นับตั้งแต่ประเทศไทยได้รับอารยธรรมตะวันตก ชาวไทยได้พัฒนาประเทศไทยไปสู่สังคม ที่เจริญขึ้นกว่าเดิม แต่การพัฒนายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะยังมีปัญหาทางด้านการ พัฒนาบุคคล เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรมและศาสนา การพัฒนาประเทศจะดำเนิน ไปด้วยปริมาณและคุณภาพเพียงใดนั้นยอมจะขึ้นอยู่กับลักษณะต่างๆ ของประชากรในประเทศ นั้นๆ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาบุคคลด้านจิตใจให้มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาสังคม ด้านอื่น ๆ ด้วย พระพุทธศาสนาเป็นสถาบันที่จำเป็นของสังคมอันจะขาดไม่ได้ แม้จะถูกกระทบกระเทือน หรือตกต่ำในบางครั้งบางคราว ทั้งนี้เพราะชีวิตมนุษย์ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยวัตถุเพียงอย่างเดียว เพราะวัตถุไม่สามารถสนองตอบต่อความต้องการที่ไม่รู้จบสิ้นของมนุษย์ ดังนั้น ศาสนาและ วัฒนธรรมจึงถูกหยิบยกขึ้นมาในฐานะเป็นแกนกลางทางจิตใจ เป็นกรอบแห่งความประพฤติของ ประชาชนในสังคม พระพุทธศาสนานอกจากจะมีพระธรรม คือ คำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วยัง มีวัดและพระสงฆ์ วัดและพระสงฆ์กับประชาชนมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด วัดเป็นทุกอย่าง ของสังคม เป็นศูนย์กลางที่รวมจิตใจของประชาชน
ส่วนพระสงฆ์ซึ่งเป็นตัวแทนวัดก็กลายเป็นผู้ นำทางด้านจิตใจของประชาชน เป็นศูนย์รวมแห่งความเคารพ เชื่อถือ ศรัทธาและความร่วมมือ
ในด้านขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม คำว่า “วัฒนธรรม” (มีความหมายรากศัพท์มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต) เพราะ คำว่า “วัฒนธรรม” มาจากคำบาลีว่า “วฑฺฒน” ซึ่งแปลว่า เจริญงอกงาม กับ คำว่า “ธรรม” มา จากภาษาสันสกฤตว่า “ธรฺม” หมายถึง ความดี “วัฒนธรรม”เป็นคำบัญญัติแทนคำในภาษาอังกฤษ ว่า “ Culture” คำนี้มีรากศัพท์ มาจาก “Cultura” ในภาษาละติน มีความหมายว่าการเพาะปลูกหรือการปลูกฝัง ซึ่งอธิบายได้ว่า มนุษย์เป็นผู้ปลูกฝังอบรมบ่มนิสัยให้เกิดความเจริญงอกงาม คำว่า “วัฒนธรรม” หมายความว่า “ธรรม คือ ความเจริญ” หรือ “ธรรมเป็นเหตุให้ เจริญ” นั้นแสดงให้เห็นว่ามิใช่ลักษณะที่อยู่กับที่ จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ แต่การเปลี่ยน แปลงนั้นจะต้องเป็นไปในทางที่ดีขึ้นตามลำดับ สิ่งใดอยู่กับที่ สิ่งนั้นไม่ชื่อว่า “วัฒนะ” คือ “เจริญ” วัฒนธรรมจึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมแก่กาลเวลาอยู่เสมอ จากความหมายของวัฒนธรรมนั้น อาจหลอมรวมเข้าด้วยกันและสรุปได้ คือ วัฒนธรรม มีความหมายครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมของกลุ่มใดกลุ่ม หนึ่งหรือสังคมใดสังคมหนึ่ง ซึ่งมนุษย์ได้คิดสร้างระเบียบ กฎเกณฑ์ วิธีในการปฏิบัติ รวมทั้งการ จัดระเบียบ ตลอดจนระบบความคิดความเชื่อ ค่านิยม ความรู้และเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยได้ วิวัฒนาการสืบทอดกันมาอย่างมีแบบแผน โดยทั่วไปแล้ว มักแบ่งวัฒนธรรมออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ
ส่วนพระสงฆ์ซึ่งเป็นตัวแทนวัดก็กลายเป็นผู้ นำทางด้านจิตใจของประชาชน เป็นศูนย์รวมแห่งความเคารพ เชื่อถือ ศรัทธาและความร่วมมือ
ในด้านขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม คำว่า “วัฒนธรรม” (มีความหมายรากศัพท์มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต) เพราะ คำว่า “วัฒนธรรม” มาจากคำบาลีว่า “วฑฺฒน” ซึ่งแปลว่า เจริญงอกงาม กับ คำว่า “ธรรม” มา จากภาษาสันสกฤตว่า “ธรฺม” หมายถึง ความดี “วัฒนธรรม”เป็นคำบัญญัติแทนคำในภาษาอังกฤษ ว่า “ Culture” คำนี้มีรากศัพท์ มาจาก “Cultura” ในภาษาละติน มีความหมายว่าการเพาะปลูกหรือการปลูกฝัง ซึ่งอธิบายได้ว่า มนุษย์เป็นผู้ปลูกฝังอบรมบ่มนิสัยให้เกิดความเจริญงอกงาม คำว่า “วัฒนธรรม” หมายความว่า “ธรรม คือ ความเจริญ” หรือ “ธรรมเป็นเหตุให้ เจริญ” นั้นแสดงให้เห็นว่ามิใช่ลักษณะที่อยู่กับที่ จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ แต่การเปลี่ยน แปลงนั้นจะต้องเป็นไปในทางที่ดีขึ้นตามลำดับ สิ่งใดอยู่กับที่ สิ่งนั้นไม่ชื่อว่า “วัฒนะ” คือ “เจริญ” วัฒนธรรมจึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมแก่กาลเวลาอยู่เสมอ จากความหมายของวัฒนธรรมนั้น อาจหลอมรวมเข้าด้วยกันและสรุปได้ คือ วัฒนธรรม มีความหมายครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมของกลุ่มใดกลุ่ม หนึ่งหรือสังคมใดสังคมหนึ่ง ซึ่งมนุษย์ได้คิดสร้างระเบียบ กฎเกณฑ์ วิธีในการปฏิบัติ รวมทั้งการ จัดระเบียบ ตลอดจนระบบความคิดความเชื่อ ค่านิยม ความรู้และเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยได้ วิวัฒนาการสืบทอดกันมาอย่างมีแบบแผน โดยทั่วไปแล้ว มักแบ่งวัฒนธรรมออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ
๑. วัฒนธรรมที่เป็นวัตถุ (Material Culture) ได้แก่ สิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มนุษย์คิดค้นผลิตขึ้นมา เช่น สิ่งก่อสร้าง อาคารบ้านเรือน อาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องอำนวยความ สะดวกต่าง ๆ เป็นต้น
๒. วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ (Non - material Culture) หมายถึง อุดมการณ์ ค่านิยม แนวความคิด ภาษา ความเชื่อทางศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ลัทธิการเมือง กฎหมาย วิธี การกระทำและแบบแผนในการดำเนินชีวิต ซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรม (Abstract) ที่มองเห็น ไม่ได้ ธรรมชาติของวัฒนธรรม วัฒนธรรมโดยพื้นฐานแล้วจะมีลักษณะเป็นเช่นเดียวกัน ดังนี้
๑. วัฒนธรรมเกิดจากการเรียนรู้ วัฒนธรรมไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติหรือ ไม่ใช่สัญชาตญาณ แต่เป็นผลรวมของความคิดของมนุษย์ที่เกิดจากการเรียนรู้ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม แล้วรู้จักนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต นอกจากเรียนรู้จากธรรมชาติ แล้วมนุษย์ยังเรียนรู้วัฒนธรรมจากสังคมตนเอง จากครอบครัว เพื่อนฝูงและสถาบันทางสังคม อื่น ๆ การเรียนรู้ทั้งหลายเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์สร้างสรรค์วัฒนธรรมขึ้น ๒. วัฒนธรรมเป็นมรดกทางสังคม วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนรุ่น ต่อ ๆ ไปไม่มีสิ้นสุด เป็นสมบัติส่วนรวมซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากบรรพชนร่วมกัน ทั้งนี้เพราะ มนุษย์รู้จักจดจำและศึกษาอดีต สามารถนำอดีตมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลังได้ นอกจาก นี้ มนุษย์ยังสามารถใช้ภาษา ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดประสบการณ์ ต่อกัน ทำให้มนุษย์สามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมเป็นมรดกสู้คนรุ่นต่อ ๆ ไปได้
๓. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่สังคมต้องยึดถือและปฏิบัติร่วมกัน เป็นสิ่งที่ทำให้สังคมนั้น ๆ อยู่ ร่วมกันได้ การกำหนดกฎเกณฑ์ การสร้างระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ก็เพื่อการดำรงคงอยู่ของสังคม นั้น ๆ ฉะนั้น สมาชิกทุกคนจึงต้องยึดถือและปฏิบัติตามแบบฉบับของสังคมของตน
๔. วัฒนธรรมเป็นความพึงพอใจของมนุษยชาติ วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์เลือกที่ จะปฏิบัติ หรือประพฤติ เช่น การบริโภค การแต่งกาย การสร้างที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม
๕. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่บูรณาการและปรับได้ มนุษย์สามารถปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรม ของสังคมที่ตนไปเกี่ยวข้อง และสามารถปรับวัฒนธรรมจากภายนอกให้เหมาะสมกับสังคมของตนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ วัฒนธรรมยังเป็นบูรณาการของมนุษยชาติโดยส่วนรวม การหยิบยืม การ ซึมซับและการหล่อหลอมวัฒนธรรมระหว่างวัฒนธรรมท้องถิ่นหรือเผ่าพันธุ์ก็เป็นธรรมชาติที่ เกิดจากความต้องการของมนุษย์ด้วยเช่นกัน
๖. วัฒนธรรมสิ้นสุดหรือตายได้ มนุษย์สร้างวัฒนธรรมขึ้นเพื่อความผาสุกของมนุษย์เอง ฉะนั้น วัฒนธรรมจึงเปลี่ยนแปลงและคงอยู่ได้ตราบเท่าที่มนุษย์หรือสังคมต้องการ วัฒนธรรมที่ มนุษย์หรือสังคมไม่ต้องการเป็นวัฒนธรรมที่พบจุดจบเรียกว่า วัฒนธรรมตาย
(Dead Culture) จากลักษณะหรือธรรมชาติของวัฒนธรรมดังกล่าวนั้น จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ เลื่อนไหล ถ่ายทอดและเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้ทั้งภายในกลุ่มชนเดียวกันหรือระหว่างกลุ่มชน หรือระหว่างท้องถิ่น เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมของกันและกัน สถาบันทางศาสนา สถาบันทางศาสนา เป็นแบบแผนแนวทางแห่งความคิด
และแบบแผนพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อและศรัทธาของชุมชน จึงเป็นสถาบันที่หนักไปทางจิตใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานพฤติกรรม ของบุคคล พระยาอนุมานราชธนได้อธิบายไว้ในหนังสือ “เรื่องวัฒนธรรม” จัดพิมพ์โดยมูลนิธิ เสฐียรโกเศศ -นาคะประทีป ดังนี้ “…จิตใจ ความต้องการและความจำเป็นทางจิตใจ ในบรรดาสัตว์โลกมีคนเท่านั้นที่รู้จัก เอาอดีตมาปรับเพื่อคาดการณ์ในอนาคต อย่างน้อยก็รู้ว่ามีคนเกิดมาก่อนตน และจะมีคนเกิดต่อ ไปภายหน้า และรู้ว่าตนแม้จะมีชีวิตอยู่แต่ไม่ช้าตนก็จะต้องตายไป เพราะด้วยความกลัวตายและ ไม่ทราบว่าทำไมตนจึงต้องเกิดมาทำไม ตายแล้วไปไหน เหล่านี้เป็นต้น เพราะด้วยคิดเห็นเช่นนี้ คนจึงต้องมีวัฒนธรรมทางความเชื่อ เพื่อบำรุงใจในเมื่อได้รับความทุกข์เดือดร้อน มีความสะเทือน ใจอย่างแรงหรือหวั่นวิตกต่อภัย ก็คิดถึงเรื่องศาสนา ศาสนาจึงเป็นเครื่องกำหนดบังคับใจไม่ให้ ประพฤติชั่ว ซึ่งทางกฎหมายไม่มีทางจะบังคับลงโทษได้ เพราะฉะนั้นข้อบังคับทางศาสนาจึงมีอำนาจ ยิ่งกว่าข้อบังคับของกฎหมาย” โดยสรุป สถาบันศาสนาเป็นสถาบันที่มีบทบาทและมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของบุคคลและ ชุมชนดังนี้
(Dead Culture) จากลักษณะหรือธรรมชาติของวัฒนธรรมดังกล่าวนั้น จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ เลื่อนไหล ถ่ายทอดและเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้ทั้งภายในกลุ่มชนเดียวกันหรือระหว่างกลุ่มชน หรือระหว่างท้องถิ่น เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมของกันและกัน สถาบันทางศาสนา สถาบันทางศาสนา เป็นแบบแผนแนวทางแห่งความคิด
และแบบแผนพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อและศรัทธาของชุมชน จึงเป็นสถาบันที่หนักไปทางจิตใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานพฤติกรรม ของบุคคล พระยาอนุมานราชธนได้อธิบายไว้ในหนังสือ “เรื่องวัฒนธรรม” จัดพิมพ์โดยมูลนิธิ เสฐียรโกเศศ -นาคะประทีป ดังนี้ “…จิตใจ ความต้องการและความจำเป็นทางจิตใจ ในบรรดาสัตว์โลกมีคนเท่านั้นที่รู้จัก เอาอดีตมาปรับเพื่อคาดการณ์ในอนาคต อย่างน้อยก็รู้ว่ามีคนเกิดมาก่อนตน และจะมีคนเกิดต่อ ไปภายหน้า และรู้ว่าตนแม้จะมีชีวิตอยู่แต่ไม่ช้าตนก็จะต้องตายไป เพราะด้วยความกลัวตายและ ไม่ทราบว่าทำไมตนจึงต้องเกิดมาทำไม ตายแล้วไปไหน เหล่านี้เป็นต้น เพราะด้วยคิดเห็นเช่นนี้ คนจึงต้องมีวัฒนธรรมทางความเชื่อ เพื่อบำรุงใจในเมื่อได้รับความทุกข์เดือดร้อน มีความสะเทือน ใจอย่างแรงหรือหวั่นวิตกต่อภัย ก็คิดถึงเรื่องศาสนา ศาสนาจึงเป็นเครื่องกำหนดบังคับใจไม่ให้ ประพฤติชั่ว ซึ่งทางกฎหมายไม่มีทางจะบังคับลงโทษได้ เพราะฉะนั้นข้อบังคับทางศาสนาจึงมีอำนาจ ยิ่งกว่าข้อบังคับของกฎหมาย” โดยสรุป สถาบันศาสนาเป็นสถาบันที่มีบทบาทและมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของบุคคลและ ชุมชนดังนี้
๑. สถาบันทางศาสนาเป็นเครื่องมือเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชน บุคคลเมื่อมีความเชื่อและศรัทธาในสิ่งเดียวกันทำให้เกิดความรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของกันและ กัน เกิดสายสัมพันธ์ทางจิตใจนำมาซึ่งกิจกรรมที่เป็นผลดีต่อส่วนรวมอื่น ๆ อีกมากมาย การมี ความรู้และความเชื่ออย่างเดียวกันทำให้บุคคลมีแนวความคิด โดยเฉพาะความรู้ ความเข้าใจ ความ รู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับสิ่งอันเป็นธรรมชาติ เกี่ยวกับชีวิตและสังคม พิธีกรรมทางศาสนาทำให้แต่ละ คนได้รู้ข่าวคราว ความทุกข์สุข ได้ศึกษาปัญหา ให้ข้อคิดเห็นและช่วยเหลือเกื้อกูลกันตามโอกาส ชุมชนก็จะมีแต่ความกลมเกลียวสามัคคี เป็นปึกแผ่นอันหนึ่งอันเดียวกัน
๒. สถาบันทางศาสนา ตอบสนองต่อความต้องการทางจิตใจของบุคคล
นอกจากจะมี ความต้องการปัจจัย ๔ คือ
นอกจากจะมี ความต้องการปัจจัย ๔ คือ
1. ที่อยู่อาศัย
2. อาหาร
3. เสื้อผ้า
4. ยารักษาโรค
แล้วยังจำเป็นต้องมีที่พึ่ง ทางใจเพื่อต่อสู้กับปรากฏการณ์ธรรมชาติที่นอกเหนืออำนาจของมนุษย์จะเข้าใจและควบคุมได้ ศาสนาจึงเป็นทางแห่งชีวิตโดยมีเทพเจ้าต่าง ๆ คอยช่วยต่อสู้กับอำนาจชั่วร้าย เช่น อำนาจทาง พายุ คลื่นทะเล ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า
2. อาหาร
3. เสื้อผ้า
4. ยารักษาโรค
แล้วยังจำเป็นต้องมีที่พึ่ง ทางใจเพื่อต่อสู้กับปรากฏการณ์ธรรมชาติที่นอกเหนืออำนาจของมนุษย์จะเข้าใจและควบคุมได้ ศาสนาจึงเป็นทางแห่งชีวิตโดยมีเทพเจ้าต่าง ๆ คอยช่วยต่อสู้กับอำนาจชั่วร้าย เช่น อำนาจทาง พายุ คลื่นทะเล ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า
๓. สถาบันทางศาสนา สร้างความสมดุลทางใจแก่บุคคลและสังคม โดยอาศัยเรื่องเล่า ปรัมปรา และสมมติเทพต่างๆ ในการตอบปัญหาที่มนุษย์ไม่อาจจะหาคำตอบได้ เช่น เมื่อมีข้อ ข้องใจว่าโลกและจักรวาลนี้เกิดมาได้อย่างไร ศาสนาคริสต์ก็ตอบว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้าง เป็นต้น
๔. สถาบันทางศาสนา กำหนดแบบแผนพฤติกรรมของชุมชนโดยทางพิธีกรรมต่าง ๆ เช?น การเกิด การแต?งงาน การทำบุญ การตาย
๕. สถาบันทางศาสนา เป็นแหล่งให้การศึกษาตลอดชีพแก่ชุมชน โดยผู้ทำหน้าที่ของ สถาบัน คือพระสงฆ์ เป็นผู้แนะนำสั่งสอนความรู้และวิชาชีพที่นอกเหนือจากพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ชุมชนไทยที่เป็นชาวพุทธก็มีวัดเป็นแหล่งวิทยาการต่าง ๆ มาตั้งแต่โบราณสืบต่อมาจนถึง ปัจจุบัน จนมีคำพูดกันติดปากว่า “บวชเรียนเขียนอ่าน” วัด เป็นสถานที่เรียน อ่าน เขียน คิดเลข และงานฝีมือต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัดและสอนโดยพระสงฆ์ของวัดนั้น ๆ เป็นต้น สำหรับประเทศไทย มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๙ ได้กล่าวว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาประมาณร้อย ละ ๙๐ และสถาบันศาสนาเป็นระบบย่อยของสังคมไทยซึ่งมีวัดเป็นศาสนสถาน มีพระสงฆ์เป็น ศาสนบุคคลที่จะทำให้พระพุทธศาสนาช่วยในการพัฒนาชุมชน สังคมและประเทศชาติ อย่างสำคัญ ยิ่ง คนไทยสมัยโบราณหันหน้าเข้าวัด ใกล้ชิดวัด สนิทกับวัดมาก และวัดก็ทำหน้าที่ที่สำคัญเพื่อ ชาวบ้านไม่น้อย เช่น
๑. เป็นสถานศึกษา ชาวบ้านส่งลูกหลานอยู่วัดเพื่อรับใช้พระและรับการอบรมศีลธรรมเล่าเรียนวิชาการต่าง ๆ จากพระ
๒. เปนสถานสงเคราะหบุตรหลานชาวบ้านที่ยากจนได้มาอาศัยอยู่ในวัด อาศัยเล่าเรียนและดำรงชีพ แม้ผู้ใหญ่ที่ยากจนก็อาศัยวัดดำรงชีพ
๓. เป็นสถานพยาบาลรักษาผู้เจ็บป่วยตามความรู้ ความสามารถในสมัยนั้น
๔. เป็นที่พักคนเดินทาง
๕. เป็นสโมสร ชาวบ้านมาพบปะสังสรรค์ พักผ่อนหย่อนใจ หาความรู้
๖. เป็นสถานบันเทิงที่จัดงานเทศกาลและมหรสพต่าง ๆ
๗. เป็นที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (ชาวบ้านไปหาความยุติธรรมที่วัด)
๘. เป็นที่ปรึกษาการครองตน การครองชีพ แก้ปัญหาชีวิตครอบครัวและความทุกข์ต่าง ๆ
๙. เป็นศูนย์กลางศิลปวัฒนธรรม ที่รวบรวมศิลปกรรมต่าง ๆ ของชาติ
๑๐. เป็นคลังพัสดุ เก็บของใช้ต่าง ๆ ที่ชาวบ้านจะได้ใช้ร่วมกันเมื่อมีงานที่วัด หรือเอาไปใช้ เมื่อตนมีงาน
๑๑. เป็นศูนย์กลางการปกครองท้องถิ่น ที่กำนันผู้ใหญ่บ้านเรียกประชุมลูกบ้านชี้แจงข้อราชการต่าง ๆ
๑๒. เป็นที่บำเพ็ญกุศลกิจ หรือประกอบพิธีกรรมตามประเพณีดังคำกลอนที่ว่า วัดจะดี มีหลักฐาน เพราะบ้านช่วย บ้านจะสวย เพราะมีวัด ดัดนิสัย บ้านกับวัด ผลัดกันช่วย อำนวยชัย ถ้าขาดกัน ก็บรรลัย ทั้งสองทาง เช่นในอดีต ประเพณีการลงแขกทำงานถือว่าเป็นวัฒนธรรมส่วนหนึ่งที่ดีงามของสังคม เป็นการเสริมสร้างความสามัคคี การเอื้อเฟื้อเกื้อกูล และการรวมพลังชุมชน ไม่มีระบบเงินตรา เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ปัจจุบันระบบเงินตราตามระบบทุนนิยมเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นการทำลาย วัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมชนบท ทำให้ความสามัคคี การเอื้อเฟื้อเกื้อกูล และการรวมพลังชุมชน ขาดหายไป สังคมปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทุกๆ ด้าน มีลักษณะของ “มะเร็งทางสังคม” เป็นสังคมที่ไร้เข็มทิศ ขาดจุดยืนและอุดมการณ์ในความเป็นไทย เพราะสังคมไทยได้รับอิทธิพล ของวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาผสมผสานวัฒนธรรมดั้งเดิมมากมายหลายด้าน โดยเฉพาะรับเอา วัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาทั้งส่วนที่ดีและส่วนที่ไม่ดี
วัฒนธรรมดังกล่าวเข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิต ของคนไทยมาก เพราะทำให้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงจนกระทั่งทุกวันนี้ สังคมเจริญขึ้นในทางวัตถุ แต่สูญเสียความเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย เงินกลายเป็นเครื่องกำหนดคุณค่าและฐานะ ทางสังคม เกิดความเสื่อมทางจริยธรรมและคุณธรรม สังคมไทยจึงต้องปรับตัวไปอย่างเหมาะสม ตามไปด้วย มิฉะนั้นแล้วความสับสนวุ่นวายและปัญหานานาประการจะบังเกิดขึ้นในปริมาณที่ จะแก้ไขได้ยาก ดังนั้น เพื่อให้สังคมไทยดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและพัฒนาแบบแผนการดำเนินชีวิต ได้สอดคล้องกับกระแสความแปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง และเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการ พัฒนาความเจริญก้าวหน้าและรักษาความมั่นคงของสังคม สมาชิกที่ดีของสังคม ต้องปฏิบัติตาม บรรทัดฐาน ศีลธรรมและขนบธรรมเนียนประเพณีของสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นแนว ปฏิบัติในการดำเนินชีวิต
ดังนั้น หลักของพระพุทธศาสนาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความคิดทางด้านการพัฒนา ด้านจิตใจ เพราะพระพุทธศาสนาเน้นถึงธรรมะที่สามารถนำมาประยุกต์กับการพัฒนาสังคมและ วัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี เช่น พระพุทธศาสนาสอนให้คนมีความเสียสละช่วยเหลือต่อส่วนรวม มีจิตใจเป็นธรรม ทำให้บุคคลรู้จักตนเอง รู้จักสังคมและทำประโยชน์ต่อสังคม แต่สิ่งหนึ่งที่คนไทย ควรตระหนักถึงก็คือการรู้จักเลือกรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกที่ดีงามหรือเหมาะสมมาปรับใช้ในสังคม ไทย วัฒนธรรมใดที่ไม่เหมาะสมก็ไม่สมควรจะรับเข้ามาหรือควรช่วยกันสกัดกั้น และอนุรักษ์ วัฒนธรรมไทยส่วนที่ดีงามไว้ไม่ให้เสื่อมสลายไป จากคำกล่าวที่ว่าคนมีจิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว ความคิด จิตใจเป็นตัวควบคุมหรือกำหนด พฤติกรรมทางกาย การพัฒนาบุคคลจึงต้องเริ่มพัฒนาที่จิตใจ ให้เป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ มี ความคิดเห็นที่ถูกต้อง เมื่อมีความคิดเห็นถูกต้องแล้วก็จะทำอะไรถูกต้องไปด้วย เครื่องมือในการ พัฒนาจิตใจไม่มีอะไรดีไปกว่า ธรรมะ ในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา การสร้าง จิตสำนึกด้านคุณงามความดี ได้แก่ การมีคุณธรรมทางจิตใจ ปราศจากอบายมุข สามารถพึ่งตนเอง ได้ มีสุขภาพจิตดี ไม่มั่วสุมในการพนันทุกประเภท ไม่มัวเมาในกามตัณหาอันเป็นเหตุให้ทะเลาะ เบาะแว้งในครอบครัว ซึ่งอาจเป็น ๒. เปนสถานสงเคราะหบุตรหลานชาวบ้านที่ยากจนได้มาอาศัยอยู่ในวัด อาศัยเล่าเรียนและดำรงชีพ แม้ผู้ใหญ่ที่ยากจนก็อาศัยวัดดำรงชีพ
๓. เป็นสถานพยาบาลรักษาผู้เจ็บป่วยตามความรู้ ความสามารถในสมัยนั้น
๔. เป็นที่พักคนเดินทาง
๕. เป็นสโมสร ชาวบ้านมาพบปะสังสรรค์ พักผ่อนหย่อนใจ หาความรู้
๖. เป็นสถานบันเทิงที่จัดงานเทศกาลและมหรสพต่าง ๆ
๗. เป็นที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (ชาวบ้านไปหาความยุติธรรมที่วัด)
๘. เป็นที่ปรึกษาการครองตน การครองชีพ แก้ปัญหาชีวิตครอบครัวและความทุกข์ต่าง ๆ
๙. เป็นศูนย์กลางศิลปวัฒนธรรม ที่รวบรวมศิลปกรรมต่าง ๆ ของชาติ
๑๐. เป็นคลังพัสดุ เก็บของใช้ต่าง ๆ ที่ชาวบ้านจะได้ใช้ร่วมกันเมื่อมีงานที่วัด หรือเอาไปใช้ เมื่อตนมีงาน
๑๑. เป็นศูนย์กลางการปกครองท้องถิ่น ที่กำนันผู้ใหญ่บ้านเรียกประชุมลูกบ้านชี้แจงข้อราชการต่าง ๆ
๑๒. เป็นที่บำเพ็ญกุศลกิจ หรือประกอบพิธีกรรมตามประเพณีดังคำกลอนที่ว่า วัดจะดี มีหลักฐาน เพราะบ้านช่วย บ้านจะสวย เพราะมีวัด ดัดนิสัย บ้านกับวัด ผลัดกันช่วย อำนวยชัย ถ้าขาดกัน ก็บรรลัย ทั้งสองทาง เช่นในอดีต ประเพณีการลงแขกทำงานถือว่าเป็นวัฒนธรรมส่วนหนึ่งที่ดีงามของสังคม เป็นการเสริมสร้างความสามัคคี การเอื้อเฟื้อเกื้อกูล และการรวมพลังชุมชน ไม่มีระบบเงินตรา เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ปัจจุบันระบบเงินตราตามระบบทุนนิยมเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นการทำลาย วัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมชนบท ทำให้ความสามัคคี การเอื้อเฟื้อเกื้อกูล และการรวมพลังชุมชน ขาดหายไป สังคมปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทุกๆ ด้าน มีลักษณะของ “มะเร็งทางสังคม” เป็นสังคมที่ไร้เข็มทิศ ขาดจุดยืนและอุดมการณ์ในความเป็นไทย เพราะสังคมไทยได้รับอิทธิพล ของวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาผสมผสานวัฒนธรรมดั้งเดิมมากมายหลายด้าน โดยเฉพาะรับเอา วัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาทั้งส่วนที่ดีและส่วนที่ไม่ดี
วัฒนธรรมดังกล่าวเข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิต ของคนไทยมาก เพราะทำให้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงจนกระทั่งทุกวันนี้ สังคมเจริญขึ้นในทางวัตถุ แต่สูญเสียความเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย เงินกลายเป็นเครื่องกำหนดคุณค่าและฐานะ ทางสังคม เกิดความเสื่อมทางจริยธรรมและคุณธรรม สังคมไทยจึงต้องปรับตัวไปอย่างเหมาะสม ตามไปด้วย มิฉะนั้นแล้วความสับสนวุ่นวายและปัญหานานาประการจะบังเกิดขึ้นในปริมาณที่ จะแก้ไขได้ยาก ดังนั้น เพื่อให้สังคมไทยดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและพัฒนาแบบแผนการดำเนินชีวิต ได้สอดคล้องกับกระแสความแปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง และเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการ พัฒนาความเจริญก้าวหน้าและรักษาความมั่นคงของสังคม สมาชิกที่ดีของสังคม ต้องปฏิบัติตาม บรรทัดฐาน ศีลธรรมและขนบธรรมเนียนประเพณีของสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นแนว ปฏิบัติในการดำเนินชีวิต
สาเหตุให้เกิดความแตกแยกในครอบครัว สิ่งที่จะเป็นเครื่องชี้วัดภาวะการพัฒนาจิตใจ นอกจากวัตถุที่เป็นผลที่เกิดจากการร่วมมือ ร่วมใจในการสร้างสรรค์สังคมแล้ว พระสงฆ์มีส่วนช่วยในการพัฒนาทางด้านพฤติกรรมของบุคคล ในสังคม เช่น การอบรมสั่งสอน เทศน์ เพื่อชี้ให้เห็นถึงโทษของการเล่นการพนัน การละอาย ต่อบาป รู้วมกันปฏิบัติกิจกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณีตามแนวทางของศาสนา และความ เชื่อในทางที่ถูกต้อง บทบาทของพระสงฆ์กลมกลืนไปกับวัฒนธรรมเดิมของชาวพุทธ เพราะในอดีต วัดและบ้านสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พระเป็นผู้นำของชาวบ้านทั้งด้านจิตใจ การปกครอง และสังคม ฉะนั้น พระสงฆ์จึงมีบทบาทต่อการพัฒนาสังคม รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและ วัฒนธธรรม อันดีงามของชาติบ้านเมืองให้ดำรงอยู่ได้ตลอดกาล พุทธศาสนาพาจิตวิจิตรใส วัฒนธรรมไทยให้กายจิตสถิตสม เป็นชาวพุทธสุขสบายสายสังคม ปฏิบัติกลืนกลมสังคมไทย วัฒนธรรมไทยพาไทยบริสุทธิ์ เพราะศาสน์พุทธอุดหนุนวิบูลย์ใหญ่ พุทธธรรมนำมรรคทองผ่องอำไพ เป็นปัจจัยของวัฒนธรรมประจำมา
************************
พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทย
พระธรรมปิฎก(ป.อ. ปยุตโต) ได้กล่าวถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทยไว้ว่า วิถีชีวิตของคนไทยผูกพันอยู่อย่างแนบแน่นกับพระพุทธศาสนา ซึมแทรกผสมผสานอยู่ในแนวความคิด จิตใจและกิจกรรมแทบทุกก้าวของชีวิตโดยตลอดเวลายาวนาน โดยยังคงเนื้อหาสาระเดิมที่บริสุทธิ์ไว้ได้ก็มี ถูกดัดแปลงเสริมแต่งตลอดจนปนเปกับความเชื่อถือและข้อปฏิบัติสายอื่นหรือผันแปรในด้านเหตุอื่นๆจนผิดเพี้ยนไปจากเดิมก็มากในทางจิตใจเห็นได้ชัดว่าหลักธรรมความประพฤติปฏิบัติการดำเนินชีวิตและกิจกรรมต่างๆทั้งในและเนื่องด้วย พระพุทธศาสนา ได้หล่อหลอมชีวิตจิตใจและลักษณะนิสัยของคนไทยให้เป็นผู้มีจิตใจกว้างขวางและร่าเริงแจ่มใส ชอบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แสดงความเป็นมิตร เข้ากับใครๆได้ง่ายยินดีในการให้และการแบ่งปันพร้อมที่จะบริจาคและให้ความช่วยเหลืออย่างที่เรียกว่าเป็นคนมีน้ำใจ อันเป็นเอกลักษณ์เด่นชัด ที่ชนต่างชาติมักสังเกตเห็นและประทับใจ จนตั้งสมญาเมืองไทยว่าเป็นดินแดนแห่งความยิ้มแย้มหรือสยามเมืองยิ้มประเพณีและพิธีการต่างๆในวงจรชีวิตของแต่ละบุคคลก็ดี ในวงจรเวลาหรือฤดูกาลของสังคมหรือชุมชนก็ดี ล้วนเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา โดยตลอด ถ้าไม่เป็นเรื่องของศาสนาหรือสืบเนื่องจากพระพุทธศาสนาโดยตรง ก็ต้องมีกิจกรรมตามคติความเชื่อหรือแนวปฎิบัติในพระพุทธศาสนาแทรกอยู่ด้วย
สำหรับวงจรชีวิตของบุคคล เช่น ตั้งชื่อ โกนผมไฟ บวช แต่งงาน ทำบุญอายุ พิธีศพ เป็นต้น กล่าวโดยรวมก็คือ ตั้งแต่เกิดจนตายล้วนจัดให้เนื่องด้วยคติในพระพุทธศาสนา ส่วนในวงจรกาลเวลาของสังคมชุมชน ก็มีงานประเพณี และเทศกาลประจำปี ทั้งที่เป็นเรื่องทางพระพุทธศาสนาโดยตรง เช่นวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา งานทอดกฐิน เป็นต้น และที่จัดให้เข้าในคติของพุทธศาสนาเช่น ตรุษสงกรานต์ สารท ลอยกระทง เป็นต้น ตลอดจนงานนมัสการปูชณียวัตถุสถานประจำปีของวัดต่างๆด้วยเหตุผลนี้ ในท้องถิ่นทั้งหลาย ทั่วสังคมไทย ฤดูกาลจึงผ่านเวียนไปโดยไม่ว่างเว้นจากงานพิธีทางพระพุทธศาสนา จนชีวิตและสังคมไทยผูกพันแนบสนิทเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระพุทธศาสนาดังได้กล่าวแต่ต้นเทศกาล งานประเพณี และพิธีการต่างๆเหล่านี้ นอกจากเป็นเครื่องผูกพันและร้อยประสานรวมใจประชาชนทั่วทั้งถิ่นและทั้งสังคมให้กลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียว มีความสามัคคีกันแล้วกิจกรรมบุญกุศลในโอกาสเหล่านี้ ล้วนโน้มน้อมไปในทางการให้การบริจาค สละและสลัดคลายความยึดติด จึงเป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจและฝึกนิสัยของคนไทยให้มีอัธยาศัยกว้างขวางเผื่อแผ่มีไมตรีและน้ำใจภาษาเป็นส่วนประกอบสำคัญยิ่งของวัฒนธรรมและคำบาลีสันสกฤตก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของภาษาไทย คำบาลีนั้นมาจากพระพุทธศาสนาโดยตรง ส่วนคำสันสกฤตมาจากพระพุทธศาสนาบ้างมาจากศาสนาฮินดูบ้างแต่รวมความแล้วพระพุทธศาสนาก็เป็นแหล่งใหญ่แห่งความเจริญงอกงามของภาษาไทยแม้แต่ถ้อยคำสามัญที่ใช้ในชีวิตประจำวันก็เป็นคำที่มาจากบาลีสันสกฤตหลายส่วนยกตัวอย่าง เช่น ข่าวในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับหนึ่ง ในวันที่ 14 ตุลาคม 2530ความว่า “ในการพิจารณาเรื่องนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้เน้นเรื่องการประกันภัยเกษตรกร โดยให้กลุ่มสหกรณ์ชาวนาเป็นผู้ดำเนินการ แต่กระทรวงพาณิชย์ไม่เห็นด้วยและเสนอว่ากลุ่มสหกรณ์ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการดำเนินงาน ทั้งทางด้านการบริหาร...” คำว่า พิจารณา เกษตร กับ เกษตรกร สหกรณ์ การพาณิชย์ ประสิทธิภาพและบริหาร ก็เป็นคำบาลีสันสกฤตทั้งนั้นในภาษาราชการและภาษาทางวิชาการ ก็จะมีถ้อยคำที่มาจากภาษาบาลี สันสกฤตมากขึ้น
ตลอดจนกระทั่งการตั้งชื่อบุคคลและสถานที่ต่างๆเพื่อไพเราะหรือเพื่อให้เห็นความสำคัญก็นิยมตั้งเป็นคำบาลี สันสกฤตและนิยมให
้พระสงฆ์ผู้ที่เคารพนับถือเป็นผู้ตั้งให้เพื่อความเป็นสิริมงคลด้วยภาษาเป็นอุปกรณ์ของวรรณกรรม และวรรณกรรมก็ช่วยให้ภาษาเจริญเติบโต อุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้นนอกจากภาษาของพระพุทธศาสนา คือ บาลี สันสกฤต จะเป็นเครื่องมือหลักของกวีไทยทั้งหลาย เรื่องราวต่างๆในคัมภีร์
พุทธศาสนายังเป็นแหล่งใหญ่ของบทประพันธ์และกวีนิพนธ์ทั้งหลายในประเทศไทย สืบแต่โบราณอีกด้วย วรรณคดีไทยเรื่องสำคัญๆที่เป็นมรดกตกทอดมาแต่อดีตเป็นเรื่องราวในพระพุทธศาสนาโดยตรงบ้างได้รับอิทธิพลโดยอ้อม เป็นผลงานนิพนธ์ของพระสงฆ์ในวัดเองบ้าง ประพันธ์โดยท่านที่ได้รับการศึกษาไปจากวัดบ้างแม้ว่าในปัจจุบันภาษาไทยและวรรณกรรมไทยขยายตัวเจริญเติบโต โดยได้รับอิทธิพลจากภาษาต่างประเทศสายอื่นและเรื่องราวแปลกใหม่ในขอบเขตที่กว้างขวางออกไป จนบางครั้งทำให้ถ้อยคำที่มาจากบาลีสันสกฤตบางส่วนและวรรณคดีไทยเก่าๆเหล่านั้น ดูเหมือนจะกลายเป็นเรื่องของอดีตนานไกลที่ล่วงผ่านพ้นสมัยไปแล้ว แต่กระนั้นก็ตามถ้อยคำและวรรณคดีไทยเก่าๆทั้งหลาย ก็ยังคงความสำคัญในฐานะเป็นที่สืบค้นความเป็นไทยและความเป็นมาของไทยพร้อมทั้งภูมิธรรมภูมิปัญญาของไทยอยู่ต่อไปยิ่งกว่านั้นการที่จะนำสังคมไทยให้เดินหน้าไปสู่ความเจริญพัฒนาอย่างได้ผลดีมีเนื้อหาสาระแท้จริงโดยไม่ล้มเหลวเสียก่อนและทั้งไม่สูญเสียความเป็นไทยด้วยนั้น คนไทยในช่วงต่อแห่งยุคสมัยนี้จะต้องเป็นผู้ฉลาดที่สืบทอดความเป็นไทยเอาไว้เป็นแกนในของตัว พร้อมไปด้วยกันกับการรับเอาความเจริญใหม่ๆจากภายนอกเข้ามาผนวกและกลั่นย่อยเสริมตัวให้เติบโตขยายและก้าวหน้าต่อไป
้พระสงฆ์ผู้ที่เคารพนับถือเป็นผู้ตั้งให้เพื่อความเป็นสิริมงคลด้วยภาษาเป็นอุปกรณ์ของวรรณกรรม และวรรณกรรมก็ช่วยให้ภาษาเจริญเติบโต อุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้นนอกจากภาษาของพระพุทธศาสนา คือ บาลี สันสกฤต จะเป็นเครื่องมือหลักของกวีไทยทั้งหลาย เรื่องราวต่างๆในคัมภีร์
พุทธศาสนายังเป็นแหล่งใหญ่ของบทประพันธ์และกวีนิพนธ์ทั้งหลายในประเทศไทย สืบแต่โบราณอีกด้วย วรรณคดีไทยเรื่องสำคัญๆที่เป็นมรดกตกทอดมาแต่อดีตเป็นเรื่องราวในพระพุทธศาสนาโดยตรงบ้างได้รับอิทธิพลโดยอ้อม เป็นผลงานนิพนธ์ของพระสงฆ์ในวัดเองบ้าง ประพันธ์โดยท่านที่ได้รับการศึกษาไปจากวัดบ้างแม้ว่าในปัจจุบันภาษาไทยและวรรณกรรมไทยขยายตัวเจริญเติบโต โดยได้รับอิทธิพลจากภาษาต่างประเทศสายอื่นและเรื่องราวแปลกใหม่ในขอบเขตที่กว้างขวางออกไป จนบางครั้งทำให้ถ้อยคำที่มาจากบาลีสันสกฤตบางส่วนและวรรณคดีไทยเก่าๆเหล่านั้น ดูเหมือนจะกลายเป็นเรื่องของอดีตนานไกลที่ล่วงผ่านพ้นสมัยไปแล้ว แต่กระนั้นก็ตามถ้อยคำและวรรณคดีไทยเก่าๆทั้งหลาย ก็ยังคงความสำคัญในฐานะเป็นที่สืบค้นความเป็นไทยและความเป็นมาของไทยพร้อมทั้งภูมิธรรมภูมิปัญญาของไทยอยู่ต่อไปยิ่งกว่านั้นการที่จะนำสังคมไทยให้เดินหน้าไปสู่ความเจริญพัฒนาอย่างได้ผลดีมีเนื้อหาสาระแท้จริงโดยไม่ล้มเหลวเสียก่อนและทั้งไม่สูญเสียความเป็นไทยด้วยนั้น คนไทยในช่วงต่อแห่งยุคสมัยนี้จะต้องเป็นผู้ฉลาดที่สืบทอดความเป็นไทยเอาไว้เป็นแกนในของตัว พร้อมไปด้วยกันกับการรับเอาความเจริญใหม่ๆจากภายนอกเข้ามาผนวกและกลั่นย่อยเสริมตัวให้เติบโตขยายและก้าวหน้าต่อไป
นอกจากภาษาและวรรณคดีแล้ว ศิลปะและดนตรีไทยก็เนื่องอยู่ด้วยกันกับพระพุทธศาสนา เพราะเหตุว่านอกจากวังซึ่งเป็นส่วนเฉพาะเจ้านายแล้ว สำหรับประชาชนทั่วไป ก็มีแต่วัดเท่านั้นที่เป็นแหล่งใหญ่ที่กำเนิด รักษา สืบทอด พัฒนาหรือสนับสนุนศิลปะและดนตรีวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนเป็นศูนย์กลางแห่งกิจกรรมทางสังคมและเป็นสมบัติส่วนรวมร่วมกันของชุมชน ศิลปะและดนตรีจึงอาศัยวัดเป็นที่จัดแสดงหรือปรากฏตัว ดนตรีถูกใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆทางพระศาสนา แม้แต่การแสดงพระธรรมเทศนา เป็นเครื่องเสริมคุณค่าทางอารมณ์ ความละเมียดละไม โอ่อ่า และความรู้สึกเป็นจริงเป็นจัง ตั้งแต่งานสมโภชไปจนถึงงานอวมงคล จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมต่างๆได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นด้วยแรงบันดาลใจ เพื่อแสดงถึงศรัทธาในพระศาสนาและเป็นสื่อถ่ายทอดหลักธรรม สาระสำคัญที่วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนเป็นสมบัติร่วมกันของชุมชนและเป็นที่ปรากฏแสดงตัวของชุมชนท้องถิ่นนั้
***************************
ศาสนาและความเชื่อ
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ส่วนที่สำคัญในทุกวัฒนธรรมคือศาสนา เพราะศาสนามีผลต่อความรู้สึกนึกคิด ประเพณี และเป็นแรงบันดาลใจให้มนุษย์ได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมอื่นๆ อีกเป็นอันมาก ดังที่เสถียรโกเมศได้กล่าวไว้ดังนี้
"วัฒนธรรมที่เป็นส่วนสำคัญคือศาสนา เพราะวัฒนธรรมอื่นๆ มีประเพณี ศิลปะ วรรณคดี จรรยาและคติความเชื่ออื่นๆ แต่เดิมย่อมขึ้นอยู่แก่ศาสนาทั้งนั้น เช่น ประเพณีทำบุญ การสร้างสถานที่วิจิตรรจนา รูปภาพ รูปหล่อ ก็อยู่วัดวาอารามทางศาสนา วรรณคดีแต่ก่อนเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาเป็นส่วนมาก แม้แต่นิทานก็เช่นเดียวกัน ความคิดเรื่องความประพฤติ เรื่องบาปบุญ คุณโทษ ก็สืบเนื่องมาจากศาสนาเป็นส่วนมาก เป็นเช่นนี้มาแต่เดิม ไม่ว่าเป็นชาติภาษาใด แม้ว่ารบกันก็ยังอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาให้ช่วยคุ้มครองหรือเพื่อศาสนา ถึงทุกวันนี้ก็เป็นเช่นนั้น"
สังคมไทยมีพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่คอยยึดเหนี่ยวจิตใจและยึดถือในการประพฤติปฏิบัติ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยจรรโลงให้สังคมไทยสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยความสงบสุขตลอดมา ดังจะเห็นได้จากอดีตที่คนไทยได้ผูกการดำเนินชีวิตไว้กับศาสนากิจ เช่น เมื่อครั้งรุ่งอรุณ เสียงระฆังจากวัดจะปลุกแม่บ้านให้ตื่นจากนิทรา เพื่อมาหุงหาอาหารสำหรับคนในครอบครัวและเตรียมเป็นสำรับกับข้าวสำหรับใส่บาตรเป็นกิจวัตรประจำวัน ยามเพลจะได้ยินเสียงกลองอันเป็นสัญลักษณ์บอกว่าใกล้จะเที่ยงวัน เมื่ออาทิตย์อัศดงลับขอบฟ้าก็จะได้ยินเสียงสวดมนต์ทำวัตรเย็นดังมาจากอุโบสถ ก่อนจะเข้านอนคนไทยจะต้องระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ด้วยการสวดมนต์ก่อนนอนและสำหรับบุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ในปรมัตถ์ ก็มีผลต่อการพัฒนาจิตวิญญาณ ให้เป็นอิสระจากความทุกข์ยากทั้งปวง พุทธศาสนาจึงเป็นหลักในการหล่อหลอมบ่มเพาะทั้งความประพฤติ สติปัญญา และอุดมการณ์แห่งชีวิตของคนไทยไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ วัดยังเป็นศูนย์รวมของการทำบุญตามกาละสำคัญต่างๆ เช่น วันมาฆบูชา วิสาขบูชา เข้าพรรษา ออกพรรษา การรวมกิจกรรมต่างๆ ถือเป็นการเอื้ออาทรและแสดงไมตรีจิตต่อกัน ทำให้วัดและชุมชนจึงใกล้ชิดกันตลอดมา ไม่เพียงแต่เท่านั้น ประมุขแห่งสยามประเทศทุกพระองค์นับแต่อดีตกาลกระทั่งปัจจุบันล้วนเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จนเกิดกระแสนิยมเรียกประมุขนั้นว่า "พระธรรมราชา" และได้มีการบัญญัติ "ทศพิธราชธรรม" และ "จักรวรรดิวัตร" ขึ้นไว้เป็นจรรยาบรรณแห่งการปกครอง ทำให้คนไทยทุกคนได้อยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารมีความร่มเย็นเป็นสุขเสมอมา
พระพุทธศาสนา จึงเป็นศาสนาที่อยู่คู่สังคมไทยมาทุกยุคทุกสมัยและควรส่งเสริมทำนุบำรุงให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป ดังจะขอเชิญพระราชดำรัสขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ประชาชนในการเสด็จออกผนวช เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๙ ดังนี้
"อันพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของเรานี้ ตามความที่ได้อบรมมาก็ดี ตามความศรัทธาเชื่อถือก็ดี เห็นเป็นศาสนาที่ดีศาสนาหนึ่ง มีคำสั่งสอนให้คนประพฤติตนเป็นคนดี ทั้งเพียบพร้อมด้วยบรรดาสัจธรรมอันชอบด้วยเหตุผลน่าเลื่อมใสยิ่ง"
อย่างไรก็ตาม คนไทยก็มีจิตใจกว้างในการยอมรับความเชื่อหรือการปฏิบัติของศาสนาทุกศาสนา ทั้งยังอยู่ร่วมกันได้ด้วยความปรองดอง ความเป็นศาสนาที่ไม่ใช่ความรุนแรง รักสงบและยึดทางสายกลาง ทำให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่รวมคนไทยเข้าด้วยกันได้ดี แม้ว่าต่างชาติ ต่างศาสนากัน ยิ่งกว่านั้น พระมหากษัตริย์ของไทยยังทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภก คืออุปถัมภ์ศาสนาทั้งหลายไม่เฉพาะแต่พระพุทธศาสนา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าลักษณะที่เป็นมิตรของพระพุทธศาสนานั้น เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในลักษณะของสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นสถาบันหลักอีกศาสนาหนึ่งด้วย
ในด้านความเชื่อของคนไทย ก็ไม่ได้แตกต่างจากชนชาติอื่นๆ คือมีความเชื่อถือในเรื่องไสยศาสตร์ ผีสางเทวดา เชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็นและมีฤทธิ์อำนาจที่จะบันดาลร้าย-ดี ให้แก่มนุษย์ได้ การที่คนไทยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับธรรมชาติและสิ่งที่เหนือธรรมชาติ คนไทยจึงมีความเชื่อในสรรพสิ่งอันเป็นวิสัยของมนุษย์ที่ต้องการดำรงอยู่ด้วยความรู้สึกสมดุลกับธรรมชาติ และเป็นการสร้างกุศโลบายให้มีความรักและความหวงแหนสิ่งที่ให้คุณประโยชน์ในการดำรงชีวิต ความเชื่อของคนไทยแต่เดิมคือ "ผี" อันได้แก่ ผีบรรพบุรุษ ผีฟ้า (แถน-เทวดา) ผีนา (แม่ขวัญข้าว-แม่โพสพ) ผีดิน (แม่ธรณี) ผีน้ำ (แม่คงคา) และผีอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งนี้เพราะคนไทยในสมัยก่อนถือว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งในธรรมชาติ ซึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติสามารถที่จะดลบันดาลให้ทั้งความอุดมสมบูรณ์และความวิบัติภยันตรายทั้งปวง การไม่ทำลายและทำร้ายธรรมชาติทำให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
จากที่กล่าวถึงเรื่องศาสนาและความเชื่อของคนไทย จะเห็นได้ว่าการนับถือศาสนาและความเชื่อของคนไทยมีลักษณะพิเศษ กล่าวคือ นอกจากจะกราบไหว้บูชาพระพุทธรูปแล้ว ยังกราบไหว้บูชาศาลพระภูมิและผีสางเทวดา จากที่กล่าวเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยนั้น จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมไทยนอกจากจะมีลักษณะเป็นสากลเหมือนกับวัฒนธรรมของกลุ่มชนอื่นๆ แล้ว ยังมีลักษณะเฉพาะที่แสดงเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทย แสดงลักษณะเฉพาะของกลุ่มตนหลายประการ อาทิ เป็นวัฒนธรรมที่มีความเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น อีกทั้งยังเกี่ยวพันกับสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยทั้งปวง นอกจากนี้ ยังมีลักษณะที่ผสมผสานความเชื่อดั้งเดิมเข้ากับศาสนาพุทธและพราหมณ์ได้อย่างแนบสนิท เป็นวัฒนธรรมที่มีความกลมกลืนกับธรรมชาติ ชื่นชมธรรมชาติมากกว่าจะเอาชนะธรรมชาติ ดังเช่นกวีโบราณที่รจนาไว้ในวรรณคดีหลายๆ ฉบับ อีกประการก็คือ มีความละเอียดลออ ประณีตพิถีพิถันตามแบบฉบับชีวิตชาวบ้านที่ไม่มีความรีบร้อน ซึ่งจะเห็นได้จากงานวิจิตรศิลป์ต่างๆ ของไทย และยังเป็นวัฒนธรรมที่มีความอิสรเสรี แสดงออกถึงความสนุกสนาน ร่าเริง เน้นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ แต่ก็ยังไม่ลืมที่จะยกย่องผู้อาวุโส พระสงฆ์ วงศาคณาญาติ วัฒนธรรมไทยสั่งสอนให้คนไทยเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ดำเนินสืบเนื่องมาเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน สั่งสมเป็นวัฒนธรรมของชาติ ทำให้คนไทยทุกหมู่เหล่าสามารถอยู่ร่วมกันด้วยความอบอุ่นและสงบสุข
อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมไทยก็เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ ทีมนุษย์ สังคมสร้างขึ้น ย่อมต้องมีเกิด มีดับ เปลี่ยนแปลง เคลื่อนไหว ตลอดเวลา และท่ามกลางความเจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้งของโลก จำเป็นที่จะต้องมีการตัดสินใจ นั่นคือจะต้องปรับปรุง แก้ไขให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมและสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ดังนั้นการผสมผสานระหว่างเก่ากับใหม่และกับวัฒนธรรมต่างประเทศของวัฒนธรรมไทยจำเป็นต้องมีขึ้น เพื่อให้สามารถดำรงอยู่ได้ในสังคมโลก แต่ก็ไม่สามารถละทิ้งความเป็นเอกลักษณ์ของไทยได้ การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมไทยนั้นมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังจะได้กล่าวต่อไปต่างๆ ด้วย
**********************
เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย
ศาสนา
ศาสนาเป็นสถาบันที่สำคัญควบคู่กับสังคมมนุษย์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ไม่ว่า สังคมของชนชาติใด หรือภาษาใด เพราะศาสนาเป็นสิ่งที่มากับชีวิตมนุษย์ทุกคน และมีความ สัมพันธ์ ต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสังคมมนุษย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากศาสนา เป็นสื่อระหว่าง มนุษย์กับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ ฉะนั้นศาสนาจึงเป็นที่รวมของความ เคารพนับถือสูงสุดของมนุษย์เป็นที่พึ่งทางด้านจิตใจ และเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เพื่อให้ เข้าถึงสิ่งสูงสุดตามอุดมการณ์หรือความเชื่อถือนั้น ๆ และศาสนาเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการสร้าง สรรค์วัฒนธรรมด้านอื่น ๆ แทบทุกด้าน เช่น วัฒนธรรมทางการเมืองการปกครองเศรษฐกิจ ศิลปกรรม วรรณกรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ
พุทธศาสนากับชีวิตประจำวันของคนไทย
คนไทยมีความสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนามาเป็นเวลานานนับพันปีเศษมาแล้ว พุทธ ศาสนิกชนทั้งหลายมีความรู้สึกเคารพและศรัทธาในพุทธศาสนาฝังอยู่ในสายเลือดของคนไทยมา ตั้งแต่เกิดจนตาย พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่จำเป็นต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก เพราะศาสนาพุทธ ได้ผูกมัดจิตใจคนไทยทั้งชาติให้เป็นคนรักสันติ รักอิสระเสรี มีนิสัยโอบอ้อมอารี มีความเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน พุทธศาสนาได้ฝังรากลงในจิตใจของ คนไทยทั้งใน อดีตและปัจจุบัน คนไทยจึงได้แสดงออกทางศิลปกรรมต่าง ๆ เช่น จิตรกรรมมักจะเป็นเรื่องราว เกี่ยวกับชาดกต่าง ๆ ในพุทธประวัติด้านสถาปัตยกรรมก็มีการสร้างวัดวาอารามต่าง ๆ โบสถ์ วิหาร เจดีย์ เป็นต้น ส่วนดนตรีไทยก็ให้ความเยือกเย็นตามแนวทางสันติของพุทธศาสนา ด้วยอิทธิพลของ หลักธรรมในพระพุทธศาสนาทำให้จิตใจของคนไทยแสดงออกมาในลักษณะที่เยือกเย็นมีความเกื้อกูลปรองดองกัน ให้การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และทำให้คนไทยพอใจในการดำรงชีวิต อย่าง สงบสุขมาจนกระทั่งทุกวันนี้
ศิลปกรรม
ชนชาติไทยเป็นชนชาติที่มีเอกลักษณ์ทางศิลปกรรมสูงงานศิลปะเป็นงาน ที่ให้ความรู้สึกทางด้านสุนทรีย์ของมนุษย์ที่มีจิตใจสูง ซึ่งถ่ายทอดความรู้สึกที่มีคุณค่าทางจิตใจ ส่งผลให้คนไทยเป็นผู้มีวัฒนธรรมทางจิตใจที่ถ่ายทอดทางอารมณ์ได้ 2 ลักษณะคือ
2.1. ถ่ายทอดออกมาเป็นรูปธรรม ได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และประณีตศิลป์
2. 2. ถ่ายทอดออกมาไม่เป็นรูปธรรม ได้แก วรรณคดี ดนตรี และนาฏศิลป์ ศิลปวัฒนธรรมไทยที่ปรากฏจะสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของพุทธศาสนา การถ่ายทอดทาง อารมณ์ทั้ง 2 ลักษณะ ก่อให้เกิดวัฒนธรรมซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะชาติของคนไทย ซึ่งจะกล่าว ต่อไปนี้
สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรม เป็นผลทางวัตถุที่ได้รับการสร้างสรรค์ด้วยศิลปและวิทยาการในการก่อสร้าง เป็นสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งในด้านความสะดวกสบาย ปลอดภัย และพึงพอใจ ควรสร้างสรรค์งานทางด้านศิลปแห่งการก่อสร้างมิให้จำกัดจำเพาะเพียงแต่การสร้าง ที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ในความเชื่อและศรัทธาในศาสนา ก็เป็นเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้คน สร้างสรรค์งานทางด้านสถาปัตยกรรมขึ้น ต่างไปจากความมั่นคงแข็งแรงและสวยงาม ซึ่งเป็นผล ต่อจิตใจของผู้คนส่วนรวม
ประเภทของสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต ของ คนไทย จำแนกได้ 4 ประเภท กล่าวคือ
1. สถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนา จัดเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้าง ขึ้นตามวัดวาอารามต่างๆ เพื่อประโยชน์ทางพุทธศาสนา มีดังนี้ พระสถูปเจดีย์ต่างๆ พระมหาธาตุ เจดีย์ พระพุทธปรางค์ พระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิ หอฉัน ซุ้ม ระเบียง กำแพงแก้ว ศาลาราย เป็นต้น
2. สถาปัตยกรรมประเภทปูชนียสถาน เป็นสถาปัตยกรรมที่จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานอันควรแก่การสักการบูชาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จำแนกเป็นพระ สถูปเจดีย์และพระปรางค์ ปูชนียสถานดังกล่าวนี้ใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แต่เมื่อใดที่มีการสร้างพระอุโบสถเป็นประธานของวัดแล้วความสำคัญของพระสถูปและพระปรางค์ก็จะลดลงไปเพียงส่วนประกอบของเขตพุทธาวาสเท่านั้น
3. สถาปัตยกรรมประเภทอาคารสถาน คือ สถานที่ซึ่งก่อสร้าง ขึ้น เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานปูชนียวัตถุ มีรูปแบบเป็นเรือนหรือโรงอันเป็นที่อยู่อาศัยประจำ เป็นที่ประชุมคณะสงฆ์หรือพุทธศาสนิกชนประกอบพิธีกรรมเช่น เป็นสถานที่ประกอบพิธีอุปสมบท และ เป็นที่รับกฐินตลอดจนประโยชน์อื่น ๆ ได้แก่ เป็นที่สวดพระอภิธรรม เป็นที่พักของอุโบสถ เป็นที่ บอกเวลา เป็นที่เก็บพระธรรม เป็นต้น สถาปัตยกรรมประเภทอาคารสถาน ได้แก่ วิหาร โบสถ์ และ สถาปัตยกรรมประเภทบริวารสถาน (พระระเบียง หอไตร ศาลาการเปรียญ ศาลาบาตร ศาลาราย ศาลาเปลื้องเครื่อง สีมาและซุ้มสีมา กำแพงแก้ว) เป็นต้น
4. สถาปัตยกรรมประเภทที่อยู่อาศัยหรือสถาปัตยกรรม พื้นบ้าน ของไทยคือศิลปะหรือวิธีการว่าด้วยการก่อสร้างที่ชาวบ้านยึดถือปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่สืบ ทอด ต่อกันมา ซึ่งประกอบด้วยคตินิยมในการเลือกใช้วัสดุ กรรมวิธีการสรรหา ใช้รูปแบบ และ องค์ประกอบสำคัญ ที่มุ่งประโยชน์ใช้สอยของสิ่งก่อสร้างและการตกแต่งสิ่งเหล่านี้จะต้องปรากฏให้เห็นเป็นลักษณะร่วมของชุมชนนั้นอย่างปกติ
ลักษณะของสถาปัตยกรรมพื้นบ้านจะมีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิประเทศ ดินฟ้า อากาศทรัพยากรธรรมชาติในเขตของท้องถิ่น ขีดความสามารถในการผลิตและเทคนิควิทยาการของชุมชน คติความเชื่อพื้นฐานของชุมชน ตลอดจนคติของศาสนา และวัฒนธรรมของกลุ่มชนอื่นที่ชุมชนนั้น ๆ มีความพึงพอใจ ทั้งยังขึ้นอยู่กับประโยชน์ใช้สอยหลักของชุมชนอีกด้วย
สถาปัตยกรรมพื้นบ้านของไทยจำแนกได้ตามสภาพภูมิศาสตร์ โดย จัดแบ่งสถาปัตยกรรมพื้นบ้านภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ซึ่งแต่ละภูมิภาคจะมีการปลูกสร้างทีอยู่อาศัย โดยสืบทอดเอกลักษณ์พิเศษของเรือแต่ละ ภูมิภาค ให้คงไว้ซึ่งรูปแบบของเรือนไทยเฉพาะภูมิภาคปรากฏในเรือนเครื่องผูกภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้ ดังที่เรียกกันว่าเรือนพื้นถิ่น ส่วนเรือนเครื่องสับหรือเรือนไทย ปรากฏ ลักษณะเฉพาะแบบไทยตั้งแต่การมุงหลังคา การวางตัวเรือนหรือรูปเรือน ในภาคเหนือมีเอกลักษณ์ ส่วนบนหัวจั่วลักษณะกาแล ภาคกลางลักษณะป้านลมมีเหงา ภาคใต้เรือนที่มีหลังคาทรงปั้นหยา
การสร้างเรือนไทย เป็นการแสดงภูมิปัญญาของคนไทยที่ปลูกสร้าง ตามความเหมาะสมของสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศของแต่ละภูมิภาค การปลูกเรือนได้ ถ่ายทอดคตินิยมของคนไทย นับตั้งแต่ความเชื่อนั้นเป็นมงคลแก้ผู้อยู่อาศัย โดยเริ่มต้นจากการเลือกสถานที่ปลูกเรือน การลงเสา การดูฤกษ์ยาม รวมถึงการตั้งพระภูมิเจ้าที่ ซึ่งเป็นการนำคติ พราหมณ์ มาใช้ในการดำรงชีวิตเพื่อความสุขชั่วลูกชั่วหลาน
ประติมากรรม
งานประติมากรรมไทยทั่วไป หมายถึง รูปภาพที่เป็นรูปร่างปรากฏแก่สายตาสามารถสัมผัสได้โดยตรงด้วยการจับต้องซึ่งเกิดจากการสร้างสรรค์ด้วยวิธีการปั้น หล่อ แกะสลัก เป็นต้น เพื่อตอบสนองความเชื่อ ความพึงพอใจ ความภาคภูมิใจ ร่วมไปกับการดำรงชีวิต ทั้งส่วนบุคคลและชนในสังคมไทยเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดประสบการณ์ ค่านิยมที่ได้รับ จากสิ่งแวดล้อมและได้แสดงออกมาเป็นงานประติมากรรมอันเป็นสัญลักษณ์ประจำชนชาตินั้น ๆ
ลักษณะงานประติมากรรมไทย แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ
1. งานประติมากรรมที่มีลักษณะเป็นรูปทรงลอยตัว (Sculpture in the round) งานสร้างสรรค์รูปทรงในลักษณะ เช่น เป็นการสร้างทำรูปภาพให้เกิดขึ้นจากส่วนฐานซึ่งรองรับอยู่ทางตอนล่างรูปทรงของงานประติมากรรม อาจแสดงรูปแบบที่แลดูได้ทุกด้าน หรือแสดงทิศทางและการเฉลี่ยน้ำหนักลงสู่ฐานงานประติมากรรมไทยที่มีลักษณะเป็นรูปทรงลอยตัวนี้ ตัวอย่าง พระพุทธรูปเทวรูปต่าง ๆ เช่น รูปพระนารายณ์ทรงปืน ที่หน้าพระที่นั่งพุทธไธยสวรรค์ในบริเวณพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ และรูปนางธรณีบีบมวยผม หน้ากระทรวงยุติธรรม กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
2. งานประติมากรรมที่มีลักษณะเป็นรูปทรงแบบราบมีพื้นรองรับ (Sculpture in the relief) งานสร้างสรรค์รูปทรงประติมากรรมเช่นนี้ เป็นการสร้างและนำเสนอ รูปทรงแต่จำเพาะด้านใดด้านหนึ่งให้ปรากฏแก่ตา โดยลำดับรูปทรงต่าง ๆ ลงบนพื้นราบซึ่งรองรับ อยู่ทางด้านหลังแห่งรูปทรงทั้งปวงการเคลื่อนไหวและทิศทางของรูปภาพอาจกระทำได้ในทางราบขนานไปกับพื้นผิวระนาบของพื้นหลังงานประติมากรรมในลักษณะนี้ แสดงรูปทรงและเนื้อหาให้ ปรากฏเห็นได้จำเพาะแต่เพียงด้านเดียว ตัวอย่างเช่น รูปภาพปั้นปูนเรื่องเรื่องทศชาติชาดกที่วัดไล อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ลวดลายไม้บานประตูพระวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
3.งานประติมากรรมที่มีลักษณะเป็นรูปทรงจมอยู่ในพื้น (Sculpture in the mcise) งานประติมากรรมลักษณะเช่นที่ว่าเป็นผลอันเกิดแต่การสร้างสรรค์รูปทรงต่าง ๆ ให้ปรากฏและมีอยู่ในพื้นที่รองรับอยู่นั้น งานประติมากรรมจึงมีลักษณะเป็นทั้งรูปภาพที่เกิดขึ้นด้วยเส้นขีดเป็นทางลึกลงในพื้น (Incise Line) อย่างหนึ่ง กับรูปภาพซึ่งเกิดขึ้นโดยการเจาะหรือฉลุส่วนที่เป็นพื้นออก(Craving)ให้คาไว้แต่ส่วนที่เป็นรูปภาพงานประติมากรรมลักษณะดังกล่าว เป็นการนำเสนอรูปแบบและเนื้อหาให้ปรากฏและแลเห็นได้จำเพาะแต่ด้านเดียว เช่นเดียวกับงานประติมากรรมลักษณะที่กล่าวมาแล้วในข้อ 2 ตัวอย่างเช่น ภาพลายเส้นในรอยพระพุทธบาทสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นตัวอย่างงานประติมากรรมที่สร้างทำด้วยวิธีขีดเส้นเป็นทางลึกลงไปในพื้นรูปภาพหนังใหญ่ สลักเป็นตัวละครในเรื่อง รามเกียรติ์ นี้เป็นตัวอย่างทำงานประติมากรรมที่มีรูปทรงจมอยู่ในพื้น โดยการฉลุหรือเจาะส่วนพื้นออกทิ้ง เหลือไว้แต่ส่วนที่เป็นรูปภาพ
อนึ่งงานประติมากรรมไทย นอกเสียจากลักษณะต่าง ๆ ดังกล่าว ในแต่ละข้อข้างต้นนี้แล้ว ยังมีงานสร้างสรรค์รูปทรงที่ว่าเป็นงานประติมากรรมได้อีกลักษณะหนึ่ง คืองานประติมากรรมลักษณะที่เป็นสิ่งห้อยหรือแขวน (Mobile) เช่นรูปพวงปลาตะเพียนสานด้วย ใบลาน ทำเป็นเครื่องห้อยรูปพวงกระจับทำด้วยเศษผ้าใช้แขวน รูปพวงกลางทำร้อยด้วยดอก ไม้สด ใช้แขวนต่างเครื่องประดับ เป็นต้น
จิตรกรรมไทย
งานจิตรกรรมไทยเป็นงานสร้างสรรค์ทางศิลปะด้วยการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกมาเป็นรูปภาพเพื่อสื่อความหมายก่อให้เกิดความรู้สึกยอมรับ ความพึงพอใจและมีความสุข
การเขียนรูปภาพจิตรกรรมในประเทศไทย นับแต่โบราณกาล จนถึง ปัจจุบันมักเขียนขึ้นเพื่อนำมาใช้อธิบายพรรณนา หรือลำดับเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา โดยเฉพาะเกี่ยวกับพุทธประวัติ การพรรณนาและลำดับเรื่องอดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อยังเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์หรืออธิบายความเชื่อและเหตุผลแห่งหลักธรรมต่างๆ ให้คนทั่วไปเกิด ความเข้าใจและยอมรับได้โดยง่าย นอกจากนั้นยังแสดงพฤติกรรมและความเป็นไปในวิถีชีวิตของ คนไทย โดยสามารถจำแนกออกได้เป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
1. เรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธประวัติ เรื่องทศชาติ ไตรภูมิพระร่วง เป็นต้น รูปภาพแสดงเรื่องราวและเหตุการณ์เหล่านี้มักจะเขียนรูปภาพ ขนาดใหญ่เต็ม พื้นฝาผนังภายในพระอุโบสถ
2. เรื่องเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณี เขียนขึ้นเพื่อแสดง รูปแบบ ของความเชื่อในขนบธรรมเนียมและประเพณีที่ถือปฏิบัติในเวลานั้นให้คนทั้งหลายได้รู้เห็น เข้าใจและปฏิบัติได้ถูกต้อง เช่น ประเพณีต่าง ๆ ที่มีใน 12 เดือน ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต เป็นต้น
3. เรื่องเกี่ยวกับวิชาการ เป็นตำราความรู้ต่าง ๆ ในเมืองไทย แต่ก่อนที่ทำเป็นสมุดมีรูปภาพประกอบ เพื่อแสดงตัวอย่างให้เห็นชัดเจน เช่น ตำราฟ้อนรำ ตำรา ดูแมว ตำราชกมวย ตำราพิชัยสงคราม เป็นต้น
4. เรื่องเกี่ยวกับวรรณคดี ในสมัยก่อนคนที่ไม่รู้หนังสือมีอยู่มาก ดังนั้นการใช้รูปภาพเขียนลำดับความจากวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ ช่วยทำให้คนทั่วไปสามารถรับรู้ และประจักษ์ในคุณค่าแห่งวรรณคดีได้ วรรณคดีเรื่องที่นิยมนำมาเขียนเป็นรูปภาพ มีอยู่หลายเรื่องด้วยกัน อาทิเช่น รามเกียรติ์ อิเหนา สังข์ทอง เป็นต้น
5. เรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ซึ่งนิยมเขียนขึ้นมาในสมัยกรุง รัตนโกสินทร์เป็นเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ เช่น พระราชพงศาวดาร สมัยกรุงศรีอยุธยา พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยุทธหัตถี เป็นต้น (จุลทัศน์ พยาฆรานนท์, 2521 : 225-226)
ประณีตศิลป์
ประณีตศิลป์เป็นศิลปกรรมที่งดงามและทรงคุรค่ามากอีกสาขาหนึ่ง ประณีตศิลป์ที่นิยมทำมากในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้แก่
1. งานช่างประดับมุก เป็นศิลปะที่นิยมทำกันมากในสมัยรัชกาลที่ 1 ผลงานชิ้นเอกในสาขานี้คือ พระแท่นราชบัลลังก์ประจำพระที่นั่งุสิตมหาปราสาท องค์พระแท่นสร้างด้วยไม้ประดับมุขเป็นลายกระหนก งานประดับมุกที่งดงามมากอีกชิ้นหนึ่งคือ บานประตูพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม นอกจากนั้นยังมีบานประตูประดับมุกวัดพระเชตุพนวิมล มังคลาราม วัดราชโอรสาราม ตู้ประดับมุขทรงมณฑป และพระแท่นบรรจถรณ์ประดับมุข เป็นต้น
2. งานสลักไม้ งานสลักไม้ที่จัดเป็นศิลปะชิ้นเอกและ มีความสำคัญมากคือ การสลักไม้ประกอบพระมหาพิชัยราชรถและเวชยันต์ราชรถ
3. เครื่องถ้วยเบญจรงค์ ในสมัยราชกาลที่ 2 นิยมสั่งเครื่องถ้วย เบญจรงค์จากประเทศจีน โดยชาวไทยออกแบบรูปทรงและลวดลายส่งไปให้ช่างจีนทำ ลายที่นิยมส่งไปให้ทำได้แก่ ลายเทพพนม ลายราชสีห์ และลายกินนร เป็นต้น ที่เรียกว่าเบญจรงค์ เพราะเขียน ด้วยสี 5 สี คือ สีแดง เขียว น้ำเงิน เหลือง และดำ นอกจากนั้นยังมีลายที่เขียนด้วยทอง เรียกว่า ลายน้ำทอง
4. งานช่างทองรูปพรรณ รัชกาลที่ 1 ให้ฟื้นฟูและทะนุบำรุง ช่างทองรูปพรรณขึ้นใหม่ที่สำคัญได้แก่เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ซึ่งประกอบด้วยพระมหาพิชัย
มงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรีธารพระกร พระแส้ พัดวาลวิชนี และฉลองพระบาทเชิงงอน นอกจากนี้ยังมีเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ เครื่องราชูปโภค เครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ทำด้วยทองคำจำหลัก ประดับอัญมณี
5. งานช่างถมยาดำ รัชกาลที่ 2 ให้ฟื้นฟูและฝึกหัดวิชาการทำ เครื่องถมขึ้น วิชาการสาขานี้รุ่งเรืองและแพร่หลายมากที่เมืองนครศรีธรรมราช ผลงานชิ้นเอกของ สาขานี้คือ พระราชยานถมที่พระยานคร (น้อย) ทำขึ้นถวายรัชกาลที่ 2 พระราชยานถม นี้ทำอย่างพระยานมาส มีโครงเป็นไม้หุ้มด้วยเงิน ถมยาดำทาทอง (เสนอ นิลเดช และคณะ. 2537 : 20)
วรรณคดี
วรรณคดีเป็นงานทางศิลปะที่มุ่งให้ความเพลิดเพลินทางใจและให้อารมณ์แก่ผู้อ่าน ดังนั้นภาษาที่ใช้จึงต้องมีความประณีต งดงาม และส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักเป็นส่วนใหญ่ การอ่านวรรณคดีมักจะได้รับอารมณ์ ประทับใจ สุขใจ เห็นใจ หรือซาบซึ้งใจ
วรรณคดีไทยมีลักษณะการดำเนินเรื่องหลายรูปแบบ ดังนี้
1. วรรณคดีนิทานประเภทจักร ๆ วงศ์ ๆ ซึ่งหมายถึงชื่อของ พระเอก มักมีคำว่า "จักร" หรือ "วงศ์" เช่น ลักษณะวงศ์ จักรแก้ว ศิลป์สุริวงศ์ เป็นต้น การดำเนินเรื่องวรรณคดี ประเภทนี้ มักมีโครงเรื่องอย่างเดียวกัน คือเป็นเรื่องที่พระเอกและนางเอกต้องพรัดพรากจากกัน พระเอกออกติดตามนางเอกและผจญภัยมากมายจนที่สุดก็พบนางเอกในปั้นปลาย
2. วรรณคดีนิทานที่มีเค้าเรื่องจริง ซึ่งมักเป็นเรื่องราวของบุคคล ที่เชื่อว่ามีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เช่น ลิลิตพระลอ ขุนช้างขุนแผน ผาแดงนางไอ่ เงาะป่า ไกรทอง อิเหนา
3. วรรณคดีที่เป็นการพรรณนาอารมณ์รักโดยตรง วรรณคดีประเภทนี้มีเนื้อหาเป็นการรำพันความรักอันเกิดจากต้องพลัดพรากจากนางอันเป็นที่รัก หรือบทที่กวีต้อง เดินทางจากนางไปในแดนไกล เช่น วรรณคดีนิราศ เช่น นิราศพระบาท กาพย์ห่อโคลง นิราศ ธารโศก
4. วรรณคดีที่เป็นการพรรณนาอันแฝงอารมณ์รัก เป็นวรรณคดี ที่ผู้แต่งพรรณนาสิ่งต่าง ๆ โดยแฝงอารมณ์รักไว้ด้วย เช่น วรรณคดีประเภทกาพย์เห่เรือ
5. วรรณคดีพิธีกรรม พิธีกรรมเป็นเรื่องของการกระทำ ในสังคม ที่มุ่งผลด้านจิตใจ ดังนั้นจึงมักมีบทสวดเพื่อให้เกิดผลทางใช้แก่ผู้ร่วมประกอบพิธี เช่น ลิลิตโองการ แช่งน้ำ ซึ่งเป็นงานประพันธ์ในสมัยอยุธยาตอนต้น
6. วรรณคดีศาสนา ศาสนาเป็นเรื่องของความเชื่อและศรัทธา ดังนั้น จึงมีวรรณคดีที่สร้างความประทับใจและเกิดศรัทธาขึ้นในหมู่ศาสนิกชน เช่น มหาชาติคำหลวง มหาชาติคำกลอนเทศน์ ปฐมสมโพธิกถา ซึ่งเป็นพุทธประวัติที่แต่งด้วยร้อยแก้ว กวีคือสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส
7. วรรณคดีคำสอน เป็นวรรณคดีที่แต่งขึ้นเพื่ออบรมจริยธรรม ขนบ ธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่ออันเป็นวัฒนธรรมของสังคม เป็นการถ่ายทอด วัฒนธรรม ของสังคม เช่น พระมาลัยคำหลวง นันโทนันทสูตรคำหลวง ทศชาติ พญาคำกองสอนไพร่ ซึ่งเป็นวรรณคดีคำสอนทางอีสานเป็นเรื่องอบรมประชาชน ในเมืองของตนในการครองเรือน การหาความรู้ หน้าที่พ่อบ้านแม่บ้าน กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ สุภาษิตสอนหญิง สวัสดิรักษาคำกลอน เป็นต้น
8. วรรณคดีประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องราวข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใน ประวัติศาสตร์ โดยกวีสอดแทรกจินตนาการและการใช้ภาษาให้ไพเราะ เช่น ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นต้น
ดนตรีไทย
ดนตรีไทย หมายถึง เสียงที่ประกอบกันเป็นทำนองเพลง เครื่อง บรรเลง ซึ่งมีเสียงดังทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน เกิดอารมณ์รัก โศก และรื่นเริง เป็นต้น ดนตรี มีรากศัพท์จากภาษาบาลีว่า ตนฺติ ภาษาสันสกฤตว่า ตนฺตริน เมื่อแผลงมาเป็นคำว่าดนตรีในภาษาไทยแล้วประกอบด้วย
1) คีตะ การร้องเป็นการร้องอย่างมีศิลป์ ในภาษาไทยเรียกว่า คีตศิลป์
2) ตุริยะ เครื่องดนตรี เครื่องทำนองเพลง (ดีด สี ตี เป่า) ในภาษาไทยเรียกว่า ดุริยางคศิลป์ ซึ่งหมายถึง ศิลปการบรรเลงเครื่องดนตรีต่าง ๆ
3) นาฏะ การรำเต้น ในภาษไทยเรียกว่านาฏศิลป์ หมายถึง การแสดงออกซึ่งมีลีลาท่ารำต่าง ๆ ลักษณะเป็นระบำ รำ เต้น (หรือเรียกว่าโขน) ทั้ง 3 คำ รวมกันเรียกว่า ดนตรี ดังนั้นมิได้หมายถึงเครื่องบรรเลงเท่านั้น (เสรี หวังในธรรม, 2525 : 150)
ชื่อและชนิดของเครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทย ก่อนที่คนไทยจะรับวัฒนธรรมแบบอินเดีย ได้แก่ เกราะ โกร่ง กรับ ฉาบ ฉิ่ง ปี่ ขลุ่ย เพี้ย ซอ ฆ้อง และกลอง เป็นต้น ในเวลาต่อมาคนไทยพัฒนาเครื่องดนตรีทำด้วยไม้ เช่น กรับ พร้อมทั้งการคิดฆ้องวงใช้ในการเล่นดนตรีเมื่อคนไทยเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแหลมสุวรรณภูมิ จึงได้รับอิทธิพลของอินเดียผสมกับมอญและเขมร จึงทำให้เครื่องดนตรีไทยเพิ่มจากเดิม อาทิ พิณ สังข์ ปี่ไฉน บัณเฑาะว์ กระจับ ปี่ จะเข้ โทน และทับ
ดนตรีไทยปรากฏมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จากสมัยสุโขทัยสืบต่อมาสมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน ดนตรีไทยจัดเป็นดนตรีที่มีแบบแผนหรือดนตรีคลาสสิก (Classic Music) เครื่องดนตรีไทยนั้นกรมศิลปากร จำแนกไว้รวมทั้งสิ้น 56 ชนิด ประกอบด้วยเครื่องตี เครื่องเป่า เครื่องดีด และเครื่องสี เครื่องดนตรีไทยที่นิยมใช้กันมาก ดังนี้
- เครื่องดีด ได้แก่ พิณน้ำเต้า พิณ เพ้ย กระจับปี่ ซึง จะเข้
- เครื่องสี ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ ซอสามสาย ซอล้อ
- เครื่องตีประเภทไม้ ได้แก่ เกราะ โกร่ง กรับ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม เครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ ได้แก่ ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง ฆ้อง หุ่ย และเครื่องตีที่ทำด้วยหนัง ได้แก่ กลองทุกประเภท
- เครื่องเป่า ได้แก่ ขลุ่ย ปี่ แคน แตร สังข์ เป็นต้น (มนตรี ตราโมท, 2503 : 47)
- เครื่องดีด ได้แก่ พิณน้ำเต้า พิณ เพ้ย กระจับปี่ ซึง จะเข้
- เครื่องสี ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ ซอสามสาย ซอล้อ
- เครื่องตีประเภทไม้ ได้แก่ เกราะ โกร่ง กรับ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม เครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ ได้แก่ ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง ฆ้อง หุ่ย และเครื่องตีที่ทำด้วยหนัง ได้แก่ กลองทุกประเภท
- เครื่องเป่า ได้แก่ ขลุ่ย ปี่ แคน แตร สังข์ เป็นต้น (มนตรี ตราโมท, 2503 : 47)
นาฏศิลป์ไทย
นาฏศิลป์ไทย หมายความถึง ศิลปะการละครและการฟ้อนรำ ซึ่งสืบทอดจากนาฏศิลป์ดั้งเดิม 3 ลักษณะดังกล่าวคือ
1) ระบำ ได้แก่การแสดงนาฏศิลป์ไทยที่ไม่เป็นเรื่อง ไม่มีตัว พระเอก นางเอก ตัวโกง เช่น การรำอวยพร ระบำดาวดึงส์ ระบำโบราณคดี เป็นต้น
2) รำ ได้แก่ การแสดงเป็นเรื่องที่เรียกว่า ละครต่าง ๆ ดังเช่น การเล่นโนรา ได้รับอิทธิพล จากสมัยศรีวิชัย ซึ่งมีคำร้องทำนองเรียกว่า กำพระมีผู้แสดงเป็นพระเอก นางเอก และตัวประกอบ
3) เต้น ได้แก่ การเล่นโขนจัดเป็นนาฏกรรมประเภทมหรสพ มีหลายชนิด เช่น โขนกลางแปลง โขนโรงนอก โขนโรงใน โขนนั่งราว โขนเป็นนาฏกรรม ประเภทแถวที่รับเอาเรื่องรามเกียรติ์จากอินเดียมาแสดงเป็นรามเกียรติ์ไทย
2) รำ ได้แก่ การแสดงเป็นเรื่องที่เรียกว่า ละครต่าง ๆ ดังเช่น การเล่นโนรา ได้รับอิทธิพล จากสมัยศรีวิชัย ซึ่งมีคำร้องทำนองเรียกว่า กำพระมีผู้แสดงเป็นพระเอก นางเอก และตัวประกอบ
3) เต้น ได้แก่ การเล่นโขนจัดเป็นนาฏกรรมประเภทมหรสพ มีหลายชนิด เช่น โขนกลางแปลง โขนโรงนอก โขนโรงใน โขนนั่งราว โขนเป็นนาฏกรรม ประเภทแถวที่รับเอาเรื่องรามเกียรติ์จากอินเดียมาแสดงเป็นรามเกียรติ์ไทย
ลักษณะเฉพาะของนาฏศิลป์ไทย
นาฏศิลป์ไทยจัดเป็นศิลปะ แสดงออกในท่ารำ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นท่ารำที่อ่อนช้อย งดงาม มีความหมายในท่ารำทุกท่วงท่า โดยการฝึกหัดอบรมจึงจัดเป็นศิลปะไทยที่มีเอกลักษณ์ในความเป็นไทยและถือปฏิบัติเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดจาก บรรพบุรุษดังนี้
1) เป็นการแสดงออกถึงความเป็นไทยในด้านท่ารำอันอ่อนช้อย งดงาม และแสดงอารมณ์ตามลักษณะที่แท้จริงของคนไทย มีเอกลักษณ์ในดนตรีประกอบ เนื้อร้อง และการแต่งกายพร้อมทั้งแบบแผนในการแสดง
2) เป็นศิลปะที่เกิดจากการฝึกหัดอบรมและความรักในการ แสดง โดยเฉพาะผู้แสดงนาฏศิลป์จะต้องมีการไหว้ครูก่อนการแสดง การแสดงนาฏศิลป์จะต้อง มีการฝึกซ้อมเป็นเวลานานตั้งแต่วัยเยาว์การฝึกท่ารำแต่ละท่า ซึ่งต้องใช้เวลาในการฝึก
3) เป็นศิลปะของคนทุกชนชั้น นาฏศิลป์ไทยสามารถ แสดง ได้ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ เจ้านาย และประชาชนทั่วไป โดยมีแบบแผนดังเช่นในท่ารำแบบสู้รบ จัดเป็นวิชาชั้นสูง แสดงจะต้องศึกษาตำรายุทธศาสตร์ในบางโอกาสมีการแสดงบนคอช้างพระที่นั่ง นอกจากนี้ได้มีการจัดแบบแผนการแสดงไว้สำหรับราชสำนักและประชาชนทั่วไป อาทิเช่น การ แสดงโขนละคร ระบำ รวมทั้งการแสดงเฉพาะในแต่ละภูมิภาคตามประเพณีท้องถิ่น
4) เป็นศิลปะที่เน้นการแสดงทางอารมณ์ ดังปรากฏในท่าแสดง ความสนุกบันเทิงใจ ท่าโกรธแค้น อารมณ์รัก ซึ่งกรมศิลปากรได้รวบรวมไว้ถึง 68 ท่า การตีบท แสดง ตามภาษาท่า ตามคำร้อง คำเจรจา คำพากย์ในการแสดงโขน
5) เป็นศิลปะที่มีรูปแบบและกระบวนการในตนเอง จัดเป็นเอก- ลักษณ์ในด้านรูปแบบโดยแบ่งผู้แสดงเป็น ตัวพระ ตัวนาง ยักษ์ ลิง เป็นต้น ซึ่งผู้แสดงมีท่ารำและคำกลอนที่มีความสอดคล้องกันดังเช่นการรำหน้าพาทย์ ผู้แสดงจะรำตามจังหวะเฉพาะกับเพลงต่างๆโดยไม่ต้องมีเนื้อร้องและทำนองในเพลงเชิด เพลงกราว เพลงช้า เพลงเร็ว เป็นต้น
1) เป็นการแสดงออกถึงความเป็นไทยในด้านท่ารำอันอ่อนช้อย งดงาม และแสดงอารมณ์ตามลักษณะที่แท้จริงของคนไทย มีเอกลักษณ์ในดนตรีประกอบ เนื้อร้อง และการแต่งกายพร้อมทั้งแบบแผนในการแสดง
2) เป็นศิลปะที่เกิดจากการฝึกหัดอบรมและความรักในการ แสดง โดยเฉพาะผู้แสดงนาฏศิลป์จะต้องมีการไหว้ครูก่อนการแสดง การแสดงนาฏศิลป์จะต้อง มีการฝึกซ้อมเป็นเวลานานตั้งแต่วัยเยาว์การฝึกท่ารำแต่ละท่า ซึ่งต้องใช้เวลาในการฝึก
3) เป็นศิลปะของคนทุกชนชั้น นาฏศิลป์ไทยสามารถ แสดง ได้ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ เจ้านาย และประชาชนทั่วไป โดยมีแบบแผนดังเช่นในท่ารำแบบสู้รบ จัดเป็นวิชาชั้นสูง แสดงจะต้องศึกษาตำรายุทธศาสตร์ในบางโอกาสมีการแสดงบนคอช้างพระที่นั่ง นอกจากนี้ได้มีการจัดแบบแผนการแสดงไว้สำหรับราชสำนักและประชาชนทั่วไป อาทิเช่น การ แสดงโขนละคร ระบำ รวมทั้งการแสดงเฉพาะในแต่ละภูมิภาคตามประเพณีท้องถิ่น
4) เป็นศิลปะที่เน้นการแสดงทางอารมณ์ ดังปรากฏในท่าแสดง ความสนุกบันเทิงใจ ท่าโกรธแค้น อารมณ์รัก ซึ่งกรมศิลปากรได้รวบรวมไว้ถึง 68 ท่า การตีบท แสดง ตามภาษาท่า ตามคำร้อง คำเจรจา คำพากย์ในการแสดงโขน
5) เป็นศิลปะที่มีรูปแบบและกระบวนการในตนเอง จัดเป็นเอก- ลักษณ์ในด้านรูปแบบโดยแบ่งผู้แสดงเป็น ตัวพระ ตัวนาง ยักษ์ ลิง เป็นต้น ซึ่งผู้แสดงมีท่ารำและคำกลอนที่มีความสอดคล้องกันดังเช่นการรำหน้าพาทย์ ผู้แสดงจะรำตามจังหวะเฉพาะกับเพลงต่างๆโดยไม่ต้องมีเนื้อร้องและทำนองในเพลงเชิด เพลงกราว เพลงช้า เพลงเร็ว เป็นต้น
นาฏศิลป์ไทยเป็นวิชาการที่ละเอียดอ่อน ผู้แสดงระดับครูจัดเป็น ศิลปิน วิชาการนาฏศิลป์ไทยทั้งผู้แสดง ผู้ชมจะต้องมีพื้นความรู้ ขณะเดียวกันการแสดงประเภท ระบำได้รับการประดิษฐ์ท่ารำและลีลาใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับสภาพของวัฒนธรรมพื้นบ้าน กลายเป็นการละเล่นพื้นเมืองประจำภาค และเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ในหมู่ประชาชนได้มากกว่าการแสดงนาฏศิลป์ ซึ่งจัดเป็นการแสดงเป็นละครเรื่องต่าง ๆ และการแสดงโขน
ที่มาของข้อมูล
ที่มาของวัฒนธรรมไทย
ความสำคัญของวัฒนธรรม
วัฒนธรรมเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งในความเป็นชาติ ชาติใดที่ไร้เสียซึ่งวัฒนธรรมอันเป็นของตนเองแล้ว ชาตินั้นจะคงความเป็นชาติอยู่ไม่ได้ ชาติที่ไร้วัฒนธรรม แม้จะเป็นผู้พิชิตในการสงคราม แต่ในที่สุดก็จะเป็นผู้ถูกพิชิตในด้านวัฒนธรรม ซึ่งนับว่าเป็นการถูกพิชิตอย่างราบคาบและสิ้นเชิง ทั้งนี้เพราะผู้ที่ถูกพิชิตในทางวัฒนธรรมนั้นจะไม่รู้ตัวเลยว่าตนได้ถูกพิชิต เช่น พวกตาดที่พิชิตจีนได้ และตั้งราชวงศ์หงวนขึ้นปกครองจีน แต่ในที่สุดถูกชาวจีนซึ่งมีวัฒนธรรมสูงกว่ากลืนจนเป็นชาวจีนไปหมดสิ้น
หน้าที่ของวัฒนธรรม
วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบัน ซึ่งมีลักษณะแตกต่าง กันไปในแต่ละสังคม เช่น วัฒนธรรมอิสลามอนุญาตให้ชาย (ที่มีความสามารถเลี้ยงดูและ ให้ความ ยุติธรรมแก่ภรรยา) มีภรรยาได้มากกว่า 1 คน โดยไม่เกิด 4 คน แต่ห้ามสมสู่ ระหว่าง เพศเดียว กัน อย่างเด็ดขาด ในขณะที่ศาสนาอื่นอนุญาตให้ชายมีภรรยาได้เพียง 1 คน แต่ไม่มีบัญญัติห้าม ความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน ฉะนั้นรูปแบบของสถาบันครอบครัวจึงอาจแตกต่างกันไป
วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ พฤติกรรมของคน จะเป็นเช่นไรก็ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของกลุ่มสังคมนั้น ๆ เช่น วัฒนธรรมในการพบปะทักทายของ ไทย ใช้ในการสวัสดีของชาวตะวันตกทั่วไปใช้ในการสัมผัสมือ ของชาวทิเบตใช้การแลบลิ้น ของชาว มุสลิมใช้การกล่าวสลาม เป็นต้น
วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ควบคุมสังคม สร้างความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ให้แก่สังคม เพราะในวัฒนธรรมจะมีทั้งความศรัทธา ความเชื่อ ค่านิยม บรรทัดฐาน เป็นต้น ตลอดจน ผลตอบแทนในการปฏิบัติและบทลงโทษเมื่อฝ่าฝืน
ประเพณีไทย อารยธรรมไทย
ประเพณีไทยอันดีงามที่สืบทอดต่อกันมานั้น ล้วนแตกต่างกันไปตามความเชื่อ ความผูกพันของผู้คนต่อพุทธศาสนา
และการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นทั่วแผ่นดินไทย เช่น
ภาคเหนือ ประเพณีบวชลูกแก้วของคนไตหรือชาวไทยใหญ่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ภาคอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวจังหวัดยโสธร
ภาคกลาง ประเพณีทำขวัญข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาคใต้ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น นอกจากนี้
ประเพณีและอารยธรรมไทยยังนำมาซึ่งการท่องเทียว เป็นที่รู้จักและประทับใจแก่ชาติอื่น นับเป็นมรดกอันลำค่าที่เรา ... คนไทยควรอนุรักษ์และสืบสานให้ยิ่งใหญ่ตลอดไป
เรื่องน่ารู้ประเพณีและวัฒนธรรมไทย
มกราคม ฤดูเก็บเกี่ยว
เดือนยี่เมื่อการเก็บเกี่ยวข้าวในนาเเละนวดข้าวเสร็จสิ้นลง เกษตรกรชาวนาซึ่งทำงานหนัก เพราะต้องทำงานตรากตรำ กลางเเดดฝนอยู่ในโคลนตมเป็นเวลานานๆ เมื่อไถหว่านปักดำ จนต้นข้าวงอกงามเติบโตเเละออกรวง ได้เก็บเกี่ยวพืชผลที่ลงเเรงไว้ เมื่อนวดข้าวเเละเก็บข้าวขึ้นใส่ยุ้งฉางเรียบร้อยเเล้ว เสร็จสิ้น การทำงานอีกครั้งหนึ่ง ก็ร่วมกันทำบุญให้ทานเพื่อความเป็นสิริมงคล เเก่ตนเอง ครอบครัวเเละหมู่บ้าน
กุมภาพันธ์ เดือนมาฆะ
"มาฆะ" เเปลว่า เดือน ๓ ทางจันทรคติเรียกว่า มาฆมาส หรือ มาฆบูชาจาตุรงคสันนิบาต วันมาฆบูชากำหนดตรงกับวันเพ็ญเดือน ๓ ของทุกๆปี พระราชพิธีกุศลวันมาฆบูชานี้ เกิดเมื่อครั้งรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระราชดำริว่า วันเพ็ญกลางเดือน ๓ เป็นวันพระจันทร์เสวยมาฆฟกษ์ มีเหตุการณ์สำคัญยิ่ง จึงได้พระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดทำพิธีมาฆบูชาขึ้น
มีนาคม วันตรุษสิ้นปี
พิธีทำบุญวันตรุษเดือน ๔ หรือประเพณีการทำบุญวันตรุษสิ้นปี เริ่มตั้งเเต่วันเเรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ไปจนถึง วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ รวม ๓ วัน ตรุษนี้บอกกำหนดสิ้นปี มีการทำบุญให้ทาน เพื่อระลึกถึงสังขารที่ล่วงมา ด้วยดีอีกปีเเล้ว มีการยิงปืนใหญ่ จุดประทัด ดอกไม้ไฟ ตีกลอง เคาะระฆัง เพื่อขับไล่ สิ่งชั่วร้ายต่างๆ ออกจากเมือง ชาวบ้านต่างก็ทำความสะอาด เคหะสถาน เพื่อเตรียมตัวรับปีใหม่ ที่กำลังจะมาถึง
เมษายน รดน้ำวันสงกรานต์
ในวันเเละเวลาที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เฉพาะในเดือน ๕ เรียกว่าวันมหาสงกรานต์ เพราะถือว่าเป็นวัน เเละ เวลาตั้งต้นปีใหม่คือ วันที่ ๑๓ เป็นวันต้น คือวันสงกรานต์ วันที่ ๑๔ วันกลาง คือวันเนา เเละ วันที่ ๑๕ วันสุดท้าย คือวันเถลิงศก วันสงกรานต์ เป็นประเพณีที่ผู้คนมีความ สนุกสนานกัน หลังงานเก็บเกี่ยวว่างเว้นจากการทำไร่ทำนา เป็นเวลาที่ ชาวเกษตรกร ได้พักผ่อน เวลาที่จะหาความสนุกใส่ตน ก่อนที่เวลา ที่จะต้องไปทำการเพาะปลูก อีกครั้ง ผู้คนสาดน้ำใส่กัน ซึ่งหมายถึงอวยพร ให้เเก่กัน เเละขอให้โชคดี ในปีใหม่ที่จะย่างกลายเข้ามา
พฤษภาคม วิสาขบูชา
"วิสาขะ" เเปลว่า เดือนที่ ๖ หรือ เรียกว่า "วิสาขมาส" ในรัชกาลที่สอง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หรงโปรดเกล้าให้ทำพิธี ถวายพระพร เนื่องในวันวิสาขบูชา เป็นครั้งเเรกเมื่อ พศ 2360 (ในราชวงศ์รัตน์โกสินทร์ตอนต้น), ซึ่งเป็นประเพณีนิยมของชาวไทย มาครั้งตั้งเเต่ในสมัยกรุงสุโขทัย ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ นี้ ชาวบ้านร่วมกันประดับตกเเต่งบ้านเรือน เเละ วัดวาอาราม ด้วยโคมไฟ พู่กลิ่น พวงดอกไม้สด พวงดอกไม้เเห้ง เเละจุดเทียนสว่างไสว
มิถุนายน หล่อเทียนพรรษา
ก่อนเข้าพรรษา ๑ เดือน ประมาณเดือน ๗ ชาวบ้านจัดการเรี่ยไรขึ้ผึ้ง เเละ ร่วมกันทำพิธีหล่อเทียน เเละ เเกะสลัก ปิดทองอย่างสวยงาม เเห่ขบวน เทียนประกวดเเข่งขันกันสนุกสนาน ในสมัยหรุงัตนโกสินทร์ มีพระราชพิธี ถวายเทียนพรรษาไปตามพระอารามหลวงที่สำคัญๆ ซึ่งได้ปฏิบัติสืบทอด มาจนปัจจุบัน เเละ เนื่องจากเป็นเดือนที่มีผลไม้ต่างๆ ออกผลบริบูรณ์มาก จึงจัดให้มีงานบุญสลากภัต ไปถึงวันเข้าพรรษา
กรกฎาคม เข้าพรรษา
พรรษา เเปลว่า ฝน หรือ ฤดูฝน ฤดูเข้าพรรษาเริ่มต้นเเต่วันเเรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ราวกลางเดือนกรกฎาคมของทุกๆปี จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ รวมเป็นเวลา ๓ เดือน เรียกว่า ไตรมาส ตลอดเวลาเข้าพรรษานี้ ชาวบ้าน ตั้งใจละเว้นอบายมุขทั้งปวง ทำจิตใจให้ผ่องเเผ้ว เยือกเย็น เป็นการสร้าง กุศล ซึ่งพระราชพิธีกุศล เข้าพรรษาถือ เป็นพระราชพิธีเเห่งราชสำนัก มาตั้งเเต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สืบเนื่องมาจนปัจจุบัน
สิงหาคม โกนจุก
"โกนจุก" เป็นประเพณีไทยเเต่โบราณ เมื่อเด็กอายุครบเดือนได้ทำขวัญเดือน เเละโกนผมไฟ เมื่อผมมีผมขึ้นใหม่ก็จะเอารัดจุกไว้ตรงกลางศรีษะ ทำทั้งเด็กหญิงเเละชาย, ซึ่งมีความหมายว่าเด็กที่มีผมจุกนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ ไร้เดียงสา ก็จะได้รับความเมตตากรุณาตามสภาวะที่เป็นเด็ก เมื่อเด็กผู้หญิงอายุได้ ๑๑ ปี เเละ เด็กผู้ชาย ๑๓ ปี บิดามารดาก็จะจัดงาน เเละตัดผมจุกออก หรือ ปล่อยผมลงมา เรียกว่า พิธีโกนจุก ซึ่งหมายความ ว่า เด็กนั้นได้เติบโตย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่เเล้ว
กันยายน สารท
"สารท" เเปลว่า ฤดูใบไม้ร่วง ประเพณีทำบุญในวันสารทนี้ กำหนดตรงสิ้นเดือน ๑๐ ชาวบ้านจะนำโภชนาหาร ทานวัตถุในพิธี เช่น ข้าวมทุปายาท ข้าวยาคู ข้าวทิพย์ กระยาสารท เเละ กล้วยไข่ ซึ่งพอดีเป็นหน้ากล้วยไข่สุก ไปตักบาตรธารณะ เสร็จเเล้วก็จะเเจกจ่าย ให้ปันกระยาสารทที่เหลือเเก่เพื่อนบ้าน พิธีสารทเป็นระยะที่ต้นข้าวออกรวง เป็นน้ำนม จึงจัดทำพิธีขึ้นเพือเป็นการรับขวัญรวงข้าว เเละ เป็นฤกษสิริมงคล เเก่ต้นข้าวในนาอีกด้วย
ข้าวมทุปายาท ซึ่งทำจากข้าวที่เป็นน้ำนมข้างใน ซึ่งจำได้จากการเรียนวิชา ศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าเสวยข้าวมทุปายาท ก่อนที่จะตรัสรู้
ตุลาคม เทศกาลทอดกระฐิน
ประเพณีทอดกระฐินนี้ได้ถือปฏิบัติมาตั้งเเต่สมัยกรุงสุโขทัย เเละสืบทอด มาถึงปัจจุบัน ระยะเวลาที่ให้มีการทอดกระฐิน คือ ตั้งเเต่วันเเรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ เทศกาลทอดกระฐินเป็นงานรื่นเริง ของชาวบ้านในโอกาสที่จะได้ทำบุญควบคู่ไปกับความสนุกสนาน ด้วยเป็นระยะที่หว่าน เเละ ดำข้าวเเล้ว อีกไม่ช้าก็จะเก็บได้ จึงเป็นช่วงที่ จะได้พักผ่อนก่อนงานเก็บเกี่ยว การเลือกไปทอดกระฐินที่ต่างถิ่น เพือเป็นการท่องเที่ยว เยี่ยมเยียน เเละ เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างกันด้วย ซึ่งเปิดโอกาศให้ผู้เข้าร่วมได้ ไปเปิดหูเปิดตา ได้เรียนรู้จักคนใหม่ๆ เเละ ได้เที่ยวในสถานที่อื่นด้วย
พฤศจิกายน ลอยกระทง
ลอยกระทง คือวันเพ็ญเดือน ๑๒ ฤดูน้ำหลาก อากาศปลอดโปร่งเเจ่มใส ด้วยหมดฤดูฝนเเล้ว ชาวบ้านได้ประดิษฐ์ประดอยกระทงด้วยใบตอง ตกเเต่งด้วยดอกไม้ เมื่อพระอาทิตย์ตกดิน ผู้คนก็เเต่งกายสวยงาม เเละนำกระทงออกไปด้วย จุดธูปเทียนในกระทงสว่างสวยงาม ลอยไปตามลำน้ำอย่างสวยงาม เพื่อเป็นการขอขมาต่อพระเเม่คงคา จุดประสงค์ของประเพณีลอยกระทงก็คือ เปิดโอกาศให้ประชาชนได้นึกถึง พระคุณของน้ำ เเละขออภัย พระเเม่คงคาที่ตนได้ใช้น้ำมาตลอด ในการดำรงชีพของตน ในช่วงนี้เป็นช่วงที่อุดมสมบูรณ์ หน้าข้าว หน้าปลา จะเห็นผู้คนส่วนใหญ่พูดกันว่า ในน้ำมีปลาในนามีข้าว หรือ มีข้าวในนา มีปลาในหนอง ชาวบ้านควรจะทำบุญให้ทาน เเละพักผ่อน สนุกสนาน กันเสียทีหนึ่ง
ธันวาคม ตรุษ เลี้ยง ขนมเบื้อง
ขนมเบื้อง คืออาหารชนิดหนึ่งที่มีใส่ใส้ด้วยกุ้ง พิธีเลี้ยงขนมเบื้อง เดือนอ้าย นับเป็นตรุษอย่างหนึ่ง เฉพาะต้องเป็น หน้าหนาว ตรุษเลี้ยงขนมเบื้องจะต้องเป็นฤดูหนาว เป็น เวลา ที่น้ำลดมีกุ้งชุกชุม เเละ ยังเป็นฤดูที่กุ้งมีมันมากน่า จะทำขนมเบื้องไส้กุ้ง เเต่ก่อนนั้น การละเลงขนมเบื้องนี้นับเป็นคุณสมบัติที่ได้รับความนิยมชมเชยด้วย อย่างหนึ่งของหญิงสาวในความสามารถ ถึงในสมัย รัชกาลที่ ๔ ยังถือกันว่าหญิงใดละเลงขนมเบื้องได้ จีบขนมจีบได้ ปอกมะปรางริ้วได้ จีบใบพลูได้ยาว คนนั้นมีค่าถึง ๑๐ ชั่ง ในสมัยนั้น ๑๐ ชั่ง = 800 บาท, ซึ่งหมายความว่า ผู้หญิงคนนั้นมีคุญสมบัติที่ดี
แหล่งอ้างอิง:
www.google.com