1.หายใจเข้า-ออกยาวรู้
2.หายใจเข้า-ออกสั้นรู้ (ลมหายใจเริ่มละเอียดขึ้นเมื่อใจเป็นสมาธิ)
3.หายใจเข้า-ออกกำหนดกองลมทั้งปวง (จิตจะกำหนดแต่กองลมในกาย ถ้าบริกรรมคำใดอยู่ เช่น พุทโธ คำบริกรรมจะหายไปเอง)
4.หายใจเข้า-ออกเห็นกองลมทั้งปวงสงบก็รู้ (จับลมหายใจไม่ได้เหมือนลมหายใจหายไป)
5.หายใจเข้า-ออกปีติ เกิดก็รู้
6.หายใจเข้า-ออก สุขเกิดก็รู้
7.หายใจเข้า-ออก กำหนดจิตสังขาร (อารมณ์ต่างๆที่จรเข้ามาปรุงแต่งจิต เช่น รัก ราคะ โกรธ หลง) ทั้งปวง /ที่เหลือเพียงอารมณ์อุเบกขา (ถ้ากำหนดมาตามระดับ)
8.หายใจเข้า-ออก เห็นจิตสังขารสงบก็รู้ (ครูบาอาจรย์บางรูป วินิจฉัยว่า ช่วงนี้จิตจะไม่กำหนดสัญญา)
9.หายใจเข้า-ออก พิจารณาจิต (พิจารณาสภาวะรู้(วิญญาณขันธ์)/ว่าจิตพิจารณารู้ในอานาปานสติอยู่
10.หายใจเข้า-ออกจิตบันเทิง (มโน-สภาวะที่น้อมพิจารณาเพ่งอยู่/จิตยินดีในองค์ภาวนาคืออานาปานสติ) ก็รู้
11.หายใจเข้า-ออก จิตตั้งมั่น (ในอารมณ์ฌานของอานาปานสติ) ก็รู้
12.หายใจเข้า-ออกจิตเปลื้อง (ในอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตแห่งอานาปานสติ) ก็รู้
13.หายใจเข้า-ออก พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง ) ในขันธ์ทั้ง 5 (มีลมหายใจเป็นตัวแทนรูปขันธ์)
14.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ปรุงแต่ง (การไม่ปรุงแต่งภายนอก หรือวิราคะคือการมีมานะให้ค่าตีราคาสรรพสิ่ง เช่น ต้นไม้ย่อมมีลักษณะเป็นไปตามธรรมชาติ เราตัดสินว่าต้นไม้นี่ลักษณะสวย ต้นไม้นี่ลักษณะไม่สวย)
15.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ยึดติด (การไม่ยึดมั่นภายใน หรือนิโรธ เช่นมีคนนำขวดน้ำมาวางไว้ข้างหน้าเรา ให้เรา ต่อมามีคนคว้ามันไปกิน เราโกรธว่ากินน้ำเรา คือ ความยึดมั่นนั้นเพิ่งเกิด เมื่อเราไปยึดไว้)
16.หายใจเข้า-ออกปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ (ปฏินิสสัคคายะ)
- จัดให้ข้อ1-4เป็นกายานุปัสสนา
- ข้อ5-8เป็นเวทนานุปัสสนา
- ข้อ9-12จัดเป็นจิตตานุปัสนา
- ข้อ13-16จัดเป็นธรรมนุปัสสนา
เมื่อเจริญอานาปานสติตามข้อ1 สภาวะย่อมเป็นไปโดยลำดับจากข้อ 1 จนถึงข้อ12 จิตจะเป็นปฐมฌาณอันเกิดจากการเจริญสติ (เกิดสัมมสนญาณ) จะพบเห็นขันธ์ทั้งห้าที่หลงเหลืออยู่ในขณะขั้นเกิดดับได้ เมื่อขณะจิตเป็นฌาณ ซึ่งเหลือเพียง10สภาวะ
- โดยที่ข้อ3-4เป็นรูปขันธ์
- ข้อ5-6เป็นเวทนาขันธ์ (มีเพียงปีติและสุข)
- ข้อ7-8เป็นสังขารขันธ์
- ข้อ9-10เป็นวิญญาณขันธ์
- ข้อ11-12เป็นสัญญาขันธ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น