กตโม ตสฺมึ สมเย สมโถ โหติ ยา ตสฺมึ สมเย จิตฺตสฺส ฐิติ สณฺฐิติ อวฏฺฐิติ อวิสาหาโร อวิกฺเขโป อวิสาหฏฺฐมานสตา สมโถ สมาธินฺทฺริยํ สมาธิพลํ สมฺมาสมาธิ อยํ ตสฺมึ สมเย สมโถ โหติ แปลความว่า สมถะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นเป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสมถะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นดังนั้น สมถกัมมัฏฐาน จึงหมายถึงอุบายวิธีสำหรับฝึกจิตให้สงบ ในงานเขียนนี้ จะไม่นำเสนอขั้นตอนวิธีการฝึกจิตให้เกิดสมาธิในคัมภีร์วิสุทธิมรรคโดยละเอียด เพียงแต่จะชี้ให้เห็นว่า ภาวะที่จิตสงบอันเกิดจากการเจริญสมถกัมมัฏฐานไม่ว่าจะได้สมาธิในระดับใดก็ตามก็ถือว่าได้สมาธิแล้ว เหตุที่ต้องฝึกจิตให้เกิดสมาธิ เพราะว่าโดยธรรมชาติ ปุถุชนมักจะถูกกิเลสทำให้จิตไม่สงบเสมอ พระพุทธศาสนาอธิบายว่า การที่จิตไม่สงบนั้น เป็นเพราะจิตถูกนิวรณ์ ๕ ชนิด เข้าครอบงำ
นิวรณ์ ๕ ชนิดนั้น คือ
(๑) กามฉันทะ ภาวะที่จิตมีความอยากได้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (ผัสสะ) ธัมมารมณ์ที่น่าใคร่ น่าพอใจ
(๒) พยาบาท ภาวะที่จิตมีความขัดเคืองใจ มองคนในแง่ร้าย
(๓) ถีนมิทธะ ภาวะที่จิตมีอาการหดหู่ เซื่องซึม ไม่เข้มแข็ง
(๔) อุทธัจจกุกกุจจะ ภาวะที่จิตฟุ้งซ่าน เดือดร้อนใจ จิตไม่หยุดนิ่ง และ
(๕) วิจิกิจฉา ภาวะที่จิตมีความสงสัย ลังเล มีความคิดแยกเป็น๒ ทาง เลือกไม่ถูกว่าจะไปทางไหน
เมื่อมนุษย์ถูกกิเลสเหล่านี้ครอบงำแล้วจิตก็จะแกว่งไปตามอำนาจกิเลส ไม่สามารถทรงตัวอยู่ในความนิ่งสงบได้ จริงอยู่ การที่จิตจะเป็นกลาง หยุดนิ่ง ไม่ไหลเวียนไปตามอำนาจของกิเลสเป็นสิ่งที่กระทำได้ยากยิ่ง พระพุทธศาสนาสอนว่าการที่จะเอาชนะกิเลสเหล่านี้ได้ ต้องเปิดโอกาสให้ตนเองได้พัฒนาสมาธิ จึงจะสามารถระงับกิเลสเหล่านี้ให้ลดลงโดยลำดับได้
วิธีฝึกฝนจิตด้วยหลักสมถกัมมัฏฐาน
๑.วิธีฝึกจิตไม่ให้ลุ่มหลง อยากได้รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ ที่น่าพอใจ ผู้ปฏิบัติต้องฝึกหัดมองสิ่งที่น่าใคร่น่าพอใจเหล่านี้ว่า เป็นของไม่มีความสวยงามที่แท้จริง ไม่คงทนถาวรอย่างที่เราคิดไว้ เมื่อเราฝึกฝนความคิดมองให้เห็นความจริงเช่นนี้ จิตที่เคยยึดมั่นถือมั่นก็จะค่อย ๆ คลายจากความยึดถือน้อยลงไปบ้าง การปล่อยวางจะทำได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม เพราะการฝึกหัดมองให้เห็นความจริง จะทำให้เราได้ประสบกับความจริงด้วยตนเอง
๒.วิธีฝึกจิตไม่ให้มีความขัดเคือง ไม่มองคนอื่นในแง่ร้าย ผู้ปฏิบัติจะต้องปลูกจิตที่มีแต่เมตตา รู้จักรักผู้อื่น อีกทั้งเพ่งกสิณที่มีสีต่าง ๆ เช่น สีเขียว (นีลกสิณ) สีเหลือง (ปีตกสิณ) สีแดง (โลหิตกสิณ) สีขาว (โอทาตกสิณ) จะทำให้จิตที่ชอบขัดเคือง มีปีติ (เอิบอิ่มใจ) โสมนัส (ความยินดี) เพิ่มขึ้น ความโกรธ ความขัดเคืองที่เคยมีมาก่อนก็จะค่อย ๆ จางหายไป
๓.วิธีฝึกจิตไม่ให้ถูกถีนมิทธะอันเป็นภาวะที่จิตง่วงนอนเศร้าซึมเข้าครอบงำ ผู้ปฏิบัติต้องฝึกหัดการกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออก (อานาปานสติ) เมื่อฝึกบ่อย ๆ จิตใจก็จะเข้มแข็ง ไม่ง่วงนอน ไม่เศร้าซึม เป็นจิตมีสมาธิเพิ่มขึ้น
๔.วิธีฝึกจิตไม่ให้ความฟุ้งซ่านรำคาญ ผู้ปฏิบัติต้องฝึกหัดกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออก (อานาปานสติ) เช่นเดียวกับผู้ถูกถีนมิทธะเข้าครอบงำ สภาวะจิตที่มีความเข้มแข็ง ก็จะมีสมาธิมากขึ้น ความฟุ้งซ่านหายไป มีแต่สมาธิเข้ามาแทนที่
๕.วิธีฝึกจิตไม่ให้ความสงสัย (วิจิกิจฉา) เข้าครอบงำ ผู้ปฏิบัติจะต้องฝึกหัดให้เป็นคนมีเหตุผลตามหลักที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ การที่เราจะพัฒนาความสามารถทางปัญญาตามแบบอย่างของพระพุทธเจ้า ก็จะทำให้เราพบอุปสรรคน้อยลงจนหมดอุปสรรคในที่สุด
ดังนั้น ตามหลักพระพุทธศาสนา การที่จิตถูกนิวรณ์ตัวใดตัวหนึ่งในนิวรณ์ ๕ เข้าครอบงำ ถือว่าจิตถูกรบกวนไม่เป็นสมาธิแล้ว ในความรู้สึกของคนทั่วไป การฝึกสมาธิต้องให้มีสมาธิมาก ๆ (ขั้นอัปปนาสมาธิ) จึงจะถือได้ว่า ประสบความสำเร็จในการฝึกสมาธิ หากฝึกสมาธิได้เพียงชั่วขณะ (ขณิกสมาธิ) ไม่ถือว่าประสบความสำเร็จ แต่ตามหลักวิปัสสนากัมมัฏฐาน จิตที่เป็นขณิกสมาธิ ก็เป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาวิปัสสนาปัญญา อย่างไรก็ตาม การที่จะใช้หลักสมถกัมมัฏฐาน เป็นเครื่องมือฝึกจิตให้ระงับนิวรณ์ตัวใดตัวหนึ่งหมดในทันทีทันใดนั้น นับว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะปราศจากนิวรณ์ได้ทั้งหมดก็คือ พระอรหันต์ (ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานจนหมดกิเลสแล้ว) เท่านั้น การที่ปุถุชนทั่วไปจะเจริญสมถ-กัมมัฏฐานไปจนกว่าจะละนิวรณ์ได้ทั้งหมดแล้ว จึงหันไปฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน นับว่าเป็นสิ่งที่เนิ่นช้าถ่วงเวลาในการปฏิบัติธรรมชั้นสูง สำหรับผู้ใคร่ต่อการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ดังนั้น บุคคลทั่วไป แม้ยังไม่สามารถละนิวรณ์ได้หมดทุกตัว และมีสมาธิชั่วประเดี๋ยวเดียว (ขณิกสมาธิ) ก็สามารถนำสมาธิชนิดนี้ มาเป็นเครื่องมือในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานต่อไปได้ ขณะที่ผู้ปฏิบัติเจริญวิปัสสนา- กัมมัฏฐานอยู่ หากมีนิวรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเข้ามาครอบงำในระหว่างนั้น ผู้ปฏิบัติก็จะสามารถฝึกกำหนดได้ทันที โดยการกำหนดรู้ตามความเป็นจริง จิตก็จะไม่ตกอยู่ในอำนาจของนิวรณ์เหล่านั้นและเมื่อผู้ปฏิบัติฝึกกำหนดรู้นิวรณ์ ๕ อยู่บ่อย ๆ ก็สามารถใช้ความสงบขั้นขณิกสมาธิ เป็นเครื่องมือในการประหาณนิวรณ์ได้ โดยผ่านกระบวนการของวิปัสสนากัมมัฏฐาน ด้วยเหตุนี้ขณิกสมาธิก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นมัคคสมาธิต่อไป
ลักษณะสมาธิแบบพุทธศาสนา
ในคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสถึงบริขารแห่งสมาธิไว้ ๗ ประการ (บริขารในที่นี้หมายถึงบริวาร หรือองค์ประกอบแห่งมัคคสมาธิ (ที.ม.อ. ๒๙๐/๒๕๗, องฺ. สตฺตก. อ. ๓/๔๔-๔๕/๑๘๒) ไว้ว่า
บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑.สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒.สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓.สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)๔.สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕.สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)๖.สมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗.สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว ซึ่งมีองค์ ๗ ประการนี้แวดล้อม เรียกว่า อริยสัมมาสมาธิที่มีอุปนิสะ บ้าง คำว่า อุปนิสะ ในที่นี้ได้แก่ หมวดธรรมที่เป็นเหตุ ทำหน้าที่ร่วมกัน (ที.ม.อ. ๒๙๐/๒๕๗, ที.ม.ฏีกา ๒๙๐/๒๖๗) เรียกว่า อริยสัมมาสมาธิที่มีบริขาร บ้าง ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ผู้มีสัมมาทิฏฐิ จึงมีสัมมาสังกัปปะ ผู้มีสัมมาสังกัปปะจึงมีสัมมาวาจา ผู้มีสัมมาวาจา จึงมีสัมมากัมมันตะ ผู้มีสัมมากัมมันตะ จึงมีสัมมาอาชีวะ ผู้มีสัมมาอาชีวะ จึงมีสัมมาวายามะ ผู้มีสัมมาวายามะ จึงมีสัมมาสติ ผู้มีสัมมาสติ จึงมีสัมมาสมาธิ ผู้มีสัมมาสมาธิ จึงมีสัมมาญาณะ ผู้มีสัมมาญาณะ จึงมีสัมมาวิมุตติ (ที.ม. ๑๐/๒๙๐/๒๒๔-๒๒๕)
จากพระพุทธพจน์ที่ยกมานี้จึงแสดงให้เห็นว่าสมาธิหรือภาวะที่จิตสงบ ไม่ใช่เป็นภาวะที่จิตไร้สติ ขาดสัมปชัญญะ(ปัญญา) แต่หากเป็นสมาธิที่มีอริยมรรคเป็นองค์ประกอบอยู่ในจิต จึงจะสามารถนำไปเป็นเครื่องมือในการเจริญวิปัสสนา กัมมัฏฐานต่อไปได้
**********************************
การฝึกสมาธิเบื้องต้นสมาธิคือการที่มีใจตั้งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอย่างแน่วแน่ กล่าวในภาษาชาวบ้านก็คือ การมีใจจดจ่ออยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านนั่นเอง
การทำสมาธิแบบนี้ไม่ได้เน้นการเข้าถึงนิพพาน หรือความสิ้นไปของอาสวะ แต่ก็เป็นพื้นฐานที่ดีหากต้องการปฏิบัติต่อไปในขั้นสูง หากแต่มีประโยชน์ที่เห็นได้ทันทีก็ได้จากในชีวิตประจำวัน ทำให้เรามีจิตใจผ่องใส ประกอบกิจการงานได้ราบรื่นและคิดอะไรก็รวดเร็วทะลุปรุโปร่ง เพราะว่าระดับจิตใจได้ถูกฝึกมาให้มีความนิ่งดีแล้ว เมื่อมีความนิ่งเป็นสมาธิดีแล้ว ย่อมมีพลังแรงกว่าใจที่ไม่มีสมาธิ ดังนี้เมื่อจะคิดทำอะไร ก็จะทำได้ดี และได้เร็วกว่าคนปกติ ที่ไม่ได้ผ่านการฝึกสมาธิมาก่อน วิธีการทำสมาธิที่ได้ผลและเป็นที่นิยม ได้ถูกนำมากล่าวแนะนำไว้ในที่นี้แล้ว เริ่มตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน และขั้นตอนต่างๆ โดยท่านสามารถอ่านทีละหัวข้อตามลำดับดังต่อไปนี้
๑.การทำสมาธิสามารถทำได้ทุกขณะอิริยาบถ
ท่านพ่อลี (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) พระสายธุดงที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งแห่งภาคอีสาน ได้เคยให้คำอธิบายวิธีการทำสมาธิในชีวิตประจำวัน เวลาที่จะทำสมาธินั้นท่านได้อธิบายอย่างง่ายๆไว้ว่าทำได้ทั้งยืน เดิน นั่ง และนอน ในอิริยบททั้ง ๔ นี้เมื่อใดที่ใจเป็นสมาธิก็ถือว่าเป็นภาวนามัยกุศล ซึ่งถือเป็นกุศลกรรมสิทธิ์เฉพาะตัว ถือว่าได้บุญด้วยอย่างหนึ่ง ดังนั้นจึงพอสรุปจากคำแนะนำของท่านไว้ได้ดังนี้คือ
การยืน ทำโดยยืนให้ตรง วางมือขวาทับมือซ้าย คว่ำมือทั้งสอง หลับตาหรือลืมตาสุดแท้แต่จะสะดวกในการทำ แล้วเพ่งไปที่คำว่า พุทโธ จนจิตตั้งมั่นได้
การเดิน เรียกว่าเดินจงกรม ให้กำหนดความสั้น ความยาว ของเส้นทางที่จะเดินสุดแท้แต่เราเอง ควรจะหาสถานที่ และเวลาที่เหมาะสม ไม่อึกทึกครึกโครม และไม่มีสิ่งรบกวนจากรอบข้าง นอกจากนั้นที่ที่จะเดินไม่ควรสูงๆ ต่ำๆ แต่ควรเรียบเสมอกัน เมื่อหาสถานที่และเวลาที่เหมาะสมได้แล้วก็ตั้งสติ อย่าเงยหน้าหรือก้มหน้านัก ให้สำรวมสายตาให้ทอดลงพอดี วางมือทั้งสองลงข้างหน้าทับกันเหมือนกับยืน การเดินแต่ละก้าวก็ให้จิตตั้งมั่นอยู่กับคำบริกรรมว่า พุทโธ โดยเดินอย่างสำรวม ช้าๆ ไม่เร่งรีบ กำหนดรู้ในใจการนั่ง คือนั่งให้สบาย แล้วเพ่งเอาจิตไปที่การบริกรรมคำว่า พุทโธ ท่องภาวนาไว้เป็นอารมณ์ให้กำหนดรู้อยู่ในใจ
การนอน คือให้นอนตะแคงข้างขวา เอามือขวาวางรองศีรษะ ยืดมือซ้ายไปตามตัว ไม่นอนขด นอนคว่ำ หรือนอนหงาย แล้วก็สำรวมสติตั้งมั่นด้วยการภาวนาคำว่า พุทโธ ให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว เช่นเดียวกัน
๒.ข้อแนะนำและการเตรียมตัวก่อนการทำสมาธิ
๒.๑ การหาเวลาที่เหมาะสม
เช่นไม่ใช่เวลาใกล้เที่ยงเป็นต้นจะทำให้หิวข้าว หรือทำใกล้เวลาอาหาร และไม่ทานอิ่มเกินไปเพราะจะทำให้ง่วงนอน หรือเวลาที่คนในบ้านยังมีกิจกรรมอยู่ ยังไม่หลับเป็นต้น
๒.๒ การหาสถานที่ที่เหมาะสม
ไม่ใช่ที่อึกทึก นอกจากได้สมาธิในขั้นต้นแล้ว และต้องการฝึกการเข้าสมาธิในที่อึกทึก
๒.๓ เสร็จจากธุระภาระกิจต่างๆ และกิจวัตรประจำวันแล้ว
เช่นหลังจากอาบน้ำแล้ว ขับถ่ายเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้มีนัดหมายกับใครแล้วเป็นต้น
๒.๔ อยู่ในอาการที่สบาย คือการเลือกท่านั่งที่สบาย
ท่าที่จะทำให้อยู่นิ่งๆ ได้นานโดยไม่ปวดเมื่อยและเกิดเหน็บชา อาจจะไม่ใช่การนั่งขัดสมาธิก็ได้ แต่การนั่งขัดสมาธิถ้าทำได้ถูกท่าและชินแล้ว จะเป็นท่าที่ทำให้นั่งได้นานที่สุด อย่างไรก็ตามไม่ควรอยู่ในท่าเอนหลังหรือนอน เพราะความง่วงจะเป็นอุปสรรค เมื่อร่างกายได้ขนานกับพื้นโลกจะทำให้ระบบของร่างกายพักการทำงานโดยอัตโนมัติ ทำให้ต้องใช้กำลังใจในการทำสมาธิมากกว่าการนั่ง
๒.๕ ไม่ควรนึกถึงผล หรือปรารถนาในลำดับชั้นของการนั่งในแต่ละครั้ง
เช่นว่าจะต้องเห็นโน่นเห็นนี่ให้ได้ในคืนนี้เป็นต้น เพราะจะเป็นการสร้างความกดดันทางใจโดยไม่รู้ตัว และเกิดความกระวนกระวายทำให้ใจไม่เกิดสมาธิ ใจไม่นิ่ง ต้องทำใจให้ว่างมากที่สุด
๒.๖ ตั้งเป้าหมายในการนั่งแต่ละครั้ง
เช่นตั้งใจว่าจะต้องนั่งให้ครบ ๑๕ นาทีก็ต้องทำให้ได้เป็นต้น และพยายามขยายเวลาให้นานออกไป เมื่อเริ่มฝึกไปได้สักระยะหนึ่งแล้ว เพื่อให้สมาธิได้สงบนิ่งได้นานยิ่งขึ้น
๒.๗ เมื่อได้เริ่มแล้วก็ให้ทำทุกวันจนเกิดความเคยชินเป็นนิสัยติดตัว
เพราะว่าการทำสมาธิต้องอาศัยความเพียรในการฝึกฝน เพื่อให้เกิดความเคยชินและชำนาญ การที่นานๆทำสักครั้ง ก็เหมือนกับการมาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่
๓.การทำสมาธิโดยการนับเพื่อฝึกการควบคุมจิต
การทำสมาธิโดยวิธีนี้นั้นมีหลักการนับอยู่หลายวิธี และแต่ละวิธีก็ล้วนแต่มีจุดหมายเดียวกันคือ เป็นอุบายหลอกล่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเวลานานได้ ทำให้เราเรียนรู้ที่จะเป็นนายของจิต ควบคุมมันได้ วิธีนับแบบต่างๆพอกล่าวโดยย่อได้ดังต่อไปนี้คือ ๓.๑ นับโดยการบวกเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ
๓.๒ นับลมแบบอรรถกถา
๓.๓ นับทวนขึ้นทวนลง
๓.๔ นับวน * ๓.๑ การนับโดยการบวกเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ทีละหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น พอหายใจเข้าก็นับหนึ่ง พอหายใจออกก็นับสอง หายใจเข้าต่อไปก็นับสาม และหายใจออกต่อไปก็นับสี่ บวกเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆทีละหนึ่ง ตัวเลขที่นับมันก็จะไม่รู้จบ แต่ท่านอาจจะกำหนดตัวเลขจำนวนสูงสุดก็ได้ อาทิเช่นพอถึงหนึ่งร้อย ก็เริ่มนับหนึ่งใหม่เป็นต้น คงไม่ต้องยกตัวอย่าง วิธีนี้เป็นวิธีเริ่มต้นที่ง่าย และใช้สมาธิไม่มากนัก เพราะเหตุที่เราคุ้นเคยกับการนับในชีวิตประจำวันอยู่แล้วโดยอัตโนมัติ เพียงแต่เอาการนับมาควบเข้ากับจังหวะการหายใจเข้า-ออก เพื่อให้มีจิตรู้ตัวอยู่เสมอนั่นเอง
๓.๒ การนับลมแบบอรรถกถา เป็นวิธีของท่านพระอรรถกถาจารย์ ที่ได้นำเอาตัวเลข มาเป็นเครื่องกำหนดร่วมกับการกำหนดลมหายใจ ตามหลักคำสอนของท่านพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากหนังสือพุทธธรรม ของพระราชวรมุนี หน้า (๘๖๕) หลักการนับแบบนี้ช่วยฝึกให้ใจมีสมาธิจดจ่อมากกว่าวิธีแรก วิธีนับมีสองแบบ แบบแรกให้นับเป็นคู่ คือเมื่อหายใจเข้า ก็ให้นับว่า ๑ เมื่อหายใจออกให้นับว่า ๑ พอเที่ยวต่อไปหายใจเข้าให้นับว่า ๒ หายใจออกก็ให้นับว่า ๒ สรุปก็คือลมหายใจเข้าและออกถือเป็นหนึ่งครั้ง จนถึงคู่ที่ ๕ ก็ให้ตั้งต้นมานับ ๑ ไปใหม่จนถึงเลข ๖ ก็ให้มาตั้งต้นนับ ๑ ไปจนถึง ๗ ถึง ๘ ถึง ๙ และ ๑๐ แล้วตั้งต้นนับ ๑ ไปจนถึง ๕ และนับต่อไปถึง ๑๐ อีก ลองศึกษาดูที่ตารางข้างล่างนี้เพื่อทำความเข้าใจอีกครั้ง
แบบนับเป็นคู่พร้อมกับลมหายใจ เช่น (๑-๑) หนึ่งตัวแรกคือลมหายใจครั้งที่ ๑ หนึ่งตัวที่สองคือการนับ
เที่ยวที่ ๑
|
๑-๑
|
๒-๒
|
๓-๓
|
๔-๔
|
๕-๕
| |||||
เที่ยวที่ ๒
|
๑-๑
|
๒-๒
|
๓-๓
|
๔-๔
|
๕-๕
|
๖-๖
| ||||
เที่ยวที่ ๓
|
๑-๑
|
๒-๒
|
๓-๓
|
๔-๔
|
๕-๕
|
๖-๖
|
๗-๗
| |||
เที่ยวที่ ๔
|
๑-๑
|
๒-๒
|
๓-๓
|
๔-๔
|
๕-๕
|
๖-๖
|
๗-๗
|
๘-๘
| ||
เที่ยวที่ ๕
|
๑-๑
|
๒-๒
|
๓-๓
|
๔-๔
|
๕-๕
|
๖-๖
|
๗-๗
|
๘-๘
|
๙-๙
| |
เที่ยวที่ ๖
|
๑-๑
|
๒-๒
|
๓-๓
|
๔-๔
|
๕-๕
|
๖-๖
|
๗-๗
|
๘-๘
|
๙-๙
|
๑๐-๑๐
|
อีกแบบหนึ่งคือการนับเดี่ยว นับแต่ตัวเลขอย่างเดียว ไม่ต้องคำนึงว่าเป็นลมหายใจเข้าหรือออก แต่ท่านควรจะทำแบบแรกให้คล่องเสียก่อน แล้วจึงมาลองแบบที่สองนี้ ลองศึกษาทำความเข้าใจกับตารางข้างล่างนี้สำหรับการนับเดี่ยว
เที่ยวที่ ๑
|
๑
|
๒
|
๓
|
๔
|
๕
| |||||
เที่ยวที่ ๒
|
๑
|
๒
|
๓
|
๔
|
๕
|
๖
| ||||
เที่ยวที่ ๓
|
๑
|
๒
|
๓
|
๔
|
๕
|
๖
|
๗
| |||
เที่ยวที่ ๔
|
๑
|
๒
|
๓
|
๔
|
๕
|
๖
|
๗
|
๘
| ||
เที่ยวที่ ๕
|
๑
|
๒
|
๓
|
๔
|
๕
|
๖
|
๗
|
๘
|
๙
| |
เที่ยวที่ ๖
|
๑
|
๒
|
๓
|
๔
|
๕
|
๖
|
๗
|
๘
|
๙
|
๑๐
|
ทั้งสองแบบนี้ใช้วิธีการนับทวนไปทวนมา จนกระทั่งเราเกิดสมาธิ อย่างไรก็ตามขอให้ถือหลักความเพียรเข้าไว้ วันนี้ใจยังว้าวุ่นอยู่ก็ไม่เป็นไร ลองพรุ่งนี้อีกที ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสงบใจให้เชื่องอยู่ใตับังคับบัญชาของเรา และเมื่อนั้นแหละคุณภาพทางจิตและร่างกายของท่านได้ถูกพัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่งแล้ว
แบบนับลมเป็นคู่
วิธีนี้จะง่ายกว่าแบบอรรถกถาข้างต้นเล็กน้อย เพราะว่าให้เริ่มนับไปได้เลย วิธีมีดังนี้คือ
แบบนับตามลม เวลาหายใจเข้า ก็ให้กำหนดลมหายใจที่เข้ามากระทบไว้ที่ปลายจมูก หรือโพรงจมูกด้านใน ตรงที่รู้สึกว่าลมกระทบตรงนั้น แล้วเริ่มต้นนับหนึ่งในใจ แล้วก็เอาใจตามลมหายใจเข้ามาจนผ่านปอด ให้ความรู้สึกว่าไปสุดปลายที่ท้องเลยทีเดียว ถึงตรงนี้ก็คือถือเป็นสิ้นสุดการหายใจเข้า
เวลาหายใจออก ก็ให้ต้นลมอยู่บริเวณท้องแล้วก็นับหนึ่งใหม่ในใจ พร้อมกับหายใจออกเพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น ให้ศึกษาดูจากตารางนี้อีกเที่ยวหนึ่ง
เที่ยวที่ ๑
|
๑-๑
| |||||||||
เที่ยวที่ ๒
|
๑-๑
|
๒-๒
| ||||||||
เที่ยวที่ ๓
|
๑-๑
|
๒-๒
|
๓-๓
| |||||||
เที่ยวที่ ๔
|
๑-๑
|
๒-๒
|
๓-๓
|
๔-๔
| ||||||
เที่ยวที่ ๕
|
๑-๑
|
๒-๒
|
๓-๓
|
๔-๔
|
๕-๕
| |||||
เที่ยวที่ ๖
|
๑-๑
|
๒-๒
|
๓-๓
|
๔-๔
|
๕-๕
|
๖-๖
| ||||
เที่ยวที่ ๗
|
๑-๑
|
๒-๒
|
๓-๓
|
๔-๔
|
๕-๕
|
๖-๖
|
๗-๗
| |||
เที่ยวที่ ๘
|
๑-๑
|
๒-๒
|
๓-๓
|
๔-๔
|
๕-๕
|
๖-๖
|
๗-๗
|
๘-๘
| ||
เที่ยวที่ ๙
|
๑-๑
|
๒-๒
|
๓-๓
|
๔-๔
|
๕-๕
|
๖-๖
|
๗-๗
|
๘-๘
|
๙-๙
| |
เที่ยวที่ ๑๐
|
๑-๑
|
๒-๒
|
๓-๓
|
๔-๔
|
๕-๕
|
๖-๖
|
๗-๗
|
๘-๘
|
๙-๙
|
๑๐-๑๐
|
***********************************
กรรมฐาน ๔๐ หมวดกสิน ๑๐
เป็นการทำสมาธิด้วยวิธีการเพ่ง๑. ปฐวีกสิน เพ่งธาตุดิน
๒. อาโปกสิณ เพ่งธาตุน้ำ
๓. เตโชกสิณ เพ่งไฟ
๔. วาโยกสิน เพ่งลม
๕. นีลกสิน เพ่งสีเขียว
๖. ปีตกสิน เพ่งสีเหลือง
๗. โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง
๘. โอฑาตกสิณ เพ่งสีขาว
๙. อาโลกกสิณ เพ่งแสงสว่าง
๑๐. อากาศกสิณ เพ่งอากาศ
เป็นการทำสมาธิด้วยวิธีการเพ่ง๑. ปฐวีกสิน เพ่งธาตุดิน
๒. อาโปกสิณ เพ่งธาตุน้ำ
๓. เตโชกสิณ เพ่งไฟ
๔. วาโยกสิน เพ่งลม
๕. นีลกสิน เพ่งสีเขียว
๖. ปีตกสิน เพ่งสีเหลือง
๗. โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง
๘. โอฑาตกสิณ เพ่งสีขาว
๙. อาโลกกสิณ เพ่งแสงสว่าง
๑๐. อากาศกสิณ เพ่งอากาศ
หมวดอสุภกรรมฐาน ๑๐
เป็นการตั้งอารมณ์ไว้ให้เห็นว่า ไม่มีอะไรสวยงดงาม มีแต่สิ่งสกปรกโสโครก น่าเกลียด๑๑. อุทธุมาตกอสุภ ร่างกายของคนและสัตว์ที่ตายไปแล้ว นับแต่วันตายเป็นต้นไป มีร่างกายบวมขึ้น พองไปด้วยลม ขึ้นอืด
๑๒. วินีลกอสุภ วีนีลกะ แปลว่า สีเขียว
เป็นร่างกายที่มีสีเขียว สีแดง สีขาว คละปนระคนกัน คือ มีสีแดงในที่มีเนื้อมาก มีสีขาวในที่มีน้ำเหลืองน้ำหนองมาก มีสีเขียวในที่มีผ้าคลุมไว้ ฉะนั้นตามร่างกายของผู้ตาย จึงมีสีเขียวมาก
๑๓. วิปุพพกอสุภกรรมฐาน เป็นซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลอยู่เป็นปกติ
๑๔. วิฉิททกอสุภ คือซากศพที่มีร่างกายขาดเป็นสองท่อนในท่ามกลางกาย
๑๕. วิกขายิตกอสุภ เป็นร่างกายของซากศพที่ถูกยื้อแย่งกัดกิน
๑๖. วิกขิตตกอสุภ เป็นซากศพที่ถูกทอดทิ้งไว้จนส่วนต่าง ๆ กระจัดกระจาย มีมือ แขน ขา ศีรษะ กระจัดพลัดพรากออกไปคนละทาง
๑๗. หตวิกขิตตกอสุภ คือ ซากศพที่ถูกสับฟันเป็นท่อนน้อยและท่อนใหญ่
๑๘. โลหิตกอสุภ คือ ซากศพที่มีเลือดไหลออกเป็นปกติ
๑๙. ปุฬุวกอสุภ คือ ซากศพที่เต็มไปด้วยตัวหนอนคลานกินอยู่
๒๐. อัฏฐิกอสุภ คือ ซากศพที่มีแต่กระดูก
อนุสสติกรรมฐาน ๑๐
อนุสสติ แปลว่า ตามระลึกถึง เมื่อเลือกปฏิบัติให้พอเหมาะแก่จริต จะได้ผลเป็นสมาธิมีอารมณ์ ตั้งมั่นได้รวดเร็ว๒๑. พุทธานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
๒๒. ธัมมานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระธรรมเป็นอารมณ์
๒๓. สังฆานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์
๒๔. สีลานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์
๒๕. จาคานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงผลของการบริจาคเป็นอารมณ์
๒๖. เทวตานุสสติเป็นกรรมฐาน ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์
๒๗. มรณานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์
๒๘. กายคตานุสสติกรรมฐาน เหมาะแก่ผู้ที่หนักไปในจาคะจริต
๒๙. อานาปานานุสสติกรรมฐาน เหมาะแก่ผู้ที่หนักไปในโมหะ และวิตกจริต
๓๐. อุปสมานุสสติกรรมฐาน ระลึกความสุขในพระนิพพานเป็นอารมณ์
หมวดอาหาเรปฏิกูลสัญญา
๓๑. อาหาเรปฏิกูลสัญญา เพ่งอาหารให้เห็นเป็นของน่าเกลียด บริโภคเพื่อบำรุงร่างกาย ไม่บริโภคเพื่อสนองกิเลส
หมวดจตุธาตุววัฏฐาน
๓๒. จตุธาตุววัฏฐาน ๔ พิจารณาร่างกายประกอบด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ
หมวดพรหมวิหาร ๔
พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมเป็นที่อยู่ของพรหม พรหมแปลว่าประเสริฐ
พรหมวิหาร ๔ จึงแปลว่า คุณธรรม ๔ ประการ ที่ทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติเป็นผู้ประเสริฐ ได้แก่
๓๓. เมตตา คุมอารมณ์ไว้ตลอดวัน ให้มีความรัก อันเนื่องด้วยความปรารถนาดี ไม่มีอารมณ์เนื่องด้วยกามารมณ์ เมตตาสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นทุกข์
๓๔. กรุณา ความสงสารปรานี มีประสงค์จะสงเคราะห์แก่ทั้งคนและสัตว์
๓๕. มุทิตา มีจิตชื่นบาน พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ไม่มีจิตริษยาเจือปน
๓๖. อุเบกขา มีอารมณ์เป็นกลางวางเฉย
หมวดอรูปฌาณ ๔
********************วิธีการแก้เวทนาที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติกรรมฐานการแก้ทุกข์
ความทุกข์เป็นของแน่นอนที่ใคร ๆ ก็ต้องประสบด้วยกันทั้งนั้น ยิ่งการทำวิปัสสนาด้วยแล้ว ยิ่งจะต้องประสบกับความทุกข์มากขึ้น แต่ความทุกข์ของการเจริญวิปัสสนานั้น ต่างจากความทุกข์ของคนสามัญทั่วไปคือ ความทุกข์ของการเจริญวิปัสสนา เป็นความทุกข์ที่ทำให้ผู้ปฏิบัติออกจากความทุกข์ได้ ส่วนความทุกข์ของคนทั่วไปนั้น เกิดเพราะมีกิเลสตัณหา จึงแตกต่างกัน เมื่อเริ่มปฏิบัติด้วยการกำหนดจิตก็ดี กำหนดรูปกายหยาบก็ดี จะต้องประสบกับความทุกข์แน่นอนเช่น ปวดเมื่อย มีความร้อนเหมือนถูกไฟเผา ปวดเหมือนถูกทุบ เจ็บเหมือนถูกของแหลมเสียบแทง เหล่านี้เป็นต้น เป็นอารมณ์ที่ผู้ปฏิบัติจะได้ประสบมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัญญา และการกระทำกรรมที่ดีไม่ดีของผู้ปฏิบัติ ถ้าทำความชั่วมากทุกข์ก็มาก ถ้ามีปัญญาดีก็ปล่อยวางได้เร็ว ถ้าโง่ก็ปล่อยวางได้ช้า ดังนั้นเมื่อประสบกับความทุกข์ ผู้ปฏิบัติก็ควรอดทนพยายามยกจิตขึ้นอยู่ให้สูงเสมอ ถ้าหากทุกข์มาก ๆ จนเกือบทนไม่ได้แล้ว ให้ผู้ปฏิบัติกลั้นลมหายใจไว้ในอก ก็จะละความทุกข์ได้ชั่วคราว เพราะจิตถูกเก็บไว้ภายใน ไม่สนใจทุกข์ แต่เมื่อขาดสติก็จะยึดทุกข์อีก อีกวิธีหนึ่งก็คือ ขณะที่มีความทุกข์นั้นให้ผู้ปฏิบัติทำความรู้สึกให้เต็มหน้า ตั้งจิตไว้ระหว่างตาและทรวงอก ตั้งสติอุเบกขาทำความรู้สึกให้นิ่ง ก็จะเห็นการเกิดดับของจิต ให้ผู้ปฏิบัติปล่อยกระแสจิตให้ไหลไปตลอดกาย ความทุกข์ในกายก็จะค่อยดับไป คลายไปได้ในที่สุด ข้อสำคัญให้มีสติกับอุเบกขาอยู่ตลอดเวลา
หมายเหตุการปฏิบัตินั้น ถ้าผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติไปแล้วรู้สึกว่าเกิดความร้อนมีเหงื่อออกตามตัว จัดว่าการปฏิบัตินั้นอยู่ในขั้นดี เพราะความร้อนที่เกิดนั้นแสดงว่าจิตรวมตัวและเริ่มทำงานเผากิเลส แต่ถ้าเมื่อใดทำความเพียรแล้ว รู้สึกสงบเย็น แสดงว่าจิตนั้นได้พักผ่อนอยู่ในสมาธิ อารมณ์นี้ไม่สามารถทำลายกิเลสได้ แต่เป็นการให้จิตได้พักผ่อนอยู่ในวิหารธรรมเท่านั้น ถ้าเมื่อใดปฏิบัติแล้ว ฟุ้งบ้าง ง่วงบ้าง ว่างไม่รู้สึกตัวบ้าง เหล่านี้เป็นอารมณ์ที่ผู้ปฏิบัติจะต้องรีบแก้ไขหาครูบาอาจารย์ และกัลยาณมิตรที่ดีไว้ สำหรับปรึกษา หาวิธีที่ดีและแยบคายในการปฏิบัติต่อไป ควรระวังความยินดียินร้ายในอารมณ์ให้มาก เพราะทั้งสองอย่างนี้เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ ถ้ายินดีสมาธิเคลื่อน ฟุ้งง่าย ถ้ายินร้ายในอารมณ์ที่ไม่ดีจะทำให้จิตไม่ปลอดโปร่ง แก้ปัญหาไม่ตกดับทุกข์ไม่ได้
การแก้คันยุบยิบ
ถ้าเกิดอาการคันยุบ ๆ ยิบ ๆ ขึ้นตามตัว หรือ เหมือนถูกเข็มแทงแปล๊บทำให้เจ็บสะดุ้ง อย่าลุก อย่าขยับเขยื้อนเป็นอันขาด อย่าไปขยับเขยื้อนไปลูบคลำ อย่ายกมือลูบอวัยวะเป็นอันขาด คงนั่งสงบใจนิ่ง นิ่งอยู่อย่างนั้น จงตั้งสติสัมปชัญญะ ข่มใจให้หนักแน่นมั่นคง อย่าสะดุ้งหวั่นไหว ไปตามอาการที่รู้สึกนั้น อย่ายกมือ หรือ เคลื่อนอิริยาบถไปลูบคลำ หรือ เกาเป็นอันขาด แต่ให้กระชับกระแสจิต เพ่งพิจารณาติดตามความคัน หรือความเจ็บแปล๊บนั้น มีความมั่นระลึกตักเตือนตนเองว่า เมื่อความคันเกิดขึ้น ณ แห่งใด ก็ย่อมดับไปเองหายไปเอง ณ ที่นั้นอย่างนี้ เรานึกอย่างนี้แล้วเราวางเฉยเลย วางเฉยเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เหมือนไม่มีอาการทิ่มแทงเกิดขึ้น เมื่อทำอย่างนี้ได้ อาการนั้นก็หายไปทันที คือ ใจเราอย่าไปผูกพัน ว่ามันเจ็บ มันคัน หรือมันแปล๊บ ๆ มันทิ่มแทงยังไง อย่าไปนึก ผ่านไปเลย เมื่อเราระลึกเช่นนี้แล้ว ให้เพ่งความวางเฉย อย่าเอาเป็นธุระอีกต่อไป อย่างนี้ เมื่อรู้สึกเป็นปกติแล้ว จึงค่อยตั้งสติสัมปชัญญะเจริญกรรมฐานกำหนดสมาธิ กำหนดลมหายใจ หรือบริกรรม ตามระยะเช่นเดิมต่อไป อย่าเผลอ อย่าสัพเร่า รู้ความเป็นไปให้ทั่วถึงถ้าเราไปลูบไปคลำมันเข้า ไปแตะต้องมันเข้า ก็เท่ากับไปยุให้ความคันกำเริบขึ้น ต้องเกา ต้องถูตามตัว ถึงที่สุดก็นั่งอยู่ไม่ได้ นี่เป็นโทษ เป็นมารขวางเราอย่างนี้ ทุกคนที่ใผ่ใจทางนี้ ต้องพยายามระงับให้ดี เอาชนะให้ได้ ถ้าไม่เช่นนั้นแล้วก็เท่ากับทำให้มารหัวเราะเยาะอย่างผู้มีชัย
(โดย ..............หลวงพ่อกัสสปะมุนี)
การแก้ความง่วง
ความง่วงเป็นศัตรูที่สำคัญต่อการทำสมาธิ คอยตัดกำลังกาย กำลังใจ และกำลังปัญญา ทำให้ผู้ปฏิบัติตกอยู่ในความหนักหน่วง ฟังธรรมไม่เข้าใจ ไม่เห็นสภาวะกายใจ ไม่รู้แจ้งเห็นธรรม ยังจะทำให้อกุศลเจริญ เสียประโยชน์ตนอย่างมากจึงควรรีบแก้ไขพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมแก่พระโมคคัลลานะ ขณะที่พระโมคคัลลานะได้ทำความเพียรนั่งโงกง่วงและ เกิดความอ่อนใจอยู่ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม แขวงมคธ
พระองค์จึงทรงแสดงวิธีแก้ง่วงแก่พระโมคคัลลานะไว้หลายวิธีดังนี้
1. ให้นึกถึงสัญญาต่าง ๆ
2. ให้ยกจิตขึ้นพิจารณาถึงธรรมที่เคยได้ฟังได้เรียนมา
3. ให้สาธยาย คือ ท่องธรรมที่เคยได้ฟังได้เรียนมา
4. ให้เอามือยอนหู คือ ไชหูทั้ง 2 ข้าง หรือเอามือลูบตามตัว
5. ลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างหน้า และเหลียวดูทิศต่าง ๆ แหงนดูดาว
6. ให้นึกถึงแสงสว่าง คิดว่าอยู่กับความสว่าง ทำใจให้เปิดเผยและเป็นอิสระจากสิ่งทั้งปวง
7. เดินจงกรมทำใจให้สำรวมมีจิตอยู่กับกายภายใน
ทั้งหมดนี้เป็นวิธีที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่พระโมคคัลลานะ ซึ่งผู้ปฏิบัติควรปฏิบัติตามด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งจนกว่าจะหายง่วง
อุบายเพิ่มเติม
สำหรับผู้ที่ตกอยู่ในความง่วงอยู่เสมอ แก้ไม่หาย หรือไม่หายขาด ความเพียรไม่ก้าวหน้า เพียรครั้งใดก็ง่วงนอนครั้งนั้น ถ้าไม่เพียรไม่ก้าวหน้า เพียรครั้งใดก็ง่วงนอนครั้งนั้น ถ้าไม่เพียรไม่ง่วง แต่เมื่อทำความเพียรแล้ว เกิดความง่วงก็ควรปฏิบัติดังนี้
1. สังเกตดูการบริโภคอาหารว่า การบริโภคอาหารนั้นมากน้อยเพียงไรถ้าความง่วงเกิดจากการบริโภคมาก ให้ผู้ปฏิบัติลดการบริโภคลง เพื่อลดการเมาอาหาร ให้บริโภคเพียงแค่มีชีวิตอยู่ได้เท่านั้น อย่าเห็นแก่รสอร่อยของอาหาร ถ้าหากเห็นแก่รสของอาหารก็จะทำให้การเห็นธรรมนั้นเป็นไปโดยยากข้อสังเกตอีกข้อหนึ่งสำหรับเรื่องการบริโภคก็คือ หลังจากรับประทานอาหารอิ่มนั้น ผู้ปฏิบัติส่วนมากมักจะไม่สามารถทำสมาธิได้ หรือทำได้ก็ได้น้อยมาก เพราะหลังอาหารใหม่ ๆ กายจะหนักและทำให้จิตหนักตามไปด้วย จิตจะไม่ปลอดโปร่ง ดังนั้นถ้ารู้ว่า ความง่วงนี้เกิดจากการบริโภคอาหารมาก ก็ควรลดการบริโภคลง แต่อย่าให้น้อยจนถึงกับเกิดความทุกข์ ทำความเพียรไม่ได้ เพราะหมดแรง หมดกำลังที่จะทำความเพียร ควรบริโภคแต่พอดีกับความต้องการของตนเอง
2. สังเกตดูการทำความเพียรนั้น ผู้ปฏิบัติบังคับจิตมากเกินไปหรือไม่การบังคับจิตมากเกินไป ทำให้จิตเกิดความเพลีย ผู้ปฏิบัติก็จะต้องลดหย่อนการทำความเพียร ลดการบังคับจิตลง อย่าให้ตึงเกินไป (การบังคับจิตมากจะมีผล 2 อย่างคือ ทำให้ฟุ้ง เพราะเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน และถ้าไม่ฟุ้งก็ง่วง เพราะจิตเกิดความอ่อนเพลีย) ควรทำจิตให้สบาย ๆ ทำอะไรที่สบาย ๆ ไว้ก่อน อย่างพึงร้อนใจ ควรมองสิ่งที่อยู่รอบตัว มองอากาศ ที่สดใส หรือมองสิ่งที่มีสีเขียว เช่น ต้นไม้ใบหญ้า เพื่อให้จิตเกิดความสดใส กระเตื้องตื่นตัว ความง่วงประเภทนี้ส่วนมากมักจะเกิดกับผู้ชอบบริกรรมภาวนาต่าง ๆ เมื่อจิตถูกบังคับให้อยู่กับองค์บริกรรม จึงทำให้เกิดความง่วง ผู้ปฏิบัติควรเลิกบริกรรม หันมาประคองจิตอยู่ที่กายหยาบแทนโดยทำความรู้สึกตัวไปตลอดตัว หรือครั้งแรกจะทำความรู้สึกไว้ที่สะโพก ที่สัมผัสกับพื้นเบื้องล่างก่อนก็ได้ ถ้ายืนก็ทำความรู้สึกที่ฝ่าเท้า ไม่ต้องบริกรรม ทำใจให้สบายไว้ก่อน เมื่อผู้ปฏิบัติหันมาเพียรประคองตั้งจิต ทำความรู้สึกอยู่ที่กายหยาบความง่วงก็จะบรรเทาลง
3. สังเกตดูว่าจิตนั้นคิดหรือไม่ ถ้าจิตสงบมากก็ทำให้เกิดความง่วงมากได้ เพราะจิตนั้นไม่นึกคิดวิตก จึงทำให้เกิดความง่วงขาดสติทำให้จิตลงภวังค์ ทำให้จิตไม่รับรู้อยู่ที่กายหยาบ และไม่รู้สภาวธรรม ให้ผู้ปฏิบัติยกจิตขึ้นตั้งที่ท้ายทอย หรือที่หน้าผากอยู่เสมอ อย่าเอาจิตไว้ที่ต่ำ เช่นที่ท้อง เป็นต้น จะต้องยกจิตไว้ให้สูงอยู่เสมอ เพื่อให้จิตผ่องใสและเกิดปัญญา ควรหางานให้จิตทำอยู่เสมอ4. ความง่วงที่เกิดจากความท้อแท้สิ้นหวัง เพราะไม่เห็นผลของการปฏิบัติทำให้เกิดความเกียจคร้าน และเป็นผลให้ง่วงนอนในที่สุด
วิธีแก้ ควรหากัลยาณมิตรที่มีความเพียรมากและเป็นที่วางใจของผู้ปฏิบัติ คือยอมให้กัลยาณมิตรผู้นี้ว่ากล่าวตักเดือนได้ เพราะเมื่อผู้ปฏิบัติไม่สามารถบังคับตนเองได้ ก็ควรให้ผู้ที่มีความสามารถมากกว่าช่วยบังคับ และวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่งก็คือ การศึกษาค้นคว้าปฏิปทาของพระสาวกหรือพระปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติ เพื่อจะทำให้เกิดกำลังใจในการปฏิบัติ แต่อย่ายึด
การแก้อารมณ์ฟุ้งซ่าน
อารมณ์ฟุ้งซ่าน
1. ฟุ้งเพราะใจลอย ขาดสติ
2. ฟุ้งเพราะบังคับจิตมากเกินไป ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านทางจิต ทำให้จิตไม่ยอมสงบนิ่ง
3. ฟุ้งเพราะผู้ปฏิบัติหันมาดูจิตและเริ่มรู้จักจิตของตนเอง คือรู้ว่าจิตนั้นคิดอยู่เสมอ
4. ฟุ้งเพราะเกิดปิติ และมีความยินดี ติดอยู่ในอารมณ์ที่รู้ที่เห็น ไม่ยอมละอารมณ์นั้น เรียกว่ายึดติดอารมณ์
หากผู้ปฏิบัติไม่รู้เท่าทันความฟุ้งบางอย่าง ก็ถึงกับทำให้ผู้ปฏิบัติเลิกปฏิบัติ และอารมณ์ฟุ้งบางอย่างก็จะทำให้ผู้ปฏิบัติหลงผิดไปจนวันตาย ดังนั้นผู้ปฏิบัติที่รู้ว่าตนเองฟุ้งซ่าน ก็ควรสังเกตว่า ตนเองนั้นฟุ้งเพราะเหตุใร ฟุ้งลักษณะใด
อารมณ์ฟุ้งเพราะใจลอย ขาดสติ มี 2 ลักษณะ คือ
1. ปรุงแต่งอารมณ์ภายใน เรียกว่าธรรมารมณ์
2. ปรุงแต่อารมณ์ภายนอก เรียกว่าจิตวิ่งไปรับอารมณ์ที่มากระทบ
ผู้ปฏิบัติจะมีลักษณะชอบคิดถึงคนนั้นคนนี้ อยากเที่ยวที่นั่นที่นี่ อยากรู้อยากเห็น สร้างวิมานในอากาศ บางครั้งคิดถึงสิ่งที่เคยได้ยินได้ฟังมา อารมณ์ฟุ้งซ่านเหล่านี้เป็นเพราะผู้ปฏิบัติขาดสติ ถ้าหากผู้ปฏิบัติคิดปรุ่งแต่งเรื่องธรรม ก็ไม่เป็นไร ดีกว่าง่วงนอนเพราะทำให้เกิดปัญญา แต่ถ้ามากเกินไปก็จะทำให้เสียผลในการปฏิบัติ เพราะถึงแม้ฟุ้งในธรรมจะทำให้เกิดปัญญาก็ตาม แต่ก็เป็นปัญญาภายนอก ไม่ใช่ปัญญาดับทุกข์ ส่วนฟุ้งเรื่องที่ไม่ใช่ธรรม หรือสร้างวิมานในอากาศ หรือคิดสร้างนั่นสร้างนี่ ผู้ปฏิบัติมักจะไม่รู้ตัวว่าตนกำลังฟุ้งซ่าน เพราะขาดสติอย่างมาก บางรายถึงกับเพลินกับอารมณ์ที่เห็นที่ได้ยิน ทำให้เสียเวลาปฏิบัติมาก ดังนั้นถ้าผู้ปฏิบัติเมื่อรู้ว่า กำลังคิดสิ่งต่าง ๆ อยู่ จัดว่ากำลังฟุ้งเพราะขาดสติอยู่
วิธีแก้ไข
ผู้ปฏิบัติจะต้องหยุดความคิดไว้ด้วยการเรียกสติเข้าหาตัวก่อน คือ ให้หายใจเข้าทรวงอกให้เต็มแล้วพักไว้สักครู่หนึ่ง จนรู้สึก ว่าอกอิ่ม และมีความอบอุ่นที่อกแล้ว ให้หายใจออก จะทำให้เกิดความรู้สึกตัวและมีสติดีขึ้น ให้ผู้ปฏิบัติหายใจเข้าออกสัก 2-3 ครั้ง หรือมากกว่านั้นจนรู้สึกว่าที่อกนั้นโล่งปลอดโปร่งแล้ว ให้ทำความรู้สึกไว้ที่ 3 จุด คือ ที่หน้าผาก ที่ทรวงอก ที่สะโพก จิตก็จะนิ่งแต่ถ้าหากผู้ปฏิบัติไม่สามารถตั้งจิตไว้ทั้ง 3 จุดนี้ได้ ให้เอามือจับที่ปลายจมูกแล้ว ทำความรู้สึกเอาจิตดูที่มือสัมผัสกับจมูกแล้ว หายใจเข้าออกยาว ๆ ดูลมให้ดูอยู่ที่เดียว คือที่ปลายจมูก เอามือจับจมูกดูลมหายใจเข้าออกสักครู่หนึ่ง จนรู้สึกว่าจิตเริ่มอยู่ที่ ปลายจมูกแล้วให้เอามือออก และดูลมหายใจเข้าออกต่อไป อารมณ์ฟุ้งซ่านก็จะหายไปเองฟุ้งเพราะบังคับจิตมากเกินไป ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านทางจิต ทำให้จิตไม่ยอมสงบนิ่งผู้ที่เป็นเช่นนี้จะมีลักษณะหงุดหงิดง่าย ไม่พอใจ และจิตคิดไม่ยอมหยุด ยิ่งบังคับยิ่งคิดมาก เพราะจิตนั้นไม่เคยถูกบังคับ เมื่อผู้ปฏิบัติมาบังคับจิต จึงทำให้เกิดการต่อต้านกันทำให้ผู้ปฏิบัติอารมณ์รุนแรง ตาขวาง เห็นอะไรรู้สึกอยากทำลาย และอึดอัดใจ อารมณ์ฟุ้งประเภทนี้มักเกิดกับผู้ที่ชอบบริกรรมและภาวนา
วิธีแก้ไข
ผู้ปฏิบัติจะต้องปล่อยใจให้สบายไว้ก่อน อย่าบังคับจิต หมั่นมองดูสีเขียวหรือท้องฟ้ามาก ๆ เพื่อให้จิตผ่องใสอยู่กับอากาศ หรือรื่นเริงอยู่กับต้นไม้ใบหญ้า ถ้าบริกรรมแล้วฟุ้งหรือเครียด จิตไม่สงบ ก็ควรเลิกบริกรรมเสีย อย่าบังคับจิต ถ้าหากยังฟุ้งมากอยู่ก็ปล่อยให้จิตนั้นฟุ้งไปให้พอ ไม่ต้องบังคับจิตให้หยุดคิด ผู้ปฏิบัติเพียงแต่ตามดูตามรู้ โดยการทำความรู้สึกตัวอยู่ข้างหน้า จิตจะคิดอะไรก็ปล่อยมัน เดี๋ยวมันเหนื่อยก็จะหยุดคิดเอง ข้อสำคัญให้ทำความรู้สึกตัวอยู่เสมอ การตั้งสติตามดูนั้นอุปมาเหมือนกับเชือกที่ผูกวัว จิตที่ฟุ้งก็เหมือนกับวัว เมื่อวัวคึกคะนองเราก็ต้องถือเชือกวิ่งตามจนกว่าวัวจะเหนื่อย เมื่อมันเหนื่อยเราก็จูงมันกลับบ้านได้ จิตก็เช่นเดียวกัน เมื่อมันคิดจนเหนื่อย มันก็หยุดเอง หลังจากจากหายฟุ้งแล้ว ผู้ปฏิบัติควรจะเลิกการปฏิบัติด้วยการบริกรรมชั่วคราว หันมาใช้วิธีทำความรู้สึกตัวด้วยการประคองจิต ไว้ที่รูปกายหยาบ หรือที่กาย หมั่นตั้งจิตไว้ที่ผัสสะอยู่เสมอ หรือควรหัดทำความรู้สึกให้เต็มหน้าก่อน หลังจากนั้นเมื่อมีความรู้สึกเต็มหน้าแล้ว ก็หัดแผ่ใจให้เต็มกาย การแผ่ใจให้เต็มกายนี้จะช่วยให้จิตที่เหนื่อยเพราะคิดมากหรือฟุ้งมากเกิดพลังขึ้นมาแทน และเป็นสมาธิง่าย ๆ ไม่ฟุ้งง่าย เหมือนการบังคับจิต หรือการบริกรรมฟุ้งเพราะผู้ปฏิบัติหันมาดูจิตและเริ่มรู้จักจิตของตนเอง คือรู้ว่าจิตนั้นคิดอยู่เสมอแต่อำนาจสติยังน้อยอยู่ ทำให้ผู้ปฏิบัติมีความรู้สึกว่า เป็นทุกข์มากเพราะจิตคิดไม่ยอมหยุด ผู้ปฏิบัติที่ตกอยู่ในอารมณ์ฟุ้ง ประเภทนี้มักจะชอบคิดแต่เรื่องในอดีตที่ผ่านมาแล้ว เพราะว่าเมื่อหันมาดูจิตก็จะเลิกสนใจเรื่องภายนอก ทำให้เห็นแต่อารมณ์ภายใน แล้วรู้ว่าจิตชอบคิด เมื่อไม่มีอารมณ์ใหม่เข้ามาจิตจึงปรุงแต่งนึกคิดแต่อารมณ์เก่าที่ผ่านมา บางคนเคยโกรธกับผู้อื่น มาถึง 10 ปี และลืมไปแล้ว เมื่อมาทำความเพียรดูจิต ก็จะกลับเกิดอารมณ์โกรธขึ้นมาอีกได้ บางคราวรู้สึกเสียใจ บางคราวรู้สึกดีใจ บางคนระลึกถึงความหลังได้มากถึงขนาดระลึกชาติได้ก็มี ทำให้เข้าใจผิดว่าได้สำเร็จธรรม ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่ แต่เกิดจากการหันมาดูจิตและรู้จักจิตของตนมากขึ้น คือทำให้ระลึกความหลังได้ อารมณ์ฟุ้งประเภทนี้บางท่านไม่รู้เท่าทันอารมณ์คิดว่าธรรมเสื่อม สมาธิเสื่อม เลิกปฏิบัติก็มี ดังนั้น ถ้าผู้ปฏิบัติเห็นจิตตนเองคิดมาก คิดแต่เรื่องอดีต และไม่ยอมหยุด ก็ควรรู้ว่าเป็นการเริ่มรู้จักจิตแล้วว่าจิตนั้นมีลักษณะชอบคิด อุปมาเหมือนกับน้ำที่นิ่ง ย่อมมองเห็นเงาในน้ำ
วิธีแก้ไข
ให้เลิกดูจิต หันมาดูกายแทน ถ้าจิตคิดมากให้อัดลมหายใจ เหมือนฟุ้งเพราะขาดสติ หันมาปฏิบัติด้วยการทำความรู้สึกไว้ให้เต็มหน้าอยู่เสมอ อารมณ์ฟุ้งแบบนี้เมื่อเลิกดูจิตหันมาดูกาย ไม่นานก็จะหายเองฟุ้งเพราะเกิดปิติ และมีความยินดี ติดอยู่ในอารมณ์ที่รู้ที่เห็น ไม่ยอมละอารมณ์นั้น เรียกว่ายึดติดอารมณ์ความฟุ้งประเภทนี้มักจะทำให้ผู้ปฏิบัติอยากสอนคนทั่วไป อยากบอกคนนั้นคนนี้ให้มาปฏิบัติเหมือนกับตนเอง บางท่านพบกับความสงบ หรือพบกับอารมณ์บางอย่างที่ไม่เคยพบ และติดใจอยากให้เกิดอีก แต่ไม่สามารถทำได้อีกเพราะเกิดตัณหา คือความอยาก ทำให้นึกคิดไปต่าง ๆ นานา อารมณ์ฟุ้งประเภทนี้นับว่าเป็นอันตรายมาก เพราะจะทำให้เลิกปฏิบัติหรือไม่ก็เป็นมิจฉาทิฐิ คือคิดว่าตนสำเร็จ บางท่านปฏิบัติจนจิตเข้าสู่อุปจารสมาธิ จิตอยู่ในสภาพครึ่งหลับครึ่งตื่น และเข้าติดต่อกับแดนวิญญาณได้ คือบางครั้งได้ยินเสียงกระซิบที่หู บางครั้งเห็นรูปละเอียด ผู้ปฏิบัติที่ตกอยู่ในช่วงนี้นับว่ามีอันตรายมาก เพราะส่วนมากมักจะเข้าใจผิดกันเสมอ คิดว่า ตนสำเร็จแล้ว แต่ความจริงไม่ใช่ แต่แค่ตกอยู่ในอุปจารสมาธิ เป็นอารมณ์ที่ผู้ปฏิบัติต้องผ่านเท่านั้น
วิธีแก้ไข
เมื่อปฏิบัติไปแล้วเกิดอะไรขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความว่าง ความสงบ หรือความสุขกายสุขใจก็ตาม ไม่ควรยินดีติดใจในอารมณ์เหล่านี้ เพราะเมื่อเกิดความยินดีขึ้นเมื่อใดจิตก็จะเคลื่อนออกจากสมาธิ ผู้ปฏิบัติจะต้องเข้าใจว่า สภาวธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อมีการเกิดก็ต้องมีการดับเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรยินดีกับอารมณ์ที่ดี ยินร้ายกับอารมณ์ที่ไม่ดี การยินดีในอารมณ์ดีนั้นเมื่ออารมณ์ดี คือปิติดับหมด จะทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดความท้อแท้ ทุกข์เจียนตายเลยที่เดียว จึงไม่ควรยินดียินร้ายในอารมณ์ทั้งปวงที่เกิดขึ้นส่วนการได้ยินเสียงมากระซิบที่หูนั้น ผู้ปฏิบัติจะต้องเลิกฟังเลิกสนใจ เพราะถ้าสนใจฟัง เมื่อนานเข้าก็จะไม่สามารถแก้ไขได้ และกลายเป็นคนวิกลจริตไปในที่สุด ผู้ปฏิบัติจะต้องรีบละอารมณ์นี้ให้ได้ ถ้าหากเลิกสนใจแล้ว แต่ยังเห็นรูปละเอียดและได้ยินเสียงอยู่ ผู้ปฏิบัติจะต้องเลิกทำสมาธิหันมากำหนดทุกข์ที่กาย เพื่อให้จิตเกาะอยู่กับทุกข์ เมื่อจิตเกาะอยู่กับทุกข์ จะละเสียงและรูปละเอียดที่ได้ยินได้เห็นเอง ดังนั้นการกำหนดทุกข์ด้วยการกำหนดที่ผัสสะ จึงมีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่อยู่ระหว่างแดนต่อแดน เมื่อละเสียงกระซิบที่หูได้แล้ว ก็ควรเลิกกำหนดทุกข์ด้วย เพราะทุกข์มากจะทำให้เครียดอีกได้ ให้หันมาดูจิตต่อไป ซึ่งแล้วแต่ความแยบคายของผู้ปฏิบัติเองว่าจะใช้วิธีใดในเคล็ดลับดับทุกข์ที่กล่าวมา
***************************
เป็นการปล่อยอารมณ์ ไม่ยึดถืออะไร มีผลทำให้จิตว่าง มีอารมณ์เป็นสุขประณีต ในฌานที่ได้ ผู้จะเจริญอรูปฌาณ ๔ ต้องเจริญฌานในกสินให้ได้ฌาณ ๔ เสียก่อน แล้วจึงเจริญอรูปฌาณจนจิตเป็นอุเบกขารมณ์
***************************************วิธีแก้นิมิต เมื่อนิมิตเกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติ ๑. เจริญญาตปริญญาวิธี แปลว่าทำความกำหนดรู้ ทั้งจิต ทั้งนิมิต อยู่เฉย ๆ หรือมีสติกำหนดจิต นิ่งเฉยต่อนิมิต
๒. เจริญติรณะปริญญาวิธี แปลว่าพิจารณาตรวจค้นเหตุผลของนิมิต ให้รอบคอบ
๓. เจริญปหานปริญญาวิธี คือสละลงซึ่งนิมิตต์นั้นให้ขาด หรือถอนตัณหาเสียทั้งโคน วิธีที่ ๑. เจริญญาตปริญญาวิธี
เป็นวิธีที่นักปฏิบัติใหม่ทั้งหลาย จำเป็นต้องใช้ประกอบกับภูมิจิตของตน ที่ได้เจริญกรรมฐานใหม่ ๆ และได้ฝึกหัดสมาธิน้อย สติยังอ่อน ไม่มีกำลังพอที่จะต่อสู้กับนิมิตทั้งปวงได้ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีนี้ ทำความกำหนดรู้ ทั้งจิต ทั้งนิมิตอยู่เฉย ๆ หรือมีสติกำหนดจิตนิ่งเฉย ต่อนิมิตนั้น ๆ ในเวลานั่งสมาธิภาวนา จิตกำลังสงบตั้งมั่นเป็นขณิกสมาธิ หรืออุปจารสมาธิแล้วกำลังก้าวหน้าเข้าสู่อัปปนาสมาธิ บังเกิดมีนิมิตอันใดอันหนึ่ง มาปรากฏเฉพาะหน้า ครั้นจะถือเอานิมิตนั้นเป็นอารมณ์ ก็ถือเอาไม่ได้ เพราะเป็นเหตุให้เผลอสติ จิตนั้นก็ถอนจากสมาธิ นิมิตนั้นก็หายไป จำเป็นต้องเจริญญาตปริญญาวิธี คือ มีสติกำหนดจิตทำความกำหนดรู้นิ่งเฉยอยู่ตลอดเวลา จนกว่านิมิตนั้นจะสงบหายไปเอง
ญาตปริญญาวิธีนี้ เป็นวิธีอบรมบ่มอินทรีย์ ให้มีกำลังแก่กล้า คือ ทำให้จิตของเรามีความเชื่อมั่น และมีความเพียรมากขึ้น มีสติดีขึ้นตลอดทำให้จิตตั้งมั่นแน่วแน่จริง ๆ จนบังเกิดมีปัญญาเฉลียวฉลาดมากขึ้นโดยลำดับ ยิ่งมีนิมิตมาปรากฏบ่อย ๆ และได้เจริญญาตปริญญาวิธีนี้บ่อย ๆ ก็ยิ่งได้สติ และมีปัญญาสามารถทำจิตให้เป็นสมาธิ ดำเนินตามหนทางอริยมรรคได้ดีมากขึ้นโดยเร็ว ๆ ไม่ถอยหลัง
อนึ่ง ความรู้ความเห็นบางประการ บังเกิดขึ้นแล้วกลายเป็นสัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ความรู้ความเห็นเหล่านั้น ไม่ใช่เป็นความรู้ความเห็น ที่เกิดจากความหวั่นไหวง่อนแง่น ไปตามอารมณ์สัญญาและนึกเดา หรือคาดคะเนเอาจาก นิมิตต่าง ๆ เนื่องด้วยเหตุนี้ เมื่อความรู้ความเห็นเกิดขึ้น อย่าพึงรู้หน้าเดียวเห็นหน้าเดียว ให้พึงเจริญญาตปริญญาวิธี ทำความเป็นผู้ไม่ยินดีและยินร้าย ในความรู้ความเห็นเหล่านั้น ฯ
การเจริญญาตปริญญาวิธี มีอานิสงส์มาก สามารถทรมานจิต ให้ละพยศอันร้ายได้ คือในเมื่อไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ในความรู้ ความเห็น และในนิมิตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดไม่ส่งจิตให้คิดไปตามเช่นนั้นแล้ว ตัณหาความดิ้นรนกระวนกระวายย่อมบังเกิดมีขึ้น เป็นพยศอันร้ายแรงแห่งจิต คืออยากเห็นนิมิตนั้นแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น หรือมิฉะนั้นเมื่อได้เห็นซึ่งนิมิตที่น่ากลัว ก็อยากให้นิมิตที่น่ากลัวนั้นหายไป เมื่อนิมิตที่น่ากลัวนั้นไม่หายไปตามประสงค์ ก็บังเกิดความเสียใจ และร้อนใจ ไม่อยากพบ ไม่อยากเห็น ซึ่งนิมิตที่น่ากลัวนั้นเสียเลย ชื่อว่าพยศอันร้าย ฯ
ครั้นเมื่อจิตบังเกิดพยศอันร้าย ดังกล่าวแล้วปฏิฆะกับความประมาทก็บังเกิดขึ้นพร้อม เป็นเหตุให้เสื่อมเสียศรัทธา ท้อถอยจากการปฏิบัติ ไม่บำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา ก็เสื่อมจากทางมรรค ทางผล ทางสวรรค์ ทางนิพพาน ถ้าได้เจริญญาตปริญญาวิธีนี้เสมอ ก็สามารถทรมานซึ่งพยศอันร้ายแรง แห่งจิตให้หายได้ กับบังเกิดเป็นผู้มีสติดีกำหนดรู้ซึ่งจิต ทำความสงบนิ่งเฉยอยู่ได้ดี เมื่อจิตสงบตั้งมั่นลงได้แล้ว ตัณหาทั้ง ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็สงบไปเอง คือไม่ยินดี ไม่ยินร้าย และไม่ทะเยอทะยานอยาก พร้อมทั้งความไม่อยาก ก็สงบระงับไปตามกัน กลับตั้งใจไว้ได้ในมัชฌิมาปฏิปทา คือตั้งใจไว้เป็นกลางไม่ตกใจกลัว และไม่กล้าเกินไป สม่ำเสมอพอเหมาะพอดีเป็นหนึ่งอยู่ได้ ไม่เดือดร้อนในเรืองนิมิตจะมีมา หรือไม่มีมา ก็แล้วแต่เหตุผล หรือ มีมาแล้วจะหายไปหรือไม่หายไป ก็แล้วแต่เรื่องของเรื่อง "สนฺทิฏฐิโก" เป็นผู้เห็นเอง "อกาลิโก" ไม่เลือกกาล "เอหิปสฺสิโก" มีเครื่องแสดงบอกให้รู้เห็นตามเป็นจริงอยู่อย่างนั้น "ปจฺจตตํ" รู้จำเพาะกับจิตตลอดไปเมื่อทรมานจิต ให้ละพยศอันร้ายได้แล้ว ย่อมบำเพ็ญสมาธิ ดำเนินตามหนทางอริยะมรรคได้ดี คือ
๑. ทางดำเนินของสติ ก็ดำเนินได้สะดวกดีขึ้น
๒. ทางดำเนินของสัมปขัญญะ ก็ดำเนินได้สะดวกดีขึ้น
๓. ทางดำเนินของ มัชฌิมาปฏิปทา ก็ดำเนินได้สะดวกดีขึ้น
๔. ทางดำเนินของ ทิฏฐุชุกรรม ก็ทำความเห็นซื่อตรงดีขึ้น
๕ ทางดำเนิน แห่งการรวมจิต พร้อมทั้งสติสัมปชัญญะ ทั้งความเห็นก็รวมได้สะดวกดีขึ้น ชื่อว่าดำเนินอริยะมรรคได้ดี เรียกว่าญาตปริญญาวิธี
--- จากพระปฏิปัตติสัทธรรม ของพระญาณวิศิษฐ์ (หลวงปู่สิงห์ ขนฺตฺยาคโม) ---
วิธีที่ ๒ เจริญติรณะปริญญาวิธี
แปลว่าพิจารณาตรวจค้นเหตุผลของนิมิต ให้รอบคอบ
ในวิธีนี้ เป็นหน้าที่ของนักปฏิบัติ ชั้นสมถกรรมฐาน ผู้ชำนาญในญาตปริญญาวิธี มาแล้ว มีหน้าที่จำเป็นต้องเจริญติรณะปริญญาวิธีต่อไป
ในขณะเมื่อเจริญติรณะปริญญาวิธีนั้น นักปฏิบัติผู้ชำนาญ ย่อมเจริญในเวลารวมจิตได้แล้ว และมีนิมิตมาปรากฎเฉพาะหน้า ก่อนแต่จะเจริญวิปัสสนากรรมฐาน นักปฏิบัติผู้ชำนาญ ย่อมเจริญติรณะปริญญาวิธี ให้ชำนาญก่อน คือพิจารณาปฏิภาคนิมิตให้แตกฉานดังต่อไปนี้
ปฏิภาคนิมิตในที่นี้มี ๒ ประการคือ
๑. ปฏิภาคนิมิตภายนอก ได้แก่ รูปร่างกายของมนุษย์ ภายนอกจากตัวของเรา
๒. ปฏิภาคนิมิตภายใน ได้แก่ รูปร่างกายของเราเอง
รวมปฏิภาคนิมิตมี ๒ ประการ ดังกล่าวนี้มีในตัวของมนุษย์ทุกคนตลอดโลก บังเกิดเป็นนิมิต ปรากฏขึ้นในเวลานั่งสมาธิ เรียกว่าปฏิภาคนิมิต นักปฏิบัติใหม่ทั้งหลายผู้ไม่ชำนาญ ก็รู้ไม่เท่า และแก้ไม่ได้ ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวง เพราะเหตุว่า ตัวปฏิภาคนิมิตทั้งหมด เป็นตัวกองทุกข์ และอาสวะกองกิเลส
วิธีแก้ปฏิภาคนิมิต นักปฏิบัติผู้ชำนาญ ย่อมแก้ปฏิภาคนิมิตภายนอกก่อน คือในเมื่อเวลากำลังนั่งสมาธิภาวนา รวมจิตได้แล้ว บังเกิดเห็นนิมิตมาปรากฏต่อหน้า เป็นรูป เป็นรูปมนุษย์ผู้หญิง หรือรูปมนุษย์แลบลิ้นปลิ้นตา หน้าบิด ตาเบือน แปลกประหลาด น่าตกใจกลัว อาการอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม หรือแสดงอาการให้เห็นเป็นรูปคนตาย ก็ตาม
นักปฏิบัติผู้มีสติ ย่อมพลิกจิตของตน ทวนกลับเข้ามาตั้งสติ - กำหนดจิตไว้ให้ดี แล้ววิตกถามด้วยในใจว่า "รูปนี้เที่ยง หรือไม่เที่ยง" จะแก่เฒ่าชรา ตายลงไปหรือไม่ เมื่อวิตกถามด้วยในใจดังนี้แล้ว พึงหยุดและวางคำที่นึกนั้นเสียกำหนดจิตให้รวมสนิท นิ่งพิจารณาด้วยความวางเฉย จนได้ความรู้แจ้งขึ้นเอง ปรากฏเห็นชัดซึ่งรูปนิมิตต์นั้นไม่เที่ยง แก่เฒ่าชราไปเอง ตลอดเพ่งให้ตาย ก็ตายลงเอง ตามอาการที่วิตกในใจนั้น ๆ ทุกประการ ต่อแต่นั้นจะวิตกในใจให้เห็นซึ่งรูปนิมิตที่ตายแล้ว เปื่อยเน่า ตลอดแตกทำลายกระจัดกระจายเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ ไปตามธรรมดา ธรรมธาตุ ธรรมฐิติ ธรรมนิยามะ ย่อมได้ตามประสงค์ ตลอดปลอดโปร่งทุกประการ เว้นแต่จิตถอนจากสมาธิแล้ว หรือ นึกคาดคะเน หรือนึกเดาเอาเท่านั้น จึงไม่สำเร็จสมประสงค์ อันนักปฏิบัติผู้ชำนาญจริงแล้ว ย่อมไม่ใช้คาดคะเนและไม่นึกเดาเอา คื่อย่อมทำตามระเบียบวิธีที่ถูกต้องจริง ๆ จึงสำเร็จตามประสงค์
วิธีแก้ปฏิภาคนิมิตภายใน
ในขณะเมื่อ พิจารณาปฏิภาคนิมิตภายนอกได้ความชัดแล้ว ชื่อว่าแก้ปฏิภาคนิมิตภายนอกได้แล้วอย่าหยุดเพียงแค่นั้น หรืออย่างพีงเป็นผู้ประมาททอดธุระเสีย ให้น้อมเอาจิตของตนทวนกระแสกลับเข้ามา พิจารณาภายในร่างกายของเราเอง
ในเบื้องต้น ถ้าจิตของตน ไม่ปลอดโปร่งคือไม่แลเห็นร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง ให้พึงรวมเอาแต่จิตให้สนิทอยู่ก่อน เมื่อจิตของตนรวมสนิทดีแล้ว พึงใช้อุบายวิตกดังกล่าวแล้ว ในที่นี้ประสงค์ให้วิตกว่าศีลของเราก็บริสุทธิ์ดีแล้ว สมาธิของเราก็ตั้งมั่นดีแล้ว เมื่อมีศีลก็ต้องมีสมาธิ เมื่อมีสมาธิก็ต้องมีปัญญา บัดนี้ศีลสมาธิ มีแล้วปัญญาเป็นอย่างไร เมื่อวิตกถามด้วยในใจดังนี้แล้วพึงหยุดและวางคำที่วิตกนั้นเสีย กำหนดจิตให้รวมสนิท นิ่งพิจารณาด้วยความวางเฉย จนกว่าได้ความรู้แจ้งขึ้นเอง ปรากฏเห็นชัดซึ่งผู้รู้ทั้งหลายชี้บอกว่า ทางนี้เป็นทางรัก ทางนี้เป็นทางเกลียด ทางนี้เป็นมัชฌิมาปฏิปทา พร้อมทั้งแลเห็นเป็นทางโปร่งโล่ง ทั้ง ๗ ทางในขณะเดียวกันก็รู้ชัดได้ว่า ปัญญาคือความเห็นชอบ พร้อมทั้งความรู้ และความรอบคอบ
ต่อแต่นั้น พึงวิตกถามถึงส่วนของร่างกาย ภายในร่างกายตนเองเป็นตอน ๆ ไป ในตอนแรกพึงวิตกว่า ร่างกายของเราเป็นอย่างไร เที่ยงหรือไม่เที่ยง จะแก่เฒ่าชรา และแตกทำลาย เปื่อยเน่าลงไป เหมือนกันหรือไม่ เมื่อวิตกถามด้วยในใจเช่นนั้นแล้วพึงหยุด และวางคำวิตกนั้นเสีย กำหนดจิตให้รวมสนิทนิ่งพิจารณาด้วยวามวางเฉย จนกว่าได้ความรู้แจ้งขึ้นเอง และแลเห็นชัดแจ้งประจักษ์ว่าร่างกาย ของเรา แก่เฒ่าชรา และล้มตายลงไปในปัจจุบันทันใจในขณะนั้น สำเร็จสมประสงค์
ตอนที่ ๒ พึงวิตกถามด้วยในใจว่า อาการ ๓๒ ภายในร่างกายเราส่วนไหนตั้งอยู่อย่างไร มีลักษณะอาการอย่างไร หทัยวัตถุอยู่ที่ไหน ครั้นเมื่อวิตกถามด้วยในใจดังนี้แลัว พึงหยุด และวางคำวิตกนั้นเสีย กำหนดจิต ให้รวมสนิทนิ่ง พิจารณาด้วยความวางเฉย จนกว่าได้ความรู้แจ้งขึ้นเอง ปรากฏเห็นชัด ซึ่งดวงหทัยวัตถุ ตั้งอยู่ทรวงอกข้างซ้ายมีรูปลักษณะคล้ายดอกบัวตูม มีหน้าที่ ทำงานฉีดเลือดส่งไปเลี้ยงร่างกาย เมื่อเห็นเครื่องภายในก่อนดังนี้ พึงพิจารณาเครื่องภายในให้ตลอดคือ พิจารณาม้าม ว่าตั้งอยู่ที่ไหน มีรูปลักษณะ อาการเป็นอย่างไร ให้วิตกถามด้วยในใจ แล้วหยุดวางคำวิตกนั้นเสีย กำหนดจิตรวมให้สนิท นิ่งพิจารณาด้วยความวางเฉย จนกว่ารู้ขึ้นเองว่า ม้ามตั้งอยู่ข้างซ้ายของดวงหทัยวัตถุ มีรูปลักษณะคล้ายตับมีสีแดง ส่วนตับนั้น ตั้งอยู่ข้างขวาของดวงหทัยวัตถุ มีสีดำคล้ำ ปอดตั้งอยู่ทรวงอกเบื้องบน มีหน้าที่รับลมหายใจเข้าออก แลส่งไปเลี้ยงร่างกายทั่วสรรพางค์กาย อันตัง (ไส้ใหญ่) ต่อจากลำคอลงไป มีกระเพาะอาหาร สำหรับรับอาหารใหม่ ต่อจากกระเพาะอาหารใหม่ลงไป เรียกว่า ลำไส้ใหญ่ตั้งอยู่ในท้องของเราเป็นขด ๆ มีไส้น้อย รัดรึงเรียกว่าสายรัดใส้ ต่อจากลำไส้ใหญ่ มีกระเพาะอาหารเก่า สำหรับรับกากของอาหารเก่า สำหรับรับกากของอาหาร ต่อจากกระเพาะอาหารเก่าลงไป เป็นทวารหนัก สำหรับถ่ายอุจจาระ
เมื่อเห็นแจ้งขึ้นเอง ซึ่งเครื่องภายใน ชัดเจนตลอดแล้ว พึงพิจารณาอาการ ๓๒ เป็นอนุโลมปฏิโลม โดยปัจจัตตัง รู้จำเพาะกับจิต ไม่ใช่นึกไม่ตามตำราที่จำได้นักปราชญ์ทั้งหลาย ย่อมนึกวิตกถามผู้รู้ ในเวลานั่งสมาธิรวมจิตสนิทดีแล้ว มีสติกำหนดจิตได้แล้ว พีงวิตกถามด้วยในใจว่าเกศา แปลว่า ผม ตั้งอยู่ที่ไหน มีรูปพรรณสัณฐานอย่างไร เมื่อวิตกถามแล้ว พึงหยุดและวางคำถามนั้นเสีย มีสติ รวมจิตให้สนิท นิ่งพิจารณาด้วยความวางเฉย จนปรากฎเห็นชัดขึ้นเอง ว่าผมอยู่บนศีรษะ มีสีดำคล้ำ รูปพรรณสัณฐาน เป็นเส้นยาว ๆ แก่แล้วหงอกขาว ตายแล้วลงถมแผ่นดิน โลมา แปลว่า ขน เกิดอยู่ตามขุมขน มีทั่วร่างกาย ครั้นเมื่อเราตาย ถมแผ่นพระธรณี นขา แปลว่า เล็บ มีอยู่ที่ปลายนิ้ว ทั้งตีนทั้งมือ ทุกคนย่อมถือว่าเล็บของตน สิ้นชีพวายชนม์ลงถมแผ่นดิน ทันตา แปลว่า ฟัน ในปากของเรา เมื่อแก่เฒ่าฟันเราโยกคลอน หนักเข้าหลุดถอน ลงถมแผ่นดิน ตโจ แปลว่า หนัง หุ้มร่างกายเรา ตายแล้วถูกเผา ถมแผ่นพระธรณี ฯ
ครั้นเมื่อพิจารณา ปรากฏเห็นเอง แจ้งประจักษ์ใจตามความเป็นจริง ในมูละกรรมฐานนี้แล้ว ชื่อว่าพิจารณาเป็นอนุโลม พึงพิจารณาย้อนกลับ เป็นปฏิโลมกลับไป กลับมา ให้ชำนาญดีแล้ว จึงพิจารณาเป็นลำดับต่อไปอีกว่า มังสัง แปลว่า เนื้อ มีหนังหุ้มอยู่รอบ จะแลดูด้วยตา ย่อมไม่เห็น เมื่อเราจะพิจารณาดูซึ่งเนื้อ จำเป็นจะต้องถลกหนังนี้ออกให้หมดเสียก่อนจึงจะพิจารณาดู่ซึ่งเนื้อให้เห็นจริงแจ้งประจักได้ แต่จะต้องถลกออกด้วยอุบายปัญญา ครั้นพิจารณาเห็นดังนั้นแล้ว พึงทำในใจด้วยอุบายที่ชอบ คือมีสติยกจิตขึ้นเพ่ง ให้หนังเลิกออกไป ตั้งแต่หนังศีรษะ เป็นต้นไปโดยลำดับ ตลอดถึงหนังพื้นเท้าเป็นที่สุด เสร็จแล้วเอากองไว้ที่พื้นแผ่นดิน เมื่อเพ่งพิจารณาให้หนังเลิกออกไปหมดแล้ว ก็แลเห็นกล้ามเนื้อเป็นกล้าม ๆ ทั่วสรรพางค์กาย จึงตั้งสติ กลับจิตให้รวมสนิท แล้วยกจิตขึ้นเพ่งให้กล้ามเนื้อหลุดออกจากกระดูก หมดทุกกล้าม ตลอดทั่วสรรพางค์กาย ตกลงไปกองอยู่ที่พื้นแผ่นดิน เมื่อกล้ามเนื้อหลุดออกจากโครงกระดูกหมดแล้ว ก็แลเห็นเส้นเอ็นอย่างกระจ่างแจ้ง ว่าเส้นเอ็นทั้งหลายรัดรึง โครงกระดูกให้ติดกันอยู่ได้ เมื่อจะพิจารณาให้เส้นเอ็นหลุดจากโครงกระดูกนั้น จึงพลิกจิตให้กลับรวมสนิทดีแล้ว ยกจิตขึ้นเพ่งให้เส้นเอ็นทั้งหลาย หลุดจากโครงกระดูกหมดทุกเส้น เมื่อเส้นเอ็นหลุดจากโครงกระดูกแล้ว ก็แสดงให้แลเห็นโครงกระดูกได้อย่างไร กระจ่างแจ้ง
เมื่อเห็นโครงกระดูกแจ่มแจ้ง แต่เครื่องภายในโครงกระดูกยังมีอยู่ พึงกระทำพิธี พิจารณาให้เครื่องภายในโครงกระดูกนั้น หลุดออกไปก่อน แล้วจึงพิจารณา ยกจิตขึ้นเพ่งให้โครงกระดูกหลุดออกเมื่อภายหลัง
วิธีพิจารณาเครื่องภายใน หลุดออกจากโครงกระดูก ให้มีสติพลิกจิต กำหนดรวมจิตให้สนิทแน่วแน่วแล้วยกจิตขึ้นเพ่ง ให้เครื่องภายใน หลุดออกจากโครงกระดูก ทีละอย่าง ๆคือเพ่งม้าม ให้ม้ามหลุดออกไปเพ่งหทัยวัตถุให้หทัยวัตถุหลุดออกไป เพ่งตับ ให้ตับหลุดออกไป เพ่งพังผืด ให้พังผืดหลุดออกไป เพ่งไต ให้ไตหลุดออกไป เพ่งปอด ให้ปอดหลุดออกไป เพ่งลำใส้ใหญ่ ให้ลำไส้ใหญ่หลุดออกไป เพ่งไส้น้อย ให้ไส้น้อยหลุดออกไป เพ่งอาหารใหม่ อาหารเก่า ให้อาหารใหญ่ อาหารเก่าหลุดออกไป เมื่อเครื่องภายในโครงกระดูกหลุดออกไปหมดแล้ว ธาตุน้ำทั้งหลาย มีน้ำเลือด น้ำเหลืองเป็นต้น มีน้ำมูตร์ เป็นที่สุด ก็หลุดออกจากโครงกระดูก ตกลงไปกองอยู่ที่พื้นแผ่นดิน ฯ
เมื่อมีสติ เพ่งพิจารณา ให้เครื่องภายในภายนอกหลุดออกจากโครงกระดูกหมดแล้ว ก็แสดงให้เห็นโครงกระดูกอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ทั้งข้างในข้างนอก จึงพิจาณาโครงกระดูก เป็นอนุโลม ปฎิโลมต่อไป
วิธีที่ ๓ เจริญปหานปริญญาวิธี
เจริญปหานปริญญาวิธี แปลว่า ละ หรือ วาง นิมิตต์ได้ขาด
ย่อมเจริญด้วยวิปัสสนากรรมฐาน ๓ ประการ คือ
๑. วิปัสสนานุโลม ใช้บริกรรมภาวนาอนุโลมเข้าหาวิปัสสนาวิธี
๒. วิปัสสนาสุญญตวิโมกข์ ใช้บริกรรมภาวนาดับสัญญาให้ขาดสูญ
๓. วิปัสสนาวิโมกขปริวัติ ใช้บริกรรมภาวนาวิปัสสนาวิธีให้เต็มรอบ ระงับนิมิตให้ขาดถอนอุปาทานขันธ์ ตลอดถอนตัณหาทั้งโคนการใช้แบบไหนขึ้นอยู่กับนักปฏิบัติ ซึ่งแบ่งเป็น ๓ ประเภทคือ
๑. นักปฏิบัติบางคนหรือบางองค์ เมื่อนั่งสมาธิภาวนารวมจิตสนิทได้ดี แต่มีปิติแรงกล้า บังเกิดขึ้นทับถม กลบเกลื่อนดวงใจ จะยกจิตขึ้นพิจารณาอะไรก็ไม่สะดวก จำเป็นต้องใช้บริกรรมภาวนาวิปัสสนานุโลมว่า " ขยวย ธมฺมา สงฺขารา " หรือ " ขยธมฺมา สงฺขารา " เป็นต้น
2. นักปฏิบัติบางคนหรือบางองค์ เมื่อนั่งสมาธิภาวนารวมจิตสนิทได้ดีเหมือนกัน แต่เมื่อบังเกิดมีนิมิตขึ้นมาก เหลือวิสัยที่จะแก้ไขได้ กลายเป็นสัญญาเนื่องอยู่ในจิต ระงับไม่ได้จำเป็นต้องเจริญวิปัสสนา สุญญตวิโมกข์ ใช้บริกรรมภาวนาว่า " สพฺเพ สงฺขารา สพฺพสญฺญา อนตฺตา " เป็นต้น
๓. นักปฏิบัติผู้มีภูมิจิตสูง ได้เจริญญาตปริญญาวิธี และได้เจริญติรณปริญญาวิธี จนตลอดดังกล่าวแล้ว ชื่อว่ามีภูมิจิตสูง ก้าวล่วงวิปัสสนานุโลม และวิปัสสนาสุญญตวิโมกข์แล้ว ควรได้เจริญวิปัสสนาวิโมกข์ปริวัติต่อไป
ในเมื่อตรวจค้นปฏิภาคนิมิต เลิกถอนเครื่องภายในภายนอกออกหมดแล้ว ยังเหลือแต่โครงกระดูก ได้พิจารณาโครงกระดูกเป็นอนุโลม ปฏิโลมรอบคอบตลอดแล้ว ได้รวมจิตให้สนิท ตั้งมั่นในที่ทรวงอกดีแล้ว มีสติ ยกจิตขึ้นเพ่งซึ่งโครงกระดูกนั้น ด้วยอุบายปัญญา ซึ่งเกิดขึ้นเอง และเห็นด้วยใจตนเอง ว่าโครงกระดูกทั้งสิ้นนี้ เป็นของไม่ใช่ตน ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ชื่อว่าเห็นอนัตตาด้วยในใจของตนเอง และเห็นเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แน่แก่ใจแล้ว ยกคำบริกรรมวิปัสสนาวิโมกขปริวัติขึ้นบริกรรมภาวนาว่าสพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
สพฺเพ ธมฺมา อนิจฺจา
สพฺเพ ธมฺมา ทุกฺขา
ให้บริกรรมภาวนา นึกอยู่ในใจอย่างเดียวไม่ออกปาก และไม่ให้มีเสียง มีสติกำหนดจิตเพ่งด้วยความนิ่งและวางเฉย จนกว่าจะปรากฏเห็นโครงกระดูกนั้นหลุดถอนจากกัน ตกลงไปกองอยู่ที่พื้นดิน พึงยกจิตขึ้นเพ่ง และบริกรรมภาวนาวิปัสสนาวิโมกขปริวัติอีกว่าสพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
สพฺเพ ธมฺมา อนิจฺจา
สพฺเพ ธมฺมา ทุกฺขา
ให้นึกอยู่ในใจอย่างเดียว จนกว่าจะปรากฏเห็นชัดว่า อวัยะทุกส่วนที่ตกลงไปกองอยู่ที่พื้นดินนั้น ได้ละลายกลายเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟไปเองหมดแล้วเมื่อจะระงับสัญญาที่หมายพื้นดิน พึงมีสติยกจิตขึ้นเพ่ง บริกรรมภาวนา วิปัสสนาวิโมกขปริวัติ ดังกล่าวเมื่อจะระงับเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ให้บริกรรมภาวนา วิปัสสนาวิโมกขปริวัติแบบเดียวกัน ตลอดระวับอรูปฌานทั้ง ๔ ก็ใช้คำบริกรรมภาวนา วิปัสสนาวิโมกข์ปริวัติแบบนี้
ข้อสังเกตุ : ในเวลาได้ใช้คำบริกรรมภาวนาวิปัสสนาวิโมกข์ปริวัตินี้ พิจารณาให้โครงกระดูกละลายไปเองแล้ว และได้พิจารณาให้อวัยวะต่าง ๆ ตกลงกองอยู่พื้นแผ่นดินนั้น ละลายกลายเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นไฟ เป็นลม ไปแล้วก็ดี ตลอดได้เพ่งพิจารณาให้พื้นดินละลายไปเองแล้วก็ดี พึงเป็นผู้มีสติบริบูรณ์ กำหนดเอาจิตของตนไว้ ให้รวมสนิทเป็นเอกจิต เอกธรรม เอกมรรค คือเป็นหนึ่งอยู่กับที่ตลอดไป อย่าพึงเป็นผู้ประมาททอดธุระ ปล่อยจิตของตนให้ฟุ้งซ่านไป
เมื่อได้บำเพ็ญข้อปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบในพระพุทธศาสนา ดังกล่าวมาถึงขั้นนี้แล้ว ย่อมแลเห็นอานิสงส์แห่งการปฏิบัติในพุทธศาสนา ไม่มีประมาณ ชื่อว่าได้ถึงพระไตรสรณาคมน์อันแท้จริง
*******************************************
องค์คุณของนักปฏิบัติธรรม ๔ ประการ
ขอเจริญสุขท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย บุคคลที่ประสงค์จะเจริญสติปัฏฐานในพระพุทธศาสนา ต่างก็ต้องการจะประสบความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม บุคคลที่ประสบความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมแล้ว ก็ต้องการที่จะบรรลุคุณธรรมพิเศษในพระพุทธศาสนา ด้วยการประสบความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม และบรรลุคุณธรรมพิเศษ ซึ่งเป็นจุดม่งหมายของพุทธศาสนิกชนในพระพุทธศาสนา พระมหากัจจายนะซึ่งเป็นหนึ่งในอสีติมหาสาวก ๘๐ รูป เป็นเอตทัคคะในด้านขยายความย่อให้พิสดาร ได้แสดงองค์คุณของนักปฏิบัติไว้ ๔ ประการ ซึ่งในวันนี้อาตมาจะได้อธิบายความ องค์คุณของนักปฏิบัติที่ประสงค์จะประสบความก้าวหน้าและบรรลุคุณธรรมพิเศษในทางพระพุทธศาสนาต่อไป พระมหากัจจายนะเถระได้กล่าวองค์คุณของนักปฏิบัติไว้ ๔ ประการ ประการแรก คือ จกฺขุมาสฺส ยถา อนฺโต นักปฏิบัติถึงแม้จะมีดวงตาก็ตาม ก็ต้องทำตัวให้เหมือนกับคนตาบอด หมายความว่า ถึงแม้นักปฏิบัติจะเป็นบุคคลที่มีดวงตาดีสามารถพบเห็นสิ่งต่างๆ พบเห็นอารมณ์ต่างๆ ภายนอกร่างกายได้ก็ตาม แต่ต้องพยายามทำตัวคล้ายกับตนเป็นคนตาบอด ไม่รับรู้อารมณ์ภายนอกแต่อย่างใด
ท่านสาธุชนทั้งหลาย บุคคลที่มีดวงตาได้พยายามทำตนคล้ายกับเป็นคนตาบอดอย่างไรกัน คือเนื่องจากว่า บุคคลที่มีดวงตาถ้าทำตนเป็นคนที่มีดวงตา คือรับรู้อารมณ์ภายนอกต่างๆ หมายถึง รับรู้รูปพรรณสัณฐานของสิ่งภายนอก ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นบุรุษ เป็นสตรี เป็นต้นไม้ หรือเป็นสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตของนักปฏิบัติก็จะรับรู้ถึงอารมณ์ภายนอก ขาดสติที่กำหนดรู้ปัจจุบันอารมณ์ คือสภาวะธรรมการเห็น ด้วยเหตุดังกล่าว ขณะที่นักปฏิบัติ ขาดสติระลึกรู้เท่าทันสภาวะธรรมการเห็นที่กำลังเกิดขึ้น แต่กลับไปจดจ่อรับรู้ถึงอารมณ์ภายนอก สมาธิก็จะไม่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากขาดสติที่เป็นเหตุให้เกิดสมาธินั่นเอง เมื่อขาดสมาธิที่แน่วแน่ในอารมณ์กรรมฐาน ก็จะไม่สามารถเกิดวิปัสสนาญาณที่หยั่งรู้สภาวะธรรมทางกาย กับสภาวะธรรมทางจิตตามความเป็นจริงได้ ด้วยเหตุดังกล่าว พระมหากัจจายนะเถระจึงแนะนำให้นักปฏิบัติ พยายามทำตัวให้คล้ายกับเป็นคนตาบอด โดยไม่รับรู้อารมณ์ภายนอกแต่อย่างใด
อันที่จริงแล้ว การทำตัวให้เหมือนคนตาบอดนั้น ไม่ใช่หมายถึงการปิดตาของตนเอง ไม่ดูอารมณ์ภายนอก หรือไม่ใช่นำสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาปิดที่ดวงตาของตน เพื่อไม่ให้เห็นอารมณ์ภายนอก แต่กลับเป็นการกำหนดรู้ถึงสภาวะธรรมการเห็น โดยสักแต่เห็น กำหนดว่า เห็นหนอ เห็นหนอ ไม่สนใจต่ออารมณ์ภายนอกที่กำลังเห็นอยู่ ไม่สนใจว่าสิ่งที่เห็นนั้นคือบุรุษ คือสตรี คือเรา คือเขา คือของเรา หรือคือของเขา เมื่อเป็นเช่นนั้นนักปฏิบัติที่สักแต่รับรู้สภาวะธรรมการเห็น ซึ่งเป็นสภาวะธรรมทางจิตของตน ไม่รับรู้อารมณ์ภายนอกที่กำลังประสบอยู่ จัดว่าเป็นบุคคลที่ประพฤติตนคล้ายกับเป็นคนตาบอดนั่นเอง
แท้ที่จริงแล้ว การเจริญสติปัฏฐานโดยสักแต่เห็นอารมณ์ที่กำลังประสบอยู่ ไม่รับรู้รูปพรรณสัณฐานของอารมณ์ที่กำลังประสบอยู่นี้ มิใช่เป็นความเห็นของท่านพระมหากัจจายนะเถระ ถึงแม้พระพุทธองค์ก็ตรัสสอนให้พุทธบริษัททั้งหลาย สักแต่เห็นในอารมณ์ที่กำลังประสบอยู่ โดยตรัสว่า ทิฏฺเฐ ทิฏฺฐมตฺตํ ภวิสฺสติ เมื่อเห็นอยู่ จะสักแต่เห็นเท่านั้น โดยไม่รับรู้รูปพรรณสัณฐานของสิ่งที่เห็นแต่อย่างใด การสักแต่เห็นนั้น หมายถึง เป็นการไม่รับรู้อารมณ์ที่กำลังเห็นอยู่ คือโดยปรกติแล้ว เวลาที่เราได้พบเห็นอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะรับรู้ว่าสิ่งที่เห็นนั้นคือบุรุษ สิ่งที่เห็นนั้นคือสตรี สิ่งที่เห็นนั้นมีสัณฐานเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวสูงหรือตัวต่ำ ผิวขาวหรือผิวดำ มีรูปร่างสัณฐาน ที่แตกต่างกันออกไป แต่การสักแต่เห็นนี้ หมายถึง เป็นการรับรู้สภาวะธรรมการเห็น โดยไม่รับรู้ว่าสิ่งที่เห็นนั้นคืออะไร หมายถึงไม่รับรู้ว่าสิ่งที่กำลังพบอยู่นั้นคือบุรุษ คือสตรี มีสัณฐานสูงหรือต่ำ มีผิวขาวหรือผิวคล้ำ ไม่รับรู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร เห็นแต่เป็นเพียงสัณฐานสั้นยาว ขาวหรือดำเท่านั้น
การเจริญสติปัฏฐาน โดยสักแต่รับรู้อารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ เป็นต้นว่า สักแต่เห็น สักแต่ได้ยิน เป็นต้นนั้น ในเบื้องแรกของการปฏิบัติธรรม จัดว่าเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ยากยิ่ง เพราะจิตของเรามีความเคยชินอยู่กับการรับรู้อารมณ์ภายนอก เมื่อเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็จะจดจ่อที่รูปพรรณสัณฐานของสิ่งเหล่านั้น อย่างไรก็ตามเมื่อนักปฏิบัติได้เจริญสติปัฏฐานสักระยะหนึ่งแล้ว สติมีความต่อเนื่อง สมาธิมีความแน่วแน่อยู่ที่อารมณ์กรรมฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักปฏิบัติที่มีสมาธิกับการเดินจงกรม ขณะที่เดินจงกรม ๓ ระยะ กำหนดว่า ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ขณะที่นักปฏิบัติสามารถจดจ่อรับรู้อาการเคลื่อนไหวของเท้า ได้อย่างต่อเนื่องและละเอียดนั้น อาจจะมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งเดินผ่านมา และนักปฏิบัติก็อาจจะพบเห็นบุคคลนั้น และเมื่อกำหนดว่าเห็นหนอ เห็นหนอ สักแต่เห็นแล้ว นักปฏิบัตินั้นจะไม่รับรู้ว่า บุคคลที่เดินผ่านมานั้นคือใคร คือไม่รับรู้ว่าบุคคลผู้นั้นเป็นบุรุษ หรือว่าเป็นสตรี รับรู้ว่าเป็นเพียงบุคคลคนหนึ่ง เป็นรูปพรรณสัณฐานอย่างหนึ่ง ซึ่งเดินผ่านมาเท่านั้นเอง แต่ไม่สามารถรับรู้ถึงบุคคลเหล่านั้น ไม่รับรู้เพศ หรือไม่รับรู้ว่าบุคคลเหล่านั้นบุคคลนั้นคือใครอย่างชัดเจน ทั้งนี้เพราะว่าจิตของนักปฏิบัติท่านนั้น ได้จดจ่ออยู่ที่สภาวะธรรมการเห็นโดยสักแต่เห็นเท่านั้น
เมื่อนักปฏิบัติได้เกิดสมาธิ ในระหว่างปฏิบัติพอสมควร เวลาเห็นก็สักแต่เห็น โดยไม่รับรู้ถึงรูปพรรณสัณ-ฐานของสิ่งที่เห็น เวลาได้ยินก็สักแต่ได้ยิน ไม่รับรู้ความหมายของสิ่งที่ได้ยิน เวลารู้กลิ่น ลิ้มรส รู้สัมผัส หรือนึกคิดเรื่องราวต่างๆ ก็รับรู้อาการสักแต่รู้กลิ่น สักแต่ลิ้มรส สักแต่รู้สัมผัส และอาการฟุ้ง อาการนึกคิดเรื่องราวต่างๆ โดยไม่รับรู้ถึงกลิ่นว่าเป็นกลิ่นอะไร ไม่รับรู้รสชาติ ไม่รับรู้ถึงสิ่งที่สัมผัส และไม่รับรู้ถึงเรื่องราวที่นึกคิดอยู่ เมื่อเป็นเช่นนั้นจิตของนักปฏิบัติดังกล่าว ก็จะมีสมาธิแน่วแน่อยู่ที่อารมณ์กรรมฐาน นักปฏิบัติดังกล่าวจะประสบความก้าวหน้าในการปฏิบัติได้อย่างรวดเร็ว เมื่อมีสมาธิตั้งมั่นแล้ว ก็จะเกิดวิปัสสนาญาณที่หยั่งรู้สภาวะธรรมตามความเป็นจริง ในที่สุดก็จะบรรลุถึงความสุข กล่าวคือ มรรค ผล นิพพาน ซึ่งเป็นความสุขที่สูงสุดในพระพุทธศาสนา
อาตมาได้อธิบายความหมายขององค์คุณนักปฏิบัติข้อที่ ๑ คือ แม้จะมีดวงตาก็พึงทำตัวคล้ายกับเป็นคนตาบอด ต่อมาอาตมาจะอธิบายองค์คุณของนักปฏิบัติประการที่สอง ที่พระมหากัจจายนะได้กล่าวไว้ องค์คุณประการที่สองนั้นคือ โสตวา พธิโร ยถา แม้จะมีหูก็พึงทำตัวคล้ายกับคนหูหนวก หมายความว่าถึงแม้ว่าจะมีโสตประสาทที่สามารถได้ยินเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ก็พึงทำตัวคล้ายกับเป็นคนที่หูหนวก โดยไม่รับรู้ถึงเสียงที่ได้ยินนั้น โดยปรกติแล้ว เวลาที่เราได้ยินเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง จิตของเราจะไปจดจ่ออยู่ที่เสียงที่ได้ยิน ว่าเสียงนี้เป็นเสียงอะไร เป็นเสียงรถ เป็นเสียงคนพูดกัน เป็นเสียงของผู้ชาย หรือว่าเป็นเสียงของผู้หญิง ในขณะที่จิตของนักปฏิบัติได้ไปรับรู้ถึงเสียงดังกล่าวนี้ จัดว่าขาดสติที่รู้เท่าทันปัจจุบันอารมณ์ เพราะอารมณ์กรรมฐานคือ กายกับจิตภายในร่างกายที่กว้างศอก ยาววา หนาคืบนี้เท่านั้น ในขณะนั้นนักปฏิบัติขาดสติระลึกรู้ถึงสภาวะธรรมการได้ยินที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ เพราะจิตของเรารับอารมณ์เพียงอารมณ์เดียว เมื่อขาดสติที่รับรู้สภาวะธรรมการได้ยินแต่ไปรับรู้ ไปจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ได้ยิน จัดว่าในขณะนั้นขาดสติชั่วคราว และสติที่ขาดการระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์ในขณะนั้น ก็ประกอบด้วยความฟุ้งซ่านอยู่เสมอ เนื่องจากนักปฏิบัติไม่มีสติอยู่แล้ว ด้วยเหตุดังกล่าว พระมหากัจจายนะเถระ จึงได้สอนให้นักปฏิบัติ ไม่พึงรับรู้อารมณ์ภายนอกในขณะได้ยินเสียง พึงทำตัวคล้ายกับเป็นคนหูหนวก ถึงแม้จะมีหูก็ตามแต่ไม่รับรู้เสียงที่ได้ยินซึ่งเป็นอารมณ์ภายนอก พึงจดจ่อตามรู้ที่สภาวะธรรมการได้ยิน ซึ่งเป็นอารมณ์ภายในของตนเท่านั้น
การที่นักปฏิบัติได้ประพฤติตนให้เหมือนกับเป็นคนหูหนวกนั้น คือไม่รับรู้ถึงเสียงที่กำลังได้ยินอยู่ ไม่ว่าเสียงนั้นจะเป็นเสียงรถ เสียงนก หรือเสียงกา เสียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม ไม่พึงรับรู้ต่อเสียงที่กำลังได้ยิน สักแต่กำหนดรู้ถึงสภาวะธรรมการได้ยินที่กำลังเกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้นนักปฏิบัติจึงไม่จำเป็นต้องนำสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาอุดที่หูของตนเอง แต่การประพฤติตนให้เหมือนคนหูหนวกนั้น เป็นการกำหนดรู้สภาวะธรรมการได้ยิน โดยให้หยุดอยู่สักแต่ที่สภาวะธรรมการได้ยินเพียงอย่างเดียว ท่านสาธุชนทั้งหลาย สาเหตุที่เราสามารถได้ยินเสียงนั้น มีอยู่ ๔ ประการด้วยกัน ประการแรกคือ โสตประสาท หรือหูของเรานั่นเอง ประการที่สองคือ เสียงที่พุ่งมากระทบกับโสตประสาท ประการที่สามคือ อากาศหรือช่องว่าง ประการที่สี่คือ มนสิการ หรือการตั้งจิตจดจ่ออยู่ที่เสียงนั้น ขณะที่นักปฏิบัติได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่ จดจ่ออยู่ที่อารมณ์กรรมฐานอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นอาการเคลื่อนไหวของท้องก็ตาม อาการยก อาการย่าง อาการเหยียบของเท้าก็ตาม เมื่อเป็นเช่นนั้น ถึงแม้ว่าจะได้ยินเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม แต่เมื่อนักปฏิบัติได้มีสมาธิมากขึ้นแล้วจะขาดมนสิการคือ ความสนใจจดจ่อต่อเสียงที่ได้ยิน แต่จะสามารถกำหนดรู้เท่าทันถึงสภาวะธรรมการได้ยินได้ โดยกำหนดว่า ได้ยินหนอ ได้ยินหนอ เมื่อเป็นเช่นนั้นถึงแม้ว่าจะมีโสตประสาท ถึงแม้ว่าจะมีเสียงที่มากระทบกับโสตประสาท ถึงแม้ว่าจะมีอากาศหรือช่องว่าง แต่มนสิการของนักปฏิบัตินั้น ไม่ใช่มนสิการที่จดจ่ออยู่ที่เสียง แต่จดจ่ออยู่ที่สภาวะธรรมการได้ยิน เมื่อเป็นเช่นนั้น นักปฏิบัติดังกล่าวก็จะสามารถรับรู้ถึงสภาวะธรรมการได้ยิน โดยสักแต่ได้ยินได้ ไม่รับรู้ว่าสิ่งที่ได้ยินนั้นเป็นเสียงอะไร เป็นเสียงรถ เป็นเสียงนก เป็นเสียงกา หรือเป็นเสียงคนพูดกัน เมื่อนักปฏิบัติประกอบด้วยองค์คุณประการที่สอง คือ ประพฤติตนให้เหมือนกับเป็นคนหูหนวก ไม่รับรู้ถึงเสียงที่ได้ยินอยู่ สักแต่รับรู้ถึงสภาวะธรรมการได้ยินเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น สติของนักปฏิบัตินั้นก็จะมีความต่อเนื่อง สมาธิจะแน่วแน่อยู่ที่อารมณ์กรรมฐาน แล้วจะเกิดวิปัสสนาญาณที่หยั่งรู้สภาวะธรรมตามความเป็นจริง และวิปัสสนาญาณดังกล่าวก็จะแก่กล้าขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด ก็จะบรรลุถึง มรรค ผล นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายในพระพุทธศาสนาได้
อาตมาได้อธิบายความ องค์คุณของนักปฏิบัติข้อที่สอง คือการทำตนให้เหมือนกับเป็นคนหูหนวกแล้ว ต่อไปองค์คุณของนักปฏิบัติประการที่สามคือ ปญฺญวาสฺส ยถา มูโค นักปฏิบัติแม้จะมีปัญญา มีความรู้ความเข้าใจก็ตาม ก็พึงทำตัวเหมือนกับคนใบ้ หมายความว่า ถึงแม้จะมีความรู้ความเข้าใจในการอธิบายธรรมให้กับผู้อื่น ให้เกิดความเข้าใจได้ก็ตาม แต่ในระหว่างที่ปฏิบัติธรรมอยู่นี้ก็ไม่ควรจะพูด ไม่ควรจะออกเสียงออกมา เพราะในขณะที่พูดออกมา นักปฏิบัติจะขาดสติที่กำหนดรู้ปัจจุบันอารมณ์อยู่ เพราะฉะนั้นถึงแม้จะมีปัญญา ก็พึงทำตัวให้เหมือนกับเป็นคนใบ้ โดยพยายามพูดให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ท่านสาธุชนทั้งหลาย การสนทนาในระหว่างปฏิบัติธรรมนั้น จัดว่าเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างยิ่งกับการปฏิบัติธรรม เนื่องจากว่าขณะที่พูดคุยสนทนาอยู่ จิตของบุคคลที่พูดนั้นจะรับอารมณ์คือสมมติบัญญัติ ได้แก่เรื่องที่กำลังพูดอยู่ บุคคลนั้นจะขาดสติระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์ของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นสภาวะธรรมทางกายหรือสภาวะธรรมทางจิตก็ตาม ก็จะขาดสติระลึกรู้สภาวะธรรมเหล่านั้น ผู้ที่พูดคุยโดยใช้ระยะเวลาเพียง ๕ นาที จัดว่าเสียสมาธิ ขาดสติเป็นระยะถึง ๑๐ นาที ทั้งนี้เพราะว่าก่อนที่จะพูดก็ต้องคิดก่อนว่าจะพูดเรื่องอะไร ดังนั้นพระมหากัจ-จายนะเถระจึงได้สอนให้นักปฏิบัติ พยายามทำตัวให้เหมือนกับคนใบ้ โดยที่ถึงแม้ว่าจะมีปัญญา มีความรู้ มีความเข้าใจ สามารถอธิบายให้ผู้อื่นฟังได้ก็ตาม แต่เพื่อที่จะรักษาสติให้ต่อเนื่องกับการปฏิบัติธรรม จึงควรทำตนให้เหมือนกับคนใบ้ โดยไม่พยายามพูดในระหว่างปฏิบัติธรรมนี้
การสนทนากันในระหว่างปฏิบัติธรรมนี้ จัดว่าเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งสำหรับบุคคลที่พูดกันเอง ไม่ว่าจะเป็นผู้พูดก็ตาม ผู้ฟังก็ตาม หรือบุคคลรอบข้างก็ตาม จะทำให้บุคคลทั้งสามฝ่ายขาดสติที่ต่อเนื่องในการปฏิบัติธรรม และหลังจากพูดแล้วก็จะนำข้อความนั้น กลับมาคิดฟุ้งซ่านในภายหลังอีกครั้งหนึ่ง เพราะฉะนั้น พระมหากัจจายนะเถระจึงได้แนะนำให้นักปฏิบัติพยายามทำตนให้เหมือนกับคนใบ้ โดยจะพูดก็ต่อเมื่อเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด สำคัญที่สุดเท่านั้น ถ้าหากว่าไม่จำเป็นไม่สำคัญ ก็พยายามรักษาความเงียบความสงบไว้ เพื่อการปฏิบัติให้มีสติต่อเนื่อง หลังจากนั้นก็จะเกิดสมาธิและปัญญาต่อมา การที่พระมหากัจจายนะเถระได้อธิบายความว่า นักปฏิบัติพึงประพฤติตนให้เหมือนกับเป็นคนใบ้นี้ ก็คล้อยตามพุทธประสงค์ของพระพุทธองค์ด้วย อาตมาได้อธิบายความหมายขององค์คุณของนักปฏิบัติข้อที่สาม คือ แม้จะมีปัญญาก็พึงทำตนให้เหมือนกับคนใบ้ องค์คุณของนักปฏิบัติประการที่สี่ที่พระมหากัจจายนะเถระได้กล่าวไว้ คือ พลวา ทุพฺพโลริว แม้จะมีกำลังก็พึงทำตนคล้ายกับคนที่ไม่มีกำลัง หมายความว่า ถึงแม้นักปฏิบัติจะมีสุขภาพดีก็ตาม ก็พึงประพฤติตนคล้ายกับคนที่ไม่มีกำลัง คือพึงเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเชื่องช้า และพยายามตามกำหนดรู้อาการเคลื่อนไหวนั้น เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเชื่องช้า จะทำให้นักปฏิบัติได้สามารถตามรู้อาการเคลื่อนไหวดังกล่าวได้โดยละเอียด
ท่านสาธุชนทั้งหลาย บุคคลที่มีพละกำลังนั้น มักจะเคลื่อนไหวร่างกายด้วยความรวดเร็ว ไม่ว่าจะลุกขึ้นก็ตาม ไม่ว่าจะย่อกายลงก็ตาม ไม่ว่าจะยื่นมือออกไปก็ตาม ไม่ว่าจะหดมือเข้ามาก็ตาม ไม่ว่าจะเหยียดแขนก็ตาม หรือไม่ว่าจะคู้แขนก็ตาม บุคคลที่มีกำลังนั้น จะพยายามเคลื่อนไหวร่างกายอย่างรวดเร็ว แต่การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างรวดเร็วของบุคคลที่มีกำลัง จะก่อให้เกิดโทษอย่างหนึ่ง คือ นักปฏิบัตินั้นจะไม่สามารถตามรู้อาการเคลื่อนไหวนั้นโดยละเอียดได้ เพราะฉะนั้น เพื่อให้ตามรู้อาการเคลื่อนไหวต่างๆ โดยละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการลุกขึ้น การย่อกายลง การเหยียด การคู้ การยื่น หรือการจับ เป็นต้น นักปฏิบัติพึงพยายามเคลื่อนไหวให้ช้าที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ พยายามทำตนให้เหมือนกับเป็นคนไม่มีกำลัง คนป่วยหนัก เพราะฉะนั้น พระมหากัจจายนะเถระจึงสอนองค์คุณประการที่สี่ว่า แม้จะมีกำลังก็พึงทำตนให้เหมือนกับคนไร้กำลัง เมื่อสติของนักปฏิบัติสามารถตามรู้อาการเคลื่อนไหวได้โดยละเอียดแล้ว ก็จะก่อให้เกิดสมาธิและก่อให้เกิดวิปัสสนาปัญญาที่รู้แจ้งสภาวะธรรมตามความเป็นจริงต่อมา และหลังจากนั้น ก็จะสามารถประสบความก้าวหน้า บรรลุถึง มรรค ผล นิพพาน ต่อมาได้
ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนี้ อารมณ์ที่นักปฏิบัติพึงกำหนดรู้มีอยู่ ๒ อย่าง คือ กายกับจิตของเรานั่นเอง กายกับจิตซึ่งเกิดขึ้นภายในร่างกายที่กว้างศอก ยาววา หนาคืบนี้ เป็นอารมณ์ของการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ส่วนอารมณ์ภายนอกร่างกายทั้งหมด ไม่ใช่อารมณ์ของการปฏิบัติธรรม นอกจากนั้นแล้ว กายกับจิตซึ่งกำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันขณะเท่านั้น จึงจัดว่าเป็นอารมณ์ของการเจริญสติปัฏฐาน ทั้งนี้เพราะกายกับจิตที่ดับไปแล้ว เราไม่สามารถที่จะรับรู้ถึงสภาวะธรรมที่แท้จริงของอารมณ์ที่ดับไปแล้วได้ แม้ว่าอารมณ์ที่ดับไปนั้น จะดับไปเป็นระยะเวลาครู่เดียว เพียง ๑ วินาทีเท่านั้น แต่นักปฏิบัติก็ไม่สามารถที่จะรับรู้ ถึงอาการซึ่งดับไปแล้วนั้นได้ เพราะฉะนั้นกายกับจิตที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันขณะ จึงจัดว่าเป็นอารมณ์ของการปฏิบัติธรรม เป็นอารมณ์ที่นักปฏิบัติพึงกำหนดรู้เท่าทันอยู่เสมอ นักปฏิบัติที่พยายามกำหนดรู้เท่าทันปัจจุบันอารมณ์ โดยพยายามเคลื่อนไหวร่างกาย อย่างเชื่องช้า ก็จะสามารถตามรู้เท่าทันปัจจุบันอารมณ์ หมายถึงเป็นอาการเคลื่อนไหวซึ่งกำลังเกิดขึ้นจากระยะหนึ่งๆ ไปสู่ระยะหนึ่งๆ ได้อย่างละเอียดและชัดเจน เมื่อเป็นเช่นนั้น นักปฏิบัติที่สามารถตามรู้เท่าทันอารมณ์เหล่านั้น ที่กำลังเกิดอยู่ได้อย่างละเอียดและชัดเจน ก็จะสามารถประสบความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม หมายถึงจะเกิดสมาธิที่ต่อเนื่อง จะเกิดสติที่ต่อเนื่อง มีสมาธิที่แน่วแน่อยู่ที่อารมณ์กรรมฐาน และเกิดวิปัสสนาญาณที่หยั่งรู้อารมณ์เหล่านั้น ตามความเป็นจริงต่อมา ในชีวิตประจำวันของเรานั้น เราต้องประกอบภาระกิจต่างๆ ในเรื่องของโลกีย์วิสัย ซึ่งความประพฤติต่างๆ ในโลกีย์วิสัย ในชีวิตที่ครองเรือนอยู่นี้ จัดว่าตรงกันข้ามกับการปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง ในระหว่างที่ปฏิบัติธรรมอยู่ การกำหนดรู้ หรืออาการเคลื่อนไหวต่างๆ จะตรงกันข้ามกับความเคยชินในชีวิตประจำวันที่เราได้เคยชิน ชินอยู่ในด้านโลกีย์วิสัยนั้น
การที่การปฏิบัติธรรมซึ่งเป็นโลกุตตระวิสัย มีความแตกต่างจากโลกีย์วิสัยในชีวิตประจำวัน ก็เนื่องจากในโลกีย์วิสัยนั้น เราจะต้องมีทัศนวิสัยที่กว้างไกลในการประกอบธุรกิจการงานต่างๆ ในการแสวงหาเงิน ในการแสวงหาทรัพย์สินเพื่อเลี้ยงครอบครัว บุคคลนั้นจะต้องมีทัศนวิสัยที่กว้างไกล จะต้องรู้จักใคร่ครวญคำนึงถึงอนาคต ใคร่ครวญถึงเหตุผล ถึงผลได้ผลเสีย ซึ่งจะติดตามมาต่อไป แต่สำหรับในโลกุตตระวิสัย ซึ่งเป็นเรื่องของการปฏิบัติธรรมนั้น แตกต่างจากโลกีย์วิสัยตรงกันข้ามทีเดียว เพราะในขณะนี้นักปฏิบัติพึงทำตนเหมือนกับทารกแรกเกิด ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต มีแต่ปัจจุบันเท่านั้น แม้ว่าจะมีดวงตาก็พึงทำตนคล้ายกับเป็นคนตาบอด ไม่รับรู้ถึงอารมณ์ภายนอกแต่อย่างใด
ในเรื่องของโลกีย์วิสัย ซึ่งเป็นเรื่องของการดำเนินธุรกิจการงานต่างๆ บุคคลที่ดำเนินธุรกิจอยู่ จะต้องมีโสตประสาทที่กว้างไกลกว่าบุคคลธรรมดา จะต้องได้ยินข่าว หรือสืบข่าวให้กว้างกว่าบุคคลอื่น แต่สำหรับในโลกุตตระวิสัยเป็นเรื่องของการปฏิบัติธรรมนั้น นักปฏิบัติพึงทำตัวเหมือนกับเป็นคนหูหนวกนั่นเอง ไม่รับรู้ถึงเสียง ไม่รับรู้ถึงเสียงที่ได้ยินว่าเป็นเสียงนก เสียงกา เสียงบุรุษ เสียงสตรี สักแต่รับรู้ถึงสภาวะธรรมการได้ยิน เมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะประสบความก้าวหน้าในการปฏิบัติได้อย่างรวดเร็ว ในโลกีย์วิสัยที่ประกอบธุรกิจการงานอยู่ บุคคลที่มีปัญญา มีความรู้มีความเฉลียวฉลาด ก็จะต้องใช้คำพูดของตน ให้เป็นประโยชน์กับการดำเนินธุรกิจการงาน แต่ในเรื่องของการปฏิบัติธรรมซึ่งเป็นโลกุตตระวิสัยนั้น เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับโลกีย์วิสัยโดยสิ้นเชิง คือนักปฏิบัติถึงแม้จะมีปัญญา มีความรู้ความเข้าใจก็ตาม ก็พึงประพฤติตนให้เหมือนกับเป็นคนใบ้ โดยไม่พูดคุยแต่อย่างใด เมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะประสบความก้าวหน้าในการปฏิบัติได้
นอกจากนั้นแล้ว ในโลกีย์วิสัยที่ประกอบธุรกิจการงานอยู่ จะต้องมีความว่องไว จะต้องใช้พละกำลังในการประกอบธุรกิจการงานของตน จึงจะประสบความก้าวหน้าได้ แต่สำหรับในโลกุตตระวิสัยซึ่งเป็นการปฏิบัติธรรมนั้น เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกัน เพราะนักปฏิบัติถึงแม้จะมีกำลังก็ตาม ก็พึงประพฤติตนให้เหมือนกับคนที่ไม่มีกำลัง ให้เหมือนคนอ่อนแอที่ไร้กำลัง พยายามเคลื่อนไหวอย่างเชื่องช้า จะทำให้ตามรู้อาการเคลื่อนไหวอย่างชัดเจน และโดยละเอียดได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นนักปฏิบัติดังกล่าว ก็จะสามารถประสบความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม จนในที่สุดสามารถบรรลุผลการปฏิบัติ คือ มรรค ผล นิพพาน ในพระพุทธศาสนาได้ ในวันนี้อาตมาภาพเห็นว่าสมควรแก่เวลาแล้ว ขอให้ท่านสาธุชนทั้งหลายปฏิบัติตามองค์คุณของนักปฏิบัติ ๔ ประการ ตามที่พระมหากัจจายนะเถระได้แนะนำไว้ และสามารถบรรลุถึงจุดมุ่งหมายในพระพุทธศาสนา คือ การบรรลุถึง มรรค ผล นิพพาน ตามสมควรแก่การตั้งใจ และบารมีธรรมของตนด้วยเทอญ ขอเจริญพร
*****************************
เปรียบเทียบ สมถะกรรมฐานกับวิปัสสนากรรมฐาน
ต่อไปนี้จะได้ปารภธรรม ตามหลักคำสอนในทางพุทธศาสนา อันเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติกรรมฐาน คำว่ากรรมฐานก็หมายถึงที่ตั้งของการกระทำ หรือว่าการกระทำที่เดินทางจิตใจ ซึ่งรวมแล้วก็มี ๒ อย่างด้วยกันคือ ๑. สมถกรรมฐาน ๒. วิปัสสนากรรมฐาน ฉะนั้นถ้าหากว่า เรียกคำว่ากรรมฐาน ก็หมายถึงรวมความหมายถึงสมถะและวิปัสสนาได้ทั้ง ๒ อย่าง แต่ถ้าหากว่าจะบอกเจาะจงลงไปอย่างใดอย่างหนึ่งก็ต้องเรียกให้ชัดลงไปว่า เจริญสมถกรรมฐาน หรือเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าบอกเพียงว่าปฏิบัติกรรมฐาน ความหมายก็จะคลุมไปทั้งหมด สมถะและวิปัสสนา
การเจริญสมถะ ก็คือการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงซึ่งความสงบ วิปปัสสนานั้นปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงซึ่งปัญญา ความสงบนั้นคนละอย่างกันแต่ก็เป็นธรรมชาติเป็นของจริงเหมือนกัน ความสงบก็เป็นลักษณะที่จิตมีสมาธิเข้าถึงความสงบ คือจิตนั้นตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว นิ่งแนบแน่นอยู่ในอารมณ์เดียว ก็เป็นสมาธิ เป็นความสงบ การทำความเจริญทางจิตให้เข้าถึงซึ่งสมาธิ โดยเฉพาะสมาธิก็มีระดับสูงขึ้นอัปปนาสมาธิ สมาธิมี ๓ ระดับคือ
๑. ขณิกสมาธิ ความสงบเล็กน้อย๒. อุปจารสมาธิ เป็นความสงบที่เฉียดองค์ฌาน๓. อัปปนาสมาธิ ก็เป็นความสงบที่แนบแน่นในอารมณ์เรียกว่าเข้าถึงฌานได้ฌาน
ขณะที่ฌานเกิดนั้นจิตจะต้องเป็นอัปปนาสมาธิลักษณะของอัปปนาสมาธิก็คือนิ่งอยู่ในอารมณ์เดียว จะไม่ไหวไปรับรู้อารมณ์อื่น จิตมีอารมณ์เป็นบัญญัตินิมิต มีนิมิตเป็นอารมณ์อยู่ ก็อยู่อย่างนั้นตลอดเวลา ไม่สามารถจะคิดนึกไปอย่างอื่น หรือว่าไปรับเสียง รับสี รับรส รับสัมผัส ไม่รับ เรียกว่าดับความรู้สึกทางประสาททั้ง ๕ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ไม่รับรู้เลย แม้ทางใจก็รู้เฉพาะอารมณ์เดียว คือนิมิตกรรมฐานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีการจะไปคิดไปนึกไปรับเรื่องราวต่าง ๆ นี่ก็เป็นผลของการเจริญสมถะ
การเจริญสมถกรรมฐานนั้นมีผลคือความสงบ คือสมาธิให้เข้าถึงซึ่งฌานจิต ได้ฌานในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ เรียกว่า ปฐฌาน ทุติยฌาน จตุถฌาน ปัญจมฌาน ฌานก็จะมีองค์ฌานอยู่ ๕ คือมีวิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา วิตกหมายถึงยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ในขณะที่ได้ฌานนั้นก็คือสู่อารมณ์ที่เป็นนิมิตอยู่ วิจารก็เคล้าคลึงไปในอารมณ์ ปิติก็อิ่มในอารมณ์ สุขก็สบาย เอกัคคตา ก็ตั้งมั่นในอารมณ์ ผู้ที่ได้เข้าถึง ปฐมฌานนั้นจะต้องมีองค์ฌานเกิดขึ้นในจิต ซึ่งก็เป็นอาการในจิตมันเองหรือว่าเป็นเจตสิกต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่รวมกันอยู่ เรียกว่าตั้งมั่นในอารมณ์เดียว พอฌานที่ ๒ ก็เหลือเพียงวิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา ไม่มีวิตก พอฌานที่ ๓ ก็ไม่มีวิจารมีแต่ปิติ สุข เอกัคคตา พอฌานที่ ๔ ก็ไม่มีปิติ มีแต่สุขกับเอกัคคตา พอฌานที่ ๕ ก็องค์ฌาน ๒ เหมือนกันแต่เปลี่ยนจากสุขเป็นอุเบกขา คือความวางเฉย ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว สุดยอดของการเจริญรูปฌานได้แค่นั้น ได้แค่อุเบกขา เอกัคคตา ได้แค่ปัญจมฌาน
ถ้าจะทำต่อขึ้นไปก็จะเป็นอรูปฌาน อารมณ์นั้นก็จะเพิกไปจากนิมิต จากกสิณจากอารมณ์ที่เพ่งอยู่นั้น เป็น อากาสานัญจายตนฌาน อรูปฌานที่ ๑ เพ่งอากาศว่างจากกสิณนั้นเป็นอารมณ์ เรียกว่ามีกสิณุคาติมากาสบัญญัติ เป็นอารมณ์ พอขึ้นอรูปฌานที่ ๒ ก็จะเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ก็เพ่งนัตถิกภาวบัญญัติเป็นอารมณ์ พอขึ้รอรูปฌานที่ ๒ ก็เป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ก็หันมาเอาอากาสานัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ พอขึ้นอรูปฌานที่ ๓ ก็คือ อากิญจัญญายตนฌาน ก็เพ่ง นัตถิกภาวบัญญัติ เป็นอารมณ์คือความไม่มีอะไร ความว่างเปล่าความไม่มีอะไรซึ่งเป็นบัญญัติชนิดหนึ่งเหมือนกัน ตรงนี้บางครั้งผุ้ที่ปฏิบัติถึงระดับนี้บางทีหลงไปว่าเป็นพระนิพพานแล้วได้ยินได้ฟังว่านิพพานเป็นลักษณะที่ดับที่ว่างจากตัวตน พอไปรับนัตถิกภาวบัญญัติความไม่มีอะไรทั้งหมดก็เลยนึกว่านี่คือถึงนิพพานแล้ว แต่ความจริงยังเป็นบัญญัติชนิดหนึ่งความไม่มีอะไร พออรูปฌานที่ ๔ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ก็กลับมาเพ่งอากิญจัญญายตนฌานเป็นอารมณ์ ก็สุดยอดได้แค่นั้น เรียกว่าได้ฌานสมาบัติ ๙ นับจากปัญจกนัย ถ้านับโดยจตุกกนัยก็เรียกว่า ฌานสมาบัติ ๘ จตุกกนัยก็หมายถึงว่านับรูปฌานแค่ ๔ คือคนที่ได้ถึงฌานที่ ๔ ก็จะมีอุเบกขากับเอกัคคตานั้นก็หมายถึงว่าการปฏิบัติของแต่ละท่านนั้นมีสติปัญญาต่างกัน บางคนปัญญาน้อยก็จะละองค์ฌานไปทีละอย่าง แต่แรกได้ปฐมฌานก็มีวิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา พอขึ้นฌานที่ ๒ ก็ละวิตกเหลือองค์ฌาน ๔ แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญาก็จะละทีเดียว ๒ ขึ้นฌานที่ ๒ ละวิตกวิจารไปเลยพอฌานที่ ๒ เหลือ ปิติ สุข เอกัคคตา ฌานที่ ๓ ก็เหลือสุข เอกัคคตา พอฌานที่ ๔ ก็เหลืออุเบกขา เอกัคคตา อันนี้สำหรับผู้มีปัญญามาก เพราะฉะนั้นอย่างนี้ผู้ที่มีปัญญามากก็ละทีละ ๒ เรียกว่า จตุตถฌานก็เหลืออุเบกขา เอกัคคตา นี่นับโดยจตุกกนัย ถ้าปัญจกนัยก็ละทีละอย่างเป็นรูปฌาน ๕ เป็นปัญจฌาน ฉะนั้นสมาบัติ ๘ นี่นับโดยจตุกกนัยผู้มีปัญญามาก ถ้าฌานสมาบัติ ๙ ก็เรียกว่าผู้มีปัญญาน้อยละไปทีละอย่าง อย่างนี้คือผลของการเจริญสมถะฌานต่าง ๆ ส่วนอีกอย่างเรียกว่าอภิญญา อภิญญาก็เป็นความรู้พิเศษ นี้ก็เกิดจากสมถกรรมฐาน
อภิญญาจริง ๆ นั้นมี ๖ อย่าง แต่เกิดจากการเจริญสมถะ ๕ อย่าง เกิดจากวิปัสสนาอย่างหนึ่งคือ๑. อิทธิวิธี ได้แก่การแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหริย์ต่าง ๆ เช่น เนรมิตคนให้เป็นหลายคน แปลงกาย เหาะเหินเดินอากาศ เดินบนน้ำ แทรกลงไปในดิน อะไรต่าง ๆ นี่ก็เป็น อิทธิวิธี
๒. ทิพพจักษุคือตาทิพย์ที่สามารถจะเห็นสิ่งลี้ลับที่ไกลที่มีอะไรปกปิดไว้
๓. ทิพพโสต หูทิพย์ ฟังเสียงไกล เสียงทิพย์
๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณระลึกชาติได้
๕. ปรจิตวิชานนอภิญญา รูวาระจิตของผู้อื่นได้
อันนี้เป็นอภิญญาเกิดจากการเจริญสมถกรรมฐาน คือคนที่ได้ฌาน พอถึงปัญจมาฌาน ถ้าอดีตเคยเจริญฌานมาก่อน เคยมีอภิญญามาก่อน พอได้ถึงปัญจมฌานแล้วก็อภิญญาจะเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจจะหลายอย่างตามวาสนาบารมีที่ตัวเองสะสมเหตุปัจจัยนั้น ๆ ไว้ ถ้าหากคนไม่เคยมาก่อนหรือว่าเคยแต่ว่ามันห่างไกลภพชาติหนึ่ง ยาวนานมาแล้วก็จะไม่เกิดอภิญญา ได้แต่ฌาน ถ้าจะให้เกิดก็ต้องมาฝึกใหม่คือต้องทำอรูปฌานได้ด้วย ได้ฌานสมาบัติ ๘ หรือฌานสมาบัติ ๙ มาฝึกเข้าฌานออกฌานให้เป็นผู้ชำนาญ ได้วสี เมื่อมีความชำนาญแล้วอภิญญาก็เกิดขึ้นได้ ฉะนั้นฌานก็ดี อภิญญาก็ดีนี้เกิดจากการเจริญสมถกรรมฐาน
ส่วนอภิญญาข้อที่ ๖ อาสวักขยญาณ คือญาณที่ตัดกิเลสละกิเลสได้ อันนี้ต้องเกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนา เหมือนพระพุทธเจ้าที่คืนวันตรัสรู้ปฐมฌานพระพุทธองค์ก็บบรลุปุพเพนิวาสานุสติ รู้อดีตชาติ แล้วก็จุตูปปาตญาณ รู้การเกิดการตายของสัตว์ทั้งหลาย แล้วก็ปัจฉิมญาณก็เกิดอาสวักขยญาณ ตรงนี้เป็นผลของการเจริญวิปัสสนา ตอนแรกนั้นยังเป็นสมถะ ได้ปุพเพนิวาสานุสติญาณหรือว่าจุตูปปาตญาณ ตอนนั้นยังเป็นผลของการเจริญสมถะ พอในปัจฉิมญาณนี้ก็เจริญวิปัสสนาแล้วก็เกิดอาสวักขยญาณตัดกิเลสได้
ฉะนั้นการเจริญสมถกรรมฐานได้ฌานได้อภิญญา แต่ถ้าพูดถึงการประหารกิเลสแล้วการเจริญสมถะนั้นได้วิกขัมภนปหาน คือการข่มกิเลสไว้ได้นาน ๆ การประหารกิเลสนั้นมีอยู่ ๓ อย่างได้แก่ ตทังคปหาน คือ การประหารได้เป็นขณะ ๆ เช่น พอเกิดโทสะ สติระลึกรู้ เอ้าโทสะหายไป ก็ละได้ขณะหนึ่ง เดี๋ยวเกิดขึ้นอีกแล้ว โทสะเกิดขึ้นได้อีก ความโลภเกิดขึ้นมีสติรู้ เอ้า ความโลภละออกไป เผลอก็เกิดโลภะขึ้นอีก อย่างนี้ก็เป็นการละเป็นขณะ ๆ แต่ถ้าได้ฌานนี่กิเลสถูกข่มไว้หม้ เช่น นิวรณ์นี่ กามฉันทนิวรณ์ ความกำหนัดยินดีในกาม พยาบาทนิวรณ์ ความพยาบาทปองร้ายก็ดี อุทธัจจกุกกุจจะ ฟุ้งซ่านรำคาญใจก็ดี ถีนมิทธะ ง่วงเหงาหาวนอนท้อถอยเซื่องซึมเหล่านี้ก็ดี วิจิกิจฉา ความสงสัยก็ดี เป็นนิวรณ์เป็นเครื่องกั้นความดีอยู่นี้ เมื่อบุคคลได้ฌานแล้วนิวรณ์เหล่านี้จะถูกข่มไปหมด คนที่ได้สมาธิได้ฌานนี้จึงไม่มีจิตใจที่จะเลื่อนไหลไปในทางกาม ไม่ฟุ้งซ่านรำคาญใจไม่พยาบาทอาฆาตใคร ไม่ง่วงเหงาหาวนอน ไม่สงสัย ถูกระงับไปหมด แต่ถ้าฌานเสื่อมสมาธิ นิวรณ์เหล่านี้ก็เกิดขึ้นได้อีก เพราะว่าวิกขัมภนปหานมันเป็นเพียงข่มกิเลสไว้ไม่ได้ตัดขาด เหมือนหินทับหญ้า หญ้าไม่ตายเมื่อเอาหินออกหญ้าก็งอกขึ้นอีก
การประหารกิเลสอีกอย่างเรียกว่า สมุจเฉทปหาน หมายถึงการตัดกิเลสได้โดยเด็ดขาด อันนี้ต้องเกิดจากการเจริญวิปัสสนาที่ประสบความสำเร็จถึงขั้นโลกุตรธรรมเกิดขึ้น ก็จะประหารกิเลสโดยเด็ดขาด กิเลสอันใดที่ละได้ กิเลสอันนั้นก็จะไม่กลับมาเกิดขึ้นในจิตใจได้อีกตลอดชาติ ตลอดทุกชาติไป ไม่เกิดมาอีก หรือว่าชาตินี้สำเร็จเป็นโสดาบัน ตัดความสงสัยออกไปได้ ตัดโลภะที่ประกอบด้วยความเห็นผิดไปได้ ตายจากชาตินี้ยังต้องเกิดอีก โสดาบันก็ยังต้องเกิด เกิดใหม่แล้วกิเลสที่กล่าวนั้นก็ไม่กลับมาเกิดขึ้นอีก ขาดไปแล้วขาดไปเลย ไม่เหมือนการเจริญสมถะ การเจริญสมถะข่มกิเลสไว้ได้ ได้ฌานอยู่นี่เมื่อตายก็ไปเกิดเป็นพรหม ขณะที่เกิดเป็นพรหมนั้นจะไม่มีโทสะ จะไม่มีกามราคะตลอดชีวิตของการเป็นพรหมไม่มีเลย ความโกรธไม่มี ความกำหนัดยินดีในกามก็ไม่มี แต่หมดอายุขัยของความเป็นพรหม มาเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา พรหมนี้จะไม่ลงอบายในระยะที่ตายจากพรหม ก็จะเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา พอเกิดเป็นมนุษย์เทวดากิเลสก็เกิดขึ้นได้อีก กิเลสเกิดขึ้นทำบาปทำกรรมก็ลงนรกลงอบายได้เหมือนกัน ตัดกิเลสไม่ได้ขาด
การเจริญวิปัสสนานั้นเมื่อทำถึงขั้นโลกุตระแล้วกิเลสจะขาดลงแต่ขณะที่ยังไม่ถึงโลกุตระขณะที่ยังเป็นวิปัสสนาญาณอยู่ ก็จะละเป็นตทังคปหานเป็นขณะ ๆ ไป มีสติรู้ทันกิเลสก็ถูกละไปขณะหนึ่ง เผลอสติอ้าว กิเลสเกิดขึ้นอีก เพราะฉะนั้นเจริญวิปัสสนาที่ใช้ขณิกสมาธิคือสมาธิสงบเล็กน้อย นิวรณ์ย่อมเกิดขึ้นได้ ความงาวงเหงาหาวนอน ความท้อถอย ความกำหนัดยินดี ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ความพยาบาทเกิดขึ้นได้ในจิตใจของโยคาวจรคือผู้ที่เจริญวิปัสสนาอยู่ ที่ไม่ได้ฌาน แบบว่าทำวิปัสสนาไปเป็นขณิกสมาธิ เพราะฉะนั้น นิวรณ์หรือกิเลสต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นได้ ก็เจริญสติระลึกรู้ไป กิเลสอันใดเกิดก็รู้ไป ก็ละไปขณะหนึ่ง เผลอสติก็เกิดขึ้นก็รู้ทัน เหมือนการเดินทาง คนเจริญวิปัสสนาก็เหมือนเดินทางไปกลางแดดไม่มีที่พัก มันก็ร้อนหน่อย คนเจริญสมถะก็เหมือนกับว่าเดินทางไปมีศาลาพักร้อนหลบร้อนเย็นสบาย แต่ถ้าไม่เดินต่อไปก็ไม่ถึงเป้าหมายที่หมายเหมือนกัน จะติดอยู่ที่ศาลาพักร้อนชมนกชมไม้ชมแม่น้ำลำธาร เหมือนคนที่เจริญสมถะพอได้สมาธิก็ติดสมาธิ ติดในความสุขติดในความสงบ ก็หยุดแค่นั้นไม่ได้ปัญญาได้แต่ความสงบ
ฉะนั้นถ้าจะเจริญสมถะก่อนก็อย่าหยุดยั้งแค่ความสงบเท่านั้น ก็ต้องต่อให้ขึ้นสู่วิปัสสนาหรือคนจะเจริญวิปัสสนาไปเลยไม่ต้องไปหันทำฌานก่อนก็ได้เหมือนกัน แต่ก็ย่อมมีนิวรณ์รบกวนอยู่ แต่ก็ต้องมีความฉลาดคือเมื่อเกิดกิเลสเกิดนิวรณ์อันใด ก็เอานิวรณ์หรือเอากิเลสนั้นน่ะเป็นกรรมฐาน คือเป็นที่ตั้งของสติ เอาสติกำหนดรู้ เกิดโลภะ โทสะ โมหะ ก็เอาโลภะ โทสะ โมหะ เป็นกรรมฐาน กรรมฐานก็คือที่ตั้งของสติ ก็กลายเป็นประโยชน์ได้ กิเลสก็กลายเป็นประโยชน์ได้ การเจริญวิปัสสนานั้นก็จะต้องระลึกที่ปรมัตถ์ ระลึกที่ปรมัตถธรรม ปรมัตถ์ก็หมายถึงสิ่งที่เป็นจริง มีจริง เป็นของจริง ส่วนการเจริญสมถะนั้นก็เพ่งบัญญัติ บัญญัติก็คือสมมุติ สิ่งที่ตกลงที่ต้องนึกคิดปรุงแต่งขึ้น บัญญัติก็มีทั้งอัตถบัญญัติและศัพท์บัญญัติหรือนามบัญญัติ อัตถบัญญัติก็คือรูปร่างสัณฐานและความหมาย รูปร่างสัณฐานที่เห็นเป็นท่อนแขนท่อนขา รูปร่างสัณฐานของกาย รูปร่างสัณฐานของวัตถุ สิ่งของเหล่านี้คือบัญญัติ อารมณ์ได้แต่เป็นบัญญัติ อารมณ์เป็นสมมุติ ส่วนความหมายเช่นว่ามันเข้าไป มันออกมา มันยาวมันสั้น มันใหญ่มันเล็ก มันดีมันชั่ว นี้เป็นความหมายก็เป็นบัญญัติ เป็นบัญญัติอารมณ์
ขณะที่ระลึกอยู่นั้นก็ไม่เพ่งเล็งไม่จดจ้องบังคับ ให้มีความปล่อยวางอยู่ในตัวเรียกว่า ไม่ให้มีอภิชฌาและโทมนัส อภิชฌามันจะทำให้เกิดความเพ่งเล็ง เกิดความยึดอารมณ์นั้น พอระลึกอารมณ์มันก็ยึดอารมณ์นั้น มันไม่ปล่อยวาง กลัวจะไม่ได้ กลัวจะไม่ทัน กลัวจะไม่เห็น กลัวจะไม่สงบ ก็ไปควบคุมเพ่งเล็ง มันก็กลายเป็นไม่ปรกติ เครื่องมือคือสติสัมปชัญญะนั้นไม่บริสุทธิ์มีอภิชฌาเข้ามาครอบงำ เป็นเครื่องมือที่ไม่ละเอียดไม่แยบคาย ไม่แยบคายไม่ละเอียดมันก็รับรู้ปรมัตถ์ที่ละเอียดไม่ได้ ปรมัตถธรรมคือ รูป นาม ที่ละเอียด ที่มันละเอียดลึกซึ้ง เกิดดับละเอียดต่าง ๆ เครื่องมือที่ไปจับคือสติสัมปชัญญะนั้นจะต้องละเอียดด้วย จะต้องนุ่มนวล จะต้องมีความเป็นปรกติ นั่นก็คือต้องไม่มีอภิชฌาและโทมนัสเข้าไป สติระลึกรู้อารมณ์อันใดก็อย่าไปเพ่งเล็งยึดติด แล้วก็ไม่มีโทมนัสคือ การปฏิเสธยินดี ยินร้าย ผลักดัน ไม่ต้องการอะไรอย่างนี้ ให้มีสติระลึกรู้อย่างปรกติไม่ยินดี ยินร้าย ไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบผลักดัน หรือจะเอาให้ได้อะไรอย่างนั้น รู้อย่างปรกติ คือการรู้ปล่อยวางอยู่อย่างปรกติ รับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ที่เป็นปรมัตถ์ รู้เย็นร้อน อ่อนแข็ง หย่อนตึง รู้ความนึกคิด รู้ความรู้สึก ไม่ไปสึความหมาย ไม่ไปสู่ชื่อ ภาษา ประคับประคองอยู่อย่างนี้
ผู้ปฏิบัติในฐานะที่ยังฝึก มันก็จะไหลไป เพลินไป เดี๋ยวก็ไปสู่บัญญัติไปสู่เรื่องบ้าง ไปสู่ความหมาย เดี๋ยวก็ปรุงแต่งเป็นเรื่องเป็นราวในจิต มันคอยจะมีเรื่องความคิดมีการปรุงแต่ง นี่ต้องรู้ทัน มันจะมีภาษา คอยจะมีภาษาเรียกพูดอยู่ในใจ มันเกิดการปรุงแต่ง ก็คอยประคับประคองเข้าไปสู่จุดที่มันหยุดการปรุงแต่ง ที่มันดับความปรุงแต่งสัญญาไปสู่บัญญัติความหมาย ชื่อ ภาษา รูปร่างสัณฐาน ไปสู่ความรู้สึก ฉะนั้นเมื่อสติสัมปชัญญะรู้อยู่กับปรมัตถ์ สิ่งที่เป็นสมมุติทั้งหลายในโลกนี้มันก็ไม่ปรากฏในจิตในขณะนั้น ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่มีแล้ว เพราะยืน เดิน นั่ง นอน นั้นเป็นความหมายเป็นบัญญัติ มันไม่มีความหมาย ฉะนั้นผู้ปฏิบัติก็ต้องรู้จุดของความจริงหรือจุดของปรมัตถ์ ปฏิบัติไปไม่ใช่ว่าเคยชินอยู่กับร่างกาย รูปร่างสัณฐานพอรู้สึกว่า อ้าว มันจะหายไปก็กลัวบ้าง ตกใจบ้าง ค้นหา พยายามมาสู่รูปร่าง มันก็มาสู่โลกและสมมุติบัญญัติ ก็ไม่ก้าวหน้า ไม่ไปไกล จะต้องรู้ว่าเมื่อปฏิบัติไปแล้ว ถ้าสติสัมผัสปรมัตถ์ลึกซึ้งลงไป รูปร่างสัณฐานจะต้องหายไป ก็ไม่ต้องไปกลัวไม่ต้องตกใจ รับรู้อยู่กับความรู้สึกไว้ รู้ความรู้สึก ความรู้สึกที่กาย ความรู้สึกที่จิตใจมันไม่บอกแล้วตอนนั้นว่า นั่นยืน เดิน นั่ง นอน ทิศเหนือทิศใต้ สถานที่นั่งเป็นอะไรยังไง ไม่มีแล้วไม่นึกถึงแล้ว รู้อยู่ภายในสิ่งที่ปรากฏภายในแล้ว มันบอกไม่ได้ว่าอะไร ตรงไหน อย่างไร ที่จะเป็นสถานที่เป็นคนเป็นสัตว์ เพราะปรมัตถ์มันเป็นธรรมชาติที่ต่างออกไปจากบัญญัติความเป็นสัตว์เป็นบุคคลตัวตนเราเขา
เมื่อสติสัมผัสอยู่อย่างนั้นก็จะเห็นความจริง ตอนแรกก็เห็นความจริงว่า อ้อ เป็นธรรมชาติ ธรรมชาติมีจริง ธรรมชาติเหล่านี้ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา แล้วก็เห็นธรรมชาติต่อไปว่าธรรมชาติเหล่านี้มีความเปลี่ยนแปลง มีความเกิดดับอยู่ ปรากฏแล้วก็หมดไป ปรากฏแล้วหมดไป ปรากฏแล้วหมดไป ก็เห็นความจริงว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เที่ยง สิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์ สิ่งเหล่านี้เป็นอัตตา ไม่เที่ยงก็หมายถึงว่าแปรไป มีแล้วก็แปรไป ปรากฏแล้วแปรไป เป็นทุกข์ก็หมายถึงว่ามันทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ อนัตตาคือการบังคับบัญชาไม่ได้ ก็เพราะว่าธรรมชาติเหล่านี้บังคับไม่ได้ ความเป็นตัวตนจึงไม่มีมีแต่ธรรมชาติที่ปรากฏหมดสิ้นไป อย่างนี้เรียกว่าวิปัสสนาญาณได้เกิดขึ้น วิปัสสนาญาณนั้นไม่ใช่เห็นอย่างอื่น คือเห็นความจริง เห็นรูป เห็นนามเกิดดับอยู่ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างนี้เรียกว่าเข้ามาสู่เส้นทางที่ถูกต้องซึ่งจะต้องวางสติสัมปชัญญะ ประคับประคองได้ส่วนได้ถูกต้องอารมณ์ที่กำหนดที่ถูกต้อง วางจิตสติสัมปชัญญะได้พอเหมาะพอดี ก็สามารถจะรับสัมผัสรู้ปรมัตถ์ รูป นาม ที่ปรากฏแม้จะละเอียด เกิดดับ ยิบยับ ทั้งกายทั้งในจิต ไวรวดเร็วแค่ไหน สติสัมปชัญญะมันก็จะมีความคมเข้าไปจับรับรู้ได้ เขาเรียกว่าเห็นความจริง ฉะนั้นถ้าหากว่าชีวิตคนใดเกิดมาได้เข้าไปเห็นสภาวธรรมดังที่กล่าวนี้ ชีวิตก็ประเสริฐ เกิดมา ๑๐๐ ปีไม่ได้เห็นอย่างนี้สู้คนเกิดอยู่ได้วันเดียวและเห็น อย่างนี้ไม่ได้ เพราะว่าเหมือนขึ้นมาสู่ถนนที่ไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ ที่กล่าวมานี้ไม่ใช่ว่าจะตัดกิเลสได้เด็ดขาดนะ ยังเป็นโลกียะ เป็นการละกิเลสเป็นขณะ ๆ แต่ว่าเข้ามาสู่ร่องรอยของความถูกต้อง ก็ประคับประคองอยู่ในจุดอย่างนี้ไป ระลึกรู้ด้วยความปรกติ มีอารมณ์เป็รรูป นาม เรื่อย ๆ ๆ ไป ความละเอียดแยบคายมันก็จะมากขึ้น
ผู้ปฏิบัตินั้นไม่ใช่ว่ามันจะเดินหน้ารุดไปได้ราบรื่น ก็ล้มลุกคลุกคลานแม้ว่าจะจับจุดสภาวะที่ถูกต้องได้ แต่บางขณะก็วางสติสัมปชัญญะไม่ได้ส่วนไม่ปรกติ เอียงซ้ายเอียงขวา ดันหน้าถอยหลัง มันไม่พอดี มันก็ไปอย่างอื่นหมด ก็ไม่เห็นสภาวะธรรม หรือว่าบางทีมันก็ตกไปสู่บัญญัติได้สมาธิ ได้ความสงบนิ่ง หรือบางทีก็ อ้าว เผลอเรอล่องลอย บางทีก็ อ้าว กำหนดไปก็เคร่งเครียดไป ตึงไป กำหนดไป ไปบังคับไปจ้องไปเกร็ง เกร็งประสาท บางทีปล่อยวางไป อ้าว เผลอเรอล่องลอยไม่รู้เท่าทัน มันไม่ได้พอดี มันจึงต้องฝึกกันเรื่อย ๆ ฝึกให้ติดต่อกันให้ชำนาญ ถ้าทำได้จุดที่ถูกต้องแล้วก็รู้จุด ก็พยายามประคับประคองเข้าไปสู่จุดนั้น หรือว่าทำนั้นจะต้องไม่มีความอยาก ต้องระมัดระวังอย่าให้ทำด้วยความอยาก
ผู้ที่เข้าปฏิบัตินี่บางทีปฏิบัติไปด้วยความอยาก อยากอะไร อยากจะสำเร็จ อยากจะสงบ อยากจะให้เห็น อยากจะทำให้อย่างนั้นอย่างนี้ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญที่ขัดขวางการปฏิบัติไม่ไประสบความสำเร็จ หรือว่าทำให้เกิดอันตราย ทำให้เกิดวิปริตได้หลายอย่าง ตัวความอยากตัวตัณหานี่ ถ้าเราทำด้วยความจะเอาให้ได้ด้วยความอยาก บางทีเราก็ไปเร่ง เร่งทำ ไปเพ่งเล็ง ไปกดข่มเคร่งเครียด ร่างกายตึงเครียด พอตึงเครียดหนัก ๆ ก็ปวดศรีษะเกร็งประสาท หรือบางที อ้าว ความอยากเพ่งเล็งไปเล็งมาเกิดมีสมาธิก็จริง มันก็เกิดนิมิตขึ้นมา เห็นนิมิตขึ้นมาแล้วก็หลงใหลนิมิตเหล่านั้นอยากจะได้ บางทีก็ปฏิบัติอยากจะให้ได้คุณวิเศษ อยากจะให้ได้ตาทิพย์ หูทิพย์ อยากจะเห็นโน่นเห็นนี่ อยากจะได้วิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ พอจิตมันมีสมาธิหน่อย มันปรุงทำให้เห็นภาพโน้นภาพนี้ ทำให้นิมิตมาหลอนตัวเอง ก็สำคัญมั่นหมายว่าตัวเองวิเศษแล้วตัวเองเก่งแล้ว นี่คืออันตรายของผู้ปฏิบัติ ฉะนั้นต้องนึกว่าการปฏิบัตินั้นจะต้องไม่มีความอยากเข้ามาปฏิบัติ วิปัสสนาผลก็คือวิมุตติความหลุดพ้น ความหลุดพ้นนั่นมันไม่ใช่เอาอะไรนะ ความหลุดพ้นมันเป็นความปล่อยวาง มันจึงคลายจากความยึดมั่นถือมั่นแล้วแต่ ไอ้ตัวตัณหานั่นมันตัวจะเอา ทำแล้วจะเอาให้ได้มันเป็นกิเลส การปฏิบัติจึงไม่ใช่เจริญสติสัมปชัญญะ ไม่ใช่เจริญกุศลแต่เราไปเจริญอกุศล ทำด้วยความอยาก
จริงอยู่ทุกคนก็คงมีความปรารถนาเพื่อความพ้นทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น เราเห็นทุกข์เห็นโทษเห็นภัยในวัฏสงสารแห่งการเวียนว่ายตายเกิด ปัญหาชีวิตต่าง ๆ ทุกข์ในร่างกายที่มีโรคภัยเบียดเบียนสังขารร่างกาย เบื่อหน่ายมองเห็นว่าการปฏิบัติเท่านั้น การเข้าถึงซึ่งมรรคผลนิพพานเท่านั้นที่จะพ้นทุกข์ได้ มีความปรารถนาอยู่อย่างนี้ก็จริง แต่เวลาที่ปฏิบัติอยู่นั้นเราจะมาปรารถนาอยู่อย่างนี้ไม่ได้ จะมาอยากอยู่อย่างนี้ไม่ได้ เราจะต้องวางจิตใจไม่มีความรู้สึกอยากได้อยากดีอยากอะไรทั้งหมด แต่นั่นน่ะคือการเดินทางไปสู่เป้าหมาย แต่ถ้าเราทำด้วยความอยากแล้วมันเดินถอยหลัง มันเดินไปคนละทาง การไปสู่ความหลุดพ้นนั้นก็คือการละความอยากได้นั่นเอง ละตัณหา ตัณหาเป็นเหตุแห่งทุกข์ เพราะฉะนั้นขณะที่ปฏิบัติไปจะต้องสอดคล้องกับผล ผลคือพระนิพพานนั้นเป็นตัวหลุดพ้นจากเครื่องร้อยรัดคือ กิเลสโดยเฉพาะตัณหา การปฏิบัติเจริญโลกียปัญญาไปเจริญวิปัสสนาไป ก็จะต้องสะสมแนวทางที่ถูกต้องสอดคล้องกับผล คือจะต้องฝึกหัดการละ การคลายความอยากมาตั้งแต่ต้น ปฏิบัตินี่ให้มันมีความปล่อยวาง ไอ้ตัวที่ปล่อยวางก็คือตัวที่มันไม่ยึดไม่อยากไม่ติดในอารมณ์ เพ่งรู้อารมณ์อันใดก็ปล่อยอารมณ์นั้นได้ เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติก็จะต้องพิจารณาสังเกตวางแนวทางจิตใจตนเองให้ถูกต้องในขณะที่ปฏิบัติไป
บางครั้งปฏิบัติไปแล้วก็มักจะอยากได้ความสงบ ไอ้ตัวที่อยากได้ความสงบนั้นมันเป็นกิเลสแล้ว เป็นตัณหาแล้ว ทำไปแล้วก็อยากสงบ อยากจะสงบ อยากสงบ พอมันไม่สงบขึ้นมาก็ฟุ้ง รำคาญ โกรธแค้น เบื่อหน่ายท้อถอย จิตใจก็สับสนวุ่นวาย พานเลิกไม่เอาเลิกปฏิบัติ นั่นก็เพราะว่ามาจากความอยาก ฉะนั้นปฏิบัตินั้นจะต้องไม่อยาก ไม่ต้องไปอยากสงบหรือไม่สงบอะไรทั้งหมด วางจิตใจให้มีหน้าที่เพียงรู้ในจิตใจ ใจมันจะดีจะชั่ว มันจะมีกิเลสไม่มีกิเลสก็รู้ ไม่ปฏิเสธไม่ยินดียินร้าย พระพุทธเจ้าจึงตรัสในสติปัฏฐานตอนท้ายทุกข้อว่า “กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกให้พินาศ” อภิชฌาคือ ความเพ่งเล็ง อยากได้ ยึด ในอารมณ์ โทมนัสก็คือ ยินร้ายปฏิเสธไม่ต้องการ ผลักไส ในอารมณ์ โลกก็คืออารมณ์ โลกในที่นี้ก็คืออารมณ์กรรมฐานนั่นน่ะ ขณะที่ระลึกรู้อารมณ์อันใดจะต้องเป็นกลางไม่ยินดียินร้ายในอารมณ์นั้น มันเห็นได้ง่าย ๆ เห็นประจักษ์ได้เลยว่า ถ้าปฏิบัติไม่มีความอยาก ปล่อยวางได้ ความวงบก็เกิดขึ้นเอง ความสงบนี่มันเกิดขึ้นตรงนั้นแน่ะ คือหยุดความอยากได้ ปล่อยวางได้ ความสงบก็เกิดขึ้น แต่ไม่ใช่สงบนิ่งดับดิ่งนะ มันเป็นความสงบพอสมควรที่เกิดร่วมกับสติ ขณะที่สติระลึกรู้อารมณ์อันใดแล้ว มันก็ไม่ยึดติดกับอารมณ์นั้น มันวางได้ มันปล่อยได้ ความสงบก็เกิดขึ้นในขณะนั้น ทีนี้ก็ทดลองดูได้ เพียงทำจิตใจนิ่ง ๆ ปล่อยวาง รู้นิ่ง ๆ ไม่ได้เพ่งเล็งจะเอาอย่างนั้นอย่างนี้ มันก็สงบได้ จะรู้สึกว่าจิตใจเริ่มมีความสงบตั้งมั่นในอารมณ์ตามสมควรแล้ว ฉะนั้นจิตใจที่รู้สึกกระวนกระวายเร่าร้อนนั้นน่ะ ลองทำจิตให้หยุดรู้ หยุดรู้สภาวะนั้นอย่างไม่ยินดียินร้ายด้วย มีความปล่อยอยู่ อาการเหล่านั้นก็จะคลาย ปรกติได้
อันนี้ก็เป็นการแสดงให้เปรียบเทียบการเจริญสมถะและการเจริญวิปัสสนา ให้เห็นว่ามีความต่างกันอย่างไร เราก็ต้องรู้ว่าเราเจริญอะไร เราเจริญสมถะหรือเราเจริญวิปัสสนา เราจะเจริญสมถะก็ต้องเพ่ง เพ่งจ้องไปในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ซึ่งอารมณ์ของสมถะก็มีให้เลือกมากมาย จะเพ่งดิน น้ำ ลม ไฟ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว อันเป็นกสิณต่าง ๆ ก็ได้ หรือจะเพ่งลมหายใจก็ได้ เพ่งถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณก็ได้ แต่ว่าสมาธิจะไม่แนบแน่นถึงอัปนาสมาธิ ได้แค่อุปจารสมาธิ นึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ถึงศีล ถึงคุณของเทวดา อย่างนี้สมาธิก็ถึงอุปจารสมาธิได้ หรือจะเพ่งซากศพ เพ่งผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก อะไรก็ได้ หรือจะเจริญเมตตา แผ่เมตตา แผ่กรุณา มุทิตา อุเบกขา สรุปแล้วก็คือว่า เอาอารมณ์อันใดก็ตามขึ้นมาเอาไว้เพ่งนึกถึงพระพุทธรูปไว้เพ่งให้จิตอยู่ในอารมณ์นั้น ก็เป็นสมถะให้จิตเข้าสู่ความสงบได้
เราจะทำสมถะก่อนให้ได้ความสงบจึงมาต่อวิปัสสนาก็ได้ แต่เวลาต่อวิปัสสนามันก็ต้องเปลี่ยนอารมณ์ เช่น คนเจริญอานาปานสติกำหนดลมหายใจเข้าออก เกิดนิมิตเป็นดวงแก้วเป็นสายรุ้ง เหมือนปุยยนุ่น โพรงจมูกผลุบเข้าผลุบออก เพ่งนิมิตเหล่านั้นจนได้สมาธิได้ฌานดับความรู้สึกทางประสาททั้ง ๕ เมื่อเจริญวิปัสสนาก็จะระลึกอารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์ ขณะที่สมาธิคลายตัวลงก็เปลี่ยนอารมณ์จากการเพ่งนิมิตกลับมาเพ่งปรมัตถ์ คือเพ่งองค์ฌาน ระลึกที่องค์ฌาน ระลึกที่จิต เพราะนั่นก็หมายถึงว่ากลับมารู้ที่จิตขณะที่เกิดความสงบ เกิดปิติ เกิดความสุข มารู้ที่จิต รู้อาการในจิต เปลี่ยนจากนิมิตมาดูในจิต นี่เรียกว่ากลับมารู้ปรมัตถ์ ถ้ามันถูกต้องตรงตัวก็เห็นองค์ธรรมในจิต อาการในจิต หรือว่าองค์ฌานนั้นมีความเกิดดับ แสดงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันก็เป็นวิปัสสนาได้
ทีนี้ถ้าหากว่าจะเจริญวิปัสสนาไปโดยตรงก็อย่าไปเพ่งบัญญัติและอย่าไปจ้องเพ่งในอารมณ์เดียว ให้มีความเป็นปรกติในการจะรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ มีความปล่อยวางในอารมณ์ต่าง ๆ พิจารณา สังเกตความเปลี่ยนแปลงความเกิดดับ ให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในสภาวะธรรมเหล่านั้น ก็สามารถที่จะเห็นธรรมรู้ธรรมเข้าถึงซึ่งโลกุตรธรรม มรรคผล นิพพาน ได้เช่นเดียวกัน ตามที่ได้แสดงมาก็เห็นว่าพอสมควรแก่เวลาก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ที่สุดนี้ขอความสุขความเจริญในธรรมจงมีแก่ทุกท่านเทอญ
**********************************************คำแนะนำในการสอบอารมณ์
มีผู้ปฏิบัติธรรมจำนวนมาก ที่ได้ฟังคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีเจริญกรรมฐานมาพอสมควรแล้ว แต่ไม่สามารถปฏิบัติตามวิธีการดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์ และไม่สามารถรายงานประสบการณ์มในการปฏิบัติธรรมต่อพระวิปัสสนาอาจารย์ได้อย่างถูกต้อง ผู้ปฏิบัติธรรมบางท่านปฏิบัติได้ดี แต่ไม่สามรถรายงานวิธีการกำหนดของตนและประสบการณ์ที่ตนเองได้รับ บทบรรยายต่อไปนี้ จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถรายงานผลการปฏิบัติของตนอย่างถูกต้อง
ข้อควรจำในการสอบอารมณ์ประการแรกได้แก่ ๑. ผู้ปฏิบัติธรรมกำหนดอารมณ์หลักอย่างไร ?
๒. เมื่อกำหนดแล้วเกิดความระลึกรู้อะไร ?
อารมณ์หลักที่จิตควรตามระลึกรู้ตามที่เป็นจริง ก็คือสภาวะอาการพองยุบของท้อง ในขณะที่ผู้ปฏิบัติหายใจเข้าและออก อาการพองยุบของท้องนี้เป็นอารมณ์หลักในการเจริญกรรมฐาน เมื่อไม่มีอารมณ์อื่นที่เด่นชัดกว่า ผู้ปฏิบัติควรตามระลึกรู้ความรู้สึกขณะท้องพองและยุบ ถ้ามีอารมณ์อื่นแทรกเข้ามา เมื่อไปกำหนดอารมณ์นั้นจนดับหายไปแล้ว ก็ควรกลับมาระลึกรู้สภาวะอาการพองยุบต่อไป ผู้ปฏิบัติควรจะสามารถบอกได้ว่า ผู้ปฏิบัติตามระลึกรู้ความรู้สึกขณะที่ท้องพองตั้งแต่ต้นจนสุดได้อย่างไร เมื่อผู้ปฏิบัติหายใจเข้าอยู่นั้นท้องจะเริ่มพองขึ้นค่อนข้างจะรวดเร็ว และคงพองขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะที่ผู้ปฏิบัติยังคงหายใจเข้า และเมื่อผู้ปฏิบัติหยุดหายใจเข้า อาการพองก็จะสิ้นสุดลงด้วย ในขณะที่กำหนดสภาวะการพองของท้อง ผู้ปฏิบัติควรตามระลึกรู้สภาวะการพองของท้องทั้งหมดไปจนตลอดสาย พระคัมภีร์ย้ำว่า การระลึกรู้ในลักษณะนี้ ควรจะนำมาใช้เป็นหลักของการปฏิบัติ (สัพพกายปฏิสังเวที) คำกล่าวนี้ หมายถึงผู้ปฏิบัติควรจะกำหนดรู้สภาวะทางกายทั้งหมดขณะที่ท้องพองขึ้น นับแต่จุดเริ่มต้น ตอนกลาง และสิ้นสุดอย่างต่อเนื่องเท่าที่จะเป็นไปได้ (กล่าวคือโดยไม่ขาดตอน) จิตที่กำหนดรู้นั้นควรจะจดจ่อ และตามระลึกรู้พร้อมไปกับการเคลื่อนไหวของท้องที่พองขึ้นอย่างแนบแน่นทั้งสามช่วง กล่าวคือ ช่วงต้น กลาง และส้นสุด จริงอยู่ ผู้ปฏิบัติใหม่ย่อมไม่สามารถจะตามกำหนดสภาวะได้หมดทั้ง สามช่วง แต่ก็ควรพยายามเพื่อที่จะทำให้ได้ การที่ผู้ปฏิบัติถูกเคี่ยวเข็ญให้พากเพียรเช่นนี้ ก็ด้วยเกรงว่าผู้ปฏิบัติจะผ่านการอบรมกรรมฐานไปอย่างไม่ใส่ใจนัก แล้วพบว่าตนเองได้ค่อยได้รับประโยชน์เท่าที่ควร เมื่อเสร็จสิ้นการอบรมแล้ว และเพื่อให้แน่ใจได้ว่าผู้ปฏิบัติมีสมาธิจดจ่อเพียงพอในการกำหนดอารมณ์ ผู้ปฏิบัติควรที่จะสามารถรายงานได้ว่าสามารถกำหนดอารมณ์ได้โดยมีสมาธิเพียงพอหรือไม่ อารมณ์ที่เกิดขึ้นและจิตที่กำหนดรู้นั้นพร้อมเพียงกันเพียงใด และผู้ปฏิบัติสามารถระลึกรู้สภาวะ(พองยุบ) ได้ตลอดสายหรือไม่ หากสามารถกำหนดได้อย่างถูกต้องแล้ว ผู้ปฏิบัติประสบกับสภาวะอะไร ทั้งนี้มิได้หมายความว่าผู้ปฏิบัติควรจะใส่ใจและสามารถบรรยายอารมณ์อื่นๆ(ที่ไม่เกี่ยวข้อง) แต่ผู้ปฏิบัติควรจะสามารถรายงานถึงลักษณะของอารมณ์หลักที่กำหนดจดจ่ออยู่ได้อย่างชัดเจน และควรจะรายงานได้ด้วยว่า จริงๆแล้วการพองของท้องที่ผู้ปฏิบัติรู้สึกได้นั้นมีสภาพเป็นอย่างไร
การเจริญกรรมฐานในแนวทางนี้ มีสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นและกำเนินไปอยู่ ๒ ประการ คือ ๑. การเฝ้าสังเกตหรือตามรู้สภาวะอารมณ์ที่กำลังเกิดขึ้น
๒. สภาวะการระลึกรู้ที่เป็นผลจาการเฝ้าสังเกตหรือตามรู้นั้น
ผู้ปฏิบัติจะสามารถเล่าว่าอะไรคือสิ่งที่ผู้ปฏิบัติได้เห็น หรือประสบมา ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการทั้งสองนี้แล้วเท่านั้น ในกรณีของการกำหนดอารมณ์หลัก ผู้ปฏิบัติต้องสามารถบอกได้ว่า ความระลึกรู้ที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นพร้อมๆกันกับอารมณ์ที่กำหนดคือสภาวะการพองของท้องไปอย่างต่อเนื่องหรือไม่ หากกระบวนการทั้งสองเกิดขึ้นพร้อมๆกัน ผู้ปฏิบัติเห็นอะไร (หรือระลึกรู้อะไร) ผู้ปฏิบัติรู้สึกถึงรูปพรรณสัณฐานของท้อง หรือลักษณะของอาการพองนั้น หรือรับรู้อาการตึง และเคลื่อนไหวในขณะที่ท้องพองขึ้น
ในขณะที่ท้องพองขึ้นนั้น มีลักษณะทางกายที่ปรากฏอยู่ ๓ อย่าง คือ ๑. รูปร่างหรือสัณฐานของท้อง
๒. ลักษณะอาการเคลื่อนไหวของท้อง
๓. ลักษณะปรมัตถหรือสภาวะลักษณะของท้อง
สัณฐานหรือรูปร่างนั้น หมายถึงรูปทรงหรือรูปร่างของท้องที่ผู้ปฏิบัติกำหนดอยู่ ร่างกายทั้งตัวของผู้ปฏิบัตินับเป็นลักษณะแห่งรูปร่างหรือสัณฐาน เนื่องจากท้องเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย ท้องจึงเป็นลักษณะที่เป็นสัณฐานหรือรูปร่างของการพองด้วย ส่วนลักษณะที่เป็นอาการของท้องนั้น หมายถึงลักษณะของท้องขณะใดขณะหนึ่ง เช่น ท้องมีลักษณะราบเรียบ พอง หรือยุบ พระคัมภีร์เรียกลักษณะเหล่านี้ว่า อาการะ อีกตัวอย่างหนึ่งของอาการะ ก็คือลักษณะฝ่ามือที่หุบเข้าเป็นกำหมัด หรือคลายออกเป็นฝ่ามือที่แบอยู่ และอีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่อิริยาบถต่างๆของร่างกาย ได้แก่อาการนั่ง ยืน เดิน หรือนอน หากผู้ปฏิบัติเฝ้าดูท้องอย่างตั้งอกตั้งใจ ในระหว่างการปฏิบัติกรรมฐาน ผู้ปฏิบัติก็จะเห็น (หรือระลึกรู้) รูปร่างสัณฐาน หรือไม่ก็อาการของท้อง ก่อนที่จะสามารถเห็นลักษณะที่รู้สึกได้จริง หรือสภาวะปรมัตถของท้อง อย่างไรก็ตาม การเห็นรูปร่างและอาการนี้ยังไม่นับว่าเป็นวิปัสสนา ผู้ปฏิบัติต่องก้าวล่วงสัญฐานและอาาการไปสู่การระลึกรู้ลัษณะที่แท้จริงหรือสภาวปรมัตถของท้องเช่น ความตึง ความหย่อน และความเคลื่อนไหวที่รู้สึกได้ในขณะที่ท้องพองขึ้นหรือยุบลง หากผู้ปฏิบัติเพียรกำหนดอย่างจดจ่อก็จะสามารถเห็น สภาวะลักษณะหรือลักษณะปรมัตถเหล่านี้ได้ และผู้ปฏิบัติต้องสามารถรายงานลักษณะเหล่านี้ได้ในระหว่างการสอบอารมณ์ อย่างไรก็ตามผู้ปฏิบัติจะต้องเล่าเฉพาะสิ่งที่ตนเองได้ประสบมาจริงๆเท่านั้น มิใช่คิดนึกเอาเองว่าได้เห็นอะไร การรายงานจะต้องอยู่บนพื้นฐานของวิปัสสนาญาณที่เกิดขึ้นจริงๆเท่านั้น และในทำนองเดียวกัน ผู้ปฏิบัติควรจะสามารถเฝ้าสังเกต ระลึกรู้ และรายงานได้ว่า เมื่อหายใจออกและท้องยุบลงเรื่อยๆ ผู้ปฏิบัติสามารถกำหนด และเห็นอะไร
*********************************๓๗. อากาสานัญจายตนะ ถือ อากาศเป็นอารมณ์ จนวงอากาศเกิดเป็นนิมิตย่อใหญ่เล็กได้ ทรงจิตรักษาอากาศไว้ กำหนดใจว่าอากาศหาที่สุดมิได้ จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์
๓๘. วิญญาณัญจายตนะ กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ ทิ้งอากาศและรูปทั้งหมด ต้องการจิตเท่านั้น จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์
๓๙. อากิญจัญญายตนะ กำหนดความไม่มีอะไรเลย อากาศไม่มี วิญญาณก็ไม่มี ถ้ามีอะไรสักหน่อยหนึ่งก็เป็นเหตุของภยันตราย ไม่ยึดถืออะไรจนจิตตั้งเป็นอุเบกขารมณ์
๔๐. เนวสัญญานาสัญญายตนะ ทำความรู้สึกตัวเสมอว่า ทั้งที่มีสัญญาอยู่ก็ทำเหมือนไม่มี ไม่รับอารมณ์ใด ๆ จะหนาว ร้อนก็รู้แต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย ปล่อยตามเรื่อง เปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์
วิธีแก้นิมิต เมื่อนิมิตเกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติ ๑. เจริญญาตปริญญาวิธี แปลว่าทำความกำหนดรู้ ทั้งจิต ทั้งนิมิต อยู่เฉย ๆ หรือมีสติกำหนดจิต นิ่งเฉยต่อนิมิต
๒. เจริญติรณะปริญญาวิธี แปลว่าพิจารณาตรวจค้นเหตุผลของนิมิต ให้รอบคอบ
๓. เจริญปหานปริญญาวิธี คือสละลงซึ่งนิมิตต์นั้นให้ขาด หรือถอนตัณหาเสียทั้งโคน
วิธีที่ ๑. เจริญญาตปริญญาวิธี
เป็นวิธีที่นักปฏิบัติใหม่ทั้งหลาย จำเป็นต้องใช้ประกอบกับภูมิจิตของตน ที่ได้เจริญกรรมฐานใหม่ ๆ และได้ฝึกหัดสมาธิน้อย สติยังอ่อน ไม่มีกำลังพอที่จะต่อสู้กับนิมิตทั้งปวงได้ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีนี้ ทำความกำหนดรู้ ทั้งจิต ทั้งนิมิตอยู่เฉย ๆ หรือมีสติกำหนดจิตนิ่งเฉย ต่อนิมิตนั้น ๆ ในเวลานั่งสมาธิภาวนา จิตกำลังสงบตั้งมั่นเป็นขณิกสมาธิ หรืออุปจารสมาธิแล้วกำลังก้าวหน้าเข้าสู่อัปปนาสมาธิ บังเกิดมีนิมิตอันใดอันหนึ่ง มาปรากฏเฉพาะหน้า ครั้นจะถือเอานิมิตนั้นเป็นอารมณ์ ก็ถือเอาไม่ได้ เพราะเป็นเหตุให้เผลอสติ จิตนั้นก็ถอนจากสมาธิ นิมิตนั้นก็หายไป จำเป็นต้องเจริญญาตปริญญาวิธี คือ มีสติกำหนดจิตทำความกำหนดรู้นิ่งเฉยอยู่ตลอดเวลา จนกว่านิมิตนั้นจะสงบหายไปเอง
เป็นวิธีที่นักปฏิบัติใหม่ทั้งหลาย จำเป็นต้องใช้ประกอบกับภูมิจิตของตน ที่ได้เจริญกรรมฐานใหม่ ๆ และได้ฝึกหัดสมาธิน้อย สติยังอ่อน ไม่มีกำลังพอที่จะต่อสู้กับนิมิตทั้งปวงได้ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีนี้ ทำความกำหนดรู้ ทั้งจิต ทั้งนิมิตอยู่เฉย ๆ หรือมีสติกำหนดจิตนิ่งเฉย ต่อนิมิตนั้น ๆ ในเวลานั่งสมาธิภาวนา จิตกำลังสงบตั้งมั่นเป็นขณิกสมาธิ หรืออุปจารสมาธิแล้วกำลังก้าวหน้าเข้าสู่อัปปนาสมาธิ บังเกิดมีนิมิตอันใดอันหนึ่ง มาปรากฏเฉพาะหน้า ครั้นจะถือเอานิมิตนั้นเป็นอารมณ์ ก็ถือเอาไม่ได้ เพราะเป็นเหตุให้เผลอสติ จิตนั้นก็ถอนจากสมาธิ นิมิตนั้นก็หายไป จำเป็นต้องเจริญญาตปริญญาวิธี คือ มีสติกำหนดจิตทำความกำหนดรู้นิ่งเฉยอยู่ตลอดเวลา จนกว่านิมิตนั้นจะสงบหายไปเอง
ญาตปริญญาวิธีนี้ เป็นวิธีอบรมบ่มอินทรีย์ ให้มีกำลังแก่กล้า คือ ทำให้จิตของเรามีความเชื่อมั่น และมีความเพียรมากขึ้น มีสติดีขึ้นตลอดทำให้จิตตั้งมั่นแน่วแน่จริง ๆ จนบังเกิดมีปัญญาเฉลียวฉลาดมากขึ้นโดยลำดับ ยิ่งมีนิมิตมาปรากฏบ่อย ๆ และได้เจริญญาตปริญญาวิธีนี้บ่อย ๆ ก็ยิ่งได้สติ และมีปัญญาสามารถทำจิตให้เป็นสมาธิ ดำเนินตามหนทางอริยมรรคได้ดีมากขึ้นโดยเร็ว ๆ ไม่ถอยหลัง
อนึ่ง ความรู้ความเห็นบางประการ บังเกิดขึ้นแล้วกลายเป็นสัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ความรู้ความเห็นเหล่านั้น ไม่ใช่เป็นความรู้ความเห็น ที่เกิดจากความหวั่นไหวง่อนแง่น ไปตามอารมณ์สัญญาและนึกเดา หรือคาดคะเนเอาจาก นิมิตต่าง ๆ เนื่องด้วยเหตุนี้ เมื่อความรู้ความเห็นเกิดขึ้น อย่าพึงรู้หน้าเดียวเห็นหน้าเดียว ให้พึงเจริญญาตปริญญาวิธี ทำความเป็นผู้ไม่ยินดีและยินร้าย ในความรู้ความเห็นเหล่านั้น ฯ
การเจริญญาตปริญญาวิธี มีอานิสงส์มาก สามารถทรมานจิต ให้ละพยศอันร้ายได้ คือในเมื่อไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ในความรู้ ความเห็น และในนิมิตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดไม่ส่งจิตให้คิดไปตามเช่นนั้นแล้ว ตัณหาความดิ้นรนกระวนกระวายย่อมบังเกิดมีขึ้น เป็นพยศอันร้ายแรงแห่งจิต คืออยากเห็นนิมิตนั้นแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น หรือมิฉะนั้นเมื่อได้เห็นซึ่งนิมิตที่น่ากลัว ก็อยากให้นิมิตที่น่ากลัวนั้นหายไป เมื่อนิมิตที่น่ากลัวนั้นไม่หายไปตามประสงค์ ก็บังเกิดความเสียใจ และร้อนใจ ไม่อยากพบ ไม่อยากเห็น ซึ่งนิมิตที่น่ากลัวนั้นเสียเลย ชื่อว่าพยศอันร้าย ฯ
ครั้นเมื่อจิตบังเกิดพยศอันร้าย ดังกล่าวแล้วปฏิฆะกับความประมาทก็บังเกิดขึ้นพร้อม เป็นเหตุให้เสื่อมเสียศรัทธา ท้อถอยจากการปฏิบัติ ไม่บำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา ก็เสื่อมจากทางมรรค ทางผล ทางสวรรค์ ทางนิพพาน ถ้าได้เจริญญาตปริญญาวิธีนี้เสมอ ก็สามารถทรมานซึ่งพยศอันร้ายแรง แห่งจิตให้หายได้ กับบังเกิดเป็นผู้มีสติดีกำหนดรู้ซึ่งจิต ทำความสงบนิ่งเฉยอยู่ได้ดี เมื่อจิตสงบตั้งมั่นลงได้แล้ว ตัณหาทั้ง ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็สงบไปเอง คือไม่ยินดี ไม่ยินร้าย และไม่ทะเยอทะยานอยาก พร้อมทั้งความไม่อยาก ก็สงบระงับไปตามกัน กลับตั้งใจไว้ได้ในมัชฌิมาปฏิปทา คือตั้งใจไว้เป็นกลางไม่ตกใจกลัว และไม่กล้าเกินไป สม่ำเสมอพอเหมาะพอดีเป็นหนึ่งอยู่ได้ ไม่เดือดร้อนในเรืองนิมิตจะมีมา หรือไม่มีมา ก็แล้วแต่เหตุผล หรือ มีมาแล้วจะหายไปหรือไม่หายไป ก็แล้วแต่เรื่องของเรื่อง "สนฺทิฏฐิโก" เป็นผู้เห็นเอง "อกาลิโก" ไม่เลือกกาล "เอหิปสฺสิโก" มีเครื่องแสดงบอกให้รู้เห็นตามเป็นจริงอยู่อย่างนั้น "ปจฺจตตํ" รู้จำเพาะกับจิตตลอดไป
เมื่อทรมานจิต ให้ละพยศอันร้ายได้แล้ว ย่อมบำเพ็ญสมาธิ ดำเนินตามหนทางอริยะมรรคได้ดี คือ
๑. ทางดำเนินของสติ ก็ดำเนินได้สะดวกดีขึ้น
๒. ทางดำเนินของสัมปขัญญะ ก็ดำเนินได้สะดวกดีขึ้น
๓. ทางดำเนินของ มัชฌิมาปฏิปทา ก็ดำเนินได้สะดวกดีขึ้น
๔. ทางดำเนินของ ทิฏฐุชุกรรม ก็ทำความเห็นซื่อตรงดีขึ้น
๕ ทางดำเนิน แห่งการรวมจิต พร้อมทั้งสติสัมปชัญญะ ทั้งความเห็นก็รวมได้สะดวกดีขึ้น ชื่อว่าดำเนินอริยะมรรคได้ดี เรียกว่าญาตปริญญาวิธี
๑. ทางดำเนินของสติ ก็ดำเนินได้สะดวกดีขึ้น
๒. ทางดำเนินของสัมปขัญญะ ก็ดำเนินได้สะดวกดีขึ้น
๓. ทางดำเนินของ มัชฌิมาปฏิปทา ก็ดำเนินได้สะดวกดีขึ้น
๔. ทางดำเนินของ ทิฏฐุชุกรรม ก็ทำความเห็นซื่อตรงดีขึ้น
๕ ทางดำเนิน แห่งการรวมจิต พร้อมทั้งสติสัมปชัญญะ ทั้งความเห็นก็รวมได้สะดวกดีขึ้น ชื่อว่าดำเนินอริยะมรรคได้ดี เรียกว่าญาตปริญญาวิธี
--- จากพระปฏิปัตติสัทธรรม ของพระญาณวิศิษฐ์ (หลวงปู่สิงห์ ขนฺตฺยาคโม) ---
วิธีที่ ๒ เจริญติรณะปริญญาวิธี
แปลว่าพิจารณาตรวจค้นเหตุผลของนิมิต ให้รอบคอบ
ในวิธีนี้ เป็นหน้าที่ของนักปฏิบัติ ชั้นสมถกรรมฐาน ผู้ชำนาญในญาตปริญญาวิธี มาแล้ว มีหน้าที่จำเป็นต้องเจริญติรณะปริญญาวิธีต่อไป
ในขณะเมื่อเจริญติรณะปริญญาวิธีนั้น นักปฏิบัติผู้ชำนาญ ย่อมเจริญในเวลารวมจิตได้แล้ว และมีนิมิตมาปรากฎเฉพาะหน้า ก่อนแต่จะเจริญวิปัสสนากรรมฐาน นักปฏิบัติผู้ชำนาญ ย่อมเจริญติรณะปริญญาวิธี ให้ชำนาญก่อน คือพิจารณาปฏิภาคนิมิตให้แตกฉานดังต่อไปนี้
ปฏิภาคนิมิตในที่นี้มี ๒ ประการคือ
แปลว่าพิจารณาตรวจค้นเหตุผลของนิมิต ให้รอบคอบ
ในวิธีนี้ เป็นหน้าที่ของนักปฏิบัติ ชั้นสมถกรรมฐาน ผู้ชำนาญในญาตปริญญาวิธี มาแล้ว มีหน้าที่จำเป็นต้องเจริญติรณะปริญญาวิธีต่อไป
ในขณะเมื่อเจริญติรณะปริญญาวิธีนั้น นักปฏิบัติผู้ชำนาญ ย่อมเจริญในเวลารวมจิตได้แล้ว และมีนิมิตมาปรากฎเฉพาะหน้า ก่อนแต่จะเจริญวิปัสสนากรรมฐาน นักปฏิบัติผู้ชำนาญ ย่อมเจริญติรณะปริญญาวิธี ให้ชำนาญก่อน คือพิจารณาปฏิภาคนิมิตให้แตกฉานดังต่อไปนี้
ปฏิภาคนิมิตในที่นี้มี ๒ ประการคือ
๑. ปฏิภาคนิมิตภายนอก ได้แก่ รูปร่างกายของมนุษย์ ภายนอกจากตัวของเรา
๒. ปฏิภาคนิมิตภายใน ได้แก่ รูปร่างกายของเราเอง
๒. ปฏิภาคนิมิตภายใน ได้แก่ รูปร่างกายของเราเอง
รวมปฏิภาคนิมิตมี ๒ ประการ ดังกล่าวนี้มีในตัวของมนุษย์ทุกคนตลอดโลก บังเกิดเป็นนิมิต ปรากฏขึ้นในเวลานั่งสมาธิ เรียกว่าปฏิภาคนิมิต นักปฏิบัติใหม่ทั้งหลายผู้ไม่ชำนาญ ก็รู้ไม่เท่า และแก้ไม่ได้ ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวง เพราะเหตุว่า ตัวปฏิภาคนิมิตทั้งหมด เป็นตัวกองทุกข์ และอาสวะกองกิเลส
วิธีแก้ปฏิภาคนิมิต นักปฏิบัติผู้ชำนาญ ย่อมแก้ปฏิภาคนิมิตภายนอกก่อน คือในเมื่อเวลากำลังนั่งสมาธิภาวนา รวมจิตได้แล้ว บังเกิดเห็นนิมิตมาปรากฏต่อหน้า เป็นรูป เป็นรูปมนุษย์ผู้หญิง หรือรูปมนุษย์แลบลิ้นปลิ้นตา หน้าบิด ตาเบือน แปลกประหลาด น่าตกใจกลัว อาการอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม หรือแสดงอาการให้เห็นเป็นรูปคนตาย ก็ตาม
นักปฏิบัติผู้มีสติ ย่อมพลิกจิตของตน ทวนกลับเข้ามาตั้งสติ - กำหนดจิตไว้ให้ดี แล้ววิตกถามด้วยในใจว่า "รูปนี้เที่ยง หรือไม่เที่ยง" จะแก่เฒ่าชรา ตายลงไปหรือไม่ เมื่อวิตกถามด้วยในใจดังนี้แล้ว พึงหยุดและวางคำที่นึกนั้นเสียกำหนดจิตให้รวมสนิท นิ่งพิจารณาด้วยความวางเฉย จนได้ความรู้แจ้งขึ้นเอง ปรากฏเห็นชัดซึ่งรูปนิมิตต์นั้นไม่เที่ยง แก่เฒ่าชราไปเอง ตลอดเพ่งให้ตาย ก็ตายลงเอง ตามอาการที่วิตกในใจนั้น ๆ ทุกประการ ต่อแต่นั้นจะวิตกในใจให้เห็นซึ่งรูปนิมิตที่ตายแล้ว เปื่อยเน่า ตลอดแตกทำลายกระจัดกระจายเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ ไปตามธรรมดา ธรรมธาตุ ธรรมฐิติ ธรรมนิยามะ ย่อมได้ตามประสงค์ ตลอดปลอดโปร่งทุกประการ เว้นแต่จิตถอนจากสมาธิแล้ว หรือ นึกคาดคะเน หรือนึกเดาเอาเท่านั้น จึงไม่สำเร็จสมประสงค์ อันนักปฏิบัติผู้ชำนาญจริงแล้ว ย่อมไม่ใช้คาดคะเนและไม่นึกเดาเอา คื่อย่อมทำตามระเบียบวิธีที่ถูกต้องจริง ๆ จึงสำเร็จตามประสงค์
วิธีแก้ปฏิภาคนิมิตภายใน
ในขณะเมื่อ พิจารณาปฏิภาคนิมิตภายนอกได้ความชัดแล้ว ชื่อว่าแก้ปฏิภาคนิมิตภายนอกได้แล้วอย่าหยุดเพียงแค่นั้น หรืออย่างพีงเป็นผู้ประมาททอดธุระเสีย ให้น้อมเอาจิตของตนทวนกระแสกลับเข้ามา พิจารณาภายในร่างกายของเราเอง
ในขณะเมื่อ พิจารณาปฏิภาคนิมิตภายนอกได้ความชัดแล้ว ชื่อว่าแก้ปฏิภาคนิมิตภายนอกได้แล้วอย่าหยุดเพียงแค่นั้น หรืออย่างพีงเป็นผู้ประมาททอดธุระเสีย ให้น้อมเอาจิตของตนทวนกระแสกลับเข้ามา พิจารณาภายในร่างกายของเราเอง
ในเบื้องต้น ถ้าจิตของตน ไม่ปลอดโปร่งคือไม่แลเห็นร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง ให้พึงรวมเอาแต่จิตให้สนิทอยู่ก่อน เมื่อจิตของตนรวมสนิทดีแล้ว พึงใช้อุบายวิตกดังกล่าวแล้ว ในที่นี้ประสงค์ให้วิตกว่าศีลของเราก็บริสุทธิ์ดีแล้ว สมาธิของเราก็ตั้งมั่นดีแล้ว เมื่อมีศีลก็ต้องมีสมาธิ เมื่อมีสมาธิก็ต้องมีปัญญา บัดนี้ศีลสมาธิ มีแล้วปัญญาเป็นอย่างไร เมื่อวิตกถามด้วยในใจดังนี้แล้วพึงหยุดและวางคำที่วิตกนั้นเสีย กำหนดจิตให้รวมสนิท นิ่งพิจารณาด้วยความวางเฉย จนกว่าได้ความรู้แจ้งขึ้นเอง ปรากฏเห็นชัดซึ่งผู้รู้ทั้งหลายชี้บอกว่า ทางนี้เป็นทางรัก ทางนี้เป็นทางเกลียด ทางนี้เป็นมัชฌิมาปฏิปทา พร้อมทั้งแลเห็นเป็นทางโปร่งโล่ง ทั้ง ๗ ทางในขณะเดียวกันก็รู้ชัดได้ว่า ปัญญาคือความเห็นชอบ พร้อมทั้งความรู้ และความรอบคอบ
ต่อแต่นั้น พึงวิตกถามถึงส่วนของร่างกาย ภายในร่างกายตนเองเป็นตอน ๆ ไป ในตอนแรกพึงวิตกว่า ร่างกายของเราเป็นอย่างไร เที่ยงหรือไม่เที่ยง จะแก่เฒ่าชรา และแตกทำลาย เปื่อยเน่าลงไป เหมือนกันหรือไม่ เมื่อวิตกถามด้วยในใจเช่นนั้นแล้วพึงหยุด และวางคำวิตกนั้นเสีย กำหนดจิตให้รวมสนิทนิ่งพิจารณาด้วยวามวางเฉย จนกว่าได้ความรู้แจ้งขึ้นเอง และแลเห็นชัดแจ้งประจักษ์ว่าร่างกาย ของเรา แก่เฒ่าชรา และล้มตายลงไปในปัจจุบันทันใจในขณะนั้น สำเร็จสมประสงค์
ตอนที่ ๒ พึงวิตกถามด้วยในใจว่า อาการ ๓๒ ภายในร่างกายเราส่วนไหนตั้งอยู่อย่างไร มีลักษณะอาการอย่างไร หทัยวัตถุอยู่ที่ไหน ครั้นเมื่อวิตกถามด้วยในใจดังนี้แลัว พึงหยุด และวางคำวิตกนั้นเสีย กำหนดจิต ให้รวมสนิทนิ่ง พิจารณาด้วยความวางเฉย จนกว่าได้ความรู้แจ้งขึ้นเอง ปรากฏเห็นชัด ซึ่งดวงหทัยวัตถุ ตั้งอยู่ทรวงอกข้างซ้ายมีรูปลักษณะคล้ายดอกบัวตูม มีหน้าที่ ทำงานฉีดเลือดส่งไปเลี้ยงร่างกาย เมื่อเห็นเครื่องภายในก่อนดังนี้ พึงพิจารณาเครื่องภายในให้ตลอดคือ พิจารณาม้าม ว่าตั้งอยู่ที่ไหน มีรูปลักษณะ อาการเป็นอย่างไร ให้วิตกถามด้วยในใจ แล้วหยุดวางคำวิตกนั้นเสีย กำหนดจิตรวมให้สนิท นิ่งพิจารณาด้วยความวางเฉย จนกว่ารู้ขึ้นเองว่า ม้ามตั้งอยู่ข้างซ้ายของดวงหทัยวัตถุ มีรูปลักษณะคล้ายตับมีสีแดง ส่วนตับนั้น ตั้งอยู่ข้างขวาของดวงหทัยวัตถุ มีสีดำคล้ำ ปอดตั้งอยู่ทรวงอกเบื้องบน มีหน้าที่รับลมหายใจเข้าออก แลส่งไปเลี้ยงร่างกายทั่วสรรพางค์กาย อันตัง (ไส้ใหญ่) ต่อจากลำคอลงไป มีกระเพาะอาหาร สำหรับรับอาหารใหม่ ต่อจากกระเพาะอาหารใหม่ลงไป เรียกว่า ลำไส้ใหญ่ตั้งอยู่ในท้องของเราเป็นขด ๆ มีไส้น้อย รัดรึงเรียกว่าสายรัดใส้ ต่อจากลำไส้ใหญ่ มีกระเพาะอาหารเก่า สำหรับรับกากของอาหารเก่า สำหรับรับกากของอาหาร ต่อจากกระเพาะอาหารเก่าลงไป เป็นทวารหนัก สำหรับถ่ายอุจจาระ
เมื่อเห็นแจ้งขึ้นเอง ซึ่งเครื่องภายใน ชัดเจนตลอดแล้ว พึงพิจารณาอาการ ๓๒ เป็นอนุโลมปฏิโลม โดยปัจจัตตัง รู้จำเพาะกับจิต ไม่ใช่นึกไม่ตามตำราที่จำได้นักปราชญ์ทั้งหลาย ย่อมนึกวิตกถามผู้รู้ ในเวลานั่งสมาธิรวมจิตสนิทดีแล้ว มีสติกำหนดจิตได้แล้ว พีงวิตกถามด้วยในใจว่าเกศา แปลว่า ผม ตั้งอยู่ที่ไหน มีรูปพรรณสัณฐานอย่างไร เมื่อวิตกถามแล้ว พึงหยุดและวางคำถามนั้นเสีย มีสติ รวมจิตให้สนิท นิ่งพิจารณาด้วยความวางเฉย จนปรากฎเห็นชัดขึ้นเอง ว่าผมอยู่บนศีรษะ มีสีดำคล้ำ รูปพรรณสัณฐาน เป็นเส้นยาว ๆ แก่แล้วหงอกขาว ตายแล้วลงถมแผ่นดิน โลมา แปลว่า ขน เกิดอยู่ตามขุมขน มีทั่วร่างกาย ครั้นเมื่อเราตาย ถมแผ่นพระธรณี นขา แปลว่า เล็บ มีอยู่ที่ปลายนิ้ว ทั้งตีนทั้งมือ ทุกคนย่อมถือว่าเล็บของตน สิ้นชีพวายชนม์ลงถมแผ่นดิน ทันตา แปลว่า ฟัน ในปากของเรา เมื่อแก่เฒ่าฟันเราโยกคลอน หนักเข้าหลุดถอน ลงถมแผ่นดิน ตโจ แปลว่า หนัง หุ้มร่างกายเรา ตายแล้วถูกเผา ถมแผ่นพระธรณี ฯ
ครั้นเมื่อพิจารณา ปรากฏเห็นเอง แจ้งประจักษ์ใจตามความเป็นจริง ในมูละกรรมฐานนี้แล้ว ชื่อว่าพิจารณาเป็นอนุโลม พึงพิจารณาย้อนกลับ เป็นปฏิโลมกลับไป กลับมา ให้ชำนาญดีแล้ว จึงพิจารณาเป็นลำดับต่อไปอีกว่า มังสัง แปลว่า เนื้อ มีหนังหุ้มอยู่รอบ จะแลดูด้วยตา ย่อมไม่เห็น เมื่อเราจะพิจารณาดูซึ่งเนื้อ จำเป็นจะต้องถลกหนังนี้ออกให้หมดเสียก่อนจึงจะพิจารณาดู่ซึ่งเนื้อให้เห็นจริงแจ้งประจักได้ แต่จะต้องถลกออกด้วยอุบายปัญญา ครั้นพิจารณาเห็นดังนั้นแล้ว พึงทำในใจด้วยอุบายที่ชอบ คือมีสติยกจิตขึ้นเพ่ง ให้หนังเลิกออกไป ตั้งแต่หนังศีรษะ เป็นต้นไปโดยลำดับ ตลอดถึงหนังพื้นเท้าเป็นที่สุด เสร็จแล้วเอากองไว้ที่พื้นแผ่นดิน เมื่อเพ่งพิจารณาให้หนังเลิกออกไปหมดแล้ว ก็แลเห็นกล้ามเนื้อเป็นกล้าม ๆ ทั่วสรรพางค์กาย จึงตั้งสติ กลับจิตให้รวมสนิท แล้วยกจิตขึ้นเพ่งให้กล้ามเนื้อหลุดออกจากกระดูก หมดทุกกล้าม ตลอดทั่วสรรพางค์กาย ตกลงไปกองอยู่ที่พื้นแผ่นดิน เมื่อกล้ามเนื้อหลุดออกจากโครงกระดูกหมดแล้ว ก็แลเห็นเส้นเอ็นอย่างกระจ่างแจ้ง ว่าเส้นเอ็นทั้งหลายรัดรึง โครงกระดูกให้ติดกันอยู่ได้ เมื่อจะพิจารณาให้เส้นเอ็นหลุดจากโครงกระดูกนั้น จึงพลิกจิตให้กลับรวมสนิทดีแล้ว ยกจิตขึ้นเพ่งให้เส้นเอ็นทั้งหลาย หลุดจากโครงกระดูกหมดทุกเส้น เมื่อเส้นเอ็นหลุดจากโครงกระดูกแล้ว ก็แสดงให้แลเห็นโครงกระดูกได้อย่างไร กระจ่างแจ้ง
เมื่อเห็นโครงกระดูกแจ่มแจ้ง แต่เครื่องภายในโครงกระดูกยังมีอยู่ พึงกระทำพิธี พิจารณาให้เครื่องภายในโครงกระดูกนั้น หลุดออกไปก่อน แล้วจึงพิจารณา ยกจิตขึ้นเพ่งให้โครงกระดูกหลุดออกเมื่อภายหลัง
วิธีพิจารณาเครื่องภายใน หลุดออกจากโครงกระดูก ให้มีสติพลิกจิต กำหนดรวมจิตให้สนิทแน่วแน่วแล้วยกจิตขึ้นเพ่ง ให้เครื่องภายใน หลุดออกจากโครงกระดูก ทีละอย่าง ๆคือเพ่งม้าม ให้ม้ามหลุดออกไปเพ่งหทัยวัตถุให้หทัยวัตถุหลุดออกไป เพ่งตับ ให้ตับหลุดออกไป เพ่งพังผืด ให้พังผืดหลุดออกไป เพ่งไต ให้ไตหลุดออกไป เพ่งปอด ให้ปอดหลุดออกไป เพ่งลำใส้ใหญ่ ให้ลำไส้ใหญ่หลุดออกไป เพ่งไส้น้อย ให้ไส้น้อยหลุดออกไป เพ่งอาหารใหม่ อาหารเก่า ให้อาหารใหญ่ อาหารเก่าหลุดออกไป เมื่อเครื่องภายในโครงกระดูกหลุดออกไปหมดแล้ว ธาตุน้ำทั้งหลาย มีน้ำเลือด น้ำเหลืองเป็นต้น มีน้ำมูตร์ เป็นที่สุด ก็หลุดออกจากโครงกระดูก ตกลงไปกองอยู่ที่พื้นแผ่นดิน ฯ
เมื่อมีสติ เพ่งพิจารณา ให้เครื่องภายในภายนอกหลุดออกจากโครงกระดูกหมดแล้ว ก็แสดงให้เห็นโครงกระดูกอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ทั้งข้างในข้างนอก จึงพิจาณาโครงกระดูก เป็นอนุโลม ปฎิโลมต่อไป
วิธีที่ ๓ เจริญปหานปริญญาวิธี
เจริญปหานปริญญาวิธี แปลว่า ละ หรือ วาง นิมิตต์ได้ขาด
เจริญปหานปริญญาวิธี แปลว่า ละ หรือ วาง นิมิตต์ได้ขาด
ย่อมเจริญด้วยวิปัสสนากรรมฐาน ๓ ประการ คือ
๑. วิปัสสนานุโลม ใช้บริกรรมภาวนาอนุโลมเข้าหาวิปัสสนาวิธี
๒. วิปัสสนาสุญญตวิโมกข์ ใช้บริกรรมภาวนาดับสัญญาให้ขาดสูญ
๓. วิปัสสนาวิโมกขปริวัติ ใช้บริกรรมภาวนาวิปัสสนาวิธีให้เต็มรอบ ระงับนิมิตให้ขาดถอนอุปาทานขันธ์ ตลอดถอนตัณหาทั้งโคน
๑. วิปัสสนานุโลม ใช้บริกรรมภาวนาอนุโลมเข้าหาวิปัสสนาวิธี
๒. วิปัสสนาสุญญตวิโมกข์ ใช้บริกรรมภาวนาดับสัญญาให้ขาดสูญ
๓. วิปัสสนาวิโมกขปริวัติ ใช้บริกรรมภาวนาวิปัสสนาวิธีให้เต็มรอบ ระงับนิมิตให้ขาดถอนอุปาทานขันธ์ ตลอดถอนตัณหาทั้งโคน
การใช้แบบไหนขึ้นอยู่กับนักปฏิบัติ ซึ่งแบ่งเป็น ๓ ประเภทคือ
๑. นักปฏิบัติบางคนหรือบางองค์ เมื่อนั่งสมาธิภาวนารวมจิตสนิทได้ดี แต่มีปิติแรงกล้า บังเกิดขึ้นทับถม กลบเกลื่อนดวงใจ จะยกจิตขึ้นพิจารณาอะไรก็ไม่สะดวก จำเป็นต้องใช้บริกรรมภาวนาวิปัสสนานุโลมว่า " ขยวย ธมฺมา สงฺขารา " หรือ " ขยธมฺมา สงฺขารา " เป็นต้น
๑. นักปฏิบัติบางคนหรือบางองค์ เมื่อนั่งสมาธิภาวนารวมจิตสนิทได้ดี แต่มีปิติแรงกล้า บังเกิดขึ้นทับถม กลบเกลื่อนดวงใจ จะยกจิตขึ้นพิจารณาอะไรก็ไม่สะดวก จำเป็นต้องใช้บริกรรมภาวนาวิปัสสนานุโลมว่า " ขยวย ธมฺมา สงฺขารา " หรือ " ขยธมฺมา สงฺขารา " เป็นต้น
2. นักปฏิบัติบางคนหรือบางองค์ เมื่อนั่งสมาธิภาวนารวมจิตสนิทได้ดีเหมือนกัน แต่เมื่อบังเกิดมีนิมิตขึ้นมาก เหลือวิสัยที่จะแก้ไขได้ กลายเป็นสัญญาเนื่องอยู่ในจิต ระงับไม่ได้จำเป็นต้องเจริญวิปัสสนา สุญญตวิโมกข์ ใช้บริกรรมภาวนาว่า " สพฺเพ สงฺขารา สพฺพสญฺญา อนตฺตา " เป็นต้น
๓. นักปฏิบัติผู้มีภูมิจิตสูง ได้เจริญญาตปริญญาวิธี และได้เจริญติรณปริญญาวิธี จนตลอดดังกล่าวแล้ว ชื่อว่ามีภูมิจิตสูง ก้าวล่วงวิปัสสนานุโลม และวิปัสสนาสุญญตวิโมกข์แล้ว ควรได้เจริญวิปัสสนาวิโมกข์ปริวัติต่อไป
ในเมื่อตรวจค้นปฏิภาคนิมิต เลิกถอนเครื่องภายในภายนอกออกหมดแล้ว ยังเหลือแต่โครงกระดูก ได้พิจารณาโครงกระดูกเป็นอนุโลม ปฏิโลมรอบคอบตลอดแล้ว ได้รวมจิตให้สนิท ตั้งมั่นในที่ทรวงอกดีแล้ว มีสติ ยกจิตขึ้นเพ่งซึ่งโครงกระดูกนั้น ด้วยอุบายปัญญา ซึ่งเกิดขึ้นเอง และเห็นด้วยใจตนเอง ว่าโครงกระดูกทั้งสิ้นนี้ เป็นของไม่ใช่ตน ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ชื่อว่าเห็นอนัตตาด้วยในใจของตนเอง และเห็นเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แน่แก่ใจแล้ว ยกคำบริกรรมวิปัสสนาวิโมกขปริวัติขึ้นบริกรรมภาวนาว่า
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
สพฺเพ ธมฺมา อนิจฺจา
สพฺเพ ธมฺมา ทุกฺขา
สพฺเพ ธมฺมา อนิจฺจา
สพฺเพ ธมฺมา ทุกฺขา
ให้บริกรรมภาวนา นึกอยู่ในใจอย่างเดียวไม่ออกปาก และไม่ให้มีเสียง มีสติกำหนดจิตเพ่งด้วยความนิ่งและวางเฉย จนกว่าจะปรากฏเห็นโครงกระดูกนั้นหลุดถอนจากกัน ตกลงไปกองอยู่ที่พื้นดิน พึงยกจิตขึ้นเพ่ง และบริกรรมภาวนาวิปัสสนาวิโมกขปริวัติอีกว่า
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
สพฺเพ ธมฺมา อนิจฺจา
สพฺเพ ธมฺมา ทุกฺขา
สพฺเพ ธมฺมา อนิจฺจา
สพฺเพ ธมฺมา ทุกฺขา
ให้นึกอยู่ในใจอย่างเดียว จนกว่าจะปรากฏเห็นชัดว่า อวัยะทุกส่วนที่ตกลงไปกองอยู่ที่พื้นดินนั้น ได้ละลายกลายเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟไปเองหมดแล้วเมื่อจะระงับสัญญาที่หมายพื้นดิน พึงมีสติยกจิตขึ้นเพ่ง บริกรรมภาวนา วิปัสสนาวิโมกขปริวัติ ดังกล่าวเมื่อจะระงับเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ให้บริกรรมภาวนา วิปัสสนาวิโมกขปริวัติแบบเดียวกัน ตลอดระวับอรูปฌานทั้ง ๔ ก็ใช้คำบริกรรมภาวนา วิปัสสนาวิโมกข์ปริวัติแบบนี้
ข้อสังเกตุ : ในเวลาได้ใช้คำบริกรรมภาวนาวิปัสสนาวิโมกข์ปริวัตินี้ พิจารณาให้โครงกระดูกละลายไปเองแล้ว และได้พิจารณาให้อวัยวะต่าง ๆ ตกลงกองอยู่พื้นแผ่นดินนั้น ละลายกลายเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นไฟ เป็นลม ไปแล้วก็ดี ตลอดได้เพ่งพิจารณาให้พื้นดินละลายไปเองแล้วก็ดี พึงเป็นผู้มีสติบริบูรณ์ กำหนดเอาจิตของตนไว้ ให้รวมสนิทเป็นเอกจิต เอกธรรม เอกมรรค คือเป็นหนึ่งอยู่กับที่ตลอดไป อย่าพึงเป็นผู้ประมาททอดธุระ ปล่อยจิตของตนให้ฟุ้งซ่านไป
เมื่อได้บำเพ็ญข้อปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบในพระพุทธศาสนา ดังกล่าวมาถึงขั้นนี้แล้ว ย่อมแลเห็นอานิสงส์แห่งการปฏิบัติในพุทธศาสนา ไม่มีประมาณ ชื่อว่าได้ถึงพระไตรสรณาคมน์อันแท้จริง
************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น