ธงฉัพพรรณรังสี
ธงศาสนาพุทธที่ใช้ทั่วไปเป็นสากลมีชื่อเรียกว่าว่า ธงฉัพพรรณรังสี เริ่มปรากฏการใช้ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 (เทียบแบบสากลคือราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19)
รูปธรรมจักรในธงนั้นมีซี่ล้อหรือกำ 12 ซี่ หมายถึง ปัจจยาการ หรือปฏิจจสมุปบาท 12 ประการ ซึ่งโดยปกติแล้ว การทำรูปธรรมจักรประดับศาสนสถานนิยมทำแบบมีกำ 8 ซี่ แต่ละซี่มีความหมายถึงองค์ของอริยมรรคแต่ละองค์ อันมีองค์ 8 วงล้อหมายถึง ทุกข์และสมุทัย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนเกิดมาแล้วจะต้องประสบ ดุมที่เป็นศูนย์กลางและสงบนิ่งไม่หมุน หมายถึง จุดหมายสูงสุด คือ นิโรธหรือนิพพาน
คณะสงฆ์ไทยได้ประกาศใช้ธงธรรมจักรอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2501[2]
ในประเทศไทยนั้น เมื่อมีการประกอบพิธีสำคัญหรืออยู่ในวาระสำคัญทางศาสนาพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา ก็จะมีการประดับธงธรรมจักรร่วมกับธงชาติไทยอยู่เสมอ
เนื้อหา |
ลักษณะ
คำว่า "ฉัพพรรณรังสี" อันเป็นชื่อของธง แปลว่ารัศมี 6 สี (มาจากคำสมาสในภาษาบาลี "ฉ" (หก) + "วณฺณ" (สี) + "รํสี" (รังสี, รัศมี)) มีที่มาจากสีของรัศมีซึ่งกล่าวกันว่าแผ่ออกจากพระกายของพระพุทธเจ้า คือ- สีนีละ - สีเขียวเหมือนดอกอัญชัน (คือเป็นสีน้ำเงิน)
- สีปีตะ - สีเหลืองเหมือนหรดาลทอง
- สีโรหิตะ - สีแดงเหมือนแสงตะวันอ่อน
- สีโอทาตะ - สีขาวเงินยวง
- สีมัญเชฏฐะ - สีแสดเหมือนหงอนไก่
- สีประภัสสร - สีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก (คือสีทั้ง 5 ข้างต้นรวมกัน)
ความหมาย
สีในธงฉัพพรรณรังสีแต่ละสีมีความหมายอื่นแฝงดังต่อไปนี้สีนีละ: พระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันแผ่ไพศาลไปทั่วสกลจักรวาล |
---|
สีปีตะ: มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง คือ การหลีกเหลี่ยงความสุดโต่งทั้งปวง |
สีโรหิตะ: การอำนวยพรให้ประสบความสำเร็จ สมบูรณ์พร้อมด้วยสติปัญญา คุณงามความดี ความเป็นผู้มีโชค และเกียรติยศทั้งปวง |
สีโอทาตะ: ความบริสุทธิ์แห่งพระธรรม ซึ่งเป็นของที่ไม่จำกัดกาล (อกาลิโก) และนำชนไปสู่ความหลุดพ้น |
สีมัญเชฏฐะ: พระปัญญาคุณแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า |
สีประภัสสร: ความจริงทั้งหมดในพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า |
ประวัติ
ธงนี้ออกแบบโดยพุทธสมาคมโคลอมโบ เมื่อ พ.ศ. 2423 พันเอกเฮนรี เอส. โอลคอตต์ เป็นผู้แก้ไขให้เป็นแบบที่ใช้ในปัจจุบัน เริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2428 ที่ประเทศศรีลังกา ต่อมาองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (World Fellowship of Buddhists - WFB) ได้ประกาศให้ธงนี้เป็นธงพุทธศาสนาสากลเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ณ กรุงโคลอมโบ ประเทศศรีลังกาธงแบบอื่นๆ
โดยทั่วไปแล้ววัดในศาสนาพุทธทั้งสายเถรวาทและสายมหายานในประเทศต่างๆ นิยมแสดงธงฉัพพรรณรังสีตามแบบข้างต้นเป็นสัญลักษณ์ อย่างไรก็ตาม ในบางกลุ่มหรือบางสำนักเลือกใช้สีธงที่ต่างออกไปเพื่อเน้นแนวทางคำสอนแห่งสำนักของตนเอง- ชาวพุทธในประเทศญี่ปุ่นได้แทนแถบสีน้ำเงินด้วยสีเขียวและแทนแถบสีแสดด้วยสีม่วง สีทั้ง 5 สีในธงของพุทธศาสนิกชนญี่ปุ่นหมายถึงพระธยานิพุทธะในคติมหายานทั้ง 5 พระองค์ ส่วนนิกายโจโดชินชู (นิกายสุขาวดีที่แท้จริง) แทนที่แถบสีแสดด้วยสีชมพู
- ในทิเบต สีต่างๆ ในธงฉัพพรรณรังสีหมายถึงสีจีวรของพระภิกษุในพุทธศาสนานิกายต่างๆ ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว พระสงฆ์ทิเบตใช้จีวรสีแดงเข้ม (maroon) ฉะนั้นแถบสีแสดจึงมักถูกแทนที่ด้วยสีแดงเข้มอยู่บ่อยครั้ง
- ผู้นับถือศาสนาพุทธแบบธิเบตในประเทศเนปาลแทนที่ส่วนแถบสีแสดด้วยสีลูกพลัม
- พุทธศาสนิกชนในพม่าแทนแถบสีแสดด้วยสีชมพู ซึ่งเป็นสีเครื่องแต่งกายของแม่ชีในประเทศนั้น
- สมาคมสร้างคุณค่า หรือ "โซคา งัคไค" ซึ่งเป็นสมาคมชาวพุทธที่ปฏิบัติตามแนวทางคำสอนของพระนิชิเรน ใช้ธงสัญลักษณ์เป็นธงไตรรงค์สีน้ำเงิน-เหลือง-แดง[1]
- ธงฉัพพรรณรังสีของนิกายโจโดชินชู
- หนึ่งในธงหลายแบบของสมาคมโซคา งัคไค
ธงธรรมจักร
รูปธรรมจักรในธงนั้นมีซี่ล้อหรือกำ 12 ซี่ หมายถึง ปัจจยาการ หรือปฏิจจสมุปบาท 12 ประการ ซึ่งโดยปกติแล้ว การทำรูปธรรมจักรประดับศาสนสถานนิยมทำแบบมีกำ 8 ซี่ แต่ละซี่มีความหมายถึงองค์ของอริยมรรคแต่ละองค์ อันมีองค์ 8 วงล้อหมายถึง ทุกข์และสมุทัย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนเกิดมาแล้วจะต้องประสบ ดุมที่เป็นศูนย์กลางและสงบนิ่งไม่หมุน หมายถึง จุดหมายสูงสุด คือ นิโรธหรือนิพพาน
คณะสงฆ์ไทยได้ประกาศใช้ธงธรรมจักรอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2501[2]
ในประเทศไทยนั้น เมื่อมีการประกอบพิธีสำคัญหรืออยู่ในวาระสำคัญทางศาสนาพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา ก็จะมีการประดับธงธรรมจักรร่วมกับธงชาติไทยอยู่เสมอ
ระเบียงภาพ
- การประดับธงชาติไทยร่วมกับธงธรรมจักรในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
- ธงฉัพพรรณรังสีโบกสะบัดเหนืออารามแห่งหนึ่งในกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
- ธงฉัพพรรณรังสีที่มีการแปลงสีไปจากเดิมในประเทศญี่ปุ่น
- ชาวพุทธและพระภิกษุในพม่า ใช้ธงฉัพพรรณรังสีแบบพม่าเป็นสัญลักษณ์ของการประท้วงต่อต้านรัฐบาลในพม่า พ.ศ. 2550
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น