ข้อมูลส่วนตัว

รูปภาพของฉัน
จังหวัดมุกดาหาร, ตำบลนาสะเม็ง อำเภอดอนตาล, Thailand
tavamin@hotmail.com

ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บ

ค้นหาบทความในบล็อกนี้

วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์ชาติไทย


ปฐมบรมกษัตริย์ .....เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาที่ตาก พ่อกูไปรบขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใส พ่อกูหนีญญ่ายพ่ายจะแจ กูบ่หนี กูขี่ช้างเนกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้าง ขุนสามชน.. ตัวชื่อมาสเมืองพ่าย ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ชื่อพระรามคำแหง เมื่อกู พุ่งช้างขุนสามชน ข้อความในหลักศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๑ กล่าวถึงการชนช้างกับข้าศึกครั้งแรก ของพ่อขุนรามคำแหงขณะมีพระชนมายุได้ ๑๙ พรรษา ทรงร่วมเดินทางไปรบกับ พระบิดา( ขุนศรีอินทราทิตย์) ในการทำศึกกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด (อ.แม่สอด จ.ตาก)และได้ชัยชนะ พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วง ซึ่งเป็น ปฐมบรมกษัตริย์ของไทย ทรงประดิษฐอักษรลายสือไทย และจัดให้มีการปกครอง แบบพ่อปกครองลูก ตลอดระยะเวลาที่พ่อขุนรามคำแหงทรงครองราชย์อยู่ ๔๐ ปี อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงสุด



     ๒ กบฏแผ่นดิน ..... ครั้นสมเด็จพระบรมราชาหน่อ พุทธางกูร สิ้นพระชนม์ด้วยโรคไข้ทรพิษ พระรัฏฐาธิราชกุมารพระโอรส วัย ๕ พรรษา อันประสูติจากพระอัครชายาวัย ๑๗ พรรษา เป็นผู้ขึ้นครองราชย์แทนพระไชยราชาผู้ซึ่งดำรงพระยศเป็นพระอุปราช ระหว่างนั้นปีพศ.๒๐๗๓ บ้านเมืองถูกบริหารโดยขุนนางทุจริตคือพระยายมราชบิดาของอัครชายา พระไชยราชาจึงให้สำเร็จโทษพระรัฏฐาธิราชตามราชประเพณีโบราณ และขึ้นครองราชย์แทน ออกรบปราบปรามหัวเมืองอยู่ตลอดจึงทรงแต่งตั้งพระเฑียรราชาขึ้น เป็นพระอุปราชว่าราชการแทนพระองค์ที่กรุง อโยธยา
ต่อมาพระมเหสีของพระไชยราชา คือท้าวศรีสุดาจันทร์ได้ลักลอบมีความสัมพันธ์แบบชู้สาวกับขุนชินราช ผู้ดูแลหอพระ สมคบลอบวางยาพิษปลงพระชนม์พระไชยราชา พระยอดฟ้า โอรสพระไชยราชา จึงได้ขึ้นครองราชย์แทนขณะที่มีพระชนม์ ๑๐ พรรษา แต่ต่อมาก็ถูกท้าวศรีสุดาจันทร์ปลงพระชนม์อีกองค์หนึ่ง แล้วสถาปนา ขุนชินราชขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า ขุน วรวงศา
ระหว่างนั้นพระเฑียรราชาได้ทรงผนวชเพื่อเลี่ยงภัย ส่วนพระสุริโยทัยครองพระองค์อยู่ในวัง โดยมีขุนพิเรนทรเทพ ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเส่หานอกราชการ หลวงศรียศ คุ้มกันภัยให้ และต่อมาก็ได้ร่วมกันปลงพระชนม์ ขุนวรวงศา และท้าวศรีสุดาจันทร์ (ขึ้นมามีอำนาจเหนือราชบัลลังก์อยุธยา เป็นเวลา ๑ ปี ๒ เดือน กับอีก ๔๒ วัน )เสียบหัวประจานไว้ที่วัดแร้ง แล้วอัญเชิญพระเฑียรราชาให้ลาสิกขาบทขึ้นครองราชย์แทน ทรงพระนามว่าพระมหาจักรพรรดิ ครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๐๙๑-๒๑๑๑
ในปี ๒๐๙๑ นี่เอง ที่ทางพม่านำโดยกษัตริย์นามว่า พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ทราบว่ากรุงศรีอยุธยาเกิดความวุ่นวายภายใน จึงฉวย โอกาสช่วงนี้คิดจะเข้าตี ได้จัดทัพทหาร ๓ หมื่น ช้างศึก ๓ ร้อย ม้าศึก ๒ พันตัว ยกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์เข้าเมืองกาญจนบุรี จับกรมการเมืองมาสอบ ถามจึงทราบว่าหลังจากพระมหาจักรพรรดิได้ขึ้นครองราชย์บ้านเมืองก็สงบดี แต่ พระเจ้าหงสาวดีได้ยกทัพมาแล้วจะถอยกลับก็กะไรอยู่ จึงขอเข้าไปชานเมืองเพื่อ ให้ชาวอยุธยาได้เกรงขาม เดินทางเข้าป่าโมกแล้วตั้งค่ายหลวงที่ทุ่งลุมพลีอยู่ ๓ วัน จากนั้นจึงยกทัพกลับไปกรุงหงสาวดี

     
พระมหาวีรกษัตรีศรีสุริโยทัย ........เมื่อปีพศ.๒๐๙๑ พระเจ้าตะเบงชเวตี้ได้ยกกองทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ (กาญจนบุรี) ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณบ้านโผงผาง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทรงยกกองทัพออกไปตรวจดูข้าศึกที่ทุ่งภูเขาทอง ทรงเครื่องอลังการยุทธและได้ เสด็จทรงช้างต้นพลายแก้วจักรพรรดิเป็นพระคชาธาร มีพระสุริโยทัยเอกอัครมเหสี เสด็จมาด้วย ทรงใส่ชุดพระมหาอุปราชเสด็จทรงช้างพลายทรงสุริยกษัตริย์เป็นพระ คชาธาร ส่วนพระโอรส(พระราเมศวรและพระมหินทราธิราช)ได้ทรงช้างต้นพลาย มงคลจักรพาฬและช้างต้นพลายพิมานจักรพรรดิตามลำดับ ทางฝ่ายพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้ทรงช้างพลายมงคลทวีป และพระเจ้าแปรทรงได้ ทรงช้างพลายเทวนาคพินาย(อนึ่ง ช้างของพม่ามีความสูงกว่าของไทยประมาณ ๑ คืบเจ็ดนิ้ว) รายละเอียดในการรบ จะขอนำข้อความจากพระราชพงศาวดารฉบับราชหัตเลขา ดังนี้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ได้ขับพระคชาธารเข้าชนช้างกับกองหน้า พระเจ้าหงสาวดี พระคชาธารเสียทีให้หลังข้าศึก พระเจ้าแปรได้ทีจึงขับพระคชาธา ตามไล่ช้างพระมหาจักรพรรดิ พระสุริโยทัยเห็นว่าพระราชสามีไม่พ้นมือข้าศึกแน่ๆ แล้ว ด้วยทรงพระกตัญญูภาพจึงทรงขับพระคชาธารพลายทรงสุริยกษัตริย์เข้าออก รับ แต่พระคชาธารพระสุริโยทัยเสียทีข้าศึก พระเจ้าแปรจึงฟันด้วยพระแสงของ้าว ถูกพระอังสกพระสุริโยทัยขาดจนถึงราวพระถันประเทศสิ้นพระชนม์บนคอช้าง .... พระโอรสทั้ง ๒ พระองค์จึงขับพระคชาธารเข้าไปกันพระศพสมเด็จพระมารดาเข้า พระนคร ทรงทำยุทธหัตถี ณ.สมรภูมิทุ่งมะขามหย่อง ในวันอาทิตย์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๔ ปีวอก พศ.๒๐๙๑
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้เชิญพระศพพระสุริโยทัย ไปประดิษฐานยังสวนหลวง หลังจากนั้นจึงทรงพระราชทานเพลิงศพ แล้วสร้างพระอารามตรงพระเมรุ โดยมีเจดีย์ใหญ่เรียกว่า วัดหลวงสบสวรรค์ การศึกครั้งนั้นพม่ายังไม่สามารถจะตีไทยได้ และพระมหาจักรพรรดิทรงรับสั่งให้ พระมหาธรรมราชายกทัพของหัวเมืองทางเหนือลงมาตีทัพพม่าโดยด่วน ทัพพม่าจะ หนีไปทางด่านแม่ละเมา กองทัพไทยก็ไล่ตามมาติดๆเข้าตีพม่าล้มตายจำนวนมาก เกือบจะทันทัพหลวงของพระเจ้าหงสาวดีที่เมืองกำแพงเพชร ด้วยเลห์กลพม่าจึงได้ ซุ่มทหารไว้สองข้างทางดักรออยู่ พอกองทัพไทยผ่านเข้าไปจึงถูกล้อมจับตัวพระมหา ธรรมราชาและพระราเมศวรได้ ทางพระมหาจักรพรรดิจึงทรงยอมสงบศึกเพื่อนำทั้ง สองพระองค์กลับมาโดยแลกกับช้างพลายศรีมงคลและพลายมงคงทวีป กองทัพพม่าจึงหนีกลับไปได้
พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ประดิษฐานอยู่บริเวณทุ่งมะขามหย่อง ห่างจากวัดภูเขาทองไปทางทิศเหนือ ( สวนนก ) จ.พระนครศรีอยุธยา
..........

     ๔ สงครามช้างเผือก .....เมื่อปีพศ.๒๑๐๖ พระเจ้าหงสาวดีได้ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิ เพื่อจะทูลขอช้างเผือก ๒ ช้าง(เนื่องจากกรุงศรีอยุธยามีช้าง เผือกอยู่ ๗ ช้าง) นับว่าเป็นกลอุบายเพื่อจะหาเรื่องยกทัพมาตีไทย ขุนศึกและ เสนาบดีจึงแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกเห็นด้วยที่จะประทานช้างเผือก ๒ ช้าง เพื่อป้องกันการเกิดศึกสงครามเพราะว่าพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองมีความชำนาญ การศึกมาก ฝ่ายที่สองไม่เห็นด้วยที่จะประทานช้างเผือก(มีพระราเมศวร พระยา จักรี พระสุนทรสงคราม) เพราะจะเป็นการอ่อนข้อให้ ในวันข้างหน้าพระเจ้าหงสา วดีจะต้องเอาไทยเป็นเมืองขึ้น สรุปก็คือให้หรือไม่ให้ก็จะตี สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงมีพระราชดำริไม่ประทานช้างเผือก แล้วมีพระราชสาสน์ตอบกลับไปดังนี้ ช้างเผือกย่อมเกิดสำหรับบุญบารมีของพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นเจ้าของ เมื่อพระเจ้าหงสาวดีได้บำเพ็ญธรรมให้ไพบูรณ์คงจะได้ช้างเผือกมาสู่บารมีเป็นมั่นคงอย่าได้ทรงวิตกเลย และรับสั่งให้เตรียมไพร่พลพร้อมรบอย่างเข้มแข็ง ทางฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีได้ยกทัพรวมพลที่เมืองเมาะตะมะ จัดทัพใหญ่ออก เป็น ๕ ทัพ มีเจ้าเมืองเชียงใหม่ควบคุมกองเรือเสบียง ล่องลงมาถึงเมืองตาก รวมไพล่พลเป็นจำนวนประมาณ ๕ แสนคน ส่วนทางอยุธยาได้เตรียมพลพร้อมรบและเรือรบจำนวนมาก เพื่อป้องกันการ โจมตีจากทัพหลวงของหงสาวดีทางด่านเจดีย์สามองค์ แต่ผิดคาดพม่ายกทัพ มาทางด่านแม่ละเมาเข้าตีกำแพงเพชรได้เมืองแล้วแยกทัพไปตีสุโขทัย เนื่องด้วยทางสุโขทัยมีกำลังน้อยกว่ามากแต่ก็สู้รบเป็นสามารถในที่สุดก็ถูกยึดเมือง จากนั้นพม่าจึงล้อมเมืองพิษณุโลก พระมหาธรรมราชาก็ต่อสู้เป็นสามารถเช่นกัน แต่เกิดไข้ทรพิษขึ้นในเมืองและเสบียงอาหารก็หมดจึงยอมจำนน หลังจากที่พม่าได้หัวเมืองฝ่ายเหนือแล้วจึงบังคับให้พระมหาธรรมราชาและเจ้าเมืองถือน้ำกระทำสัตย์ให้อยู่ใต้บังคับของพม่า พร้อมทั้งสั่งให้ยกทัพตามลงมาเพื่อตีกรุงศรีฯด้วย กองทัพพม่ายกมาประชิดเขตเมืองใก้ลทุ่งลุมพลีพระมหาจักรพรรดิทรงให้กองทัพบก เรือ ระดมยิงใส่พม่าเป็นสามารถ แต่สู่ไม่ได้จึงถอย ทางพม่าจึงยึดได้ป้อมพระยาจักรี(ทุ่งลุมพลี) ป้อมจำปา ป้อมพระยามหาเสนา(ทุ่งหันตรา) แล้วล้อมกรุงศรีฯอยู่นาน พระมหาจักรพรรดิทรงเห็นว่าพม่ามีกำลังมากการที่จะออกไปรบเพื่อเอาชัย คงจะยากนัก จึงทรงสั่งให้เรือรบนำปืนใหญ่ล่องไปยิงทหารพม่าเป็นการถ่วงเวลาให้ เสบียงอาหารหมดหรือเข้าฤดูน้ำหลากพม่าคงจะถอยไปเอง แต่พม่าได้เตรียมเรือรบ และปืนใหญ่มาจำนวนมากยิงใส่เรือรบไทยพังเสียหายหมด แล้วตั้งปืนใหญ่ยิงเข้ามา ในพระนครทุกวัน ถูกชาวบ้านล้มตาย บ้านเรือน วัด เสียหายมาก ทางพระเจ้าหงสา วดีจึงมีสาสน์มาว่า จะรบต่อไปหรือยอมเป็นไมตรี เนื่องด้วยทางไทยเสียเปรียบมาก พระมหาจักรพรรดิจึงทรงยอมเป็นไมตรี ทำให้ฝ่ายไทยต้องเสียช้างเผือกจาก ๒ ช้าง เป็น ๔ ช้าง และทุกปีต้องส่งช้างให้ ๓๐ เชือก พร้อมเงิน ๓๐๐ ชั่ง จับตัวพระยาจักรี ไปเป็นตัวประกัน นอกจากนี้ยังจะขอเก็บภาษีอากรจากเมืองมะริดที่ขึ้นกับไทยอีกด้วย ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงพระชมมายุได้ ๙ พรรษาถูกนำเสด็จไปประทับที่กรุง หงสาวดีเพื่อเป็นองค์ประกันด้วย
เสียกรุงครั้งแรก .....ปีพศ. ๒๑๑๒ ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พม่าผู้รุกรานยังพยายามจะ ตีไทยให้ได้ จากพงศาวดารได้กล่าวไว้ว่า ถึงแม้บุเรงนองจะเก่งในการศึกแต่ไม่ เคยรบชนะไทยด้วยการนำทหารเข้าประจันบานเลย แต่จะใช้เล่ห์เหลี่ยมและอุบาย ต่างๆเข้าช่วยเสมอ จึงใช้วิธีทำให้ไทยแตกแยกเป็น ๒ ฝ่าย โดยพม่ายกพระมหา ธรรมราชาให้เป็นใหญ่ทางเหนือ หลังจากพระมหาจักรพรรดิทรงเสด็จออกผนวช พระมหินทราธิราชขึ้นครองราชย์และทรงคิดกำจัดพระมหาธรรมราชา จึงส่งสาสน์ ไปถึงพระไชยเชษฐาผู้ครองกรุงศรีสัตนาคนหุตให้ยกทัพมาตีพิษณุโลก ทางพระ มหาธรรมราชาจึงขอทหารจากเมืองหงสาวดีและกรุงศรีฯขึ้นมาช่วยป้องกันเมือง พระมหินทร์ฯทรงแกล้งส่งพระยาสีหราชเดโชยกทัพไปช่วย แท้จริงแล้วให้ร่วมกับ ทัพพระไชยเชษฐาตีพิษณุโลก แต่ว่าพระยาสีหราชเดโชแปรพักไปเข้ากับพระมหา ธรรมราชาแล้วทูลความจริงให้ทราบ พระมหาธรรมราชาจึงรับสั่งป้องกันเมืองไว้ ประจวบเหมาะกองทัพหงสาวดียกมาช่วยทัน กองทัพพระไชยเชษฐาจึงถอยกลับ เวียงจันทร์ เมื่อเหตุการณ์เริ่มบานปลายพระมหาจักรพรรดิทรงลาผนวช แล้วเสด็จขึ้นครอง ราชย์อีกครั้ง ทรงยกทัพขึ้นมาเมืองพิษณุโลก รับพระวิสุทธิกษัตรีพร้อมด้วยโอรส ธิดาของพระมหาธรรมราชา(ขณะนั้นอยู่กรุงหงสาวดี) ลงมาเป็นองค์ประกันอยู่ที่ กรุงศรีอยุธยา ทางพระมหาธรรมราชาเมื่อทราบว่าพระอัครชายาและโอรสธิดาถูกจับเป็นองค์ ประกันก็ทรงวิตกยิ่งนัก แล้วรีบส่งสาสน์ไปยังพระเจ้าหงสาวดีให้ยกทัพมาตีกรุง ศรีอยุธยารวมทั้งหมด ๗ ทัพ มีกำลังพลร่วม ๕ แสนคน ยกทัพมาทางด่านแม่ ละเมาเข้าเมืองกำแพงเพชร ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาเมื่อทราบว่าหัวเมืองทางเหนือเป็นของพม่าแล้ว จึงเตรียมรบ อยู่ที่พระนคร นำปืนนารายณ์สังหารยิงไปยังกองทัพพระเจ้าหงสาวดีที่ตั้งอยู่บริ เวณทุ่งลุมพลี ถูกทหาร ช้าง ม้าล้มตายจำนวนมาก พม่าจึงถอยทัพมาตั้งที่บ้าน พราหมณ์ให้พ้นทางปืน แล้วพระเจ้าหงสาวดีจึงเรียกประชุมการศึก พระมหา อุปราชเห็นสมควรให้ยกทัพเข้าตีไทยทุกด้านเพราะมีกำลังมากกว่า แต่พระเจ้า หงสาวดีไม่เห็นด้วยเพราะกรุงศรีอยุธยามีทำเลดีมีน้ำล้อมรอบ จึงสั่งให้ตีเฉพาะ ด้านตะวันออกเพราะคูเมืองแคบที่สุด พม่าพยายามจะทำสะพานข้ามคูเมืองแต่ ถูกทหารไทยยิงตายเป็นจำนวนมาก ( ศพแล้วศพเล่าที่นำดินมาถมสะพาน )ระหว่างการสงคราม สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงประชวรและสวรรคตในเวลา ต่อมา พระเจ้าหงสาวดีได้โอกาสจึงสั่งให้ทหารเข้ามาตีพระนครด้านตะวันออก พร้อมๆกัน ฝ่ายไทยมีพระมหาเทพนายกองรักษาด่านอย่างเต็มสามารถ ทำให้ พม่าล้มตายจำนวนมากจึงถอยข้ามคูกลับไป ไม่ได้ด้วยฝีมือต้องใช้เล่ห์กล พระเจ้าหงสาวดีจึงถามพระมหาธรรมราชาว่าจะ ทำอย่างไรให้ชนะศึกโดยเร็ว พระมหาธรรมราชาทรงแนะว่าพระยารามเป็นแม่ทัพ สำคัญให้ได้ตัวมาการยึดพระนครจักสำเร็จ จึงมีสาสน์มาถึงพระอัครชายาว่า
....
การศึกเกิดจากพระยารามที่ยุยงให้พี่น้องต้องทะเลอะกัน ถ้าส่งตัวพระยารามมา ให้พระเจ้าหงสาวดีจะยอมเป็นไมตรี ทางสมเด็จพระมหินทร์ฯ ทรงอ่านสาสน์แล้ว ปรึกษากับข้าราชการต่างๆจึงเห็นสมควรสงบศึกเพราะผู้คนล้มตายกันมากแล้ว สมเด็จพระมหินทร์ฯทรงรับสั่งให้ส่งพระสังฆราชออกไปเจรจาและส่งตัวพระยาราม ให้พระเจ้าหงสาวดี(บุเรงนอง)เพื่อเป็นไมตรี แต่พระเจ้าหงสาวดีตบัตสัตย์ไร้สัจจะวาจาไม่ยอมเป็นไมตรี แต่กลับบอกว่าจะต้องยอมแพ้และเป็นเชลย ทำให้สมเด็จพระมหินทร์ฯทรงพิโรธโกรธแค้นในการกลับกลอกของบุเรงนองอย่างมาก ทรงรับ สั่งให้ขุนศึกทั้งหลายรักษาพระนครอย่างเข้มแข็ง ทางฝ่ายพม่าก็เห็นว่างานนี้ก็ยัง ตีกรุงศรีอยุธยาไม่ได้ จึงส่งพระมหาธรรมราชามาเกลี้ยกล่อมให้ยอมแพ้ แต่ถูก ทหารไทยเอาปืนไล่ยิงจนต้องหนีกลับไป ด้วยความเจ้าเล่ห์ของพระเจ้าหงสาวดีจึงคิดอุบายจะใช้เจ้าพระยาจักรีที่จับตัวได้ ตอนสงครามช้างเผือกเป็นใส้ศึก อนิจา..พระยาจักรียอมเนรคุณแผ่นดินไทยยอม เป็นใส้ศึกให้พม่า โดยวางแผนจำคุกพระยาจักรีในค่ายด้านตะวันออก แล้วแกล้ง ปล่อยให้หนีในตอนกลางคืน(มีเครื่องพันธนาการโซ่ล่ามมาด้วย) รุ่งเช้าพม่าทำที เป็นตามหาแต่ไม่พบเลยจับตัวผู้คุมมาตัดหัวเสียบไว้ริมแม่น้ำเพื่อให้ไทยหลงกล สมเด็จพระมหินทร์ฯทรงดีพระทัยที่พระยาจักรีหนีมาได้ จึงทรงแต่งตั้งให้เป็น ผู้บังคับบัญชาการรบแทนที่พระยาราม แผนชั่วร้ายจึงเริ่มขึ้นพระยาจักรีได้ใส่ ร้ายให้พระศรีสาวราชว่าเป็นกบฏจึงถูกสำเร็จโทษ นอกจากนี้พระยาจักรียังได้ ย้ายแม่ทัพที่รบเก่งๆเอาไปไว้ในตำแหน่งที่ไม่สำคัญทำให้การป้องกันพระนคร เริ่มอ่อนแอ แผนชั่วร้ายได้ดำเนินมา ๒ เดือนเมื่อเห็นว่าได้เวลาอันควรพระยา จักรีจึงให้สัญญาณแก่พม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยาทุกด้าน ในที่สุดไทยจึงเสียกรุงแก่พม่าเพราะมีใส้ศึกคนขายชาติ (มิได้เสียกรุงเพราะ ความสามารถทางการรบ ) รวมเวลาที่พม่าล้อมกรุงศรีฯเอาไว้ ๙ เดือน คนทรยศต่อแผ่นดินยังมี พระยาพลเทพอีกหนึ่งคน ตามคำบอกกล่าวของ ชาวกรุงเก่าว่า เมื่อพระเจ้ากรุงศรีฯเห็นว่าทัพเริ่มแตกจึงรับสั่งให้ทหารปิด ประตูเมืองและรักษาหน้าที่เชิงเทินเอาไว้ให้มั่น แต่ทางพระยาพลเทพผู้ทรยศ ได้แอบส่งอาวุธ เสบียงอาหารให้พม่า พร้อมทั้งรับปากว่าจะเปิดประตูเมือง ทางด้านตะวันออกให้เมื่อพม่าบุกเข้าตี
๖ กรรมตามสนอง ......หลังจากที่ไทยได้เสียกรุงแก่พม่าแล้ว (หลังจากพระมหาจักรพรรดิสวรรคต ๕ เดือน) พระเจ้าหงสาวดี(บุเรงนอง)ได้ให้พระมหาธรรมราชาปกครองกรุงศรีอยุธยา ซึ่งขึ้นต่อกรุงหงสาวดี การรบครั้งนั้นถึงแม้จะชนะแต่พม่าก็เสียไพล่พลเป็นจำนวนมากมาย จึงกวาดต้อนชาวเมืองไปเป็นเชลยจำนวนมากเหลือไว้เพียง ๑๐๐๐ คน ส่วนสมเด็จพระมหินทร์ฯและพระญาติรวมทั้งข้าราชการได้ถูกนำตัวไปไว้ยังเมืองหงสาวดี แต่สมเด็จพระมหินทร์ฯทรงประชวรและสวรรคตระหว่างทาง พระมหาธรรมราชาได้ขอสมเด็จพระนเรศวรเพื่อมาช่วยราชการ ขณะนั้นพระองค์ มีพระชนมายุ ๑๕ พรรษา พระเจ้าบุเรงนองยินยอมแต่ต้องแลกกลับพระสุพรรณกัลยาณีซึ่งเป็นพระพี่นางสมเด็จพระนเรศวร โดยนำไปเป็นพระชายาและองค์ประกันแทน ทางด้านพระยาจักรีผู้ทรยศ ในพงศาวดารได้กล่าวว่า พระเจ้าบุเรงนองได้ให้เป็นเจ้าเมืองพิษณุโลกแต่ทางพระยาจักรีไม่ต้องการจะขอไปรับราชการที่กรุงหงสาวดี ฝ่ายบุเรงนองเลี้ยงพระยาจักรีไว้ไม่นานเพราะว่าพระยาจักรีทรยศแม้กระทั่งแผ่นดินเกิด จึงพาลหาข้อผิดกล่าวโทษเพื่อประหารชีวิตเสีย ( นี่เป็นกรรมตามสนองในครั้งที่พระยาจักรีให้ร้ายพระศรีสาวราชน้องยาเธอ จนถูกสำเร็จโทษ )
๗ เขมร สันดาลเนรคุณ .... เมื่อปีพศ. ๒๐๗๕ ในรัชสมัยพระมหาจักรพรรดิ ( ช่วงเปลี่ยนแผ่นดินจากพระชัย ราชามาเป็นพระเทียรราชา หรือพระมหาจักรพรรดิ ) กรุงหงสาวดีได้ยกทัพมาตี ไทย ฝ่ายเขมรพระยาละแวกเห็นได้ทีจึงยกทัพเข้ามาทางปราจีนบุรีกวาดต้อนผู้คน กลับไปเขมรจำนวนมาก หลังจากพม่ายกทัพกลับไปสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรง พิโรธมาก จึงทรงรับสั่งให้ยกทัพไปถึงเมืองพระตะบองและละแวก พระยาละแวก เห็นท่าจะแพ้ในการศึกจึงมีราชสาสน์มากราบทูลพระมหาจักรพรรดิ จับใจความได้ ว่า ข้าพระองค์ผู้ปกครองกัมพูชา มิได้เกรงพระบรมเดชานุภาพที่ไปกวาดต้อน คนจากปราจีนบุรี ขออย่าทรงพิโรธยกทัพมาตีเมือง ข้าพเจ้าจะนำเครื่องราชบรรณา การมาถวาย และเป็นข้าพระบาทตราบชั่วกัลปวสาน
หลังจากนั้น ๓ วันพระยา ละแวกได้นำเครื่องราชบรรณาการพร้อมด้วยนักพระสุโทและนักพระสุทันเป็นราชบุต มาเข้าเฝ้า ทางพระมหาจักรพรรดิก็ทรงคลายพิโรธและขอนำโอรสทั้งสองไปเลี้ยง ดู พระยาละแวกก็ยอมจากนั้นก็กวาดต้อนคนชาวปราจีนบุรีกลับคืนมาฝั่งไทย ต่อมาไม่นานญวณได้ยึดเมืองละแวก ไทยจึงส่งกองทัพไปช่วยเพื่อตีเมืองคืนแต่ทำไม่สำเร็จ ในปีพศ.๒๑๑๓ รัชสมัยพระมหาธรรมราชาหลังจากที่ไทยเสียกรุงให้แก่พม่าเพียงปีเดียว พระยาละแวกจากเขมรได้ถือโอกาสเข้ามาปล้นและตีเมืองนครนา-ยก(ทั้งที่เคยให้สัจจะว่าจะขอเป็นข้าพระบาทกษัตริย์ไทยชั่วกัลปาวสาน) พระมหาธรรมราชาจึงทรงรับสั่งให้ยกทัพไปปราบ ให้ทหารนำปืนจ่ารงค์ยิงไปถูกพระจำปาธิราชของเขมรตายคาที่บนคอช้าง ทัพของเขมรถอยกลับไปแต่ก็ย้อนกลับมาปล้นเมืองอีกหลายครั้ง นอกจากนี้พระยาละแวกยังนำทัพมากวาดต้อนผู้คนแถวจันทรบุรี ระยอง ฉะเชิง เทรากลับไปเขมรจำนวนมากด้วยความคดในข้องอในกระดูกพระยาละแวกได้ยก ทัพมาถึงปากน้ำพระประแดงโจมตีเมืองธนบุรีจับชาวเมืองธนบุรีและนนทบุรีเป็น เชลยจำนวนมาก เลยได้ใจรวบรวมคนหมายจะตีกรุงศรีอยุธยา แต่งทัพเรือ ๓๐ ลำเข้าปล้นบ้านนายก่าย แต่โชคไม่ดีถูกปืนใหญ่ของไทยยิงตายเป็นจำนวนมาก ฝ่ายเขมรแตกทัพหนีกลับไปทางพระประแดง ( หนีไม่หนีเปล่ายังกวาดต้อนผู้คนแถวสาครบุรีกลับไปอีกด้วย ..... เลวจริงๆ ) ในปีพศ.๒๑๒๙ พระยาละแวกเห็นว่าไทยกำลังสู้ศึกหงสาวดีอยู่ จึงฉวยโอกาสยกทัพเข้ามาตีเมืองปราจีน สมเด็จพระนเรศวรทรงตรัสว่า พระยาละแวกตบัตสัตย์อีกแล้ว จึงต้องยกไปปราบให้ราบคราบ ผลการศึกกองทัพไทยไล่ตีเขมรไปจนสุดชายแดน ทหารเขมรล้มตายจำนวนมาก ในปีพศ.๒๑๓๒ หลังจากสมเด็จพระนเรศวรครองราชย์ ทรงปรึกษาข้าราชการว่ากษัตริย์เขมรมีใจคิดไม่ซื่อเหมือนพระยาละแวก ชอบซ้ำเติมไทยในยามศึกกับพม่า จึงทรงมีพระราชดำริที่จะยกทัพไปแก้แค้นเอาโลหิตมาล้างพระบาต ทรงจัดกองทัพให้ไปตีเมืองปัตบอง เมืองโพธิสัตว์ แล้วเข้าล้อมเมืองละแวกเอาไว้ ทรงล้อมเมืองนานถึง ๓ เดือนยังตีไม่ได้ เสบียงอาหารเริ่มลดน้อยลงจึงทรงรับสั่งให้ยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยาไปก่อน แล้วจะเตรียมการมาตีในภายหน้า
พระนเรศวรทรงแสดงฝีมือในการรบ.... ปีพศ.๒๑๑๗ พระเจ้าหงสวาดีบุเรงนองสิ้นพระชนม์ ราชบุตรชื่อมังเอิญหรือมังไชยสิงห์ ได้ขึ้นครองราชย์ต่อพระนามว่าพระเจ้านันทบุเรง ตามธรรมเนียมประเพณีแล้วบรรดาประเทศราชที่เป็นเมืองขึ้นจะต้องเดินทางไปถวายบังคมกษัตริย์องค์ ใหม่แสดงความจงรักภักดีรวมทั้งไทยด้วย แต่ว่าเมืองคังมีเจ้าฟ้าไทยใหญ่เป็นผู้ครองนครไม่เดินทางมาร่วม หมายถึงกระด้างกระเดืองคิดแข็งเมือง ทางพระเจ้านันทบุเรงได้สั่งให้ยกทัพไปปราบเมืองคัง เพื่อแสดงอำนาจบารมี โดยมีการจัดทัพเป็น ๓ กองทัพคือ ๑ กองทัพพระมหาอุปราช เป็นโอรสของพระเจ้านันทบุเรง มีชื่อเดิม มังสามเกียด หรือมังกะยอชะวา ๒ กองทัพพระสังกะทัต เป็นราชบุตรของพระเจ้าตองอู มีชื่อเดิม นัดจินหน่อง ๓ กองทัพสมเด็จพระนเรศวร เป็นโอรสของพระมหาธรรมราชากษัตริย์ไทย เมืองคังมีทำเลอยู่บนเขาทางขึ้นก็เป็นซอกเขา ยากต่อการเข้ายึด เริ่มการศึกทาง พระมหาอุปราชเข้าตีก่อนและแพ้ลงมา ครั้งที่สองให้พระสังกะทัตเข้าตีก็ไม่สำเร็จ ต่อไปเป็นหน้าที่ของสมเด็จพระนเรศวร ด้วยทรงพระปรีชาสามารถจึงตีเมืองคังได้สำเร็จและจับตัวเจ้าฟ้าไทยใหญ่มาถวายพระเจ้านันทบุเรงอีกด้วย การศึดครั้งนี้สร้างความอับอายให้พระเจ้านันทบุเรงมาก เพราะต้องการให้ราชโอรสชนะ ใช่แต่เรื่องการศึกเท่านั้นในยามว่างก็มีการนำไก่ชนมาตีกัน ระหว่างไก่ของสมเด็จพระนเรศวรและพระมหาอุปราช ผลคือไก่ชนของพระนเรศวรตีชนะทำเอาพระมหาอุปราชเสียหน้าจึงตรัสว่า ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริงหนอ พระนเรศวร ทรงได้ยินดังนั้นจึงตรัสกลับไปว่า ไก่ตัวนี้อย่าว่าแต่จะพนันเอาเดิมพันเลย ถึงจะชนเอาบ้านเอาเมืองก็ได้ ( ถ้าลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่สมัยที่สมเด็จพระนเรศวรทรงขับไล่เขมร การตีเมืองคัง ได้สำเร็จ จนถึงการชนไก่ จะเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระบารมีเหนือกว่า ทางฝ่ายพม่ามากนัก )






...ทรงประกาศอิสรภาพ ..... ปีพศ.๒๑๒๖ พระเจ้าอังวะคิดแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นต่อหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรงได้ สั่งให้ประเทศราช (เมืองแปร ตองอู เชียงใหม่ ลาว และกรุงศรีฯ)ยกทัพไปปราบ สมเด็จพระนเรศวรทรงรอโอกาศที่จะแข็งเมืองอยู่เช่นกัน จึงทรงเดินทัพช้าๆเพื่อรอ ฟังผลการรบ ถ้าทางหงสาวดีชนะก็จะทรงกวาดต้อนคนไทยกลับกรุงศรีอยุธยา แต่ถ้าทางหงสาวดีแพ้ก็จะทรงยกทัพไปตีซ้ำ แต่ว่าทางหงสาวดีก็ไม่ไว้ใจสมเด็จพระนเรศวรอยู่แล้วจึงคิดจะกำจัด โดยสั่งให้พระยาเกียรติและพระยารามซึ่งเป็นมอญไปรับเสด็จพระนเรศวรที่เมืองแครง รอตีขนาบหลังจากที่ทัพพระมหาอุปราชเข้าโจมตี ด้วยพระบารมีของสมเด็จพระนเรศวรทำให้พระยาเกียรติและพระยารามนำความ เข้ามาปรึกษามหาเถรคันฉ่องพระอาจารย์ พระมหาเถรคันฉ่องจึงนำเรื่องกราบทูล สมเด็จพระนเรศวรและเล่าความจริงทั้งหมดที่ทางหงสาวดีคิดไม่ซื่อ สมเด็จพระนเรศวรทรงเรียกประชุมแม่ทัพนายกอง นิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องพร้อมด้วยพระยาทั้งสองเข้าร่วมประชุมพร้อมเพรียงกัน แล้วทรงเล่าเรื่องที่พระเจ้านันทบุเรงคิดไม่ซื่อจะหลอกฆ่าพระองค์ เวลาในการประกาศอิสรภาพได้มาถึงแล้ว สมเด็จพระนเรศวรทรงหลั่งน้ำลงเหนือแผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร(น้ำเต้าทอง) ทรงประกาศแก่เทพยดาต่อหน้าที่ประชุมว่า " ตั้งแต่วันนี้ กรุงศรีอยุธยาขาดทางไมตรีกับกรุงหงสาวดี มิได้เป็นมิตรต่อกันดังแต่ก่อนสืบไป " พระราชพิธีนี้เกิดขึ้นในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๑๒๗ ณ.เมืองแครง จากนั้นพระองค์ ทรงมีดำรัสถามชาวมอญที่อยู่ในเมืองแครงว่าจะอยู่ข้างไทยหรือพม่า ส่วนมากจะอยู่ข้างไทยแล้วทรงรับสั่งให้จัดทัพเพื่อไปตีเมืองหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรทรงยกกองทัพข้ามแม่น้ำสะโตง จวนจะถึงหงสาวดีก็ทราบข่าวว่าพระเจ้าหงสาวดีรบชนะพระเจ้าอังวะ และกำลังยกทัพกลับกรุงหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรทรงคิดพิจารณาแล้วว่า การจะตีหงสาวดีครั้งนี้คงไม่สำเร็จ จึงให้ทหารเที่ยวไปกระจายข่าวบอกชาวไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนมาให้เดินทาง กลับเมืองไทยได้จำนวนหมื่นเศษ สมเด็จพระนเรศวรทรงให้ชาวบ้านข้ามแม่น้ำ สะโตงไปจนหมด แล้วพระองค์ทรงอยู่คุมกองหลังข้ามแม่น้ำสะโตงเป็นชุดสุดท้าย(แสดงถึงความเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมและกล้าหาญมาก) ขณะนั้นพระมหาอุปราช(มังสามเกียด)ได้จัดทัพติดตามมาให้สุรกรรมาเป็นกองหน้า แล้วมาทันกันที่แม่น้ำสะโตงซึ่งมีความกว้างประมาณ ๔๐๐ เมตร ทางพม่าก็ยิงปืนข้ามมาแต่ไม่ถูก สมเด็จพระนเรศวรทรงประทับอยู่บนคอช้างริมแม่น้ำทรงประทับพระแสงปืนยาว ๙ คืบหรือ ๒ เมตร ๒๕ เซ็นติเมตร (แล้วทรงอธิฐานถ้าการ กู้ชาติสำเร็จขอให้ยิงถูกข้าศึก) ทรงยิงไปถูกสุรกรรมาตายอยู่บนคอช้าง ทำให้พม่าเกรงกลัวและถอยทัพกลับไป พระแสงปืนต้นนี้มีนามว่า พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง หลังจากนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา พร้อมด้วยพระมหาเถรคันฉ่องและพระยาเกียรติ พระยาราม และชาวมอญ โดยเดินทัพผ่านหัวเมืองมอญแล้วเข้าด่านเจดีย์สามองค์มาจนถึงกรุงศรีอยุธยา ทรงปูนบำเน็จให้กับพระยามอญทั้งสอง และทรงแต่งตั้งพระมหาเถรคันฉ่องเป็นพระสังฆราชอีกด้วย สมเด็จพระนเรศวรทรงราชสมภพที่เมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พศ.๒๐๙๘ เป็นราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตรี ทรงมีพระพี่ นางสุพรรณกัลยาณี และพระอนุชาสมเด็จพระเอกาทศรถ

 ๑๐ พิธีศรีสัจปานกาล ..... หัวเมืองทางเหนือเมืองกำแพงเพชรมีกองทัพพม่า แม่ทัพชื่อนันทสูราชสังครำ ควบคุมอยู่ สมเด็จพระนเรศวรทรงเกณฑ์ไพล่พลจากหัวเมืองเหนือ เพื่อเตรียม รบกับพม่าแต่ว่ามีอยู่สองเมืองที่ไม่ยอมเข้าร่วมคือ สวรรคโลกและพิชัย เพราะพระยาสวรรคโลกเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรมีไพล่พลน้อยกว่าหงสาวดีมากนัก จึงเอาตัวรอดไม่ยอมร่วมทัพด้วย แต่กลับรวมไพล่พลทั้งสองเมืองเข้าไว้ในเมืองสวรรคโลกตั้งมั่นคอยรับการโจมตีจากทางกรุงศรีอยุธยา เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงทราบว่า พระยาสวรรคโลกและพระยาพิชัยตั้งตน เป็นกบฏ พระองค์จึงทรงรับสั่งให้รวมพลกองทัพที่บ้านด่านลานหอย เดินทัพมาถึงสุโขทัยทรงให้ตั้งพลับพลาประทับอยู่บริเวณข้างวัดศรีชุม เนื่องด้วยไทยยังไม่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน พระองค์จึงทรงจัดให้มีพิธีศรีสัจปานกาลให้ตักน้ำกระพังโพยศรีที่ถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ อันมีสมเด็จพระร่วงมาทำน้ำพระพิพัฒน์- สัตยาให้แม่ทัพนายกองและไพล่พลถือน้ำทำสัตย์ว่าจะต่อสู้ข้าศึกเพื่อกอบกู้บ้านเมืองไทยให้เป็นอิสรภาพ เสร็จพิธีสมเด็จพระนเรศวรทรงยกทัพไปสวรรคโลกเพื่อปราบกบฏ ทรงให้โอกาศพระยาทั้งสองโดยส่งข้าหลวงไปร้องบอกว่าให้ออกมารับผิดเสีย พระองค์จะทรงอภัยให้ แต่พระยาทั้งสองไม่ยอมซ้ำยังตัดหัวของข้าหลวงที่ซื่อสัตย์โยนออกมาอีก ทำให้สมเด็จพระนเรศวรทรงพิโรธมาก ทรงรับสั่งให้ตีเมืองสวรรคโลกให้ ได้ หลังจากที่ตีเมืองได้แล้วทรงรับสั่งให้จับตัวพระยาสวรรคโลกและพระยาพิชัย มาประหารชีวิตทันที
๑๑ แพ้ทั้งอาและหลาน ..... ปีพศ.๒๑๒๗ หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพได้ ๗ เดือน พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงจัดทัพสองทัพให้ยกมาตีไทย ทัพแรกมีพระยาพสิม (เป็นพระเจ้าอาของพระเจ้าหงสาวดี)คุมกำลังสามหมื่นโดยยกมาทางด่านเจดีย์สาม องค์ ทัพที่สองมีเจ้าเมืองเชียงใหม่ชื่อมังนรธาช่อราชอนุชา ยกทัพบกและเรือมา จากเชียงใหม่มีกำลังพลหนึ่งแสน กองทัพพระยาพสิมยกเข้ามาถึงเมืองกาญจนบุรี(ถึงก่อนทัพเจ้าเมืองเชียงใหม่) สมเด็จพระนเรศวรทรงให้พระยาจักรียกทัพเรือไปยิงปืนใหญ่ดักข้าศึกแถวๆเมือง สุพรรณบุรี ทัพพม่าถูกปืนใหญ่แตกพ่ายหนีไปอยู่บนเขาพระยาแมน เจ้าพระยาสุโขทัยยกทัพไปเขาพระยาแมน เข้าตีทัพพระยาพสิมแตกพ่ายหนี กระเจิง เจ้าพระยาสุโขทัยจึงสั่งให้ตามบดขยี้ข้าศึกจนถึงชายแดนเมืองกาญจนบุรี หลังจากทัพพระยาพสิมแตกพ่ายหนีกลับไปได้สองอาทิตย์ กองทัพพระยาเชียงใหม่ได้เดินทัพมาถึงชัยนาท โดยที่ไม่ทราบข่าวการพ่ายแพ้ของพระยาพสิมจึงส่ง แม่ทัพและทหารจำนวนหนึ่งมาตั้งค่ายที่ปากน้ำบางพุทรา ทางสมเด็จพระนเศวรทรงรับสั่งให้พระราชมนูยกทัพไปตีข้าศึกที่ปากน้ำบางพุทรา เมื่อไปถึงพระราชมนูเห็นว่ากำลังน้อยกว่ามาก(พม่ามีอยู่หนึ่งหมื่นห้าพันคน ไทยมีสามพันสองร้อยคน) จึงแต่งกองโจรคอยดักฆ่าพม่าจนเสียขวัญถอยกลับไปชัยนาท สุดท้ายทัพพม่าจึงถอยกลับไป


๑๒ พระแสงดาบคาบค่าย ........ ปีพศ.๒๑๒๙ สมเด็จพระนเรศวรทรงสร้างวีรกรรมอย่างชายชาติทหารที่มีความ กล้าหาญเหนือฝ่ายพม่าหลายครั้ง เนื่องด้วยทางพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงยังไม่เข็ดหลาบในความพ่ายแพ้ จึงประ ชุมกองทัพจำนวนสองแสนห้าหมื่นคนยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ในช่วงต้นเดือนยี่ ข้าวในนายังเกี่ยวไม่เสร็จ สมเด็จพระนเรศวรจึงรับสั่งให้เจ้าพระยากำแพงเพชร ยกทัพออกไปป้องกันชาวนาที่กำลังเกี่ยวข้าว พอทัพพม่าของพระมหาอุปราชยก ทัพมาถึงก็ให้ทัพม้าเข้าตีจนทัพเจ้าพระยากำแพงเพชรแตกพ่ายหนีเข้าเมือง สมเด็จพระนเรศวรทรงพิโรธอย่างมาก เพราะไทยไม่เคยแตกพ่ายแพ้ต่อข้าศึก อาจทำให้ทหารขวัญเสีย พระองค์และสมเด็จเอกาทศรถทรงเสด็จลงเรือพระที่นั่งออกไปรบทันที (สมเด็จพระเอกาทศรถทรงถูกกระสุนปืนแต่ไม่เป็นอะไร เพียงแค่ฉลองพระองค์ขาดเท่านั้น) ผลปรากฏว่าทรงยึดค่ายคืนมาได้ สมเด็จพระนเรศวรทรงรับสั่งประหารชีวิตเจ้าพระยากำแพงเพชร แต่โชคดีที่พระบิดาสมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงขอชีวิตเอาไว้ การศึกครั้งนี้พม่าหมายหมั้นจะตีกรุงศรีอยุธยาให้ได้ แต่ด้วยความแข็งแกร่งของทหารไทยจึงรักษาที่มั่นเอาไว้ได้เสมอ วีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรในการศึกมีดังนี้ ทรงเสด็จออกปล้นค่ายพม่าซึ่งเป็นทัพหน้าของหงสาวดี ข้าศึกแตกพ่ายถอยหนี พระองค์จึงไล่ตีมาจนถึงค่ายหลวงของพระเจ้าหงสาวดี ทรงเสด็จลงจากม้าคาบพระแสงดาบแล้วนำทหารปีนบันไดขึ้นกำแพงข้าศึก แต่ถูกพม่าใช้หอกแทงตกลงมาข้างล่างหลายครั้ง จึงทรงเสด็จกลับพระนคร พระแสงดาบนี้มีนามว่า พระแสงดาบคาบค่าย ในพงศาวดารกล่าวว่า พระเจ้าหงสาวดีทรงทราบการกระทำอันห้าวหาญของสมเด็จพระนเรศวร จึงทรงตรัสว่าถ้าพระนเรศวรออกมาอีกจะต้องจับพระองค์ ให้ได้ถึงแม้ว่าจะใช้ทหารมากมายเพียงใด จึงวางแผนให้ลักไวทำมูนำทหารจำนวนหนึ่งหมื่นคนไปดักจับ แน่นอนสมเด็จพระนเรศวรทรงออกไปปล้นค่ายหลวงพม่าอีก พม่าจึงใช้ทหารจำนวนน้อยเข้าล่อให้พระองค์ไล่ตี เข้ามาจนถึงบริเวณที่ ลักไวทำมูซุ่มรออยู่ ลักไวทำมูจะเข้ามาจับพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรจึงใช้พระแสงทวนแทงลักไวทำมูตายทันที แต่พระองค์ยังถูกล้อมอยู่และสู้กับทหารพม่า จำนวนมากนานร่วมชั่วโมง จนทัพไทยตามมาทันจึงเสด็จกลับพระนครได้ สุดท้ายกองทัพหงสาวดีบอบช้ำจากการสู้รบกับไทยอย่างมาก จึงถอยทัพกลับไปเช่นเดิม นี่เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงพระบารมีและทรงพระปรีชายิ่งทางด้านการรบของสมเด็จพระนเรศวร
...............................................................................

   ๑๓ สงครามยุทธหัตถี ..... ปีพศ.๒๑๓๓ สมเด็จพระมหาธรรมราชาพระบิดาสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรทรงขึ้นครองราชย์มีพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ทางพระเจ้านันทบุเรงยังคิดจะปราบปรามไทยให้ได้ จึงจัดทัพให้พระมหาอุปราชายกทัพหลวงมีกำลังพลสองแสนคน ยกทัพมาทางด่านเจดีย์สามองค์ สมเด็จพระนเรศวรทราบข่าวจึงทรงใช้กลศึกในการรบเพราะมีทหารน้อยกว่ามาก สั่งให้กองทัพซุ่มรออยู่แล้วแต่งทัพน้อยออกไปล่อข้าศึก ทางฝ่ายพระมหาอุปราชาเห็นดังนั้นจึงประมาทยกทัพเข้าไล่ตีจนมา ถึงบริเวณที่ทัพไทยซุ่มรออยู่จึงได้รบพุ่งกันด้วยสามารถจนถึงขั้นตะลุมบอน ทัพพม่าแตกพ่ายหนีกระเจิดกระเจิง ทัพไทยไล่ตามมาติดๆเกือบจะจับพระมหาอุปราชาได้ เหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างความอัปยศอดสูให้พระเจ้านันทบุเรงอย่างมาก เพราะว่ายกทัพไปหลายแสนยังแพ้กลับมา จึงทรงให้แก้ตัวใหม่อีกครั้งคราวนี้พระมหาอุปราชานำกองทัพทหารจำนวนสองแสนสี่หมื่นคนหมายจะชนะศึกครั้งนี้ ประมาณปลายปี พศ.๒๑๓๕ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงทราบว่าพม่าจะยกทัพใหญ่มาตีไทยอีกแล้ว จึงทรงเตรียมไพล่พลมีกำลังหนึ่งแสนคน เดินทางออกจากบ้านป่าโมกไปสุพรรณบุรีข้ามน้ำตรงท่าท้าวอู่ทอง และตั้งค่ายหลวงบริเวณหนองสาหร่าย รุ่งเช้าของวันจันทร์เดือนยี่ แรม ๒ ค่ำ ปีมะโรง พศ.๒๑๓๕ สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถทรงพระองค์เครื่องพิชัยยุทธ สมเด็จพระนเรศวรทรงช้างนามเจ้าพระยาไชยานุภาพเป็นคชาสาร ทางสมเด็จพระเอกาทศรถทรงช้างนามเจ้าพระยาปราบไตรจักรเป็นคชาสาร ช้างทรงของทั้งสองพระองค์นั้นเป็นช้างชนะงาที่กำลังตกมัน ในระหว่างการรบจึงวิ่งไล่ตามพม่าหลงเข้าไปในแดนพม่า จะมีเพียงทหารรักษาพระองค์และจตุลังคบาลเท่านั้นที่ติดตามไป ช้างทรงของสองพระองค์หลงเข้าไปลึกประมาณร้อยเส้น และ ตกอยู่ในวงล้อมข้าศึก ด้วยพระปฏิพาณไหวพริบของสมเด็จพระนเรศวรทรงเห็นว่าเป็นการเสียเปรียบข้าศึก จึงได้ทรงท้าทายให้พระมหาอุปราชาออกมาชนช้างทำยุทธหัตถี เพื่อเป็นเกียรติในการรบแก่ไพล่พล พระมหาอุปราชาได้ยินดังนั้นจึงทรงช้างพลายพัทธกอเข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพเสียหลัก พระมหาอุปราชาทรงฟันด้วยพระแสงของ้าว แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงหลบทันจึงฟันถูกพระมาลาหนังขาด จากนั้นเจ้าพระยาไชยานุภาพชนพลายพัทธกอเสียหลักสมเด็จพระนเรศวรทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูกพระมหาอุปราชา เข้าที่ไหล่ขวาสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง ( เป็นการชดใช้กรรมสมัยที่พระเจ้าแปรฟันพระแสงของ้าวถูกพระสุริโยทัยสิ้นพระชนม์ชีพ ) ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถก็ทรงฟันเจ้าเมืองจาปะรีเสียชีวิตเช่นกัน ทหารพม่าเห็นว่าแพ้แน่แล้วจึงใช้ปืนยิงใส่สมเด็จพระนเรศวรทรงได้รับบาดเจ็บ ทันใดนั้นทัพหลวงไทยตามมาช่วยทันจึงรับทั้งสองพระองค์กลับพระนคร พม่าก็ยกทัพกลับไป
( สถานที่ทำยุทธหัตถี ปัจจุบันคือ ต.ดอนเจดีย์ ห่างจากหนองสาหร่าย ๑๐๐ เส้น จ.สุพรรณบุรี )
ช้างเจ้าพระยาไชยานุภาพได้รับพระราชทานนามว่า เจ้าพระยาปราบหงสาวดี
พระแสงของ้าวได้พระราชทานนามว่า เจ้าพระยาแสนพลพ่าย
พระมาลาหนังที่ถูกฟันขาดได้พระราชทานนามว่า พระมาลาเบี่ยง
สมเด็จพระนเรศวรทรงรับสั่งให้สร้างเจดีย์ใหญ่ชื่อ เจดีย์ชัยมงคล ในวัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศที่ทรงทำยุทธหัตถีชนะ

   ๑๔ พระสุพรรณกัลยาณี ..... คงยังจำกันได้ที่มีการแลกองค์ประกันระหว่างสมเด็จพระนเรศวรกับพระสุพรรณกัลยาณีพระพี่นางประมาณปีพศ.๒๑๑๒ หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชาแล้ว พระเจ้านันทบุเรงได้ทราบข่าวว่าโอรสสิ้นพระชนม์ก็พระพิโรธอย่างมาก ได้ลงโทษทัณฑ์แก่แม่ทัพนายกอง และพระสุพรรณกัลยาณี ดังหลักฐานจากพงศาวดารดังนี้
คำให้การขุนหลวงหาวัด (พระเจ้าอุทุมพร) พระเจ้านันทบุเรง(เดิมชื่อมังไชย สิงหราช) รับสั่งให้เพชรฆาตนำเสนามอญรวมทั้งเจ็ดชั่วโคตร เอาไม้ลำทำตับเข้าแล้วปิ้งไฟให้ตายทั้งเจ็ดชั่วโคตร ยังไม่หนำใจ พระเจ้านันทบุเรงเสด็จเข้าวัง เห็นพระพี่นางสุพรรณกัลยาณีบรรทมให้พระโอรสเสวยนมอยู่ ด้วยความเหี้ยมโหดผิดมนุษย์ จึงฟันด้วยพระแสงถูกพระพี่นางและโอรส และลูกในครรน์อีกหนึ่งพระองค์สิ้นพระชนม์ทันที
คำให้การจากชวกรุงเก่า พระเจ้านันทบุเรงรับสั่งให้นำตัวแม่ทัพนายกองที่ไปรบครั้งนั้นมาใส่ย่างไฟให้ตายทั้งเป็น (โหดผิดมนุษย์จริงๆ) แล้วเข้าพระตำหนักของพระพี่นางสุพรรณกัลยาณีใช้พระแสงฟันพระพี่นางกับพระธิดาสิ้นพระชนม์คามือ
ก่อนที่พระพี่นางสุพรรณกัลยาณีจะถูกปลงพระชนม์ ได้ทรงมีรับสั่งให้พระองค์จันทร์ช่วยนำพระเกศาของพระพี่นางไปมอบให้สมเด็จพระนเรศวร และไม่นานลางสังหรณ์ของพระพี่นางก็เป็นจริง หลังจากที่พระพี่นางทรงสิ้นพระชนม์แล้ว พระองค์จันทร์ได้แอบหนีจากเมืองหงสาวดีพร้อมด้วยทหารมอญคนหนึ่ง ( ทางหงสาวดีได้จัดพิธีศพให้พระพี่นางอย่างสมเกียรติ และปิดข่าวการสิ้นพระชนม์ไม่ให้ไทยทราบ ส่วนพระเจ้านันทบุเรงผู้เหี้ยมโหดก็เป็นบ้าเสียสติไป ) พระพี่นางมีพระชันษา ๔๑ พรรษาขณะสิ้นพระชนม์ องค์จันทร์ทรงหนีมาทาง อ.ปายและหยุดพักที่กระท่อมแห่งหนึ่ง ทหารพม่าตามมาทันจึงเผากระท่อมและฆ่าผัวเมียเจ้าของกระท่อมผู้ให้ที่พักพิงตายทั้งคู่ พม่าคิดว่าองค์จันทร์คงจะตายในกองเพลิงแล้วจึงกลับเมือง องค์จันทร์และทหารมอญใช้เวลาเดินทางจากกรุงหงสาวดีจนถึงกรุงศรีอยุธยารวมเวลา ๓ เดือนเศษ ครั้นถึงพระนครก็กราบทูลเรื่องการสิ้นพระชนม์ของพระสุพรรณกัลยาณีให้ทราบ บรรยากาศในราชวังแห่งกรุงศรีอยุธยามีแต่ความโศกเศร้ายิ่งนัก สมเด็จพระนเรศวรทรงพระพิโรธอย่างมากทรงมีรับสั่งให้เตรียมไพล่พลเพื่อยกทัพไปตีกรุงหงสาวดีจับตัวนันทบุเรงเจ้าผู้โหดเหี้ยม ตัดหัวแล้วนำเลือดมาล้างตีน เซ่นสรวงดวงวิญญาณพี่กู หลังจากที่พระแม่เจ้าพระวิสุทธิกษัตริย์(พระมารดของสมเด็จพระนเรศวร ) ได้ทรงทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระพี่นางก็ทรงโศกเศร้าและประชวรลง ไม่เกิน ๓ เดือนก็ทรงสวรรคต
สมเด็จพระนเรศวรทรงรับสั่งให้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระอัฐิพระสุพรรณกัลยาณี พระพี่นางที่วัดน้ำฮู อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน พร้อมทั้งสร้างพระพุทธรูปองค์หนึ่งนามว่า พระพุทธรูปอุ่นเมือง เพื่ออุทิศส่วนกุศลถวายให้พระพี่นาง

   ๑๕ ตีกรุงหงสาวดีล้างแค้น ..... หลังจากจัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพพระแม่เจ้า สมเด็จพระนเรศวรทรงยกทัพไปตีกรุงหงสาวดีในปี พศ.๒๑๓๘ ทรงนำกำลังพลประมาณหนึ่งแสนสองหมื่นคนเข้าไปล้อมเมืองหงสาวดีเอาไว้นาน ๓ เดือนยังตีไม่ได้ ทรงทราบข่าวว่า พระเจ้าแปร พระเจ้าอังวะ และพระเจ้าตองอูยกทัพมาช่วยกรุงหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรจึงยกทัพกลับพระนคร ผ่านมา ๔ ปี พศ.๒๑๔๒ สมเด็จพระนเรศวรทรงจัดกองทัพเตรียมยกไปตีกรุงหงสาวดีอีกครั้งทางเมืองยะไข่และตองอูทราบจึงเข้ามาสวามิภักร แต่กลับมีพระรูปหนึ่งชื่อมหาเถรเสียมเพรียมได้ยุยงให้พระเจ้าตองอูกบฏต่อไทย โดยเข้าตีหงสาวดีก่อนแต่ตีไม่สำเร็จจึงล้อมเมืองเอาไว้ ทางหงสาวดีทราบข่าวว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงปราบกบฏมอญได้ จึงเปิดประตูเมืองรับพระเจ้าตองอูพร้อมทั้งมอบ อำนาจในการปกครองและบัญชาการรบให้ด้วย พระเจ้าตองอูจึงคิดจะหาพรรคพวกโดยยกราชธิดาของพระเจ้าหงสาวดีให้พระเจ้ายะไข่เพื่อให้กองทัพยะไข่ช่วย ต่อสู้กับกองทัพไทย(ไร้สัจจะเหมือนสมัยพระเจ้าบุเรงนอง) จากนั้นพระเจ้าตองอู จึงนำตัวพระเจ้าหงสาวดีไปไว้ยังเมืองตองอู สมเด็จพระนเรศวรทรงยกทัพมาถึงหงสาวดี ทรงทราบว่าพระเจ้าหงสาวดีหนีไป อยู่เมืองตองอูก็ทรงผิดหวังมาก จึงสั่งให้เผาเมืองหงสาวดีทิ้งเสียแล้วยกกองทัพไปล้อมเมืองตองอู เนื่องจากตองอูเป็นเมืองใหญ่มีป้อมปราการแข็งแกร่ง ซ้ำมีคู เมืองที่กว้างและลึกอีกต่างหาก พระองค์ทรงตรัสว่า หากกูตีตองอูแล้วจับไอ้นันทบุเรงมาเซ่นดวงวิญญาณของพี่กูไม่ได้ ก็จะไม่เข้าพระนคร ทรงล้อมเมืองอยู่ ๒ เดือนเสบียง อาหารเริ่มหมด ไข้ป่าก็มาก ทหารเจ็บป่วยหลายคนจึงทรงสั่งถอยทัพ และพระองค์ก็มิได้เสด็จเข้าไปในพระบรมมหาราชวังนานร่วม ๓ ปี

   ๑๖ การทำศึกครั้งสุดท้ายของสมเด็จพระนเรศวร ..... ในปีพศ.๒๑๔๗ พม่าเกิดการแตกแยกขึ้นเมื่อโอรสพระเจ้าตองอู(นัดจินหน่อง) ลอบวางยาพิษให้พระเจ้าหงสาวดีสิ้นพระชนม์ เมืองอังวะจึงยกทัพมาตีหัวเมืองที่อยู่ทางเหนือของไทย สมเด็จพระนเรศวรทรงขัดเคืองเป็นยิ่งทรงจัดกองทัพใหญ่ มีกำลังพลหนึ่งแสนคนยกไปตีอังวะ ทรงให้พระอนุชาสมเด็จพระเอกาทศรถยก ทัพไปทางเมืองฝาง ส่วนพระองค์ยกทัพมาทางเมืองหาง จะสิ้นบุญบารมีจอมกษัตริย์นักรบ สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวรเป็นฝีหัวระลอกขึ้นบริเวณพระพักตร์รามเป็นบาดทะพิษ ทรงรับสั่งให้ทหารไปเชิญเสด็จ พระอนุชาสมเด็จพระเอกาทศรถมาเฝ้าพระองค์ได้ ๓ วัน สมเด็จพระนเรศวรก็ ทรงสวรรคต ณ.เมืองหาง
รวมเวลาที่พระองค์ทรงตรากตรำการศึกสงครามเพื่อ กอบกู้ชาติบ้านเมืองเป็นเวลา ๒๐ ปี (ตั้งแต่ พศ.๒๑๒๗ - ๒๑๔๗ ) เราชาวไทย ซึ่งเป็นลูกหลาน เหลน ของพระองค์ท่านจึงควรภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นลูกไทยชาตินักรบ

   ๑๗ คิดรุกรานไทยกรรมจึงตามสนอง ..... ในปีพศ.๒๓๐๐ พม่าถูกมอญเข้ายึดครองอยู่ใต้อำนาจถึง ๗ ปี แต่มีพรานป่าชาวพม่าชื่อมังอองไจยะ รบชนะมอญและยึดเมืองคืน มังอองไจยะจึงตั้งตนขึ้นเป็น กษัตริย์พม่าชื่อ พระเจ้าอลองพญา ประมาณปี พศ.๒๓๐๒ ด้วยความชอบรุกรานบ้านเมืองผู้อื่นพระเจ้าอลองพญาจึงจัดทัพมาตีไทย (เพราะทราบว่ากำลังทหารของ ทยช่วงนั้นอ่อนแอ) ทางด่านสิงขร ประจวบฯ เพชรบุรี กาญจนบุรี มุ่งเข้าสู่กรุงศรี อยุธยา ทางพม่าเลยได้ใจที่จะตีเอากรุงศรีอยุธยาให้ได้ พระเจ้าอลองพญาสั่งให้ ตั้งปืนใหญ่ยิงเข้ามาในพระนคร โดยเป็นคนจุดไฟยิงปืนใหญ่เองแต่ปืนใหญ่ระเบิด ถูกพระเจ้าอลองพญาอาการสาหัส(กรรมสนอง) พม่าจึงถอยทัพกลับมาทางด่าน แม่ละเมา และพระเจ้าอลองพญาสิ้นพระชนม์ที่เมืองตาก
ในปีพศ.๒๓๐๖ เมื่อพระเจ้ามังระได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดาที่สิ้นพระชนม์จากปืนใหญ่ ด้วยสายเลือดของผู้รุกรานจึงจัดทัพมาตีไทย ให้แม่ทัพมังมหานรธา ยกทัพมาตีทวาย ตะนาวศรี ระนอง ชุมพร ประจวบฯ จนถึงเพชรบุรี แต่ทัพไทย นำโดยพระยาตากสินหรือพระเจ้ากรุงธนบุรี และพระยาพิพัฒน์โกษาได้ต่อสู้กับพม่าเป็นสามารถจนทัพพม่าแตกพ่ายหนีกลับไป


   ๑๘ ศึกบางระจัน วีรชนผู้รักชาติ ..... ในปีพศ.๒๓๐๘ พระเจ้ามังระคิดจะตีกรุงศรีฯให้ได้ จึงส่งกองทัพซึ่งมีเนเมียวสีหบดีและมังมหานรธาเป็นแม่ทัพ ( ฝ่ายไทยพระเจ้าเอกทัศน์ขึ้นครองราชย์ต่อจาก พระอนุชา พระบิดาคือ สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ก่อนที่พระบิดาจะสวรรคตได้ทรง ดำรัสไว้ว่า เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี (พระเจ้าเอกทัศน์ หรือ ขุนหลวงขี้เรื่อน) นั้นโฉดเขรา ไร้สติปัญญา ถ้าได้ครองแผ่นดินจะทำให้แผ่นดินเกิดภัยพิบัติ จึงมีรับสั่งให้ไปบวชเสียอย่ามายุ่งราชการแผ่นดิน )
ที่เมืองวิเศษชัยชาญมีคนไทยชื่อ นายแท่น นายโชติ นายอิน นายเมือง นายดอก (บ้านกลับ) นายทองแก้ว(บ้านโพธิ์ทะเล) ได้ช่วยกันสู้กับพม่าและฆ่าพม่าตายไป ๒๐ คน แล้วหนีมาที่บ้านบางระจัน ได้ร่วมกับชาวบ้านบางระจันนิมนต์พระสงฆ์พระอาจารย์ธรรมโชติ(วัดเขานางบวช)มาปลุกเสกคาถาอาคมให้หนังเหนียวมีกำลังใจสู้ ศึกกับพม่า ชาวบ้านรวมกันได้ประมาณ ๔๐๐ คน มีหัวหน้าคือ ขุนสรรค์ พันเรือง นายทองเหม็น นายจันทร์หนวดเขี้ยว และนายทองแสงใหญ่ พม่ายกทัพมาตีถึง ๗ ครั้งด้วยกันก็มิอาจเอาชนะชาวบ้านบางระจันได้ แต่บังเอิญมีชาวมอญชื่อสุกี้(เป็นมอญที่อาศัยอยู่ในไทย) ขันอาสารบกับไทย ใช้วิธีใจเย็นสู้กับชาวบ้านเพราะรู้ว่าชาวบ้านใจร้อน รบกันอยู่นานชาวบ้านก็มีใบบอกไปถึงกรุงศรีฯ เพื่อขอปืนใหญ่และกระสุนปืนแต่ได้รับการปฏิเสธ เพียงแต่ส่งนายกองมาช่วยดู ชาวบ้านจึงช่วยกันนำเศษทองเหลืองที่เรี่ยไรมาได้มาหล่อปืนใหญ่ ๒ กระบอก แต่ว่าปืนร้าวใช้งานไม่ได้ สุกี้เห็นว่าไทยเริ่มอ่อนแอจึงให้ขุดอุโมงค์เข้าไปใก้ลค่ายบางระจันแล้วเอาปืนใหญ่ตั้งหอสูงระดมยิงใส่ค่ายจนค่ายแตก ทำให้ไทยต้องเสียค่ายบางระจันแก่พม่า ( พร้อมด้วยเลือดเนื้อของวีรชนชาวบางระจัน ) ค่ายบางระจันถูกพม่าตีแตกในวันจันทร์ เดือน ๘ แรม ๒ ค่ำ ปีจอ พศ.๒๓๐๙ รวมระยะเวลาที่วีรชนชาวบางระจันต่อสู้นานถึง ๕ เดือน
ด้วยวีรกรรมนี้รัฐบาลไทย จึงกำหนดให้วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ เป็น วันวีรชนค่ายบางระจัน

   ๑๙ เสียกรุงครั้งที่สองเพราะกษัตริย์ ..... ความเดิมหลังจากสมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรงสวรรคตก็ได้ให้เจ้าฟ้ากรมขุนพรนิมิตขึ้นครองราชย์พระนามว่า พระเจ้าอุทุมพร ทรงครองราชย์ได้เดือนเศษจะต้องอุปสมบท จึงให้เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรีขึ้นครองราชย์ต่อพระนามว่า พระเจ้าเอกทัศน์หรือชาวบ้านเรียกขุนหลวงขี้เรื้อน เมื่อพระเจ้าเอกทัศน์ขึ้นครองราชย์ก็เกิดลางร้ายต่างๆซึ่งอาจจะเป็นลางบอกเหตุให้เสียกรุงดังพระดำรัสของพระบิดา พม่ายกทัพเข้าประชิดพระนคร แม่ทัพไทยสั่งตั้งปืนใหญ่ยิงปะทะพม่าแต่กลับถูกสั่งห้าม เพราะเกรงว่าสนมในวังจะตกใจเสียงปืนใหญ่ (นี่ละหนาที่เขาว่าอย่าให้คนไม่ดีมีอำนาจ)ในที่สุดพม่าเริ่มจุดไฟเผารากกำแพงเมืองจนพังลงมา และเริ่มบุกเข้ายึดพระนครได้ในวันที่ ๙ เมษายน พศ.๒๓๑๐ เวลาสองทุ่มเศษ พม่าใช้เวลาล้อมเมืองอยู่ นาน ๑๔ เดือน กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทยอยู่นานถึง ๔๑๗ ปี เป็นเพราะชะตาเมือง ...................


   ๒๐ การกู้อิสรภาพโดยพระเจ้าตากสิน ..... หลังจากที่พม่าเข้ายึดพระนครกรุงศรีอยุธยาได้แล้ว ทหารพม่าก็กระทำตัวดั่งโจรป่าจุดไฟเผาวัดวาอาราม ราชวัง ปราสาทราชมนเทียร ปล้นเอาทรัพย์สินแก้ว แหวนเงินทอง จับชาวบ้านมาทรมานเพื่อสอบถามที่ซ่อนทรัพย์สินไว้ที่ใด นอกจากนี้ทหารพม่ายังเอาไฟสุมหลอมเอาทองคำที่ห่อหุ้มองค์พระพุทธรูปในวิหารหลวงวัด พระศรีสรรเพชรกลับไปด้วย(นี่คือการปล้นเมืองมิใช่การทำศึกสงครามอย่างอาจหาญ)
สมเด็จพระเจ้าตากสินได้ร่วมรบขณะกรุงศรีฯถูกพม่าเข้าตี ก่อนที่จะเสียกรุงประมาณ ๓ เดือนพระเจ้าตากสินได้สั่งยิงปืนใหญ่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากข้าราชการฝ่ายใน (ที่ประจบสอพลอ)จึงถูกภาคทัณฑ์ และทรงเห็นทหารไทยในขณะนั้นสู้รบอย่างขาดกลัวยิ่งทำให้พระองค์ทรงท้อพระทัยมาก จึงรวบรวมทหารได้ ๕๐๐ คน เมื่อย่ำค่ำก็เดินทางออกจากค่ายวัดพิชัย ตีฝ่าทัพพม่าหนีไปทางด้านทิศตะวันออก (บ้านโพธิ์สาวหาญ) เดินทัพลงมาทางบ้านพรานนกแขวงเมืองปราจีนบุรี ก็ต้องรบกับพม่าเป็นระยะๆ ในวันจันทร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ พศ.๒๓๐๙ กองทัพของพระเจ้าตากเดินทางมาถึงเมืองระยองตั้งค่ายมั่นอยู่ที่วัดลุ่มเขตบ้านท่าประดู่ จากนั้นก็ทราบข่าวว่ามีเจ้าเมืองข้าราชการบางคนในเมืองระยองจะคิดกบฏปล้นค่าย พระเจ้าตากสินจึงสั่งให้ดับไฟในค่ายแล้วดักรอจนพวกกบฏบุกเข้ามา ทหารของพราะเจ้าตากก็สู้รบจนชนะ จากนั้นจึงส่งหนังสือไปยังพระยาจันทบุรีเพื่อขอเสบียง แต่กลับไม่ได้รับความร่วมมือ พระเจ้าตากทรงยกทัพไปตีขุนรามหมื่นซ่องที่เมืองแกลงแตกทัพหนีไปอยู่ จันทบุรี แล้วพระองค์ได้ยกทัพเข้าตีเมืองชลบุรีซึ่งมีนายทองอยู่ นกเล็กเป็นใหญ่อยู่ ทางนายทองอยู่เห็นว่าสู้ไม่ได้จึงยอม พระเจ้าตากทรงแต่งตั้งให้นายทองอยู่ เป็นพระยาอนุราฐบุรีเจ้าเมืองชลบุรี ทางพระยาจันทบุรีคิดจะกำจัดพระเจ้าตากจึงออกอุบายให้พระสงฆ์ ๔ รูปเป็นฑูตเชิญพระเจ้าตากเข้าเมืองจันทบุรี ด้วยเดชะบุญมีคนหวังดีแอบมาบอกว่าเป็น กลลวงของพระยาจันทบุรี พระเจ้าตากจึงไม่เข้าเมืองทรงยกทัพมาอยู่ที่ริมเมือง ทรงมองเห็นว่ากองทัพเมืองจันทบุรีเข้มแข็งมากการที่จะตีหักเอาเมืองคงยากยิ่ง จึงทรงสร้างขวัญกำลังใจให้ทหารโดยสั่งว่า ................. หลังจากกินข้าวเย็นแล้วให้ทุบหม้อข้าวทิ้งให้หมด เราจะไปกินข้าวเช้าในเมืองจันทบุรี เวลาประมาณตีสามพระเจ้าตากขึ้นช้างพังคิรีบัญชร พุ่งเข้าชนประตูเมืองและยิงปืนเป็นสัญญาณให้ทหารสู้รบ ประตูเมืองพังลงทหารของพระเจ้าตากเข้ายึดเมืองจันทบุรีได้สำเร็จ ส่วนพระยาจันทบุรีก็หนีไปอยู่เมืองบันทายมาศ พระเจ้าตากได้ยกทัพไปตีเมืองตราด และเริ่มต่อเรือรบจำนวนมาก สะสมอาวุธมากมายเตรียมเอาไว้ ฤดูฝนล่วงไปสามารถต่อเรือได้ ๑๐๐ ลำมีกำลังทหารไทย และจีนสี่พันเศษ พวกชาวบ้านมาแจ้งแก่พระเจ้าตากว่า พระยาอนุราฐบุรี (นาย ทองอยู่ นกเล็ก) เป็นโจรปล้นเรือสินค้า พระเจ้าตากจึงสั่งให้ประหารชีวิตเสีย
พระเจ้าตากยกทัพเรือออกจากจันทบุรีมุ่งเข้าสู่ปากน้ำเจ้าพระยา นายทองอินเป็น คนไทยที่พม่าให้รักษาเมืองธนบุรีไว้ได้แจ้งข่าวให้สุกี้แม่ทัพพม่าทราบว่า พระเจ้าตากได้ยกทัพมาแล้ว พระเจ้าตากทรงตีเมืองธนบุรีได้แล้วสั่งประหารนายทองอิน คนไทยที่ขายชาติทันที เสร็จแล้วจึงยกทัพไปกรุงศรีอยุธยา ทางฝ่ายพม่านายทัพสุกี้ได้ตั้งมั่นอยู่ที่ค่ายฟากตะวันตก พระเจ้าตากให้ทหารยกทัพเข้าตีค่ายฟากตะวันออกก่อน เมื่อตีได้ค่ายแล้วจึงจัดเตรียมบันไดไว้พาดปีนค่ายฟากตะวันตก รอเวลาจนรุ่งเช้าสั่งให้ตีค่ายพม่ารบกันจนถึงเที่ยง แม่ทัพสุกี้ถูกฆ่าตายในการรบ ทหารไทยเข้ายึดค่ายโพธิ์สามต้นของพม่าได้ ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน พศ.๒๓๑๐ รวมเวลากู้เอกราช ๖ เดือน
..
   ๒๑ สงครามเก้าทัพ ..... ผ่านมา ๑๘ ปีหลังจากที่ไทยเป็นเอกราช ในปีพศ. ๒๓๒๘ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พม่าคิดจะตีไทย(อีกแล้ว)โดยมีพระเจ้าปดุงซึ่ง เป็นกษัตริย์ได้ ๓ ปีสั่งให้ยกกองทัพมาถึง ๙ ทัพรวมไพร่พลได้ ๑๔๔,๐๐๐ คน หวังจะตีไทยให้จงได้ ทางฝ่ายไทยรวบรวมกำลังพลได้เพียง ๗๐,๐๐๐ คนซึ่งจะเห็นว่าน้อยกว่าพม่าครึ่งหนึ่ง แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯทรงให้กองทัพไปตั้งรบอยู่บริเวณทุ่งลาดหญ้า จ.กาญจนบุรี กรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาท ทรงให้นำปืนใหญ่และปืนปากกว้างอย่างยิงด้วยท่อนไม้เป็นกระสุนไปตั้งเรียงยิงใส่หอรบพม่าหักและพังลงมา ทำให้พม่าล้มตายเป็นจำนวนมาก ทรงจัดตั้งกองโจรโดยมีพระยาสีหราชเดโชชัย พระยาท้ายน้ำและพระยาเพชรบุรี คุมทหารไปซุ่มดักตัดเสบียงพม่า แต่ว่าพระยาทั้งสามทำการอ่อนแอไม่มีใจสู้ศึก กรมพระราชวังบวรฯจึงทรงดำรัสให้ประหารชีวิตทั้ง ๓ คนเสีย แล้วตั้งให้พระองค์เจ้าขุนเณรคุมทหารจำนวน ๑๘,๐๐๐ คนไปเป็นกองโจรซุ่มอยู่ที่ลำน้ำแควไทรโยค ด้วยความฉลาดของกรมพระราชวังบวรฯ จึงคิดอุบายให้แบ่งกองทัพทหารออกไปนอกค่ายในเวลากลางคืน พอรุ่งเช้าให้ถือธงทิวเดินทัพเข้ามาในค่าย ได้สร้างความครั่นคร้ามให้พม่าอย่างยิ่งเพราะคิดว่าไทยมีกำลังมากมาย รอเวลาจนเห็นว่าพม่าเริ่มอ่อนแอ-อดอยากกองทัพไทยจึงเข้าตีทัพที่ ๔และ ๕ ของพม่าจนพ่าย ยับหนีกลับไป ทางพระเจ้าปดุงทราบข่าวการพ่ายแพ้ของทัพทั้งสองจึงถอยทัพไป ยังเมืองเมาะตะมะ ส่วนทัพที่เหลือของพม่าก็ถูกกองทัพไทยตีแตกจนหมดสิ้น ( แสดงให้เห็นว่าถึงแม้จะมีกำลังคนมากมาย แต่ไร้ซึ่งสติปัญญาก็พบกับความ พ่ายแพ้ได้เช่นกัน )
หลังจากนั้น ๑ ปี พศ.๒๓๒๙ พม่าก็ยกทัพมาแสนกว่าคนตั้งค่ายที่ท่าดินแดง และสามสบ จ.กาญจนบุรี (นี่คือสันดานของผู้รุกราน) สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงให้จัดกองทัพหกหมื่นคนไปตีพม่า รบกันอยู่ ๓ วันไทยตีค่ายพม่าได้ พม่าก็แตกพ่ายหนีกลับไป
จากตรงนี้ ๔๐ ปี พม่าต้องรบกับอังกฤษ ในปี พศ.๒๓๖๘ กรรมตามสนองพม่าแพ้อังกฤษ และตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษตราบแสนนาน ถ้าได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของชาติไทยในอดีตแล้ว จะเห็นว่าเราเป็นชาติที่รักความสงบไม่ชอบรุกรานใคร ตรงข้ามกับพม่าซึ่งได้รุกรานไทยมานานตลอดระยะ เวลา ๔๕๐ ปี (ด้วยกรรมบันดาล ทุกวันนี้ประเทศของเขาก็ยังมีแต่ความวุ่นวายไม่สิ้นสุด)
หยดเลือด หยาดน้ำตาของคนไทยต้องหลั่งลงแผ่นดินมากเพียงใด วีรชนของไทยที่ได้เสียสระชีวิตเลือดเนื้อ เพื่อรักษาแผ่นดินผืนนี้เอาไว้ให้ลูกหลาน ได้อยู่เย็นเป็นสุขตราบเท่าทุกวันนี้ ฉนั้นเราทุกคนจึงเป็นหนี้บุญคุณอันใหญ่หลวงนี้ ขอจงทดแทนคุณของแผ่นดินตั้งแต่บัดนี้
วันจันทร์เดือนยี่ แรม ๒ ค่ำ ปีมะโรง พศ.๒๑๓๕ เป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวร ทรงทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชา รัฐบาลไทยจึงกำหนดให้วันที่ ๒๕ มกราคม ของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย
วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันทหารผ่านศึก ถ้าเราไม่มีทหารผู้เสียสระเหล่านี้ ก็คงไม่ได้อยู่เป็นสุขเช่นทุกวันนี้ อย่าลืมวีรชน วีรบุรุษและวีรสตรีเหล่านี้
"กู กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ผู้เป็นโอรสของพระปิยะมหาราข ขอประกาศให้พวกมึงรับรู้ไว้ว่า แผ่นดินสยามนี้บรรพบุรุษได้เอาเลือด เอาเนื้อ เอาชีวิตเข้าแลกไว้ ไอ้อีมันผู้ใดคิดบังอาจทำลายแผ่นดิน ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ คือกระทำการทุจริตก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อส่วนรวม จงหยุดการกระทำนั้นเสียโดยเร็ว ก่อนที่กูจะสั่งทหารผลาญสิ้นทั้งโครตให้หมดเสนียดของแผ่นดินสยาม อันเป็นที่รักของกู ......
ลูกหลานทั้งหลาย แผ่นดินใดให้เรากำเนิดมา แผ่นดินใดที่ให้ซุกหัวนอน ให้ความร่มเย็นเป็นสุข มิให้อนาทรร้อนใจ จงซื่อสัตย์ต่อแผ่นดินนั้น
จาก บันทึก .... กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สาระน่ารู้ที่รวบรวมมาไว้ให้ศึกษาเรียนรู้

ทำเนียบวัดจังหวัดมุกดาหาร