โซโรอัสเตอร์ มาจากคำว่า ซาราธุษตรา หรือ ซาราธุษต อันเป็นภาษาเปอร์เซีย แปลว่า รวยอูฐ
สัญลักษณ์ศาสนา
สัญลักษณ์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ คือ โคมไฟ หมายถึงแสงสว่างและความอบอุ่น เป็นเครื่องหมายแสดงถึงคุณลักษณะของพระเจ้าอหุระมัสดะ ผู้ทรงความบริสุทธิ์ ผู้ทรงแสงสว่างยิ่งกว่าแสงสว่างอันใด ผู้ประทานความอบอุ่นให้แก่มนุษย์ทั้งหลาย ไฟผู้ให้กำเนิดแสงสว่างย่อมเผาผลาญสิ่งสกปรกให้เหลือแต่ความบริสุทธิ์ เปรียบเสมือนพระเจ้าประทับอยู่ที่ใด ที่นั่นย่อมมีแต่ความบริสุทธิ์
ประเภทของศาสนา
เอกเทวนิยม นับถือพระเจ้าองค์เดียว คือ พระเจ้าอหุรมัสดะเป็นเจ้าแห่งแสงสว่าง แห่งความดีงาม มีบริวารชื่อ มิถรัส ได้แก่ความสว่าง ลักษณะของพระเจ้าคือ ไม่มีรูป จะนึกสร้างรูปท่านไม่ได้ แต่ทรงเป็นผู้สร้าง เป็นสุทธิเทพ วิภูเทพ และต้องนับถือพระเจ้าองศ์เดียว ไม่เชื่อถือผู้อื่นนอกจากพระองค์
ศาสดา
โซโรอัสเตอร์
วันเดือนปีกำเนิดศาสนา
เกิดก่อนค.ศ. ประมาณ 660 ปี หรือก่อน พ.ศ. ประมาณ 117 ปี คิดตามสมัยโซโรอัสเตอร์
สถานที่กำเนิดศาสนา
ประเทศเปอร์เซียหรืออิหร่าน เหตุเกิดศาสนา
โซโรอัสเตอร์ เป็นผู้ได้รับโองการจากพระอหุรมัสดะ เทพเจ้าผู้ชาญฉลาด แต่งตั้งให้เขาเป็นผู้สอนสัจจะ
จำนวนผู้นับถือศาสนา ประมาณ 150,000 คน (ปี ค.ศ.2002)
ที่มา : http://www.adherents.com/Religions_By_Adherents.html
เอกเทวนิยม นับถือพระเจ้าองค์เดียว คือ พระเจ้าอหุรมัสดะเป็นเจ้าแห่งแสงสว่าง แห่งความดีงาม มีบริวารชื่อ มิถรัส ได้แก่ความสว่าง ลักษณะของพระเจ้าคือ ไม่มีรูป จะนึกสร้างรูปท่านไม่ได้ แต่ทรงเป็นผู้สร้าง เป็นสุทธิเทพ วิภูเทพ และต้องนับถือพระเจ้าองศ์เดียว ไม่เชื่อถือผู้อื่นนอกจากพระองค์
ศาสดา
โซโรอัสเตอร์
วันเดือนปีกำเนิดศาสนา
เกิดก่อนค.ศ. ประมาณ 660 ปี หรือก่อน พ.ศ. ประมาณ 117 ปี คิดตามสมัยโซโรอัสเตอร์
สถานที่กำเนิดศาสนา
ประเทศเปอร์เซียหรืออิหร่าน เหตุเกิดศาสนา
โซโรอัสเตอร์ เป็นผู้ได้รับโองการจากพระอหุรมัสดะ เทพเจ้าผู้ชาญฉลาด แต่งตั้งให้เขาเป็นผู้สอนสัจจะ
จำนวนผู้นับถือศาสนา ประมาณ 150,000 คน (ปี ค.ศ.2002)
ที่มา : http://www.adherents.com/Religions_By_Adherents.html
ประวัติศาสดา
ชาวเปอร์เซียเป็นพวกอารยันแท้ ชาวอารยันนับถือพระอาทิตย์ จึงจุดไฟในบ้านตลอดเวลา เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งการนับถือพระอาทิตย์ ในศาสนาโซโรอัสเตอร์ได้รับเอาการบูชาไฟไว้เป็นหลักปฏิบัติของศาสนาด้วย ดังนั้น จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า เป็นศาสนาบูชาไฟ โซโรอัสเตอร์ ถือกำเนิดเมื่ออหุรมัสดะ เทพเจ้าแห่งแสงสว่างและความดี สร้างมนุษย์ สร้างทุกสิ่งฝ่ายดี อหิรมัน ซึ่งเป็นเทพเจ้าฝ่ายชั่ว เจ้าแห่งความมืด ได้สร้างสิ่งชั่ว เช่น ความเจ็บไข้เพื่อทำลายมนุษย์ ฝ่ายดีฝ่ายชั่วต่อสู้กันอย่างนี้จนครั้งหนึ่งฝ่ายมนุษย์ได้รับความทุกข์มาก ฝ่ายอหริมันกำลังเป็นต่อ ฝ่ายมนุษย์จึงได้ให้โควิเศษร้องบอกเรื่องนี้แก่อหุรมัสดะให้ท่านช่วย พระอหุรมัสดะรับว่าจะส่งวิญญาณมาเกิดช่วยมนุษย์แทนพระองศ์ ต่อมาโซโรอัสเตอร์ก็เกิดโดยไม่รู้เกิดอย่างไร ใครเป็นพ่อแม่ก็ไม่รู้ กำหนดเวลาการเกิดของท่านก็ไม่ทราบแน่นอน ทราบแน่ว่าเกิดก่อนพุทธกาล ที่เกิดบ้างก็ว่าเกิดที่มิเดีย ที่ประเทศเปอร์เซีย เมื่อท่านอายุ 7 ปีได้ไปอยู่กับพระในศาสนาเดิม ซึ่งเรียกว่า มากี หรือมายิ่ (มายา อิมายี) และพระในศาสนานี้ได้เป็นพระในศาสนาโซโรอัสเตอร์ด้วย เมื่ออาย 15 ปีก็สำเร็จการศึกษาหมดความรู้ของอาจารย์ (บางคัมภีร์ว่าท่านไม่รู้หนังสือ) เมื่ออายุ 30 ปี พระเจ้าได้รับตัวไปสวรรค์ ประทานคำสอนเพื่อให้นำมาสอนประชาชน (แต่บางคัมภีร์กล่าวว่า ท่านท่องเที่ยวหาธรรมอันบริสุทธิ์ ในทะเลทรายเป็นเวลา 20 ปี และได้สำเร็จวิชาบนภูเขาลูกหนึ่ง) โซโรอัสเตอร์ทำการสอนประชาชนอยู่หลายปีแต่ได้สาวกไม่มาก จนกระทั่งพระเจ้าวิษตาสฺป (อิสดาปหรือคุชตาสฺป) ทรงเลื่อมใส แต่นั้นมาจึงมีสาวกมากขึ้น
โซโรอัสเตอร์เสียชีวิตพร้อมกับพระสาวก 80 คนโดยถูกข้าศึกที่มาตีเมืองเปอร์เซีย ฆ่าในขณะที่กำลังทำพิธีทางศาสนาอยู่ในโบสถ์(บางท่านกล่าวไว้ว่า โซโรอัสเตอร์สิ้นชีวิตเพราะฟ้าผ่า)
แนวคิดเรื่องนรกสวรรค์
ในศาสนานี้ถือว่า คนตายแล้วต้องเกิดใหม่แต่ก่อนจะเกิดใหม่ ต้องได้รับผลดีผลชั่วที่ทำไว้เมื่อเป็นคนให้หมดก่อน โดยถูกส่งขึ้นสวรรค์บ้าง ลงนรกบ้าง ตามความดีความชั่ว จะเป็นอยู่อย่างนี้ จนกว่าการต่อสู้ของพระเจ้ากับมารจะสิ้นสุด โดยพระเจ้าเป็นฝ่ายชนะ เมื่อถึงวาระนั้น ยมโลกอันเป็นที่พิพากษาวิญญาณ ก็จะได้รับการชำระล้างให้สะอาด ต่อจากนั้นสวรรค์ใหม่ โลกมนุษย์ใหม่ ก็จะเกิดใหม่ ตามประสงค์ของพระเจ้าซึ่งถูกมารขัดขวางไว้ ส่วนมารเมื่อแพ้แล้ว ก็จะไปอยู่โลกมืดอื่นอันเป็นที่เดิมของตน
เมื่อมนุษย์ตายแล้ววิญญาณจะวนเวียนใกล้ร่างที่คนตายอยู่สามวัน ในขณะประกอบพิธีศพในบ้าน ถ้าดวงวิญญาณบริสุทธิ์ วิญญาณก็จะมีความสุขอยู่สามวัน ถ้าดวงวิญญาณไม่บริสุทธิ์ ก็จะมีความทุกข์สามวัน จากนั้นวิญญาณก็จะข้ามสะพานพิพากษา เพื่อไปรับคำพิพากษาและไปยังไฟชำระ
วิธีขึ้นสวรรค์หรือตกนรก เมื่อตายแล้ว ความดีความชั่วของคนจะปรากฏเป็นตัวตน ความดีปรากฏเป็นหญิงงาม ความชั่วปรากฏเป็นหญิงแก่ หญิงทั้งสองนำวิญญาณคนดีคนชั่วไปทางเดียวกัน ไปข้ามสะพานพิพากษาความดี-ชั่วที่มีอยู่ในสุดของพระเจ้า สาวสวยจะนำวิญญาณดีข้ามสะพานไปสู่สวรรค์โดยเรียบร้อย คนแก่จะนำวิญญาณชั่วพลัดตกสะพานไปสู่นรก ถ้าความดี-ชั่วก่ำกึ่งกันก็ต้องไปรอคำพิพากษาจากตุลาการสูงสุดของพระเจ้า
เมื่อได้รับผลดี-ชั่วพอแล้ว ก็จะกลับมาเกิดเป็นคนใหม่ แนวคิดเรื่องจุดหมายปลายทาง
จุดหมายปลายทางสูงสุดของชีวิตของศาสนาโซโรอัสเตอร์ อันเป็นความสุขที่แท้จริงและนิรันดร คือ สวรรค์ วิธีจะบรรลุถึงจุดหมายปลายทางนั้น ศาสนิกชนจะต้องตั้งอยู่ในศีลธรรม คือ บำเพ็ญตนให้มีความบริสุทธิ์ทางกาย วาจา ใจ และบูชาพระเจ้าด้วยความจงรักภักดีอย่างแท้จริง
วิธีปฏิบัติในศาสนา
ตั้งอยู่ในศีลธรรม คือ ความบริสุทธิ์ทางกาย วาจา ใจ และบูชาพระเจ้าด้วยความภักดี
1. คนต้องนับถือพระอหุรมัสดะซึ่งเป็นผู้สร้างทุกอย่างเพื่อมนุษย์แต่องค์เดียว ถ้าใครไม่เคารพ จะต้องไปทุคติ
2. พระอหุรมัสดะจะไม่ปรากฏรูปกาย ทรงเป็นวิสุทธิเทพ ผู้อมตะวิญญาณ พระนามของพระองค์เดียวจะตรึงอยู่ที่ใจมนุษย์ สิ่งที่แทนพระองค์คือไฟ จะบูชาพระองค์ต้องบูชาไฟ ต้องหันหน้าเข้าไฟต้องให้สิทธิในกิจกรรมต่างๆ แก่หญิงเสมอชาย
3. ต้องประพฤติสุจริตด้วยไตรทวาร อย่าดูหญิงด้วยกามวิตก อย่าริษยา อย่าโลภ เป็นต้น จงมีวาจาอ่อนหวาน มีเมตตากรุณาต่อสัตว์ ให้ทาน แสวงหาความรู้ อย่าเป็นหนี้ ข้อสำคัญอย่าพูดปด
ชาวเปอร์เซียเป็นพวกอารยันแท้ ชาวอารยันนับถือพระอาทิตย์ จึงจุดไฟในบ้านตลอดเวลา เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งการนับถือพระอาทิตย์ ในศาสนาโซโรอัสเตอร์ได้รับเอาการบูชาไฟไว้เป็นหลักปฏิบัติของศาสนาด้วย ดังนั้น จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า เป็นศาสนาบูชาไฟ โซโรอัสเตอร์ ถือกำเนิดเมื่ออหุรมัสดะ เทพเจ้าแห่งแสงสว่างและความดี สร้างมนุษย์ สร้างทุกสิ่งฝ่ายดี อหิรมัน ซึ่งเป็นเทพเจ้าฝ่ายชั่ว เจ้าแห่งความมืด ได้สร้างสิ่งชั่ว เช่น ความเจ็บไข้เพื่อทำลายมนุษย์ ฝ่ายดีฝ่ายชั่วต่อสู้กันอย่างนี้จนครั้งหนึ่งฝ่ายมนุษย์ได้รับความทุกข์มาก ฝ่ายอหริมันกำลังเป็นต่อ ฝ่ายมนุษย์จึงได้ให้โควิเศษร้องบอกเรื่องนี้แก่อหุรมัสดะให้ท่านช่วย พระอหุรมัสดะรับว่าจะส่งวิญญาณมาเกิดช่วยมนุษย์แทนพระองศ์ ต่อมาโซโรอัสเตอร์ก็เกิดโดยไม่รู้เกิดอย่างไร ใครเป็นพ่อแม่ก็ไม่รู้ กำหนดเวลาการเกิดของท่านก็ไม่ทราบแน่นอน ทราบแน่ว่าเกิดก่อนพุทธกาล ที่เกิดบ้างก็ว่าเกิดที่มิเดีย ที่ประเทศเปอร์เซีย เมื่อท่านอายุ 7 ปีได้ไปอยู่กับพระในศาสนาเดิม ซึ่งเรียกว่า มากี หรือมายิ่ (มายา อิมายี) และพระในศาสนานี้ได้เป็นพระในศาสนาโซโรอัสเตอร์ด้วย เมื่ออาย 15 ปีก็สำเร็จการศึกษาหมดความรู้ของอาจารย์ (บางคัมภีร์ว่าท่านไม่รู้หนังสือ) เมื่ออายุ 30 ปี พระเจ้าได้รับตัวไปสวรรค์ ประทานคำสอนเพื่อให้นำมาสอนประชาชน (แต่บางคัมภีร์กล่าวว่า ท่านท่องเที่ยวหาธรรมอันบริสุทธิ์ ในทะเลทรายเป็นเวลา 20 ปี และได้สำเร็จวิชาบนภูเขาลูกหนึ่ง) โซโรอัสเตอร์ทำการสอนประชาชนอยู่หลายปีแต่ได้สาวกไม่มาก จนกระทั่งพระเจ้าวิษตาสฺป (อิสดาปหรือคุชตาสฺป) ทรงเลื่อมใส แต่นั้นมาจึงมีสาวกมากขึ้น
โซโรอัสเตอร์เสียชีวิตพร้อมกับพระสาวก 80 คนโดยถูกข้าศึกที่มาตีเมืองเปอร์เซีย ฆ่าในขณะที่กำลังทำพิธีทางศาสนาอยู่ในโบสถ์(บางท่านกล่าวไว้ว่า โซโรอัสเตอร์สิ้นชีวิตเพราะฟ้าผ่า)
แนวคิดเรื่องนรกสวรรค์
ในศาสนานี้ถือว่า คนตายแล้วต้องเกิดใหม่แต่ก่อนจะเกิดใหม่ ต้องได้รับผลดีผลชั่วที่ทำไว้เมื่อเป็นคนให้หมดก่อน โดยถูกส่งขึ้นสวรรค์บ้าง ลงนรกบ้าง ตามความดีความชั่ว จะเป็นอยู่อย่างนี้ จนกว่าการต่อสู้ของพระเจ้ากับมารจะสิ้นสุด โดยพระเจ้าเป็นฝ่ายชนะ เมื่อถึงวาระนั้น ยมโลกอันเป็นที่พิพากษาวิญญาณ ก็จะได้รับการชำระล้างให้สะอาด ต่อจากนั้นสวรรค์ใหม่ โลกมนุษย์ใหม่ ก็จะเกิดใหม่ ตามประสงค์ของพระเจ้าซึ่งถูกมารขัดขวางไว้ ส่วนมารเมื่อแพ้แล้ว ก็จะไปอยู่โลกมืดอื่นอันเป็นที่เดิมของตน
เมื่อมนุษย์ตายแล้ววิญญาณจะวนเวียนใกล้ร่างที่คนตายอยู่สามวัน ในขณะประกอบพิธีศพในบ้าน ถ้าดวงวิญญาณบริสุทธิ์ วิญญาณก็จะมีความสุขอยู่สามวัน ถ้าดวงวิญญาณไม่บริสุทธิ์ ก็จะมีความทุกข์สามวัน จากนั้นวิญญาณก็จะข้ามสะพานพิพากษา เพื่อไปรับคำพิพากษาและไปยังไฟชำระ
วิธีขึ้นสวรรค์หรือตกนรก เมื่อตายแล้ว ความดีความชั่วของคนจะปรากฏเป็นตัวตน ความดีปรากฏเป็นหญิงงาม ความชั่วปรากฏเป็นหญิงแก่ หญิงทั้งสองนำวิญญาณคนดีคนชั่วไปทางเดียวกัน ไปข้ามสะพานพิพากษาความดี-ชั่วที่มีอยู่ในสุดของพระเจ้า สาวสวยจะนำวิญญาณดีข้ามสะพานไปสู่สวรรค์โดยเรียบร้อย คนแก่จะนำวิญญาณชั่วพลัดตกสะพานไปสู่นรก ถ้าความดี-ชั่วก่ำกึ่งกันก็ต้องไปรอคำพิพากษาจากตุลาการสูงสุดของพระเจ้า
เมื่อได้รับผลดี-ชั่วพอแล้ว ก็จะกลับมาเกิดเป็นคนใหม่ แนวคิดเรื่องจุดหมายปลายทาง
จุดหมายปลายทางสูงสุดของชีวิตของศาสนาโซโรอัสเตอร์ อันเป็นความสุขที่แท้จริงและนิรันดร คือ สวรรค์ วิธีจะบรรลุถึงจุดหมายปลายทางนั้น ศาสนิกชนจะต้องตั้งอยู่ในศีลธรรม คือ บำเพ็ญตนให้มีความบริสุทธิ์ทางกาย วาจา ใจ และบูชาพระเจ้าด้วยความจงรักภักดีอย่างแท้จริง
วิธีปฏิบัติในศาสนา
ตั้งอยู่ในศีลธรรม คือ ความบริสุทธิ์ทางกาย วาจา ใจ และบูชาพระเจ้าด้วยความภักดี
1. คนต้องนับถือพระอหุรมัสดะซึ่งเป็นผู้สร้างทุกอย่างเพื่อมนุษย์แต่องค์เดียว ถ้าใครไม่เคารพ จะต้องไปทุคติ
2. พระอหุรมัสดะจะไม่ปรากฏรูปกาย ทรงเป็นวิสุทธิเทพ ผู้อมตะวิญญาณ พระนามของพระองค์เดียวจะตรึงอยู่ที่ใจมนุษย์ สิ่งที่แทนพระองค์คือไฟ จะบูชาพระองค์ต้องบูชาไฟ ต้องหันหน้าเข้าไฟต้องให้สิทธิในกิจกรรมต่างๆ แก่หญิงเสมอชาย
3. ต้องประพฤติสุจริตด้วยไตรทวาร อย่าดูหญิงด้วยกามวิตก อย่าริษยา อย่าโลภ เป็นต้น จงมีวาจาอ่อนหวาน มีเมตตากรุณาต่อสัตว์ ให้ทาน แสวงหาความรู้ อย่าเป็นหนี้ ข้อสำคัญอย่าพูดปด
หลักธรรม
หลักธรรมที่สำคัญมี 3 คือ ทำดี พูดดี คิดดี
- การทำดี คือทำอะไรด้วยเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อ และการจับเท็จ เป็นการทำดีอันสูงสุด การเพราะปลูก เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงครอบครัว ก็เป็นการทำดี อย่ากินอาหารก่อนจนกว่าคนที่หิวที่อยู่ในสายตาท่านจะได้กินก่อน บาปหนักในศาสนานี้คือ การพูดเท็จ การมีหนี้สินเป็นบาปหนักรองจากการพูดเท็จ
ความประหยัดเป็นเรื่องพระเจ้า เรื่องฟุ่มเฟือยเป็นของมาร มิตรการรักษาสันติสุข เป็นเรื่องของพระเจ้า ความเกลียดชัง การลัก การทำร้าย การทำลาย เป็นของมาร
- การพูดดี คือพูดจริง การพูดเท็จบาปที่สุดในศาสนานี้
- การคิดดี คือมีความเอื้อเฟื้อ มีเมตตากรุณา คิดหาความรู้ เป็นต้น
จริยศาสตร์
นอกจากนั้นยังมีพระบัญญัติอื่นๆ อีก ซึ่งพระยะโฮวาตรัสสั่งโมเสสให้นำมาบอกเพื่อเป็นข้อปฏิบัติโดยเคร่งครัด เช่น
“ผู้ใดปรารถนาจะรักพระอหุรมัสดะ ในโลกนี้ พึงรักคนที่ประพฤติถูกต้อง เนื่องด้วยคนที่ประพฤติถูกต้องย่อมเป็นเสมือนแบบจำลองของพระอหุรมัสดะผู้เป็นเจ้า
(ศยัษฎณะ ศยัษฏะ 15:7-8)
“ความสมบูรณ์ ข้อที่ 1 คือ ความคิดที่ดี ข้อที่ 2 คือวาจาที่ดี ข้อที่ 3 คือ การกระทำที่ดี”
(สัท สปาร์ม 21:15)
“การกระทำที่ดีทุกอย่างเจ้าอาจทำได้ในวันนี้ จงอย่าผัดวันประกันพรุ่งนี้ จงทำให้เสร็จด้วยมือของเจ้าและปรึกษากับวิญญาณของเจ้าเอง”
“ความยากจนเพราะมีความซื่อสัตย์ ดีกว่าความมั่งคั่ง อันเนื่องมาจากทรัพย์ของคนอื่น”
“คนที่พูดสัตย์จริงเพียงคนเดียว ดีกว่าคนทั้งโลกที่พูดเท็จ”
(สัท ทาร 62:5)
“การสร้างนิสัย 4 อย่างเหล่านี้ คือหลักแห่งศาสนาของซารากุสต์ (โซโรเตอร์) คือ1. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อบุคคลผู้สมควร 2. มีความยุติธรรม 3. เป็นมิตรกับทุกๆคน 4. กีดกันความอสัตย์ไปจากตัวเจ้าอย่างจริงใจ”
(สัท ทาร 65:7)
“ผู้ช่วยเหลือคนยากจน คือ คนที่ถือพระอุหระเป็นพระราชา”
(ยัสนะ 47:4)
“จงต่อต้านศัตรูแม้ด้วยอาวุธ”
(ยัสนะ 31:18)
“ถ้าเป็นศัตรูจงต่อสู้อย่างยุติธรรม ถ้าเป็นเพื่อนจงดำเนินการในฐานะเป็นเพื่อน”
(SBE 24:12)
“จงทำตัวเจ้าเองให้บริสุทธิ์ ดูก่อนสาธุชน ! ใครๆ ในโลกเบื้องล่างนี้ก็อาจบรรลุความบริสุทธิ์ของตนเองได้ในเมื่อเขาชำระล้างตัวเองให้สะอาดด้วยความคิด ถ้อยคำและการกระทำที่ดีงาม”
(SBE 24:12)
ตามหลักการของศาสนาโซโรอัสเตอร์ ความดีความชั่วมีตัวแทนเป็นรูปเทพเจ้าอหุรมัสดะ และพญามารอังโครไมนยุ ดังมีคำกล่าวในคัมภีร์ยัสนะ 3 ว่า:
“ในเบื้องต้นแห่งสิ่งทั้งหลาย ได้มีวิญญาณแห่งอหุรมัสดะและอังโครไมนยุ ซึ่งแทนความดีและความชั่วเทพทั้งสองนี้ ได้พบกันเพื่อสร้างชีวิตและศีลธรรม และสากลโลกที่จะเกิดมีขึ้นพญามารได้ถูกสร้างขึ้นสำหรับคนชั่วส่วนอหุรมัสดะเพื่อคนที่บริสุทธิ์และมัศรัทธา คนชั่วย่อมเลือกวิญญาณฝ่ายชั่ว คนที่บริสุทธิ์และมีศรัทธา ย่อมเลือกวิญญาณฝ่ายดี”
“มนุษย์มีอิสระในการเลือกของตน เขาอาจเลือกสิ่งที่ดีหรือชั่ว และจากดีหรือชั่วนั้น เขาก็ต้องรับชอบต่อการกระทำของเขา”
อหุรมัสดะ หรือ เทพฝ่ายดี มีคุณลักษณะ 7 ประการ คือ 1. สว่าง 2.ใจดี 3. ถุกต้อง 4. ครอบครอง 5. ศรัทธา 6. เป็นอยู่ดี 7. อมตภาพ (ไม่มีการตาย) มีแสงสว่างเป็นเครื่องหมาย ส่วนวิญญาณฝ่ายชั่วมีความมืดเป็นเครื่องหมายมีลักษณะทำลายล้าง โกหก ไม่รู้ชั่วช้า
คัมภีร์อเวสตะ กล่าวว่า
“หน้าที่ของมนุษย์มีอยู่ 3 ประการคือ ทำศัตรูให้เป็นมิตร ทำให้คนชั่วเป็นคนดี และทำคนโง่ให้เป็นคนฉลาด”
จริยศาสตร์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์นี้คัดมาจากหนังสือหลายเล่มด้วยกัน คำว่า SBC ย่อมาจากคำว่า Sacred Books of the East มีข้อสังเกตคือจริยศาสตร์ในศาสนาโซโรอัสเตอร์นั้น ให้ดีต่อคนดีเท่านั้น ถ้าเป็นคนชั่วแล้วให้ร้ายตอบ หรือถ้าเป็นศัตรูก็ควรทำให้เป็นมิตรหรือให้ต่อสู้ให้เต็มที่ แต่ก็ให้มีความยุติธรรมในการต่อสู้
คัมภีร์
คัมภีร์ของศาสนานี้ชื่อ “อเวสตะ” แปลว่า “ความรู้” ภาษาของคัมภีร์ คือ ภาษาอเวสตะ เป็นภาษาใกล้เคียงกับ “สันสกฤต” คัมภีร์ อเวสตะ แบ่งออกเป็น 5 หมวดใหญ่ ดังต่อไปนี้
1.ยัสนะ เป็นบทสวด แปลว่า บูชา เป็นหมวดที่เก่ากว่าเพื่อนและเป็นส่วนสำคัญที่สุด มีคาถากำกับอยู่ 17 คาถา กล่าวกันว่า โซโรอัสเตอร์เขียนขึ้นเอง
2.วิสเปรัท เป็นบทอ้อนวอนต่อเทพทั้งปวง ใช้คู่กับยัสนะ
3.เวนทิทัท แปลว่า “กฎที่เป็นปฏิปักษ์ต่อมารร้าย” เป็นระเบียบวินัยที่เกี่ยวกับพิธีกรรมของพระ นอกจากนั้นยังกล่าวถึงเรื่องของจักรวาล ประวัติศาสตร์ คำสอนเรื่องสวรรค์นรก 3 ส่วนนี้ เป็นส่วนสำคัญของคัมภีร์อเวสตะและใช้สำหรับพระแห่งศาสนานั้นโดยเฉพาะ
4.ยัษฏส บทสวดบูชา เป็นบทกวีสำหรับใช้สวดบูชาทูตสวรรค์ 21 องค์ และวีรบุรุษแห่งศาสนาโซโรอัสเตอร์
5.โขรท – อเวสตะ แปลว่า “อเวสตะน้อย” เป็นหนังสือคู่มือ สำหรับใช้สวดมนต์ของศาสนิกชนทั่วไป่
คัมภีร์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ถือว่า พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่คือ พระ “อหุรมัสดะ” “พระเจ้าแห่งปัญญา” เป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งทั้งปวง และถือว่าพระยามารมีชื่อว่า “อังคระไมนฺยุ” หรือเรียกย่อว่า “อหฺริมัน”
พิธีกรรม
หน้าที่ของผู้นับถือศาสนานี้โดยเฉพาะคือ นับถือพระเจ้าองค์นี้องค์เดียว บูชาไฟ ดื่มน้ำโสมหลังการบูชาแล้ว(ดื่มเฉพาะพระ) จับคนโกหก ช่วยทำกสิกรรม เป็นต้น
ส่วนการบูชาไฟนั้น ถือว่าเป็นการบูชาแทนพระอหุรมัสดะ ถือว่าเป็นเครื่องหมายแห่งความบริสุทธิ์ ความดี และการธำรงความสว่างของโลก
-.ชาวปาร์ซีวัยรุ่นทุกคนจะต้องเริ่มต้นเข้าปฏิญาณนับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ เมื่ออายุครบ 7 ปี (ในอินเดีย) หรือ 10 ปี (ในอิหร่าน) และจะได้รับเสื้อและกฤชซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับกายตลอดชั่วชีวิต
-.การทำให้มีความบริสุทธิ์มี 3 แบบ คือ พัทยับ (Padyab การชำระล้างนาหัน (Nahna การอาบ) และบารสีนัม (Barwsnum พิธีกรรมซับซ้อนกระทำในสถานที่พิเศษ)
-.การปลงอาบัติหรือการทำให้บริสุทธิ์ มีการสวดมนต์ปาเทท เป็นการกล่าวปฏิญาณว่า จะไม่ทำบาปหรือทำชั่วอีก และสารภาพบาปต่อหน้าพระชั้นทัสทุร หรือพระชั้นธรรมดา ถ้าหากไม่มีพระชั้นทัสทุร หรือพระชั้นธรรมดาถ้าหากไม่มีพระชั้นทัสทุร
-.พิธีกรรมที่สำคัญได้แก่ พิธียัสนะ เป็นพิธีบวงสรวงพระเจ้าด้วยโสม (Haoma เหล้าศักดิ์สิทธิ์) เป็นพิธีจัดทำขั้นหน้ากองไฟ แล้วสวดมนต์จากบทสวดในคัมภีร์อเวสตาเป็นส่วนใหญ่ และยังมีการเซ่นสังเวยด้วยขนมปังและนม
-.ไฟศักดิ์สิทธิ์จะต้องรักษาไม่ให้ดับตลอดกาล และจะต้องเก็บเชื้อไฟอย่างน้อยวันละ 5 ครั้ง ผู้สวดมนต์บูชาไฟจะต้องสวดวันละ 5 ครั้ง การติดไฟใหม่มีพิธีกรรมที่ซับซ้อน นอกจากนั้นแล้ว ยังมีพิธีกรรมสำหรับการทำความบริสุทธิ์ และการจัดไฟใหม่อีกด้วย
นิกาย
นิกายที่สำคัญของศาสนาโซโรอัสเตอร์มี 2 นิกาย คือ
1.นิกายชหันชหิส นิกายนี้ถือคัมภีร์ที่ว่าด้วยการที่พระเจ้าแจ้งเรื่องราวต่างๆ ลงมาทางศาสดาโซโรอัสเตอร์เป็นสำคัญ ซึ่งคัมภีร์ดังกล่าวเป็นคัมภีร์ที่เกิดขึ้นใหม่ในสมัยต้นศตวรรษที่ 3 ได้มีการแปลคัมภีร์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์นี้เป็นภาษาปาลวี ซึ่งใช้ในเปอร์เซียสมัยนั้น ชื่อว่า คัมภีร์เมนอกีขรัท
2.นิกายกัทมิส นิกายนี้ยึดมั่นในคัมภีร์ที่ว่าด้วยพิธีกรรมต่างๆ อันได้แก่ คัมภีร์ชะยิต-เน-ชะยิต ซึ่งเกิดในสมัยเดียวกันกับคัมภีร์เมนอกีขรัท
กษัตริย์ในอิหร่านก็ทรงนับถือ นักบวชของศาสนาคือ มากี หรือมายี ได้นำเอาคำสอนออกเผยแผ่ในต่างประเทศ เช่น เมโสโปเตเมีย (อิรัก) ไอยคุปต์ ซีเรีย แต่เข้าอินเดียไม่ได้เพราะอินเดียมีศาสนาของตนเองที่มั่นคงแล้ว และขัดความรู้ในเรื่องนับถือพระเจ้าหลายองค์ของอินเดีย ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 217 กองทัพพระเจ้าอเล็กซานเดอร์แห่งกรีช ได้ยกทัพรบและมีชัยต่ออิหร่านได้ทำลายคำสอนที่จารึกไว้เป็นอันมาก เมื่อกรีช เสื่อมอำนาจลง ในราว พ.ศ. 843 นักบวชในศาสนาได้ฟื้นฟูศาสนาขึ้นมาใหม่ แต่อยู่ได้ระยะหนึ่ง พอถึง พ.ศ. 1180 กองทัพอิสลามได้ยกมาย่ำยีอิหร่าน บังคับให้นับถือศาสนาอิสลาม พวกที่มั่นคงในศาสนาโซโรอัสเตอร์ได้หนีไปอินเดีย พวกนี้กับพวกมุสลิมเป็นศัตรูกันรุนแรงมาก จนในคัมภีร์ของอิสลามต้องเพิ่มขุมนรกอีกขุมหนึ่งสำหรับพวกนี้โดยเฉพาะ เรียกขุมนรกนี้ว่า ปารซี พวกที่ไปอินเดียต้องปฏิบัติตามชาวฮินดูบางอย่าง เช่น เปลี่ยนเครื่องแต่งกายใหม่ ไม่ฆ่าวัว เป็นต้น แต่ยังนับถือพระเจ้าองค์เดียว ยังสวดมนต์ภาษาเดิม คือภาษาเซนตฺ แต่ไม่รู้ความแปล จะมีผู้รู้ก็เพียงพระไม่กี่รูป
ศาสนานี้แม้อยู่ในฐานะนี้ ก็ยังแยกเป็น 2 นิกาย คือ พวกเก่ากับพวกใหม่ เพราะเหตุคือใช้ ปฏิทินไม่เหมือนกัน คือพวกหนึ่งใช้แบบเก่า ซึ่งไม่มี อธิกมาส อีกพวกหนึ่งใช้แบบใหม่ คือ มีอธิกมาส
**********************
หลักธรรมที่สำคัญมี 3 คือ ทำดี พูดดี คิดดี
- การทำดี คือทำอะไรด้วยเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อ และการจับเท็จ เป็นการทำดีอันสูงสุด การเพราะปลูก เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงครอบครัว ก็เป็นการทำดี อย่ากินอาหารก่อนจนกว่าคนที่หิวที่อยู่ในสายตาท่านจะได้กินก่อน บาปหนักในศาสนานี้คือ การพูดเท็จ การมีหนี้สินเป็นบาปหนักรองจากการพูดเท็จ
ความประหยัดเป็นเรื่องพระเจ้า เรื่องฟุ่มเฟือยเป็นของมาร มิตรการรักษาสันติสุข เป็นเรื่องของพระเจ้า ความเกลียดชัง การลัก การทำร้าย การทำลาย เป็นของมาร
- การพูดดี คือพูดจริง การพูดเท็จบาปที่สุดในศาสนานี้
- การคิดดี คือมีความเอื้อเฟื้อ มีเมตตากรุณา คิดหาความรู้ เป็นต้น
จริยศาสตร์
นอกจากนั้นยังมีพระบัญญัติอื่นๆ อีก ซึ่งพระยะโฮวาตรัสสั่งโมเสสให้นำมาบอกเพื่อเป็นข้อปฏิบัติโดยเคร่งครัด เช่น
“ผู้ใดปรารถนาจะรักพระอหุรมัสดะ ในโลกนี้ พึงรักคนที่ประพฤติถูกต้อง เนื่องด้วยคนที่ประพฤติถูกต้องย่อมเป็นเสมือนแบบจำลองของพระอหุรมัสดะผู้เป็นเจ้า
(ศยัษฎณะ ศยัษฏะ 15:7-8)
“ความสมบูรณ์ ข้อที่ 1 คือ ความคิดที่ดี ข้อที่ 2 คือวาจาที่ดี ข้อที่ 3 คือ การกระทำที่ดี”
(สัท สปาร์ม 21:15)
“การกระทำที่ดีทุกอย่างเจ้าอาจทำได้ในวันนี้ จงอย่าผัดวันประกันพรุ่งนี้ จงทำให้เสร็จด้วยมือของเจ้าและปรึกษากับวิญญาณของเจ้าเอง”
“ความยากจนเพราะมีความซื่อสัตย์ ดีกว่าความมั่งคั่ง อันเนื่องมาจากทรัพย์ของคนอื่น”
“คนที่พูดสัตย์จริงเพียงคนเดียว ดีกว่าคนทั้งโลกที่พูดเท็จ”
(สัท ทาร 62:5)
“การสร้างนิสัย 4 อย่างเหล่านี้ คือหลักแห่งศาสนาของซารากุสต์ (โซโรเตอร์) คือ1. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อบุคคลผู้สมควร 2. มีความยุติธรรม 3. เป็นมิตรกับทุกๆคน 4. กีดกันความอสัตย์ไปจากตัวเจ้าอย่างจริงใจ”
(สัท ทาร 65:7)
“ผู้ช่วยเหลือคนยากจน คือ คนที่ถือพระอุหระเป็นพระราชา”
(ยัสนะ 47:4)
“จงต่อต้านศัตรูแม้ด้วยอาวุธ”
(ยัสนะ 31:18)
“ถ้าเป็นศัตรูจงต่อสู้อย่างยุติธรรม ถ้าเป็นเพื่อนจงดำเนินการในฐานะเป็นเพื่อน”
(SBE 24:12)
“จงทำตัวเจ้าเองให้บริสุทธิ์ ดูก่อนสาธุชน ! ใครๆ ในโลกเบื้องล่างนี้ก็อาจบรรลุความบริสุทธิ์ของตนเองได้ในเมื่อเขาชำระล้างตัวเองให้สะอาดด้วยความคิด ถ้อยคำและการกระทำที่ดีงาม”
(SBE 24:12)
ตามหลักการของศาสนาโซโรอัสเตอร์ ความดีความชั่วมีตัวแทนเป็นรูปเทพเจ้าอหุรมัสดะ และพญามารอังโครไมนยุ ดังมีคำกล่าวในคัมภีร์ยัสนะ 3 ว่า:
“ในเบื้องต้นแห่งสิ่งทั้งหลาย ได้มีวิญญาณแห่งอหุรมัสดะและอังโครไมนยุ ซึ่งแทนความดีและความชั่วเทพทั้งสองนี้ ได้พบกันเพื่อสร้างชีวิตและศีลธรรม และสากลโลกที่จะเกิดมีขึ้นพญามารได้ถูกสร้างขึ้นสำหรับคนชั่วส่วนอหุรมัสดะเพื่อคนที่บริสุทธิ์และมัศรัทธา คนชั่วย่อมเลือกวิญญาณฝ่ายชั่ว คนที่บริสุทธิ์และมีศรัทธา ย่อมเลือกวิญญาณฝ่ายดี”
“มนุษย์มีอิสระในการเลือกของตน เขาอาจเลือกสิ่งที่ดีหรือชั่ว และจากดีหรือชั่วนั้น เขาก็ต้องรับชอบต่อการกระทำของเขา”
อหุรมัสดะ หรือ เทพฝ่ายดี มีคุณลักษณะ 7 ประการ คือ 1. สว่าง 2.ใจดี 3. ถุกต้อง 4. ครอบครอง 5. ศรัทธา 6. เป็นอยู่ดี 7. อมตภาพ (ไม่มีการตาย) มีแสงสว่างเป็นเครื่องหมาย ส่วนวิญญาณฝ่ายชั่วมีความมืดเป็นเครื่องหมายมีลักษณะทำลายล้าง โกหก ไม่รู้ชั่วช้า
คัมภีร์อเวสตะ กล่าวว่า
“หน้าที่ของมนุษย์มีอยู่ 3 ประการคือ ทำศัตรูให้เป็นมิตร ทำให้คนชั่วเป็นคนดี และทำคนโง่ให้เป็นคนฉลาด”
จริยศาสตร์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์นี้คัดมาจากหนังสือหลายเล่มด้วยกัน คำว่า SBC ย่อมาจากคำว่า Sacred Books of the East มีข้อสังเกตคือจริยศาสตร์ในศาสนาโซโรอัสเตอร์นั้น ให้ดีต่อคนดีเท่านั้น ถ้าเป็นคนชั่วแล้วให้ร้ายตอบ หรือถ้าเป็นศัตรูก็ควรทำให้เป็นมิตรหรือให้ต่อสู้ให้เต็มที่ แต่ก็ให้มีความยุติธรรมในการต่อสู้
คัมภีร์
คัมภีร์ของศาสนานี้ชื่อ “อเวสตะ” แปลว่า “ความรู้” ภาษาของคัมภีร์ คือ ภาษาอเวสตะ เป็นภาษาใกล้เคียงกับ “สันสกฤต” คัมภีร์ อเวสตะ แบ่งออกเป็น 5 หมวดใหญ่ ดังต่อไปนี้
1.ยัสนะ เป็นบทสวด แปลว่า บูชา เป็นหมวดที่เก่ากว่าเพื่อนและเป็นส่วนสำคัญที่สุด มีคาถากำกับอยู่ 17 คาถา กล่าวกันว่า โซโรอัสเตอร์เขียนขึ้นเอง
2.วิสเปรัท เป็นบทอ้อนวอนต่อเทพทั้งปวง ใช้คู่กับยัสนะ
3.เวนทิทัท แปลว่า “กฎที่เป็นปฏิปักษ์ต่อมารร้าย” เป็นระเบียบวินัยที่เกี่ยวกับพิธีกรรมของพระ นอกจากนั้นยังกล่าวถึงเรื่องของจักรวาล ประวัติศาสตร์ คำสอนเรื่องสวรรค์นรก 3 ส่วนนี้ เป็นส่วนสำคัญของคัมภีร์อเวสตะและใช้สำหรับพระแห่งศาสนานั้นโดยเฉพาะ
4.ยัษฏส บทสวดบูชา เป็นบทกวีสำหรับใช้สวดบูชาทูตสวรรค์ 21 องค์ และวีรบุรุษแห่งศาสนาโซโรอัสเตอร์
5.โขรท – อเวสตะ แปลว่า “อเวสตะน้อย” เป็นหนังสือคู่มือ สำหรับใช้สวดมนต์ของศาสนิกชนทั่วไป่
คัมภีร์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ถือว่า พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่คือ พระ “อหุรมัสดะ” “พระเจ้าแห่งปัญญา” เป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งทั้งปวง และถือว่าพระยามารมีชื่อว่า “อังคระไมนฺยุ” หรือเรียกย่อว่า “อหฺริมัน”
พิธีกรรม
หน้าที่ของผู้นับถือศาสนานี้โดยเฉพาะคือ นับถือพระเจ้าองค์นี้องค์เดียว บูชาไฟ ดื่มน้ำโสมหลังการบูชาแล้ว(ดื่มเฉพาะพระ) จับคนโกหก ช่วยทำกสิกรรม เป็นต้น
ส่วนการบูชาไฟนั้น ถือว่าเป็นการบูชาแทนพระอหุรมัสดะ ถือว่าเป็นเครื่องหมายแห่งความบริสุทธิ์ ความดี และการธำรงความสว่างของโลก
-.ชาวปาร์ซีวัยรุ่นทุกคนจะต้องเริ่มต้นเข้าปฏิญาณนับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ เมื่ออายุครบ 7 ปี (ในอินเดีย) หรือ 10 ปี (ในอิหร่าน) และจะได้รับเสื้อและกฤชซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับกายตลอดชั่วชีวิต
-.การทำให้มีความบริสุทธิ์มี 3 แบบ คือ พัทยับ (Padyab การชำระล้างนาหัน (Nahna การอาบ) และบารสีนัม (Barwsnum พิธีกรรมซับซ้อนกระทำในสถานที่พิเศษ)
-.การปลงอาบัติหรือการทำให้บริสุทธิ์ มีการสวดมนต์ปาเทท เป็นการกล่าวปฏิญาณว่า จะไม่ทำบาปหรือทำชั่วอีก และสารภาพบาปต่อหน้าพระชั้นทัสทุร หรือพระชั้นธรรมดา ถ้าหากไม่มีพระชั้นทัสทุร หรือพระชั้นธรรมดาถ้าหากไม่มีพระชั้นทัสทุร
-.พิธีกรรมที่สำคัญได้แก่ พิธียัสนะ เป็นพิธีบวงสรวงพระเจ้าด้วยโสม (Haoma เหล้าศักดิ์สิทธิ์) เป็นพิธีจัดทำขั้นหน้ากองไฟ แล้วสวดมนต์จากบทสวดในคัมภีร์อเวสตาเป็นส่วนใหญ่ และยังมีการเซ่นสังเวยด้วยขนมปังและนม
-.ไฟศักดิ์สิทธิ์จะต้องรักษาไม่ให้ดับตลอดกาล และจะต้องเก็บเชื้อไฟอย่างน้อยวันละ 5 ครั้ง ผู้สวดมนต์บูชาไฟจะต้องสวดวันละ 5 ครั้ง การติดไฟใหม่มีพิธีกรรมที่ซับซ้อน นอกจากนั้นแล้ว ยังมีพิธีกรรมสำหรับการทำความบริสุทธิ์ และการจัดไฟใหม่อีกด้วย
นิกาย
นิกายที่สำคัญของศาสนาโซโรอัสเตอร์มี 2 นิกาย คือ
1.นิกายชหันชหิส นิกายนี้ถือคัมภีร์ที่ว่าด้วยการที่พระเจ้าแจ้งเรื่องราวต่างๆ ลงมาทางศาสดาโซโรอัสเตอร์เป็นสำคัญ ซึ่งคัมภีร์ดังกล่าวเป็นคัมภีร์ที่เกิดขึ้นใหม่ในสมัยต้นศตวรรษที่ 3 ได้มีการแปลคัมภีร์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์นี้เป็นภาษาปาลวี ซึ่งใช้ในเปอร์เซียสมัยนั้น ชื่อว่า คัมภีร์เมนอกีขรัท
2.นิกายกัทมิส นิกายนี้ยึดมั่นในคัมภีร์ที่ว่าด้วยพิธีกรรมต่างๆ อันได้แก่ คัมภีร์ชะยิต-เน-ชะยิต ซึ่งเกิดในสมัยเดียวกันกับคัมภีร์เมนอกีขรัท
กษัตริย์ในอิหร่านก็ทรงนับถือ นักบวชของศาสนาคือ มากี หรือมายี ได้นำเอาคำสอนออกเผยแผ่ในต่างประเทศ เช่น เมโสโปเตเมีย (อิรัก) ไอยคุปต์ ซีเรีย แต่เข้าอินเดียไม่ได้เพราะอินเดียมีศาสนาของตนเองที่มั่นคงแล้ว และขัดความรู้ในเรื่องนับถือพระเจ้าหลายองค์ของอินเดีย ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 217 กองทัพพระเจ้าอเล็กซานเดอร์แห่งกรีช ได้ยกทัพรบและมีชัยต่ออิหร่านได้ทำลายคำสอนที่จารึกไว้เป็นอันมาก เมื่อกรีช เสื่อมอำนาจลง ในราว พ.ศ. 843 นักบวชในศาสนาได้ฟื้นฟูศาสนาขึ้นมาใหม่ แต่อยู่ได้ระยะหนึ่ง พอถึง พ.ศ. 1180 กองทัพอิสลามได้ยกมาย่ำยีอิหร่าน บังคับให้นับถือศาสนาอิสลาม พวกที่มั่นคงในศาสนาโซโรอัสเตอร์ได้หนีไปอินเดีย พวกนี้กับพวกมุสลิมเป็นศัตรูกันรุนแรงมาก จนในคัมภีร์ของอิสลามต้องเพิ่มขุมนรกอีกขุมหนึ่งสำหรับพวกนี้โดยเฉพาะ เรียกขุมนรกนี้ว่า ปารซี พวกที่ไปอินเดียต้องปฏิบัติตามชาวฮินดูบางอย่าง เช่น เปลี่ยนเครื่องแต่งกายใหม่ ไม่ฆ่าวัว เป็นต้น แต่ยังนับถือพระเจ้าองค์เดียว ยังสวดมนต์ภาษาเดิม คือภาษาเซนตฺ แต่ไม่รู้ความแปล จะมีผู้รู้ก็เพียงพระไม่กี่รูป
ศาสนานี้แม้อยู่ในฐานะนี้ ก็ยังแยกเป็น 2 นิกาย คือ พวกเก่ากับพวกใหม่ เพราะเหตุคือใช้ ปฏิทินไม่เหมือนกัน คือพวกหนึ่งใช้แบบเก่า ซึ่งไม่มี อธิกมาส อีกพวกหนึ่งใช้แบบใหม่ คือ มีอธิกมาส
**********************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น