เมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีมาแล้ว พุทธองค์ได้ค้นพบสัจธรรมแห่งชีวิตด้วยการตรัสรู้ และก่อตั้งศาสนาใหม่ที่เน้นคำสอนและการปฏิบัติตนในแนวทางที่เห็นจริงอย่างมีสาระ โดยไม่ต้องลุ่มหลงงมงายอยู่กับโชคลาภและดวงชะตาราศี ในครั้งนั้นพุทธบัญญัติข้อหนึ่งที่มอบให้กับเหล่าพระสงฆ์ก็คือ “การเข้าพรรษา” โดยเริ่มต้นในวันถัดจาก ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 หรือ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งตรงกับต้นฤดูฝน
เพื่อให้บรรดาสงฆ์ได้อยู่ประจำสถานที่เป็นเวลา 3 เดือนของปฏิทินจันทรคติ เพื่อใช้เวลาช่วงนี้ศึกษาทบทวนเนื้อหาของธรรมะ และไม่ไปรบกวนชาวบ้านที่กำลังเริ่มต้นทำการเพาะปลูก อีกทั้งหลีกเลี่ยงการเหยียบย่ำพืชพรรณและสัตว์เล็กๆที่อยู่ตามพื้นดิน
จะเห็นได้ว่าพุทธบัญญัตินี้ ผูกมัดเงื่อนไขไว้ 2 ข้อ คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 และต้นฤดูฝน ตอนเริ่มต้นใหม่ๆในปีแรกๆก็ดำเนินไปได้ด้วยดี ครั้นย่างเข้าปีที่สี่ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ร่นเข้าไปอยู่ในฤดูแล้ง (ราวๆเดือนเมษายน) แทนที่จะเป็นฤดูฝน
เป็นเหตุให้วันออกพรรษาร่นเข้ามาเป็นต้นฤดูฝน ผิดวัตถุประสงค์ของพุทธบัญญัติ จึงต้องมีการปรับชดเชยระหว่าง ปฏิทิน “จันทรคติ” กับ ปฏิทิน “สุริยะคติ” เนื่องจากรอบปีของดวงจันทร์ (Lunar month) เร็วกว่ารอบปีของดวงอาทิตย์ (Solar month) ประมาณปีละ 11 วัน ประกอบกับฤดูกาลต่างๆที่เกิดบนโลกมีต้นเหตุมาจากอิทธิพลของดวงอาทิตย์ที่ทำมุมตกกระทบกับพื้นผิวโลกในองศาที่แตกต่างกัน
ดังนั้นทุกๆ 2-3 ปี จึงต้องเพิ่มเดือนจันทรคติเข้าไปอีก 1 เดือน โดยให้เพิ่มที่เดือน 8 มีสองครั้ง เรียกว่าเดือน “แปดหน้าและแปดหลัง” หรือ “แปดสองหน” และให้ไปเริ่มเข้าพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ ของเดือนแปดหลัง
การชดเชยเช่นนี้ช่วยให้การเข้าพรรษาอยู่ในช่วงเวลาของต้นฤดูฝนตรงตามพุทธบัญญัติ สูตรการปรับระหว่างปฏิทินสองอย่างนี้ถูกคิดค้นโดยนักดาราศาสตร์ชาวกรีก ชื่อ เมตั้น แห่งกรุงเอเธนส์ (Meton of Athens) เมื่อ 440 ปี ก่อนคริสตกาล ภาษาวิชาการทางดาราศาสตร์เรียกว่า Intercalation หรือ Metonic Cycle กำหนดให้เพิ่มเดือนจันทรคติ 7 ครั้ง ในรอบ 19 ปี โดยปฏิทินพุทธของไทยใช้วิธีพิจารณาที่วันออกพรรษา หากวันดังกล่าวร่นขึ้นมาอยู่ที่ต้นเดือนตุลาคมและทำท่าจะร่นเข้าไปในเดือนกันยายนของปีต่อไป ก็กำหนดให้ปีที่จะถึงมี 8 สองหน เรียกว่า “อธิกมาส”
เพื่อให้บรรดาสงฆ์ได้อยู่ประจำสถานที่เป็นเวลา 3 เดือนของปฏิทินจันทรคติ เพื่อใช้เวลาช่วงนี้ศึกษาทบทวนเนื้อหาของธรรมะ และไม่ไปรบกวนชาวบ้านที่กำลังเริ่มต้นทำการเพาะปลูก อีกทั้งหลีกเลี่ยงการเหยียบย่ำพืชพรรณและสัตว์เล็กๆที่อยู่ตามพื้นดิน
จะเห็นได้ว่าพุทธบัญญัตินี้ ผูกมัดเงื่อนไขไว้ 2 ข้อ คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 และต้นฤดูฝน ตอนเริ่มต้นใหม่ๆในปีแรกๆก็ดำเนินไปได้ด้วยดี ครั้นย่างเข้าปีที่สี่ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ร่นเข้าไปอยู่ในฤดูแล้ง (ราวๆเดือนเมษายน) แทนที่จะเป็นฤดูฝน
เป็นเหตุให้วันออกพรรษาร่นเข้ามาเป็นต้นฤดูฝน ผิดวัตถุประสงค์ของพุทธบัญญัติ จึงต้องมีการปรับชดเชยระหว่าง ปฏิทิน “จันทรคติ” กับ ปฏิทิน “สุริยะคติ” เนื่องจากรอบปีของดวงจันทร์ (Lunar month) เร็วกว่ารอบปีของดวงอาทิตย์ (Solar month) ประมาณปีละ 11 วัน ประกอบกับฤดูกาลต่างๆที่เกิดบนโลกมีต้นเหตุมาจากอิทธิพลของดวงอาทิตย์ที่ทำมุมตกกระทบกับพื้นผิวโลกในองศาที่แตกต่างกัน
ดังนั้นทุกๆ 2-3 ปี จึงต้องเพิ่มเดือนจันทรคติเข้าไปอีก 1 เดือน โดยให้เพิ่มที่เดือน 8 มีสองครั้ง เรียกว่าเดือน “แปดหน้าและแปดหลัง” หรือ “แปดสองหน” และให้ไปเริ่มเข้าพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ ของเดือนแปดหลัง
การชดเชยเช่นนี้ช่วยให้การเข้าพรรษาอยู่ในช่วงเวลาของต้นฤดูฝนตรงตามพุทธบัญญัติ สูตรการปรับระหว่างปฏิทินสองอย่างนี้ถูกคิดค้นโดยนักดาราศาสตร์ชาวกรีก ชื่อ เมตั้น แห่งกรุงเอเธนส์ (Meton of Athens) เมื่อ 440 ปี ก่อนคริสตกาล ภาษาวิชาการทางดาราศาสตร์เรียกว่า Intercalation หรือ Metonic Cycle กำหนดให้เพิ่มเดือนจันทรคติ 7 ครั้ง ในรอบ 19 ปี โดยปฏิทินพุทธของไทยใช้วิธีพิจารณาที่วันออกพรรษา หากวันดังกล่าวร่นขึ้นมาอยู่ที่ต้นเดือนตุลาคมและทำท่าจะร่นเข้าไปในเดือนกันยายนของปีต่อไป ก็กำหนดให้ปีที่จะถึงมี 8 สองหน เรียกว่า “อธิกมาส”
ที่มา:
********************
เรื่องมันมีอยู่ว่า......
๑. ปฏิทินทางจันทรคติ จะใช้การโคจรของพระจันทร์รอบโลกเป็นหลัก โดยกำหนดให้เวลาที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก ๑ รอบเป็น ๑ เดือนซึ่งใช้เวลา ๒๙ วัน ๑๒ ชั่วโมงเศษ ดังนั้น ๑ ปีมี ๑๒ เดือนไทย จะใช้เวลา ๓๕๔ วัน ๙ ชั่วโมงเศษ
๒. ปฏิทินทางสุริยคติ จะใช้การโคจรของโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นหลัก กำหนดให้เวลาที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ ๑ รอบเป็น ๑ ปี ซึ่งใช้เวลา ๓๖๕ วัน ๖ ชั่วโมงเศษ โดยแบ่งเป็น ๑๒ เดือน คือ มกราคม, กุมภาพันธ์, ..., ธันวาคม
๓. ๑ ปีทางสุริยคติมีเวลานานกว่า ๑ ปีทางจันทรคติ ๑๐ วัน ๒๑ ชั่วโมง ( ๓๖๕ วัน ๖ ชั่วโมง - ๓๕๔ วัน ๙ ชั่วโมง ) หากใช้เวลาทางจันทรคติอย่างเดียวเพื่อจัดทำปฏิทินทางจันทรคติ ก็จะทำให้การเข้าพรรษาเร็วขึ้นปีละกว่า ๑๐ วัน เมื่อเวลาผ่านไป ๓ ปี จะทำให้ภิกษุเข้าพรรษาเร็วขึ้นกว่าเดิม ๓๒ วัน
๔. เนื่องจาก ฤดูต่างๆเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับปฏิทินทางสุริยคติ หรือกล่าวว่า แต่ละเดือนในปฏิทินทางสุริยคติ จะบอกประมาณได้ว่าเดือนนั้นอยู่ในฤดูอะไร หากภิกษุเข้าพรรษาเร็วขึ้นปีละกว่า ๑๐ วันเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้บางปี ภิกษุต้องเข้าพรรษาในฤดูหนาวหรือฤดูร้อน
๕. เพื่อให้ปฏิทินทางจันทรคติสอดคล้องกับฤดูต่างๆ ดังนั้น เมื่อการเข้าพรรษาเร็วกว่าปกติ ๓๐ วัน ก็จะมีการเพิ่มเดือนทางจันทรคติ ๑ เดือน อันจะทำให้ปฏิทินทางจันทรคติบางปีมี ๑๓ เดือน คือมีเดือน ๘ สองเดือน โดยกล่าวว่า ปฏิทินทางจันทรคติปีนั้นมีอธิกมาส ซึ่งทำให้การเข้าพรรษาในปีนั้นไปเข้าพรรษาวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง ดังเช่นปี ๒๕๕๓
******************
เดือนอธิกมาส, Thai definition: เดือนที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ คือ ในปีนั้นมี 13 เดือน มีเดือน 8 สองหน เรียกว่า เดือน 8 สอง 8, Notes: (บาลี)
***************************
ในการกำหนดปีปกติ ปีอธิกมาส ปีอธิกวาร ในปฏิทินไทย ตั้งแต่สุโขทัย สืบมาจนปัจจุบันนี้ จะวางตามพระคัมภีร์สุริยยาตรเป็นเสาหลักเทียบโดยมีสัดส่วนความแม่นยำตามตำรา ดังนี้ ปีปกติ 7,262,789 ปี : ปีอธิกมาส 6,125,521 ปี : ปีอธิกวาร 3,219,690 ปี โดยอธิกมาส 0 นับจากจุลศักราชแรกตกหรคุณ -282856310/6125521
วันที่ 1 ของเดือน เรียกว่า วันขึ้น 1 ค่ำ หรือ ออก 1 ค่ำ (ขึ้นหรือออก แปลว่า ดวงจันทร์ กำลังสว่างเพิ่มขึ้น) วันที่ 16 ไม่ได้เรียกว่า วันขึ้น 16 ค่ำ หรือ ออก 16 ค่ำ แต่เรียกว่า วันแรม 1 ค่ำ (แรม หมายถึง ดวงจันทร์ กำลังสว่างลดลง) ในเดือนที่มี 29วันนี้ ก็จะมีสิ้นสุดแค่วันแรม 14 ค่ำ (ไม่มี วันแรม 15 ค่ำ) เวลาที่ใช้เปลี่ยนวันทางปฏิทินจันทรคติของไทย คือ เวลารุ่งเช้าของวันถัดไป ไม่ใช่เที่ยงคืน โดยมีการเสนอว่า ควรให้นิยามที่ชัดเจนของคำว่า “รุ่งเช้า” นี้ และเสนอว่า ควรใช้ค่าเฉลี่ยที่เวลาดวงอาทิตย์ขึ้น หรือเวลา 6 น. ของเส้นลองจิจูด 100 องศา ตะวันออก นั่นคือ เวลา 6:20 น. ตามเวลามาตรฐานของไทย วันพระ หรือธรรมสวนะ จัดขึ้น 4 วันในเดือนหนึ่ง ๆ คือ วันขึ้น 8 ค่ำ ขึ้น 15 ค่ำ แรม 8 ค่ำ และวันแรม สุดท้ายของเดือน
วันสำคัญของไทย
1. วันมาฆบูชา ได้แก่วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (หรือเดือน 4 ในปีอธิกมาส)
2. วันสิ้นปีทางจันทรคติ หรือวันตรุษ ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา กำหนดให้เป็นวันสิ้นปีจุลศักราช(ต้องการเอกสารอ้างอิง)
3. วันมหาสงกรานต์ หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่า วันสงกรานต์ เป็นวันที่โหร เชื่อว่าพระอาทิตย์เริ่มสู่ราศีเมษ ปัจจุบันตกวันที่ 13 หรือ 14 เมษายน โดยมีวันเถลิงศก หรือวันพระญาวัน คือวันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติแบบดั้งเดิมของไทย ปัจจุบันตกประมาณวันที่ 16 เมษายน วันที่อยู่ระหว่างวันสงกรานต์ กับวันเถลิงศก อาจมี 1 หรือ 2 วันก็ได้เรียกว่าวันเนา (การคำนวณหาวันสงกรานต์ วันเนา และวันเถลิงศก เป็นการคำนวณตามคัมภีร์สุริยยาตร)
4. วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน6 (หรือเดือน 7 ในปีอธิกมาส)
5. วันอัฏฐมีบูชา (เก็บพระอัฏฐิพระพุทธเจ้า) ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 (หรือเดือน7 ในปีอธิกมาส)
6. วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (หรือเดือน 8 หนหลัง ในปีอธิกมาส)
7. วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 (หรือเดือน 8 หนหลัง ในปีอธิกมาส)
8. วันข้าวประดับดิน หรือข้าวบิณฑ์ ตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9
9. วันข้าวสลากภัต/ข้าวสาก/ก๋วยสลาก ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10
10. วันสารทไทย หรือวันครึ่งปี ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 (6 หรือ 7 เดือน หลังวันตรุษในข้อ 2)
11. วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
12. วันตักบาตรเทโว และเริ่มเทศกาลกฐิน ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11
13. วันลอยกระทง และสิ้นสุดเทศกาลกฐิน ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
14. วันสิ้นปีนักษัตร วันแรม 15 ค่ำ เดือน 12
การกำหนดวันพิธีกรรมทางศาสนา ในปีอธิกมาส
เรายึดเดือน 8 หนที่สอง เป็นเดือน 8 ที่แท้จริง ดังนั้นวันวิสาขบูชาซึ่งโดยปกติจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 แต่ในปีที่มีเดือน 8 สองหน ให้เลื่อนไปอยู่ในเดือน 7 แทน โดยถือว่าเดือน 8 หนหลังเป็นเดือน 8 ที่แท้จริง ส่วนเดือน8 หนแรก ก็จะมีค่าเท่ากับเดือน 7 เป็นที่น่าสังเกตว่า ประเพณีไทยและชาวเอเชียให้ความสำคัญกับวันส่งท้ายปีเก่าที่กำลังจะจากไปมากกว่าวันปีใหม่ เพื่อแสดงความกตัญญูต่อบุคคลและธรรมชาติ ที่ให้ความช่วยเหลือเราในปีที่ผ่านมา ดังนั้นจึงจัดงานเลี้ยงในหมู่คนที่คุ้นเคยกัน เพื่อแสดงความขอบคุณในความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และขออภัยที่สิ่งผิดพลาดหรือล่วงเกินในปีที่ผ่านมา ไม่ใช่การจัดชุมนุมร่วมกับคนแปลกหน้าเพื่อนับถอยหลัง สลัดของเก่าให้พ้นตัวไปแบบฝรั่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ช่วงสิ้นปี จึงมีความสำคัญมากกว่าช่วงต้นปี อนึ่งคำว่า วันตรุษจีน ก็แปลว่า วันสิ้นปีของจีนเช่นกัน ปัจจุบันตกอยู่ประมาณวันแรม 15 ค่ำเดือนยี่ของไทย หรือเดือน 3 ในปีอธิกมาส นิยมเรียกว่า วันไหว้บรรพบุรุษ ส่วนวันปีใหม่ คือ วันถัดมา ที่เรียกว่า วันเที่ยว (แต่ในปฏิทิน และคนทั่วไปนิยมเรียกวันขึ้นปีใหม่หรือวันเที่ยวว่า วันตรุษจีน จึงไม่ต้องสงสัยว่าคนจีนให้ความสำคัญกับวันไหนมากกว่ากัน ระหว่างการไหว้บรรพบุรุษ กับการเที่ยว)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น