กรรมกิเลส คือ กรรมเครื่องเศร้าหมอง ๔ อย่าง
- ๑. ปาณาติบาต ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง.
- ๒. อทินนาทาน ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย.
- ๓. กาเมสุ มิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม.
- ๔. มุสาวาท พูดเท็จ.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๕.
-
อบายมุข คือ เหตุเครื่องฉิบหาย ๔ อย่าง
- ๑. ความเป็นนักเลงหญิง.
- ๒. ความเป็นนักเลงสุรา.
- ๓. ความเป็นนักเลงเล่นการพนัน.
- ๔. ความคบคนชั่วเป็นมิตร.
-
-
- องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๙๖.
-
ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน ๔ อย่าง (๑)
- ๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น ในการประกอบกิจเครื่องเลี้ยงชีวิตก็ดี ในการศึกษาเล่าเรียนก็ดี ในการทำธุระหน้าที่ของตนก็ดี.
- ๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือรักษาทรัพย์ที่แสวงหามาได้ด้วยความหมั่น ไม่ให้เป็นอันตรายก็ดี รักษาการงานของตน ไม่ให้เสื่อมเสียไปก็ดี.
- ๓. กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่ว.
- ๔. สมชีวิตา ความเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ไม่ให้ฟูมฟายนัก.
-
-
- องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๙๔.
-
สัมปรายิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ภายหน้า ๔ อย่าง (๒)
- ๑. สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือเชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ เช่นเชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น.
- ๒. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล คือรักษากายวาจาเรียบร้อยดี ไม่มีโทษ.
- ๓. จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน เป็นการเฉลี่ยสุขให้แก่ผู้อื่น.
- ๔. ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา รู้จักบาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น
๒. ในบาลีใช้ว่า ธรรม ๔ ประการ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขในภายหน้า.
-
-
- องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๙๗.
-
มิตตปฏิรูป คือ คนเทียมมิตร ๔ จำพวก
- ๑. คนปอกลอก.
- ๒. คนดีแต่พูด.
- ๓. คนหัวประจบ.
- ๔. คนชักชวนในทางฉิบหาย.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๙.
-
- (๑) คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว.
- (๒) เสียให้น้อย คิดเอาให้ได้มาก.
- (๓) เมื่อมีภัยแก่ตัว จึงรับทำกิจของเพื่อน.
- (๔) คบเพื่อเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๙.
-
- (๑) เก็บเอาของล่วงแล้วมาปราศรัย.
- (๒) อ้างเอาของที่ยังไม่มีมาปราศรัย.
- (๓) สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้.
- (๔) ออกปากพึ่งมิได้.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๐
-
- (๑) จะทำชั่วก็คล้อยตาม.
- (๒) จะทำดีก็คล้อยตาม.
- (๓) ต่อหน้าว่าสรรเสริญ.
- (๔) ลับหลังตั้งนินทา.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๐.
-
- (๑) ชักชวนดื่มน้ำเมา.
- (๒) ชักชวนเที่ยวกลางคืน.
- (๓) ชักชวนให้มัวเมาในการเล่น.
- (๔) ชักชวนเล่นการพนัน.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๐.
-
มิตรแท้ ๔ จำพวก
- ๑. มิตรมีอุปการะ.
- ๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์.
- ๓. มิตรแนะประโยชน์.
- ๔. มิตรมีความรักใคร่.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๑.
-
- (๑) ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว.
- (๒) ป้องกันทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว.
- (๓) เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพำนักได้.
- (๔) เมื่อมีธุระ ช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๑.
-
- (๑) ขยายความลับของตนแก่เพื่อน.
- (๒) ปิดความลับของเพื่อนไม่ให้แพร่งพราย.
- (๓) ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ.
- (๔) แม้ชีวิตก็อาจสละแทนได้.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๑.
-
- (๑) ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว.
- (๒) แนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี.
- (๓) ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง.
- (๔) บอกทางสวรรค์ให้.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๑.
-
๔. มิตรมีความรักใคร่ มีลักษณะ ๔
- (๑) ทุกข์ ๆ ด้วย.
- (๒) สุข ๆ ด้วย.
- (๓) โต้เถียงคนที่พูดติเตียนเพื่อน.
- (๔) รับรองคนที่พูดสรรเสริญเพื่อน.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๒.
-
สังคหวัตถุ ๔ อย่าง
- ๑. ทาน ให้ปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่นที่ควรให้ปัน.
- ๒. ปิยวาจา เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน.
- ๓. อัตถจริยา ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น.
- ๔. สมานัตตตา ความเป็นคนมีตนเสมอไม่ถือตัว.
-
-
- องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๔๒.
-
สุขของคฤหัสถ์ ๔ อย่าง
- ๑. สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์.
- ๒. สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค.
- ๓. สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้.
- ๔. สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ.
-
-
- องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๐.
-
ความปรารถนาของบุคคลในโลกที่ได้สมหมายด้วยยาก ๔ อย่าง
- ๑. ขอสมบัติจงเกิดมีแก่เราโดยทางที่ชอบ.
- ๒. ขอยศจงเกิดมีแก่เราและญาติพวกพ้อง.
- ๓. ขอเราจงรักษาอายุให้ยืนนาน.
- ๔. เมื่อสิ้นชีพแล้ว ขอเราจงไปบังเกิดในสวรรค์.
-
-
- องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๘๕.
-
ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย มีอยู่ ๔ อย่าง
- ๑. สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา.
- ๒. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล.
- ๓. จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน.
- ๔. ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา.
-
-
- องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๘๑.
-
ตระกูลอันมั่งคั่งจะตั้งอยู่นานไม่ได้ เพราะสถาน ๔
- ๑. ไม่แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว.
- ๒. ไม่บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า.
- ๓. ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ.
- ๔. ตั้งสตรีหรือบุรุษทุศีลให้เป็นแม่เรือนพ่อเรือน.
-
-
- องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๓๓๖.
-
ธรรมของฆราวาส ๔
- ๑. สัจจะ สัตย์ซื่อต่อกัน.
- ๒. ทมะ รู้จักข่มจิตของตน.
- ๓. ขันติ อดทน.
- ๔. จาคะ สละให้ปันสิ่งของของตนแก่ตนที่ควรให้ปัน.
-
-
- สํ. ส. ๑๕/๓๑๖.
-
ปัญจกะ
โภคอาทิยะ / ประโยชน์เกิดแต่การถือโภคทรัพย์ ๕ อย่าง
แสวงหาโภคทรัพย์ได้โดยทางที่ชอบแล้ว- ๑. เลี้ยงตัว มารดา บิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ ให้เป็นสุข.
- ๒. เลี้ยงเพื่อนฝูงให้เป็นสุข.
- ๓. บำบัดอันตรายที่เกิดแต่เหตุต่าง ๆ.
- ๔. ทำพลี ๕ อย่าง คือ
- ก. ญาติพลี สังเคราะห์ญาติ.
- ข. อติถิพลี ต้องรับแขก.
- ค. ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย.
- ฆ. ราชพลี ถวายเป็นหลวง มีภาษีอากรเป็นต้น.
- ง. เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา.
- ๕. บริจาคทานในสมณะพราหมณ์ผู้ประพฤติชอบ.
-
-
- องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๔๘.
-
ศีล ๕
- ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป.
- ๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย.
- ๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม.
- ๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ.
- ๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เว้นจากดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท.
-
-
- องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๒๒๖.
-
มิจฉาวณิชชา คือการค้าขายไม่ชอบธรรม ๕ อย่าง
- ๑. ค้าขายเครื่องประหาร.
- ๒. ค้าขายมนุษย์.
- ๓. ค้าขายสัตว์เป็นสำหรับฆ่าเพื่อเป็นอาหาร.
- ๔. ค้าขายน้ำเมา.
- ๕. ค้าขายยาพิษ.
-
-
- องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๒๓๒.
-
สมบัติของอุบาสก ๕ ประการ
- ๑. ประกอบด้วยศรัทธา.
- ๒. มีศีลบริสุทธิ์.
- ๓. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือเชื่อกรม ไม่เชื่อมงคล.
- ๔. ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพุทธศาสนา.
- ๕. บำเพ็ญบุญแต่ในพุทธศาสนา.
-
-
- องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๒๓๐.
-
ฉักกะ
ทิศ ๖
- ๑. ปุรัตถิมทิส คือทิศเบื้องหน้า มารดาบิดา.
- ๒. ทิกขิณทิส คือทิศเบื้องขวา อาจารย์.
- ๓. ปัจฉิมทิศ คือทิศเบื้องหลัง บุตรภรรยา.
- ๔. อุตตรทิส คือทิศเบื้องซ้าย มิตร.
- ๕. เหฏฐิมทิส คือทิศเบื้องต่ำ บ่าว.
- ๖. อุปริมทิส คือทิศเบื้องต้น สมณพราหมณ์.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๓.
-
- (๑) ท่านได้เลี้ยงมาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ.
- (๒) ทำกิจของท่าน.
- (๓) ดำรงวงศ์สกุล.
- (๔) ประพฤติตนให้เป็นคนควรรับทรัพย์มรดก.
- (๕) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๐/๒๐๓.
-
- (๑) ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว.
- (๒) ให้ตั้งอยู่ในความดี.
- (๓) ให้ศึกษาศิลปวิทยา.
- (๔) หาภรรยาที่สมควรให้.
- (๕) มอบทรัพย์ให้ในสมัย.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๓.
-
- (๑) ด้วยลุกขึ้นยืนรับ.
- (๒) ด้วยเข้าไปยืนคอยรับใช้.
- (๓) ด้วยเชื่อฟัง.
- (๔) ด้วยอุปัฏฐาก.
- (๕) ด้วยเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๓.
-
- (๑) แนะนำดี.
- (๒) ให้เรียนดี.
- (๓) บอกศิลปให้สิ้นเชิง ไม่ปิดบังอำพราง.
- (๔) ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง.
- (๕) ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย (คือจะไปทางทิศไหนก็ไม่อดอยาก).
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๔.
-
- (๑) ด้วยยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา.
- (๒) ด้วยไม่ดูหมิ่น.
- (๓) ด้วยไม่ประพฤติล่วงใจ.
- (๔) ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้.
- (๕) ด้วยให้เครื่องแต่งตัว.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๔.
-
- (๑) จัดการงานดี.
- (๒) สงเคราะห์คนข้างเคียงของผัวดี.
- (๓) ไม่ประพฤติล่วงใจผัว.
- (๔) รักษาทรัพย์ที่ผัวหามาได้ไว้.
- (๕) ขยันไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๔.
-
- (๑) ด้วยให้ปัน.
- (๒) ด้วยเจรจาถ้อยคำไพเราะ.
- (๓) ด้วยประพฤติประโยชน์.
- (๔) ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอ.
- (๕) ด้วยไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความเป็นจริง.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๔.
-
- (๑) รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว.
- (๒) รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว.
- (๓) เมื่อมีภัย เอาเป็นที่พึ่งพำนักได้.
- (๔) ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ.
- (๕) นับถือตลอดถึงวงศ์ของมิตร.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๕.
-
- (๑) ด้วยจัดการงานให้ทำตามสมควรแกกำลัง.
- (๒) ด้วยให้อาการและรางวัล.
- (๓) ด้วยรักษาพยาบาลในเวลาเจ็บไข้.
- (๔) ด้วยแจกของมีรสแปลกประหลาดให้กิน.
- (๕) ด้วยปล่อยในสมัย.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๕.
-
- (๑) ลุกขึ้นทำการงานก่อนนาย.
- (๒) เลิกการงานทีหลังนาย.
- (๓) ถือเอาแต่ของที่นายให้.
- (๔) ทำการงานให้ดีขึ้น.
- (๕) นำคุณของนายไปสรรเสริญในที่นั้น ๆ.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๕.
-
- (๑) ด้วยกายกรรม คือทำอะไร ๆ ประกอบด้วยเมตตา.
- (๒) ด้วยจีกรรม คือพูดอะไร ๆ ประกอบด้วยเมตตา.
- (๓) ด้วยมโนกรรม คือคิดอะไร ๆ ประกอบด้วยเมตตา.
- (๔) ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู คือมิได้ห้ามเข้าบ้านเรือน.
- (๕) ด้วยให้อามิสทาน.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๕.
-
- (๑) ห้ามไม่ให้กระทำความชั่ว.
- (๒) ให้ตั้งอยู่ในความดี.
- (๓) อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม.
- (๔) ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง.
- (๕) ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่ม.
- (๖) บอกทางสวรรค์ให้.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๖.
-
อบายมุข คือเหตุเครื่องฉิบหาย ๖
- (๑) ดื่มน้ำเมา.
- (๒) เที่ยวกลางคืน.
- (๓) เที่ยวดูการเล่น.
- (๔) เล่นการพนัน.
- (๕) คบคนชั่วเป็นมิตร.
- (๖) เกียจคร้านทำการงาน.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๖.
-
- (๑) เสียทรัพย์.
- (๒) ก่อการทะเลาะวิวาท.
- (๓) เกิดโรค.
- (๔) ต้องติเตียน.
- (๕) ไม่รู้จักอาย.
- (๖) ทอนกำลังปัญญา.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๖.
-
- (๑) ชื่อว่าไม่รักษาตัว.
- (๒) ชื่อว่าไม่รักษาลูกเมีย.
- (๓) ชื่อว่าไม่รักษาทรัพย์สมบัติ.
- (๔) เป็นที่ระแวงของคนทั้งหลาย.
- (๕) มักถูกใส่ความ.
- (๖) ได้ความลำบากมาก.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๗.
-
- (๑) รำที่ไหนไปที่นั่น.
- (๒) ขับร้องที่ไหนไปที่นั่น.
- (๓) ดีดสีตีเป่าที่ไหนไปที่นั่น.
- (๔) เสภาที่ไหนไปที่นั่น.
- (๕) เพลงที่ไหนไปที่นั่น.
- (๖) เถิดเทิงที่ไหนไปที่นั่น.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๗.
-
- (๑) เมื่อชนะย่อมก่อเวร.
- (๒) เมื่อแพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป.
- (๓) ทรัพย์ย่อมฉิบหาย.
- (๔) ไม่มีใครเชื่อถือถ้อยคำ.
- (๕) เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อน.
- (๖) ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๗.
-
- (๑) นำให้เป็นนักเลงการพนัน.
- (๒) นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้.
- (๓) นำให้เป็นนักเลงเหล้า.
- (๔) นำให้เป็นคนลวงเขาด้วยของปลอม.
- (๕) นำให้เป็นคนลวงเขาซึ่งหน้าง
- (๖) นำให้เป็นคนหัวไม้.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๗.
-
- (๑) มักให้อ้างว่า หนาวนัก แล้วไม่ทำการงาน.
- (๒) มักให้อ้างว่า ร้อนนัก แล้วไม่ทำการงาน.
- (๓) มักให้อ้างว่า เวลาเย็นแล้ว แล้วไม่ทำการงาน.
- (๔) มักให้อ้างว่า ยังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำการงาน.
- (๕) มักให้อ้างว่า หิวนัก แล้วไม่ทำการงาน.
- (๖) มักให้อ้างว่า ระหายนัก แล้วไม่ทำการงาน.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๗.
-
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น