ชื่อศาสนา
ศาสนาชินโต (Shintoism) คำว่า ชินโต แปลว่า ทางแห่งเทพเจ้า
สัญลักษณ์ศาสนา
ประตู ทอไร หรือโทริ (Torii) คือประตูอันมีสา 2 เสา มีไม้ 2 อันขวางอยู่ข้างบนเป็นเครื่องหมายว่าเข้าสู่บริเวณศาลเจ้าของชินโตแล้ว
ซานชูโน-ซิงกิ ประกอบด้วย 3 อย่างคือ กระจก ดาบและรัตนมณี ถือว่าเป็นสมบัติอันศักดิ์สิทธิ์ที่ถ่ายทอดต่อมาร่วมกันกับบัลลังก์แห่งพระจักรพรรดิ์ ในสมัยโบราณเพื่อแสดงฐานะแห่งความเป็นพระจักรพรรดิ์ และเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นคุณธรรมประจำศาสนา
กระจก เป็นเครื่องหมายแห่งปัญญา
ดาบ เป็นเครื่องหมายแห่งความกล้าหาญ
รัตนมณี เป็นเครื่องหมายแห่งการบำเพ็ญประโยชน์
ศาสนาชินโต (Shintoism) คำว่า ชินโต แปลว่า ทางแห่งเทพเจ้า
สัญลักษณ์ศาสนา
ประตู ทอไร หรือโทริ (Torii) คือประตูอันมีสา 2 เสา มีไม้ 2 อันขวางอยู่ข้างบนเป็นเครื่องหมายว่าเข้าสู่บริเวณศาลเจ้าของชินโตแล้ว
ซานชูโน-ซิงกิ ประกอบด้วย 3 อย่างคือ กระจก ดาบและรัตนมณี ถือว่าเป็นสมบัติอันศักดิ์สิทธิ์ที่ถ่ายทอดต่อมาร่วมกันกับบัลลังก์แห่งพระจักรพรรดิ์ ในสมัยโบราณเพื่อแสดงฐานะแห่งความเป็นพระจักรพรรดิ์ และเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นคุณธรรมประจำศาสนา
กระจก เป็นเครื่องหมายแห่งปัญญา
ดาบ เป็นเครื่องหมายแห่งความกล้าหาญ
รัตนมณี เป็นเครื่องหมายแห่งการบำเพ็ญประโยชน์
ประเภทของศาสนา
มีลักษณะเป็นพหุเทวนิยม( Polythaeism ) คือนับถือเทพเจ้ามากองค์ ไม่มีเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เพียงองค์เดียวอย่างบางศาสนา บุคคลที่เป็นเจ้านั้นมีพระจักรพรรดิ วีระบุรุษแห่งชาติ เทพเจ้าแห่งภูเขา ลำธาร บ่อน้ำ ประตู การเรียน ความสุข เป็นต้น
ศาสดา
ในศาสนาชินโตนี้ ไม่ปรากฏว่าใครเป็นศาสดา
วันเดือนปีกำเนิดศาสนา
เกิดก่อน ค.ศ. ประมาณ 660 ปี หรือก่อน พ.ศ. ประมาณ 117 ปี คิดตามสมัยจักรพรรดิ์ญี่ปุ่นองค์แรก
สถานที่กำเนิดศาสนา
ประเทศญี่ปุ่น
เหตุเกิดศาสนา
ชนชาติญี่ปุ่นในสมัยโบราณมีเผ่าต่างๆ หลายเผ่า แต่ละเผ่าก็เคารพบูชาบรรพบุรุษของตน และเทพเจ้าที่เผ่าของตนรู้จักและนับถือเป็นแบบเดียวกัน เทพเจ้าที่นับถือนั้นมีมากมายหลายองค์ อีกทั้งราชการก็ผูกพันอยู่อย่างเคร่งครัดกับการบูชาเทพเจ้าทั้งหลาย เลยกลายเป็นระบบการปกครองที่เรียกว่า “ไซเซอิ-อิทชิ” แปลว่า “การรวมกันแห่งศาสนาและการปกครอง” เดิมทีเดียวเป็นเพียงการเคารพบูชาบรรพบุรุษและเทพเจ้า ยังไม่มีชื่อเรียกศาสนานี้แต่เมื่อพระพุทธศาสนา และศาสนาขงจื๊อได้แพร่ไปสู่ประเทศญี่ปุ่นจึงได้มีนามเรียกศาสนานี้เพื่อให้ต่างจากศาสนาพุทธและศาสนาขงจื๊อว่า “ชินโต”
จำนวนผู้นับถือศาสนา
ประมาณ 4,000,000 คน (ปี ค.ศ.2002)
มีลักษณะเป็นพหุเทวนิยม( Polythaeism ) คือนับถือเทพเจ้ามากองค์ ไม่มีเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เพียงองค์เดียวอย่างบางศาสนา บุคคลที่เป็นเจ้านั้นมีพระจักรพรรดิ วีระบุรุษแห่งชาติ เทพเจ้าแห่งภูเขา ลำธาร บ่อน้ำ ประตู การเรียน ความสุข เป็นต้น
ศาสดา
ในศาสนาชินโตนี้ ไม่ปรากฏว่าใครเป็นศาสดา
วันเดือนปีกำเนิดศาสนา
เกิดก่อน ค.ศ. ประมาณ 660 ปี หรือก่อน พ.ศ. ประมาณ 117 ปี คิดตามสมัยจักรพรรดิ์ญี่ปุ่นองค์แรก
สถานที่กำเนิดศาสนา
ประเทศญี่ปุ่น
เหตุเกิดศาสนา
ชนชาติญี่ปุ่นในสมัยโบราณมีเผ่าต่างๆ หลายเผ่า แต่ละเผ่าก็เคารพบูชาบรรพบุรุษของตน และเทพเจ้าที่เผ่าของตนรู้จักและนับถือเป็นแบบเดียวกัน เทพเจ้าที่นับถือนั้นมีมากมายหลายองค์ อีกทั้งราชการก็ผูกพันอยู่อย่างเคร่งครัดกับการบูชาเทพเจ้าทั้งหลาย เลยกลายเป็นระบบการปกครองที่เรียกว่า “ไซเซอิ-อิทชิ” แปลว่า “การรวมกันแห่งศาสนาและการปกครอง” เดิมทีเดียวเป็นเพียงการเคารพบูชาบรรพบุรุษและเทพเจ้า ยังไม่มีชื่อเรียกศาสนานี้แต่เมื่อพระพุทธศาสนา และศาสนาขงจื๊อได้แพร่ไปสู่ประเทศญี่ปุ่นจึงได้มีนามเรียกศาสนานี้เพื่อให้ต่างจากศาสนาพุทธและศาสนาขงจื๊อว่า “ชินโต”
จำนวนผู้นับถือศาสนา
ประมาณ 4,000,000 คน (ปี ค.ศ.2002)
ประวัติศาสดา
โดยมากเมื่อกล่าวถึงศาสนาชินโต ก็เป็นที่รู้จักทั่วไปว่าไม่มีศาสดาหรือผู้ตั้งศาสนา เพราะศาสนาชินโต เป็นศาสนาที่สืบเนื่องมาจากขนบประเพณีในการบูชาบรรพบุรุษและบูชาเทพเจ้า แต่เมื่อแบ่งศาสนาชินโตออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
1.ชินโตที่เป็นรัฐ ( State Shinto )หรือ ชินโตศาสเทพเจ้า(Shrine Shinto)
2.ชินโตที่เป็นนิกาย ( Sectarian Shinto ) เช่น นิกายเทนรีกโย มีนางนากายามาเป็นศาสดาพยากรณ์
นิกายกอนโก มีกอนโก เป็นศาสดาพยากรณ์ ศาสนาเหล่านี้เป็นศาสนาใหม่
1. มิกิ นากายามา เป็นบุตรีของชาวนา แห่งจังหวัดยามโต เกิดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1798 (พ.ศ. 2341) เมื่อเธออายุได้ 41 ปี พระเจ้าผู้เป็นบิดาได้ลงมาถือเอาตัวเธอเป็นเสมือนหนึ่งโบสถ์ที่มีชีวิตหรือโบสถ์เดินได้ของพระองค์ เธอได้สั่งสอนอ้างนามของพระเจ้า มีผู้นับถือเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และได้ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 90 ปี ในปัจจุบัน ศาสนาเทนรีกโย นับเป็นศาสนาใหญ่ศาสนาหนึ่งของญี่ปุ่น มีกิจกรรมก้าวหน้าและทันสมัย (ผู้สนใจรายละเอียดมากกว่านี้โปรดอ่านเอกสารของศาสนาเทนรีกโย ซึ่งพิมพ์เผยแผ่เป็นภาษาอังกฤษหลายเล่ม เช่น The Doctrine of Tenrikyo และอื่นๆ ซึ่งน่าสังเกตว่า มีทุนในการเผยแผ่มาก แม้ทุนในการสร้างสถานศึกษา และศาสนสถานก็มาก ผู้เคยไปเมืองเทนรี และเคยไปพัก ณ อาคารรับรองของศาสนานี้มาแล้วจะมีความรู้สึกสนใจในความก้าวหน้าแห่งการดำเนินงานของศาสนานี้) ความจริงคำว่า เทนรี ในที่นี้หมายถึงเมืองเทนรี หรือหมายถึงพระนามของพระเจ้าซึ่งขึ้นต้นว่า “เทนรี” จากคำว่า “เทนรี-โอ-โน-มิโกโต” ลักษณะของพระเจ้าในศาสนานี้เป็นผู้สร้างโลก เป็นต้นเดิมแห่งสิ่งทั้งปวงเช่นเดียวกับพระเจ้าในศาสนาอื่นๆ
2. กอนโก ไดชิน ซึ่งเป็นผู้ตั้งศาสนา กอนโกกโย หรือศาสนากอนโกนั้น เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1814 (พ.ศ. 2357) และถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 69 ปี เมื่อกอนโกอายุได้ 46 ปี เสียงของพระเจ้าผู้เป็นบิดาแห่งสากลโลกก็ได้ปรากฎลงมาเรียกร้องให้กอนโกดำเนินงานเพื่อช่วยมนุษยชาติให้ปลอดภัย ดังข้อความในคัมภีรซึ่งอ้างกันว่า เป็นคำของพระเจ้า ดังต่อไปนี้
“บุตรทั้งหลายของพระเจ้า ที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ไม่รู้ถึงความรักของพระองค์ ปฏิบัติผิดหรือไม่เชื่อฟังพระประสงค์ของพระองค์โดยไม่รู้ตัว จึงเกิดความทุกข์ยากเดือดร้อนและเกิดความรู้สึกมืดมนต่อพรของพระเจ้า บัดนี้พระเจ้าได้ส่งกอนโกไดชิน มาสู่บุตรทั้งหลายของพระองค์ เพื่อที่จะให้บุตรเหล่านั้นได้รู้แจ้งความจริงที่ว่า พระเจ้าทรงถือว่าความสุขความเจริญของบุตรทั้งหลายของพระองค์เป็นเหมือนของพระองค์เอง ซึ่งความมีความเป็นของพระองค์เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง”
แนวคิดเรื่องนรกสวรรค์
ชินโตไม่พูดถึงเรื่องโลกหน้า เป็นเรื่องของชีวิตในโลกนี้เพียงอย่างเดียว เชื่อว่า วิญญาณเป็นของไม่ตาย คนตายเท่ากับเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวใหม่ ดวงวิญญาณไม่สูญไปทางไหน และไม่มีโอกาสจะไป ถ้าจะไปสักแห่งหนึ่ง ก็คือไปหาร่างใหม่ คือไปหาเครื่องแต่งตัวใหม่
แนวคิดเรื่องจุดหมายปลายทาง
1.จุดหมายปลายทาง คือ เมื่อตายไปแล้วก็จะไปเป็นเทพเจ้า
2.วิธีปฏิบัติ เมื่อมีชีวิตอยู่ พึงจงรักภักดีต่อเทพเจ้า อันแสดงออกในรูปของการเชื่อฟังเจตนาของเทพเจ้า
และประกอบพิธีกรรมบูชาเทพเจ้าและวิญญาณแห่งบรรพบุรุษ รวมทั้งการประกอบความดีเพื่อให้ได้พรและความคุ้มครอง
แจากเทพเจ้า
3.ชีวิตในโลกนี้ มีเพียงครั้งเดียว ตายไปแล้วก็เป็นวิญญาณ มีโลกอยู่อีกโลกหนึ่งอย่างสัมพันธ์กับโลกนี้โดยทางวิญญาณ และ
แวิญญาณในโลกของผู้ตายนั้นอาจเลื่อนฐานะสูงขึ้นจนเป็นเทพเจ้าได้ในที่สุด
วิธีปฏิบัติในศาสนา
หลักปฏิบัติที่สำคัญคือ ต้องมีความจงรักภักดีต่อเทพเจ้าและจักรพรรดิบริสุทธิ์ มีหลักปฏิบัติที่ทำให้จิตใจสะอาดบริสุทธิ์ เมื่อสิ้นชีพจะไปสู่ภาวะเป็นอันเดียวกับเทพเจ้า
หลักธรรม
ศาสนาชินโตมีลักษณะเป็นพหุเทวนิยม ผสมผสานด้วยคำสอนในศาสนาอื่นที่แพร่หลายเข้าไปในญี่ปุ่น คือ ศาสนาขงจื๊อ และพระพุทธศาสนา หลักธรรมสำคัญจึงบัญญัติเพื่อสนับสนุนวัฒนธรรมและประเพณีของญี่ปุ่น โดยการบัญญัติไว้เป็นหมวดหมู่ เน้นความศรัทธาในเทพเจ้า จักรพรรดิ และวิญญาณบรรพบุรุษเป็นสำคัญ
เนื่องจากศาสนาชินโตวิวัฒนาการขึ้นมาจากความเชื่อเรื่องภูติผี เทวดา เป็นลัทธิที่ถือเวทมนต์คาถา ลัทธิเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณธัญญาหาร และการบูชาธรรมชาติ บรรพบุรุษและวีรบุรุษในชั้นแรกไม่ปรากฏคำสอนทางจริยธรรมที่เป็นระบบระเบียบทางสังคม ต่อมาเมื่อศาสนาขงจื๊อและพระพุทธศาสนาเผยแพร่เข้าไปในญี่ปุ่น ชินโตจึงได้ผสมผสานกับศาสนาทั้งสอง ชาวญี่ปุ่นจึงถือว่า ชินโตเป็นพื้นฐานของประเทศ ขงจื๊อเป็นทางปฏิบัติ และพระพุทธศาสนาเป็นสติปัญญา
ในเรื่องจักรวาลชินโตสอนว่า กามิ (Kami) หรือเทพเจ้าเป็นเจตภูตที่ไม่มีรูปร่างผู้ไม่ได้อยู่เหนือจักรวาลไม่เปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร มีอยู่เริ่มแต่มีฟ้าและดินเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ ในเรื่องจักรวาลเราเรียกว่า กามิ ในเรื่องการที่มีธรรมชาติมีปฏิกิริยาต่อกันเราเรียกว่า เจตภูต (เระอิ) ในตัวมนุษย์เราเรียกว่าดวงวิญญาณ เพราะฉะนั้น กามิจึงทรงเป็นดวงวิญญาณและดวงวิญญาณก็คือพระผู้เป็นเจ้าความเป็นไปในธรรมชาติและเหตุการณ์ต่างๆ ในจักรวาล ล้วนแต่มาจากการทรงบันดาลของกามิ ดังนั้น การลิขิตและกฎแห่งธรรมชาติทั้งปวงเป็นอย่างเดียวกัน นั้นคือ ทางแห่งเทพเจ้า
ข้อปฏิบัติว่าด้วยเทพเจ้า บรรพบุรุษ และรัฐของชินโตนั้นมีบัญญัติไว้ ดังนี้
1. อย่าล่วงละเมิดน้ำพระทัยของเทพเจ้า
2. อย่าลืมความผูกพันอันมีต่อบรรพบุรุษ
3. อย่าล่วงละเมิดบัญญัติของรัฐ
4. อย่าลืมคามกรุณาอันลึกซึ่งของเทพเจ้าเมื่อเราประสบโชคร้าย ความร้ายนั้นพระองค์ได้มาช่วยให้หมดไป เมื่อมีความเจ็บ
ป่วยพระองค์ก็ได้มาช่วยให้เสื่อมคลายไป
5. อย่าลืมว่าโลกเป็นครอบครัวอันเดียวกัน
6. อย่าลืมขอบเขตจำกัดของตัวท่านเอง
7. ถ้าใครมาโกรธอย่าโกรธตอบ
8. อย่าเกียจคร้านในกิจการของตน
9. อย่าเป็นคนติเตียนคำสอน
10. อย่าหลงละเมอในคำสั่งสอนของชาวต่างชาติ
บุคคลที่ถือว่าเป็นเทพเจ้าที่ต้องนับถือบูชาคือ พระเจ้าจักรพรรดิ วีรบุรุษแห่งชาติ เทพเจ้าแห่งภูเขา, ลำธาร, ต้นไม้, ดอกไม้, ตำบล, เมือง, บ้าน, บ่อน้ำ, ประตู, การเรียน, ความสุข เป็นต้น
ดังนั้น ชินโตจึงสอนให้นับถือเทพเจ้า เพราะวิญญาณส่วนหนึ่งของเทพเจ้าเกิดจากมนุษย์และสอนให้นับถือเรื่องสำคัญ คือ
1.การนับถือเทพเจ้าในฐานะผู้สร้างโลก หรือจักรวาลสูงสุดและเป็นเทววงศ์แห่งชาวญี่ปุ่น
2.การบูชาธรรมชาติ เพราะเป็นพื้นฐานจิตใจที่สะอาดงาม
3.การบูชาผู้กล้าหาญ เพราะเป็นผู้กล้าหาญคือผู้เทิดทูนชาติ อุทิศชีวิตเพื่อชาติและวิญญาณของผู้เสียสละกล้าหาญทุกคนจะได้รับยกย่องว่าเป็นพระเจ้าด้วยกัน
4.การบูชาบรรพบุรุษ เพราะบรรพบุรุษของชาวญี่ปุ่นสืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้า เป็นเหล่ากอของเทพเจ้าองค์เดียวกัน ความเป็นบรรพบุรุษจึงติดต่อกันมาเป็นสายเลือดเดียวกัน
5.การบูชาจักรพรรดิ เพราะสมเด็จพระจักรพรรดิเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากดวงอาทิตย์และสืบสายกันมาโดยไม่ขาดตอน ทรงเป็นโอรสของสวรรค์ สืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์ พระอำนาจต่างๆ ของพระจักรพรรดิ ได้รับมอบมาจากพระอาทิตย์ ดังนั้น อะมะเตรสุ โอมิกามิ หรือ สุริยเทพบรรพบุรุษของชาวญี่ปุ่นจึงได้รับการนับถือและทรงความศักดิ์สิทธิ์ ดังพระราชโองการของพระจักรพรรดิเมยิว่า “พลเมืองทั้งหลายของเราจงรู้ ทุกคนมีหน้าที่ปกป้องและดำรงไว้ซึ่งความรุ่งโรจน์แห่งราชบัลลังก์อันศักดิ์สิทธิ์อยู่บนสวรรค์ เป็นสันตติสืบต่อไปชั่วกาลเป็นนิรันดร”
คุณธรรมพื้นฐาน 4 ประการ คือ
1.ความกล้าหาญ คุณธรรมข้อนี้ต้องนำมาสอนแก่เด็กตั้งแต่เยาว์วัยพอรู้ความได้ สอนไม่ให้ยอมแพ้ต่อความอ่อนแอ ให้กล้าหาญที่จะมีชีวิตอยู่หรือตายได้เมื่อถึงคราวลูกเล็กๆ ต้องสามารถตอบคำถามที่จะตายแทนพ่อแม่ได้
2.ความขลาด ชินโตติเตียนความขลาดว่าเป็นบาป ดังนั้นจึงมีคติว่า บาปทุกอย่างนั้นใหญ่และเล็ก อาจจะได้รับอภัยด้วยความสำนึกผิด ยกเว้น 2 อย่างคือ ความขลาดกับการลักขโมย
3.ความจงรักภักดี ชินโตสอนให้จงรักภักดีต่อจักรพรรดิเป็นอันดับหนึ่ง ต่อมาคือครอบครัว สังคม และผู้สืบสันดานต่อไปภายหน้า
4.ความสะอาด ความเป็นคนไม่สะอาด ชินโตว่าเป็นบาปเป็นความผิดต่อเทพเจ้า ผู้ทำตนให้หมดจดเป็นผู้เคารพและสรรเสริญเทพเจ้า
จากความเชื่อนี้ การอาบน้ำในสังคมญี่ปุ่นจึงเป็นทั้งพิธีกรรมทำตนให้สะอาด และเป็นพิธีกรรมชำระบาปไปด้วย ซึ่งถือว่าเป็นพิธีกรรมลอยบาปในความดูแลของสุริยเทพีที่ทรงคอยช่วยเหลือนำบาปเหล่านั้นออกไปสู่ทะเลหลวง
จริยศาสตร์
ศาสนาชินโตไม่มีจริยศาสตร์ที่กำหนดแน่นอนตายตัวลงเป็นข้อๆว่า จะต้องเว้นความชั่วอะไรบ้างจะประกอบความดีอะไรบ้าง
ในหนังสือ An Outline of Shinto Teachings ( สังเขปคำสอนของศาสนาชินโต)ของคณะกรรมการศาสนาชินโต พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2501 ( ค.ศ. 1958 ) กล่าวถึงเรื่องจริยศาสตร์ โดยชี้ที่จิตใจอันดีงาม 4 ลักษณะคือ
1.หัวใจที่แจ่มใส( อากากิ โกโกโร )
2.หัวใจที่บริสุทธิ์( กิโยกิ โกโกโร )
3.หัวใจที่ถูกต้อง ( ตาดาชิกิ โกโกโร)
4. หัวใจที่ตรง ( นาโอกิ โกโกโร)
มีคำอธิบายว่า หั วใจที่แจ่มใส ย่อมฉายแสงแจ่มใสเหมือนดวงอาทิตย์ หัวใจที่บริสุทธิ์ ย่อมผ่องแผ้วเหมือนเพชรสีขาวบริสุทธิ์ หัวใจที่ถูกต้อง ย่อมแนบแน่นอยู่กับความยุติธรรม หัวใจที่ตรงย่อมน่ารัก และปราศจากความยึดหมั่นในทางที่ผิด ลักษณะที่ดีงามทั้ง 4 ประการนี้ ย่อมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเทพเจ้า
นอกจากนั้นได้รวมลักษณะทั้ง 4 ประการนี้ ในคำญี่ปุ่นคำเดียวกันคือ เซอิเมอิ-ชิน
สิ่งสำคัญในศาสนาชินโต ก็คือ เชื่อฟังคำสอนของเทพเจ้าทั้งหลายและทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ ด้วยความซื่อสัตย์ ภายใต้ความปกป้องของวิญญาณแห่งบรรพบุรุษฉะนั้น บุคคลจึงต้องประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ต่อเทพเจ้าต่อวิญญาณแห่งบรรพบุรุษของตน ก่อนกิจกรรมอื่น
ในคำภีร์ศาสนาชินโต มีข้อความที่แสดงถึงจริยศาตร์ของศาสนานี้เช่น
“ ผู้พูดความจริง จะไม่มีอันตราย ผู้พูดความเท็จจะต้องประสบหายนะอย่างแน่นอน ”
“ จงเว้นความตะกละตะกลาม และสละความละโมบโลภมากเสีย กาทำร้าย (ผู้อื่น) เป็นความชั่วความกล้าหาญเป็นการดี จงเว้นความโกรธเคือง ละเว้นจากกิริยาท่าทางที่แสดงความโกรธเคือง อย่าเป็นคนริษยา ”
คัมภีร์
ศาสนาชินโต มีคัมภีร์ทางศาสนาที่สำคัญ 2 คัมภีร์ คือ โกชิกิ กับ นิฮอนโชกิ หรือนิฮอนคิ
1.คัมภีร์โกชิกิ (Kojiki)
คัมภีร์โกชิกิ รวบรวมขึ้นในปี ค.ศ. 712 (พ.ศ. 1255) แต่เดิมมาทรงจำกันด้วยปากเปล่า คัมภีร์นี้ว่าด้วยเทพนิยายและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ อันเกี่ยวด้วยด้วยราชสำนักของพระจักรพรรดินี สุกิโอ (ค.ศ. 628 หรือ พ.ศ. 1171) เทววิทยา แห่งศาสนาชินโต โดยมากขยายตัวขึ้นจากการตีความในเทพนิยาย คัมภีร์นี้มีรากฐานอยู่กับขนบธรรมเนียมประเพณี กล่าวถึง นิยาย ตำนาน ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวพันกับราชสำนักของพระจักรพรรดิ ส่วนใหญ่เทววิทยาของศาสนาชินโตได้พัฒนาขึ้นจากการตีความในเทพนิยายแห่งคัมภีร์ที่กล่าวนี้ มีผู้กล่าวกันว่า คัมภีร์ศาสนาชินโต มีลักษณะเป็นเทพนิยายผสมประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี ข้อห้าม การปฏิบัติต่อเทพเจ้า
2.คัมภีร์นิฮอนโชกิ (Nihonshoki) หรือนิฮอนคิ (Nihongi)
คัมภีร์นิฮอนโชกินี้ ถือว่าเป็นคลาสสิค คือเป็นวรรณคดีชั้นสูงเป็นคัมภีร์รวม 30 เล่ม 15 เล่มแรก ว่าด้วยเทพนิยายและนิยายต่างๆ 15 เล่มว่าด้วยข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือกันมากที่สุด รวบรวมขึ้น ณ ราชสำนักในปี ค.ศ. 720 (พ.ศ. 1263) เป็นอักษรจีน (ในสมัยโบราณญี่ปุ่นใช้อักษรจีน) อันเป็นระยะเวลาที่มีการติดต่อกับชนชาติในทวีปยุโรปใหม่ๆ และเป็นสมัยที่จิตใจของประชาชนกำลังสูงคัมภีร์นี้บรรยายเป็นรูปประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยแห่งบเทพเจ้าทั้งหลาย จนถึงรัชสมัยของจักรพรรดินี ชิโต (ค.ศ. 702 พ.ศ. 1245)
นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์อื่นอีกหลายคัมภีร์ ดังต่อไปนี้
3.คัมภีร์โกโคชูอิ (Kogo Shui)
นับแต่คัมภีร์นี้เป็นต้นไป มีความสำคัญรองจากสองคัมภีร์ช่วงต้น อิมเบ ฮิโรนาริ เป็นผู้แต่งคัมภีร์โกโคชูอิ เป็นหนังสือที่อธิบายความหมายแห่งถ้อยคำและการปฏิบัติพิธีกรรมโบราณ แสดงถึงความคิดเห็นของผู้แต่งเองเกี่ยวกับศาลเทพเจ้าที่อิเสกและอัทสุตุ และเกี่ยวกับสถานะแห่งสกุลของผู้แต่งซึ่งสัมพันธ์กับสกุลนากาโตมิ และฐานะแห่งสกุลนากาโตมิ
4.คัมภีร์มันโยซู (Munyo Shiu)
คัมภีร์นี้ประมวลบทกวีเก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น ประกอบด้วย บทกวี 4,500 บท เป็นบทนิพนธ์ของบุคคลตำแหน่งต่างๆ ตั้งแต่พระจักรพรรดิจนถึงชาวนา บทกวีเหล่านี้มีความสำคัญมากในการแสดงถึงความรู้สึกอันยิ่งใหญ่และความรู้สึกแบบธรรมดาๆ ออกมาอย่างตรงๆ ที่สำคัญคือ ทำให้รู้ถึงความเชื่อ ขนบประเพณี และความคิดทางศาสนาของคนสมัยโบราณ
5.คัมภีร์ฟูโดกิ (Fudoki)
คัมภีร์นี้แสดงถึงภูมิศาสตร์ส่วนภูมิภาค ฝ่ายปกครองทำรายงานเสนอราชสำนักเพื่อให้พระจักรพรรดิทรงรู้นามเดิมทางภูมิศาสตร์ ความสมบูรณ์ของพื้นที่ นิทานและนิยายอันเก่าแก่แห่งท้องถิ่น
6.คัมภีร์ไตโฮรโย (Taiho – ryo)
คัมภีร์นี้มีความสำคัญเท่ากับคัมภีร์กฎหมายโบราณที่สำคัญของญี่ปุ่น ข้อความในคัมภีร์นี้ให้ประโยชน์ในการเล่าให้ทราบว่า สำนักราชการแห่งไหนนับว่ามีความสำคัญสูงสุดในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบูชาในศาสนาชินโต
7.คัมภีร์เยนงิชิกิ Yengi – shiki)
คัมภีร์นี้ประมวลกฎเกณฑ์ละเอียดละออเกี่ยวกับการบริหารงานของรัฐบาล เป็นคัมภีร์รวม 50 เล่ม เนื้อหาว่าด้วยกฎมณเฑียรบาลแห่งราชสำนักพระจักรพรรดิอย่างละเอียด เช่น กล่าวถึงพระราชพิธี มารยาทเนื่องด้วยราชสำนัก ข้อปฏิบัติอันเหมาะสมตลอดจนการบริหารส่วนภูมิภาค เป็นต้น ที่นับว่าสำคัญคือ 10 เล่มแรก ในคัมภีร์นี้กล่าวถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับศาสนาชินโต จึงถือกันว่ามีค่ามากในการช่วยการศึกษาศาสนา กล่าวกันว่าเมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายนี้ ก็เท่ากับให้กำเนิดศาสนาชินโตอย่างเป็นทางราชการเป็นลายลักษณ์อักษรตั้งแต่นั้นมา
พิธีกรรม
ในศาสนาชินโต สอนให้คนญี่ปุ่นประกอบพิธีกรรมคือ การไหว้เทวสถานหรือศาลเจ้าด้วยการแสดงความเคารพ การแต่งตัวให้สะอาดเข้าไปโค้งคำนับตรงหน้าศาลเจ้า หลับตาปรบมือเรียกดวงวิญญาณรับการกราบไหว้ ถ้าไม่ปรบมือก็ให้ยืนนิ่งๆ อยู่ครู่หนึ่งแล้วจึงกลับออกไป
ในการบูชาเทพเจ้านั้น ข้อมุ่งหมายอันยิ่งใหญ่เพื่อให้ความเป็นไปแห่งชีวิตของผู้บูชากลมกลืนเข้ากันได้กับเทพเจ้า เมื่อได้ทำให้เทพเจ้าพอใจได้ ก็ได้ชื่อว่ากระทำสิ่งอันเป็นสวัสดิมงคล
อุปกรณ์ในการบูชา คือ เหล้าสาเก 4 ถ้วย ข้าวปั้น 16 ก้อน ปลาสด ผลไม้ที่ออกผลครั้งแรกในฤดูกาล สาหร่ายทะเลเป็นต้น
ชินโตสอนให้ชำระล้างจิตใจและร่างกายให้สะอาดว่าเป็นการลอยบาป ดังข้อความว่า บรรดาเครื่องเซ่นสรวงสังเวยให้ทิ้งลงแม่น้ำหรือทะเล เป็นการทำบาปของผู้กระทำให้ลอยน้ำไป
ในวันเทศกาลหรือวันนักขัตฤกษ์ มีขบวนแห่ มีการบรรเลงดนตรีและเต้นรำ พระมีหน้าที่ทำพิธีอ่านบทสวดเบี้องหน้าเทพเจ้าแห่งศาลเจ้าเพื่ออำนวยสวัสดิมงคล ให้เก็บเกี่ยวได้ผลดี ให้บ้านเรือนมีความสุข ให้มีผลสำเร็จในการสงคราม ให้การปกครองเป็นไปด้วยดี และให้พระจักรพรรดิทรงดำรงอยู่ในราชสมบัติยั่งยืนนาน
มีผู้ให้ข้อสังเกตว่าพระในศาสนาชินโต จะเกี่ยวข้องกับประชาชนในพิธีกรรมต่างๆก็จริง แต่จะเกี่ยวข้องเฉพาะมีชีวิตอยู่เท่านั้น ส่วนการทำพิธีเมื่อตายแล้ว เพราะในศาสนาชินโตไม่เกี่ยวข้อง แต่เป็นหน้าที่พระในพระพุทธศาสนา เพราะเหตุนี้จึงไม่เป็นการแปลกที่ชาวญี่ปุ่นนับถือศาสนาชินโตและศาสนาพุทธรวมกัน เพราะแต่ละศาสนาก็แบ่งหน้าที่ในการทำพิธีกรรมให้รับช่วงกันได้เป็นคราวๆ ไป
ความเชื่อในบรรพบุรุษ มีความสำคัญไม่น้อยกว่าความเชื่อในเทพเจ้า เขาถือว่าบุคคลจะเจริญรุ่งเรืองขึ้นด้วยประการใดๆ ก็ตาม ย่อมไม่ได้มาจากเหตุเพียงตัวเขาคนเดียว แต่เนื่องมากจากเหตุภายนอกด้วย เหตุภายนอกดังกล่าวนี้ อย่างหนึ่ง ได้แก่บรรพบุรุษของตน ซึ่งมีส่วนเกี่ยวพันกันทางสายโลหิตและสาระสำคัญของวิญญาณของคนในตระกูลเดียวกันย่อมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากเหตุภายนอกของบรรพบุรุษแล้วเทพเจ้าก็มีส่วนสำคัญอีกแระการหนึ่ง ที่มีส่วนสร้างสรรค์ดลบันดาลให้สิ่งทั้งหลายเป็นไปอย่างนั้นอย่างนี้ การบูชาบรรพบุรุษและบูชาเทพเจ้าจึงเป็นสาระสำคัญของศาสนาชินโต ด้วย
นิกาย
เดิมทีการนับถือศาสนาชินโตของชาวญี่ปุ่น นับถือศาสนาเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.ประเพณีบูชาบรรพบุรุษ 2.การครองชีวิต การปฏิบัติตามการนำทางของเทพเจ้า
การนับถือศาสนาชินโตในลักษณะนี้ยังไม่มี่นิกาย เป็นชินโตแห่งราชสำนักพระจักรพรรดิและที่มีศาลเป็นที่เคารพทั่วไป ภายหลังได้เกิดมีชินโตนิกายต่างๆ มีผู้ตั้งนิกาย มีคำสอน และคัมภีร์เกิดแยกขึ้นไปจากคัมภีร์เดิม
นิกายศาสนาชินโตแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ศาสนาชินโตของทางราชการและศาสนาชินโตที่แยกออกเป็นนิกายต่างๆ นั้น ภาษาญี่ปุ่นที่ตรงกับคำอังกฤษว่า สเตทชินโต คือ คำว่า ก๊กกะชินโต และที่ตรงกับคำอังกฤษว่า เชคทาเรียนชินโต คือ คำว่า เรียวหะชินโต
1.ก๊กกะชินโต
ก๊กกะชินโต ได้แก่ ชินโตที่เป็นของรัฐหรือทางราชการ ในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางราชการของญี่ปุ่นได้แยกประเพณีทางศาสนาแห่งราชสำนักพระจักรพรรดิ และแห่งศาลเทพเจ้าออกจากประเพณีของศาสนาอื่นๆ พิธีกรรมในปูชนียสถานและการศึกษา ได้ดำเนินไปในฐานะเป็นระบบของประชาชน โดยมีรัฐบาลเข้าเกี่ยวข้องในการบริหารและควบคุมนโยบาย
วัตถุประสงค์ของการตั้งนิกายก๊กกะชินโต คือ เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแก่ชาติบ้านเมือง เพื่อความปลอดภัยของราชสำนักพระจักรพรรดิ เพื่อความผาสุกของประชาชน และเป็นพระที่เทพเจ้าอำนวยให้
2.เรียวหะ ชินโต
เรียวหะ ชินโต ได้แก่ ชินโตฝ่ายประชาชน หรือศาสนาชินโตที่แยกเป็นนิกายต่างๆ หรือ กลุ่มแห่งกระบวนการทางศาสนาที่อิงอยู่กับศาสนาประจำชาติของญี่ปุ่น แต่แยกนิกายหรือกลุ่มอิสระ เนื่องจากศาสนิกที่มีความรู้ทางศาสนา แต่มีแนวความคิดไม่ตรงกับหลักการศาสนาเดิม ก็ตั้งกลุ่มหรือนิกายของตนเองขึ้นมา มีด้วยกันทั้งหมดประมาณ 13 นิกาย และทั้ง 13 นิกายนั้น มีวิธีจัดประเภทเป็น 2 แบบดังนี้
แบบที่ 1 จัดเป็น 5 หมวดใหญ่ คือ
หมวดที่ 1 นิกายชินโตบริสุทธิ์ มี 3 นิกาย คือ ชินโต ฮองเกียวกุ โตเกียว รินชิเกียว และไตชาเกียว
หมวดที่ 2 นิกายชินโตผสมขงจื๊อ มีสองนิกาย คือ ชูเชหะ และโตเชเกียว
หมวดที่ 3 นิกายบูชาภูเขาเป็นเทพเจ้า มี 3 นิกาย คือ ยิกโตเกียว ฟูเชเกียว และมิตาเกะเกียว
หมวดที่ 4 นิกายทำให้บริสุทธิ์ หรือลัทธิชำระบาป มี 2 นิกาย คือ ชินชูเกียว และมิโชงิ
หมวดที่ 5 นิกายรักษาโรคด้วยความเชื่อ มี 3 นิกาย คือ ฟูโรชิเกียว คองโกเกียว และเทนริเกียว
แบบที่ 2 จัดเป็น 3 หมวดใหญ่ คือ
หมวดที่ 1 เกี่ยวเนื่องกับหลักการแห่งศาสนาชินโตโบราณ มี 3 นิกาย
หมวดที่ 2 รวมเอาศาสนาอื่นที่เข้ามาเผยแผ่ในประเทศญี่ปุ่น เข้าผสมกับศาสนาชินโตโบราณ มี 5 นิกาย
หมวดที่ 3 มีจุดรวมสำคัญอยู่ที่ผู้ตั้งนิกายใหม่ทั้งชายและหญิง มี 5 นิกาย
******
โดยมากเมื่อกล่าวถึงศาสนาชินโต ก็เป็นที่รู้จักทั่วไปว่าไม่มีศาสดาหรือผู้ตั้งศาสนา เพราะศาสนาชินโต เป็นศาสนาที่สืบเนื่องมาจากขนบประเพณีในการบูชาบรรพบุรุษและบูชาเทพเจ้า แต่เมื่อแบ่งศาสนาชินโตออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
1.ชินโตที่เป็นรัฐ ( State Shinto )หรือ ชินโตศาสเทพเจ้า(Shrine Shinto)
2.ชินโตที่เป็นนิกาย ( Sectarian Shinto ) เช่น นิกายเทนรีกโย มีนางนากายามาเป็นศาสดาพยากรณ์
นิกายกอนโก มีกอนโก เป็นศาสดาพยากรณ์ ศาสนาเหล่านี้เป็นศาสนาใหม่
1. มิกิ นากายามา เป็นบุตรีของชาวนา แห่งจังหวัดยามโต เกิดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1798 (พ.ศ. 2341) เมื่อเธออายุได้ 41 ปี พระเจ้าผู้เป็นบิดาได้ลงมาถือเอาตัวเธอเป็นเสมือนหนึ่งโบสถ์ที่มีชีวิตหรือโบสถ์เดินได้ของพระองค์ เธอได้สั่งสอนอ้างนามของพระเจ้า มีผู้นับถือเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และได้ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 90 ปี ในปัจจุบัน ศาสนาเทนรีกโย นับเป็นศาสนาใหญ่ศาสนาหนึ่งของญี่ปุ่น มีกิจกรรมก้าวหน้าและทันสมัย (ผู้สนใจรายละเอียดมากกว่านี้โปรดอ่านเอกสารของศาสนาเทนรีกโย ซึ่งพิมพ์เผยแผ่เป็นภาษาอังกฤษหลายเล่ม เช่น The Doctrine of Tenrikyo และอื่นๆ ซึ่งน่าสังเกตว่า มีทุนในการเผยแผ่มาก แม้ทุนในการสร้างสถานศึกษา และศาสนสถานก็มาก ผู้เคยไปเมืองเทนรี และเคยไปพัก ณ อาคารรับรองของศาสนานี้มาแล้วจะมีความรู้สึกสนใจในความก้าวหน้าแห่งการดำเนินงานของศาสนานี้) ความจริงคำว่า เทนรี ในที่นี้หมายถึงเมืองเทนรี หรือหมายถึงพระนามของพระเจ้าซึ่งขึ้นต้นว่า “เทนรี” จากคำว่า “เทนรี-โอ-โน-มิโกโต” ลักษณะของพระเจ้าในศาสนานี้เป็นผู้สร้างโลก เป็นต้นเดิมแห่งสิ่งทั้งปวงเช่นเดียวกับพระเจ้าในศาสนาอื่นๆ
2. กอนโก ไดชิน ซึ่งเป็นผู้ตั้งศาสนา กอนโกกโย หรือศาสนากอนโกนั้น เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1814 (พ.ศ. 2357) และถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 69 ปี เมื่อกอนโกอายุได้ 46 ปี เสียงของพระเจ้าผู้เป็นบิดาแห่งสากลโลกก็ได้ปรากฎลงมาเรียกร้องให้กอนโกดำเนินงานเพื่อช่วยมนุษยชาติให้ปลอดภัย ดังข้อความในคัมภีรซึ่งอ้างกันว่า เป็นคำของพระเจ้า ดังต่อไปนี้
“บุตรทั้งหลายของพระเจ้า ที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ไม่รู้ถึงความรักของพระองค์ ปฏิบัติผิดหรือไม่เชื่อฟังพระประสงค์ของพระองค์โดยไม่รู้ตัว จึงเกิดความทุกข์ยากเดือดร้อนและเกิดความรู้สึกมืดมนต่อพรของพระเจ้า บัดนี้พระเจ้าได้ส่งกอนโกไดชิน มาสู่บุตรทั้งหลายของพระองค์ เพื่อที่จะให้บุตรเหล่านั้นได้รู้แจ้งความจริงที่ว่า พระเจ้าทรงถือว่าความสุขความเจริญของบุตรทั้งหลายของพระองค์เป็นเหมือนของพระองค์เอง ซึ่งความมีความเป็นของพระองค์เกี่ยวข้องอยู่โดยตรง”
แนวคิดเรื่องนรกสวรรค์
ชินโตไม่พูดถึงเรื่องโลกหน้า เป็นเรื่องของชีวิตในโลกนี้เพียงอย่างเดียว เชื่อว่า วิญญาณเป็นของไม่ตาย คนตายเท่ากับเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวใหม่ ดวงวิญญาณไม่สูญไปทางไหน และไม่มีโอกาสจะไป ถ้าจะไปสักแห่งหนึ่ง ก็คือไปหาร่างใหม่ คือไปหาเครื่องแต่งตัวใหม่
แนวคิดเรื่องจุดหมายปลายทาง
1.จุดหมายปลายทาง คือ เมื่อตายไปแล้วก็จะไปเป็นเทพเจ้า
2.วิธีปฏิบัติ เมื่อมีชีวิตอยู่ พึงจงรักภักดีต่อเทพเจ้า อันแสดงออกในรูปของการเชื่อฟังเจตนาของเทพเจ้า
และประกอบพิธีกรรมบูชาเทพเจ้าและวิญญาณแห่งบรรพบุรุษ รวมทั้งการประกอบความดีเพื่อให้ได้พรและความคุ้มครอง
แจากเทพเจ้า
3.ชีวิตในโลกนี้ มีเพียงครั้งเดียว ตายไปแล้วก็เป็นวิญญาณ มีโลกอยู่อีกโลกหนึ่งอย่างสัมพันธ์กับโลกนี้โดยทางวิญญาณ และ
แวิญญาณในโลกของผู้ตายนั้นอาจเลื่อนฐานะสูงขึ้นจนเป็นเทพเจ้าได้ในที่สุด
วิธีปฏิบัติในศาสนา
หลักปฏิบัติที่สำคัญคือ ต้องมีความจงรักภักดีต่อเทพเจ้าและจักรพรรดิบริสุทธิ์ มีหลักปฏิบัติที่ทำให้จิตใจสะอาดบริสุทธิ์ เมื่อสิ้นชีพจะไปสู่ภาวะเป็นอันเดียวกับเทพเจ้า
หลักธรรม
ศาสนาชินโตมีลักษณะเป็นพหุเทวนิยม ผสมผสานด้วยคำสอนในศาสนาอื่นที่แพร่หลายเข้าไปในญี่ปุ่น คือ ศาสนาขงจื๊อ และพระพุทธศาสนา หลักธรรมสำคัญจึงบัญญัติเพื่อสนับสนุนวัฒนธรรมและประเพณีของญี่ปุ่น โดยการบัญญัติไว้เป็นหมวดหมู่ เน้นความศรัทธาในเทพเจ้า จักรพรรดิ และวิญญาณบรรพบุรุษเป็นสำคัญ
เนื่องจากศาสนาชินโตวิวัฒนาการขึ้นมาจากความเชื่อเรื่องภูติผี เทวดา เป็นลัทธิที่ถือเวทมนต์คาถา ลัทธิเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณธัญญาหาร และการบูชาธรรมชาติ บรรพบุรุษและวีรบุรุษในชั้นแรกไม่ปรากฏคำสอนทางจริยธรรมที่เป็นระบบระเบียบทางสังคม ต่อมาเมื่อศาสนาขงจื๊อและพระพุทธศาสนาเผยแพร่เข้าไปในญี่ปุ่น ชินโตจึงได้ผสมผสานกับศาสนาทั้งสอง ชาวญี่ปุ่นจึงถือว่า ชินโตเป็นพื้นฐานของประเทศ ขงจื๊อเป็นทางปฏิบัติ และพระพุทธศาสนาเป็นสติปัญญา
ในเรื่องจักรวาลชินโตสอนว่า กามิ (Kami) หรือเทพเจ้าเป็นเจตภูตที่ไม่มีรูปร่างผู้ไม่ได้อยู่เหนือจักรวาลไม่เปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร มีอยู่เริ่มแต่มีฟ้าและดินเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ ในเรื่องจักรวาลเราเรียกว่า กามิ ในเรื่องการที่มีธรรมชาติมีปฏิกิริยาต่อกันเราเรียกว่า เจตภูต (เระอิ) ในตัวมนุษย์เราเรียกว่าดวงวิญญาณ เพราะฉะนั้น กามิจึงทรงเป็นดวงวิญญาณและดวงวิญญาณก็คือพระผู้เป็นเจ้าความเป็นไปในธรรมชาติและเหตุการณ์ต่างๆ ในจักรวาล ล้วนแต่มาจากการทรงบันดาลของกามิ ดังนั้น การลิขิตและกฎแห่งธรรมชาติทั้งปวงเป็นอย่างเดียวกัน นั้นคือ ทางแห่งเทพเจ้า
ข้อปฏิบัติว่าด้วยเทพเจ้า บรรพบุรุษ และรัฐของชินโตนั้นมีบัญญัติไว้ ดังนี้
1. อย่าล่วงละเมิดน้ำพระทัยของเทพเจ้า
2. อย่าลืมความผูกพันอันมีต่อบรรพบุรุษ
3. อย่าล่วงละเมิดบัญญัติของรัฐ
4. อย่าลืมคามกรุณาอันลึกซึ่งของเทพเจ้าเมื่อเราประสบโชคร้าย ความร้ายนั้นพระองค์ได้มาช่วยให้หมดไป เมื่อมีความเจ็บ
ป่วยพระองค์ก็ได้มาช่วยให้เสื่อมคลายไป
5. อย่าลืมว่าโลกเป็นครอบครัวอันเดียวกัน
6. อย่าลืมขอบเขตจำกัดของตัวท่านเอง
7. ถ้าใครมาโกรธอย่าโกรธตอบ
8. อย่าเกียจคร้านในกิจการของตน
9. อย่าเป็นคนติเตียนคำสอน
10. อย่าหลงละเมอในคำสั่งสอนของชาวต่างชาติ
บุคคลที่ถือว่าเป็นเทพเจ้าที่ต้องนับถือบูชาคือ พระเจ้าจักรพรรดิ วีรบุรุษแห่งชาติ เทพเจ้าแห่งภูเขา, ลำธาร, ต้นไม้, ดอกไม้, ตำบล, เมือง, บ้าน, บ่อน้ำ, ประตู, การเรียน, ความสุข เป็นต้น
ดังนั้น ชินโตจึงสอนให้นับถือเทพเจ้า เพราะวิญญาณส่วนหนึ่งของเทพเจ้าเกิดจากมนุษย์และสอนให้นับถือเรื่องสำคัญ คือ
1.การนับถือเทพเจ้าในฐานะผู้สร้างโลก หรือจักรวาลสูงสุดและเป็นเทววงศ์แห่งชาวญี่ปุ่น
2.การบูชาธรรมชาติ เพราะเป็นพื้นฐานจิตใจที่สะอาดงาม
3.การบูชาผู้กล้าหาญ เพราะเป็นผู้กล้าหาญคือผู้เทิดทูนชาติ อุทิศชีวิตเพื่อชาติและวิญญาณของผู้เสียสละกล้าหาญทุกคนจะได้รับยกย่องว่าเป็นพระเจ้าด้วยกัน
4.การบูชาบรรพบุรุษ เพราะบรรพบุรุษของชาวญี่ปุ่นสืบเชื้อสายมาจากเทพเจ้า เป็นเหล่ากอของเทพเจ้าองค์เดียวกัน ความเป็นบรรพบุรุษจึงติดต่อกันมาเป็นสายเลือดเดียวกัน
5.การบูชาจักรพรรดิ เพราะสมเด็จพระจักรพรรดิเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากดวงอาทิตย์และสืบสายกันมาโดยไม่ขาดตอน ทรงเป็นโอรสของสวรรค์ สืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์ พระอำนาจต่างๆ ของพระจักรพรรดิ ได้รับมอบมาจากพระอาทิตย์ ดังนั้น อะมะเตรสุ โอมิกามิ หรือ สุริยเทพบรรพบุรุษของชาวญี่ปุ่นจึงได้รับการนับถือและทรงความศักดิ์สิทธิ์ ดังพระราชโองการของพระจักรพรรดิเมยิว่า “พลเมืองทั้งหลายของเราจงรู้ ทุกคนมีหน้าที่ปกป้องและดำรงไว้ซึ่งความรุ่งโรจน์แห่งราชบัลลังก์อันศักดิ์สิทธิ์อยู่บนสวรรค์ เป็นสันตติสืบต่อไปชั่วกาลเป็นนิรันดร”
คุณธรรมพื้นฐาน 4 ประการ คือ
1.ความกล้าหาญ คุณธรรมข้อนี้ต้องนำมาสอนแก่เด็กตั้งแต่เยาว์วัยพอรู้ความได้ สอนไม่ให้ยอมแพ้ต่อความอ่อนแอ ให้กล้าหาญที่จะมีชีวิตอยู่หรือตายได้เมื่อถึงคราวลูกเล็กๆ ต้องสามารถตอบคำถามที่จะตายแทนพ่อแม่ได้
2.ความขลาด ชินโตติเตียนความขลาดว่าเป็นบาป ดังนั้นจึงมีคติว่า บาปทุกอย่างนั้นใหญ่และเล็ก อาจจะได้รับอภัยด้วยความสำนึกผิด ยกเว้น 2 อย่างคือ ความขลาดกับการลักขโมย
3.ความจงรักภักดี ชินโตสอนให้จงรักภักดีต่อจักรพรรดิเป็นอันดับหนึ่ง ต่อมาคือครอบครัว สังคม และผู้สืบสันดานต่อไปภายหน้า
4.ความสะอาด ความเป็นคนไม่สะอาด ชินโตว่าเป็นบาปเป็นความผิดต่อเทพเจ้า ผู้ทำตนให้หมดจดเป็นผู้เคารพและสรรเสริญเทพเจ้า
จากความเชื่อนี้ การอาบน้ำในสังคมญี่ปุ่นจึงเป็นทั้งพิธีกรรมทำตนให้สะอาด และเป็นพิธีกรรมชำระบาปไปด้วย ซึ่งถือว่าเป็นพิธีกรรมลอยบาปในความดูแลของสุริยเทพีที่ทรงคอยช่วยเหลือนำบาปเหล่านั้นออกไปสู่ทะเลหลวง
จริยศาสตร์
ศาสนาชินโตไม่มีจริยศาสตร์ที่กำหนดแน่นอนตายตัวลงเป็นข้อๆว่า จะต้องเว้นความชั่วอะไรบ้างจะประกอบความดีอะไรบ้าง
ในหนังสือ An Outline of Shinto Teachings ( สังเขปคำสอนของศาสนาชินโต)ของคณะกรรมการศาสนาชินโต พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2501 ( ค.ศ. 1958 ) กล่าวถึงเรื่องจริยศาสตร์ โดยชี้ที่จิตใจอันดีงาม 4 ลักษณะคือ
1.หัวใจที่แจ่มใส( อากากิ โกโกโร )
2.หัวใจที่บริสุทธิ์( กิโยกิ โกโกโร )
3.หัวใจที่ถูกต้อง ( ตาดาชิกิ โกโกโร)
4. หัวใจที่ตรง ( นาโอกิ โกโกโร)
มีคำอธิบายว่า หั วใจที่แจ่มใส ย่อมฉายแสงแจ่มใสเหมือนดวงอาทิตย์ หัวใจที่บริสุทธิ์ ย่อมผ่องแผ้วเหมือนเพชรสีขาวบริสุทธิ์ หัวใจที่ถูกต้อง ย่อมแนบแน่นอยู่กับความยุติธรรม หัวใจที่ตรงย่อมน่ารัก และปราศจากความยึดหมั่นในทางที่ผิด ลักษณะที่ดีงามทั้ง 4 ประการนี้ ย่อมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเทพเจ้า
นอกจากนั้นได้รวมลักษณะทั้ง 4 ประการนี้ ในคำญี่ปุ่นคำเดียวกันคือ เซอิเมอิ-ชิน
สิ่งสำคัญในศาสนาชินโต ก็คือ เชื่อฟังคำสอนของเทพเจ้าทั้งหลายและทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ ด้วยความซื่อสัตย์ ภายใต้ความปกป้องของวิญญาณแห่งบรรพบุรุษฉะนั้น บุคคลจึงต้องประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ต่อเทพเจ้าต่อวิญญาณแห่งบรรพบุรุษของตน ก่อนกิจกรรมอื่น
ในคำภีร์ศาสนาชินโต มีข้อความที่แสดงถึงจริยศาตร์ของศาสนานี้เช่น
“ ผู้พูดความจริง จะไม่มีอันตราย ผู้พูดความเท็จจะต้องประสบหายนะอย่างแน่นอน ”
“ จงเว้นความตะกละตะกลาม และสละความละโมบโลภมากเสีย กาทำร้าย (ผู้อื่น) เป็นความชั่วความกล้าหาญเป็นการดี จงเว้นความโกรธเคือง ละเว้นจากกิริยาท่าทางที่แสดงความโกรธเคือง อย่าเป็นคนริษยา ”
คัมภีร์
ศาสนาชินโต มีคัมภีร์ทางศาสนาที่สำคัญ 2 คัมภีร์ คือ โกชิกิ กับ นิฮอนโชกิ หรือนิฮอนคิ
1.คัมภีร์โกชิกิ (Kojiki)
คัมภีร์โกชิกิ รวบรวมขึ้นในปี ค.ศ. 712 (พ.ศ. 1255) แต่เดิมมาทรงจำกันด้วยปากเปล่า คัมภีร์นี้ว่าด้วยเทพนิยายและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ อันเกี่ยวด้วยด้วยราชสำนักของพระจักรพรรดินี สุกิโอ (ค.ศ. 628 หรือ พ.ศ. 1171) เทววิทยา แห่งศาสนาชินโต โดยมากขยายตัวขึ้นจากการตีความในเทพนิยาย คัมภีร์นี้มีรากฐานอยู่กับขนบธรรมเนียมประเพณี กล่าวถึง นิยาย ตำนาน ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวพันกับราชสำนักของพระจักรพรรดิ ส่วนใหญ่เทววิทยาของศาสนาชินโตได้พัฒนาขึ้นจากการตีความในเทพนิยายแห่งคัมภีร์ที่กล่าวนี้ มีผู้กล่าวกันว่า คัมภีร์ศาสนาชินโต มีลักษณะเป็นเทพนิยายผสมประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี ข้อห้าม การปฏิบัติต่อเทพเจ้า
2.คัมภีร์นิฮอนโชกิ (Nihonshoki) หรือนิฮอนคิ (Nihongi)
คัมภีร์นิฮอนโชกินี้ ถือว่าเป็นคลาสสิค คือเป็นวรรณคดีชั้นสูงเป็นคัมภีร์รวม 30 เล่ม 15 เล่มแรก ว่าด้วยเทพนิยายและนิยายต่างๆ 15 เล่มว่าด้วยข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือกันมากที่สุด รวบรวมขึ้น ณ ราชสำนักในปี ค.ศ. 720 (พ.ศ. 1263) เป็นอักษรจีน (ในสมัยโบราณญี่ปุ่นใช้อักษรจีน) อันเป็นระยะเวลาที่มีการติดต่อกับชนชาติในทวีปยุโรปใหม่ๆ และเป็นสมัยที่จิตใจของประชาชนกำลังสูงคัมภีร์นี้บรรยายเป็นรูปประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยแห่งบเทพเจ้าทั้งหลาย จนถึงรัชสมัยของจักรพรรดินี ชิโต (ค.ศ. 702 พ.ศ. 1245)
นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์อื่นอีกหลายคัมภีร์ ดังต่อไปนี้
3.คัมภีร์โกโคชูอิ (Kogo Shui)
นับแต่คัมภีร์นี้เป็นต้นไป มีความสำคัญรองจากสองคัมภีร์ช่วงต้น อิมเบ ฮิโรนาริ เป็นผู้แต่งคัมภีร์โกโคชูอิ เป็นหนังสือที่อธิบายความหมายแห่งถ้อยคำและการปฏิบัติพิธีกรรมโบราณ แสดงถึงความคิดเห็นของผู้แต่งเองเกี่ยวกับศาลเทพเจ้าที่อิเสกและอัทสุตุ และเกี่ยวกับสถานะแห่งสกุลของผู้แต่งซึ่งสัมพันธ์กับสกุลนากาโตมิ และฐานะแห่งสกุลนากาโตมิ
4.คัมภีร์มันโยซู (Munyo Shiu)
คัมภีร์นี้ประมวลบทกวีเก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น ประกอบด้วย บทกวี 4,500 บท เป็นบทนิพนธ์ของบุคคลตำแหน่งต่างๆ ตั้งแต่พระจักรพรรดิจนถึงชาวนา บทกวีเหล่านี้มีความสำคัญมากในการแสดงถึงความรู้สึกอันยิ่งใหญ่และความรู้สึกแบบธรรมดาๆ ออกมาอย่างตรงๆ ที่สำคัญคือ ทำให้รู้ถึงความเชื่อ ขนบประเพณี และความคิดทางศาสนาของคนสมัยโบราณ
5.คัมภีร์ฟูโดกิ (Fudoki)
คัมภีร์นี้แสดงถึงภูมิศาสตร์ส่วนภูมิภาค ฝ่ายปกครองทำรายงานเสนอราชสำนักเพื่อให้พระจักรพรรดิทรงรู้นามเดิมทางภูมิศาสตร์ ความสมบูรณ์ของพื้นที่ นิทานและนิยายอันเก่าแก่แห่งท้องถิ่น
6.คัมภีร์ไตโฮรโย (Taiho – ryo)
คัมภีร์นี้มีความสำคัญเท่ากับคัมภีร์กฎหมายโบราณที่สำคัญของญี่ปุ่น ข้อความในคัมภีร์นี้ให้ประโยชน์ในการเล่าให้ทราบว่า สำนักราชการแห่งไหนนับว่ามีความสำคัญสูงสุดในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบูชาในศาสนาชินโต
7.คัมภีร์เยนงิชิกิ Yengi – shiki)
คัมภีร์นี้ประมวลกฎเกณฑ์ละเอียดละออเกี่ยวกับการบริหารงานของรัฐบาล เป็นคัมภีร์รวม 50 เล่ม เนื้อหาว่าด้วยกฎมณเฑียรบาลแห่งราชสำนักพระจักรพรรดิอย่างละเอียด เช่น กล่าวถึงพระราชพิธี มารยาทเนื่องด้วยราชสำนัก ข้อปฏิบัติอันเหมาะสมตลอดจนการบริหารส่วนภูมิภาค เป็นต้น ที่นับว่าสำคัญคือ 10 เล่มแรก ในคัมภีร์นี้กล่าวถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับศาสนาชินโต จึงถือกันว่ามีค่ามากในการช่วยการศึกษาศาสนา กล่าวกันว่าเมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายนี้ ก็เท่ากับให้กำเนิดศาสนาชินโตอย่างเป็นทางราชการเป็นลายลักษณ์อักษรตั้งแต่นั้นมา
พิธีกรรม
ในศาสนาชินโต สอนให้คนญี่ปุ่นประกอบพิธีกรรมคือ การไหว้เทวสถานหรือศาลเจ้าด้วยการแสดงความเคารพ การแต่งตัวให้สะอาดเข้าไปโค้งคำนับตรงหน้าศาลเจ้า หลับตาปรบมือเรียกดวงวิญญาณรับการกราบไหว้ ถ้าไม่ปรบมือก็ให้ยืนนิ่งๆ อยู่ครู่หนึ่งแล้วจึงกลับออกไป
ในการบูชาเทพเจ้านั้น ข้อมุ่งหมายอันยิ่งใหญ่เพื่อให้ความเป็นไปแห่งชีวิตของผู้บูชากลมกลืนเข้ากันได้กับเทพเจ้า เมื่อได้ทำให้เทพเจ้าพอใจได้ ก็ได้ชื่อว่ากระทำสิ่งอันเป็นสวัสดิมงคล
อุปกรณ์ในการบูชา คือ เหล้าสาเก 4 ถ้วย ข้าวปั้น 16 ก้อน ปลาสด ผลไม้ที่ออกผลครั้งแรกในฤดูกาล สาหร่ายทะเลเป็นต้น
ชินโตสอนให้ชำระล้างจิตใจและร่างกายให้สะอาดว่าเป็นการลอยบาป ดังข้อความว่า บรรดาเครื่องเซ่นสรวงสังเวยให้ทิ้งลงแม่น้ำหรือทะเล เป็นการทำบาปของผู้กระทำให้ลอยน้ำไป
ในวันเทศกาลหรือวันนักขัตฤกษ์ มีขบวนแห่ มีการบรรเลงดนตรีและเต้นรำ พระมีหน้าที่ทำพิธีอ่านบทสวดเบี้องหน้าเทพเจ้าแห่งศาลเจ้าเพื่ออำนวยสวัสดิมงคล ให้เก็บเกี่ยวได้ผลดี ให้บ้านเรือนมีความสุข ให้มีผลสำเร็จในการสงคราม ให้การปกครองเป็นไปด้วยดี และให้พระจักรพรรดิทรงดำรงอยู่ในราชสมบัติยั่งยืนนาน
มีผู้ให้ข้อสังเกตว่าพระในศาสนาชินโต จะเกี่ยวข้องกับประชาชนในพิธีกรรมต่างๆก็จริง แต่จะเกี่ยวข้องเฉพาะมีชีวิตอยู่เท่านั้น ส่วนการทำพิธีเมื่อตายแล้ว เพราะในศาสนาชินโตไม่เกี่ยวข้อง แต่เป็นหน้าที่พระในพระพุทธศาสนา เพราะเหตุนี้จึงไม่เป็นการแปลกที่ชาวญี่ปุ่นนับถือศาสนาชินโตและศาสนาพุทธรวมกัน เพราะแต่ละศาสนาก็แบ่งหน้าที่ในการทำพิธีกรรมให้รับช่วงกันได้เป็นคราวๆ ไป
ความเชื่อในบรรพบุรุษ มีความสำคัญไม่น้อยกว่าความเชื่อในเทพเจ้า เขาถือว่าบุคคลจะเจริญรุ่งเรืองขึ้นด้วยประการใดๆ ก็ตาม ย่อมไม่ได้มาจากเหตุเพียงตัวเขาคนเดียว แต่เนื่องมากจากเหตุภายนอกด้วย เหตุภายนอกดังกล่าวนี้ อย่างหนึ่ง ได้แก่บรรพบุรุษของตน ซึ่งมีส่วนเกี่ยวพันกันทางสายโลหิตและสาระสำคัญของวิญญาณของคนในตระกูลเดียวกันย่อมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากเหตุภายนอกของบรรพบุรุษแล้วเทพเจ้าก็มีส่วนสำคัญอีกแระการหนึ่ง ที่มีส่วนสร้างสรรค์ดลบันดาลให้สิ่งทั้งหลายเป็นไปอย่างนั้นอย่างนี้ การบูชาบรรพบุรุษและบูชาเทพเจ้าจึงเป็นสาระสำคัญของศาสนาชินโต ด้วย
นิกาย
เดิมทีการนับถือศาสนาชินโตของชาวญี่ปุ่น นับถือศาสนาเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.ประเพณีบูชาบรรพบุรุษ 2.การครองชีวิต การปฏิบัติตามการนำทางของเทพเจ้า
การนับถือศาสนาชินโตในลักษณะนี้ยังไม่มี่นิกาย เป็นชินโตแห่งราชสำนักพระจักรพรรดิและที่มีศาลเป็นที่เคารพทั่วไป ภายหลังได้เกิดมีชินโตนิกายต่างๆ มีผู้ตั้งนิกาย มีคำสอน และคัมภีร์เกิดแยกขึ้นไปจากคัมภีร์เดิม
นิกายศาสนาชินโตแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ศาสนาชินโตของทางราชการและศาสนาชินโตที่แยกออกเป็นนิกายต่างๆ นั้น ภาษาญี่ปุ่นที่ตรงกับคำอังกฤษว่า สเตทชินโต คือ คำว่า ก๊กกะชินโต และที่ตรงกับคำอังกฤษว่า เชคทาเรียนชินโต คือ คำว่า เรียวหะชินโต
1.ก๊กกะชินโต
ก๊กกะชินโต ได้แก่ ชินโตที่เป็นของรัฐหรือทางราชการ ในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางราชการของญี่ปุ่นได้แยกประเพณีทางศาสนาแห่งราชสำนักพระจักรพรรดิ และแห่งศาลเทพเจ้าออกจากประเพณีของศาสนาอื่นๆ พิธีกรรมในปูชนียสถานและการศึกษา ได้ดำเนินไปในฐานะเป็นระบบของประชาชน โดยมีรัฐบาลเข้าเกี่ยวข้องในการบริหารและควบคุมนโยบาย
วัตถุประสงค์ของการตั้งนิกายก๊กกะชินโต คือ เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแก่ชาติบ้านเมือง เพื่อความปลอดภัยของราชสำนักพระจักรพรรดิ เพื่อความผาสุกของประชาชน และเป็นพระที่เทพเจ้าอำนวยให้
2.เรียวหะ ชินโต
เรียวหะ ชินโต ได้แก่ ชินโตฝ่ายประชาชน หรือศาสนาชินโตที่แยกเป็นนิกายต่างๆ หรือ กลุ่มแห่งกระบวนการทางศาสนาที่อิงอยู่กับศาสนาประจำชาติของญี่ปุ่น แต่แยกนิกายหรือกลุ่มอิสระ เนื่องจากศาสนิกที่มีความรู้ทางศาสนา แต่มีแนวความคิดไม่ตรงกับหลักการศาสนาเดิม ก็ตั้งกลุ่มหรือนิกายของตนเองขึ้นมา มีด้วยกันทั้งหมดประมาณ 13 นิกาย และทั้ง 13 นิกายนั้น มีวิธีจัดประเภทเป็น 2 แบบดังนี้
แบบที่ 1 จัดเป็น 5 หมวดใหญ่ คือ
หมวดที่ 1 นิกายชินโตบริสุทธิ์ มี 3 นิกาย คือ ชินโต ฮองเกียวกุ โตเกียว รินชิเกียว และไตชาเกียว
หมวดที่ 2 นิกายชินโตผสมขงจื๊อ มีสองนิกาย คือ ชูเชหะ และโตเชเกียว
หมวดที่ 3 นิกายบูชาภูเขาเป็นเทพเจ้า มี 3 นิกาย คือ ยิกโตเกียว ฟูเชเกียว และมิตาเกะเกียว
หมวดที่ 4 นิกายทำให้บริสุทธิ์ หรือลัทธิชำระบาป มี 2 นิกาย คือ ชินชูเกียว และมิโชงิ
หมวดที่ 5 นิกายรักษาโรคด้วยความเชื่อ มี 3 นิกาย คือ ฟูโรชิเกียว คองโกเกียว และเทนริเกียว
แบบที่ 2 จัดเป็น 3 หมวดใหญ่ คือ
หมวดที่ 1 เกี่ยวเนื่องกับหลักการแห่งศาสนาชินโตโบราณ มี 3 นิกาย
หมวดที่ 2 รวมเอาศาสนาอื่นที่เข้ามาเผยแผ่ในประเทศญี่ปุ่น เข้าผสมกับศาสนาชินโตโบราณ มี 5 นิกาย
หมวดที่ 3 มีจุดรวมสำคัญอยู่ที่ผู้ตั้งนิกายใหม่ทั้งชายและหญิง มี 5 นิกาย
******
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น