บทบาทของพระสงฆ์กับสังคมไทย
พระราชสุทธิญาณมงคล
พระราชสุทธิญาณมงคล
กิจกรรมของสงฆ์
๑. สิ่งที่จะต้องศึกษาแสวงหาความรู้ทั้งทางโลก และทางธรรม
๒. สิ่งที่จะต้องละความไม่ดีไม่งามทั้งหมด
๓. สิ่งที่จะทำให้แจ้งถึงจิตถึงใจ
๔. สิ่งที่ควรจะพัฒนา - ทำความเจริญทั้งรูปธรรม - นามธรรม
วัดจะต้องมีกิจกรรมอยู่ ๕ ประการ
๑. วัดเป็นที่อาศัยพำนักของภิกษุสามเณร
๒. วัดเป็นที่บวชเรียนของลูกหลานชาวบ้าน
๓. วัดเป็นที่ทำบุญบำเพ็ญกุศลของชาวบ้านรอบวัด
๔. วัดและพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งทางใจของประชาชน
๕. วัดเป็นศูนย์กลางทางกิจกรรมของสังคมและประชาชน
เป้าหมายกิจกรรมของสงฆ์ ต้องเป็นประโยชน์ต่อสังคม
๑. ปกครองวัดมีระเบียบรัดกุม
๒. บริเวณวัดสะอาดร่มรื่น
๓. มีกิจกรรมอำนวยประโยชน์ต่อสังคม และประชาชน
การที่จะไปถึงเป้าหมายทั้ง ๓ ประการนั้น มีจุดสำคัญที่เจ้าอาวาสจะพึงสนใจดูแลอยู่ ๘ จุดด้วยกัน คือ
๑. สงฆ์ คือ พระในวัด
๒. สมณธรรม คือ ทำกิจวัตร ลงอุโบสถ บิณฑบาต สวดมนต์ไหว้พระ กวาดอาวาสลานพระเจดีย์ รักษาผ้าครอง อยู่ปริวาสกรรม โกนผมปลงหนวดตัดเล็บ ศึกษาสิกขาบท และปฏิบัติอุปัชฌาย์อาจารย์ เทศนาบัติ พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง ๔ เป็นต้น
๓. เสนาสนะ คือ ที่อยู่อาศัย
๔. สวัสดิการ คือ ปัจจัยอำนวยความผาสุข
๕. สมบัติของวัด คือ ผลประโยชน์รายได้
๖. สัปบุรุษ คือ ชาวบ้านผู้บำรุงวัด
๗. สังฆาธิการ คือ การประสานงานกับเจ้าคณะ
๘. สาธารณะสงเคราะห์ คือ การบำเพ็ญประโยชน์
การกิจกรรมสงฆ์ต้องดำเนินการ
๑. การจัดบริเวณอาคาร เสนาสนะ ให้สะอาดเรียบร้อยและร่มรื่น
๒. การปกครองบุคคลที่อาศัยอยู่ในวัด ให้อยู่กันด้วยความเรียบร้อย ให้พระภิกษุสามเณรเล่าเรียนพระธรรมวินัย
๓. ให้วัดทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม
กิจกรรมของสงฆ์ ช่วยเหลือสังคม
๑. ศีลธรรม วัฒนธรรม
๒. สุขภาพอนามัย
๓. สัมมาชีพ
๔. สันติสุข
๕. ศึกษาสงเคราะห์
๖. สาธารณสงเคราะห์
๗. กตัญญูกตเวทิตาธรรม
๘. สามัคคีธรรม
ประชาชนคือใคร ?
ประชาชน คือ คนทั้งปวง ที่ร่วมชะตากรรม อยู่ในบ้านเมืองเดียวกัน ดังนั้น ประชาชน คือ ชาติ คุณธรรมที่ยึดเหนี่ยวของประชาชน คือ ศาสนา ผู้นำของประชาชน คือ พระมหากษัตริย์
ประชาชนต้องการอะไร ?
๑. สิ่งที่จะต้องศึกษาแสวงหาความรู้ทั้งทางโลก และทางธรรม
๒. สิ่งที่จะต้องละความไม่ดีไม่งามทั้งหมด
๓. สิ่งที่จะทำให้แจ้งถึงจิตถึงใจ
๔. สิ่งที่ควรจะพัฒนา - ทำความเจริญทั้งรูปธรรม - นามธรรม
วัดจะต้องมีกิจกรรมอยู่ ๕ ประการ
๑. วัดเป็นที่อาศัยพำนักของภิกษุสามเณร
๒. วัดเป็นที่บวชเรียนของลูกหลานชาวบ้าน
๓. วัดเป็นที่ทำบุญบำเพ็ญกุศลของชาวบ้านรอบวัด
๔. วัดและพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งทางใจของประชาชน
๕. วัดเป็นศูนย์กลางทางกิจกรรมของสังคมและประชาชน
เป้าหมายกิจกรรมของสงฆ์ ต้องเป็นประโยชน์ต่อสังคม
๑. ปกครองวัดมีระเบียบรัดกุม
๒. บริเวณวัดสะอาดร่มรื่น
๓. มีกิจกรรมอำนวยประโยชน์ต่อสังคม และประชาชน
การที่จะไปถึงเป้าหมายทั้ง ๓ ประการนั้น มีจุดสำคัญที่เจ้าอาวาสจะพึงสนใจดูแลอยู่ ๘ จุดด้วยกัน คือ
๑. สงฆ์ คือ พระในวัด
๒. สมณธรรม คือ ทำกิจวัตร ลงอุโบสถ บิณฑบาต สวดมนต์ไหว้พระ กวาดอาวาสลานพระเจดีย์ รักษาผ้าครอง อยู่ปริวาสกรรม โกนผมปลงหนวดตัดเล็บ ศึกษาสิกขาบท และปฏิบัติอุปัชฌาย์อาจารย์ เทศนาบัติ พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง ๔ เป็นต้น
๓. เสนาสนะ คือ ที่อยู่อาศัย
๔. สวัสดิการ คือ ปัจจัยอำนวยความผาสุข
๕. สมบัติของวัด คือ ผลประโยชน์รายได้
๖. สัปบุรุษ คือ ชาวบ้านผู้บำรุงวัด
๗. สังฆาธิการ คือ การประสานงานกับเจ้าคณะ
๘. สาธารณะสงเคราะห์ คือ การบำเพ็ญประโยชน์
การกิจกรรมสงฆ์ต้องดำเนินการ
๑. การจัดบริเวณอาคาร เสนาสนะ ให้สะอาดเรียบร้อยและร่มรื่น
๒. การปกครองบุคคลที่อาศัยอยู่ในวัด ให้อยู่กันด้วยความเรียบร้อย ให้พระภิกษุสามเณรเล่าเรียนพระธรรมวินัย
๓. ให้วัดทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม
กิจกรรมของสงฆ์ ช่วยเหลือสังคม
๑. ศีลธรรม วัฒนธรรม
๒. สุขภาพอนามัย
๓. สัมมาชีพ
๔. สันติสุข
๕. ศึกษาสงเคราะห์
๖. สาธารณสงเคราะห์
๗. กตัญญูกตเวทิตาธรรม
๘. สามัคคีธรรม
ประชาชนคือใคร ?
ประชาชน คือ คนทั้งปวง ที่ร่วมชะตากรรม อยู่ในบ้านเมืองเดียวกัน ดังนั้น ประชาชน คือ ชาติ คุณธรรมที่ยึดเหนี่ยวของประชาชน คือ ศาสนา ผู้นำของประชาชน คือ พระมหากษัตริย์
ประชาชนต้องการอะไร ?
ประชาชนต้องการประเทศที่มั่นคง ปลอดภัย และเจริญก้าวหน้าโดยเฉพาะ คือ
๑. มีปัจจัยสี่เพียงพอ สำหรับดำรงชีวิต สำหรับตนเอง และครอบครัว
๒. มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
๓. ประชาชนต้องการบ้านเมือง มีความสงบ-สันติ และสังคมที่เป็นธรรม
๔. ประชาชนต้องการมีความสุขทางจิตใจ
ประชาชนหวังความช่วยเหลือจากภิกษุสงฆ์อย่างไร ?
๑. มีปัจจัยสี่เพียงพอ สำหรับดำรงชีวิต สำหรับตนเอง และครอบครัว
๒. มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
๓. ประชาชนต้องการบ้านเมือง มีความสงบ-สันติ และสังคมที่เป็นธรรม
๔. ประชาชนต้องการมีความสุขทางจิตใจ
ประชาชนหวังความช่วยเหลือจากภิกษุสงฆ์อย่างไร ?
๑. ประชาชนต้องการ ตัวอย่างมองความดีงาม และผู้นำทางคุณธรรม โดยเฉพาะความเคร่งครัดทางวินัย และความเป็นผู้สันโดษมักน้อย
๒. ประชาชนต้องการ วัดเป็นที่พึ่งพักพิงทางจิตใจของผู้มีทุกข์ ต้องการเห็นวัดเป็นที่สงบ เยือกเย็น สะอาดร่มรื่น มีระเบียบ
๓. ประชาชนต้องการ เห็นพระภิกษุเข้าหาประชาชน ปลอบขวัญ ให้กำลังใจ แนะแนวทางแก้ปัญหาชีวิตให้
๔. ประชาชนต้องการ ให้วัดเป็นศูนย์กลางการพัฒนาชนบท ให้ความร่วมมือสนับสนุนให้เกิดการรวมพลัง แก้ปัญหาต่าง ๆ
๕. ประชาชนต้องการ ให้วัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษาด้านต่าง ๆ ทั้งด้านหลักธรรมของพระศาสนา และการอาชีพ การปฏิรูปจิตใจของประชาชน ควรริเริ่มที่วัด
ภัยของพระภิกษุที่ต้องแก้มี ๓ ประการ
๒. ประชาชนต้องการ วัดเป็นที่พึ่งพักพิงทางจิตใจของผู้มีทุกข์ ต้องการเห็นวัดเป็นที่สงบ เยือกเย็น สะอาดร่มรื่น มีระเบียบ
๓. ประชาชนต้องการ เห็นพระภิกษุเข้าหาประชาชน ปลอบขวัญ ให้กำลังใจ แนะแนวทางแก้ปัญหาชีวิตให้
๔. ประชาชนต้องการ ให้วัดเป็นศูนย์กลางการพัฒนาชนบท ให้ความร่วมมือสนับสนุนให้เกิดการรวมพลัง แก้ปัญหาต่าง ๆ
๕. ประชาชนต้องการ ให้วัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษาด้านต่าง ๆ ทั้งด้านหลักธรรมของพระศาสนา และการอาชีพ การปฏิรูปจิตใจของประชาชน ควรริเริ่มที่วัด
ภัยของพระภิกษุที่ต้องแก้มี ๓ ประการ
๑. ความเสื่อมศรัทธาของประชาชน
๒. ความไม่ต้องการของประชาชน
๓. ความพยายามทำลายของประชาชน
วิธีแก้ภัยอันนี้ คือ
๑. คณะสงฆ์สามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนได้
๒. ให้พระภิกษุสามเณร สามารถเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนได้
๓. ให้พระศาสนา สามารถเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจในด้านปกครองตน ของประชาชนได้
วิธีการแก้ภายในโดยอาศัยหลัก ลด ๕ ว่าง สร้าง ๕ ร่วม
ลด ๕ ว่าง คือ
๑. สมองว่าง
๒. ช่องว่างระหว่างบุคคล
๓. เวลาว่าง
๔. ทรัพย์พยากรณ์ว่าง
๕. การนำว่าง
สร้าง ๕ ร่วม
๑. ร่วมทุน
๒. ร่วมคิด
๓. ร่วมผลิต
๔. ร่วมขาย
๕. ร่วมป้องกัน
คุณธรรมของผู้นำ
๒. ความไม่ต้องการของประชาชน
๓. ความพยายามทำลายของประชาชน
วิธีแก้ภัยอันนี้ คือ
๑. คณะสงฆ์สามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนได้
๒. ให้พระภิกษุสามเณร สามารถเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนได้
๓. ให้พระศาสนา สามารถเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจในด้านปกครองตน ของประชาชนได้
วิธีการแก้ภายในโดยอาศัยหลัก ลด ๕ ว่าง สร้าง ๕ ร่วม
ลด ๕ ว่าง คือ
๑. สมองว่าง
๒. ช่องว่างระหว่างบุคคล
๓. เวลาว่าง
๔. ทรัพย์พยากรณ์ว่าง
๕. การนำว่าง
สร้าง ๕ ร่วม
๑. ร่วมทุน
๒. ร่วมคิด
๓. ร่วมผลิต
๔. ร่วมขาย
๕. ร่วมป้องกัน
คุณธรรมของผู้นำ
๑. มีความรับผิดชอบ
๒. มีความสุภาพสมบูรณ์ ทั้งอ่อนโยนและอ่อนหวาน
๓. มีความจริงใจ และบริสุทธิ์ใจ ต่อหน้าที่และสังคม
๔. มีความเสมอต้น เสมอปลาย
๕. มีความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจกัน ระหว่างเพื่อนร่วมงาน เด็กและผู้ใหญ่
๖. มีความสุขุมรอบคอบ ในภาระกิจทั่วไป
๗. สามารถแก้ไขคลี่คลาย แก้ปัญหาชีวิต และปัญหาสังคม และเหตุเกิดขึ้นเฉพาะหน้า สถานการณ์ปัจจุบัน ได้ทันท่วงที
๘. ประกอบด้วยเมตตาธรรม ต่อหน้าและลับหลังในสังคมของเรา
พัฒนาเพื่อลดปัญหาความขาดแคลน และความแตกแยกต้องพัฒนา ๕ ประการ
๒. มีความสุภาพสมบูรณ์ ทั้งอ่อนโยนและอ่อนหวาน
๓. มีความจริงใจ และบริสุทธิ์ใจ ต่อหน้าที่และสังคม
๔. มีความเสมอต้น เสมอปลาย
๕. มีความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจกัน ระหว่างเพื่อนร่วมงาน เด็กและผู้ใหญ่
๖. มีความสุขุมรอบคอบ ในภาระกิจทั่วไป
๗. สามารถแก้ไขคลี่คลาย แก้ปัญหาชีวิต และปัญหาสังคม และเหตุเกิดขึ้นเฉพาะหน้า สถานการณ์ปัจจุบัน ได้ทันท่วงที
๘. ประกอบด้วยเมตตาธรรม ต่อหน้าและลับหลังในสังคมของเรา
พัฒนาเพื่อลดปัญหาความขาดแคลน และความแตกแยกต้องพัฒนา ๕ ประการ
๑. พัฒนาความเป็นอยู่ของเรา ให้อยู่ง่ายขึ้น อย่าให้ยุ่งยากนัก
๒. พัฒนาความเป็นอยู่ให้เรียบ ๆ อย่าให้หรูหรานัก
๓. พัฒนาความเป็นอยู่ให้เหมาะสมกับฐานะ
๔. พัฒนาใจให้ยึดมั่นความจริงเป็นหลัก
๕. ให้ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นตัวหลัก ของญาณการพัฒนาที่อยู่ด้วยความถูกต้องทุกประการ
วิธีสร้างความดีต่อบุคคลอื่น
๒. พัฒนาความเป็นอยู่ให้เรียบ ๆ อย่าให้หรูหรานัก
๓. พัฒนาความเป็นอยู่ให้เหมาะสมกับฐานะ
๔. พัฒนาใจให้ยึดมั่นความจริงเป็นหลัก
๕. ให้ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นตัวหลัก ของญาณการพัฒนาที่อยู่ด้วยความถูกต้องทุกประการ
วิธีสร้างความดีต่อบุคคลอื่น
๑. ช่วยเหลือผู้อื่นทำความดี
๒. รักและเคารพทุกคน อย่างเสมอหน้า
๓. สนับสนุนผู้อื่นให้มีความดีพร้อม
๔. ชี้ทางให้ผู้อื่นทำความดี
๕. ช่วยเหลือผู้อื่น ผู้ที่อยู่ในความคับขัน
๖. กระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
๗. ไม่ทำตนเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์ หมั่นบริจาค
๘. ธำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรม
๙. เคารพผู้มีอาวุโสกว่า
๑๐. รักชีวิตผู้อื่น ดุจรักชีวิตของตนเอง
พระสงฆ์กับการพัฒนาสังคมไทย
๒. รักและเคารพทุกคน อย่างเสมอหน้า
๓. สนับสนุนผู้อื่นให้มีความดีพร้อม
๔. ชี้ทางให้ผู้อื่นทำความดี
๕. ช่วยเหลือผู้อื่น ผู้ที่อยู่ในความคับขัน
๖. กระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
๗. ไม่ทำตนเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์ หมั่นบริจาค
๘. ธำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรม
๙. เคารพผู้มีอาวุโสกว่า
๑๐. รักชีวิตผู้อื่น ดุจรักชีวิตของตนเอง
พระสงฆ์กับการพัฒนาสังคมไทย
๑. พระสงฆ์ต้องมีประสิทธิภาพ
๒. การพัฒนาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งส่วนหนึ่งของชีวิต และสิ่งทั้งหลาย ที่เนื่องด้วยชีวิตคน เพราะคนและสิ่งที่เนื่องด้วยชีวิตคนทุกประการ ย่อมมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการพัฒนา ถ้าไม่มีการพัฒนา หรือหยุดการพัฒนา ก็ย่อมหมดชีวิต คือ ถึงความสิ้นสุดทันที
๓. คำว่า พัฒนา ท่านแปลว่า ความเจริญ คำว่า ความเจริญ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เหมาะสมชีวิตทุกชีวิต และสิ่งที่เนื่องด้วยชีวิตทุกอย่างย่อมแปรปรวน เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของมัน ตราบใดที่ยังเป็นชีวิตอยู่หรือยังมีชีวิตอยู่ ก็จะหนีความเปลี่ยนแปลงไปไม่พ้น เพราะถ้าหยุดเปลี่ยนแปลงเมื่อใดก็ย่อมถึงความสิ้นสุดเมื่อนั้น
๔. ความเปลี่ยนแปลงนั้นมีสองทาง คือ ความเปลี่ยนแปลงในทางที่เหมาะสม ๑ กับความเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่เหมาะสมอีก ๑ ความเปลี่ยนแปลงในทางที่เหมาะสม เรียกว่า ความเจริญ ความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เหมาะสม เรียกว่า ความเสื่อม
๕. พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ก็จัดว่าเป็นสิ่งมีชีวิต หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นสิ่งที่เนื่องด้วยชีวิต จึงต้องอยู่คู่กับการพัฒนา ถ้าขาดการพัฒนาก็หมดชีวิต หรือขาดชีวิต เพราะไม่มีชีวิต
๖. คำว่า ชีวิต หมายถึง ความปรากฏอยู่แห่งผลของการงาน และหน้าที่ ชีวิตคนก็คือ ความปรากฏอยู่แห่งการงานที่จริงของคน อันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของคน ซึ่งเกิดมาเพื่อช่วยกันสร้าง มิใช่คอยมุ่งช่วยกันทำลายชีวิตของพระสงฆ์ในวัดพระพุทธศาสนา จึงได้แก่แหล่งที่ปรากฏออกมา ซึ่งผลแห่งการงานของพระพุทธศาสนา ซึ่งปกคลุมอยู่ด้วยความปกติสุข และความสงบสุขทุกประการ ตลอดเวลา
๗. วัดในพระพุทธศาสนา เกิดขึ้นและดำรงอยู่ด้วยความมุ่งหมาย ดังต่อไปนี้ คือ
๑) เพื่อประกาศพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความมุ่งหมายให้คนทำความดี เพื่อช่วยตนและคนอื่นให้มีความปกติสุข เว้นการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน
๒) เพื่อเป็นที่อยู่ของภิกษุสงฆ์ ผู้มีหน้าที่ดำรงพระพุทธศาสนาไว้เพื่อตนและประชาชน โดยการกระทำ ๓ ประการ คือ ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ๑ ตั้งใจปฏิบัติพระธรรมวินัย ๑ เพื่อตนกับเพื่อเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน เพราะทุกวันนี้ ได้ยินแต่เสียงที่สอนให้ทำดี แต่คนที่ทำดีให้เห็นหายากอย่างยิ่ง ๑ ตั้งใจสอนประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจพระธรรมวินัยถูกต้อง ๑ พระธรรมวินัยเป็นคุณความดีที่เหมาะสมแก่คนทุกคน มีความหมายคู่มือในการครองตนที่ดียิ่ง
พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ย่อมมีชีวิตอยู่ด้วยความสงบ ทำตนให้มากกว่าเป็นผู้รับ ละเว้นความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่รุนแรง ไม่ทะเยอทะยานในเรื่องลาภ ยศ มีน้ำใจประกอบด้วยเมตตา มีความเลื่อมใสมั่นในกฎของกรรม และมุ่งความสงบเป็นที่ตั้ง ชีวิตของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ปัจจุบันนี้มีความหมายที่การบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อการพระศาสนา ๑ การศึกษา ๑ การสังคมสงเคราะห์ที่ไม่ขัดต่อสมณวิสัย ๑
๓) เพื่อเป็นที่บำเพ็ญบุญที่มีเหตุผลของประชาชนทั่วไป
๔) เพื่อเป็นแหล่งของการศึกษา และเป็นที่ก่อกำเนิดของคุณธรรมทั้งหลาย โดยเฉพาะที่เป็นสำคัญ ก็คือ สัจจะ เมตตา สามัคคี มีวินัย ซึ่งเป็นหัวใจของชุมชนทั่วไป
๕) เพื่อเป็นศูนย์แห่งวัฒนธรรมประจำหมู่บ้าน
๘. ชีวิตวัดในพระพุทธศาสนา มีภาวะเหมือนชีวิตคนประการหนึ่ง คือ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๒ ส่วน ได้แก่
๑) รูป คือ ร่างประกอบด้วย ที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณร คือ กุฏิ ที่บำเพ็ญกิจสงฆ์ คือ อุโบสถ ที่บำเพ็ญ คือ ศาลาการเปรียญ ที่ศึกษาเล่าเรียน คือ โรงเรียน และสถานที่อื่น ๆ ตามความจำเป็น และความต้องการที่ชอบอีกตามสมควร
สถานที่เสนาสนะกุฏิเหล่านี้ สร้างขึ้นให้มีขนาดเหมาะสมตามความจำเป็น มิใช่มุ่งความใหญ่โตสวยงาม ได้รับการตบแต่งให้เรียบร้อย ไม่หรูหรา เหมือนสถานที่ของชาวบ้าน บริเวณโดยรอบของเสนาสนะกุฏิและสถานที่เหล่านั้น สะอาด เรียบร้อย ปราศจากความเลอะเทอะ รกรุงรังทุกประการ
๒) นาม คือ จิตใจ ประกอบด้วยสมณะสัญญา สมณะสารูป และสมณะปฏิปทา คือ การเรียน การปฏิบัติ การสอน ของพระภิกษุสามเณร กับบุญกิริยา และธรรมศึกษา สัมมาปฏิบัติ ของทายก ทายิกา ประชาชนทั่วไป วัดที่ขาดสามส่วนประกอบสำคัญ ๒ อย่างนี้ ส่วนใดส่วนหนึ่ง คือ มีแต่รูป ไม่มีนาม หรือมีแต่นามไม่มีรูป หามีสภาพเป็นวัดในพระพุทธศาสนาไม่ ควรเรียกว่า ‘วัดตาย’ เพราะไม่มีทางที่จะให้เกิดประโยชน์อะไรได้
๙. กระผมมีความสลดใจและเกิดความวิตกกังวลถึงภัยอันตรายที่จะมีมาสู่พระพุทธศาสนา อันเป็นที่เคารพบูชาสูงสุดในอนาคตอันใกล้เป็นอย่างมาก ในเมื่อนึกถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ คือ วัดบางวัดค่อนข้างมีจำนวนมาก ในหัวเมือง คนมีความสนใจเฉพาะการสร้างเพียงรูปวัดเท่านั้น ไม่นึกถึงการสร้างนามวัด หรือ จิตใจวัดบ้างเลย คือ พยายามสร้างกันแต่กุฏิ ศาลาการเปรียญ โบสถ์ หอสวดมนต์ หอฉัน หอระฆัง และสิ่งอื่น ๆ อย่างใหญ่โตสวยงาม หรูหรา ใช้เงินจำนวนมากโดยการรบกวนประชาชนให้ต้องจำยอมเสียสละด้วยอุบายต่าง ๆ ซึ่งไม่ตรงพุทธประสงค์ ทำให้ประชาชนเกิดความท้อถอย เสื่อมศรัทธากับต้องเดือดร้อน เพราะเรื่องสร้างวัด แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็ไม่ใช้ทำอะไรตามที่แสดงเจตนารมณ์ออกมาเพื่อโฆษณาชวนเชื่อ
๒. การพัฒนาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งส่วนหนึ่งของชีวิต และสิ่งทั้งหลาย ที่เนื่องด้วยชีวิตคน เพราะคนและสิ่งที่เนื่องด้วยชีวิตคนทุกประการ ย่อมมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการพัฒนา ถ้าไม่มีการพัฒนา หรือหยุดการพัฒนา ก็ย่อมหมดชีวิต คือ ถึงความสิ้นสุดทันที
๓. คำว่า พัฒนา ท่านแปลว่า ความเจริญ คำว่า ความเจริญ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เหมาะสมชีวิตทุกชีวิต และสิ่งที่เนื่องด้วยชีวิตทุกอย่างย่อมแปรปรวน เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของมัน ตราบใดที่ยังเป็นชีวิตอยู่หรือยังมีชีวิตอยู่ ก็จะหนีความเปลี่ยนแปลงไปไม่พ้น เพราะถ้าหยุดเปลี่ยนแปลงเมื่อใดก็ย่อมถึงความสิ้นสุดเมื่อนั้น
๔. ความเปลี่ยนแปลงนั้นมีสองทาง คือ ความเปลี่ยนแปลงในทางที่เหมาะสม ๑ กับความเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่เหมาะสมอีก ๑ ความเปลี่ยนแปลงในทางที่เหมาะสม เรียกว่า ความเจริญ ความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เหมาะสม เรียกว่า ความเสื่อม
๕. พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ก็จัดว่าเป็นสิ่งมีชีวิต หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นสิ่งที่เนื่องด้วยชีวิต จึงต้องอยู่คู่กับการพัฒนา ถ้าขาดการพัฒนาก็หมดชีวิต หรือขาดชีวิต เพราะไม่มีชีวิต
๖. คำว่า ชีวิต หมายถึง ความปรากฏอยู่แห่งผลของการงาน และหน้าที่ ชีวิตคนก็คือ ความปรากฏอยู่แห่งการงานที่จริงของคน อันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของคน ซึ่งเกิดมาเพื่อช่วยกันสร้าง มิใช่คอยมุ่งช่วยกันทำลายชีวิตของพระสงฆ์ในวัดพระพุทธศาสนา จึงได้แก่แหล่งที่ปรากฏออกมา ซึ่งผลแห่งการงานของพระพุทธศาสนา ซึ่งปกคลุมอยู่ด้วยความปกติสุข และความสงบสุขทุกประการ ตลอดเวลา
๗. วัดในพระพุทธศาสนา เกิดขึ้นและดำรงอยู่ด้วยความมุ่งหมาย ดังต่อไปนี้ คือ
๑) เพื่อประกาศพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความมุ่งหมายให้คนทำความดี เพื่อช่วยตนและคนอื่นให้มีความปกติสุข เว้นการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน
๒) เพื่อเป็นที่อยู่ของภิกษุสงฆ์ ผู้มีหน้าที่ดำรงพระพุทธศาสนาไว้เพื่อตนและประชาชน โดยการกระทำ ๓ ประการ คือ ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ๑ ตั้งใจปฏิบัติพระธรรมวินัย ๑ เพื่อตนกับเพื่อเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน เพราะทุกวันนี้ ได้ยินแต่เสียงที่สอนให้ทำดี แต่คนที่ทำดีให้เห็นหายากอย่างยิ่ง ๑ ตั้งใจสอนประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจพระธรรมวินัยถูกต้อง ๑ พระธรรมวินัยเป็นคุณความดีที่เหมาะสมแก่คนทุกคน มีความหมายคู่มือในการครองตนที่ดียิ่ง
พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ย่อมมีชีวิตอยู่ด้วยความสงบ ทำตนให้มากกว่าเป็นผู้รับ ละเว้นความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่รุนแรง ไม่ทะเยอทะยานในเรื่องลาภ ยศ มีน้ำใจประกอบด้วยเมตตา มีความเลื่อมใสมั่นในกฎของกรรม และมุ่งความสงบเป็นที่ตั้ง ชีวิตของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ปัจจุบันนี้มีความหมายที่การบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อการพระศาสนา ๑ การศึกษา ๑ การสังคมสงเคราะห์ที่ไม่ขัดต่อสมณวิสัย ๑
๓) เพื่อเป็นที่บำเพ็ญบุญที่มีเหตุผลของประชาชนทั่วไป
๔) เพื่อเป็นแหล่งของการศึกษา และเป็นที่ก่อกำเนิดของคุณธรรมทั้งหลาย โดยเฉพาะที่เป็นสำคัญ ก็คือ สัจจะ เมตตา สามัคคี มีวินัย ซึ่งเป็นหัวใจของชุมชนทั่วไป
๕) เพื่อเป็นศูนย์แห่งวัฒนธรรมประจำหมู่บ้าน
๘. ชีวิตวัดในพระพุทธศาสนา มีภาวะเหมือนชีวิตคนประการหนึ่ง คือ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๒ ส่วน ได้แก่
๑) รูป คือ ร่างประกอบด้วย ที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณร คือ กุฏิ ที่บำเพ็ญกิจสงฆ์ คือ อุโบสถ ที่บำเพ็ญ คือ ศาลาการเปรียญ ที่ศึกษาเล่าเรียน คือ โรงเรียน และสถานที่อื่น ๆ ตามความจำเป็น และความต้องการที่ชอบอีกตามสมควร
สถานที่เสนาสนะกุฏิเหล่านี้ สร้างขึ้นให้มีขนาดเหมาะสมตามความจำเป็น มิใช่มุ่งความใหญ่โตสวยงาม ได้รับการตบแต่งให้เรียบร้อย ไม่หรูหรา เหมือนสถานที่ของชาวบ้าน บริเวณโดยรอบของเสนาสนะกุฏิและสถานที่เหล่านั้น สะอาด เรียบร้อย ปราศจากความเลอะเทอะ รกรุงรังทุกประการ
๒) นาม คือ จิตใจ ประกอบด้วยสมณะสัญญา สมณะสารูป และสมณะปฏิปทา คือ การเรียน การปฏิบัติ การสอน ของพระภิกษุสามเณร กับบุญกิริยา และธรรมศึกษา สัมมาปฏิบัติ ของทายก ทายิกา ประชาชนทั่วไป วัดที่ขาดสามส่วนประกอบสำคัญ ๒ อย่างนี้ ส่วนใดส่วนหนึ่ง คือ มีแต่รูป ไม่มีนาม หรือมีแต่นามไม่มีรูป หามีสภาพเป็นวัดในพระพุทธศาสนาไม่ ควรเรียกว่า ‘วัดตาย’ เพราะไม่มีทางที่จะให้เกิดประโยชน์อะไรได้
๙. กระผมมีความสลดใจและเกิดความวิตกกังวลถึงภัยอันตรายที่จะมีมาสู่พระพุทธศาสนา อันเป็นที่เคารพบูชาสูงสุดในอนาคตอันใกล้เป็นอย่างมาก ในเมื่อนึกถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ คือ วัดบางวัดค่อนข้างมีจำนวนมาก ในหัวเมือง คนมีความสนใจเฉพาะการสร้างเพียงรูปวัดเท่านั้น ไม่นึกถึงการสร้างนามวัด หรือ จิตใจวัดบ้างเลย คือ พยายามสร้างกันแต่กุฏิ ศาลาการเปรียญ โบสถ์ หอสวดมนต์ หอฉัน หอระฆัง และสิ่งอื่น ๆ อย่างใหญ่โตสวยงาม หรูหรา ใช้เงินจำนวนมากโดยการรบกวนประชาชนให้ต้องจำยอมเสียสละด้วยอุบายต่าง ๆ ซึ่งไม่ตรงพุทธประสงค์ ทำให้ประชาชนเกิดความท้อถอย เสื่อมศรัทธากับต้องเดือดร้อน เพราะเรื่องสร้างวัด แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็ไม่ใช้ทำอะไรตามที่แสดงเจตนารมณ์ออกมาเพื่อโฆษณาชวนเชื่อ
*******************
หน้าที่และบทบาทของพระสงฆ์
หน้าที่หลักของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ได้แก่การศึกษาหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาแล้วปฏิบัติตาม พร้อมทั้งนำหลักคำสอนมาเผยแผ่แก่ประชาชน
สำหรับพระสงฆ์ไทย มีหน้าที่และบทบาทที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยตรงและเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ดังนี้.-
1. ด้านการปกครองคณะสงฆ์ ได้แก่ งานด้านการบริหารพระภิกษุสามเณร ซึ่งพระสงฆ์ที่มีความรู้ ความสามารถจะได้รับแต่งเป็นเจ้าคณะต่างๆ ตำแหน่งสังฆราช เป็นตำแหน่งสูงที่สุด รองลงมาได้แก่เจ้าคณะหน เจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส และเลขานุการแต่ละเจ้าคณะ เป็นตำแหน่งสุดท้าย, มหาเถรสมาคม ถือว่าเป็นองค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ทั้งสองนิกาย
2. ด้านการจัดการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรและประชาชนทั่วไป ได้แก่ งานบริหารและเป็นอาจารย์สอนตามสถาบันการศึกษาของสงฆ์ที่มีอยู่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงฆ์ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม-บาลี และแผนกสามัญศึกษา (ม.1-ม.6)
3. ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ได้แก่ การสอน การอบรม การแสดงธรรม การปาฐกถาธรรม และการเขียนตำรา และการปฏิบัติธรรม โดยเผยแผ่ผ่านสื่อต่างๆ เช่นวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
4. ด้านการก่อสร้างและการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม หมายถึง การเป็นผู้ดูแลการสร้างวัดวาอาราม และรักษาบูรณะซ่อมแซม
5. ด้านการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์แก่สังคม ได้แก่ การมีส่วนรวมในการทำประโยชน์แก่สังคมด้านต่างๆ เช่น การจัดการศึกษาแก่เด็กด้อยโอกาส การต่อต้านยาเสพติด การบริจาคเงินทุนแก่หน่วยงานต่างๆ และการส่งเสริมวิชาชีพต่างๆ เป็นต้น
บทบาทของพระสงฆ์ในปัจจุบันที่ปรากฏในสังคมไทย
พระสงฆ์ไทยมีบทบาทที่ได้ปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้
1. การจัดการศึกษาแก่ชาวบ้าน (ทั้งมหาวิทยาลัย และระดับมัธยมศึกษา ตลอดจนเด็กเล็ก)2. การเป็นครูผู้สอนตามสถาบันการศึกษาต่างๆ 3. การช่วยเหลือสังคมด้านการบริจาคทุนทรัพย์แก่หน่วยงานต่างๆ 4. การช่วยเหลือด้านการรักษาโรคพยาบาลแก่ผู้ยากจน5. การเป็นผู้นำชุมชนในการพัฒนาชุมชน 6. การเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหายาเสพติด 7. การช่วยเหลือด้านการสร้างสถานที่ราชการ8. การเผยแผ่หลักธรรมผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ โดยการเป็นผู้แสดงธรรม ปาฐกถาธรรม และการประพฤติปฏิบัติธรรมฯ
หน้าที่ของพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัย
พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา มีหน้าที่ศึกษา ปฏิบัติธรรม เผยแผ่คำสอน และสืบต่อพระพุทธศาสนาโดยตรง มีคุณธรรมและหลักความประพฤติที่ต้องปฏิบัติมากมาย แต่กล่าวตามหน้าที่ทางศาสนาแล้ว มี 6 อย่าง ได้แก่.-
1. ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว2. แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี3. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี4. ให้ได้ฟัง ได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ ไม่เคยฟัง5. ชี้แจงอธิบาย ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
6. บอกทางสวรรค์ สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุข ความเจริญในชีวิ9
6. บอกทางสวรรค์ สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุข ความเจริญในชีวิ9
************************
บทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาจริยธรรมสังคม1. บทบาททางการให้การศึกษา
การเรียนการสอนสมัยก่อนที่จะมีเป็นแบบแผน เช่น เป็นรูปชั้นเรียน มีเวลากำหนดแน่นอนตายตัวอย่างโรงเรียนในความหมายของปัจจุบันนั้นยังไม่มีทั่วไปเป็นการเยนการสอนอย่างไม่เป็นระบบขึ้นอยู่กับครูผู้สอน แล้วแต่สถานที่และสิ่งแวดล้อม ส่วนมากลูกชาวนา เมื่อมาเรียนสามารถอ่านเขียนด้วยพยัญชนะและแจกลูกถึงแม่เกยแล้ว ก็มักจะลาพระอาจารย์กลับไปอยู่บ้านเพื่อช่วยพ่อแม่ประกอบอาชีพ ถ้าพ่อแม่มีกำลังก็ให้ลูกไปเรียนต่อ จนอายุครบบวชเรียนพระธรรมวินัยต่อไป จะได้เรียนหนังสือขอมหรือภาษาบาลีบ้าง หรือไม่บวชแต่สมัครใจเรียนวิชาชีพใดพ่อแม่ก็มักจะนำไปฝากพระสงฆ์ที่ท่านมีความรู้ในด้านวิชานั้นๆ เมื่อชาวบ้านนิมนต์พระสงฆ์ที่มีความรู้ไปทำอะไร ลูกศิษย์ก็มักจะได้ความรู้และจดจำไว้จนชำนาญในที่สุด และเมื่อไม่ได้เรียนหนังสือและไม่ได้ไปรับราชการที่เกี่ยวกับหนังสือในวัง ก็ไม่รู้ว่าจะเอาความไปทำอะไร นานเข้าก็ลืมหมด
สมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมัยของการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมครั้งแรกของเมืองไทย งานด้านพระศาสนาก็ได้รับการปรับปรุงด้วย พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีอาจารย์สอนเลข สอนหนังสือไทยในทุก ๆ พระอาราม เนื่องจากทรงมีพระราชดำริว่า เด็กผู้ชายที่จะสนใจเล่าเรียนหนังสือไทย ลายมือวิชาหนังสือและกระบวนการเลขโหรอย่างที่เป็นมานั้นน้อยส่วนผู้ปกครองก็มีประสงค์จะให้บุตรหลานของตนได้เรียน แต่เมื่อนำไปฝากไว้กับพระก็จะมีเด็กที่เอาใจใส่เล่าเรียนหนังสือไทย ลายมือวิชาหนังสือและกระบวนการเลขโหรอย่างที่เป็นมานั้นน้อยส่วนผู้ปกครองก็มีประสงค์จะให้บุตรหลานของตนได้เรียน แต่เมื่อนำไปฝากไว้กับพระก็จะมีเด็กที่เอาใจใส่จะได้วิชาไปน้อย หากเป็นเช่นนี้ผู้จะเรียนรู้หนังสือไทย บายมือ และเลขไทยก็เสื่อมสูญ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งพระราชาคณะ พระครูฐานานุกรม เปรียญที่ได้รับพระราชทานนิตยภัตฐานาศักดิ์ในพระอารามหลวง สำหรับจะได้สั่งสอนพระภิกษุสามเณรและศิษย์วัด เหตุที่ทรงมีพระราชดำริให้มีการสอนที่วัด เนื่องจากการศึกษาของไทยแต่เดิมมาศูนย์กลางจะมี 2 แห่งคือ วัด กับ วัง เนื่องจากสถานที่ทั้งสองนั้นเป็นที่รวบรวมความรู้ ศิลปิน และช่างฝีมือ ส่วนเป็นสถานที่ที่คนทั่วไปเข้าไม่ถึง คนส่วนมากจึงมุ่งเข้ารับการศึกษาในวัด เนื่องจากวัดมีแพร่หลายในทุกท้องถิ่น เป็นสถานที่เปิดสำหรับคนทั่วไป เป็นศูนย์กลางและเป็นแหล่งให้การศึกษาแก่ประชาชนส่วนใหญ่
จากเหตุผลดังกล่าวมาแล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้มีประกาศโรงเรียนขึ้นเมื่อวันศุกร์เดือน 6 แรม 3 ค่ำ ปีระกา สัปตศก 124 ( พ.ศ. 2428 ) โดยใช้วัดเป็นสถานศึกษา ในสมัยรัชกาลที่ 5 การศึกษาที่พระสงฆ์พึงจัดขึ้นนั้นแบ่งเป็น 2 ตอน คือ วิชาขั้นต้น เช่น หนังสือสอนเพียงอ่านออกเขียนได้ เลขเพียงทำบวก ลบ คูณ หาร สามัญได้และธรรมจริยา เพียงให้รู้บุญบาปข้อต้น ๆ ที่ควรรู้เรียกว่า “มูลศึกษา” วิชาต่อไปนั้นจนถึงสอบไล่ได้ประโยคหนึ่ง จึงเป็น “ประถมศึกษา” บริบูรณ์ การศึกษาเข้ามูลศึกษานั้น โดยปกติให้สอนตามวัด เนื่องจากเมื่อรัฐเปิดโรงเรียนขึ้นแล้ว ประชาชนที่อยู่ในบริเวณโรงเรียนก็ส่งบุตรหลานไปเรียน แต่บรรดาศิษย์วัดก็ไม่ได้เรียนต่อ และคนก็ไม่นิยมส่งบุตรหลานมาอยู่วัดเพื่อให้เข้าเรียนแต่ส่งบุตรหลายไปโรงเรียนเลย รัชกาลที่ 5 จึงโปรดให้จัดการศึกษา ดังนี้
1 ) ตำบลใดมีเด็กที่ไม่มีความรู้อ่านออกเขียนได้ ทำเลขสามัญบวก ลบ คูณ หารได้มากกว่า 30 คนยังไม่สร้างโรงเรียน แต่ให้สอนทั้งชั้นมูลและประถมศึกษาโดยพระสงฆ์
2 ) หากมีนักเรียนพ้นมูลศึกษาขึ้นไปกว่า 30 คน จึงสร้างโรงเรียนประถมศึกษา การจัดตั้งโรงเรียนให้หาศาลา หรือสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งในวัดใดวัดหนึ่งตั้งเป็นโรงเรียน ส่วนครูคัดจากพระสงฆ์ที่มีความรู้สูงพอจะสอนชั้นประถมศึกษาได้มาเป็นครู และพระสงฆ์ที่จะมาสอนจะได้รับทุนอุดหนุนกว่าปกติจากการแนะนำชักชวนทายกทั้งหลายให้ออกทรัพย์เพื่อเกื้อกูล รวมไปถึงการบอกบุญเรี่ยรายเพื่อสร้างสถานที่ที่ใช้ศึกษาเล่าเรียนด้วย
นอกจากจัดการเรียนการสอนแล้ว พระสงฆ์โดยเจ้าคณะมณฑลจะดำเนินการสอบไล่ในส่วนของหัวเมืองส่วนในกรุงเทพกระทรวงศึกษาธิการจะดำเนินการสอบไล่เองตั้งแต่อดีตวัดกับวังได้ร่วมมือกันให้การศึกษาแก่ประชาชนมาโดยตลอด จนถึงการจัดการศึกษาแผนใหม่ในสมัยรัฐกาลที่ 5 วัดและคณะสงฆ์ยังให้ความร่วมมือจัดการศึกษาของชาติอยู่โดยเฉพาะในระดับมูลศึกษาและประถมศึกษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระสงฆ์เองเป็นผู้จัดการศึกษาหัวเมือง เมื่อถึงรัชกาลที่ 6 การศึกษาระบบเก่า (ระบบวัด) กับการศึกษาระบบใหม่จึงแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด หน้าที่ทางให้การศึกษาโดยตรงของพระสงฆ์ จึงจำกัดอยู่แต่ในวัดและประชาชนในวงแคบเท่านั้น อย่างไรก็ตามจากความสำคัญของวัดและพระพุทธศาสนาในอดีต ทำให้เกิดประเพณีที่สำคัญทีพระพุทธศาสนาไปเกี่ยวข้องกับการศึกษาจนมาถึงปัจจุบัน คือ
ในปัจจุบันบทบาทของพระสงฆ์ในด้านการให้การศึกษาแก่ประชาชนนั้นอาจแบ่งได้ดังนี้
1) ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์
2) โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
3) ธรรมศึกษา
4) ครูสอนศีลธรรมในโรงเรียน / พระธรรมวิทยากร
1) ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ ในปี พ.ศ. 2516 สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (วาสน์ วาสโน ) ได้ทรงปรารภกับนายอภัย จันทวิมล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสมัยนั้นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะให้ทางคณะสงฆ์พิจารณาหาทางจัดการสอนเด็กและประชาชนให้มีความรู้อ่านออกเขียนได้ แม้ว่าจะมีโรงเรียนในระบบการศึกษาของชาติรับผิดชอบ ปัญหาที่สำคัญคือ รัฐไม่สามารถจัดการศึกษาให้เด็กได้เข้าเรียนก่อนเกณฑ์ได้ทั้งหมดเนื่องจากเกณฑ์บังคับของเด็กเรียนชั้นประถมต้องอายุ 8 ปีขึ้นไป เมื่ออายุครบเกณฑ์ก็อาจมีเด็กไม่น้อยก็ต้องเรียนซ้ำชั้นอยู่ ไม่สามารถขึ้นไปเรียนในชั้นประถมปีที่ 2 ได้ แม้ว่ากระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้งโรงเรียนอนุบาลขึ้นเพื่อแก้ปัญหาโดยมีทั้งรัฐและเอกชนจัด แต่ต้องอาศัยการงทุนมาก จากแนวคิดดังกล่าวและเห็นว่าวัดต่างๆ ก็มีส่วนช่วยเหลือในด้านการศึกษาของประชาชน เช่น ใช้พื้นที่วัดเป็นที่ตั้งโรงเรียน ส่งเสริมการจัดตั้งโรงเรียนวัดขึ้น สอนเด็กที่มีอายุก่อนเกณฑ์บังคับนักเรียนในโรงเรียนตามกฎหมายด้วยการประถมศึกษา โดยมีพระเป็นครู ในขั้นต้นเลอกวัดที่มีสถานที่กว้างขวาง และมีพระภิกษุที่พอจะสามารถทำการสอนก่อนเกณฑ์ บังคับโดยมีพระเป็นครู ในขั้นต้นเลือกวัดที่กระทรวงศึกษาธิการจะดำเนินการตามนโยบายนี้ มีบางวัดได้ทำโครงการจัดตั้งโรงเรียนวัดสอนเด็กก่อน ของกระทรวงศึกษาธิการ เสนอต่อมหาเถรสมาคม ดังนี้
1 ) เป็นโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการกุศล โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น
2 ) ให้ชื่อว่า “ โรงเรียนวัด.............”
3 ) ให้สอนเด็กก่อนเกณฑ์บังคับตามกฎหมายทั้งชาย หญิง อายุตั้งแต่ 5 ปี ถึงย่างเข้าปีที่ 8
4 ) ให้พยายามสอนผู้ใหญ่ที่ไม่รู้หนังสือ ให้มีความรู้อ่านออกเขียนได้
5 ) ครูผู้สอน คือ พระภิกษุ สามเณร และจะให้”ฆราวาสเป็นครูช่วยสอนก็ได้
6 ) ความมุ่งหมายของโรงเรียน คือ เตรียมเด็กให้พร้อมที่จะเข้าเรียนในภาคบังคับ
7 ) ในขั้นต้นให้จัดตั้งขึ้นตามวัด และศาสนศึกษาต่างๆ อย่างน้อยอำเภอละ 2 แห่ง
ในปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อจาก “โรงเรียนวัดสอนเด็กก่อนเกณฑ์” เป็น “ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา และรับเด็กเล็กทั้งชาย – หญิง ตั้งแต่อายุ 3 ปี ถึงย่างปีที่ 6
2 ) โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ประเทศไทยได้จัดตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้นครั้งแรกที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมหาวิทยาลัยแห่งคณะสงฆ์ไทย วัดมหาธาตุ ฯ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 12 กรกฏาคม พ.ศ. 2501 โดยได้มาจากการดูงานของพระพิมลธรรม (อาจ อาสภเถระ) สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองคณะสงฆ์ไทย และองค์สภานายกมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เดินทางไปดูกิจการพระพุทธศาสนาที่ประเทศศรีลังกา เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2496 - 2500 ได้เห็นการอบรมศีลธรรมวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีทางพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะวันอาทิตย์ ปรากฏว่า ประเทศศรีลังกาซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2429 และได้ผลดีมาก จึงนำมาเริ่มจัดตั้งในประเทศไทยหน่วยงานนี้ระยะแรกขึ้นตรงต่อสำนักธรรมวิจัย มีการบรรยายธรรม ฝึกสมาธิให้แก่บุคคลทั่วไปในวันอาทิตย์ และวันธรรมสวนะ ในปี พ.ศ. 2505 จึงได้ยกฐานะโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้นเป็นแผนหนึ่งต่างหาก เรียกว่า “แผนกโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
จากการเริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2501 จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2503 มีนักเรียนมาสมัครเป็นจำนวนมาก สภาการศึกษามหามงกุฎราชวิทยาลัย จึงได้เปิดโรงเรียนขึ้นเป็นแห่งที่ 2 ต่อมาปี พ.ศ. 2507 จึงมีวัดต่างๆ เช่น วัดอนงคาราม วัดเบญจมบพิตร วัดปากน้ำ เป็นต้น ได้เปิดขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก จนปี พ.ศ. 2518 กรมการศาสนาจึงรับ โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ต่างๆ เข้าอยู่ในความอุปถัมภ์ และจัดสรรงบประมาณตามจำนวนนักเรียน
3 ) ธรรมศึกษา หลักสูตรแบ่งเป็น 3 ชั้น คือ ชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก เมื่อสอบผ่านจะได้รับใบประกาศนียบัตร ธรรมศึกษาที่สอบไล่ได้ตามลำดับ
4 ) พระธรรมวิทยากร แผนกธรรมวิทยากร ดำเนินการโดยสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย มีประธานนักศึกษาเป็นหัวหน้าโดยตำแหน่ง เป็นหน่วยงานของคณะกรรมการนักศึกษาขึ้นกับกองกิจการนักศึกษา ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 โดยมีความเห็นว่าเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ และของพระพุทธศาสนานั้นควรจะเป็นผู้เพียบพร้อมไปด้วยความรู้ทางวิชาการ และศีลธรรมควบคู่กันไป อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ด้วยเหตุนี้พระนักศึกษาซึ่งเป็นกรรมการนักศึกษาในสถาบันแห่งนี้เห็นว่า พระนักศึกษาควรจะเป็นผู้มีส่วน ในการอบรมสั่งสอนศีลธรรมวัฒนธรรมและปลูกฝังค่านิยมอันดีงามแก่เยาวชน จึงจัดตั้งแผนกนี้ขึ้น เรียกว่า “แผนกธรรมวิทยากร” โดยการรับสมัครพระนักศึกษาที่มีความรู้ ความสามารถ อาสาพัฒนางานศาสนกิจส่วนนี้ โดยการไปสอนวิชาพระพุทธศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ตามโรงเรียนและสถานศึกษาต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล โดยได้ดำเนินการติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากกลุ่มพระธรรมวิทยากรแล้ว ยังมีพระที่ทำหน้าที่สอนศีลธรรม และวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนอื่นๆ เช่น ครูสอนศีลธรรมในโรงเรียนของ กทม. ซึ่งดำเนินการโดยเจ้าคณะจังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็นต้น พระเหล่านี้เรียกชื่อต่างกันไป แต่ทำหน้าที่เหมือนกันคือ สอนวิชาพระพุทธศาสนาแก่เยาวชนในโรงเรียน
2. บทบาทด้านการเผยแผ่ธรรมะ
สมัยโบราณการเผยแผ่ธรรมของพระสงฆ์ จำกัดอยู่เฉพาะในขอบเขตของวัดและชาวบ้านตามประเพณีและโอกาสอันสมควร เช่น การเทศนาสั่งสอนชาวบ้านในวันพระ หรือวันที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา การเทศน์ในงานบุญพิธีหรืองานบำเพ็ญกุศลต่างๆ เช่น งานทำบุญบ้าน งานศพหรือในโอกาสที่ญาติโยมไปวัดเพื่อทำบุญหรือขอคำปรึกษาเป็นต้น
ปัจจุบัน เมื่อกิจการพระศาสนาเจริญเติบโตเป็นปึกแผ่น มีการจัดองค์การทางศาสนาที่เป็นระบบและระเบียบแบบแผน ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการขนส่งและการสื่อสารช่วยให้การเดินทางไปในถิ่นต่างๆ มีความสะดวกยิ่งขึ้น และสามารถส่งข่าวสารในรูปแบบต่างๆ ถึงคนจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจึงได้ใช้ประโยชน์จากความกว้างหน้าดังกล่าว พระสงฆ์ในยุคปัจจุบันสามารถดำเนินการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างกว้างขวางและเข้าถึงประชาชนกลุ่มต่างๆ ได้มากขึ้น
1. พระธรรมจาริก พระธรรมจาริก คือ พระสงฆ์ไทยที่เสียสละและสมัครใจเดินทางไปปฏิบัติงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวเขาในท้องที่จังหวัดต่างๆ ที่มีชาวเขาอาศัยอยู่ ทั้งนี้เนื้องจากในระยะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันยังมีชาวเขาและชาวไทยกว่า 500,000 คน ซึ่งอาศัยอยู่ตามป่าลึกบนภูเขาในท้องที่ทุรกันดานตามชายแดนภาคเหนือ และภาคต่างๆ ของประเทศ ห่างไกลจากคมนาคมยากลำบากแก่การไปมาหาสู่ได้ทั่วถึง คนเหล่านี้จึงห่างไกลจากพระศาสนา ส่วนใหญ่นับถือพวกภูตผีปีศาจ ไม่รู้จักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การดำเนินการการเผยแผ่พระพุทธศาสนา แสดงตนเป็นพุทธมามกะและส่งบุตรหลานเข้าบรรพชาอุปสมบทเป็นจำนวนมาก และได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ทั้งฝ่ายปริยัติธรรมและสามัญ และเดินทางเข้าไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามภูมิลำเนาอันเป็นเผ่าเดิมของตนต่อไป (กรมประชาสงเคราะห์ , 2522 : คำนำ )
โดยที่การดำเนินงานของพระธรรมจาริก มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาชนบทโดยเฉพาะท้องถิ่นห่างไกลทุระกันดาร ทางราชการจึงให้การสนับสนุนและจัดตั้งเป็นโครงการที่ดำเนินงานงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและคณะสงฆ์ โดยมีวัตถุประสงฆ์ในการพัฒนาระดับความเป็นอยู่ของประชาชนนอกเหนือจากการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ในปี พ.ศ. 2508 กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย ได้อาราธนาพระภิกษุสงฆ์ไทยเรียกว่า “ คณะพระธรรมจาริก” เดินทางขึ้นไปปฏิบัติศาสนกิจตามหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่างๆ ในภาคเหนือเป็นประจำทุกปี และได้มีชาวเขาเลื่อมใสศรัทธาส่งบุตรหลานเข้าบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุสามาเณรเป็นจำนวนไม่น้อย เมื่อได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว พระภิกษุสามาเณรเหล่านี้ ได้เข้ารับการศึกษาอบรมพระพุทธศาสนา แก่พระภิกษุสามาเณรชาวเขา อย่างไรก็ดีแม้ว่าการดำเนินงานของพระธรรมจาริกตามโครงการดังกล่าว จะได้ผลดีมาตามลำดับ แต่โดยที่การดำเนินการยังอยู่ในวงจำกัดและมีระยะสั้น ตลอดจนงบประมาณในการดำเนินงานยังไม่เพียงพอ จึงได้มีการจัดตั้งมูลนิธิเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ประชาชนถิ่นทุรกันดารขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 เพื่อถวายความอุปถัมภ์สนับสนุนให้พระธรรมจาริกได้อยู่ประจำ สั่งสอนธรรมตามหมู่บ้านและชาวไทยที่อยู่ห่างไกล ต่อจากนั้นจะให้พระภิกษุซึ่งเป็นคนเผ่าเดียวกันในหมู่บ้านนั้นอยู่ประจำสืบไป นอกจากการสอนพระธรรมซึ่งเป็นงานหลักแล้ว พระธรรมจาริกจะช่วยสอนหนังสือแก่เยาวชน และช่วยในการรักษาพยาบาลขั้นต้นด้วย ซึ่งในการดำเนินการ ดังกล่าวจำเป็นต้องอาศยเงินงบประมาณสนับสนุนมิใช่น้อย ทั้งนี้ สมเด็จพระพุทธวงศ์มุนี เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร ประธานคณะพระธรรมจาริกในขณะนั้นและกองสงเคราะห์ชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ ได้พิจารณาและเห็นต้องกันว่า เมื่อผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันบริจาคทรัพย์เพื่อสนับสนุนงานพระธรรมจาริกมากขึ้น และเพื่อให้กิจกรรมส่วนนี้ได้กระทำอย่างกว้างขวางและถาวรสืบไป จึงได้จัดตั้งมูลนิธิขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1 ) เพื่อความสนับสนุนพระสงฆ์ไทย ที่มีจิตศรัทธาไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตามหมู่บ้านชาวเขา
2 ) เพื่อให้ความสนับสนุนแก่ชาวเขาและชาวไทยในถิ่นทุรกันดาร ที่จะประสงค์จะเข้าบรรพชาอุปสมบท
3 ) จัดให้มีสำนักสงฆ์และวัดตามสถานที่ที่เหมาะสม
4 ) ให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือแก่ชาวเขาและชาวไทย ผู้ได้รับความเดือดร้อนในความเป็นอยู่เพื่อให้เกิดความศรัทธาในพุทธศาสนา
งานของพระธรรมจาริกอยู่ในความอุปถัมภ์ของกรมประชาสงเคราะห์ ภายได้การดูแลของเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ เพราะพื้นที่ในการปฏิบัติงานเป็นเขตพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งปัจจุบันเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ คือท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง ป.ธ. 9 ) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ และงานของพระธรรมจาริกก็ยังดำเนินไปตามวัตถุประสงฆ์จนปัจจุบันนี้
2 ) พระธรรมทูต คือ พระภิกษุที่มีความรู่ในทางพระพุทธศาสนาพอสมควร ที่จะดำเนินการเผยแผ่ได้ แล้วเสียสละไปพบกันประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ เพื่อหาทางโน้มน้าประชาชนให้เกิดความสนใจเลื่อมใสในคุณค่าแห่งศีลธรรมและพระพุทธศาสนา
แต่เดิมงานพระธรรมทูตเป็นงานที่ดำเนินงานเป็นเอกเทศในปี พ..ศ. 2508 มีการขยายงานพระธรรมทูตออกไปปฏิบัติในพื้นที่ประมาณ 48 จังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นจังหวัดชายแดน ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 รัฐบาลเห็นสมควรว่าที่จะได้สถาปนางานพระธรรมทูตขึ้นเป็นกิจการถาวรทางราชการจึงได้มอบงานพระธรรมทูตนี้ถวายมหาเถรสมาคม ให้เป็นกิจกรรมของคณะสงฆ์ คณะสงฆ์ได้มอบหมายให้ ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพนฯ เป็นแม่กองงานพระธรรมทูตกรรมการศาสนาเป็นผู้ประสานงานขึ้นเริ่มต้น โดยมีหน่วยงานราชการอื่นๆ เช่น กรป.กลาง กรมพัฒนาชุมชน กรมการปกครอง กรมตำรวจ กระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนและเป็นผู้ประสานงาน
กองงานพระธรรมทูตได้จัดการปฏิบัติงานพระธรรมทูตออกเป็น 9 สาย โดยอาราธนาพระเถระที่เคยมีประสบการณ์ในวงการคณะสงฆ์และวงการพระพุทธศาสนามาพอสมควร ให้เป็นหัวหน้าวัตถุประสงค์ของงานพระธรรมทูตมี 4 ประการ คือ
1 ) เพื่อเสริมสร้างศรัทธาของประชาชน ให้ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา
2 ) ให้ประชาชนมีศีลธรรมประจำตน
3 ) ให้ประชาชนมีความเคารพมั่นในชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
1) ให้ประชาชนมีความเข้าใจดีต่อกัน ในระหว่างคนที่นับถือศาสนาต่างกันลักษณะการดำเนินงานของพระธรรมทูต มีอยู่ 5 ประกรคือ
1.1) ศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อให้ทราบว่าประชาชนในถิ่นนั้นๆ มีสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงอย่างไรบ้าง
1.2 ) ศึกษาความต้องการในทางที่ชอบของประชาชน เพื่อให้ทราบว่าประชาชนในท้องถิ่นนั้นต้องการอะไรสำหรับความต้องการที่ชอบ
1.3 ) เยี่ยมเยียนประชาชนในยามยาก ในยามที่ประชาชนอาจจะรู้สึกว้าเหว่ ซึ่งอาจจะมีได้ในท้องถิ่น
1.4 ) แนะนำในการครองตน ให้แก่ประชาชนโดยธรรมวิธี
1.5 ) ปรับปรุงการนับถือพระพุทธศาสนาให้ถูกต้องหน้าที่ของพระธรรมทูต มี 3 ประการ คือ
1 ) มีหน้าที่อบรมประชาชน ให้มีความเคารพรักต่อชาติ พระศาสนาและ พระมหากษัตริย์
2 ) มีหน้าที่ที่จะต้องเสริมสร้างศีลธรรมให้แก่ประชาชน เพราะศีลธรรมเป็นพื้นฐานในการพัฒนา
3 ) มีหน้าที่ที่จะเสริมสร้างความเลี่ยมใส ความเข้าใจในพระพุทธศาสนาของประชาชนให้ถูกต้อง
2 ) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยทั่วไป ได้แก่
1 ) การเทศน์ หรือ บรรยายธรรมในโอกาสต่างๆ เช่น ในวันธรรมสวนะ (วันพระ) งานศพวันอาทิตย์ หรือตามทีได้รับนิมนต์ไปในสถานที่ต่างๆ เนื่องในวันสำคัญต่างๆ
2 ) การเผยแผ่โดยผ่านสื่อต่างๆ
2.1 ) วิทยุ
2.2 ) โทรทัศน์
2.3 ) สิ่งพิมพ์
3) การเผยแผ่ที่ควบคู่ไปกับพัฒนาด้านอื่นๆ เช่น พัฒนาด้านอื่นๆ เช่น พัฒนาหรือสงเคราะห์ด้านวัตถุแล้วโน้มให้หันเข้ามาหาธรรมะขั้นสูงๆ ขึ้นไป ด้วยศรัทธา ตัวอย่างเช่น ครูบาชัยยะ วงศาพัฒนาวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ได้พัฒนาวัดและคุณภาพชีวิตของชาวบ้านด้วยการสร้างวัตถุต่างๆ ตามแบบฉบับของพระนักพัฒนาชาวเหนือ อันมีครูบาศรีวิชัยเป็นแบบอย่าง โดยนับแต่เข้าที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้มเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ท่านให้การอุปการะและรณรงค์ชักจูงให้ชาวเขาเผ่าต่างๆ โดยเฉพาะกระเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาพึ่งใบบุญ ให้งดเว้นจากอบายมุขทุกประเภทโดยเฉพาะการสูบและปลูกฝิ่น ท่านสามารถรณรงค์จนกระทั่งชาวเขาส่วนใหญ่ละเลิกไปได้โดยเด็ดขาด พร้อมทั้งชาวบ้านเหล่านั้นยังกับเหล่านั้นยังกับหันมารักษาศีล เจริญจิตภาวนากันอย่างเคร่งครัด
3. บทบาทด้านส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
วัฒนธรรมคือ วิถีชีวิตที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินชีวิต ซึ่งประกอบด้วยความรู้ ความเชื่อ ธรรมเนียม ประเพณี ศิลปะ และกฎหมาย เป็นต้น และถ่ายทอดกันมาจากบรรพชนสู่อนุชนรุ่นหลัง
วัฒนธรรมที่มีลักษณะเป็นวิชาความรู้ที่มีความงดงามในตัวเอง เรียกว่า ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ (สมคิด โชติกวณิชย์, 2539 : 168 – 170 )
1 ) ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ เช่น ปราสาท ราชวัง วัดป้อม ค่าย กำแพง และลักษณะที่เป็นรูปทรงไม่ชัดเจน เช่น คูน้ำ คันดิน ถนนโบราณ เนินดินที่ปกคลุมเจดีย์ โบสถ์ วิหาร เป็นต้น
2 ) ศิลปวัฒนธรรมประเภทงานจิตรกรรม ส่วนใหญ่จะมีอยู่ในวัด เช่น งานเขียน ลายรดน้ำภาพเขียนตู้พระธรรม จิตรกรรมฝาผนังในผนังพระอุโบสถ พระวิหาร งานจิตรกรรมในสมุดไทยใบลาน เช่น หนังสือตำราพิชัยสงคราม ตำรายาแผนโบราณ ตำราคชลักษณ์
3 ) ศิลปวัฒนธรรมประเภทงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน หมายถึง เครื่องมือ เครื่องใช้เครื่องประดับ เช่น เครื่องจักสาน ผ้าฝ้ายชนิดต่างๆ ภาชนะดินเผ่า เป็นต้น
4 ) ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นนามธรรม ได้แก่ ความคิด ความเชื่อ ประเพณี ขนบธรรมเนียม แบบแผนปฏิบัติในกลุ่มหรือสังคมซึ่งยอมรับปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ
4.1 ) ขนบธรรมเนียมประเพณี มีทั้งประเพณีเฉพาะบุคคล ได้แก่ การเกิด การโกนจุก การหมั้น การแต่งงาน การตาย การบวช การขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น และประเพณี ส่วนรวมอื่นๆ ได้แก่ ประเพณีทางศาสนาต่างๆ เช่น ประเพณีทำบุญเข้าพรรษา ออกพรรษา ทอดกฐินประเพณีตรุษสงกรานต์ ประเพณีชักพระ เป็นต้น
4.2) ภาษาและวรรณกรรม ได้แก่ จารึกและคัมภีร์ต่างๆ ภาษาพูด ภาษาเขียนบทประพันธ์ที่ถ่านทอดกันมาโดยการเล่าหรือการเขียน เช่น นิทานฟื้นบ้าน ตำนานเมือง เพลงพื้นเมือง เป็นต้น
4.3) ศิลปะการแสดง ได้แก่ การเล่นเพลงพื้นเมือง เช่น เพลงอีแซว เพลงเกี่ยวข้าว โนราห์ เป็นต้น
ตั้งแต่โบราณกาลมา นับตั้งแต่การสร้างวัดมา วัดเป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาของชาวบ้านตลอดจนประเพณีและวัฒนธรรมในด้านต่างๆ ซึ่งเกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น หรือในกรณีพิเศษอาจเกิดจากพระราชศรัทธาของพระมหากษัตริย์ บางพระองค์ทรงสร้างและทรงอุปถัมภ์ คติทางพุทธศาสนาเชื่อว่า การสร้างวัดตลอดจนสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ภายในวัด เป็นการทำบุญทีมีอานิสงส์สูง อันจะส่งผล ให้ผู้ที่ได้ร่วมทำบุญมีความสุขสบายทั้งในภพนี้และภพหน้าและการทำบุญนั้นจะต้องทำด้วยสิ่งที่ดีที่สุด ชาวบ้านหรือผู้ที่ลงมือสร้างจึงได้ทุ่มเทความรู้ความสามารถในเชิงช่างที่มีอยู่ทั้งหมด อันประกอบด้วยศรัทธา สร้างสรรค์ศิลปกรรมที่งดงามให้แก่วัดซึ่งปรากฏออกมาในรูปของศิลปกรราต่าง ตามพระอุโบสถ วิหารคด ศาลาราย หอระฆัง ตลอดจนฝาผนัง ในพระอุโบสถ เป็นต้น
เมื่อวัดถูกสร้างเสร็จ ก็มีกิจกรรมและความเป็นไปที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชาวบ้าน มีการแลกเปลี่ยนถ่ายเทคนระหว่างบ้านกับวัด เช่น ชาวบ้านมาบวชเรียนอยู่ในวัด ผู้ที่มาบวชก็มาเรียนรู้วิชาความรู้จากผู้ที่บวชอยู่ก่อน ในขณะเดียวกันก็ถ่ายทอดความรู้ในตระกูลของตนที่ติดตัวมา แก่วัดและผู้ที่มาบวชใหม่ ตลอดจนลูกหลานชาวบ้านที่ส่งมาเรียน จึงเกิดการสืบทอดความรู้ต่อๆ กันมาโดยมีวัดเป็นสื่อ ในวันหรือโอกาสสำคัญทางพุทธศาสนาต่างๆ ชาวบ้านได้มีโอกาสไปทำบุญที่วัด ด้วยแรงศรัทธาและความตั้งใจที่จะให้การทำบุญนั้นเกิดอานิสงส์สูงสุด จึงทำให้การทำบุญในแต่ละครั้งแต่ละโอกาสมีรูปแบบพิธีการที่เป็นลักษณะที่เกิดเป็นแบบแผน ประเพณี และพิธีการรมทางศาสนาต่างๆ นอกจากนี้ ศิลปะการแสดงต่างๆ เช่น ลิเก ละคร หนังตะลุง หนังใหญ่ ก็เกิดขึ้นในงานวัดนี้เอง
จากความสัมพันธ์ดังกล่าว ทำให้วัดกลายเป็นบ่อเกิดและศูนย์รวมของวัฒนธรรมชุมชนมรดกทางศิลปวัฒนธรรมไทยในวัดนั้น มีอยู่หลายประการ คือ ( เต็มสิริ บุญสิงห์, 2539 : 210 ) 1 ) มรดกทางสถาปัตยกรรม ได้แก่ กุฎิ โบสถ์ วิหาร ฯลฯ
2 ) มรดกทางศิลปวัตถุที่ล้ำค่าและจะทำอีกไม่ได้แล้ว
3 ) มรดกทางขนบธรรมเนียมประเพณีไทย เช่น ตักบาตรเทโว ฯ ชักพระ ทิ้งบัว แฟ่ บั้งไฟ ฟ้อนตามประเพณีนิยม ดนตรีเฉพาะงาน
4 ) ศิลปะการป้องกันตัว มวย กระบี่กระบอง ฟันดาบ เป็นการเตรียมคนเพื่อรักษาแผ่นดิน
5 ) มรดกทางเภสัชกรรมชาวบ้าน
6 ) มรดกทางพิธีกรรมทางศาสนาและประเพณีนิยม เช่น การบวชพระ บวชเณร บวชชีการปฏิบัติธรรม
7) บทบาททางด้านครอบครัว
8) สถาบันกิจกรรมเยาวชนต่างๆ
ปัจจุบันมีวัดในพระพุทธศาสนา ทั้งที่อยู่ในกุรงเทพฯ และต่างจังหวัด ที่มีศิลปวัฒนธรรมที่สมควรอนุรักษ์ได้มากมาย ที่กองโบราณคดี กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานไว้เมื่อเดือนเมษายน 2530 มีดังนี้
1)วัดในกรุงเทพฯ เช่น วัดกัลยาณมิตร วัดจักวรรดิ์ราชวาส วัดชนะสงคราม วัดบวร
นิเวศ วัดเทพธิดาราม วัดระฆังโฆสิตาราม วัดอรุณราชวราราม วัดสุวรรณาราม เป็นต้น
1 ) วัดในต่างจังหวัด เช่น วัดโสธร ( ฉะเชิงเทรา ) วัดเสาหิน (เชียงราย) วัดธาตุกลาง ( เชียงใหม่ ) วัดช้างเผือก เชียงใหม่ เป็นต้น
2 ) วัดร้าง เช่น วัดพระบวช ( เชียงราย) วัดเสาหิน (เชียงราย) วัดธาตุกลาง (เชียงใหม่ ) วัดช้างเผือก (เชียงใหม่ ) เป็นต้น
วัดและพระสงฆ์ในวัดเหล่านี้ (ยกเว้นวัดร้าง ) มีบทบาทเป็น “ เจ้าของผู้ครอบครองวัฒนธรรม” เป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมไทย เพราะงานศิลปวัฒนธรรมส่วนมากก่อกำเนิดภายในวัด และยังคงเจริญเติบโตอยู่ภายในวัด พระสงฆ์เป็นผู้นำชุมชนและท้องถิ่น ซึ่งประชาชนให้ความเคารพนับถือ เป็นผู้นำทางความคิดที่สำคัญยิ่งในการเผยแผ่พุทธศาสนา เป็นที่พึ่งทางใจของประชาชน และมีสถานภาพที่จะเป็นกลุ่มช่วยงานอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของบ้านเมืองได้อย่างอเนกอนันต์ ตัวอย่างของพระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมภายในวัด คือ วัดบันไดทอง ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายราว ราว พ.ศ. 2275 ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ภายในวัดมีโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ หลายอย่างที่สร้างขึ้นพร้อมกันกับวัด เช่น พระอุโบสถ เจดีย์ ประธานย่อมุกไม้สิบสองสร้างอยู่บนฐานสูง วิหารจัตุรมุขทรงปราสาท ปรางค์เจดีย์รูปทรงแบบปรางค์ไทย ปรางค์เจดีย์มหายานทรง มะละกอ ตู้พระไตรปิฎกรายรดน้ำ มหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์ทศพรแบบวัดบันไดทอง และหอระฆังซึ่งเป็นศิลปะที่มีความงดงามยิ่ง
พระครูสิริพัชรานุโยค เจ้าอาวาสวัดบันไดทอง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ศิลปกรรมเหล่านี่ จึงได้พยายามอนุรักษ์ศิลปกรรมที่เป็นของเก่าไว้ และบูรณะหรือสร้างเสนาสนะใหม่ที่มีความกลมกลืนผสมผสานกับศิลปกรรมที่เป็นของเก่า ดังจะเห็นได้จากกุฎิเดิมไว้ทั้งหมดโดยสร้างเป็นหลัง ๆ ตามลักษณะของกุฎิสมัยโบราณ ไม่ปิดทับ เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกและมีแสงแดดผ่าน ไม่ต้องพึ่งแสงไฟฟ้า หน้าบรรทุกด้านแกะสลักลวดลายลงรักปิดทองสวยงามมาก แม้จะเป็นของใหม่ แต่ก็เปี่ยมด้วยคุณค่าของการอนุรักษ์สืบสานมรดกไทยครบถ้วนทุกประการ ด้านหน้ากุฎิสร้างเป็นซุ้มยื่นออกมารับกับบันไดหลังคาสองชั้นลดหลั่นกัน เชื่อมติดกับตัวกุฎิหน้าบันแกะสลักรูปภาพลงรักปิดทอง ประดับกระจกสวยงามมาก สองข้างซุ้มมีศาลาหลังเล็กทั้งซ้ายขวามาเสริมแลดูสง่างาม ภายในกุฏิประกอบด้วยหอกลาง หอสวดมนต์ ห้องประดิษฐานรูปหล่อพระครูสุตานุโยคเจ้าอาวาสรูปก่อน โดยเฉพาะห้องประดิษฐานรูปหล่อพระครูสุตานุโยคกั้นเป็นห้องเล็กๆ ไม่ใหญ่โตนักอยู่ขวามือทางขึ้นกุฏิ ตกแตงแบบเรียบง่ายแต่ก็สวยงามได้บรรยากาศดีมาก หน้าห้องปล่อยโล่ง ไม่มีประตู ทำเป็นคูหาและแกะลวดลายฉลุ ผ่าห้องใช้ฝาปะกนของเก่าตกแต่ง มีทั้งหน้าต่างจริงและหน้าต่างหลอก อกเลาเพรียวงามให้ความกลมกลืนจนหาที่ติมิได้ นอกจากนี้เสาและเชิงชายมีค้นทวยหน้าตั๊กแตนรองรับ รูปแบบของคันทวยเลียนแบบมาจากคันทวยหน้าตั๊กแตนรองรับ รูปแบบของคันทวยเลียนแบบมาจากคันทวยศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี ส่วนช่องลมุกช่องแกะสลักลายฉลุ และหน้าต่างทุกบานมีหย่องรองรับโดยใช้ของเก่า จะมีสร้างเพิ่มเติมขึ้นมาบ้างในส่วนชำรุดเท่านั้น และสิ่งที่สำคัญคือการอนุรักษ์ศิลปกรรมของวัดดังกล่าว ยังเป็นแรงผลักดันให้เกิดช่างแกะสลักรุ่นใหม่สืบทอดมรดกไทยต่อไปด้วย
จากผลงานดังกล่าว ทำให้วัดบันไดทองได้รับยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของกรมศาสนา ปีพุทธศักราช 2538 ( ประดิษฐ์ เหลืองอร่าม, 2539 : 24 )
ตัวอย่างดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นถึงผลสำเร็จในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมภายในวัดโดยพระสงฆ์เป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญ รัฐได้เล็งเห็นศักยภาพและความสำคัญของพระสงฆ์ที่มีต่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ภายในวัด จึงได้ให้การสนับสนุน ในรูปแบบต่างๆ เช่นการจัดสรรงบประมาณสมทบการซ่อมแซมบูรณะวัด การอำนวยความสะดวกต่างๆ ตลอดจนกำหนดไว้ในนโยบายและแผนงานต่างๆ เป็นต้น
แนวทางในการรักษา ส่งเสริม และพัฒนาวัฒนธรรมพุทธศักราช 2529 ตามนโยบายวัฒนธรรมแห่งชาติ หมวด 3 ว่าด้วยแนวทางในการรักษา ส่งเสริมพัฒนาวัฒนธรรม ข้อ 3.3. ระบุว่า “ ในการวางแผนพัฒนาวัฒนธรรมทุกระดับให้ถือว่าศาสนธรรมเป็นบ่อเกิดสำคัญของการประพฤติปฏิบัติ และการดำเนินชีวิต ของประชาชน เป็นเรื่องสำคัญยิ่งในฐานะที่เป็นพื้นฐานและเป็นแนวทางในการพัฒนาวัฒนธรรมด้านอื่นๆ และหมวด 6 ว่าด้วยองค์กรและระบบงานในการพัฒนาวัฒนธรรม ข้อ 6.2. ระบุว่า ว “องค์กรของเอกชนที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานวัฒนธรรมของชาติ คือมูลนิธิสมาคม ศาสนสถาน และบริษัทห้างร้านทั้งหลายซึ่งสมควรมีโอกาสให้ความร่วมมือสนับสนุนตามกำลังความสามารถ (กองวิจัยและวางแผน, 2528 : 6-10 )
นอกจากนี้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ซึ่งมีผลใช้ระหว่าง พ.ศ. 2525 – 2539 กรมศิลปากรมียุทธวิธีในการดำเนินการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมไทย โดยมีเป้าหมายจะขอความร่วมมือบุคลากร 2 กลุ่ม ให้มีส่วนเกื้อหนุนรักษ์มรดกวัฒนธรรม คือ
1) ประชาชน
2 ) เจ้าของผู้ครอบครองมรดกวัฒนธรรม คือ พระสงฆ์และวัดนั่นเอง ผลงานของช่างมรดกทางวัฒนธรรม ไทยที่เป็นวัตถุคงทนจะมีอยู่ในวัดทั้งสิ้น หากพระไม่รักษาชาวบ้านจะเข้าไปช่วยอะไรก็ไม่ได้มาก การที่พระจะรักษามรดกเหล่านี้ได้จะต้อง เรียนรู้ประวัติและคุณค่าโดยกว้างขวาง
3 ) ศึกษาอย่างจริงจัง จนเกิดความซาบซึ้งในศิลปะเหล่านั้น อย่างน้อยก็ภายในวัด
4 ) มีการประชุมสัมมนาเช่น ที่กำลังทำอยู่เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
5 ) มีความสนใจอย่างจิรงจังจนเกิด “ เข้าเนื้อตา” ศิลปวัตถุนั้นพิจารณาและเห็น
บ่อยๆ จะทำให้เกิดความซาบซึ้ง
6) พยายามฟื้นฟูช่าง 10 หมู่ขึ้นในวัดที่พอจะทำได้อย่างน้อยสนับสนุนพระภิกษุที่สนใจให้เรียนรู้ทางการซ่อมแซมที่ไม่เป็นการทำลาย คือ ซ่อมจนไม่เหลือของเก่า
7) เจ้าอาวาสอบรมพระเป็นระยะ ๆ ปรึกษาหารือกันในการหาวิธีจะดำรงศิลปวัตถุเอกลักษณ์ช่างไทยเอาไว้ ขณะนี้มักจะทำไปในรูปแบบ วัตถุนิยม
8) สร้างพิพิธภัณฑ์ ของวัดโดยจัดให้ถูกต้อง น่าดู น่าสนใจ หากทำได้ การเขียนประวัติของวัตถุสิ่งก่อสร้างที่น่าภาคภูมิใจ มรดกของวัตถุ โดยปรึกษาเจ้าหน้าที่ศิลปากรจังหวัด
9) แลกเปลี่ยนการดูงานระหว่างวัดต่างๆ เพราะแม้แต่ในจังหวัดเล็กๆ ทั่วประเทศจะมีมรดกชาติให้ชมได้เสมอ แต่มักจะขาดความสนใจจนทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็ว
10) เข้าหาอดีตที่พระเป็นช่างเสียเอง เช่น ท่านขรัวอินโข่ง พระจริยานุวัตร เขมจารีเถระ ศิลปะศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม พระเกี้ยวทองคำของกรรมการรณรงค์ภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุคคลดีเด่นทางวัฒนธรรมสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ฯลฯ เจ้าอาวาสวัดมหาชัย มหาสารคาม ซึ่งมรณภาพไปเมื่อเร็วๆ นี้ ผลงานทางวรรณกรรมฟื้นบ้านอีสาน และพิพิธภัณฑ์ของวัดท่านมอบให้แก่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒทั้งหมด
ส่วนภัทรพร สิริกาญจน ( 2536 : 21 – 29 ) ได้กล่าวถึง บทบาทของพระสงฆ์ว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาสังคมในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยปฏิบัติหน้าที่ตามพุทธบัญบัติและจิตสำนึกที่ได้รับการสั่งสอนศาสนธรรมและการปฏิบัติเท่านั้น แต่ยังรวมถึงช่วยเหลือประชาชน ทั้งทางด้านวัตถุและการแก้ไขปัญหาชีวิตอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน พระสงฆ์ยิ่งต้องมีบทบาทหน้าที่ในด้านต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจของคนในชุมชนนั้น ๆ ซึ่งพอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้คือ
1 ) ด้านการให้การศึกษา คือการเปิดการเรียนการสอนให้แก่บุตรหลานของชุมชนนั้น ๆ ได้เข้าไปศึกษาทางด้านพระธรรมคำสอนของศาสนา พร้อมทั้งยังมีการเปิดโรงเรียนสำหรับเด็กที่ยากจนขึ้นอันเป็นการให้โอกาสแก่ผู้ที่ต้องการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาบวชเรียนของบุตรหลานในชุมชนนั้น ๆ ด้วย พร้อมกันนี้ยังมีการเข้าไปทำการสอนหรือการอบรมศีลธรรมให้แก่นักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษาต่าง ๆ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมคำสอนและสามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในเกิดประโยชน์กับชีวิตของผู้เรียนด้วย ซึ่งนั่นก็คือ พระสงฆ์ท่านสามารถที่จะทำให้ผู้เรียนนั้นเกิดปัญญา พร้อมทั้งความรู้ความสามารถในขณะเดียวกัน
2 ) ด้านการเผยแผ่ธรรมะ พระสงฆ์เป็นผู้เผยแพร่ธรรมเป็นแบบอย่างของผู้ประพฤติดีประพฤติชอบ พระสงฆ์จึงสามารถถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ในพุทธศาสนาแก่ประชาชน ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักธรรมทางพุทธศาสนา สามารถนำหลักธรรมมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตให้ประสบความสุข ความเจริญ และเลือกประกอบอาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นอันเป็นการนำคำสอนทางพระพุทธศาสนาไปสู่ประชาชนเพื่อความถูกต้องดีงามและความสุขของประชาชนเหล่านั้น ทั้งนี้ไม่ว่าจะโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การเข้าไปแนะนำ ให้คำปรึกษา การเทศน์ การบรรยาย ปาฐกถา เป็นต้น
3 ) บทบาทด้านการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรม พระสงฆ์ซึ่งมีฐานะเป็นผู้นำชุมชน และวัดก็เป็นศูนย์กลางการบริการสังคมด้วย เช่น โรงเรียน บ้านพักฉุกเฉิน ตลอดจนกระทั่งเป็นหออนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมไทยอันดีงาม ดังนั้นบทบาทในอีกด้านหนึ่งของพระสงฆ์จึงเป็นบทบาทในด้านการสนับสนุนในการส่งเสริมถึงการศึกษาค้นคว้าศิลปะและวัฒนธรรมอันเนื่องด้วยพระศาสนา และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมเหล่านั้น เช่น อนุรักษ์ภาพจิตรกรมฝาผนังในโบสถ์ จัดรวบรวมงานปฎิมากรรมพระพุทธรูป หรือตู้พระคัมภีร์เป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อการค้นคว้า นอกจากนี้บทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยยังมีอีกเรื่องหนึ่ง คือเอกลักษณ์ ในเชิงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น ประเพณีการตักบาตรเทโว ประเพณีการตักบาตรดอกไม้ ประเพณีแห่พระของภาคต่างๆ ประเพณีโยนบัว ฯลฯ โดยไม่ประยุกต์ให้มากเกินไป การักษาเอกลักษณ์ไว้ให้ได้เป็นการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมอีกทางหนึ่ง
จากที่ได้กล่าวมานั้นจึงนับว่าบทบาทของพระสงฆ์ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใด ก็ยังถือว่าเป็นผู้นำทั้งทางด้านจิตวิญญาณ และทางด้านวัตถุ โดยจะเห็นได้จากการที่พระสงฆ์ได้เข้าไปร่วมพัฒนาชุมชนต่าง ๆ เรื่อยมา และกลายเป็นความหวัง หรือความคาดหวังของประชาชนที่จะได้เห็นพระสงฆ์ท่านเป็นที่พึ่งของชุมชนตนเองไม่ว่าจะในด้านไหน ๆ ก็ตาม เช่น ในด้านการหวังที่จะได้พึ่งพาอาศัยเมื่อเวลาไม่สบายใจ ทุกข์ใจ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่พระสงฆ์ในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคสมัยที่มีความยุ่งยากในด้านการดำเนินชีวิตของประชาชนเพิ่มมากขึ้น พระสงฆ์จึงควรที่จะเพิ่มความสามารถในบทบาทหน้าที่ของตนเองตามไปด้วย อันจะสามารถนำไปสู่ความสำเร็จตามความคาดหวังของประชาชนต่อไป
***********************
ทิพย์รัตน์:
แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์
1. แนวคิดของกลุ่มที่เห็นด้วยว่าพระสงฆ์ควรมีบทบาทอื่นนอกจากการปฏิบัติตามกิจของสงฆ์ นักคิดในกลุ่มนี้ เช่น ทินพันธุ์ นาคะตะ (2509, หน้า 51-52) ที่มีความเห็นว่าพระสงฆ์นอกจากจะมีบทบาทในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหรือที่เป็นกิจของสงฆ์แล้ว ยังมีบทบาทในด้านอื่นอีก เช่น เป็นผู้นำในด้านการสงเคราะห์การช่วยเหลือ การดูแลทุกข์สุขของคนในชุมชน เป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำในการดำรงชีวิตกับผู้คนในชุมชน เป็นผู้กระจายข่าวสารต่าง ๆ ให้คนในชุมชน และ นิตย์ สัมมาพันธ์(2529, หน้า 79) เห็นว่าพระสงฆ์ควรได้ศึกษาความรู้ทางโลกด้วยเพื่อการพัฒนาตนและพัฒนาสังคม
นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2543, หน้า 94) เห็นว่าพระสงฆ์มีบทบาทสำคัญในการเข้ามาช่วยพัฒนาสังคม เช่น การรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ การบำบัดผู้ติดยาเสพติด การพัฒนาส่งเสริมอาชีพ และการสร้างสำนึกความร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน นอกจากนั้น พินิจ ลาภธนานนท์ (2549,หน้า 2) ได้รายงานผลการวิจัยเรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับการปรับเปลี่ยนบทบาทการพัฒนาของพระสงฆ์นักพัฒนาในภาคอีสาน ว่าการแสดงบทบาทในการพัฒนาของพระสงฆ์ถือว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของการสร้างเสริมความศรัทธาของสถาบันสงฆ์ ในกระแสสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลง รวมทั้ง Sulak Sivaraksa (1984, p. 103) ที่เห็นว่าพระสงฆ์มีคุณลักษณะที่สำคัญคือ ปฏิบัติธรรมพัฒนาจิต และต้องเข้าถึงประชาชนเพื่อเป็นการถ่ายทอดคุณค่าทางจริยธรรมและจิตวิญญาณให้กับสังคม
ในทรรศนะของพระสงฆ์เองที่เห็นว่าพระสงฆ์ควรมีบทบาทในการพัฒนาด้านอื่นนอกจากศาสนพิธี คือกลุ่มพระนักพัฒนาต่าง ๆ เช่น กลุ่มพระนักพัฒนาในภาคอีสานและกลุ่มพระนักอนุรักษ์ ที่เห็นว่าตนเองมีศักยภาพเพียงพอในการเป็นผู้นำชุมชนให้ดำเนินการพัฒนาชุมชนของตนเองโดยไม่ต้องหวังพึ่งพิงแต่ราชการ แนวคิดของพระสงฆ์ทั้งสองกลุ่มเห็นว่า พระสงฆ์ไม่ได้แยกกับชุมชน และโลกกับธรรมมิได้แยกจากกัน (พระไพศาล วิสาโล, 2546, หน้า 458-461) นอกจากนั้น Bennett (2521, p. 47) ได้สรุปไว้ในงานวิจัยว่า วัดในประเทศไทยมีบทบาทต่อชุมชนมายาวนานหลายร้อยปี ในด้านการให้บริการด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษาแก่เด็กชาย ให้คำปรึกษา ทำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การรักษาพยาบาล และเก็บรักษาวัฒนธรรม)
ในมุมมองของภาครัฐอันได้แก่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้กำหนดนโยบายว่าบทบาทของพระสงฆ์ ควรสนับสนุนการพัฒนาให้ประชาชนมีเศรษฐกิจที่ดีบนพื้นฐานสังคมคุณธรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือมีบทบาทอื่นนอกจากบทบาทด้านศาสนพิธีได้ (พินิจ ลาภธนานนท์ 2549, หน้า 38)
2. แนวคิดของกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยว่าพระสงฆ์ควรมีบทบาทอื่นนอกจากบทบาทการปฏิบัติตามกิจของสงฆ์เท่านั้น โดยมีแนวคิดว่าบทบาทของพระสงฆ์ควรที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นที่ศรัทธาของประชาชน ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับเรื่องทางโลกซึ่งควรเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ดำเนินการ เช่น Mulder (1969) สรุปผลการศึกษาไว้ว่าพระสงฆ์ไม่ควรเข้าไปมีบทบาทในส่วนที่เป็นหน้าที่ของรัฐอยู่แล้ว จะทำให้พระสงฆ์ตกเป็นเครื่องมือของรัฐได้ พระสงฆ์ควรที่จะพัฒนาองค์การสงฆ์ให้เป็นที่น่าเชื่อถือและศึกษาหลักธรรมให้แตกฉานเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่อย่างมั่นคงตลอดไป
Passmore นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมมองว่า พระพุทธศาสนาเป็นปรัชญาที่มีท่าทีปฏิเสธโลก และมุ่งหาทางหลุดพ้นเฉพาะตัวเองเป็นการแยกตัวเองออกจากโลก (Passmore, อ้างถึงใน เนื่องน้อย บุณยเนตร, 2537, หน้า 134) ในทำนองเดียวกับ Schmithausen (อ้างถึงใน ปกรณ์ สิงห์สุริยา, 2543, หน้า 31) ที่มองว่าพุทธศาสนาไม่น่าจะเป็นพื้นฐานให้กับจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมได้ เนื่องจากคำสอนที่มุ่งให้เกิดการละโลกนี้ ดังนั้นเรื่องที่จะเข้ามาจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติหรือการจัดการเรื่องใด ๆในสังคมน่าจะขัดกับทรรศนะของพระสงฆ์ ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้กล่าวโดยตรงถึงบทบาทหน้าที่ของพระสงฆ์ แต่ก็อาจวิเคราะห์ท่าทีของนักวิชาการทั้งสองได้ว่าพระสงฆ์น่าจะมีบทบาทเฉพาะการปฏิบัติตนเพื่อความหลุดพ้นเท่านั้น ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับสังคมไม่ว่าเรื่องใด ๆ
บรรณานุกรม
เสาวพงษ์ ยมาพัฒน์ (2553) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติของวัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ทินพันธุ์ นาคะตะ, ร.ท. (2509). คุณค่าของพุทธศาสนาในการบริหารราชการ.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิตย์ สัมมาพันธ์. (2529). กลวิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม การบริหารเชิงพุทธ(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2543). พุทธศาสนาในความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง.
เนื่องน้อย บุณยเนตร. (2537). จริยศาสตร์สภาวะแวดล้อม: โลกทัศน์ในพุทธปรัชญาและปรัชญาตะวันตก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปกรณ์ สิงห์สุริยา. (2543). ปัญหาของการนำพุทธศาสนามาเป็นพื้นฐานในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. พุทธศาสน์ศึกษา. 7(2), 30-35.
พระไพศาล วิสาโล. (2546). พุทธศาสนาในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต.กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
พินิจ ลาภธนานนท์. (2549). กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับการปรับเปลี่ยนบทบาทการพัฒนาของพระสงฆ์นักพัฒนาในภาคอีสาน. ในรายงานการวิจัย,สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bennelt, N. (1978). The problems of cultural collision, bamies and bridges for rural development. Bangkok: Krung Siam.
Sulak Sivarakasa. (1984). Buddhism and society: Beyond the presenthorizon. In B. J. Terwiel (Ed.), Buddhism and Society in Thailand (pp. 97-119). Ranchi, India: Center of South East Asian Studies.
23 สิงหาคม 2554
แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์
1. แนวคิดของกลุ่มที่เห็นด้วยว่าพระสงฆ์ควรมีบทบาทอื่นนอกจากการปฏิบัติตามกิจของสงฆ์ นักคิดในกลุ่มนี้ เช่น ทินพันธุ์ นาคะตะ (2509, หน้า 51-52) ที่มีความเห็นว่าพระสงฆ์นอกจากจะมีบทบาทในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหรือที่เป็นกิจของสงฆ์แล้ว ยังมีบทบาทในด้านอื่นอีก เช่น เป็นผู้นำในด้านการสงเคราะห์การช่วยเหลือ การดูแลทุกข์สุขของคนในชุมชน เป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำในการดำรงชีวิตกับผู้คนในชุมชน เป็นผู้กระจายข่าวสารต่าง ๆ ให้คนในชุมชน และ นิตย์ สัมมาพันธ์(2529, หน้า 79) เห็นว่าพระสงฆ์ควรได้ศึกษาความรู้ทางโลกด้วยเพื่อการพัฒนาตนและพัฒนาสังคม
นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2543, หน้า 94) เห็นว่าพระสงฆ์มีบทบาทสำคัญในการเข้ามาช่วยพัฒนาสังคม เช่น การรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ การบำบัดผู้ติดยาเสพติด การพัฒนาส่งเสริมอาชีพ และการสร้างสำนึกความร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน นอกจากนั้น พินิจ ลาภธนานนท์ (2549,หน้า 2) ได้รายงานผลการวิจัยเรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับการปรับเปลี่ยนบทบาทการพัฒนาของพระสงฆ์นักพัฒนาในภาคอีสาน ว่าการแสดงบทบาทในการพัฒนาของพระสงฆ์ถือว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของการสร้างเสริมความศรัทธาของสถาบันสงฆ์ ในกระแสสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลง รวมทั้ง Sulak Sivaraksa (1984, p. 103) ที่เห็นว่าพระสงฆ์มีคุณลักษณะที่สำคัญคือ ปฏิบัติธรรมพัฒนาจิต และต้องเข้าถึงประชาชนเพื่อเป็นการถ่ายทอดคุณค่าทางจริยธรรมและจิตวิญญาณให้กับสังคม
ในทรรศนะของพระสงฆ์เองที่เห็นว่าพระสงฆ์ควรมีบทบาทในการพัฒนาด้านอื่นนอกจากศาสนพิธี คือกลุ่มพระนักพัฒนาต่าง ๆ เช่น กลุ่มพระนักพัฒนาในภาคอีสานและกลุ่มพระนักอนุรักษ์ ที่เห็นว่าตนเองมีศักยภาพเพียงพอในการเป็นผู้นำชุมชนให้ดำเนินการพัฒนาชุมชนของตนเองโดยไม่ต้องหวังพึ่งพิงแต่ราชการ แนวคิดของพระสงฆ์ทั้งสองกลุ่มเห็นว่า พระสงฆ์ไม่ได้แยกกับชุมชน และโลกกับธรรมมิได้แยกจากกัน (พระไพศาล วิสาโล, 2546, หน้า 458-461) นอกจากนั้น Bennett (2521, p. 47) ได้สรุปไว้ในงานวิจัยว่า วัดในประเทศไทยมีบทบาทต่อชุมชนมายาวนานหลายร้อยปี ในด้านการให้บริการด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษาแก่เด็กชาย ให้คำปรึกษา ทำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การรักษาพยาบาล และเก็บรักษาวัฒนธรรม)
ในมุมมองของภาครัฐอันได้แก่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้กำหนดนโยบายว่าบทบาทของพระสงฆ์ ควรสนับสนุนการพัฒนาให้ประชาชนมีเศรษฐกิจที่ดีบนพื้นฐานสังคมคุณธรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือมีบทบาทอื่นนอกจากบทบาทด้านศาสนพิธีได้ (พินิจ ลาภธนานนท์ 2549, หน้า 38)
2. แนวคิดของกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยว่าพระสงฆ์ควรมีบทบาทอื่นนอกจากบทบาทการปฏิบัติตามกิจของสงฆ์เท่านั้น โดยมีแนวคิดว่าบทบาทของพระสงฆ์ควรที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นที่ศรัทธาของประชาชน ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับเรื่องทางโลกซึ่งควรเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ดำเนินการ เช่น Mulder (1969) สรุปผลการศึกษาไว้ว่าพระสงฆ์ไม่ควรเข้าไปมีบทบาทในส่วนที่เป็นหน้าที่ของรัฐอยู่แล้ว จะทำให้พระสงฆ์ตกเป็นเครื่องมือของรัฐได้ พระสงฆ์ควรที่จะพัฒนาองค์การสงฆ์ให้เป็นที่น่าเชื่อถือและศึกษาหลักธรรมให้แตกฉานเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่อย่างมั่นคงตลอดไป
Passmore นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมมองว่า พระพุทธศาสนาเป็นปรัชญาที่มีท่าทีปฏิเสธโลก และมุ่งหาทางหลุดพ้นเฉพาะตัวเองเป็นการแยกตัวเองออกจากโลก (Passmore, อ้างถึงใน เนื่องน้อย บุณยเนตร, 2537, หน้า 134) ในทำนองเดียวกับ Schmithausen (อ้างถึงใน ปกรณ์ สิงห์สุริยา, 2543, หน้า 31) ที่มองว่าพุทธศาสนาไม่น่าจะเป็นพื้นฐานให้กับจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมได้ เนื่องจากคำสอนที่มุ่งให้เกิดการละโลกนี้ ดังนั้นเรื่องที่จะเข้ามาจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติหรือการจัดการเรื่องใด ๆในสังคมน่าจะขัดกับทรรศนะของพระสงฆ์ ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้กล่าวโดยตรงถึงบทบาทหน้าที่ของพระสงฆ์ แต่ก็อาจวิเคราะห์ท่าทีของนักวิชาการทั้งสองได้ว่าพระสงฆ์น่าจะมีบทบาทเฉพาะการปฏิบัติตนเพื่อความหลุดพ้นเท่านั้น ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับสังคมไม่ว่าเรื่องใด ๆ
บรรณานุกรม
เสาวพงษ์ ยมาพัฒน์ (2553) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติของวัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ทินพันธุ์ นาคะตะ, ร.ท. (2509). คุณค่าของพุทธศาสนาในการบริหารราชการ.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิตย์ สัมมาพันธ์. (2529). กลวิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม การบริหารเชิงพุทธ(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2543). พุทธศาสนาในความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง.
เนื่องน้อย บุณยเนตร. (2537). จริยศาสตร์สภาวะแวดล้อม: โลกทัศน์ในพุทธปรัชญาและปรัชญาตะวันตก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปกรณ์ สิงห์สุริยา. (2543). ปัญหาของการนำพุทธศาสนามาเป็นพื้นฐานในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. พุทธศาสน์ศึกษา. 7(2), 30-35.
พระไพศาล วิสาโล. (2546). พุทธศาสนาในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต.กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
พินิจ ลาภธนานนท์. (2549). กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับการปรับเปลี่ยนบทบาทการพัฒนาของพระสงฆ์นักพัฒนาในภาคอีสาน. ในรายงานการวิจัย,สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bennelt, N. (1978). The problems of cultural collision, bamies and bridges for rural development. Bangkok: Krung Siam.
Sulak Sivarakasa. (1984). Buddhism and society: Beyond the presenthorizon. In B. J. Terwiel (Ed.), Buddhism and Society in Thailand (pp. 97-119). Ranchi, India: Center of South East Asian Studies.
23 สิงหาคม 2554
ทิพย์รัตน์:
พระป่า กับ พระนักพัฒนา
ในสมัยพุทธกาล พระภิกษุทุกรูปถือว่าเป็นพระป่า พระพุทธเจ้าทรงกำชับให้ภิกษุสาวกจาริกไปปฏิบัติบำเพ็ญสมาธิตามโคนไม้ คูหาหรือเรือนร้าง คำว่า “พระป่า” ไม่มีการเรียกขานในสมัยพุทธกาล แต่หมายถึงพระที่อยู่ตามธรรมชาติด้วยมุ่งมั่นบำเพ็ญเพียรตามหลักพุทธธรรมอย่างเคร่งครัดเพื่อให้บรรลุธรรม อันนำไปสู่การหลุดพ้นจากวัฏสงสาร และเป็นจุดหมายอันสูงสุดของพระพุทธศาสนา
พระป่าในประเทศไทยน่าจะมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย (ศรีศักร วัลลิโภดม,2550) แต่เริ่มปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนในสมัยสุโขทัยที่พบว่ามีการกล่าวถึงวัดฝ่ายอรัญวาสี ซึ่งเน้นทางด้านวิปัสสนาธุระ (Tambiah, 1976, p. 176) และต่อเนื่องมายังสมัยอยุธยา สิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นพระป่าที่เด่นชัดคือ ปัจจัยสี่ วัตรปฏิบัติ และธุดงควัตรของพระป่าที่เข้มงวด กล่าวคือ
ปัจจัยสี่ของพระป่า เพื่อให้เหมาะสมต่อการดำรงชีพและการปฏิบัติบำเพ็ญเพียรซึ่งพระป่าที่เคร่งครัดจะถือเป็นนิสสัย คือ (1) การบิณฑบาต ถือว่าเป็นกิจสำคัญอันจะขาดมิได้ เพื่อโปรดสัตว์และการดำรงชีพ (2) การถือผ้าบังสุกุลจีวรตลอดชีวิต (3) รุกขมูลเสนาสนัง ถือการอยู่โคนไม้ในป่าเป็นที่อยู่อาศัย (4) การฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่าตลอดชีวิต
พระป่ายังถือปฏิบัติในกิจวัตรประจำอย่างเคร่งครัด คือ (1) ทำอุโบสถในอาวาสหรือที่ใด ๆ ที่มีพระภิกษุตั้งแต่สี่รูปขึ้นไปและต้องประชุมกันลงฟังพระปาฏิโมกข์ ทุก 15 วัน (2) บิณฑบาตเลี้ยงชีพตลอดชีวิต (3) ทำวัตร เช้า-เย็นทุกวันเว้นแต่เจ็บไข้อาการหนัก (4) กวาดเสนาสนะ อาวาส ลานพระเจดีย์ ลานวัด และบริเวณใต้ต้นมหาโพธิ์ ถือเป็นกิจวัตรสำคัญ (5) รักษาผ้าไตรครอง คือ สังฆาฏิ จีวร และสบง(6) อยู่ปริวาสกรรม (7) ปลงผม โกนหนวด ตัดเล็บ ( 8 ) ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติอาจารย์(9) แสดงอาบัติคือ การเปิดเผยโทษที่ตนทำผิดพระวินัยที่เป็นลหุโทษ แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งให้ทราบและสัญญาว่าจะสำรวมระวังมิให้เกิดทำผิดเช่นนั้นอีก (10) พิจารณาปัจจเวกขณะทั้งสี่ด้วยความไม่ประมาท คือ พิจารณาสังขาร ร่างกาย จิตใจ ให้เป็นของไม่เที่ยงถาวร ให้เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อเป็นอุบายทางปัญญาอยู่ตลอดเวลาในอิริยาบถทั้งสี่ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน
วัตรปฏิบัติที่สำคัญอีกอย่าง คือธุดงค์วัตร อันประกอบด้วย (1) ปังสุกูลิกังคะ ใช้แต่ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร (2) เตจีวริกังคะ ถือใช้ผ้าเพียงสามผืนเป็นวัตร (3) ปิณฑปาติกังคะถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร (4) สปทานจาริกังคะ ถือการเที่ยวบิณฑบาตไปตามแถวเป็นวัตร (5) เอกาสนิกังคะ ถือการฉันมื้อเดียวเป็นวัตร (6) ปัตตปิณฑิกังคะ คือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร (7) ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ถือการห้ามฉันภัตอันนำมาถวายเมื่อภายหลังเป็นวัตร ( 8 ) อารัญญิกังคะ ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร (9) รุกขมูลิกังคะ ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร (10) อัพโภกาลิกังคะ ถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร (11) โสสานิกังคะ ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร (12) ยถาสันถติกังคะ ถือการอยู่เสนาสนะแล้วแต่เข้าจัดให้ (13) เนสัชชิกังคะถือการ ยืน เดิน นั่ง อย่างเดียว ไม่นอนเป็นวัตร โดยกำหนดเป็นคืน ๆ ไป
พระป่าในประเทศไทยโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลับมามีบทบาทมากขึ้นภายหลังจากรัฐออกกฎหมายควบคุมพระสงฆ์ ทำให้พระสงฆ์ท้องถิ่นจำเป็นต้องละทิ้งแบบแผนจารีตเดิมและเข้าสู่ระบบทางการ จึงได้ออกธุดงค์มากขึ้น (Kamala Tiyavanich, 1997, p. 62; Swearer, 2003, p. 832 )
หากจะกล่าวว่าพระป่าเป็นพระสงฆ์ที่หลีกลี้หนีจากสังคมอาจไม่ถูกต้องนักเนื่องจากพบว่าบ้านเมืองเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญที่ฝ่ายพระภิกษุสงฆ์สมควรกระทำ พระป่าได้เข้ามาร่วมอนุเคราะห์กับฝ่ายบ้านเมือง เช่น ในสมัยอยุธยา สมเด็จพระนพรัตน์แห่งวัดป่าแก้วเป็นพระภิกษุฝ่ายอรัญวาสี ได้เสด็จมาแสดงธรรมเพื่อให้สมเด็จพระนเรศวรทรงยกโทษประหารแก่แม่ทัพนายกองที่กระทำพลาดพลั้ง หรือแม้แต่ในปัจจุบันการออกมาสั่งสอนการปฏิบัติกรรมฐานให้แก่ศาสนิกชนของพระป่าที่มีชื่อเสียง เช่น พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล และพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต แสดงให้เห็นว่ายังมีการติดต่อและสงเคราะห์สังคมอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่ยอมรับทั้งของรัฐและประชาชน ดังจะเห็นได้ว่า สถานที่ต่าง ๆ ที่พระป่าสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตไปธุดงค์ มักจะมีส่วนราชการเข้าไปสนับสนุนและช่วยเหลือในการสร้างสำนักเรียนตามมา (พระไพศาล วิสาโล,2546, หน้า 68) ส่วน “พระนักพัฒนา” นั้น ผู้ที่ใช้เรียกคนแรกคือ Steven Picker ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ส่งพระธรรมทูตไปพัฒนาภาคอีสาน (พินิจ ลาภธนานันท์,2549, หน้า 81) และเป็นคำใช้เรียกพระสงฆ์ที่นิยมช่วยเหลือสงเคราะห์ชุมชนควบคู่ไปกับการเรียนรู้ทางปริยัติ ซึ่งมักเป็นพระหนุ่มที่ศึกษาตามมหาวิทยาลัยสงฆ์ในกรุงเทพฯและได้รับมอบหมายให้ไปดูแลวัดต่างจังหวัด ซึ่งเป็นเพียงในรูปแบบแต่ไม่ได้เกิดจากจิตวิญญาณที่แท้จริง ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงการปฏิรูปคณะสงฆ์ ราวกลางพุทธศตวรรษที่25 (Kamala Tiyavanich, 1997, pp. 273-274) แต่ พินิจ ลาภธนานันท์ ไม่เห็นด้วยกับความหมายข้างต้น จึงเสนอความหมายที่พระสงฆ์นักพัฒนาได้กำหนดไว้เองว่า หมายถึงพระสงฆ์ที่มุ่งเข้าหาชุมชนและลงไปทำงานร่วมกับชุมชน และอีกความหมายหนึ่งคือพระสงฆ์ที่สามารถพัฒนาตนเองได้ทั้งทางโลกและทางธรรม หรืออีกความหมายหนึ่งคือกลุ่มพระสงฆ์ท้องถิ่นที่คอยดูแลและปลูกสร้างสังคมหรือพยายามรื้อฟื้นบทบาททางสังคมที่เคยมีมาในอดีต (พินิจ ลาภธนานันท์, 2549, หน้า 82-87)
บรรณานุกรม
เสาวพงษ์ ยมาพัฒน์ (2553) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติของวัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พินิจ ลาภธนานนท์. (2549). กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับการปรับเปลี่ยนบทบาทการพัฒนาของพระสงฆ์นักพัฒนาในภาคอีสาน. ในรายงานการวิจัย, สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระไพศาล วิสาโล. (2546). พุทธศาสนาในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต.กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2552). ภูพานมหาวนาสี. ศิลปวัฒนธรรม, 30(5), 140-153.
Kamala Tiyavanich. (1997). Forest recollections: Wandering monks in twentieth-century Thailand. Bangkok: O.S. Printing House.
Tambiah, S. J. (1976). World conqueror and world renouncer: A study of Buddhism and polity in Thailand against a historical background. New York: Cambridge University Press.
23 สิงหาคม 2554
พระป่า กับ พระนักพัฒนา
ในสมัยพุทธกาล พระภิกษุทุกรูปถือว่าเป็นพระป่า พระพุทธเจ้าทรงกำชับให้ภิกษุสาวกจาริกไปปฏิบัติบำเพ็ญสมาธิตามโคนไม้ คูหาหรือเรือนร้าง คำว่า “พระป่า” ไม่มีการเรียกขานในสมัยพุทธกาล แต่หมายถึงพระที่อยู่ตามธรรมชาติด้วยมุ่งมั่นบำเพ็ญเพียรตามหลักพุทธธรรมอย่างเคร่งครัดเพื่อให้บรรลุธรรม อันนำไปสู่การหลุดพ้นจากวัฏสงสาร และเป็นจุดหมายอันสูงสุดของพระพุทธศาสนา
พระป่าในประเทศไทยน่าจะมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย (ศรีศักร วัลลิโภดม,2550) แต่เริ่มปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนในสมัยสุโขทัยที่พบว่ามีการกล่าวถึงวัดฝ่ายอรัญวาสี ซึ่งเน้นทางด้านวิปัสสนาธุระ (Tambiah, 1976, p. 176) และต่อเนื่องมายังสมัยอยุธยา สิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นพระป่าที่เด่นชัดคือ ปัจจัยสี่ วัตรปฏิบัติ และธุดงควัตรของพระป่าที่เข้มงวด กล่าวคือ
ปัจจัยสี่ของพระป่า เพื่อให้เหมาะสมต่อการดำรงชีพและการปฏิบัติบำเพ็ญเพียรซึ่งพระป่าที่เคร่งครัดจะถือเป็นนิสสัย คือ (1) การบิณฑบาต ถือว่าเป็นกิจสำคัญอันจะขาดมิได้ เพื่อโปรดสัตว์และการดำรงชีพ (2) การถือผ้าบังสุกุลจีวรตลอดชีวิต (3) รุกขมูลเสนาสนัง ถือการอยู่โคนไม้ในป่าเป็นที่อยู่อาศัย (4) การฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่าตลอดชีวิต
พระป่ายังถือปฏิบัติในกิจวัตรประจำอย่างเคร่งครัด คือ (1) ทำอุโบสถในอาวาสหรือที่ใด ๆ ที่มีพระภิกษุตั้งแต่สี่รูปขึ้นไปและต้องประชุมกันลงฟังพระปาฏิโมกข์ ทุก 15 วัน (2) บิณฑบาตเลี้ยงชีพตลอดชีวิต (3) ทำวัตร เช้า-เย็นทุกวันเว้นแต่เจ็บไข้อาการหนัก (4) กวาดเสนาสนะ อาวาส ลานพระเจดีย์ ลานวัด และบริเวณใต้ต้นมหาโพธิ์ ถือเป็นกิจวัตรสำคัญ (5) รักษาผ้าไตรครอง คือ สังฆาฏิ จีวร และสบง(6) อยู่ปริวาสกรรม (7) ปลงผม โกนหนวด ตัดเล็บ ( 8 ) ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติอาจารย์(9) แสดงอาบัติคือ การเปิดเผยโทษที่ตนทำผิดพระวินัยที่เป็นลหุโทษ แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งให้ทราบและสัญญาว่าจะสำรวมระวังมิให้เกิดทำผิดเช่นนั้นอีก (10) พิจารณาปัจจเวกขณะทั้งสี่ด้วยความไม่ประมาท คือ พิจารณาสังขาร ร่างกาย จิตใจ ให้เป็นของไม่เที่ยงถาวร ให้เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อเป็นอุบายทางปัญญาอยู่ตลอดเวลาในอิริยาบถทั้งสี่ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน
วัตรปฏิบัติที่สำคัญอีกอย่าง คือธุดงค์วัตร อันประกอบด้วย (1) ปังสุกูลิกังคะ ใช้แต่ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร (2) เตจีวริกังคะ ถือใช้ผ้าเพียงสามผืนเป็นวัตร (3) ปิณฑปาติกังคะถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร (4) สปทานจาริกังคะ ถือการเที่ยวบิณฑบาตไปตามแถวเป็นวัตร (5) เอกาสนิกังคะ ถือการฉันมื้อเดียวเป็นวัตร (6) ปัตตปิณฑิกังคะ คือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร (7) ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ถือการห้ามฉันภัตอันนำมาถวายเมื่อภายหลังเป็นวัตร ( 8 ) อารัญญิกังคะ ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร (9) รุกขมูลิกังคะ ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร (10) อัพโภกาลิกังคะ ถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร (11) โสสานิกังคะ ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร (12) ยถาสันถติกังคะ ถือการอยู่เสนาสนะแล้วแต่เข้าจัดให้ (13) เนสัชชิกังคะถือการ ยืน เดิน นั่ง อย่างเดียว ไม่นอนเป็นวัตร โดยกำหนดเป็นคืน ๆ ไป
พระป่าในประเทศไทยโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลับมามีบทบาทมากขึ้นภายหลังจากรัฐออกกฎหมายควบคุมพระสงฆ์ ทำให้พระสงฆ์ท้องถิ่นจำเป็นต้องละทิ้งแบบแผนจารีตเดิมและเข้าสู่ระบบทางการ จึงได้ออกธุดงค์มากขึ้น (Kamala Tiyavanich, 1997, p. 62; Swearer, 2003, p. 832 )
หากจะกล่าวว่าพระป่าเป็นพระสงฆ์ที่หลีกลี้หนีจากสังคมอาจไม่ถูกต้องนักเนื่องจากพบว่าบ้านเมืองเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญที่ฝ่ายพระภิกษุสงฆ์สมควรกระทำ พระป่าได้เข้ามาร่วมอนุเคราะห์กับฝ่ายบ้านเมือง เช่น ในสมัยอยุธยา สมเด็จพระนพรัตน์แห่งวัดป่าแก้วเป็นพระภิกษุฝ่ายอรัญวาสี ได้เสด็จมาแสดงธรรมเพื่อให้สมเด็จพระนเรศวรทรงยกโทษประหารแก่แม่ทัพนายกองที่กระทำพลาดพลั้ง หรือแม้แต่ในปัจจุบันการออกมาสั่งสอนการปฏิบัติกรรมฐานให้แก่ศาสนิกชนของพระป่าที่มีชื่อเสียง เช่น พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล และพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต แสดงให้เห็นว่ายังมีการติดต่อและสงเคราะห์สังคมอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่ยอมรับทั้งของรัฐและประชาชน ดังจะเห็นได้ว่า สถานที่ต่าง ๆ ที่พระป่าสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตไปธุดงค์ มักจะมีส่วนราชการเข้าไปสนับสนุนและช่วยเหลือในการสร้างสำนักเรียนตามมา (พระไพศาล วิสาโล,2546, หน้า 68) ส่วน “พระนักพัฒนา” นั้น ผู้ที่ใช้เรียกคนแรกคือ Steven Picker ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ส่งพระธรรมทูตไปพัฒนาภาคอีสาน (พินิจ ลาภธนานันท์,2549, หน้า 81) และเป็นคำใช้เรียกพระสงฆ์ที่นิยมช่วยเหลือสงเคราะห์ชุมชนควบคู่ไปกับการเรียนรู้ทางปริยัติ ซึ่งมักเป็นพระหนุ่มที่ศึกษาตามมหาวิทยาลัยสงฆ์ในกรุงเทพฯและได้รับมอบหมายให้ไปดูแลวัดต่างจังหวัด ซึ่งเป็นเพียงในรูปแบบแต่ไม่ได้เกิดจากจิตวิญญาณที่แท้จริง ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงการปฏิรูปคณะสงฆ์ ราวกลางพุทธศตวรรษที่25 (Kamala Tiyavanich, 1997, pp. 273-274) แต่ พินิจ ลาภธนานันท์ ไม่เห็นด้วยกับความหมายข้างต้น จึงเสนอความหมายที่พระสงฆ์นักพัฒนาได้กำหนดไว้เองว่า หมายถึงพระสงฆ์ที่มุ่งเข้าหาชุมชนและลงไปทำงานร่วมกับชุมชน และอีกความหมายหนึ่งคือพระสงฆ์ที่สามารถพัฒนาตนเองได้ทั้งทางโลกและทางธรรม หรืออีกความหมายหนึ่งคือกลุ่มพระสงฆ์ท้องถิ่นที่คอยดูแลและปลูกสร้างสังคมหรือพยายามรื้อฟื้นบทบาททางสังคมที่เคยมีมาในอดีต (พินิจ ลาภธนานันท์, 2549, หน้า 82-87)
บรรณานุกรม
เสาวพงษ์ ยมาพัฒน์ (2553) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติของวัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พินิจ ลาภธนานนท์. (2549). กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับการปรับเปลี่ยนบทบาทการพัฒนาของพระสงฆ์นักพัฒนาในภาคอีสาน. ในรายงานการวิจัย, สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระไพศาล วิสาโล. (2546). พุทธศาสนาในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต.กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2552). ภูพานมหาวนาสี. ศิลปวัฒนธรรม, 30(5), 140-153.
Kamala Tiyavanich. (1997). Forest recollections: Wandering monks in twentieth-century Thailand. Bangkok: O.S. Printing House.
Tambiah, S. J. (1976). World conqueror and world renouncer: A study of Buddhism and polity in Thailand against a historical background. New York: Cambridge University Press.
23 สิงหาคม 2554
ทิพย์รัตน์:
การเปลี่ยนแปลงบทบาทของพระสงฆ์ในชุมชน
พระพุทธศาสนาในอดีตนั้นไม่ได้แยกสิ่งที่เรียกว่า “โลก” กับ “ธรรม” ออกจากกันเช่นเดียวกับครั้งพุทธกาล หลักในพระพุทธศาสนาไม่ได้จำกัดเพียงการสอนด้านจิตให้พ้นทุกข์เท่านั้น หากแต่ยังครอบคลุมไปถึงเรื่องทางโลกอีกด้วย เช่น การประกอบสัมมาอาชีวะ การรักษาทรัพย์ (อารักขสัมมปทา) การใช้จ่ายทรัพย์ (โภควิภาค 4) เป็นต้น
ต่อมา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ระบบเทคโนโลยีข่าวสารข้อมูล หรือระบบการเมืองของโลกได้ส่งผลต่อสังคมไทยในทุกด้าน อันได้แก่ด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม ซึ่งย่อมส่งผลต่อไปยังโครงสร้างทางสังคม ที่มีสถาบันศาสนาเป็นองค์ประกอบ วัดและพระสงฆ์อันเป็นองค์ประกอบย่อยจึงจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงบทบาทในชุมชนหรือสังคมไม่มากก็น้อย หรือบางบทบาทอาจสูญหายไปจากเดิม ในขณะที่เริ่มมีบทบาทใหม่เข้ามาแทนที่ ซึ่งนอกจากปัจจัยภายนอกที่กล่าวมาแล้ว ยังมีปัจจัยภายในของคณะสงฆ์เองไม่ว่าจะเป็นด้วยกฎระเบียบของมหาเถรสมาคม หรือวัตรปฏิบัติที่ลดความเข้มงวดลงหรือแม้กระทั่งการจัดตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ก็เป็นการกระตุ้นให้พระสงฆ์จำเป็นต้องเรียนรู้และรับรู้เรื่องทางโลกมากขึ้น นอกจากนั้นพระสงฆ์ไทยส่วนใหญ่มิได้แยกตัวออกไปอยู่โดดเดี่ยวจากชุมชนจึงยังต้องรับรู้ปัญหาต่าง ๆ ในชุมชน และจำเป็นต้องแสดงบทบาทที่เกี่ยวข้องกับชุมชนทั้งในเรื่องการสั่งสอนศาสนธรรม การปฏิบัติธรรม รวมถึงการแก้ปัญหาพัฒนาชีวิตและการเป็นผู้นำชุมชน พระสงฆ์จึงยังคงทำหน้าที่พัฒนาศีลธรรมของประชาชนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน (ภัทรพร สิริกาญจน, 2536, หน้า 2) ดังนั้นในช่วง 3-4 ทศวรรษที่ผ่านมาบทบาทของพระสงฆ์จึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคมไทยที่เป็นทั้งผู้นำชุมชนและเป็นผู้ที่ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนหลักธรรมในการดำเนินชีวิตแก่ชาวบ้านในชุมชน
หากย้อนมองอดีตจะพบว่าการเปลี่ยนแปลงบทบาทของพระสงฆ์ได้เริ่มขึ้นมานานแล้วโดยเฉพาะในช่วงกลางของพุทธทศวรรษ 2503 รัฐบาลได้สนับสนุนให้พระสงฆ์มีบทบาทในการพัฒนาชุมชนเพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ (Kirsch, 1978, p. 63) การทำงานของพระสงฆ์ในช่วงนี้ไม่เป็นไปตามธรรมชาติแต่เป็นไปแบบก้าวกระโดดตามกระแสความนิยมโดยมีหน่วยงานของรัฐและองค์การเอ็นจีโอเข้ามาร่วมสนับสนุน(พินิจ ลาภธนานันท์, 2549, หน้า 69)
บรรณานุกรม
เสาวพงษ์ ยมาพัฒน์ (2553) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติของวัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ภัทรพร สิริกาญจน. (2536). หน้าที่ของพระสงฆ์ตามพุทธบัญญัติ: แนวคิดและบทบาทของพระคำเขียน สุวณฺโณ ในการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พินิจ ลาภธนานนท์. (2549). กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับการปรับเปลี่ยนบทบาทการพัฒนาของพระสงฆ์นักพัฒนาในภาคอีสาน. ในรายงานการวิจัย,สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Kirsch, A. T. (1978). Modernizing implications of the nineteenth centuryreforms in the Thai Sangha. In Bardwell L. Smith (Ed.), Religion andthe
23 สิงหาคม 2554
การเปลี่ยนแปลงบทบาทของพระสงฆ์ในชุมชน
พระพุทธศาสนาในอดีตนั้นไม่ได้แยกสิ่งที่เรียกว่า “โลก” กับ “ธรรม” ออกจากกันเช่นเดียวกับครั้งพุทธกาล หลักในพระพุทธศาสนาไม่ได้จำกัดเพียงการสอนด้านจิตให้พ้นทุกข์เท่านั้น หากแต่ยังครอบคลุมไปถึงเรื่องทางโลกอีกด้วย เช่น การประกอบสัมมาอาชีวะ การรักษาทรัพย์ (อารักขสัมมปทา) การใช้จ่ายทรัพย์ (โภควิภาค 4) เป็นต้น
ต่อมา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ระบบเทคโนโลยีข่าวสารข้อมูล หรือระบบการเมืองของโลกได้ส่งผลต่อสังคมไทยในทุกด้าน อันได้แก่ด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม ซึ่งย่อมส่งผลต่อไปยังโครงสร้างทางสังคม ที่มีสถาบันศาสนาเป็นองค์ประกอบ วัดและพระสงฆ์อันเป็นองค์ประกอบย่อยจึงจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงบทบาทในชุมชนหรือสังคมไม่มากก็น้อย หรือบางบทบาทอาจสูญหายไปจากเดิม ในขณะที่เริ่มมีบทบาทใหม่เข้ามาแทนที่ ซึ่งนอกจากปัจจัยภายนอกที่กล่าวมาแล้ว ยังมีปัจจัยภายในของคณะสงฆ์เองไม่ว่าจะเป็นด้วยกฎระเบียบของมหาเถรสมาคม หรือวัตรปฏิบัติที่ลดความเข้มงวดลงหรือแม้กระทั่งการจัดตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ก็เป็นการกระตุ้นให้พระสงฆ์จำเป็นต้องเรียนรู้และรับรู้เรื่องทางโลกมากขึ้น นอกจากนั้นพระสงฆ์ไทยส่วนใหญ่มิได้แยกตัวออกไปอยู่โดดเดี่ยวจากชุมชนจึงยังต้องรับรู้ปัญหาต่าง ๆ ในชุมชน และจำเป็นต้องแสดงบทบาทที่เกี่ยวข้องกับชุมชนทั้งในเรื่องการสั่งสอนศาสนธรรม การปฏิบัติธรรม รวมถึงการแก้ปัญหาพัฒนาชีวิตและการเป็นผู้นำชุมชน พระสงฆ์จึงยังคงทำหน้าที่พัฒนาศีลธรรมของประชาชนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน (ภัทรพร สิริกาญจน, 2536, หน้า 2) ดังนั้นในช่วง 3-4 ทศวรรษที่ผ่านมาบทบาทของพระสงฆ์จึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคมไทยที่เป็นทั้งผู้นำชุมชนและเป็นผู้ที่ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนหลักธรรมในการดำเนินชีวิตแก่ชาวบ้านในชุมชน
หากย้อนมองอดีตจะพบว่าการเปลี่ยนแปลงบทบาทของพระสงฆ์ได้เริ่มขึ้นมานานแล้วโดยเฉพาะในช่วงกลางของพุทธทศวรรษ 2503 รัฐบาลได้สนับสนุนให้พระสงฆ์มีบทบาทในการพัฒนาชุมชนเพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ (Kirsch, 1978, p. 63) การทำงานของพระสงฆ์ในช่วงนี้ไม่เป็นไปตามธรรมชาติแต่เป็นไปแบบก้าวกระโดดตามกระแสความนิยมโดยมีหน่วยงานของรัฐและองค์การเอ็นจีโอเข้ามาร่วมสนับสนุน(พินิจ ลาภธนานันท์, 2549, หน้า 69)
บรรณานุกรม
เสาวพงษ์ ยมาพัฒน์ (2553) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติของวัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ภัทรพร สิริกาญจน. (2536). หน้าที่ของพระสงฆ์ตามพุทธบัญญัติ: แนวคิดและบทบาทของพระคำเขียน สุวณฺโณ ในการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พินิจ ลาภธนานนท์. (2549). กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับการปรับเปลี่ยนบทบาทการพัฒนาของพระสงฆ์นักพัฒนาในภาคอีสาน. ในรายงานการวิจัย,สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Kirsch, A. T. (1978). Modernizing implications of the nineteenth centuryreforms in the Thai Sangha. In Bardwell L. Smith (Ed.), Religion andthe
23 สิงหาคม 2554
ทิพย์รัตน์:
แนวคิดพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม
แนวคิดพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม หรือพระพุทธศาสนาแบบพัฒนาสังคม(engage Buddhism/social engaged Buddhism) เป็นแนวคิดใหญ่ที่เป็นการแบ่งขั้วการปฏิบัติของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการปฏิบัติในขั้วที่ต่างกันของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท (หินยาน) ที่เน้นที่การปฏิบัติตามคำสอนในพระไตรปิฎก และยึดถือการตีความที่เคร่งครัดตามตัวอักษร และยึดถือการปฏิบัติอย่างเข้มข้นเพื่อมุ่งสู่อรหันต์และนิพพาน ส่วนพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานซึ่งรวมถึงสายวัชรยาน มุ่งเน้นในการช่วยเหลือสรรพสิ่งเพื่อปรารถนาโพธิสัตวภูมิ
แนวคิด engaged Buddhism เป็นทรรศนะที่ว่าพระพุทธศาสนาไม่แยกออกจากสังคม มีการตีความพระพุทธศาสนาให้ครอบคลุมกับปัญหาใหม่ คำว่า “engaged Buddhism” ผู้ที่นำมาใช้เป็นคนแรกคือ ติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh) พระภิกษุนิกายเซ็นชาวเวียตนาม แต่ออกมามีชื่อเสียงในต่างประเทศ ซึ่งปรากฏในหนังสือของท่านในปี ค.ศ. 1964 โดยให้ความหมายของ engaged Buddhism ว่าเป็นการเข้าสู่ชีวิตทางสังคม (Kraft, 1992, p. 18)
Queen (1996, pp. 1-2, 12-13) ให้ทรรศนะว่าพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมมีรูปแบบที่ค่อนข้างสวนทางกับแนวปฏิบัติของพระพุทธศาสนาแบบเดิม )ทั้งเถรวาท มหายาน และวัชรยาน (เป็นการเพิ่มเติมเนื้อหาใหม่ ๆ เข้ามา และยังแบ่งแยกจริยธรรมทางพระพุทธศาสนาออกเป็น 4 กระบวนทัศน์ คือ (1) จริยธรรมแบบศีล(2) จริยธรรมแบบคุณธรรม (3) จริยธรรมแบบช่วยเหลือผู้อื่น (4) จริยธรรมแบบเพื่อสังคม ซึ่งอาจไม่ตรงกับความเห็นของผู้วิจัยที่มีทรรศนะว่าการปฏิบัติของพระพุทธศาสนามหายาน ไม่แตกต่างจากพระพุทธศาสนาแนวเพื่อสังคมมากนัก ดังนั้นความเห็นที่ว่าพระพุทธศาสนาแนวเพื่อสังคมสวนทางกับแนวปฏิบัติของพระพุทธศาสนาแบบเดิม(ทั้งเถรวาท มหายานและวัชรยาน) จึงฟังดูไม่มีน้ำหนักและไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแบ่งแยกเป็นกระบวนทัศน์ต่าง ๆ ดังกล่าว
บรรณานุกรม
เสาวพงษ์ ยมาพัฒน์ (2553) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติของวัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Kraft, K. (1992). Prospects of socially engaged Buddhism. In K. Kraft (Ed.), Inner peace, world peace: Essays on Buddhism and nonviolence (pp.102-110). New York: University of New York Press.
Queen, C. S. (1996). Engaged Buddhism: Buddhist liberation movements in Asia. New York: University of New York Press.
ทิพย์รัตน์:
พระพุทธศาสนาแบบจารีตกับพระพุทธศาสนาแบบพัฒนาสังคม
ในครั้งพุทธกาลพระสงฆ์กับชาวบ้านเป็นเครื่องค้ำจุนซึ่งกันและกัน ดังที่พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) (2539, หน้า 40) กล่าวว่า “ . . . เมื่อเริ่มประกาศพระศาสนาพระองค์ทรงส่งสาวกออกประกาศพระศาสนาด้วยคำว่า จรถ ภิกขฺเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย แปลว่า เธอทั้งหลายจงจาริกไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ พหุชนเพื่อความสุขแก่พหุชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก . . . ” พระสงฆ์อยู่ได้ด้วยชาวบ้านที่เกื้อหนุนในการบิณฑบาตและช่วยเหลือด้านอื่น ๆ พระสงฆ์ตอบแทนชาวบ้านด้วยการอบรมสั่งสอน ศีลธรรม และคอยแนะนำแนวทางในการดำเนินชีวิตสถาบันสงฆ์เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างทางสังคมโดยส่วนรวม และมีหน้าที่ต้องปฏิบัติเชิงปฏิสัมพันธ์กับสถาบันอื่นในสังคม เช่น สถาบันทางเศรษฐกิจ การเมือง (สมบูรณ์ สุขสำราญ, 2522, หน้า 2) ศาสนากับสังคมเป็นสถาบันที่เกิดมาคู่กัน ศาสนาไม่ใช่สิ่งที่แปลกแยกจากสังคมหรืออยู่เหนือสังคม ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงมีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และมิติต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตของสังคมมนุษย์ (ภัทรพร สิริกาญจน, 2553, หน้า 135) สิ่งที่เป็นหลักเดียวกันของพระพุทธศาสนาแบบจารีต(normative/traditional Buddhism) และพระพุทธศาสนาแบบพัฒนาสังคม (social engaged Buddhism) คือ เป้าหมายเพื่อความสุขของสังคม ดังนั้น ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของวัดป่าซึ่งถือว่าเป็นพระพุทธศาสนาแบบจารีตที่จะให้เกิดสัมฤทธิผลต่อสังคมจึงต้องประยุกต์แนวทางการจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการและบริบทของสังคมเป็นสำคัญ
การจะประยุกต์แนวทางให้เอื้อต่อสังคมได้ วัดป่าจำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญและมีการปรับตัวในมิติด้านต่าง ๆ เช่น การปฏิบัติวิปัสสนา การอบรมสั่งสอน การเผยแพร่หลักธรรม ตลอดจนการตีความหมายของพุทธธรรม และด้านอื่น ๆเพื่อสนองตอบต่อสังคมมากขึ้น ซึ่งแนวทางปรับตัวดังกล่าวควรเกิดขึ้นโดยผสมผสานส่วนดีของแนวทางของพระพุทธศาสนาแบบพัฒนาสังคมเข้ากับแนวทางของพระพุทธศาสนาแบบจารีต (วัดป่า)
พระสงฆ์กับบทบาทการพัฒนาและการอนุรักษ์
ในอดีตวัดกับชุมชนมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะก่อนที่จะมีการปฏิรูปคณะสงฆ์ ในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าฯ (พระไพศาล วิสาโล, 2546, หน้า 56) นอกจากวัดจะเป็นสถานที่บำเพ็ญประโยชน์หลายด้านทั้งในด้านศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรมแล้ว วัดยังเป็นศูนย์รวมของชุมชน การพัฒนาชุมชนในอดีตล้วนมีวัดและพระสงฆ์เป็นผู้นำทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างสาธารณะประโยชน์ เช่น การขุดบ่อน้ำ การขุดสระ การทำฝายกั้นน้ำ เป็นต้น หรือการร่วมมือกับชาวบ้านในการจัดการดูแลชุมชน เช่น การปลูกสมุนไพรรักษาโรค
ต่อมาเมื่อการพัฒนาเริ่มเข้ามาโดยบทบาทของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงบทบาทของวัดและพระสงฆ์ไปบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าวัดหมดบทบาทนั้นไป บางแห่งกลับมีความพยายามในการพัฒนาชุมชนและสังคมมากขึ้นเนื่องจากบทบาทของรัฐในการพัฒนาผิดพลาด และก่อให้เกิดผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชุมชนอย่างหนัก วัดและพระสงฆ์ในท้องที่จึงไม่อาจนิ่งดูดายอยู่ได้ ต้องลุกขึ้นมาแสดงบทบาทเดิมที่เคยมีมาในอดีตเพื่อช่วยเหลือดูแลชาวบ้านให้เกิดความสุขตามเป้าหมายหลักของพระพุทธศาสนา ดังนั้นในปัจจุบันจึงพบเห็นบทบาทของวัดและพระสงฆ์ในการพัฒนาในมิติต่าง ๆ มากมาย เช่น การพัฒนาสาธารณูปโภค ถนน สระน้ำ สะพาน เขื่อน และฝายกั้นน้ำ การพัฒนาการศึกษาแก่ชุมชน ส่งเสริมการเกษตร การพัฒนาอาชีพเสริม การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในรูปสหกรณ์ การอนุรักษ์ป่าไม้ รวมถึงงานพัฒนาด้านสร้างจิตสำนึกทางการเมืองที่มีคุณค่าต่อการสร้างรูปแบบประชาธิปไตยในประเทศไทย (สมบูรณ์ สุขสำราญ, 2520; Kamala Tiyavanich, 1997, p. 275)
แนวคิดพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม
แนวคิดพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม หรือพระพุทธศาสนาแบบพัฒนาสังคม(engage Buddhism/social engaged Buddhism) เป็นแนวคิดใหญ่ที่เป็นการแบ่งขั้วการปฏิบัติของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการปฏิบัติในขั้วที่ต่างกันของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท (หินยาน) ที่เน้นที่การปฏิบัติตามคำสอนในพระไตรปิฎก และยึดถือการตีความที่เคร่งครัดตามตัวอักษร และยึดถือการปฏิบัติอย่างเข้มข้นเพื่อมุ่งสู่อรหันต์และนิพพาน ส่วนพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานซึ่งรวมถึงสายวัชรยาน มุ่งเน้นในการช่วยเหลือสรรพสิ่งเพื่อปรารถนาโพธิสัตวภูมิ
แนวคิด engaged Buddhism เป็นทรรศนะที่ว่าพระพุทธศาสนาไม่แยกออกจากสังคม มีการตีความพระพุทธศาสนาให้ครอบคลุมกับปัญหาใหม่ คำว่า “engaged Buddhism” ผู้ที่นำมาใช้เป็นคนแรกคือ ติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh) พระภิกษุนิกายเซ็นชาวเวียตนาม แต่ออกมามีชื่อเสียงในต่างประเทศ ซึ่งปรากฏในหนังสือของท่านในปี ค.ศ. 1964 โดยให้ความหมายของ engaged Buddhism ว่าเป็นการเข้าสู่ชีวิตทางสังคม (Kraft, 1992, p. 18)
Queen (1996, pp. 1-2, 12-13) ให้ทรรศนะว่าพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมมีรูปแบบที่ค่อนข้างสวนทางกับแนวปฏิบัติของพระพุทธศาสนาแบบเดิม )ทั้งเถรวาท มหายาน และวัชรยาน (เป็นการเพิ่มเติมเนื้อหาใหม่ ๆ เข้ามา และยังแบ่งแยกจริยธรรมทางพระพุทธศาสนาออกเป็น 4 กระบวนทัศน์ คือ (1) จริยธรรมแบบศีล(2) จริยธรรมแบบคุณธรรม (3) จริยธรรมแบบช่วยเหลือผู้อื่น (4) จริยธรรมแบบเพื่อสังคม ซึ่งอาจไม่ตรงกับความเห็นของผู้วิจัยที่มีทรรศนะว่าการปฏิบัติของพระพุทธศาสนามหายาน ไม่แตกต่างจากพระพุทธศาสนาแนวเพื่อสังคมมากนัก ดังนั้นความเห็นที่ว่าพระพุทธศาสนาแนวเพื่อสังคมสวนทางกับแนวปฏิบัติของพระพุทธศาสนาแบบเดิม(ทั้งเถรวาท มหายานและวัชรยาน) จึงฟังดูไม่มีน้ำหนักและไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแบ่งแยกเป็นกระบวนทัศน์ต่าง ๆ ดังกล่าว
บรรณานุกรม
เสาวพงษ์ ยมาพัฒน์ (2553) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติของวัดป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Kraft, K. (1992). Prospects of socially engaged Buddhism. In K. Kraft (Ed.), Inner peace, world peace: Essays on Buddhism and nonviolence (pp.102-110). New York: University of New York Press.
Queen, C. S. (1996). Engaged Buddhism: Buddhist liberation movements in Asia. New York: University of New York Press.
ทิพย์รัตน์:
พระพุทธศาสนาแบบจารีตกับพระพุทธศาสนาแบบพัฒนาสังคม
ในครั้งพุทธกาลพระสงฆ์กับชาวบ้านเป็นเครื่องค้ำจุนซึ่งกันและกัน ดังที่พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) (2539, หน้า 40) กล่าวว่า “ . . . เมื่อเริ่มประกาศพระศาสนาพระองค์ทรงส่งสาวกออกประกาศพระศาสนาด้วยคำว่า จรถ ภิกขฺเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย แปลว่า เธอทั้งหลายจงจาริกไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ พหุชนเพื่อความสุขแก่พหุชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก . . . ” พระสงฆ์อยู่ได้ด้วยชาวบ้านที่เกื้อหนุนในการบิณฑบาตและช่วยเหลือด้านอื่น ๆ พระสงฆ์ตอบแทนชาวบ้านด้วยการอบรมสั่งสอน ศีลธรรม และคอยแนะนำแนวทางในการดำเนินชีวิตสถาบันสงฆ์เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างทางสังคมโดยส่วนรวม และมีหน้าที่ต้องปฏิบัติเชิงปฏิสัมพันธ์กับสถาบันอื่นในสังคม เช่น สถาบันทางเศรษฐกิจ การเมือง (สมบูรณ์ สุขสำราญ, 2522, หน้า 2) ศาสนากับสังคมเป็นสถาบันที่เกิดมาคู่กัน ศาสนาไม่ใช่สิ่งที่แปลกแยกจากสังคมหรืออยู่เหนือสังคม ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงมีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และมิติต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตของสังคมมนุษย์ (ภัทรพร สิริกาญจน, 2553, หน้า 135) สิ่งที่เป็นหลักเดียวกันของพระพุทธศาสนาแบบจารีต(normative/traditional Buddhism) และพระพุทธศาสนาแบบพัฒนาสังคม (social engaged Buddhism) คือ เป้าหมายเพื่อความสุขของสังคม ดังนั้น ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของวัดป่าซึ่งถือว่าเป็นพระพุทธศาสนาแบบจารีตที่จะให้เกิดสัมฤทธิผลต่อสังคมจึงต้องประยุกต์แนวทางการจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการและบริบทของสังคมเป็นสำคัญ
การจะประยุกต์แนวทางให้เอื้อต่อสังคมได้ วัดป่าจำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญและมีการปรับตัวในมิติด้านต่าง ๆ เช่น การปฏิบัติวิปัสสนา การอบรมสั่งสอน การเผยแพร่หลักธรรม ตลอดจนการตีความหมายของพุทธธรรม และด้านอื่น ๆเพื่อสนองตอบต่อสังคมมากขึ้น ซึ่งแนวทางปรับตัวดังกล่าวควรเกิดขึ้นโดยผสมผสานส่วนดีของแนวทางของพระพุทธศาสนาแบบพัฒนาสังคมเข้ากับแนวทางของพระพุทธศาสนาแบบจารีต (วัดป่า)
พระสงฆ์กับบทบาทการพัฒนาและการอนุรักษ์
ในอดีตวัดกับชุมชนมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะก่อนที่จะมีการปฏิรูปคณะสงฆ์ ในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าฯ (พระไพศาล วิสาโล, 2546, หน้า 56) นอกจากวัดจะเป็นสถานที่บำเพ็ญประโยชน์หลายด้านทั้งในด้านศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรมแล้ว วัดยังเป็นศูนย์รวมของชุมชน การพัฒนาชุมชนในอดีตล้วนมีวัดและพระสงฆ์เป็นผู้นำทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างสาธารณะประโยชน์ เช่น การขุดบ่อน้ำ การขุดสระ การทำฝายกั้นน้ำ เป็นต้น หรือการร่วมมือกับชาวบ้านในการจัดการดูแลชุมชน เช่น การปลูกสมุนไพรรักษาโรค
ต่อมาเมื่อการพัฒนาเริ่มเข้ามาโดยบทบาทของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงบทบาทของวัดและพระสงฆ์ไปบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าวัดหมดบทบาทนั้นไป บางแห่งกลับมีความพยายามในการพัฒนาชุมชนและสังคมมากขึ้นเนื่องจากบทบาทของรัฐในการพัฒนาผิดพลาด และก่อให้เกิดผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชุมชนอย่างหนัก วัดและพระสงฆ์ในท้องที่จึงไม่อาจนิ่งดูดายอยู่ได้ ต้องลุกขึ้นมาแสดงบทบาทเดิมที่เคยมีมาในอดีตเพื่อช่วยเหลือดูแลชาวบ้านให้เกิดความสุขตามเป้าหมายหลักของพระพุทธศาสนา ดังนั้นในปัจจุบันจึงพบเห็นบทบาทของวัดและพระสงฆ์ในการพัฒนาในมิติต่าง ๆ มากมาย เช่น การพัฒนาสาธารณูปโภค ถนน สระน้ำ สะพาน เขื่อน และฝายกั้นน้ำ การพัฒนาการศึกษาแก่ชุมชน ส่งเสริมการเกษตร การพัฒนาอาชีพเสริม การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในรูปสหกรณ์ การอนุรักษ์ป่าไม้ รวมถึงงานพัฒนาด้านสร้างจิตสำนึกทางการเมืองที่มีคุณค่าต่อการสร้างรูปแบบประชาธิปไตยในประเทศไทย (สมบูรณ์ สุขสำราญ, 2520; Kamala Tiyavanich, 1997, p. 275)
********************
เบื้องหลัง ‘วิจัย’ บทบาท ‘พระสงฆ์’ กับการเลือกฝ่าย ‘แดง-เหลือง-กลาง’
Sun, 2011-02-20 22:44
ความคิดทางจริยธรรมกับการเลือกฝ่ายทางการเมืองของพระสงฆ์ในสังคมไทยปัจจุบัน” ซึ่งผู้วิจัยพบว่า “ความเป็นกลางทางการเมือง” ไม่ใช่หลักการตายตัวที่พระสงฆ์จำเป็นต้องยึดถือปฏิบัติในการแบ่งฝ่ายทางการเมืองในทุกกรณีเสมอไป
หลังจากผลวิจัยชื่อ “ความคิดทางจริยธรรมกับการเลือกฝ่ายทางการเมืองของพระสงฆ์ในสังคมไทยปัจจุบัน” (ศูนย์ พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนทุนวิจัย) ถูกเผยแพร่ทางสื่อมวลชน ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “ตามมติและประกาศมหาเถรสมาคม (มส.) มีคำสั่งห้ามพระสงฆ์ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเด็ดขาด และต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง ส่วนเรื่องแสดงความคิดเห็นนั้นสามารถทำได้ แต่ต้องเป็นกลางและมีเหคุผลในการแสดงความเห็น...” (มติชน, 2 ก.พ.54,หน้า 15)
อันที่จริงคำว่า “วางตัวเป็นกลางทางการเมือง” นั้น จำเป็นต้องพิจารณาอย่างจำแนกแยกแยะ จากการศึกษาค้นคว้าในงานวิจัยดังกล่าว
ผู้วิจัยพบว่า “ความเป็นกลางทางการเมือง” ไม่ใช่หลักการตายตัวที่พระสงฆ์จำเป็นต้องยึดถือปฏิบัติในการแบ่งฝ่ายทางการเมืองในทุกกรณีเสมอไป
เช่น ถ้าเป็น “การเมืองของนักการเมืองหรือกลุ่มผลประโยชน์ทางการ เมือง” หรือการเมืองในความหมายของการลงสมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองต่างๆ พระสงฆ์ไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้อง ควรวางตัวเป็นกลาง
แต่ถ้าเป็น “การเมืองของประชาชน” หรือการเมืองในความหมายของการปกป้องความเป็นธรรม หลักการประชาธิปไตย ชีวิตประชาชน การเรียกร้องสันติวิธี สันติภาพทางสังคม และ/หรือสันติภาพของโลก ตามหลักการทางพระธรรมวินัยแล้วพระสงฆ์ควรเข้าไปเกี่ยวข้อง
และแม้จำเป็นต้องเลือกฝ่ายก็ควรเลือก หากสามารถอธิบายได้ว่า การเลือกฝ่ายเช่นนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
ความเป็นกลางทางการเมืองไม่ใช่ “การวางเฉย” แต่หมายถึงการแสดงบทบาทเป็นกลางในการวิพากษ์วิจารณ์ชี้ถูกชี้ผิดทุก ฝ่ายอย่างเที่ยงธรรมและเท่าเทียม โดยยึดหลักการประชาธิปไตย ข้อเท็จจริง และหลักสันติวิธีเป็นเกณฑ์ในการแสดงบทบาทดังกล่าว
ทว่าความขัดแย้งทางการเมืองในบ้านเรากว่า 5 ปี มานี้ เป็นการเมืองที่ซ้อนๆ กันอยู่ ระหว่าง “การเมืองของนักการเมืองหรือกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง” กับ “การเมืองของประชาชน”
แต่จากภาวะที่ซ้อนๆ กันอยู่นั้น หากยึดหลักการประชาธิปไตย หรือการยืนยันเสรีภาพในการปกครองตนเองของประชาชนเป็นเกณฑ์ เราก็พอจะจำแนกได้ว่า ฝ่ายไหนที่ยืนยันหรือปฏิเสธเสรีภาพในการปกครองตนเองของประชาชนชัดเจนกว่า (แม้ว่าทุกฝ่ายต่างก็มีผลประโยชน์เฉพาะตัวแฝงอยู่ก็ตาม)
จากสภาพความเป็นจริงทางการเมืองดังกล่าวนี้ ปรากฏว่าท่าทีของพระสงฆ์มีทั้งวางเฉย เลือกฝ่ายและเป็นกลาง ผลสำรวจความคิดเห็น (โดยวิธีใช้แบบสอบถาม,การสัมภาษณ์เชิงลึก และการจัดเสวนาแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย) ของพระสงฆ์จำนวน 512 รูป ประกอบด้วยพระราชาคณะ พระสังฆาธิการ พระลูกวัด ผู้บริหาร คณาจารย์ และพระนิสิตของมหาวิทยาลัยสงฆ์ จากทุกภูมิภาคของประเทศ สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลักๆ คือ
กลุ่มแรก คือพระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่ยืนยันว่าท่านไม่ได้เลือก ฝ่ายเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดงโดยพระสงฆ์ในภาคใต้ไม่เลือกฝ่ายทางการเมืองมาก ที่สุด (68.0%) รองลงมาเป็นภาคกลาง (60.3%) ภาคเหนือ (60.3%) และไม่เลือกฝ่ายน้อยที่สุดคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (40.0%) แต่ว่าในจำนวนนี้มีทั้งที่บอกว่าเฉยๆ บ้าง ไม่สนใจการเมืองบ้าง ขอเป็นกลางบ้าง พระสงฆ์ไม่ควรยุ่งการเมืองบ้าง ยังตัดสินใจไม่ได้บ้าง ฯลฯ
กลุ่มที่สอง คือกลุ่มพระสงฆ์ที่ยืนยันชัดเจนว่าเลือกฝ่ายเสื้อเหลืองและเสื้อแดง ซึ่งมีทั้งที่ออกมาชุมนุม ไม่ออกมาชุมนุม และเป็นพระที่มีชื่อเสียงที่แสดงความคิดเห็นทางการเมืองเป็นที่ประจักษ์แก่ สาธารณะ ในกลุ่มพระสงฆ์ที่เลือกฝ่ายทางการเมืองนี้ พระสงฆ์ที่เลือกฝ่ายเสื้อแดงมีจำนวนมากกว่า โดยพระสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเลือกฝ่ายเสื้อแดงมากที่สุด (57.3%) รองลงมาเป็นภาคเหนือ (47.0%) ภาคกลาง (33.0%) และภาคใต้ (4.7%) ส่วนพระสงฆ์ที่เลือกฝ่ายเสื้อเหลือง พระสงฆ์ภาคใต้เลือกฝ่ายเสื้อเหลืองมากที่สุด (27.3%) รองลงมาเป็นภาคกลาง (6.7%) ภาคเหนือ (3.7%) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2.7%)
กลุ่มที่สาม คือพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในบ้านเราหลายรูปที่ถูกมองว่าเลือกสีนั้นสีนี้ แต่เมื่อผู้วิจัยไปสัมภาษณ์แล้ว ท่านยืนยันด้วยตัวท่านเองว่าท่านเป็นกลาง ได้แก่
1. พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงที่ถูกสื่อและสังคมมองว่า เลือกฝ่ายเสื้อเหลือง หรือเป็น “พระ เสื้อเหลือง” คือ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตยาลัย และ พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ ประธานมูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
2. พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงที่ถูกสื่อและสังคมมองว่า “เลือกฝ่าย เสื้อแดง” หรือเป็น “พระเสื้อแดง” คือ พระราชธรรมนิเทศ (พยอม กลฺยาโณ) เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว นนทบุรี และ พระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย (เนื่องจากวัดธรรมกายถูกมองว่าเลือกฝ่ายเสื้อแดง ท่านหลังนี้ผู้วิจัยสัมภาษณ์ท่านในฐานะผู้แทนวัดธรรมกาย)
3. พระไพศาล วิสาโล ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย พระคุณเจ้าท่านนี้มีบทบาทเป็นที่รู้จักในฐานะพระสงฆ์นักสันติวิธี นักกิจกรรมสังคม และมีบทบาทในด้านความเป็นกลางอย่างเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณะมากที่สุด
ประเด็นสำคัญที่ผู้วิจัยต้องการทราบ คือ พระสงฆ์ที่เลือกฝ่ายทางการเมือง และที่เลือกเป็นกลางทางการเมือง ท่านมี “เหตุผลทางการเมือง” และ “เหตุผลทางจริยธรรม” อย่างไร
ผลสำรวจสรุปได้ว่า “เหตุผลทางการเมือง” ในการเลือกฝ่ายของพระสงฆ์ส่วนใหญ่ไม่ใช่เหตุผลเรื่องตัวบุคคล หรือเหตุผลเรื่องสู้-ไม่สู้เพื่ออำนาจทางการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หากแต่เป็นเหตุผลเรื่อง “ความถูกต้องทางการเมือง” นั่นคือต้องการประชาธิปไตย ต่อต้านรัฐประหาร และต่อต้านรัฐบาลคอร์รัปชัน
กล่าวคือ พระสงฆ์ที่ออกมาชุมนุมกับคนเสื้อแดงส่วนใหญ่ต้องการประชาธิปไตย (49.3%) และเพื่อต่อต้านรัฐประหาร (34.7%) มีเพียงส่วนน้อย (5.7%) ที่เรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาเป็นนายกฯ อีก
ส่วนพระสงฆ์ภาคอีสาน (77.7%) ภาคกลาง (68.3%) และ ภาคเหนือ (65.7%) ก็ยืนยันเหตุผลทางการเมืองเพื่อต้องการประชาธิปไตย และต่อต้านรัฐประหาร
ยกเว้นภาคใต้ที่พระสงฆ์ส่วนใหญ่ (54.7%) อ้างเหตุผลเรื่องต้องการประชาธิปไตย ต่อต้านคอร์รัปชัน และไม่ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาเป็นนายกฯในสัดส่วนที่สูงกว่าการต่อต้านรัฐประหาร คือมีพระสงฆ์ที่อ้างเหตุผลต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ 18% ขณะที่อ้างเหตุผลต่อต้านรัฐประหาร 15%
ส่วน “เหตุผลทางจริยธรรม” พระสงฆ์ส่วนใหญ่ต้องการให้สังคมมีความยุติธรรม ไม่ต้องการสองมาตรฐาน ต้องการเห็นการเมืองมีจริยธรรม/ธรรมาธิปไตย และต้องการให้ยุติความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ตามลำดับ คือ เหตุผลทางจริยธรรมของพระสงฆ์ที่ร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดง (70.0%) และพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในภาคกลาง (64.0%) ภาคเหนือ (73.0%) และภาคอีสาน (77.7%) คือ เหตุผลเรื่องต้องการความยุติธรรม และไม่ต้องการสองมาตรฐาน แต่พระสงฆ์ภาคใต้ส่วนใหญ่ (60.0%) ต้องการเห็นการเมืองมีจริยธรรม/ธรรมาธิปไตย และต้องการให้ยุติความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
สำหรับพระสงฆ์ที่ยืนยันว่าเป็นกลาง เช่น พระราชธรรมนิเทศ (พยอม กัลยาโณ) พระไพศาล วิสาโล พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ เป็นต้น ต่างปฏิเสธรัฐประหาร ต้องการให้สังคมเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยด้วยแนวทางสันติวิธี
ฉะนั้น ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าพระสงฆ์ส่วนใหญ่ คือพระสงฆ์ที่เลือกฝ่ายเสื้อแดง กับพระสงฆ์ที่เลือกเป็นกลางทางการเมืองต่างยืนยันตรงกันว่า “ไม่เอารัฐประหาร”
มีเพียงท่านสมณะโพธิรักษ์ (ผู้วิจัยสัมภาษณ์ท่านในฐานะตัวแทนสมณะสันติอโศก) ซึ่งสนับสนุนฝ่ายเสื้อเหลืองเท่านั้นที่ยืนยันว่า“รัฐ ประหารโดยคนไม่มีกิเลสหรือมีกิเลสน้อยเพื่อขจัดรัฐบาลคอร์รัปชัน แล้วมาจัดการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยเพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นรัฐประหาร ที่ชอบธรรม”
จึงกล่าวโดยภาพรวมได้ว่า เหตุผลในการเลือกฝ่ายหรือเลือกเป็นกลางทางการเมืองของพระสงฆ์เป็นเหตุผลที่อ้างอิง “การ เมืองของประชาชน” เป็นหลัก แต่ในภาวะความซับซ้อนทางการเมืองที่เป็นอยู่จริง ไม่ว่าจะเลือกฝ่ายหรือเลือกเป็นกลาง ต่างก็ต้องเผชิญกับปัญหา “กลืนไม่เข้าคายไม่ออกทางศีลธรรม” (moral dilemma)
กล่าวคือ เลือกเป็นกลางก็เป็นกลางไม่ได้จริง เนื่องจารีตทางสังคมและกฎหมายไม่อนุญาตให้ตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ “อำนาจนอกระบบ” ได้อย่างเท่าเทียมกับที่ทำได้กับอีกฝ่าย
เลือกเสื้อแดงก็เผชิญกับคำถามว่าพระสงฆ์ควรสนับสนุนบุคคลที่ถูกกล่าวหาเรื่องทุจริตคอร์รัปชันหรือไม่
เลือกเสื้อเหลืองก็เผชิญกับคำถามเรื่องสนับสนุนอำมาตย์ และรัฐประหาร
แต่ถ้าวางเฉยก็ถูกตั้งคำถามถึงความรับผิดชอบต่อศีลธรรมเชิงสังคม เช่นการปกป้องหลักการประชาธิปไตย และชีวิตของประชาชนจากการใช้อำนาจรัฐที่เกินกว่าเหตุ เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตาม จากการสัมภาษณ์นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนามองว่า พระสงฆ์ที่เป็นกลางก็มีข้อเด่นเรื่องการยืนยันแนวทางสันติวิธี แต่จะดียิ่งขึ้นหากท่านแน่วแน่ในการยืนยันหลักการประชาธิปไตย ใส่ใจ “ความ เป็นจริง” ของประชาชนที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และใส่ใจปัญหาสองมาตรฐานต่างๆ ที่ยังดำรงอยู่ภายใต้โครงสร้างอำนาจที่อยุติธรรมมากขึ้น
ส่วนพระสงฆ์ที่เลือกฝ่ายเสื้อแดง หากสามารถอธิบายได้ว่าท่านไม่สนับสนุนวิธีการรุนแรง ต้องการปกป้องสิทธิของประชาชนที่ถูกปล้นไป ต่อต้านรัฐประหาร ต่อต้านอำมาตย์ ต้องการให้สังคมเป็นประชาธิปไตยและมีความเป็นธรรม เหตุผลของท่านก็ควรแก่การรับฟัง
และพระสงฆ์ที่เลือกฝ่ายเสื้อเหลือง หากท่านยืนยันได้ว่าไม่ได้สนับสนุนรัฐประหารที่ปล้นสิทธิประชาชนหรือทำลาย ประชาธิปไตยเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มชนชั้นนำบางกลุ่ม ท่านก็อาจมีความชอบธรรมที่จะเลือกเช่นนั้น
สำหรับ สถาบันสงฆ์ในฐานะที่เป็นสถาบันหลักทางสังคม มีข้อเสนอแนะจากนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนาว่า ควรแสดงบทบาทรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางสังคมให้ชัดเจน เช่น แสดงออกในนามคณะสงฆ์เพื่อเรียกร้องสันติวิธี ปกป้องชีวิตประชาชน หรือยืนยันความเป็นธรรม และความสมานฉันท์ทางสังคม เป็นต้น
"สุรพศ ทวีศักดิ์" อภิปรายผลวิจัย “หลังจากผลวิจัยชื่อ “ความคิดทางจริยธรรมกับการเลือกฝ่ายทางการเมืองของพระสงฆ์ในสังคมไทยปัจจุบัน” (ศูนย์ พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนทุนวิจัย) ถูกเผยแพร่ทางสื่อมวลชน ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “ตามมติและประกาศมหาเถรสมาคม (มส.) มีคำสั่งห้ามพระสงฆ์ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเด็ดขาด และต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง ส่วนเรื่องแสดงความคิดเห็นนั้นสามารถทำได้ แต่ต้องเป็นกลางและมีเหคุผลในการแสดงความเห็น...” (มติชน, 2 ก.พ.54,หน้า 15)
อันที่จริงคำว่า “วางตัวเป็นกลางทางการเมือง” นั้น จำเป็นต้องพิจารณาอย่างจำแนกแยกแยะ จากการศึกษาค้นคว้าในงานวิจัยดังกล่าว
ผู้วิจัยพบว่า “ความเป็นกลางทางการเมือง” ไม่ใช่หลักการตายตัวที่พระสงฆ์จำเป็นต้องยึดถือปฏิบัติในการแบ่งฝ่ายทางการเมืองในทุกกรณีเสมอไป
เช่น ถ้าเป็น “การเมืองของนักการเมืองหรือกลุ่มผลประโยชน์ทางการ เมือง” หรือการเมืองในความหมายของการลงสมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองต่างๆ พระสงฆ์ไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้อง ควรวางตัวเป็นกลาง
แต่ถ้าเป็น “การเมืองของประชาชน” หรือการเมืองในความหมายของการปกป้องความเป็นธรรม หลักการประชาธิปไตย ชีวิตประชาชน การเรียกร้องสันติวิธี สันติภาพทางสังคม และ/หรือสันติภาพของโลก ตามหลักการทางพระธรรมวินัยแล้วพระสงฆ์ควรเข้าไปเกี่ยวข้อง
และแม้จำเป็นต้องเลือกฝ่ายก็ควรเลือก หากสามารถอธิบายได้ว่า การเลือกฝ่ายเช่นนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
ความเป็นกลางทางการเมืองไม่ใช่ “การวางเฉย” แต่หมายถึงการแสดงบทบาทเป็นกลางในการวิพากษ์วิจารณ์ชี้ถูกชี้ผิดทุก ฝ่ายอย่างเที่ยงธรรมและเท่าเทียม โดยยึดหลักการประชาธิปไตย ข้อเท็จจริง และหลักสันติวิธีเป็นเกณฑ์ในการแสดงบทบาทดังกล่าว
ทว่าความขัดแย้งทางการเมืองในบ้านเรากว่า 5 ปี มานี้ เป็นการเมืองที่ซ้อนๆ กันอยู่ ระหว่าง “การเมืองของนักการเมืองหรือกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง” กับ “การเมืองของประชาชน”
แต่จากภาวะที่ซ้อนๆ กันอยู่นั้น หากยึดหลักการประชาธิปไตย หรือการยืนยันเสรีภาพในการปกครองตนเองของประชาชนเป็นเกณฑ์ เราก็พอจะจำแนกได้ว่า ฝ่ายไหนที่ยืนยันหรือปฏิเสธเสรีภาพในการปกครองตนเองของประชาชนชัดเจนกว่า (แม้ว่าทุกฝ่ายต่างก็มีผลประโยชน์เฉพาะตัวแฝงอยู่ก็ตาม)
จากสภาพความเป็นจริงทางการเมืองดังกล่าวนี้ ปรากฏว่าท่าทีของพระสงฆ์มีทั้งวางเฉย เลือกฝ่ายและเป็นกลาง ผลสำรวจความคิดเห็น (โดยวิธีใช้แบบสอบถาม,การสัมภาษณ์เชิงลึก และการจัดเสวนาแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย) ของพระสงฆ์จำนวน 512 รูป ประกอบด้วยพระราชาคณะ พระสังฆาธิการ พระลูกวัด ผู้บริหาร คณาจารย์ และพระนิสิตของมหาวิทยาลัยสงฆ์ จากทุกภูมิภาคของประเทศ สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลักๆ คือ
กลุ่มแรก คือพระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่ยืนยันว่าท่านไม่ได้เลือก ฝ่ายเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดงโดยพระสงฆ์ในภาคใต้ไม่เลือกฝ่ายทางการเมืองมาก ที่สุด (68.0%) รองลงมาเป็นภาคกลาง (60.3%) ภาคเหนือ (60.3%) และไม่เลือกฝ่ายน้อยที่สุดคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (40.0%) แต่ว่าในจำนวนนี้มีทั้งที่บอกว่าเฉยๆ บ้าง ไม่สนใจการเมืองบ้าง ขอเป็นกลางบ้าง พระสงฆ์ไม่ควรยุ่งการเมืองบ้าง ยังตัดสินใจไม่ได้บ้าง ฯลฯ
กลุ่มที่สอง คือกลุ่มพระสงฆ์ที่ยืนยันชัดเจนว่าเลือกฝ่ายเสื้อเหลืองและเสื้อแดง ซึ่งมีทั้งที่ออกมาชุมนุม ไม่ออกมาชุมนุม และเป็นพระที่มีชื่อเสียงที่แสดงความคิดเห็นทางการเมืองเป็นที่ประจักษ์แก่ สาธารณะ ในกลุ่มพระสงฆ์ที่เลือกฝ่ายทางการเมืองนี้ พระสงฆ์ที่เลือกฝ่ายเสื้อแดงมีจำนวนมากกว่า โดยพระสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเลือกฝ่ายเสื้อแดงมากที่สุด (57.3%) รองลงมาเป็นภาคเหนือ (47.0%) ภาคกลาง (33.0%) และภาคใต้ (4.7%) ส่วนพระสงฆ์ที่เลือกฝ่ายเสื้อเหลือง พระสงฆ์ภาคใต้เลือกฝ่ายเสื้อเหลืองมากที่สุด (27.3%) รองลงมาเป็นภาคกลาง (6.7%) ภาคเหนือ (3.7%) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2.7%)
กลุ่มที่สาม คือพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในบ้านเราหลายรูปที่ถูกมองว่าเลือกสีนั้นสีนี้ แต่เมื่อผู้วิจัยไปสัมภาษณ์แล้ว ท่านยืนยันด้วยตัวท่านเองว่าท่านเป็นกลาง ได้แก่
1. พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงที่ถูกสื่อและสังคมมองว่า เลือกฝ่ายเสื้อเหลือง หรือเป็น “พระ เสื้อเหลือง” คือ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตยาลัย และ พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ ประธานมูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
2. พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงที่ถูกสื่อและสังคมมองว่า “เลือกฝ่าย เสื้อแดง” หรือเป็น “พระเสื้อแดง” คือ พระราชธรรมนิเทศ (พยอม กลฺยาโณ) เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว นนทบุรี และ พระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฑฺโฒ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย (เนื่องจากวัดธรรมกายถูกมองว่าเลือกฝ่ายเสื้อแดง ท่านหลังนี้ผู้วิจัยสัมภาษณ์ท่านในฐานะผู้แทนวัดธรรมกาย)
3. พระไพศาล วิสาโล ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย พระคุณเจ้าท่านนี้มีบทบาทเป็นที่รู้จักในฐานะพระสงฆ์นักสันติวิธี นักกิจกรรมสังคม และมีบทบาทในด้านความเป็นกลางอย่างเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณะมากที่สุด
ประเด็นสำคัญที่ผู้วิจัยต้องการทราบ คือ พระสงฆ์ที่เลือกฝ่ายทางการเมือง และที่เลือกเป็นกลางทางการเมือง ท่านมี “เหตุผลทางการเมือง” และ “เหตุผลทางจริยธรรม” อย่างไร
ผลสำรวจสรุปได้ว่า “เหตุผลทางการเมือง” ในการเลือกฝ่ายของพระสงฆ์ส่วนใหญ่ไม่ใช่เหตุผลเรื่องตัวบุคคล หรือเหตุผลเรื่องสู้-ไม่สู้เพื่ออำนาจทางการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หากแต่เป็นเหตุผลเรื่อง “ความถูกต้องทางการเมือง” นั่นคือต้องการประชาธิปไตย ต่อต้านรัฐประหาร และต่อต้านรัฐบาลคอร์รัปชัน
กล่าวคือ พระสงฆ์ที่ออกมาชุมนุมกับคนเสื้อแดงส่วนใหญ่ต้องการประชาธิปไตย (49.3%) และเพื่อต่อต้านรัฐประหาร (34.7%) มีเพียงส่วนน้อย (5.7%) ที่เรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาเป็นนายกฯ อีก
ส่วนพระสงฆ์ภาคอีสาน (77.7%) ภาคกลาง (68.3%) และ ภาคเหนือ (65.7%) ก็ยืนยันเหตุผลทางการเมืองเพื่อต้องการประชาธิปไตย และต่อต้านรัฐประหาร
ยกเว้นภาคใต้ที่พระสงฆ์ส่วนใหญ่ (54.7%) อ้างเหตุผลเรื่องต้องการประชาธิปไตย ต่อต้านคอร์รัปชัน และไม่ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาเป็นนายกฯในสัดส่วนที่สูงกว่าการต่อต้านรัฐประหาร คือมีพระสงฆ์ที่อ้างเหตุผลต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ 18% ขณะที่อ้างเหตุผลต่อต้านรัฐประหาร 15%
ส่วน “เหตุผลทางจริยธรรม” พระสงฆ์ส่วนใหญ่ต้องการให้สังคมมีความยุติธรรม ไม่ต้องการสองมาตรฐาน ต้องการเห็นการเมืองมีจริยธรรม/ธรรมาธิปไตย และต้องการให้ยุติความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ตามลำดับ คือ เหตุผลทางจริยธรรมของพระสงฆ์ที่ร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดง (70.0%) และพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในภาคกลาง (64.0%) ภาคเหนือ (73.0%) และภาคอีสาน (77.7%) คือ เหตุผลเรื่องต้องการความยุติธรรม และไม่ต้องการสองมาตรฐาน แต่พระสงฆ์ภาคใต้ส่วนใหญ่ (60.0%) ต้องการเห็นการเมืองมีจริยธรรม/ธรรมาธิปไตย และต้องการให้ยุติความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
สำหรับพระสงฆ์ที่ยืนยันว่าเป็นกลาง เช่น พระราชธรรมนิเทศ (พยอม กัลยาโณ) พระไพศาล วิสาโล พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ เป็นต้น ต่างปฏิเสธรัฐประหาร ต้องการให้สังคมเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยด้วยแนวทางสันติวิธี
ฉะนั้น ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าพระสงฆ์ส่วนใหญ่ คือพระสงฆ์ที่เลือกฝ่ายเสื้อแดง กับพระสงฆ์ที่เลือกเป็นกลางทางการเมืองต่างยืนยันตรงกันว่า “ไม่เอารัฐประหาร”
มีเพียงท่านสมณะโพธิรักษ์ (ผู้วิจัยสัมภาษณ์ท่านในฐานะตัวแทนสมณะสันติอโศก) ซึ่งสนับสนุนฝ่ายเสื้อเหลืองเท่านั้นที่ยืนยันว่า“รัฐ ประหารโดยคนไม่มีกิเลสหรือมีกิเลสน้อยเพื่อขจัดรัฐบาลคอร์รัปชัน แล้วมาจัดการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยเพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นรัฐประหาร ที่ชอบธรรม”
จึงกล่าวโดยภาพรวมได้ว่า เหตุผลในการเลือกฝ่ายหรือเลือกเป็นกลางทางการเมืองของพระสงฆ์เป็นเหตุผลที่อ้างอิง “การ เมืองของประชาชน” เป็นหลัก แต่ในภาวะความซับซ้อนทางการเมืองที่เป็นอยู่จริง ไม่ว่าจะเลือกฝ่ายหรือเลือกเป็นกลาง ต่างก็ต้องเผชิญกับปัญหา “กลืนไม่เข้าคายไม่ออกทางศีลธรรม” (moral dilemma)
กล่าวคือ เลือกเป็นกลางก็เป็นกลางไม่ได้จริง เนื่องจารีตทางสังคมและกฎหมายไม่อนุญาตให้ตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ “อำนาจนอกระบบ” ได้อย่างเท่าเทียมกับที่ทำได้กับอีกฝ่าย
เลือกเสื้อแดงก็เผชิญกับคำถามว่าพระสงฆ์ควรสนับสนุนบุคคลที่ถูกกล่าวหาเรื่องทุจริตคอร์รัปชันหรือไม่
เลือกเสื้อเหลืองก็เผชิญกับคำถามเรื่องสนับสนุนอำมาตย์ และรัฐประหาร
แต่ถ้าวางเฉยก็ถูกตั้งคำถามถึงความรับผิดชอบต่อศีลธรรมเชิงสังคม เช่นการปกป้องหลักการประชาธิปไตย และชีวิตของประชาชนจากการใช้อำนาจรัฐที่เกินกว่าเหตุ เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตาม จากการสัมภาษณ์นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนามองว่า พระสงฆ์ที่เป็นกลางก็มีข้อเด่นเรื่องการยืนยันแนวทางสันติวิธี แต่จะดียิ่งขึ้นหากท่านแน่วแน่ในการยืนยันหลักการประชาธิปไตย ใส่ใจ “ความ เป็นจริง” ของประชาชนที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และใส่ใจปัญหาสองมาตรฐานต่างๆ ที่ยังดำรงอยู่ภายใต้โครงสร้างอำนาจที่อยุติธรรมมากขึ้น
ส่วนพระสงฆ์ที่เลือกฝ่ายเสื้อแดง หากสามารถอธิบายได้ว่าท่านไม่สนับสนุนวิธีการรุนแรง ต้องการปกป้องสิทธิของประชาชนที่ถูกปล้นไป ต่อต้านรัฐประหาร ต่อต้านอำมาตย์ ต้องการให้สังคมเป็นประชาธิปไตยและมีความเป็นธรรม เหตุผลของท่านก็ควรแก่การรับฟัง
และพระสงฆ์ที่เลือกฝ่ายเสื้อเหลือง หากท่านยืนยันได้ว่าไม่ได้สนับสนุนรัฐประหารที่ปล้นสิทธิประชาชนหรือทำลาย ประชาธิปไตยเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มชนชั้นนำบางกลุ่ม ท่านก็อาจมีความชอบธรรมที่จะเลือกเช่นนั้น
สำหรับ สถาบันสงฆ์ในฐานะที่เป็นสถาบันหลักทางสังคม มีข้อเสนอแนะจากนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนาว่า ควรแสดงบทบาทรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางสังคมให้ชัดเจน เช่น แสดงออกในนามคณะสงฆ์เพื่อเรียกร้องสันติวิธี ปกป้องชีวิตประชาชน หรือยืนยันความเป็นธรรม และความสมานฉันท์ทางสังคม เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น