ศาสนาเชน คำว่า “เชน”มาจากคำว่า “ชินะ” หรือ “ไชนะ” แปลว่า “ผู้ชนะ เป็นชื่อของศาสดาผู้ตั้งศาสนา
สัญลักษณ์ศาสนา
สัญลักษณ์ของศาสนาเชน คือรูปของมหาวีระผู้เป็นศาสดาของศาสนาเชน (มีลักษณะ คล้ายพระพุทธรูป แต่เป็นรูปเปลือยกาย เพราะศาสนาเชนถือว่าถ้ายังนุ่งผ้าก็ยังมีกิเลสอยู่คือยังมีอายหรือมีการยึดถือ)
ประเภทของศาสนา
อเทวนิยม (Atheism) เป็นศาสนาที่ไม่มีการนับถือพระเจ้า ไม่มีพระเจ้าผู้สร้าง แต่มีชีวะหรือวิญญาณหรืออัตตา ถือว่าทุกสิ่งมีวิญญาณ
ศาสดา
ในศาสนานี้มีศาสดาทั้งหมด 24 องค์ องค์สุดท้ายคือท่านมหาวีระ
วันเดือนปีกำเนิดศาสนา
เกิดก่อนค.ศ.ประมาณ 599 ปีหรือกก่อน พ.ศ. ประมาณ 56 ปี คิดตามสมัยของวรรธมานะหรือมหาวีระ
สถานที่กำเนิดศาสนา
ประเทศอินเดีย เหตุเกิดศาสนา
เหตุเกิดศาสนาเชนนี้ไม่มีระบุไว้ชัดเจน ศาสนาเชนเชื่อว่า ยุคหนึ่งของโลกแบ่งออกเป็น 2 รอบ คือ รอบเจริญ กับรอบเสื่อม รอบเจริญเชื่อว่า “อุตฺสรฺปินี” เริ่มต้นด้วยไม่ดีไปหาความดีขึ้นเจริญขึ้นโดยลำดับอายุของมนุษย์เพิ่มมากขึ้น ความสูงใหญ่ของมนุษย์ ตลอดจนคุณความดีเพิ่มมากขึ้นครั้นถึงรอบเสื่อมที่เรียกว่า “อวสรฺปิรี” สิ่งทั้งหลายค่อยๆ เลวลง เสื่อมลง มนุษย์ร่างเล็กลงอายุน้อยลงโดยลำดับ ในแต่ละรอบจะมีชินะ (ท่านผู้ชนะ) หรือ ตีรถังกร (เจ้าลัทธิ) 24 องค์ จำนวนผู้นับถือศาสนา
ประมาณ 4,000,000 คน (ปี ค.ศ.2002)
ที่มา : http://www.adherents.com/Religions_By_Adherents.html
ประวัติศาสดา
ศาสนาเชนเชื่อว่า ยุคหนึ่งของโลกแบ่งออกเป็น 2 รอบ คือ รอบเจริญกับรอบเสื่อม รอบเจริญเชื่อว่า “อุตฺสรฺปินี” เริ่มต้นด้วยไม่ดีไปหาความดีขึ้นเจริญขึ้นโดยลำดับอายุของมนุษย์เพิ่มมากขึ้น ความสูงใหญ่ของมนุษย์ ตลอดจนคุณความดีเพิ่มมากขึ้นครั้นถึงรอบเสื่อมที่เรียกว่า “อวสรฺปิรี” สิ่งทั้งหลายค่อยๆ เลวลง เสื่อมลง มนุษย์ร่างเล็กลงอายุน้อยลงโดยลำดับ ในปัจจุบันถือกันว่าโลกมนุษย์เรากำลังอยู่ในรอบเสื่อม
ในแต่ละรอบจะมีชินะ (ท่านผู้ชนะ) หรือตีรถังกระ (เจ้าลัทธิ) 24 องค์ เฉพาะในรอบนี้พระชินะองค์แรกคือ “กฤษภะ” มีอายุยืนถึง 840,000 ปี ส่วนองค์ที่ 24 คือองค์สุดท้าย คือ “มหาวีระ” หรือ “วรรธมานะ” เกิดปี 599 ก่อน ค.ศ.และสิ้นชีพปี 527 ก่อน ค.ศ
ศาสนาเชนมีศาสดาทั้งหมด 24 องค์
องค์ที่ 1 ชื่อ ท่านกฤษภะ
องค์ที่ 2 ชื่อ อชิตนาถะ
องค์ที่ 3 ชื่อ สัมภาวะนาถะ
องค์ที่ 4 ชื่อ อภินันทะ
องค์ที่ 11 ชื่อ เศรอันษนาถะ
องค์ที่ 22 ชื่อ เนมินาถะ องค์นี้เป็นเจ้าในสกุลยาเทพ สมัยมหาภารตะ
องค์ที่ 23 ชื่อ ท่านปรัศวนาถะ ผู้นี้มีประวัติการสำเร็จเป็นสิทธะ คือผู้สำเร็จ คล้ายการสำเร็จอนุตร-โพธิญาณของพระพุทธเจ้า
องค์ที่ 24 ท่านมหาวีระ เป็นองค์สุดท้ายซึ่งในพระพุทธศาสนาเรียกว่า นิคันถนาฎ-บุตร ผู้เป็นหนึ่งในศาสดาทั้ง6 ในครั้งพุทธกาล
ปรัศวาถะ ศาสดาองค์ที่ 23 เกิดที่เมืองพาราณสี กล่าวว่าก่อน ค.ศ.2461 ปี บ้าง 816 ปี บ้าง662 ปีบ้าง ก่อนมหาวีระ 250 ปีบ้าง พระบิดาเป็นราชาแห่งพาราณสี ทรงพระนามว่า อัศวเสน พระมารดา วามา ก่อนประสูติทรงสุบินว่า เห็นงูเห่าดำข้างกาย จึงตั้งนามพระโอรสว่า ปรัศนาถะ ท่านเป็นนักรบ สารถปราบเมืองกลิงครัฐ ได้อภิเษกกับเจ้าหญิงประภาวดี ราชธิดาของพระเจ้าประเสนชิต กษัตริย์แห่งอโยธยา อายุ 30 ปี ออกเป็นสันยาสี บำเพ็ญตบะทรมานกายอยู่ 83ปี ปีที่ 84 จึงสำเร็จเกวลิช-ญาณ บางคัมภีร์กล่าวว่าตอนเกิดมีการทำนายอย่างเจ้าชายสิทธัตถะ อายุ 8ปี ได้ถือศีล 12ข้อ คือ 1.ไม่ฆ่า 2. ไม่ปด 3. ไม่ลัก 4. ไม่ประพฤติผิดประเวณี 5. ไม่โลภ 6. อธิษฐานว่า จะเดินไปไหนแค่ไหนทุกวัน 6. พูดชั่ว 8. ไม่คิดชั่ว 9. ไม่เพลิดเพลินกับการกิน 10. สวดมนต์วันละ 3เวลา 11. อดอาหารตามกำหนด 12. ให้ทานทุกวัน อายุ 16 ปี ได้อภิเษกโดยมิได้ต้องการ ท่านบำเพ็ญตบะและสำเร็จเกวลิชญาณที่ใต้ต้นอโศก โดยมีมารชื่อเมฆมาลินมาผจญ มีพญานาคชื่อธารณะกับภรรยาชื่อปัทมาวดีมาช่วย สาวก 2คนแรกคือ พระมารดากับชายาของท่าน ท่านสั่งสอนอยู่ 60ปี ถึงเบญจภาพ ที่เขาสเมตสีขร เมืองคยา บัดนี้เขาเรียกว่า เขาปารัศวนถะ
มหาวีระ ศาสดาองค์ที่ 24 มีกำเนิดในสกุลกษัตริย์แห่งเมือง “เวสาลี” มีพระนามว่าเจ้าชายวรรธมานะ แปลว่า “ผู้เจริญ พระบิดา “มหาวีระ” คือ กษัตริย์ “เศฺรยมะ” พระมารดาทรงพระนามว่า “ตริศาลา” ในวันประสูติของเจ้าชายวรรธมานะ ได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองสมโภชที่นครเวสาลีอย่างใหญ่โตมโหฬาร พระเจ้ากรุงเวสาลีทรงบำเพ็ญทานโปรดให้แจกจ่ายสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคแก่คนยากไร้อนาถา และให้ประกาศนิรโทษแก่นักโทษที่ถูกจองจำ บรรดา นักพรตและเหล่า พราหมจารย์ ต่างก็ได้พยากรณ์ ว่าเจ้าชายจะทรงเป็นผู้มีอนาคตที่ยิ่งใหญ่ โดยมีคติเป็น 2 คือ ถ้าอยู่ครองฆราวาส จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แต่ถ้าทรงออกผนวช จักได้เป็นศาสดาเอกของโลก
เมื่อเจริญวัยได้รับการศึกษาศิลปศาสตร์หลายอย่างโดยควรแก่ฐานะแห่งกษัตริย์ เผอิญวันหนึ่งขณะที่เล่นอยู่กับสหาย ช้างตกมันตัวหนึ่งหลุดออกจากโรงอาละวาด วรรธมานะตรงเข้าจับและพาไปเก็บไว้ในโรงช้างได้ตามเดิม เพราะเหตุที่แสดงความกล้าหาญจับช้างตกมันได้ จึงมีนามเกียรติยศว่า “มหาวีระ” แปลว่า “ผู้กล้าหาญมาก” หรือ “ผู้กล้าหาญที่ยิ่งใหญ่”
เมื่อพระชนม์ได้ 19 ปี ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิง “ยโสธา”มีธิดาองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า อนุชา หรือ ปริยทรศนา เมื่อพระชนม์ 28 ปี พระมารดาพระบิดาสวรรคต เพราะทรงทำพิธีอดอาหารด้วยถือว่าเป็นบุญอย่างหนึ่ง เชษฐภาดาของ “มหาวีระ” ได้ขึ้นเสวยราชย์ทรงพระนามว่า พระเจ้า “โมคทะ”
เมื่อพระชนมายุได้ 30 พรรษา มหาวีระ ก็ได้ตัดสินพระทัยอย่างเด็ดเดี่ยวออกจากกรุงเวสาลีไป พร้อมอธิษฐานจิตว่า “ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไปเป็นเวลา 12 ปี จะไม่ยอมพูดจาอะไรกับใครแม้แต่คำเดียว” เมื่อเวลาถือปฏิญาณครบ 12 ปี พระมหาวีระก็ทรงคิดและมั่นพระทัยว่าพระองค์ทรงพบคำตอบ ต่อปัญหาชีวิตครบถ้วนแล้ว จึงเสด็จออกไปเพื่อเผยแพร่ความคิดคำสอนใหม่ของพระองค์ ทรงตั้งศาสนาใหม่เรียกว่า ศาสนาเชน ศาสนาของผู้ชนะตนเอง
พระมหาวีระผู้ชนะได้ใช้เวลาในการสั่งสอนสาวก และประสบผลสำเร็จตลอดมาเป็นเวลา 30 ปีเศษ เมื่อพระชนมายุได้ 72 ปี ทรงประชวรหนัก ทรงทราบว่าวาระสุดท้ายของชีวิตจะมาถึง จึงเรียกประชุมบรรดาสาวกทั้งหลาย และสั่งสอนเป็นโอกาสสุดท้าย พระมหาวีระดับขันธ์ในเช้าวันต่อมา สรีระของพระมหาวีระได้กระทำการฌาปนกิจที่เมืองปาวา
แนวคิดเรื่องนรกสวรรค์
มหาวีระ ผู้เป็นศาสดาของลัทธิ เชน แถลงความเชื่อว่าวิญญาณมีทั้งในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ผู้ตายไปถ้าเคยทำชั่วเมื่อคราวยังมีชีวิตอยู่ก็อาจไปเกิดเป็นสัตว์ พืช หรือไปเกิดในนรกซึ่งมีถึง 9 ขุม หรือสวรรค์ซึ่งมี 26 ชั้น แนวคิดเรื่องจุดหมายปลายทาง
1.จุดหมายปลายทาง โมกษะ (ความหลุดพ้น) ผู้หลุดพ้นจากเครื่องผูก คือ กรรม ได้ชื่อว่า “สิทธะ” หรือ “ผู้สำเร็จ” เป็นผู้ไม่มีชั้นวรรณะ ไม่รู้สึกกระทบกระเทือนต่อกลิ่น ปราศจากความรู้สึกเรื่องรส ไม่มีความรู้สึกที่เรียกว่าเวทนา ไม่มีรูป ไม่มีความหิว ความเจ็บปวด ความเสียใจ ความดีใจ ไม่เกิด แก่ ตาย ไม่มีร่างกาย ไม่มีกรรม เสวยความสงบอันหาที่สุดมิได้
2.วิธีปฏิบัติ บำเพ็ญพรตหรือตบะ ตั้งแต่อย่างต่ำที่เรียกว่า อนุพรต (5 ข้อ) จนถึงอย่างสูง มหาพรต (27 ข้อ)
3.ชีวิตในโลกนี้ มีหลายครั้งมีการเวียนว่ายตายเกิด
วิธีปฏิบัติในศาสนา
ท่านมหาวีระกล่าวว่า นักบวชที่แท้จริงความชนะความรู้สึกและอารมณ์ของตนเอง แม้แต่ความรู้สึกละอายในการเปลือยกายและต้องไม่ยินดียินร้ายในการหนาวร้อน ตราบใดยังมีความรู้สึกดังกล่าวตราบนั้นจะบรรลุโมกษะไม่ได้ หากบรรลุได้ก็ต้องละความรู้สึกอย่างนั้น ถ้าไม่มีเครื่องนุ่งห่มก็ไม่มีปริคหะเมื่อไม่มีปริคหะก็ไม่มีบาป
ในศาสนานี้ยกย่องอัตตกิลมถานุโยค ถ้าจะตายอย่างดีมีกุศลแรงต้องตากแดด อดอาหารจนตาย เรื่องน้ำพวกเชนถือเคร่งครัดด้วยถือหลักอหิงสาอย่างเข้มงวด แม้อากาศหายใจเข้าไป พวกเชนที่เคร่งครัด มีผ้าขาวปิดจมูก-ปาก เพื่อป้องกันไม่ให้หายใจเอาชีวะเข้าไปตายในร่างกาย น้ำดื่มต้องกรองต้องต้มก่อน เพื่อมิให้ดื่มชีวะเรื่องอาหารก็ไม่กินเนื้อ ไข่ ผักพืชที่ถือว่ามีชีวะ เช่นที่มีหัวอยู่ใต้ดิน เวลาเดินต้องปัดกวาดข้างหน้า เพื่อป้องกันมิให้เหยียบชีวะ
การบวชเป็นบรรพชิต เป็นการเปลี่ยนแปลงภาวะของคนธรรมดาสู่ความเป็นนักพรต ครองผ้า 3 ผืน ต้องโกนผมด้วยวิธีถอนผมตนเอง ฉันอาหารเท่าที่แสวงหามาได้
อเทวนิยม (Atheism) เป็นศาสนาที่ไม่มีการนับถือพระเจ้า ไม่มีพระเจ้าผู้สร้าง แต่มีชีวะหรือวิญญาณหรืออัตตา ถือว่าทุกสิ่งมีวิญญาณ
ศาสดา
ในศาสนานี้มีศาสดาทั้งหมด 24 องค์ องค์สุดท้ายคือท่านมหาวีระ
วันเดือนปีกำเนิดศาสนา
เกิดก่อนค.ศ.ประมาณ 599 ปีหรือกก่อน พ.ศ. ประมาณ 56 ปี คิดตามสมัยของวรรธมานะหรือมหาวีระ
สถานที่กำเนิดศาสนา
ประเทศอินเดีย เหตุเกิดศาสนา
เหตุเกิดศาสนาเชนนี้ไม่มีระบุไว้ชัดเจน ศาสนาเชนเชื่อว่า ยุคหนึ่งของโลกแบ่งออกเป็น 2 รอบ คือ รอบเจริญ กับรอบเสื่อม รอบเจริญเชื่อว่า “อุตฺสรฺปินี” เริ่มต้นด้วยไม่ดีไปหาความดีขึ้นเจริญขึ้นโดยลำดับอายุของมนุษย์เพิ่มมากขึ้น ความสูงใหญ่ของมนุษย์ ตลอดจนคุณความดีเพิ่มมากขึ้นครั้นถึงรอบเสื่อมที่เรียกว่า “อวสรฺปิรี” สิ่งทั้งหลายค่อยๆ เลวลง เสื่อมลง มนุษย์ร่างเล็กลงอายุน้อยลงโดยลำดับ ในแต่ละรอบจะมีชินะ (ท่านผู้ชนะ) หรือ ตีรถังกร (เจ้าลัทธิ) 24 องค์ จำนวนผู้นับถือศาสนา
ประมาณ 4,000,000 คน (ปี ค.ศ.2002)
ที่มา : http://www.adherents.com/Religions_By_Adherents.html
ประวัติศาสดา
ศาสนาเชนเชื่อว่า ยุคหนึ่งของโลกแบ่งออกเป็น 2 รอบ คือ รอบเจริญกับรอบเสื่อม รอบเจริญเชื่อว่า “อุตฺสรฺปินี” เริ่มต้นด้วยไม่ดีไปหาความดีขึ้นเจริญขึ้นโดยลำดับอายุของมนุษย์เพิ่มมากขึ้น ความสูงใหญ่ของมนุษย์ ตลอดจนคุณความดีเพิ่มมากขึ้นครั้นถึงรอบเสื่อมที่เรียกว่า “อวสรฺปิรี” สิ่งทั้งหลายค่อยๆ เลวลง เสื่อมลง มนุษย์ร่างเล็กลงอายุน้อยลงโดยลำดับ ในปัจจุบันถือกันว่าโลกมนุษย์เรากำลังอยู่ในรอบเสื่อม
ในแต่ละรอบจะมีชินะ (ท่านผู้ชนะ) หรือตีรถังกระ (เจ้าลัทธิ) 24 องค์ เฉพาะในรอบนี้พระชินะองค์แรกคือ “กฤษภะ” มีอายุยืนถึง 840,000 ปี ส่วนองค์ที่ 24 คือองค์สุดท้าย คือ “มหาวีระ” หรือ “วรรธมานะ” เกิดปี 599 ก่อน ค.ศ.และสิ้นชีพปี 527 ก่อน ค.ศ
ศาสนาเชนมีศาสดาทั้งหมด 24 องค์
องค์ที่ 1 ชื่อ ท่านกฤษภะ
องค์ที่ 2 ชื่อ อชิตนาถะ
องค์ที่ 3 ชื่อ สัมภาวะนาถะ
องค์ที่ 4 ชื่อ อภินันทะ
องค์ที่ 11 ชื่อ เศรอันษนาถะ
องค์ที่ 22 ชื่อ เนมินาถะ องค์นี้เป็นเจ้าในสกุลยาเทพ สมัยมหาภารตะ
องค์ที่ 23 ชื่อ ท่านปรัศวนาถะ ผู้นี้มีประวัติการสำเร็จเป็นสิทธะ คือผู้สำเร็จ คล้ายการสำเร็จอนุตร-โพธิญาณของพระพุทธเจ้า
องค์ที่ 24 ท่านมหาวีระ เป็นองค์สุดท้ายซึ่งในพระพุทธศาสนาเรียกว่า นิคันถนาฎ-บุตร ผู้เป็นหนึ่งในศาสดาทั้ง6 ในครั้งพุทธกาล
ปรัศวาถะ ศาสดาองค์ที่ 23 เกิดที่เมืองพาราณสี กล่าวว่าก่อน ค.ศ.2461 ปี บ้าง 816 ปี บ้าง662 ปีบ้าง ก่อนมหาวีระ 250 ปีบ้าง พระบิดาเป็นราชาแห่งพาราณสี ทรงพระนามว่า อัศวเสน พระมารดา วามา ก่อนประสูติทรงสุบินว่า เห็นงูเห่าดำข้างกาย จึงตั้งนามพระโอรสว่า ปรัศนาถะ ท่านเป็นนักรบ สารถปราบเมืองกลิงครัฐ ได้อภิเษกกับเจ้าหญิงประภาวดี ราชธิดาของพระเจ้าประเสนชิต กษัตริย์แห่งอโยธยา อายุ 30 ปี ออกเป็นสันยาสี บำเพ็ญตบะทรมานกายอยู่ 83ปี ปีที่ 84 จึงสำเร็จเกวลิช-ญาณ บางคัมภีร์กล่าวว่าตอนเกิดมีการทำนายอย่างเจ้าชายสิทธัตถะ อายุ 8ปี ได้ถือศีล 12ข้อ คือ 1.ไม่ฆ่า 2. ไม่ปด 3. ไม่ลัก 4. ไม่ประพฤติผิดประเวณี 5. ไม่โลภ 6. อธิษฐานว่า จะเดินไปไหนแค่ไหนทุกวัน 6. พูดชั่ว 8. ไม่คิดชั่ว 9. ไม่เพลิดเพลินกับการกิน 10. สวดมนต์วันละ 3เวลา 11. อดอาหารตามกำหนด 12. ให้ทานทุกวัน อายุ 16 ปี ได้อภิเษกโดยมิได้ต้องการ ท่านบำเพ็ญตบะและสำเร็จเกวลิชญาณที่ใต้ต้นอโศก โดยมีมารชื่อเมฆมาลินมาผจญ มีพญานาคชื่อธารณะกับภรรยาชื่อปัทมาวดีมาช่วย สาวก 2คนแรกคือ พระมารดากับชายาของท่าน ท่านสั่งสอนอยู่ 60ปี ถึงเบญจภาพ ที่เขาสเมตสีขร เมืองคยา บัดนี้เขาเรียกว่า เขาปารัศวนถะ
มหาวีระ ศาสดาองค์ที่ 24 มีกำเนิดในสกุลกษัตริย์แห่งเมือง “เวสาลี” มีพระนามว่าเจ้าชายวรรธมานะ แปลว่า “ผู้เจริญ พระบิดา “มหาวีระ” คือ กษัตริย์ “เศฺรยมะ” พระมารดาทรงพระนามว่า “ตริศาลา” ในวันประสูติของเจ้าชายวรรธมานะ ได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองสมโภชที่นครเวสาลีอย่างใหญ่โตมโหฬาร พระเจ้ากรุงเวสาลีทรงบำเพ็ญทานโปรดให้แจกจ่ายสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคแก่คนยากไร้อนาถา และให้ประกาศนิรโทษแก่นักโทษที่ถูกจองจำ บรรดา นักพรตและเหล่า พราหมจารย์ ต่างก็ได้พยากรณ์ ว่าเจ้าชายจะทรงเป็นผู้มีอนาคตที่ยิ่งใหญ่ โดยมีคติเป็น 2 คือ ถ้าอยู่ครองฆราวาส จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แต่ถ้าทรงออกผนวช จักได้เป็นศาสดาเอกของโลก
เมื่อเจริญวัยได้รับการศึกษาศิลปศาสตร์หลายอย่างโดยควรแก่ฐานะแห่งกษัตริย์ เผอิญวันหนึ่งขณะที่เล่นอยู่กับสหาย ช้างตกมันตัวหนึ่งหลุดออกจากโรงอาละวาด วรรธมานะตรงเข้าจับและพาไปเก็บไว้ในโรงช้างได้ตามเดิม เพราะเหตุที่แสดงความกล้าหาญจับช้างตกมันได้ จึงมีนามเกียรติยศว่า “มหาวีระ” แปลว่า “ผู้กล้าหาญมาก” หรือ “ผู้กล้าหาญที่ยิ่งใหญ่”
เมื่อพระชนม์ได้ 19 ปี ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิง “ยโสธา”มีธิดาองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า อนุชา หรือ ปริยทรศนา เมื่อพระชนม์ 28 ปี พระมารดาพระบิดาสวรรคต เพราะทรงทำพิธีอดอาหารด้วยถือว่าเป็นบุญอย่างหนึ่ง เชษฐภาดาของ “มหาวีระ” ได้ขึ้นเสวยราชย์ทรงพระนามว่า พระเจ้า “โมคทะ”
เมื่อพระชนมายุได้ 30 พรรษา มหาวีระ ก็ได้ตัดสินพระทัยอย่างเด็ดเดี่ยวออกจากกรุงเวสาลีไป พร้อมอธิษฐานจิตว่า “ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไปเป็นเวลา 12 ปี จะไม่ยอมพูดจาอะไรกับใครแม้แต่คำเดียว” เมื่อเวลาถือปฏิญาณครบ 12 ปี พระมหาวีระก็ทรงคิดและมั่นพระทัยว่าพระองค์ทรงพบคำตอบ ต่อปัญหาชีวิตครบถ้วนแล้ว จึงเสด็จออกไปเพื่อเผยแพร่ความคิดคำสอนใหม่ของพระองค์ ทรงตั้งศาสนาใหม่เรียกว่า ศาสนาเชน ศาสนาของผู้ชนะตนเอง
พระมหาวีระผู้ชนะได้ใช้เวลาในการสั่งสอนสาวก และประสบผลสำเร็จตลอดมาเป็นเวลา 30 ปีเศษ เมื่อพระชนมายุได้ 72 ปี ทรงประชวรหนัก ทรงทราบว่าวาระสุดท้ายของชีวิตจะมาถึง จึงเรียกประชุมบรรดาสาวกทั้งหลาย และสั่งสอนเป็นโอกาสสุดท้าย พระมหาวีระดับขันธ์ในเช้าวันต่อมา สรีระของพระมหาวีระได้กระทำการฌาปนกิจที่เมืองปาวา
แนวคิดเรื่องนรกสวรรค์
มหาวีระ ผู้เป็นศาสดาของลัทธิ เชน แถลงความเชื่อว่าวิญญาณมีทั้งในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ผู้ตายไปถ้าเคยทำชั่วเมื่อคราวยังมีชีวิตอยู่ก็อาจไปเกิดเป็นสัตว์ พืช หรือไปเกิดในนรกซึ่งมีถึง 9 ขุม หรือสวรรค์ซึ่งมี 26 ชั้น แนวคิดเรื่องจุดหมายปลายทาง
1.จุดหมายปลายทาง โมกษะ (ความหลุดพ้น) ผู้หลุดพ้นจากเครื่องผูก คือ กรรม ได้ชื่อว่า “สิทธะ” หรือ “ผู้สำเร็จ” เป็นผู้ไม่มีชั้นวรรณะ ไม่รู้สึกกระทบกระเทือนต่อกลิ่น ปราศจากความรู้สึกเรื่องรส ไม่มีความรู้สึกที่เรียกว่าเวทนา ไม่มีรูป ไม่มีความหิว ความเจ็บปวด ความเสียใจ ความดีใจ ไม่เกิด แก่ ตาย ไม่มีร่างกาย ไม่มีกรรม เสวยความสงบอันหาที่สุดมิได้
2.วิธีปฏิบัติ บำเพ็ญพรตหรือตบะ ตั้งแต่อย่างต่ำที่เรียกว่า อนุพรต (5 ข้อ) จนถึงอย่างสูง มหาพรต (27 ข้อ)
3.ชีวิตในโลกนี้ มีหลายครั้งมีการเวียนว่ายตายเกิด
วิธีปฏิบัติในศาสนา
ท่านมหาวีระกล่าวว่า นักบวชที่แท้จริงความชนะความรู้สึกและอารมณ์ของตนเอง แม้แต่ความรู้สึกละอายในการเปลือยกายและต้องไม่ยินดียินร้ายในการหนาวร้อน ตราบใดยังมีความรู้สึกดังกล่าวตราบนั้นจะบรรลุโมกษะไม่ได้ หากบรรลุได้ก็ต้องละความรู้สึกอย่างนั้น ถ้าไม่มีเครื่องนุ่งห่มก็ไม่มีปริคหะเมื่อไม่มีปริคหะก็ไม่มีบาป
ในศาสนานี้ยกย่องอัตตกิลมถานุโยค ถ้าจะตายอย่างดีมีกุศลแรงต้องตากแดด อดอาหารจนตาย เรื่องน้ำพวกเชนถือเคร่งครัดด้วยถือหลักอหิงสาอย่างเข้มงวด แม้อากาศหายใจเข้าไป พวกเชนที่เคร่งครัด มีผ้าขาวปิดจมูก-ปาก เพื่อป้องกันไม่ให้หายใจเอาชีวะเข้าไปตายในร่างกาย น้ำดื่มต้องกรองต้องต้มก่อน เพื่อมิให้ดื่มชีวะเรื่องอาหารก็ไม่กินเนื้อ ไข่ ผักพืชที่ถือว่ามีชีวะ เช่นที่มีหัวอยู่ใต้ดิน เวลาเดินต้องปัดกวาดข้างหน้า เพื่อป้องกันมิให้เหยียบชีวะ
การบวชเป็นบรรพชิต เป็นการเปลี่ยนแปลงภาวะของคนธรรมดาสู่ความเป็นนักพรต ครองผ้า 3 ผืน ต้องโกนผมด้วยวิธีถอนผมตนเอง ฉันอาหารเท่าที่แสวงหามาได้
หลักธรรม
แบ่งหลักธรรมเป็น 3 ชั้น คือ ชั้นที่1 จริยศาสตร์หรือศีลธรรม ชั้นที่2 หลักปรัชญา ชั้นที่ 3 หลักการหลุดพ้น
ชั้นที่1 จริยศาสตร์หรือศีลธรรม อนุพรตหรือศีล 5 ได้แก่
1. อหิงสา ไม่เบียดเบียน ไม่ทำลายชีวิต ข้อนี้ถือว่า เป็นยอดของศีลธรรมในศาสนานี้ ศาสนาเชนแบ่งชั้นสัตว์ออกเป็นประเภทตามความสามารถทางประสาทสัมผัส และตามลักษณะที่เคลื่อนไหวได้หรือไม่ คืออาตมันที่ถูกผูกมัดมี 2 ได้แก่ สถาวระ1 (เคลื่อนไหวไม่ได้) กับ ตรฺสะ (เคลื่อนไหวได้) ในประเภทเคลื่อนไหวไม่ได้มีเพียงอายตนะเดียว คือ อายตนะ สำหรับสัมผัสได้แก่ ผักหญ้าในประเภทเคลื่อนไหวได้ สัตว์ที่มีอายตนะ 2 คือ ทางสัมผัสกับทางลิ้มรส เช่น หนอน สัตว์ที่มีอายตนะ 3 คือ ทางสัมผัส ลิ้มรส ได้กลิ่น เช่น มด สัตว์ที่มีอายตนะ 4 คือเพิ่มในทางมองเห็น เช่น ผึ้ง สัตว์ที่มีอายตนะ 5 คือ เพิ่มในทางได้ยินเสียง เช่น นก สัตว์ทั่วไป และมนุษย์ ผู้นับถือศาสนาเชนจะฆ่าหรือกินสัตว์เหล่านี้ไม่ได้ จะทำได้เพียงที่มีอายตนะทางสัมผัสอย่างเดียว คือ ผักหญ้า
2. สัตยะ ความสัตย์ไม่พูดเท็จ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลหรือข้อข้ออ้างใดๆ
3. อัสตียะ ไม่ลักขโมย รวมทั้งไม่หลบหนีภาษี ไม่ใช้หรือทำเงินปลอม และไม่ชั่งตวงวัดโกง
4. พรหมจริยะ อย่างต่ำคือการไม่ประพฤติผิดในกาม
5. อปริครหะ การไม่โลภ ไม่มีข้าวของมากนัก
อนุพรตสำหรับนักบวชจะเคร่งครัดมาก สำหรับคฤหัสถ์ ก็ลดหย่อนลงมาพอเหมาะแก่คฤหัสถ์
ชั้นที่2 หลักปรัชญา
“ชญาน” (ตรงกับว่าญาณในภาษาบาลี แปลว่าความรู้) ตามหลักศาสนาเชน มี 5 ประการ คือ 1. มติชฺญาน (ความรู้ทางประสาทสัมผัส) 2. ศรุติชญาน (ความรู้เพราะได้ฟัง) 3. อวธิชญาน (ความรู้เหตุที่ปรากฏในอดีตกาล) ทั้ง 3 ข้อนี้เชื่อกันว่ามหาวีระมีมาตั้งแต่เกิด 4. มนปรยายชญาน (ญาณกำหนดรู้ใจผู้อื่น) 5. เกวลชญาน (ญาณอันสมบูรณ์ ซึ่งเกิดขึ้นก่อนบรรลุนิรวาณ) ญาณข้อหลังนี้สำคัญเหนือญาณอื่นๆ ทั้งหมด ทำให้รู้เห็นสิ่งอื่นทั้งปวง เชื่อกันว่ามหาวีระได้ญาณที่ 4 ในเวลาต่อมาและญาณข้อที่ 5 ภายหลังที่บำเพ็ญเพียร 12 ปี
“ชีวะและอชีวะ” ทุกอย่างในโลก แบ่งออกเป็น 2 คือ
1.ชีวะ ได้แก่ วิญญาณ สิ่งชีวิต หรืออาตมัน
2.อชีวะ ได้แก่ อวิญญาณ หรือสิ่งไม่มีชีวิต ได้แก่ วัตถุ
ถ้ากล่าวอย่างพิสดารทุกอย่างแบ่งออกเป็น 9 คือ
1.ชีวะ หรืออาตมัน
2.อชีวะ หรือวัตถุ
3 ปุณยะ คือ บุญ
4.ปาปะ คือ บาป
5.กรรม คือ การกระทำ
6.พันธะ คือ ความผูกมัดหรือผูกพัน
7.สังสาระ คือ ความเวียนว่ายตายเกิด
8.นิรฺชระ คือ การทำลายกรรม
9.โมกษะ คือ ความหลุดพ้น ผู้หลุดพ้นชื่อว่าสิทธะ คืออาตมันอันสมบูรณ์
ชั้นที่ 3 หลักการหลุดพ้น
คือความเป็นอิสระของวิญญาณ คือการทำให้วิญญาณหลุดพ้นจากอัตตา และจากความบริสุทธิ์ ไม่ต้องมาเกิดอีก มีข้อปฏิบัติอยู่ 3 ประการ คือ
1.ความเชื่อที่ถูกต้อง ได้แก่ เชื่อในศาสดาทั้ง 24 องค์ ของศาสนาเชน เชื่อในเชนศาสตร์ หรือคัมภีร์ของศาสนาเชน และเชื่อในนักบวชผู้สำเร็จผลในศาสนาเชน
2.ความรู้ที่ถูกต้อง ได้แก่ รู้สิ่งทั้งหลายตามเป็นจริงและด้วยความแน่ใจ
3.ความประพฤติที่ถูกต้อง มีข้อปฏิบัติทั้งของนักบวชและคฤหัสถ์ แต่ที่นับว่าสำคัญที่สุดก็คืออหิงสา การไม่เบียดเบียน
หลักการ 3 ข้อนี้เป็นการทำลายกรรมคือการกระทำซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการถูกผูกมัดหรือผูกพันตามหลักปรัชญาของศาสนานี้
จริยศาสตร์
อนุพรต ข้อปฎิปัญญา 5 ข้อในการเว้นสิ่งที่ไม่ดีไม่งามดังต่อไปนี้
1. อหิงสา การไม่เบียดเบียนตลอดจนการไม่ทำลายชีวิต
2. สัตยะ ความสัตย์ไม่พูดเท็จ
3. อัสตียะ การไม่ลักขโมย
4. พรหมจริยะ การประพฤติพรมจรรย์ ( เว้นจากเสพกาม )
5. อปริครหะ การไม่ละโมบ ไม่อยากได้สิ่งใดๆการเว้นจากการดื่มสุราเมรัย
เมื่อพิจารณาดูแล้ว หลักการ 5 ข้อนี้ดูเหมือนจะสำหรับนักบวชโดยตรง สำหรับคฤหัสถ์ คือผู้ครองเรือนธรรมดาคงมีการผ่อนในข้อ 4 ลงเป็นเพียงเว้นจากประพฤติผิดในกามและการอยู่ร่วมกับ โสเภณี
มีผู้กล่าวว่าหลักจริยศาสตร์ของศาสนาเชนย่นลงเป็นเพียงข้อเดียวคือ “ อหิสา ปรโม ธรฺมะ ” “ ความไม่เบียดเบียนเป็นธรรมะอย่างยิ่ง ”
หลักเมตตากรุณา มีหลักการอยู่ 4 ข้อ
1. มีความกรุณาโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
2. ยินดีในความดีของผู้อื่น
3. มีความเห็นใจในความทุกข์ยากของผู้อื่นรวมทั้งช่วยให้เขาพ้นความทุกข์ร้อน
4. มีความกรุณาต่อผู้ทำผิด
นิรวาณ 3 ประการ เป็นหลักจริยศาสตร์ชั้นสูง อันเป็นเหตุให้เข้าถึงโมกษะ( ความหลุดพ้น) คือ
1. ความเชื่อที่ถูกต้อง
2. ความรู้ที่ถูกต้อง
3. ความประพฤติที่ถูกต้อง
คัมภีร์
คัมภีร์ของศาสนาเชน เป็นเรื่องที่ยากแก่การค้นคว้า ไม่ค่อยเปิดเผยเหมือนศาสนาอื่น สาวกบางคนที่มีคัมภีร์ก็พยายามจะเก็บซ่อนคัมภีร์ไว้อย่างมิดชิด
คัมภีร์ของศาสนาเชนชื่อ อาคมะได้จารึกเป็นอักษรปรากฤตประมาณ 200ปี ภายหลังสมัยของพระมหาวีระ ในชั้นเดิมคงมีการท่องจำ และเมื่อมหาวีระได้ล่วงลับไปไม่น้อยกว่า 200 ปี จึงมีการรวบรวมซึ่งอาจใช้วิธีท่องจำอีก ต่อเมื่อมหาวีระล่วงลับไปได้ 981 ปี (พ.ศ. 997) จึงได้มีการเขียนคัมภีร์เป็นลายลักษณ์อักษร คำอธิบายคัมภีร์ และวรรณคดีของเชนในสมัยต่อมา ล้วนเป็นภาษาสันสกฤต
อาคมะ และ กัลปสูตร เป็นหลักสำคัญของศาสนาเชน ชื่อรวมสำหรับคัมภีร์ศาสนาของเชนคือ อาคมะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สิทธานตะ
ส่วนแรกแห่งคำสอนประกอบด้วย อังคะ (ส่วน) 12 อังคะ แต่อังคะที่ 12 ได้สูญหายไป คัมภีร์ในปัจจุบันมีอยู่ 37 คัมภีร์ ส่วนใหญ่จะเขียนขึ้นมาภายหลัง กล่าวถึงชีวประวัติของมหาวีระ สาวกของศาสนาเชนมีความเห็นในเรื่องคัมภีร์ค่อนข้างแตกต่างกัน เช่นนิการ เศวตัมพร ยึดคัมภีร์อาคมะ เป็นคัมภีร์ศาสนาของพวกตน โดยมีความเชื่อมั่นว่าสาวกผู้ใกล้ชิดมหาวีระเป็นผู้รวบรวมคัมภีร์อาคมะขึ้น แต่นิกายทิฆัมพร เชื่อว่าคัมภีร์ดั้งเดิมได้สูญหายไปแล้ว คำสอนของมหาวีระถูกรวบรวม แก้ไข หรือเขียนเพิ่มเติมขึ้นโดยนักบวชสมัยโบราณหลายท่าน
คัมภีร์อาคมะประกอบด้วยคัมภีร์ 45 เล่ม และแบ่งย่อยออกไปเป็นคัมภีร์ละ 11 ส่วน กับเล่มที่ 12 เรียกว่า “ฤทธิวาท” เป็นอุปางคะ 11 ส่วน แบ่งเป็นมูลสูตร 4 เล่ม เป็นเจตสูตร 6 เล่ม เป็นคูสิกสูตร 2 เล่ม เป็นปกิณกะ 10 เล่ม
พิธีกรรม
วัดทิฆัมพร ตอนเช้าทำพิธีชลบูชาคือทำความสะอาดองค์พระตีรถังกร ด้วยน้ำและเช็ดให้แห้ง ระวังมิให้น้ำหกหยดที่พื้น และถวายข้าว ผลไม้แห้ง ผลไม้สดบูชาไม่ได้ ตอนเย็นทำพิธีอารติบูชา คือแกว่งตะเกียงจากซ้ายไปขวาเบื้องหน้าองค์พระตีรถังกร เป็นการบูชา ผู้ประกอบพิธี ต้องเป็นผู้นับถือศาสนานี้เท่านั้นและไม่กินของบูชาด้วย
วัดเศวตัมพร มีพิธีมากกว่านั้น เช่นพิธีชลบูชา นอกจากล้างด้วยน้ำแล้ว ต้องล้างด้วยนมแล้วล้างด้ายน้ำอีก แล้วครองผ้าให้ใหม่ นอกจากนี้ยังมีองค์บูชา คือ ตบแต่งองค์พระให้งดงามด้วยวัตถุเช่น ทอง เงิน สร้อย มงกุฎ กำไล เป็นต้น เป็นการบูชาของตบแต่งเหล่านี้จะขอเช่าทางวัดมาตกแต่งชั่วคราว เพื่อบูชาเป็นพิเศษก็ได้ การบูชาตะเกียง ด้วยข้าว ผลไม้ รูป เป็นต้น เหมือนนิกายทิฆัมพร แต่กินของบูชาได้ ผู้ประกอบพิธีเป็นใครก็ได้ ขอให้รู้พิธีก็ใช้ได้
พิธีกรรมของศาสนาเชน คือ พิธีภารยุสะนะ หรือพิธีปัชชุสนะ เป็นงานพิธีรำลึกถึงองค์ศาสดามหาวีระ ซึ่งเป็นงานพิธีกรรมทำให้มีความสงบ การให้อภัยกัน และการเสียสละ บริจาคทานแก่คนยากจน และรูปองค์ศาสดา แห่เดินไปตามท้องถนน นิยมทำกันในปลายเดือนสิงหาคม หรือต้นเดือนกันยายน กระทำพิธีคราวละ 8 วัน
ในระหว่างทำพิธี 8 วันนั้น นักบวชตามปกติจะพำนักอยู่ในป่า จะเข้ามาอยู่ในเมืองเพื่อร่วมประกอบพิธีจนครบ 8 วัน ส่วนฆราวาสก็จะอ่านคัมภีร์ซึ่งเป็นคำสอนของมหาวีระจนครบ 8 วันและนอกจากนี้ก็จะมีการเฉลิมฉลองสมโภชกันในหมู่ชาวเชน
พิธีปัชชุสนะ 8 วันนั้นแบ่งเป็น 5 ระยะ
ระยะที่ 1 ใน 3 วันแรก พวกฆราวาสต้องมารับคำสอนจากสงฆ์ทุกเช้า วันละ 2 ชั่วโมง
ระยะที่ 2 ในวันที่ 4 พวกฆราวาสต้องอ่านกัลปสูตร ซึ่งกล่าวถึงเรื่องราวความเป็นมาของศาสนาเชนและชีวประวัติของมหาวีระองค์ศาสดา
ระยะที่ 3 ในวันที่ 5 จะมีการประกอบพิธีใหญ่ เพราะถือว่า เป็นวันเกิดของมหาวีระ กิจที่ต้องทำในวันนี้ก็คือ การขายวัตถุแห่งความฝัน 14 ประการ คือ ช้าง โค สิงโต เจ้าแม่แห่งโชค พวงหรีด พระจันทร์ พระอาทิตย์ ธง หม้อน้ำ สระบัว มหาสมุทร วัง กองเพชร และไฟไม่มีแสง วัตถุแห่งความฝันเหล่านี้ มักจำลองไว้ด้วยเงินภายในวัดหรือตามริมท่าแม่น้ำคงคา ในวัดเชนทุกวัดต้องมีวัตถุเหล่านี้ประจำ แต่บางวัดยังมีเปลซึ่งถือว่าเป็นเปลของมหาวีระ พอถึงวันแห่ก็นำสิ่งเหล่านี้ออกมาแห่ด้วย ในขบวนแห่นั้นมีรูปภาพของมหาวีระใหญ่โตและหนังสือคัมภีร์ นิยมแห่ไปยังท่าแม่น้ำคงคา หรือไม่ก็สุดแต่กำหนดกันขึ้นว่าจะแห่ไปที่ใด
ระยะที่ 4 ในวันที่ 6-7 นี้คงมีแต่การอ่าน กัลปสูตรอย่างเดียว
ระยะที่ 5 ในวันที่ 8 มีการอ่านคัมภีร์ทุกคัมภีร์ ในการอ่านทุกระยะมีนักบวชคอยอธิบายข้อความให้ผู้อ่านฟัง การอ่านคัมภีร์นั้นกำหนดไว้ว่า ต้องอ่านคัมภีร์ตอนละ 3 ชั่วโมง ทั้งเช้าและบ่าย ทุกๆ วัน และวันหนึ่งๆ ต้องอ่าน 2 ตอน รวมเป็นเวลา 6 ชั่วโมง
นิกาย
ศาสนาเชนมีนิกายที่สำคัญอยู่ 2 นิกาย ได้แก่
1. นิกายเศวตัมพร (นิกายนุ่งผ้าขาว)
2. นิกายทิฆัมพร (นิกายเปลือยกาย)
เมื่อมหาวีระสิ้นแล้ว สาวกเกิดแตกกัน พวกหนึ่งโดยการนำของท่านภัทรพาหุ ได้ไปเผยแพร่ศาสนาทางใต้ เป็นเวลา 12 ปี จึงกลับมาถิ่นเดิม พวกนี้ถือเคร่งมากโดยเฉพาะข้ออปริครหะ คือไม่มีเครื่องนุ่งห่ม อีกพวกหนึ่งซึ่งมีท่าน สถูลภัทร เป็นหัวหน้า ยังคงอยู่ในที่เดิม พวกนี้ต่อมาใช้เครื่องนุ่งห่มขาว เมื่อท่านภัทรพาหุกลับมาถิ่นเดิม ก็ปรากฏว่าพวกที่มิได้ไปด้วยนั้นใช้เครื่องนุ่งห่มเสียแล้ว เลยแยกเป็น 2 นิกายใหญ่ เป็นนิกายทิฆัมพร และเศวตัมพร
1.นิกายเศวตัมพร (เสฺวต+อมฺพร=เศวตัมพร แปลว่า นุ่งขาว)นักบวชจะนุ่งห่มผ้าขาว ส่วนมากพวกนิกายนี้จะอยู่ทางแถบเหนือของทิวเขาวินธัย อันเป็นพื้นที่ที่อากาศหนาวจัด จึงมีการนุ่งผ้าสีขาว(ทั้งๆ ที่องค์ศาสดามหาวีระไม่นุ่งผ้า) เพราะถ้าไม่นุ่งผ้าเลยคงทนต่ออากาศหนาวไม่ไหว รูปเคารพของศาสดามหาวีระของตน จึงมีลักษณะนุ่งขาวด้วย และนิกายนี้อนุญาตให้มีนักบวชหญิงด้วย
นิกายเศวตัมพรนี้ ทำสังคายนาครั้งที่ 1 ที่เมืองปาตลีบุตร ครั้งที่ 2 ที่เมืองมถุรา หรือ มถุรีกาญจนา ครั้งที่ 3 ที่เมือง วัลลภี ซึ่งอยู่ใกล้เมืองภวนครในปัจจุบันเมื่อ ค.ศ.454 นิกายนี้แยกเป็นนิกายย่อยอีก ไม่ต่ำกว่า 84 นิกาย ที่ต่างกันโดยมากเรื่องความเห็นและการปฏิบัติ เช่น นิกายหนึ่งถือว่า ต้องบูชารูปตีรถังกรคือเจ้าลัทธิหรือศาสดา อีกนิกายหนึ่งถือว่า เพียงเคารพนับถือก็พอไม่ต้องบูชา เพราะตีรถังกร มิใช่พระเจ้า นิกายหนึ่งถือว่า ควรสร้างรูปเคารพ แต่อีกนิกายหนึ่งถือว่าไม่ควรสร้าง นิกายหนึ่งเคารพคัมภีร์ แต่ไม่เคารพรูปเคารพเหล่านี้เป็นต้น
2. นิกายทิฆัมพร (ทิศ+อมฺพร=ทิฆัมพร แปลว่า มีทิศเป็นเครื่องนุ่งห่ม หรือนุ่งลมห่มฟ้า ) นักบวชจะเปลือยกายหรือที่เรียกว่า นุ่งลมห่มฟ้า นิกายนี้ปฏิบัติเคร่งครัดมาก จะทรมานตนเองให้ลำบาก ไม่มีเครื่องปกปิดร่างกาย เพราะพวกเขาเชื่อว่าการมีเครื่องแต่งกายหรือมีผ้าปกปิดร่างกายนั้น ทำให้เกิดความกังวลใจเกี่ยวกับบริขารของตน และอาจจะเป็นเครื่องกังวลใจที่ต้องการรักษาและแสวงหา สิ่งที่นักบวชเหล่านี้ต้องการมีเพียง 2 อย่าง คือ 1.ไม้กวาด เวลาเดินไปไหนจะต้องกวาดเพื่อไม่ให้เหยียบสัตว์ที่มีชีวิต 2. ผ้ากรองน้ำ (ธมกรก) เพื่อจะไม่ต้องดื่มสัตว์มีชีวิตเข้าไปกับน้ำ มีหลักปฏิบัติที่เคร่งครัดจริงอีก 3 ข้อดังนี้
1.ไม่กินอาหารใดๆ แม้น้ำก็ไม่ให้ล่วงลงไปในลำคอในเวลาปฏิบัติ
2.ไม่มีสมบัติใดๆ ติดตัวแม้แต่ผ้านุ่ง สัญจรไปด้วยตัวเปล่าเปลือยกาย
3.ไม่ยอมให้ผู้หญิงปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น เว้นแต่จะได้เกิดเป็นชายเสียก่อน
นิกายทิฆัมพร ไม่มีการทำสังคายนา แบ่งเป็นนิกายย่อย 5 นิกาย สาเหตุที่แตกแยกก็คล้ายกันกับของเศวตัมพร
ความแตกต่างกันของนิกายไม่ค่อยมีอะไรมาก ต่างถือในคัมภีร์ศาสนาเกือบจะชุดเดียวกัน ความต่างกันเล็กน้อย เช่น รูปปฏิมาของพระชินะของนิกายนุ่งผ้าขาวมีรอยผ้านุ่งห่ม ส่วนรูปปฏิมาของนิกายนุ่งฟ้าทำเป็นรูปเปลือยกาย ความต่างกันในเรื่องจำนวนของสวรรค์ในครั้งพุทธกาล นักบวชนุ่งผ้าขาวและเปลือยกายมีแพร่หลายอยู่ทั่วไป ปรากฏในวรรณคดีทางพระพุทธศาสนาหลายพระสูตรด้วยกัน
วิธีดูวัดเชนให้ดูรูปที่ตีรถังกร และนักบวช ถ้าตีรถังกรเป็นรูปเปลือยทอดตาต่ำ นักบวชไม่ใช้เครื่องนุ่งห่ม วัดนั้นเป็นนิกายทิฆัมพร ถ้ารูปตีรถังกรและนักบวชใส่เครื่องนุ่งห่ม รูปติดมังกรมองตรงไปข้างหน้า วัดนั้นเป็นวัดนิกายเศวตัมพร
แบ่งหลักธรรมเป็น 3 ชั้น คือ ชั้นที่1 จริยศาสตร์หรือศีลธรรม ชั้นที่2 หลักปรัชญา ชั้นที่ 3 หลักการหลุดพ้น
ชั้นที่1 จริยศาสตร์หรือศีลธรรม อนุพรตหรือศีล 5 ได้แก่
1. อหิงสา ไม่เบียดเบียน ไม่ทำลายชีวิต ข้อนี้ถือว่า เป็นยอดของศีลธรรมในศาสนานี้ ศาสนาเชนแบ่งชั้นสัตว์ออกเป็นประเภทตามความสามารถทางประสาทสัมผัส และตามลักษณะที่เคลื่อนไหวได้หรือไม่ คืออาตมันที่ถูกผูกมัดมี 2 ได้แก่ สถาวระ1 (เคลื่อนไหวไม่ได้) กับ ตรฺสะ (เคลื่อนไหวได้) ในประเภทเคลื่อนไหวไม่ได้มีเพียงอายตนะเดียว คือ อายตนะ สำหรับสัมผัสได้แก่ ผักหญ้าในประเภทเคลื่อนไหวได้ สัตว์ที่มีอายตนะ 2 คือ ทางสัมผัสกับทางลิ้มรส เช่น หนอน สัตว์ที่มีอายตนะ 3 คือ ทางสัมผัส ลิ้มรส ได้กลิ่น เช่น มด สัตว์ที่มีอายตนะ 4 คือเพิ่มในทางมองเห็น เช่น ผึ้ง สัตว์ที่มีอายตนะ 5 คือ เพิ่มในทางได้ยินเสียง เช่น นก สัตว์ทั่วไป และมนุษย์ ผู้นับถือศาสนาเชนจะฆ่าหรือกินสัตว์เหล่านี้ไม่ได้ จะทำได้เพียงที่มีอายตนะทางสัมผัสอย่างเดียว คือ ผักหญ้า
2. สัตยะ ความสัตย์ไม่พูดเท็จ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลหรือข้อข้ออ้างใดๆ
3. อัสตียะ ไม่ลักขโมย รวมทั้งไม่หลบหนีภาษี ไม่ใช้หรือทำเงินปลอม และไม่ชั่งตวงวัดโกง
4. พรหมจริยะ อย่างต่ำคือการไม่ประพฤติผิดในกาม
5. อปริครหะ การไม่โลภ ไม่มีข้าวของมากนัก
อนุพรตสำหรับนักบวชจะเคร่งครัดมาก สำหรับคฤหัสถ์ ก็ลดหย่อนลงมาพอเหมาะแก่คฤหัสถ์
ชั้นที่2 หลักปรัชญา
“ชญาน” (ตรงกับว่าญาณในภาษาบาลี แปลว่าความรู้) ตามหลักศาสนาเชน มี 5 ประการ คือ 1. มติชฺญาน (ความรู้ทางประสาทสัมผัส) 2. ศรุติชญาน (ความรู้เพราะได้ฟัง) 3. อวธิชญาน (ความรู้เหตุที่ปรากฏในอดีตกาล) ทั้ง 3 ข้อนี้เชื่อกันว่ามหาวีระมีมาตั้งแต่เกิด 4. มนปรยายชญาน (ญาณกำหนดรู้ใจผู้อื่น) 5. เกวลชญาน (ญาณอันสมบูรณ์ ซึ่งเกิดขึ้นก่อนบรรลุนิรวาณ) ญาณข้อหลังนี้สำคัญเหนือญาณอื่นๆ ทั้งหมด ทำให้รู้เห็นสิ่งอื่นทั้งปวง เชื่อกันว่ามหาวีระได้ญาณที่ 4 ในเวลาต่อมาและญาณข้อที่ 5 ภายหลังที่บำเพ็ญเพียร 12 ปี
“ชีวะและอชีวะ” ทุกอย่างในโลก แบ่งออกเป็น 2 คือ
1.ชีวะ ได้แก่ วิญญาณ สิ่งชีวิต หรืออาตมัน
2.อชีวะ ได้แก่ อวิญญาณ หรือสิ่งไม่มีชีวิต ได้แก่ วัตถุ
ถ้ากล่าวอย่างพิสดารทุกอย่างแบ่งออกเป็น 9 คือ
1.ชีวะ หรืออาตมัน
2.อชีวะ หรือวัตถุ
3 ปุณยะ คือ บุญ
4.ปาปะ คือ บาป
5.กรรม คือ การกระทำ
6.พันธะ คือ ความผูกมัดหรือผูกพัน
7.สังสาระ คือ ความเวียนว่ายตายเกิด
8.นิรฺชระ คือ การทำลายกรรม
9.โมกษะ คือ ความหลุดพ้น ผู้หลุดพ้นชื่อว่าสิทธะ คืออาตมันอันสมบูรณ์
ชั้นที่ 3 หลักการหลุดพ้น
คือความเป็นอิสระของวิญญาณ คือการทำให้วิญญาณหลุดพ้นจากอัตตา และจากความบริสุทธิ์ ไม่ต้องมาเกิดอีก มีข้อปฏิบัติอยู่ 3 ประการ คือ
1.ความเชื่อที่ถูกต้อง ได้แก่ เชื่อในศาสดาทั้ง 24 องค์ ของศาสนาเชน เชื่อในเชนศาสตร์ หรือคัมภีร์ของศาสนาเชน และเชื่อในนักบวชผู้สำเร็จผลในศาสนาเชน
2.ความรู้ที่ถูกต้อง ได้แก่ รู้สิ่งทั้งหลายตามเป็นจริงและด้วยความแน่ใจ
3.ความประพฤติที่ถูกต้อง มีข้อปฏิบัติทั้งของนักบวชและคฤหัสถ์ แต่ที่นับว่าสำคัญที่สุดก็คืออหิงสา การไม่เบียดเบียน
หลักการ 3 ข้อนี้เป็นการทำลายกรรมคือการกระทำซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการถูกผูกมัดหรือผูกพันตามหลักปรัชญาของศาสนานี้
จริยศาสตร์
อนุพรต ข้อปฎิปัญญา 5 ข้อในการเว้นสิ่งที่ไม่ดีไม่งามดังต่อไปนี้
1. อหิงสา การไม่เบียดเบียนตลอดจนการไม่ทำลายชีวิต
2. สัตยะ ความสัตย์ไม่พูดเท็จ
3. อัสตียะ การไม่ลักขโมย
4. พรหมจริยะ การประพฤติพรมจรรย์ ( เว้นจากเสพกาม )
5. อปริครหะ การไม่ละโมบ ไม่อยากได้สิ่งใดๆการเว้นจากการดื่มสุราเมรัย
เมื่อพิจารณาดูแล้ว หลักการ 5 ข้อนี้ดูเหมือนจะสำหรับนักบวชโดยตรง สำหรับคฤหัสถ์ คือผู้ครองเรือนธรรมดาคงมีการผ่อนในข้อ 4 ลงเป็นเพียงเว้นจากประพฤติผิดในกามและการอยู่ร่วมกับ โสเภณี
มีผู้กล่าวว่าหลักจริยศาสตร์ของศาสนาเชนย่นลงเป็นเพียงข้อเดียวคือ “ อหิสา ปรโม ธรฺมะ ” “ ความไม่เบียดเบียนเป็นธรรมะอย่างยิ่ง ”
หลักเมตตากรุณา มีหลักการอยู่ 4 ข้อ
1. มีความกรุณาโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
2. ยินดีในความดีของผู้อื่น
3. มีความเห็นใจในความทุกข์ยากของผู้อื่นรวมทั้งช่วยให้เขาพ้นความทุกข์ร้อน
4. มีความกรุณาต่อผู้ทำผิด
นิรวาณ 3 ประการ เป็นหลักจริยศาสตร์ชั้นสูง อันเป็นเหตุให้เข้าถึงโมกษะ( ความหลุดพ้น) คือ
1. ความเชื่อที่ถูกต้อง
2. ความรู้ที่ถูกต้อง
3. ความประพฤติที่ถูกต้อง
คัมภีร์
คัมภีร์ของศาสนาเชน เป็นเรื่องที่ยากแก่การค้นคว้า ไม่ค่อยเปิดเผยเหมือนศาสนาอื่น สาวกบางคนที่มีคัมภีร์ก็พยายามจะเก็บซ่อนคัมภีร์ไว้อย่างมิดชิด
คัมภีร์ของศาสนาเชนชื่อ อาคมะได้จารึกเป็นอักษรปรากฤตประมาณ 200ปี ภายหลังสมัยของพระมหาวีระ ในชั้นเดิมคงมีการท่องจำ และเมื่อมหาวีระได้ล่วงลับไปไม่น้อยกว่า 200 ปี จึงมีการรวบรวมซึ่งอาจใช้วิธีท่องจำอีก ต่อเมื่อมหาวีระล่วงลับไปได้ 981 ปี (พ.ศ. 997) จึงได้มีการเขียนคัมภีร์เป็นลายลักษณ์อักษร คำอธิบายคัมภีร์ และวรรณคดีของเชนในสมัยต่อมา ล้วนเป็นภาษาสันสกฤต
อาคมะ และ กัลปสูตร เป็นหลักสำคัญของศาสนาเชน ชื่อรวมสำหรับคัมภีร์ศาสนาของเชนคือ อาคมะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สิทธานตะ
ส่วนแรกแห่งคำสอนประกอบด้วย อังคะ (ส่วน) 12 อังคะ แต่อังคะที่ 12 ได้สูญหายไป คัมภีร์ในปัจจุบันมีอยู่ 37 คัมภีร์ ส่วนใหญ่จะเขียนขึ้นมาภายหลัง กล่าวถึงชีวประวัติของมหาวีระ สาวกของศาสนาเชนมีความเห็นในเรื่องคัมภีร์ค่อนข้างแตกต่างกัน เช่นนิการ เศวตัมพร ยึดคัมภีร์อาคมะ เป็นคัมภีร์ศาสนาของพวกตน โดยมีความเชื่อมั่นว่าสาวกผู้ใกล้ชิดมหาวีระเป็นผู้รวบรวมคัมภีร์อาคมะขึ้น แต่นิกายทิฆัมพร เชื่อว่าคัมภีร์ดั้งเดิมได้สูญหายไปแล้ว คำสอนของมหาวีระถูกรวบรวม แก้ไข หรือเขียนเพิ่มเติมขึ้นโดยนักบวชสมัยโบราณหลายท่าน
คัมภีร์อาคมะประกอบด้วยคัมภีร์ 45 เล่ม และแบ่งย่อยออกไปเป็นคัมภีร์ละ 11 ส่วน กับเล่มที่ 12 เรียกว่า “ฤทธิวาท” เป็นอุปางคะ 11 ส่วน แบ่งเป็นมูลสูตร 4 เล่ม เป็นเจตสูตร 6 เล่ม เป็นคูสิกสูตร 2 เล่ม เป็นปกิณกะ 10 เล่ม
พิธีกรรม
วัดทิฆัมพร ตอนเช้าทำพิธีชลบูชาคือทำความสะอาดองค์พระตีรถังกร ด้วยน้ำและเช็ดให้แห้ง ระวังมิให้น้ำหกหยดที่พื้น และถวายข้าว ผลไม้แห้ง ผลไม้สดบูชาไม่ได้ ตอนเย็นทำพิธีอารติบูชา คือแกว่งตะเกียงจากซ้ายไปขวาเบื้องหน้าองค์พระตีรถังกร เป็นการบูชา ผู้ประกอบพิธี ต้องเป็นผู้นับถือศาสนานี้เท่านั้นและไม่กินของบูชาด้วย
วัดเศวตัมพร มีพิธีมากกว่านั้น เช่นพิธีชลบูชา นอกจากล้างด้วยน้ำแล้ว ต้องล้างด้วยนมแล้วล้างด้ายน้ำอีก แล้วครองผ้าให้ใหม่ นอกจากนี้ยังมีองค์บูชา คือ ตบแต่งองค์พระให้งดงามด้วยวัตถุเช่น ทอง เงิน สร้อย มงกุฎ กำไล เป็นต้น เป็นการบูชาของตบแต่งเหล่านี้จะขอเช่าทางวัดมาตกแต่งชั่วคราว เพื่อบูชาเป็นพิเศษก็ได้ การบูชาตะเกียง ด้วยข้าว ผลไม้ รูป เป็นต้น เหมือนนิกายทิฆัมพร แต่กินของบูชาได้ ผู้ประกอบพิธีเป็นใครก็ได้ ขอให้รู้พิธีก็ใช้ได้
พิธีกรรมของศาสนาเชน คือ พิธีภารยุสะนะ หรือพิธีปัชชุสนะ เป็นงานพิธีรำลึกถึงองค์ศาสดามหาวีระ ซึ่งเป็นงานพิธีกรรมทำให้มีความสงบ การให้อภัยกัน และการเสียสละ บริจาคทานแก่คนยากจน และรูปองค์ศาสดา แห่เดินไปตามท้องถนน นิยมทำกันในปลายเดือนสิงหาคม หรือต้นเดือนกันยายน กระทำพิธีคราวละ 8 วัน
ในระหว่างทำพิธี 8 วันนั้น นักบวชตามปกติจะพำนักอยู่ในป่า จะเข้ามาอยู่ในเมืองเพื่อร่วมประกอบพิธีจนครบ 8 วัน ส่วนฆราวาสก็จะอ่านคัมภีร์ซึ่งเป็นคำสอนของมหาวีระจนครบ 8 วันและนอกจากนี้ก็จะมีการเฉลิมฉลองสมโภชกันในหมู่ชาวเชน
พิธีปัชชุสนะ 8 วันนั้นแบ่งเป็น 5 ระยะ
ระยะที่ 1 ใน 3 วันแรก พวกฆราวาสต้องมารับคำสอนจากสงฆ์ทุกเช้า วันละ 2 ชั่วโมง
ระยะที่ 2 ในวันที่ 4 พวกฆราวาสต้องอ่านกัลปสูตร ซึ่งกล่าวถึงเรื่องราวความเป็นมาของศาสนาเชนและชีวประวัติของมหาวีระองค์ศาสดา
ระยะที่ 3 ในวันที่ 5 จะมีการประกอบพิธีใหญ่ เพราะถือว่า เป็นวันเกิดของมหาวีระ กิจที่ต้องทำในวันนี้ก็คือ การขายวัตถุแห่งความฝัน 14 ประการ คือ ช้าง โค สิงโต เจ้าแม่แห่งโชค พวงหรีด พระจันทร์ พระอาทิตย์ ธง หม้อน้ำ สระบัว มหาสมุทร วัง กองเพชร และไฟไม่มีแสง วัตถุแห่งความฝันเหล่านี้ มักจำลองไว้ด้วยเงินภายในวัดหรือตามริมท่าแม่น้ำคงคา ในวัดเชนทุกวัดต้องมีวัตถุเหล่านี้ประจำ แต่บางวัดยังมีเปลซึ่งถือว่าเป็นเปลของมหาวีระ พอถึงวันแห่ก็นำสิ่งเหล่านี้ออกมาแห่ด้วย ในขบวนแห่นั้นมีรูปภาพของมหาวีระใหญ่โตและหนังสือคัมภีร์ นิยมแห่ไปยังท่าแม่น้ำคงคา หรือไม่ก็สุดแต่กำหนดกันขึ้นว่าจะแห่ไปที่ใด
ระยะที่ 4 ในวันที่ 6-7 นี้คงมีแต่การอ่าน กัลปสูตรอย่างเดียว
ระยะที่ 5 ในวันที่ 8 มีการอ่านคัมภีร์ทุกคัมภีร์ ในการอ่านทุกระยะมีนักบวชคอยอธิบายข้อความให้ผู้อ่านฟัง การอ่านคัมภีร์นั้นกำหนดไว้ว่า ต้องอ่านคัมภีร์ตอนละ 3 ชั่วโมง ทั้งเช้าและบ่าย ทุกๆ วัน และวันหนึ่งๆ ต้องอ่าน 2 ตอน รวมเป็นเวลา 6 ชั่วโมง
นิกาย
ศาสนาเชนมีนิกายที่สำคัญอยู่ 2 นิกาย ได้แก่
1. นิกายเศวตัมพร (นิกายนุ่งผ้าขาว)
2. นิกายทิฆัมพร (นิกายเปลือยกาย)
เมื่อมหาวีระสิ้นแล้ว สาวกเกิดแตกกัน พวกหนึ่งโดยการนำของท่านภัทรพาหุ ได้ไปเผยแพร่ศาสนาทางใต้ เป็นเวลา 12 ปี จึงกลับมาถิ่นเดิม พวกนี้ถือเคร่งมากโดยเฉพาะข้ออปริครหะ คือไม่มีเครื่องนุ่งห่ม อีกพวกหนึ่งซึ่งมีท่าน สถูลภัทร เป็นหัวหน้า ยังคงอยู่ในที่เดิม พวกนี้ต่อมาใช้เครื่องนุ่งห่มขาว เมื่อท่านภัทรพาหุกลับมาถิ่นเดิม ก็ปรากฏว่าพวกที่มิได้ไปด้วยนั้นใช้เครื่องนุ่งห่มเสียแล้ว เลยแยกเป็น 2 นิกายใหญ่ เป็นนิกายทิฆัมพร และเศวตัมพร
1.นิกายเศวตัมพร (เสฺวต+อมฺพร=เศวตัมพร แปลว่า นุ่งขาว)นักบวชจะนุ่งห่มผ้าขาว ส่วนมากพวกนิกายนี้จะอยู่ทางแถบเหนือของทิวเขาวินธัย อันเป็นพื้นที่ที่อากาศหนาวจัด จึงมีการนุ่งผ้าสีขาว(ทั้งๆ ที่องค์ศาสดามหาวีระไม่นุ่งผ้า) เพราะถ้าไม่นุ่งผ้าเลยคงทนต่ออากาศหนาวไม่ไหว รูปเคารพของศาสดามหาวีระของตน จึงมีลักษณะนุ่งขาวด้วย และนิกายนี้อนุญาตให้มีนักบวชหญิงด้วย
นิกายเศวตัมพรนี้ ทำสังคายนาครั้งที่ 1 ที่เมืองปาตลีบุตร ครั้งที่ 2 ที่เมืองมถุรา หรือ มถุรีกาญจนา ครั้งที่ 3 ที่เมือง วัลลภี ซึ่งอยู่ใกล้เมืองภวนครในปัจจุบันเมื่อ ค.ศ.454 นิกายนี้แยกเป็นนิกายย่อยอีก ไม่ต่ำกว่า 84 นิกาย ที่ต่างกันโดยมากเรื่องความเห็นและการปฏิบัติ เช่น นิกายหนึ่งถือว่า ต้องบูชารูปตีรถังกรคือเจ้าลัทธิหรือศาสดา อีกนิกายหนึ่งถือว่า เพียงเคารพนับถือก็พอไม่ต้องบูชา เพราะตีรถังกร มิใช่พระเจ้า นิกายหนึ่งถือว่า ควรสร้างรูปเคารพ แต่อีกนิกายหนึ่งถือว่าไม่ควรสร้าง นิกายหนึ่งเคารพคัมภีร์ แต่ไม่เคารพรูปเคารพเหล่านี้เป็นต้น
2. นิกายทิฆัมพร (ทิศ+อมฺพร=ทิฆัมพร แปลว่า มีทิศเป็นเครื่องนุ่งห่ม หรือนุ่งลมห่มฟ้า ) นักบวชจะเปลือยกายหรือที่เรียกว่า นุ่งลมห่มฟ้า นิกายนี้ปฏิบัติเคร่งครัดมาก จะทรมานตนเองให้ลำบาก ไม่มีเครื่องปกปิดร่างกาย เพราะพวกเขาเชื่อว่าการมีเครื่องแต่งกายหรือมีผ้าปกปิดร่างกายนั้น ทำให้เกิดความกังวลใจเกี่ยวกับบริขารของตน และอาจจะเป็นเครื่องกังวลใจที่ต้องการรักษาและแสวงหา สิ่งที่นักบวชเหล่านี้ต้องการมีเพียง 2 อย่าง คือ 1.ไม้กวาด เวลาเดินไปไหนจะต้องกวาดเพื่อไม่ให้เหยียบสัตว์ที่มีชีวิต 2. ผ้ากรองน้ำ (ธมกรก) เพื่อจะไม่ต้องดื่มสัตว์มีชีวิตเข้าไปกับน้ำ มีหลักปฏิบัติที่เคร่งครัดจริงอีก 3 ข้อดังนี้
1.ไม่กินอาหารใดๆ แม้น้ำก็ไม่ให้ล่วงลงไปในลำคอในเวลาปฏิบัติ
2.ไม่มีสมบัติใดๆ ติดตัวแม้แต่ผ้านุ่ง สัญจรไปด้วยตัวเปล่าเปลือยกาย
3.ไม่ยอมให้ผู้หญิงปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น เว้นแต่จะได้เกิดเป็นชายเสียก่อน
นิกายทิฆัมพร ไม่มีการทำสังคายนา แบ่งเป็นนิกายย่อย 5 นิกาย สาเหตุที่แตกแยกก็คล้ายกันกับของเศวตัมพร
ความแตกต่างกันของนิกายไม่ค่อยมีอะไรมาก ต่างถือในคัมภีร์ศาสนาเกือบจะชุดเดียวกัน ความต่างกันเล็กน้อย เช่น รูปปฏิมาของพระชินะของนิกายนุ่งผ้าขาวมีรอยผ้านุ่งห่ม ส่วนรูปปฏิมาของนิกายนุ่งฟ้าทำเป็นรูปเปลือยกาย ความต่างกันในเรื่องจำนวนของสวรรค์ในครั้งพุทธกาล นักบวชนุ่งผ้าขาวและเปลือยกายมีแพร่หลายอยู่ทั่วไป ปรากฏในวรรณคดีทางพระพุทธศาสนาหลายพระสูตรด้วยกัน
วิธีดูวัดเชนให้ดูรูปที่ตีรถังกร และนักบวช ถ้าตีรถังกรเป็นรูปเปลือยทอดตาต่ำ นักบวชไม่ใช้เครื่องนุ่งห่ม วัดนั้นเป็นนิกายทิฆัมพร ถ้ารูปตีรถังกรและนักบวชใส่เครื่องนุ่งห่ม รูปติดมังกรมองตรงไปข้างหน้า วัดนั้นเป็นวัดนิกายเศวตัมพร
*******************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น