอรมันว่า “Gestalt” 

ปัจจุบันได้มีผู้นำเอาวิธีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์มาใช้อย่างกว้างขวางโดยเหตุที่เชื่อในผลการศึกษาค้นคว้าที่พบว่า  ถ้าให้เยาวชนได้เรียนรู้โดยหลักของเกสตอลแล้ว  เด็กเหล่านี้จะมีสติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์และความรวดเร็วในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น หลักสำคัญของการเรียนรู้ของแนวคิดจิตเกสตอล  ประกอบด้วย การรับรู้และการหยั่งเห็น  ดังอธิบายคือ

               1.  การรับรู้ ( Perception )  หมายถึง  การแปลความหมายหรือการตีความจากสิ่งเร้าที่สัมผัส  การรับรู้นี้มีองค์ประกอบที่สำคัญ  คือ 

                     1.1  ภาพ  ( Figure )  หมายถึง  ส่วนสำคัญที่ต้องการเน้นให้เกิดการรับรู้

1.2       พื้น ( Ground )  หมายถึง  ส่วนประกอบที่ทำให้ภาพชัดเจนขึ้น

                ต่อมาในระยะหลังแนวคิดจิตวิทยาเกสตอล จัดเป็นแนวคิดที่มีอิทธิพลต่อจิตวิทยาหลายสาขา เช่น จิตวิทยาการบำบัด จะใช้แนวคิดของจิตวิทยาเกสตอลเป็นอย่างมาก วิธีการที่ใช้คือ คือ การสังเกตแบบปรากฏการณ์ หรือเรียกว่า Phenomenology เป็นการพิจารณาจากสิ่งที่เป็นธรรมชาติที่ปรากฏให้เราเห็น  อย่างไรก็ดีแนวคิดจิตวิทยาเกสตอลสนใจเรื่อง การศึกษาพฤติกรรมมนุษย์จะศึกษามนุษย์ทั้งหมดที่เป็นตัวเขา

2.  การหยั่งรู้  (Insight)  หมายถึง  การเรียนรู้หรือแก้ปัญหาได้โดยการตระหนักรู้ด้วยตนเองอย่างทันทีทันใด  สามารถมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการซึ่งความสามารถในการหยั่งรู้ของบุคคลขึ้นอยู่ประสบการณ์ที่เคยมีมาก่อนซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับปัญหาที่ต้องขบคิดนั้นดังแสดงใน  

 

                 แนวคิดกลุ่มมนุษยนิยม (  Humanism  )

 กลุ่มมนุษยนิยมมีผู้นำที่สำคัญในกลุ่มคือ  คาร์ล  อาร์  โรเจอร์ส   (Carl R. Rogers) และ 

อับบราฮัม  เอ็ช  มาสโลว์  ( Abraham H. Maslow ) 

               ความเชื่อเบื้องต้น ของนักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)คือ 

               1.  เชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์โลกประเภทหนึ่งที่มีจิตใจ  มีความต้องการความรัก  มีความต้องการความอบอุ่น  มีความเข้าใจ  มีความสามารถเฉพาะตัว  มีขีดจำกัด  ไม่สามารถจะเสกสรรปั้นแต่งให้เป็นอะไรก็ได้ตามใจชอบและมนุษย์มีความดีงามติดตัวมาแต่กำเนิด  ซึ่งกลุ่มนี้มีแนวคิดแตกต่างจากกลุ่มพฤติกรรมนิยมที่เห็นว่าเราสามารถกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยกันได้

               2. เชื่อว่ามนุษย์เราทุกคนต่างก็พยายามจะรู้จักและเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ( Self  actualization )  และยอมรับในสมรรถวิสัยของตนเอง 

               แนวความคิดจากกลุ่มนี้  เป็นที่ยอมรับและใช้เป็นหลักในบริการแนะแนว  ( Guidance  service )  และยังนำหลักการไปปรับใช้ในด้านการเรียนการสอน  การพัฒนาหลักสูตรเน้นให้นักเรียนรู้จักเสาะแสวงหาความรู้ตนเองให้มีอิสระ  เสรี  ในเรื่องการพูด  คิด  ทำ  สามารถจะสนองความต้องการและความสนใจ  ในการสอนก็ตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล  กิจกรรมทุกอย่างถือว่าเด็กเป็นศูนย์กลาง  ครูเป็นเพียงผู้ให้บริการและประสานงานแนวคิดของกลุ่มมนุษย์นิยมเป็นปัจจัยสำคัญกำหนดบทบาท ท่าที  บุคลิกภาพของครูให้วางตัวเป็นตนเองกับเด็กมีสัมพันธภาพที่ดีต่อเด็ก

               3.  มีความเชื่อว่า  ในเมื่อมนุษย์เราทุกคนต่างก็เข้าใจผู้อื่น  และยอมรับตนเองอยู่แล้วต่างคนก็มุ่งสร้างย่อมเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้แก่ตนเอง

               4.  เนื่องจากมนุษย์เราแต่ละคนต่างพยายามปรับปรุงตนเอง  ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ฉะนั้นควรจะให้คนมีสิทธิ์อิสระที่จะเลือกกระทำ  เลือกประสบการณ์ของตนเอง  กำหนดความต้องการของ   ตนเอง  ตัดสินใจใด ๆ  ด้วยตนเอง

               5.  มีความเห็นว่า  วิธีการค้นคว้าเสาะแสวงหาความรู้หรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ  เป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญนำความรู้และข้อเท็จจริง  เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  ตัวของความรู้หรือตัวข้อเท็จจริงเองที่ตายตัว  ฉะนั้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่ออนาคตของผู้เรียนมากที่สุดก็คือกรรมวิธีในการเสาะแสวงหาความรู้

จิตวิทยากลุ่มต่าง ๆ  ต่างก็มีบทบาทในการศึกษา  เพื่ออธิบายพฤติกรรม  ส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพขึ้นแต่อย่าเข้าใจว่าลำพังวิชาจิตวิทยาอย่างเดียวจะทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ได้แจ่มแจ้ง  วิชาจิตวิทยาเป็นเพียงกฎเกณฑ์พื้นฐาน  เป็นรากฐานในการที่จะศึกษาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง  เช่น  การแนะแนว  การวัดผล  เป็นต้น  เพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้นขอสรุปแนวคิดกลุ่มต่างๆ ทางจิตวิทยาทั้ง 6 กลุ่ม

ทำเนียบวัดจังหวัดมุกดาหาร