1. ผู้ให้กำเนิดศาสนา คือพระพุทธเจ้า
2. คัมภีร์หรือหลักคำสอน คือ พระธรรม
3. สาวกหรือผู้สืบทอดศาสนา คือพระสงฆ์
4. พิธีกรรมทางศาสนาหรือการประกอบพิธีทางศาสนกิจตามความเชื่อ
5. ศาสนสถานหรือวัตถุที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา
6. ศาสนิกชนหรือผู้เลื่อมใสในศาสนาพระพุทธ
คำว่า พุทฺธ แปลว่า ผู้รู้แล้ว (รู้ในความเป็นไปในธรรมชาติทั้งปวง) ผู้ตื่นแล้ว (ตื่นจากความโง่เขลา ตื่นจากความงมงาย ) ผู้เบิกบาน ( ไม่มีสิ่งใดทำให้จิตใจเศร้าหมองอีกแล้ว )
หมายถึงผู้ที่ตรัสรู้อริยสัจ คือความเป็นจริงที่ประเสริฐ 4 ประการ
พุทธ จำแนกออกเป็น 3 ประเภทได้แก่
1. ปัจเจกพุทธ (อ่านว่า พระ-ปัด-เจก-กะ-พุด-ทะ-เจ้า) หมายถึงผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเองแต่ไม่สามารถสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ตามได้
2. สัมมาสัมพุทธ หมายถึงผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเองแล้วสามารถสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ตามได้มีองค์เดียวเท่านั้นคือ สัมมาสัมพุทธเจ้า(พระศรีศากยมุนีโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า)
3. สุตตันตพุทธ หมายถึงผู้ตรัสรู้ตามคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า
พระธรรม
ธรรม มีเสียงพ้องกับคำว่า ทำ ในภาษาไทย ถ้าข้อความไม่ชัดเจนอาจเติมสระ อะ เป็นธรรมะ แต่จะใช้คำว่า ธรรมะ เฉพาะเมื่อหมายถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ธรรม (ทำ) หรือ ธรรมะ (ทำ-มะ) เป็นคำที่มาจากคำภาษาสันสกฤต ธรรม แปลว่าสิ่งที่แบกไว้ หมายถึง กฎหมาย หน้าที่ ยุติธรรม ความถูกต้อง คุณความดี คุณธรรม ธรรมชาติ เป็นต้น
ในภาษาไทยใช้คำว่า ธรรม หรือ ธรรมะ หมายถึง คำสั่งสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า
เนื้อหาสาระเรื่องราวที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนทั้งหมดทั้งสิ่งที่ดีและชั่วเรียกว่า ธรรม หรือ ธรรมะ เช่น ทรงสอนเรื่องอริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ทรงสอนเรื่องไตรลักษณ์ หรือ อนัตตลักขณสูตรสอนเรื่องกิเลส ก็เรียกว่า ทรงสอนธรรมเรื่องกิเลส หรือทรงสอนธรรมะเรื่องกิเลส
ธรรมหมายถึงการประพฤติที่ดีที่ถูกต้องได้ เช่น ธรรมที่ประพฤติดีแล้วนำสุขมาให้ ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข ใครๆ ก็สรรเสริญการกระทำที่เป็นธรรม
ธรรม หมายถึง ความยุติธรรม เช่น ถ้าผู้ปกครองประเทศปกครองด้วยความเป็นธรรม ประชาชนก็เป็นสุข
เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการแล้ว ก็ทรงมีพระมหากรุณาปรารถนาจะให้สัตว์โลกพ้นทุกข์ จึงทรงสั่งสอนเหล่าสาวกและคนทั่วไปด้วยคำสอนต่าง ๆ คำสอนของพระพุทธเจ้านี้เรียกว่า พระธรรม
พระธรรม คัมภีร์ ของพระพุทธศาสนา เรียกว่า พระไตรปิฎก ประกอบด้วย พระอภิธรรมปิฎก พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก
อภิธรรมปิฎก หรือพระอภิธรรม หมายถึง ประมวลพระพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นภาคทฤษฎีบท หลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักคำสอนล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ เปรียบเสมือนวิชาวิทยาศาสตร์
พระวินัยปิฎก หรือ พระวินัย หมายถึง ประมวลพุทธพจน์หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ เปรียบเสมือนวิชากฎหมาย
พระสุตตันตปิฎก หรือ พระสูตร หมายถึง ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนาคำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาสตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้า สอนใคร สอนเรื่องอะไร สอนที่ไหนเปรียบเสมือนวิชาประวัติศาสตร์
คำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนานั้นมีสาระสำคัญ 3 ประการ หรือ โอวาท 3
คือ ให้ประพฤติดี ให้ละความชั่ว และทำจิตใจให้ผ่องใส
นอกจากสาระสำคัญทั้ง 3 ประการนี้ พระพุทธเจ้า ได้ทรงชี้ให้เห็นถึงสาเหตุแห่งการเกิดทุกข์ การดับทุกข์ และวิธีปฏิบัติตนของพุทธบริษัท 4 เพื่อให้หลุดพ้นจากวัฏสังสาร วงจรของการเกิดดับ หลุดพ้นจากความทุกข์ต่าง ๆ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
พระสงฆ์
เรามักเรียกสมณเพศในพระพุทธศาสนาว่า “พระสงฆ์” แต่คำว่า “สงฆ์” นั้นหมายถึงองค์คณะของผู้เป็นสมณะมากกว่า แต่สมณะในพระพุทธศาสนาแต่ละรูปนั้นเรียกว่า “ภิกษุ” ซึ่งแปลตามรูปศัพท์ หมายถึง “ผู้ขอ” มีรากศัพท์เดียวกันกับคำว่า ภิกษาจาร พระสงฆ์ หมายถึง สาวกหรือนักบวชที่เป็นผู้ชายในพระพุทธศาสนา เป็น 1 ใน 4 ของพุทธบริษัท ซึ่งเดิมเรียกนักบวชผู้ชายในศาสนาพุทธว่า “ภิกขุ” ในภาษาบาลี “ภิกษุ” ในภาษสันสกฤต พระสงฆ์จัดว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสืบทอดพระศาสนาเพราะเป็นศาสนทายาทผู้สั่งสอนพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไป พระสงฆ์จึงต้องประพฤติปฏิบัติตนให้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติของพระสงฆ์ที่ดี ตามพุทธบัญญัติ
พระสงฆ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. พระอริยสงฆ์
2. พระสมมุติสงฆ์
พระอริยสงฆ์ พระสงฆ์ผู้บรรลุธรรมวิเศษ 4 ชั้นคือ
1. พระโสดาบัน
2. พระสกทาคามี
3. พระอนาคามี
4. พระอรหันต์
พระอริยสงฆ์ 3 ชั้นแรกจัดเป็นเสขบุคคล ส่วนพระอรหันต์จัดเป็นอเสขบุคคล
เสขบุคคลมี 3 ขั้น ได้แก่
1.โสดาบัน 2. สกทาคามี หรือสกิทาคามี 3. อนาคามี ที่นับว่าเป็น “เสขบุคคล” เพราะผู้นั้น ยังต้องศึกษาต่อไปอยู่ ( เสข=ผู้ยังต้องศึกษา ) เนื่องจากยังไม่จบ “การศึกษา 3” (อธิศีลสิกขา-อธิจิตสิกขา-อธิปัญญาสิกขา) ผู้พัฒนาตนผ่าน “การศึกษา 3” บรรลุธรรมเป็น “อาริยชน” จึงนับเป็นผู้เข้าสู่ “เสขภูมิ” พื้นเพของพระเสขะ คือ เข้าสู่ชั้นอาริยชนแล้ว จะเป็นชั้นหนึ่งชั้นใดใน 3 ก็ตาม แต่ยังต้องศึกษาอยู่ ยังไม่จบถึง “อรหันต์” อันเป็นภูมิสุดท้าย ผู้ยังไม่บรรลุธรรมเข้าขั้น “อาริยะ” ยังไม่ได้ชื่อว่า “เสขบุคคล”
พระอรหันต์ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่
1. พระสุกขวิปัสสก (ไม่มีญาณวิเศษใด ๆ นอกจากรู้การทำอาสวะให้สิ้นไป (อาสวักขยญาณ) อย่างเดียว)
2. พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา 3 คือ รู้ระลึกชาติได้(บุพเพนิวาสานุสสติญาณ) รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย(จุตูปปาตญาณ) รู้ทำอาสวะให้สิ้น(อาสวักขยญาณ)
3. พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา 6 คือ แสดงฤทธิ์ได้(อิทธิฤทธิ์) หูทิพย์(ทิพยโสต) รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย(จุตูปปาตญาณ) ทายใจผู้อื่นได้(เจโตปริยญาณ) ระลึกชาติได้(บุพเพนิวาสานุสสติญาณ) และญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป(อาสวักขยะญาณ)
4. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4)
ปฏิสัมภิทา ความแตกฉาน ความรู้แตกฉาน ปัญญาแตกฉาน มี 4 ขั้นได้แก่
4.1 อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ ความแตกฉานสามารถอธิบายเนื้อความย่อของภาษิตโดยพิสดารและความเข้าใจ ที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไปจากเหตุ
4.2 ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม เห็นคำอธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นหัวข้อได้เห็นผลก็สืบสาวไปหาเหตุได้
4.3 นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในภาษา คือเข้าใจภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำให้คนเข้าใจ ตลอดทั้งรู้ภาษาต่างประเทศ
4.4 ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในปฏิภาณได้แก่ไหวพริบคือ โต้ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือแก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ฉับพลันทันการ
พระสมมุติสงฆ์
หมายถึงพระสงฆ์ที่กำลังศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย บ้างครั้ง เรียกว่า พระ, พระสงฆ์,ภิกษุ, พระภิกษุ, พระภิกษุสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ก็จะเป็นเหตุจูงใจประชาชนให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา คำว่า พระสงฆ์ โดยทั่วไปจึงมุ่งถึงชายที่บวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ได้ปฏิบัติตามกฎหมายของสงฆ์ ที่เรียกว่า วินัยสงฆ์ ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วนำคำสอนนั้นไปถ่ายทอดแก่ประชาชนทั่วไป ไม่คำนึงว่าจะเป็นภิกษุรูปเดียว หรือเป็นคณะที่รวมตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป
**********************
อิทธิบาท4 เป็นธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ ประกอบด้วย
1. ฉันทะ หมายถึง ความพอใจ
2. วิริยะ หมายถึง ความเพียร
3. จิตตะ หมายถึง ความเอาใจใส่
4. วิมังสา หมายถึง ความไตร่ตรองตามเหตุผล
***********************
พรหมวิหาร 4 ธรรมสำหรับผู้ปกครอง ประกอบด้วย
1. เมตตา หมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
2. กรุณาหมายถึง ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
3. มุทิตา หมายถึง ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
4. อุเบกขา หมายถึง การรู้จักวางเฉย ความหมายของพรหมวิหาร 4พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่
คำอธิบายพรหมวิหาร 41. เมตตา หมายถึง ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับความสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ ความสุขของคฤหัสถ์4 อันได้แก่ ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้
และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น 2. กรุณา หมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
2.1 ทุกข์ประจำหรือทุกข์โดยสภาวะ เป็นสิ่งที่มีชีวิตจะต้องประสบ อันเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ อันได้แก่ การเกิด ความแก่และความตาย สิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์ 2.2 ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์
3. มุทิตา หมายถึง ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้น ไม่มีจิตใจอิจฉาริษยา
4. อุเบกขา หมายถึง การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ตามกฎแห่งกรรม ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
1. เมตตา หมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
2. กรุณาหมายถึง ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
3. มุทิตา หมายถึง ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
4. อุเบกขา หมายถึง การรู้จักวางเฉย ความหมายของพรหมวิหาร 4พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่
คำอธิบายพรหมวิหาร 41. เมตตา หมายถึง ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับความสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ ความสุขของคฤหัสถ์4 อันได้แก่ ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้
และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น 2. กรุณา หมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
2.1 ทุกข์ประจำหรือทุกข์โดยสภาวะ เป็นสิ่งที่มีชีวิตจะต้องประสบ อันเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ อันได้แก่ การเกิด ความแก่และความตาย สิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์ 2.2 ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์
3. มุทิตา หมายถึง ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้น ไม่มีจิตใจอิจฉาริษยา
4. อุเบกขา หมายถึง การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ตามกฎแห่งกรรม ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
*******************
สังคหวัตถุ 4 หลักธรรม 4 ประการที่ใช้ในการผูกมิตร ประกอบด้วย
1. ทาน หมายถึง การให้
2. ปิยะวาจะ หมายถึง การพูดจาไพเราะอ่อนหวาน
3. อัตถจริยา หมายถึง การกระทำตนให้เป็นประโยชน์
4. สมานัตตตา หมายถึง การวางตนเสมอต้นเสมอปลาย
1. ทาน หมายถึง การให้
2. ปิยะวาจะ หมายถึง การพูดจาไพเราะอ่อนหวาน
3. อัตถจริยา หมายถึง การกระทำตนให้เป็นประโยชน์
4. สมานัตตตา หมายถึง การวางตนเสมอต้นเสมอปลาย
*****************
ทิฏฐธัมมิกัตถะ4 หลักธรรม 4 ประการที่นำไปใช้แล้วได้ประโยชน์ในปัจจุบัน ประกอบด้วย
1. อุฏฐานสัมปทา หมายถึง ความถึงพร้อมด้วยความหมั่น
2. อารักขสัมปทา หมายถึง ความถึงพร้อมด้วยการรักษา
3. กัลยาณมิตตตา หมายถึง ความถึงพร้อมด้วยการมีมิตรดี
4. สมชีวิตา หมายถึง ความถึงพร้อมด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ดี
1. อุฏฐานสัมปทา หมายถึง ความถึงพร้อมด้วยความหมั่น
2. อารักขสัมปทา หมายถึง ความถึงพร้อมด้วยการรักษา
3. กัลยาณมิตตตา หมายถึง ความถึงพร้อมด้วยการมีมิตรดี
4. สมชีวิตา หมายถึง ความถึงพร้อมด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ดี
**************
กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 หลักธรรม 4 ประการที่ทำให้ตระกูลมั่งคั่ง ประกอบด้วย
1. ของหายของหมดต้องแสวงหา
2. ของเก่าชำรุดต้องบูรณซ่อมแซม
3. รู้จักประมาณในการใช้จ่าย
4. ต้งผู้มีศีลธรรมเป็นพ่อบ้านแม่เรือน
1. ของหายของหมดต้องแสวงหา
2. ของเก่าชำรุดต้องบูรณซ่อมแซม
3. รู้จักประมาณในการใช้จ่าย
4. ต้งผู้มีศีลธรรมเป็นพ่อบ้านแม่เรือน
******************
จักร 4 หลักธรรม 4 ประการที่นำบุคคลไปสู่ความเจริญ ประกอบด้วย
1. ปฏิรูปเทสวาสะ หมายถึง การอยู่ในประเทศอันเหมาะสม
2. สัปปุริสูปสังเสวะ หมายถึง การคบสัตบุรุษ การเข้าไปคบกับคนดี ผู้มีสัปปุริสธรรม7
3. อัตตสัมมาปณิธิ หมายถึง การตั้งตนไว้ชอบ ตั้งอยู่ในสุจริต 3 ได้แก่ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
4. ปุพเพกตปุญญตา หมายถึง ความเป็นผู้มีบุญได้กระทำไว้ก่อน
1. ปฏิรูปเทสวาสะ หมายถึง การอยู่ในประเทศอันเหมาะสม
2. สัปปุริสูปสังเสวะ หมายถึง การคบสัตบุรุษ การเข้าไปคบกับคนดี ผู้มีสัปปุริสธรรม7
3. อัตตสัมมาปณิธิ หมายถึง การตั้งตนไว้ชอบ ตั้งอยู่ในสุจริต 3 ได้แก่ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
4. ปุพเพกตปุญญตา หมายถึง ความเป็นผู้มีบุญได้กระทำไว้ก่อน
*******************
อนุสสติ10 ประกอบด้วย
1. พุทธานุสสติ หมายถึง การระลึกถึงพระพุทธเจ้า และพิจารณาถึงคุณของพระองค์ 9 ประการ
2. ธัมมานุสสติ หมายถึง การระลึกถึงพระธรรม และพิจารณาถึงคุณของพระธรรม 6 ประการ
3. สังฆานุสสติ หมายถึง การระลึกถึงพระสงฆ์ และพิจารณาถึงคุณของพระสงฆ์ 9 ประการ
4. สีลานุสสติ หมายถึง การระลึกถึงศีล พิจารณาศีลที่ตนได้ปฏิบัติ ประพฤติอย่างบริสุทธิ์
5. จาคานุสสติ หมายถึง การระลึกถึงสิ่งที่ตนได้บริจาคแล้ว พิจารณาถึงคุณธรรมที่ตนได้เสียสละแล้ว
6. เทวตานุสสติ หมายถึง การระลึกถึงเทวดาที่ตนได้ยินได้ฟังมา พิจารณาถึงคุณธรรมที่ทำให้เป็นเทวดา
7. มรณัสสติ หมายถึง การระลึกถึงความตายที่จะมีมาถึงตน พิจารณาให้เกิดความไม่ประมาท
8. กายคตาสติ หมายถึง การระลึกถึงเกี่ยวกับร่างกาย พิจารณาความเป็นอนัตตาว่าอย่าหลงใหลในความไม่แน่นอน ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน
9. อานาปานสติ หมายถึง การระลึกโดยการกำหนดลมหายใจเข้าออก
10.อุปสมานุสสติ หมายถึง การระลึกถึง นิพพาน
1. พุทธานุสสติ หมายถึง การระลึกถึงพระพุทธเจ้า และพิจารณาถึงคุณของพระองค์ 9 ประการ
2. ธัมมานุสสติ หมายถึง การระลึกถึงพระธรรม และพิจารณาถึงคุณของพระธรรม 6 ประการ
3. สังฆานุสสติ หมายถึง การระลึกถึงพระสงฆ์ และพิจารณาถึงคุณของพระสงฆ์ 9 ประการ
4. สีลานุสสติ หมายถึง การระลึกถึงศีล พิจารณาศีลที่ตนได้ปฏิบัติ ประพฤติอย่างบริสุทธิ์
5. จาคานุสสติ หมายถึง การระลึกถึงสิ่งที่ตนได้บริจาคแล้ว พิจารณาถึงคุณธรรมที่ตนได้เสียสละแล้ว
6. เทวตานุสสติ หมายถึง การระลึกถึงเทวดาที่ตนได้ยินได้ฟังมา พิจารณาถึงคุณธรรมที่ทำให้เป็นเทวดา
7. มรณัสสติ หมายถึง การระลึกถึงความตายที่จะมีมาถึงตน พิจารณาให้เกิดความไม่ประมาท
8. กายคตาสติ หมายถึง การระลึกถึงเกี่ยวกับร่างกาย พิจารณาความเป็นอนัตตาว่าอย่าหลงใหลในความไม่แน่นอน ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน
9. อานาปานสติ หมายถึง การระลึกโดยการกำหนดลมหายใจเข้าออก
10.อุปสมานุสสติ หมายถึง การระลึกถึง นิพพาน
*****************
อปริหานิยธรรม7 ประกอบด้วย
1. หมั่นประชุมกันเสมอ
2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจกรรมส่วนรวม
3. ไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ได้บัญญัติไว้ ไม่ถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนเดิม ตามที่บัญญัติไว้
4. ให้ความเคารพนับถือแก่นักปกครองผู้ใหญ่ และฟังคำของท่าน
5. ไม่บังคับกดขี่เอากุลสตรี มาเป็นนางบำเรอ
6. สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ปูชนียสถานทั่วรัฐ
7. ให้การอารักขา คุ้มครองป้องกันอันเป็นธรรมแก่นักบวชผู้มี ศีลาจารวัตร ปรารถนาให้ท่านมาสู่รัฐของตน ที่มาแล้วขอให้อยู่อย่างเป็นสุข
1. หมั่นประชุมกันเสมอ
2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจกรรมส่วนรวม
3. ไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ได้บัญญัติไว้ ไม่ถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนเดิม ตามที่บัญญัติไว้
4. ให้ความเคารพนับถือแก่นักปกครองผู้ใหญ่ และฟังคำของท่าน
5. ไม่บังคับกดขี่เอากุลสตรี มาเป็นนางบำเรอ
6. สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ปูชนียสถานทั่วรัฐ
7. ให้การอารักขา คุ้มครองป้องกันอันเป็นธรรมแก่นักบวชผู้มี ศีลาจารวัตร ปรารถนาให้ท่านมาสู่รัฐของตน ที่มาแล้วขอให้อยู่อย่างเป็นสุข
*********************
ทิศ 6 หลักธรรมที่สอนให้เราปฏิบัติต่อบุคคลรอบด้าน พระพุทธเจ้าได้แบ่งบุคคลที่อยู่รอบตัวเราออกเป็น 6 ด้าน เปรียบเสมือนทิศทั้ง 6 ประกอบด้วย
1. ทิศเบื้องหน้า หรือ ทิศตะวันออก หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง บุตร และ บิดา มารดา
2. ทิศเบื้องขวา หรือ ทิศใต้ หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง ศิษย์ และ ครูบาอาจารย์
3. ทิศเบื้องหลัง หรือ ทิศตะวันตก หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง สามี และ ภรรยา
4. ทิศเบื้องซ้าย หรือ ทิศเหนือ หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง เพื่อน และ มิตรสหาย
5. ทิศเบื้องบน หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง ฆราวาส และ สมณะ
6. ทิศเบื้องล่าง หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง นายจ้างและลูกจ้าง หรือผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา
1. ทิศเบื้องหน้า หรือ ทิศตะวันออก หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง บุตร และ บิดา มารดา
2. ทิศเบื้องขวา หรือ ทิศใต้ หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง ศิษย์ และ ครูบาอาจารย์
3. ทิศเบื้องหลัง หรือ ทิศตะวันตก หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง สามี และ ภรรยา
4. ทิศเบื้องซ้าย หรือ ทิศเหนือ หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง เพื่อน และ มิตรสหาย
5. ทิศเบื้องบน หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง ฆราวาส และ สมณะ
6. ทิศเบื้องล่าง หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง นายจ้างและลูกจ้าง หรือผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น