เปรียบเทียบจิตวิทยาตะวันตกกับจิตวิทยาในพระไตรปิฎก
(พุทธจิตวิทยา/จิตวิทยาเชิงพุทธ)
จิตวิทยาตะวันตก
ในโลกตะวันตก วิชาจิตวิทยา
(Psychology) เป็นศาสตร์ที่แยกจาก สรีรวิทยา และ ปรัชญา อย่างชัดเจนเป็นเอกเทศ
เมื่อปี ค.ศ. 1879 โดยศาสตราจารย์ชาวเยอรมันแห่ง
มหาวิทยาลัยไลป์ซิค (Leipzig) วิลเฮลม์ วุนดท์
(Wilhelm Max Wundt) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งทฤษฎี กลุ่มโครงสร้างของจิต
(Structuralism) ที่มีแนวคิดว่า จิตวิทยามีหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์ลึกลงไป
ในพื้นฐานโครงสร้างความสัมพันธ์และการทำงานของจิต โดยศึกษาให้เข้าใจความรู้สึก มโน
ภาพ การสัมผัส เป็นต้น จากนั้นก็มีกลุ่มจิตวิทยาอื่นๆ ทฤษฎีอื่นๆ ตามมา เช่น กลุ่มหน้าที่ของ
จิต (Functionalism) ซึ่งไม่ให้ความสนใจเรื่องโครงสร้างของจิต
แต่ศึกษาระบบการทำงานของ จิต โดยมีวิลเลียม เจมส์ (William James) จอห์น ดิวอี (John Dewey) เป็นผู้ที่มีบทบาทในกลุ่ม นี้
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ศึกษาเพื่อสามารถอธิบาย
ทำนาย และ ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ บนพื้นฐานความเข้าใจว่า แรงกระตุ้น สิ่งแวดล้อม
กำหนด พฤติกรรม โดยไม่ให้ความสนใจต่อเรื่องจิตสำนึก
อีกกลุ่มที่รู้จักกันดี คือ กลุ่มจิตวิเคราะห์
(Psychoanalysis) ซึ่งนำโดยซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Frued) เห็นว่า จิตไร้สำนึก (unconscious mind) กำหนดพฤติกรรมของคน
และ ศึกษาเพื่อเข้าใจบุคลิกภาพปกติ และอปกติ ด้วยการศึกษากรณีอปกติ อีกทั้งเห็นว่า
บุคลิกภาพ แรงจูงใจ ความผิดปกติของจิตใจ ล้วนมาจากจิตไร้สำนึก ในขณะที่กลุ่มเกสตัลท์
(Gestalt) ศึกษาเพื่อเข้าใจจิตสำนึกแบบองค์รวม หรือ กลุ่มมนุษย์นิยม
(Humanism) ที่มี เป้าหมายเพื่อมนุษย์บรรลุความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์
โดยเน้นอิสระ และศักยภาพของ มนุษย์ หรือกลุ่มที่ศึกษาเรื่องพัฒนาการการเรียนรู้ เช่น
เพียเจ (Piaget) เป็นต้น
จิตวิทยาตะวันตก ศึกษาสิ่งที่แสดงออกมาซึ่งเป็นผลของจิตใจ ทั้งในแง่ความรู้สึก
การสัมผัส มโนภาพ กิจกรรม หรือพฤติกรรมที่แสดงออก บุคลิกภาพ ความสามารถ ความจำ
1.
พฤติกรรมของคนและสัตว์
2. เบื้องหลังหรือสาเหตุแห่งพฤติกรรมนั้นๆ เพื่อหาทางป้องกัน หรือแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึง
ประสงค์ เช่น นาย ก. มีพฤติกรรมก้าวร้าว นักจิตวิทยาตะวันตกแต่ละกลุ่มก็จะมีความเห็น
แตกต่างกันในเรื่องสาเหตุของปัญหาข้างต้น แต่ละกลุ่มก็จะนำทฤษฎีของตนมาอธิบาย สาเหตุของพฤติกรรมนั้น
และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นๆ ซึ่งแนวคิดของนักจิตวิทยา ตะวันตกที่แตกกลุ่มกันออกไปนี้
มีแนวคิดที่ต่างกัน 3 ประการ คือ
ต่างกันในปัญหาที่สนใจ
ต่างกันในวิธีการที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
ต่างกันในแง่ทฤษฎีหรือกฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นเพื่ออธิบายพฤติกรรมของมนุษย์
วิธีการของนักจิตวิทยาตะวันตก อาจใช้เครื่องมือต่างๆ
สังเกต ทดลอง สรุปผลเป็น ทฤษฎี บางครั้งทฤษฎีทั้งหลายเหล่านั้นก็ขัดแย้งกัน หรือเน้นไปแต่ละด้านต่างกัน
แต่ใช้วิธี ตรวจสอบ สรุปผลชัดเจนเป็นวัตถุธรรม ความแตกต่างที่แทบจะเป็นตรงกันข้ามกันในบางครั้งนี้
ทำให้เราไม่อาจยึดกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ เพราะไม่มีกลุ่มใดที่กล่าวถึงพฤติกรรมหรือจิตใจ
ของมนุษย์อย่างสมบูรณ์
จุดมุ่งหมาย
และประโยชน์ของการศึกษาจิตวิทยาตะวันตก
1. ให้เข้าใจธรรมชาติของคน เช่น
ก. อะไรเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เช่น อับราฮัม มาสโลว์
(Abraham Maslow) ซึ่งเป็นบิดาทางพฤติกรรมศาสตร์ เห็นว่ามนุษย์มีความต้องการลำดับต่างๆ
5 ลำดับ ได้แก่
(1)
ความต้องการทางร่างกาย (Physical needs)
(2)
ความมั่นคงปลอดภัย (Safety needs)
(3)
ความรัก ความมีเจ้าของ (Love and Belonging needs)
(4)
ความภูมิใจในตน (Self-esteem needs)
(5)
ความรู้สึกมีคุณค่า (Needs for self-actualization)
ข. ให้รู้ว่าคนมีวิธีแก้ปัญหา และปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร คนรู้สึกอย่างไร
เมื่อสามารถและไม่สามารถตอบสนองความต้องการ
ค.อะไรเป็นสาเหตุให้คนมีพฤติกรรมต่างกัน
เป็นต้น
1.
ช่วยแก้ปัญหาจิตใจของตนเอง รักษาสุขภาพจิตของตนเอง
ในระยะแรกเริ่มนั้น จิตวิทยา ศึกษาเกี่ยวกับโรคทางจิตประสาท เพื่อแก้ปัญหาความเจ็บป่วยทางจิตใจ
โดยศึกษาเพื่อให้ เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์ แล้วพัฒนาเป็นทฤษฎีขึ้นมา เช่น
กลุ่มของวุนด์ ต่อมาจึงเปลี่ยนแปลงมาศึกษา และใช้จิตวิทยาในทางอื่นๆ เช่น เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
พัฒนาเกี่ยวกับแรงจูงใจ บุคลิกภาพ เป็นต้น
2. ให้เข้าใจและปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ มีมนุษย์สัมพันธ์กับคนทุกประเภท
เป็นคนมี สุขภาพจิตดี
สำหรับจิตวิทยาตะวันตก การมีสุขภาพจิตดีคือสามารถปรับตัวให้เข้ากับ
องค์การอนามัยโลก ให้ความหมายสุขภาพจิตที่ดี คือ
มีความสามารถที่จะปรับตัวให้มีความสุขกับสังคมและสิ่งแวดล้อม
มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อคนอื่น ดำรงชีวิตอยู่อย่างสมดุลสุขสบาย
สนองความต้องการของตนเองโดยไม่มีความขัดแย้งในใจ
ไม่เป็นโรคจิต โรคประสาท
จิตวิทยาในพระไตรปิฎก
ธรรมะที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้กว่า 2,500 ปีมาแล้วนั้น ล้วนเกี่ยวกับกาย และจิตของมนุษย์ ชีวิตประกอบด้วยรูปขันธ์ และนามขันธ์
คือกาย และใจ (จิต) การศึกษาพุทธ จิตวิทยา
คือศึกษาเกี่ยวกับจิต และความสำคัญของจิตที่มีต่อกายต่อการเป็นสิ่งมีชีวิต ในทาง พุทธศาสนา
จิตสำคัญกว่ากาย มีบทบาทมาก เพราะจิตเป็นต้นกำเนิดของการประพฤติดี – ชั่ว ทางกาย วาจา ความเศร้าหมองหรือผ่องใสของจิตมีผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ
จิตยัง สามารถทำให้เราไปเกิดในที่ดี (สุคติ) หรือไม่ดี (ทุคติ) ได้อีกด้วย ดังปรากฏในพระไตรปิฎก
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ วัตถูปมสูตร (12/70) ความว่า
…
“…เมื่อจิตเศร้าหมอง ทุคติเป็นอันหวัง……เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง
สุคติเป็นอันหวังได้…”
จิตจึงมีผลทั้งชาตินี้
ชาติหน้า ชาติต่อๆ ไป และเกี่ยวข้องกับการเกิดใหม่อย่างหลีกไม่พ้น
ในฝ่ายจิตวิทยาตะวันตก
เมื่อศึกษาจิตและพฤติกรรมไม่ได้กล่าวไปถึงชาติหน้า ภพภูมิ ข้างหน้า หรือการเวียนว่ายตายเกิด
แต่จะมุ่งกล่าวถึงพฤติกรรมของจิตที่แสดงออกมาเป็น บุคลิกภาพ อุปนิสัย ฯลฯ ไม่กล่าวถึงจิตโดยตรง
และพยายามศึกษาสาเหตุแห่งอุปนิสัย บุคลิกภาพที่ไม่พึงประสงค์และพึงประสงค์ว่า มีปัจจัยใดที่สามารถควบคุม
หรือแก้ไขให้ได้ พฤติกรรม หรือบุคลิกภาพที่ประสงค์เป็นที่พึงพอใจนั้น จึงศึกษาทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อม
สมอง ฯลฯ ซึ่งคิดว่ามีผลต่ออุปนิสัย พฤติกรรม ฯลฯ ของมนุษย์
แต่พุทธศาสนาไม่ได้เห็นจิตเป็นเพียงสมอง หรือกล้ามเนื้อหัวใจ
จิตเป็นธรรมชาติที่รู้ อารมณ์ เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ แต่มีลักษณะ มีอำนาจต่างๆ สามารถควบคุม
หรือพลิก ผันชีวิตมนุษย์ได้
ดังจะกล่าวในบทต่อๆ
ไปโดยละเอียด
เป้าหมายของการพัฒนาจิตตามแนวพุทธ
มี 3 ระดับ คือ
1.ระดับต้น คือ ภาวะที่จะสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ปกติสุข ปรับตัวให้เข้ากับตนเองและคนอื่นได้
อย่างถูกต้องเหมาะสม(ศีล)
2.ระดับกลาง คือ นอกจากจะอยู่ร่วมกับคนอื่นได้แล้ว สามารถอยู่คนเดียวได้อย่างมีความสุข
สงบ
ภายใน
ไม่วุ่นวาย ไม่ฟุ้งซ่าน
(สมาธิ)
3.ระดับสูง คือ ภาวะที่ปลอดโปร่งโล่งสบายไร้ทุกข์ไร้ปัญหา ความเป็นผู้มีสภาวะจิตที่สมบูรณ์ไม่
หวั่นไหวกับสิ่งเร้าต่าง
ๆ ที่มากระทบ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่สุด เรียกว่า “นิพพาน”(ปัญญา)
ในทางจิตวิทยา
ปัญหาสุขภาพจิตนอกจากจะทำการรักษาด้วยยาแล้ว ยังรักษาได้ด้วยการทำจิต
บำบัด
อาศัยเครื่องมือต่างๆ ในการทำจิตบำบัดนอกเหนือจากการพูดคุยเพื่อหาหนทางแก้ปัญหา
ในทางพระพุทธศาสนาซึ่งถือว่าจิตเป็นใหญ่กว่าส่วนอื่นใน
ร่างกายเป็นตัวควบคุมอวัยวะต่าง ๆ
ปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้น
มาจากการยึดมั่นถือมั่นในเหตุการณ์ที่มากระทบทางอารมณ์ สิ่งที่จะทำให้ปัญหาสุขภาพจิตลดน้อยลงหรือหายไปในที่สุด
ก็คือวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือควบคุมจิตได้
ในทางพุทธศาสนา ความเป็นไป การแสดงออกของมนุษย์
ทั้งทางกาย วาจา ใจ โดย เจตนา เป็นกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมนั้น มโนกรรมหรือใจสำคัญที่สุด
สามารถให้ผล รุนแรงกว้างไกลมาก มโนกรรมครอบคลุมทั้งความเห็น ทัศนะ ความเชื่อ หากมีทัศนะหรือ
ความเห็นที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง ก็สามารถนำ ชีวิตสู่การกระทำ หรือตัดสินใจผิด ขณะเดียวกันหากมีทัศนะที่ถูกต้อง
ก็สามารถนำชีวิตไปในทางที่ถูก ทั้งทางโลกทางธรรม และ มิใช่มีผลเฉพาะต่อตนเอง แต่ยังมีผลต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ที่เราได้เผยแผ่ทัศนะที่ถูกต้อง
หรือทัศนะผิดๆ ไปสู่เขาเหล่านั้นด้วย เพราะทัศนะหรือทิฏฐินี้เอง เป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรม
และอนาคต ทั้งชาติปัจจุบันและชาติหน้าต่อๆ ไปของบุคคล ซึ่งเห็นได้ง่ายจากการเกิดสงคราม
หรือการก่อการร้ายต่างๆ เป็นผลมาจากทิฏฐิ ความคิดเห็น หรือมโนกรรมทั้งสิ้น ใน ขณะเดียวกัน
การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ขององค์การการกุศลต่างๆ การเสียสละความสุขส่วน ตนเพื่อส่วนรวม
ก็เป็นผลมาจากมโนกรรม ความคิดเห็นทั้งสิ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดูแลจิต พัฒนาจิตไม่ให้ตกไปสู่ความเห็นผิด
หรือเกิดเศร้าหมอง เพราะโดยปกติแล้ว จิตมักเศร้าหมอง ไปด้วยอำนาจของอุปกิเลส 16 (วัตถูปมสูตร 12/71 – 73) อันได้แก่
1. เพ่งเล็ง
โลภ อยากได้ของผู้อื่น
2. พยาบาท
คิดร้าย
3. ความโกรธ
เดือดดาล
4. ผูกโกรธ
5. ลบหลู่คุณท่าน
6. ตีเสมอ
ยกตนข่มท่าน
7. ริษยา
8. ตระหนี่
หวงแหน
9. มารยา
เจ้าเล่ห์
10.
โอ้อวด คุยโว
11.
หัวดื้อ
12.
แข่งดี ชิงดีชิงเด่น
13.
ถือตัว
14.ดูหมิ่นท่าน
15.มัวเมา
16.ประมาท
อุปกิเลส 16 นี้ เป็นสิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัว
รับคุณธรรมอื่นๆ ได้ยาก เปรียบดังผ้าเปื้อน ย้อมไม่ได้ดี กิเลสที่มีในจิตของเรา ทำให้จิตไม่ผ่องใส
พระพุทธศาสนามีหลักธรรมที่เป็นพุทธ โอวาทของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ มีหลักใหญ่
3 ข้อ รวมอยู่ในโอวาทปาติโมกข์ ได้แก่
1. ไม่ทำชั่วทั้งปวง
2. ทำแต่ความดี
3.
ทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์
การทำใจให้บริสุทธิ์ในข้อ 3 จึงรวมถึงไม่ให้อุปกิเลสมาครอบงำใจของเราด้วย นอกจากนี้ข้อ 1 และข้อ 2 จะเป็นไปได้ ก็มาจากใจ หรือจิตที่ไปบงการไม่ให้ทำชั่ว
และให้ทำแต่ ความดีนั่นเอง จิตจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง และมีบทบาทที่สมควรจะต้องศึกษาให้เข้าใจ
ประโยชน์ในการศึกษาจิตวิทยาในพระพุทธศาสนา
1. ทำให้เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ที่ประกอบด้วยกาย
และจิต
2. ทำให้ทราบความสำคัญของจิตที่มีผลต่อชีวิต
บุคลิกภาพ อุปนิสัย เป็นต้น
3. ทำให้เข้าใจการทำงานของจิต
4. ทำให้ทราบความแตกต่างของจิตประเภทต่างๆ
5. ทำให้ทราบวิธีควบคุมดูแลจิต
ไม่ให้จมอยู่กับความเศร้าหมองหรือทุกข์เกินควร เป็น ธรรมชาติของปุถุชนย่อมมีทุกข์ และเศร้าหมองเพราะยังละกิเลสไม่ได้
แต่การศึกษาพุทธ จิตวิทยาทำให้ทราบวิธีที่จะไม่ให้ความทุกข์ ความเศร้าหมองอยู่กับเรานานเกินไป
6.
ทำให้ทราบวิธีที่จะพัฒนาจิตของตนให้มีคุณภาพ
มีสติ สัมปชัญญะ บริสุทธิ์ชั่วขณะ และวิธี ทำให้จิตบริสุทธิ์ตลอดไป คือพระนิพพาน เพราะปุถุชนไม่อาจพูดได้ว่าไม่เป็นโรคใจ
ทุกคน มีปัญหาสุขภาพใจ เพราะกิเลสครอบงำ การศึกษาพุทธจิตวิทยา ทำให้ทราบวิธีการ แต่ผล
ของการปฏิบัติต้องขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
7. ทำให้เข้าใจตนเอง และผู้อื่น โดยเฉพาะเรื่องจริต 6 อันเป็นผลของการสะสมในจิต ทำให้คน
ต่างกัน ผู้ศึกษาจะเข้าใจความแตกต่างของอัธยาศัยของมนุษย์
ก่อให้เกิดความเมตตา เห็น ใจและ
อภัยผู้อื่นมากขึ้น
ลักษณะที่สอดคล้องกันและต่างกันระหว่างจิตวิทยาเชิงพุทธ
และจิตวิทยาตะวันตก
จิตวิทยาตะวันตก
|
พุทธจิตวิทยา
|
จิตวิทยาในตอนต้น ๆ นั้นมีแนวคิดที่แตกต่างกันออกไป
บางแนวคิดก็ศึกษาเฉพาะจิต บางแนวคิดก็ศึกษาเฉพาะกาย
บางแนวคิดก็ยอมรับและศึกษาทั้งกาย-จิต
|
ศึกษาทั้งกายและจิตพร้อมกัน
แต่จะเน้นที่จิตมากกว่า
เพราะเชื่อว่า จิตใจมีผลต่อการแสดงพฤติกรรมทางกาย
ให้ความสำคัญต่อจิตมาก
และเชื่อว่า จิตของคนเรานั้นมีอยู่และสามารถที่จะฝึก
( trial)
|
โครงสร้างจิต:
เน้นศึกษาจิต(จิตสำนึก) แยกจิตออกเป็น จิตธาตุ 3 อย่าง คือ สัมผัส รู้สึก และมโนภาพ
|
เน้นการศึกษาจิต
จิตวิถี แยกจิตออกเป็น 89 ชนิดหรือ 121
ชนิด(ตามแต่กรณี)และแยกเจตสิกออกเป็น 52 ชนิด
|
หน้าที่แห่งจิต :
เน้นความสัมพันธ์การปรับตัวของร่างกายและจิตใจ
|
เน้นว่าคนเราต้องอยู่ในสังคมและมีวิธีดำเนินชีวิตปรับตัวมากมาย จากคำสอนแนวศีลธรรมทั้งมวล
แต่เน้นความสำคัญของจิตว่าเป็นหัวหน้าในการคิดการทำ
|
พฤติกรรมนิยม :
เน้นศึกษาเรื่องกายเชิงสสารวัตถุ และการทดลอง วัดพิสูจน์
|
เน้นว่า คนเป็นธาตุสารประกอบที่เรียกว่า
รูป และแยกรูปออกเป็น 28 ชนิด ศึกษาอย่างละเอียดด้วยการทดลองจริง
จากประสบการณ์ตรงที่สังเกต กำหนดรู้ได้
|
เกสตัลท์ : เน้นคนเป็นส่วนรวมหน่วยเดียวแยกไม่ออก และจิต องค์รวมสำคัญกว่าส่วนย่อย
|
ชีวิตคนเราเป็นก้อนรวม
องค์รวมเช่นกันเรียกว่า "นามรูป หรือ ขันธ์ 5" คือ มีทั้งกายและจิตรวมกันเป็นหน่วยรวม
|
จิตวิเคราะห์ :
เน้นศึกษาจิตไร้สำนึกและการ
พัฒนาแก้ไขปรับปรุงบุคลิกภาพที่เสื่อม
การ
อบรมในวัยเด็ก
|
ศึกษาจิตพิเศษที่เรียกว่า
ภวังคจิต การฝึกจิต การฝึกสมาธิ
การปฏิบัติวิปัสสนา การควบคุมจิตให้มีความสงบเพื่อบุคลิกภาพ
อารมณ์ที่ดี
และเน้นเรื่องของกรรมในอดีตว่ามีผลต่อพาดพิงมาถึงชีวิตปัจจุบันได้ด้วย
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น